หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


พระแสงปืนข้ามแม่น้ำ

โดยคุณ : Oldtimer เมื่อวันที่ : 12/06/2010 21:01:04

จาก นาวิกศาสตร์ ฉบับ เมษายน ๕๓เรื่องที่สอง เป็นเรื่อง งานกู้ชาติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยพลเรือเอก วสันธ์ สาริกะภูติซึ่งในฉบับนี้ บรรยายถึงประวัติศาสตร์พม่าอย่างน่าสนใจ ในบทความมีรูปภาพประกอบด้วย มีภาพหนึ่งที่เป็นประเด็นที่ขอยกมา ถก เป็นภาพช้างศึกพม่า เอามาจากหนังสือ Osprey Queen Victorias Enemies 4 : Asia Australiaasia and the Americans (1990) (เข้าใจว่าภาพมีลิขสิทธิ คงต้องขอให้ไปชมจากวารสารนาวิกศาสตร์ ฉบับ เม.ย.๕๓ เอง)
มีบรรยายภาพ ระบุว่าปืนใหญ่ประจำหลังช้างเป็นเทคนิคการรบที่เก่าแก่ย้อนหลังไปถึงรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ภาพประกอบเป็นภาพวาดช้างศึก มีกูบบนหลังช้าง โดยกูบด้านซ้ายและขวามีอะไรที่คล้ายๆกล้องส่องดูดาวติดอยู่ รูปนี้เข้าทางผมเพราะ ผมเชื่อว่าพระแสงปืนข้ามแม่น้ำเป็นปืนใหญ่ไม่ใช่ปืนยาวประทับบ่า เป็นไปได้หรือไม่ครับ ที่พระแสงปืนต้นที่ใช้ยิงข้ามแม่น้ำสะโตงเป็นปืนใหญ่ขนาดเล็กที่ประจำบนหลังช้างแบบในรูป หรือ เป็นปืนใหญ่ที่บรรทุกไปกับหลังช้าง แล้วยกลงมาตั้งยิง แบบปืนหามแล่น แทนที่จะเป็นปืนยาวประทับบ่ายิง
การคิดนอกกรอบของประวัติศาสตร์ไทยที่เรียนมา ยังอยู่ในกรอบของเทคโนโลยีอาวุธตามระยะเวลา




ความคิดเห็นที่ 1


ทำไม เพราะในพ.ศ. ๒๑๒๗ ตามประวัติศาสตร์ของเราที่มีการบันทึกเรื่องเหตุการณ์ที่แม่น้ำสะโตง นั้นตรงกับ ค.ศ.1584  ในช่วงนั้นมีการรบใหญ่ๆสองแห่ง ที่ญี่ปุ่น และทางยุโรป เรามาดูอาวุธปืนที่ใช้กันสมัยนั้น ที่ญี่ปุ่นมีการนำปืนไฟ Arquebusที่ได้จากโปรตุเกสมาใช้ในการรบที่ ปราสาท Nagoshin เมื่อปี 1575  Oda Nobunago ใช้หน่วยทหารปืนไฟ Arquebusiers จำนวน ๓,๐๐๐คน เอาชนะกองทหารม้าของตระกูล Takeda ส่วนยุโรปในปี 1588 มียุทธนาวี อังกฤษสมัย Queen Elizabeth ที่หนึ่ง เอาชนะกองเรือของเสปญ Spanish Armada ปืนยาวที่ใช้ในการรบทั้งสองแห่งเป็นปืนชนิดที่เราเรียกกันว่าปืนไฟ หรือ Arquebus ช่วงศตวรรษที่ ๑๗ ในยุโรปมีสงครามที่เรียกว่า สงครามสามสิบปี (1610 -1643) ยังมีการใช้ปืนไฟ Arquebusในการรบ มีภาพแสดงการฝึกทหารยิงปืนเป็น 2D Animation แสดง แล้วจึงค่อยๆพัฒนาเป็นปืนแบบ Wheelock และMatchlock
 
