ภาพแรก CZ 805
ข้อมูลและที่มาของรูป http://aagth1.exteen.com/20100206/cz-805
คงงบไม่มีจะซื้อให้ดอก และอีกอย่างถ้าเอา AK 101 มา...กลัวว่าปืนจะดีกว่ากำลังหลักนะสิ.....
ส่วนจะผลิตเอง อาจทำให้พุงแห้ง.....ขำๆนะครับ
คงเป็นไปได้ยากครับ
เพราะแม้แต่ปัจจุบัน กำลังหลักเอง ก็ยังทดแทนอาวุธประจำกาย ปลย. ไม่หมดเลยครับ ก็คงต้องเร่งด่วนตามความจำเป็น
แต่จะว่าไป ปลย. หลักปัจจุบันเรามีกี่แบบหว่า เอ็ม 16 ซีรี่ เอช&เค 33 ซีรี่ เทเวอร์ ซีรี่ และ เอเค47 ซีรี่ ไม่สิ ความจริงต้องเรียก ไทป์ 56 ซีรี่
บางหน่วยมี 2 แบบในกองร้อยเดียวกัน อืม หลากหลายดีแท้ สวยงามดี หุหุ
แต่จะว่าไปมี ปลย. อยู่ 1 แบบที่ประจำการมาเกิน 3 ทศวรรษ แต่มันไม่มีชื่อเรียกแบบไทย ทายสิ ปลย. แบบอะไร
พอก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแบบจาก เซมิ ไรเฟิล หรือ ปืนเล็กยาวบรรจุเอง(ปลยบ.) เข้าสู่ยุค อัสซัล ไรเฟิล หรือ ปืนเล็กยาวจู่โจม นั้น แบบแรกก็คงเป็น ปลย.11 หรือ H&K33 และในยุคเดียวกัน ก็มี ปลย.เอ็ม 16 และ ปลย.เอ็ม 16 เอ 1 หลังจากนั้นก็ เข้าสู่ ปลย. เอ็ม 16 เอ 2 และน้องใหม่ล่าสุด ปลย.50 (เทเวอร์) มาถึงตรงนี้คงทราบแล้วใช่ไหมครับว่า ปลย.แบบใด ไม่มีชื่อไทยแต่เป็น ปลย.หลัก เสียด้วยสิ อืมแปลก ทำไมหนอ หุหุ(ไทป์ 56 กับ เอเค 47 ซีรี่ อย่าไปนับมัน เพราะถือว่ามันไม่มีตัวตนตั้งแต่แรกแล้ว)
ความจริง มาจนถึงปัจจุบันแล้ว ยุทโธปกรณ์พื้นฐานเช่น ปืนเล็ก นั้น ความจริงเราน่าจะยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว เชื่อว่าทำได้ไม่ยาก สำคัญที่วัตถุดิบและการควบคุมคุณภาพ
อาวุธปืนเล็ก ปัจจุบันนั้น ความเหนือกว่าที่ตัววัตถุ(ยังไม่นับบุคคล) คงไม่ได้ยึดที่แบบปืน แต่มันอยู่ที่อุปกรณ์เสริมสำหรับติดกับปืนมากกว่า
คิดเล่นๆ ระหว่าง การานด์(ปลยบ.88)ติดเครื่องช่วยเล็งยิง ตรวจการณ์ กลางวัน/กลางคืน กับ เทเวอร์ ตัวเปล่าๆเปลือยๆ อันไหนจะได้เปรียบกว่ากัน
เขาบอกว่าถ้าไม่มีกะตังค์ ก็เปลี่ยนลำกล้องที่เกลียวมันสึกชำรุดแทนไปก่อนก็ได้ เพราะอายุปืนมากกว่าคนซะแล้ว
H&K33 อายุ 30 ขวบแล้ว ทหารใหม่ อายุ 20 ปี
อยากถาม FW-190
ถ้างบซื้อ ปลย. ใหม่ จำนวน XXXXXXXX บาท
แล้วเห็นว่าควรตั้งโรงผลิตเองได้หรือยัง..............