ปืนไฟ หรือ Arquebus เป็นอาวุธปืนที่ตามประวัติศาสตร์ใช้รบกันด้วยการยิงเล็งตรงในระยะที่ไม่ไกลหากยิงโค้ง มุมสูงให้ลูกตกลงมาอย่างธนูเพื่อให้ได้ระยะไกลๆกระสุนปืนไม่ได้แหลมหรือหนักมาก ระยะไกลๆลูกปืนที่ตกลงมาก็คงจะเหมือนขว้างด้วยหินก้อนเล็กๆ
อาวุธปืนสมัยนั้นที่มีระยะยิงเกินร้อยเมตร ก็ต้องเป็นปืนใหญ่ ที่ถ้าไม่ใช่ปืนใหญ่จริงๆ แบบใช้ยิงทำลายกำแพงเมืองก็น่าจะเป็นปืนใหญ่ขนาดเล็กอย่างที่ในรูป มากกว่าที่จะเป็นพวกปืนไฟประทับบ่า

ถ้าอยากรู้จักปืนไฟ คงหาดูได้จากหนังสุริโยไท หรือถ้าเป็นหนังฝรั่งก็  The Three Musketeersส่วนปืนนกสับจริงๆที่ระบุประวัติศาสตร์ ในความเห็นของผมนี่น่าจะเป็นปืนคาบศิลา หรือ Flintlock ที่ในยุโรป หรืออเมริกานิยมใช้กันช่วง ศตวรรษที่ 18 หรือปีค.ศ.1700 -1799

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 30/05/2010 05:20:20


ความคิดเห็นที่ 2


ตามความเห็นของผม คิดว่าไม่น่าจะใช่ปืนใหญ่หรอกครับ ไม่งั้นพงศาวดารก็คงบันทึกว่าพระองค์ทรงใช้ปืนใหญ่ไปแล้ว แต่สิ่งที่สามารถทำให้ปืนสมัยก่อนยิงข้ามแม่น้ำสะโตงได้นั้น น่าจะมี 3 กรณีเท่าที่คิดได้ตอนนี้

1. น่าจะไปยิงในส่วนคอดของแม่น้ำ เพราะถ้าจะไปยิงในส่วนกว้างสุดยังไงก็ไม่ถึงแน่นอน

2. อาจเป็นช่วงที่น้ำแล้ง ทำให้ความกว้างของแม่น้ำลดลงจนอยู่ในระยะยิง ซึ่งในสมัยก่อนก็ไม่นิยมเคลื่อนทัพในฤดูน้ำหลากอยู่แล้ว

3. สะพาน? แพ? อะไรซักอย่างที่ใช้เพื่อการอพยพข้ามแม่น้ำยังถอดออกไม่หมด พระองค์อาจไปยิงตรงจุดปลายตรงที่ยังถอดไม่หมดก็ได้

 

โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 01/06/2010 14:51:15


ความคิดเห็นที่ 3


ผู้แต่ง :  แสงสูรย์ ลดาวัลย์, ม.ร.ว.
หนังสือ : พระแสงอัษฎาวุธและพระแสงสำคัญสำหรับแผ่นดิน
วารสารไทย
ปีที่ 11,ฉบับที่ 34 (กรกฎาคม - กันยายน 2534),หน้า 15 - 19.
นเรศวรมหาราช - - สมเด็จพระ - - 2133 - 2148
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช - - พระบาทสมเด็จพระ - - 2325 - 2352
พระมาลาเบียง
พระแสง
พระแสงจักร
พระแสงตรีศุล
พระแสงธนู
พระแสงหอกเพชรรัตน์
พระแสงเชลย
พระแสงดาบเขน
พระแสงของ้าวแสนพลพ่าย
พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม้น้ำสะโตง (MATCH LOCK)
พระแสงฝักทองคาบค่าย

คิดว่าคงจะได้คำตอบนะครับ
โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 05:30:40


ความคิดเห็นที่ 4


ปัญหาเรื่องนี้มันเกิดมาจาก "หนังเรื่องนั้น" ที่ "ผกก.ท่านนั้น" ไป "ตีความ" อย่างที่เขาต้องการ

โดย "ขาดจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านประวัติศาสตร์ชาติสยามโบราณ"

ท่านหม่อมราชวงศ์ แสงสูรย์ ลดาวัลย์ เป็นอดีตข้าราชการสำนักพระราชวัง(ผมจำตำแหน่งสุดท้ายไม่ได้ ไม่แน่ใจว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักหรือไม่นะครับ ?)