มีคนถามเรื่องนี้เป็นพันครั้งแล้ว
แต่คำตอบที่ได้มา.....ทุกครั้ง....เหมือนคนน้ำตาตกใน...สงสารทหาร
ผู้น้อยของประเทศ สารขันฐ์.......
ขำไม่ออกซะแล้ว.....พลทหาร
TAR21 มีชื่อไทยคือ ปลย.๕๐ ครับ
กล้องช่วยเล็งเร่งด่วน ไม่จำเป็นต้องติดใกล้ตาครับ ดังนั้นแล้ว ติดกลางปืนได้ครับ เพื่อหลบส่วนของห้องลูกเลื่อน สำคัญที่ตัวสำหรับยึดติด เช่น รางพิคาทินนี่ ซึ่งแน่นอนมันทำใหม่ได้ไม่ยาก แต่อันนี้เปรียบเปรยให้ฟังนะครับ
ส่วนกรณี ปลย.11 นั้น ส่วนตัวเชื่อว่าปัญหามันอยู่ที่การควบคุมคุณภาพ ซึ่งตรงนี้มันแก้ที่ไหนครับ หรือแก้ที่การไม่ต้องผลิตอีกตลอดไป
ซึ่งมันก็ทำนองเดียวกับ อาวุธแบบอื่นๆที่เราผลิตเอง เช่น ค.60 ค.120 ซึงตรงนี้ถ้าพัฒนาต่อๆไป เพื่อให้คุณภาพมันดีขึ้น หรือซื้อใหม่ไปเลย
M 16 ซีรี่ มีข้อดีคืออะไหล่ใช้งานร่วมกันได้100% ทุกรุ่น ส่วนตัวเลยเชื่อว่า หากทำการอัพเกรดโดยเปลี่ยนบางชิ้นเพื่อลดเงิน แล้วเอาเงินส่วนต่างที่เหลือนั้นไปพัฒนาที่อุปกรณ์เสริมประจำปืน จะดีกว่าหรือไม่(ไม่ต้องห่วงเรื่องอะไหล่ เพราะใช้สายการส่งเดิม รวมถึงช่างด้วย)
ราคาลำกล้อง คาร์ไบน์ของ M16 ซีรี่ ภาคพลเรือนที่ขายในอเมริกานั้นเท่าที่เคยเซิจดู ราคาอยู่ที่ 10K ต้นๆถึงกลาง(ราคาขายปลีกในอเมริกาเมื่อตีเป็นเงินไทย)
ถ้าทำการปรับปรุง เอ็ม 16 ซีรี่ เดิมทั้งหมด โดยเปลี่ยนลำกล้องเป็น คาร์ไบน์ 14.5 + ชุดพานท้ายปรับระดับได้(พานท้ายยืดหด) + ฝาประกับพิคาทินนี่ จะตกที่ราคา 20K กว่าๆ
และบวกกล้องช่วยเล็งเร่งด่วน เช่น อีโอเทค ที่ราคาประมาณ 15K ราคารวมจะอยู่ที่ประมาณ 30K ปลายๆ ก็ลองดูว่า เมื่อเทียบกับซื้อใหม่ทั้งกระบอกแล้วจะเหลือเงินต่อกระบอกเท่าไหร่(ยังไม่นับค่าใช้จ่ายเรื่อง อะไหล่ และ การเตรียมการเรื่องการส่งกำลังและซ่อมบำรุงใหม่)
แต่ปัญหาคือ อเมริกา จะยอมหรือไม่ หากเราซื้อแต่อะไหล่มาอัพ อเมริกาคงบีบเพื่อพยายามขายใหม่ทั้งกระบอก แต่ตรงนี้มันเป็นปัญหาเรื่องของการเจรจา รวมถึงด้านอื่นๆ
แต่ถึงแม้จะซื้อใหม่ทั้งกระบอก ก็ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ ปืนเก่ายุบเป็นอะไหล่ได้ทั้งหมด