ถ้าย้อนกลับไปดูจะพบว่า ร.๑ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระอนุชาธิราช(สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ทรงจัดสร้างพระแสงองค์สำคัญต่าง ๆ ที่ "หายไป" หลังจากเกิดเหตุเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒

ถ้าย้อนอดีตไปอีก สมเด็จพระอนุชาธิราช แต่เดิมทรงเคยรับตำแหน่ง "นายสุดจินดา หุ้มแพรมหาดเล็ก" มีหน้าที่รับผิดชอบดูแล พระตะกรุด พระพิสมร ฯลฯ

พระองค์ย่อมต้องเคยทอดพระเนตรเห็น "พระแสงปืน" อยู่แล้วว่าเป็น พระแสงปืนแบบไหน ( คาบศิลา : FLINT LOCK หรือ คาบชุด : MATCH LOCK)


เมื่อทรงสร้างพระแสงปืนขึ้นมา ก็เป็นแบบ คาบชุด(MATCH LOCK)

เพราะฉะนั้น เราควรจะเชื่อได้สนิทใจครับ เพราะบุคคลที่เคยทำงานใกล้ชิดกับพระแสงปืนต้น ย่อมทราบดีกว่าที่เราจะมานั่งเดาครับ

เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ขอให้ช่วยบอกข้อมูลที่ถูกต้องต่อไปด้วยนะครับ
อย่าให้ประวัติศาสตร์ต้องบิดเบือนไป เพราะ "หนัง" เรื่องหนึ่งเลยครับ






โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 05:39:34


ความคิดเห็นที่ 5


อิทธิพลของ "การบิดเบือนจากการตีความ" ของท่านผกก. หนังเรื่องนี้ คนในวงการของเก่า หรือแม้แต่ประวัติศาสตร์รู้ดีครับ แต่ไม่มีใครอยากจะเอ่ยถึง

นี่ยังไม่รวมเกราะเหล็กแบบยุโรป(FULL PLATE ARMOUR)อีกนะครับ  ได้เห็นกระทู้แบบนี้ทีไร อดไม่ได้ครับ เพราะไม่อยากให้เข้ารกเข้าพงกันไปมากกว่านี้

เมื่อมีความเข้าใจผิด ก็ไม่เห็นมีใครจะรับผิดชอบ มาแก้ไขอะไรให้มันถูกต้องเลยสักนิด หน่วยงานราชการก็เงียบเป็นเป่าสาก

แล้วอนาคตรุ่นลูกหลานจะเตลิดกันไปถึงไหนล่ะครับ ?
โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 05:45:04


ความคิดเห็นที่ 6


ขอนำรูปมาลงให้เห็นถึงความแตกต่างนะครับว่า ปืนคาบชุด กับ ปืนคาบศิลา มันต่างกันอย่างไร

เริ่มจาก ปืนคาบชุด (MATCH LOCK) ชุดที่ว่าย่อมาจาก ชุดไฟ ก็คือสายชนวนที่จุดไฟไว้ เวลาจะยิงก็เหนี่ยวไก สายชนวนจะไปตกที่ร่องใส่ดินปืน พอความร้อนไปโดนดินปืน ก็จะเกิดแรงระเบิดผลักกระสุนให้วิ่งออกไป

จากรูปคือ ปืน MATCH LOCK(คาบชุด) ของญี่ปุ่นในยุคเอโดะ ซึ่งคาบเกี่ยวกับรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา-สมเด็จพระเอกาทศรถ

ในญี่ปุ่นยุคนั้นจะเรียก "Arquebuse" ซึ่งนิยมนำเข้ามาโดยพลทหารอาสาโปรตุเกส

http://en.wikipedia.org/wiki/File:EdoJapaneseArquebuse.jpg
โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 22:21:36


ความคิดเห็นที่ 7



มาดูกา
http://timesnews.net/blogs/jilton/wp-content/uploads/2007/05/matchlock08web.jpg

 
 







โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 22:24:13


ความคิดเห็นที่ 8


แก้ตัวปืนคาบชุดจากยุคเอโดะครับ

ภาพอ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:EdoJapaneseArquebuse.jpg
 
 

โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 22:25:18


ความคิดเห็นที่ 9


ส่วนนี่คือ ปืนคาบศิลา (FLINT LOCK)

สังเกตดูความแตกต่างจะเห็นได้ว่ามี "หินเหล็กไฟ" ติดอยู่ตรงนกปืน เมื่อเหนี่ยวไกปืนแล้ว หินเหล็กไฟ จะไปกระทบกับแผ่นเหล็กฉากด้านหน้า เกิดเป็นประกายไฟตกไปในร่องที่ใส่ดินปืน พอดินปืนระเบิดก็จะเกิดแรงดันไปดันลูกปืนให้วิ่งออกไป


http://pustaka.ictsleman.net/how/f/flint/flintlock2.jpg

แก้ไข เมื่อ 18 พ.ค. 53 13:39:28


โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 22:28:39


ความคิดเห็นที่ 10


รูปพระแสงปืนที่พระราชานุสาวรีย์ ทุ่งมะขามหย่อง ก็ยังทำผิด

รูปประกอบ


โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 03/06/2010 22:29:48


ความคิดเห็นที่ 11


เรื่องนี้ขอให้ดูภาพจากนาวิกศาสตร์ครับที่ผมอ้างถึง
ภาพที่มาจากหนังสือ Osprey Queen Victorias Enemies 4 : Asia Australiaasia and the Americans (1990)(สำนักพิมพ์Osprey Publishing นี้เป็นสถาบันที่มีความชำนาญด้านประวัติศาสตร์ทางทหาร มีความเชื่อถือได้ในระดับสากลเทียบเท่า Janesในเรื่องอาวุธสมัยใหม่)
ที่เป็นประเด็นคือภาพและคำบรรยายแสดงให้เห็นว่าพม่า สมัยบุเรงนองมีการใช้ปืนใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่ฝรั่งเรียกว่า Swivel Gun หากตอนนั้นพม่ามีปืนชนิดนี้ใช้ตั้งแต่สมัยบุเรงนอง ก็เป็นไปได้ที่ เราจะมีอาวุธแบบนั้นใช้เหมือนกัน ดังนั้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๗ หรือ ค.ศ.1584 ที่เกิดเหตุการณ์ที่แม่น้ำสะโตงนั้น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชของเรา นอกจากจะมีปืนยาวประทับบ่า ที่จะเป็นปืนอะไรนั้นยังไม่สำคัญ ใช้ในกองทัพแล้ว พระองค์ยังอาจ อาจทรงมี ปืนใหญ่Swivel Gunชนิดลำกล้องเล็ก small bore cannon ด้วย พระองค์ท่านอาจไม่ได้มีตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียว
เดิมเราเชื่อกันว่าพระแสงปืนที่ทรงใช้ที่แม่น้ำสะโตงเป็นปืนยาวประทับบ่ายิงเท่านั้น ครับ การคิดเป็นอื่นเป็นกบฎ

Swivel Gun ต่อ ปืนพวกนี้มักมีขนาดลูกปืนลูกปืนประมาณ หนึ่งนิ้ว ถึงสามนิ้วครึ่ง ลำกล้องสั้นยาวตามความต้องการใช้ ลำกล้องสั้นลูกปืนสามนิ้วก็ยิงเป้าใกล้ๆ ถ้าจะใช้ยิงระยะไกลๆก็ใช้ลำกล้องยาว ลำกล้องเล็กใช้กระสุนหนึ่งนิ้ว Swivel Gun ใช้ติดไว้ที่ราวเรือเป็นอาวุธรองจากพวกปืนใหญ่ประจำเรือ หรือถ้าจะเทียบกับวันนี้ ก็เป็นพวกปืนกล ๙๓ Browning M2 .50 ที่ติดข้างเรือรบ หรือปืนที่ติดบนป้อมปืนรถถัง เป็นอาวุธรองจากปืนใหญ่รถถังและปืนกลร่วมแกน


ปืนใหญ่ลำกล้องเล็กนี่มีทั้งที่เป็นSwivel Gun ติดฐานหมุนและที่ติดแท่นยิงคล้ายปืนใหญ่เรือ บางแบบฐานทำไว้ให้สดวกต่อการถอดเพื่อใช้ในการขนส่ง เดินทาง
ปืนใหญ่ลำกล้องเล็กเป็นอาวุธยิงไกลใช้ในยุโรปมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ.1300 -1500 ควบคู่กับปืนใหญ่หนักที่ใช้ทำลายกำแพงเมือง

 

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 07/06/2010 10:26:30


ความคิดเห็นที่ 12


ขอขอบคุณที่มาให้ข้อมูลครับ แต่ไม่เห็นด้วย
ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยกับกลไกของปืนที่จะเป็นปืนไฟ Arquebus ปืนคาบชุ Matchlock หรือแม้กระทั่งปืนคาบศิลา Flintlock
นั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก ประเด็นหลักของผมอยู่ที่พ.ศ. ๒๑๒๗ ระยะยิง ๔๐๐ เมตรที่แม่น้ำสะโตง ซึ่งระบุตามประวัติศาสตร์ของเรา ปืนอะไรสมัยพ.ศ. ๒๑๒๗ ที่ยิงได้ถึง ๔๐๐ เมตร ในขณะที่ปืนส่วนใหญ่ยังยิงกันในระยะแค่ช่วงเสาไฟฟ้า ต่างหาก

เพื่อไม่อ้างเนื้อหาที่หลายคนอาจไม่คุ้นเคย ผมขอสรุปเรื่องการใช้อาวุธปืนตามประวัติศาสตร์การทหาร เพื่อเป็นแนวให้น้องๆไปศีกษาในรายละเอียดต่อ
ปืนยาวระยะแรกๆเป็นปืนที่ใช้ดินปืนแบบดินดำ Black Powder ลำกล้องปืนเป็นลำกล้องเกลี้ยง Smooth Bore  มีระยะแม่นยำขนาดยิงเป้าขนาดคนได้ในระยะประมาณ ๕๐ ก้าว Pace คงประมาณหนึ่งช่วงเสาไฟฟ้า(สมัยนี้)  เมื่อกระสุนพ้นระยะแม่นยำกระสุนยังแล่นต่อ โดยวิถีกระสุนบานออกควบคุมไม่ได้ ยังใช้ยิงเป้าใหญ่ๆเช่นทหารที่อยู่รวมกันเป็นร้อยคนได้ กระสุนจะยังมีแรงพอที่จะทำอันตรายสิ่งที่อยู่ขวางหน้าไปได้จนถึงระยะประมาณ ๑๐๐ เมตร จึงหมดแรง ใครโดนเข้าในระยะเกินร้อยเมตรนี้อาจเป็นแผลช้ำแต่ไม่เข้าเนื้อ

มีการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีของปืนครั้งสำคัญ Technilogy Shift ที่มีการทำลำกล้องปืนให้มีเกลียวลำกล้อง Rifling ทำให้กระสุนหมุนเหมือนธนูที่มีครีบหาง กระสุนแล่นตรงและไกลขึ้น ปืนลำกล้องมีเกลียวเรียกว่า Rifle
การรบที่ Waterloo 1815 เป็นการรบใหญ่ครั้งสุดท้ายของปืนดินดำลำกล้องเรียบSmooth Bore Black Powder และเป็นการรบที่มีการบันทึกรายละเอียดมากที่สุด ก่อนยุคที่จะมีนักหนังสือพิมพ์ร่วมออกสนามรบกับกองทัพ ระยะแม่นยำที่ยิงเป้าขนาดคนได้อยู่ที่ ๘๐ เมตร/๘๗ หลา พ้นระยะนี้กระสุนยังเป็นอันตรายจนถึง ๑๘๗เมตร/๒๐๐หลา ในช่วงสองสามร้อยปีปืนดินดำลำกล้องเกลี้ยงยุคหลังมีการพัฒนาขึ้นกว่าปืนประเภทเดียวกันยุคแรกพอสมควร
เมื่อ 7 ต.ค.1777 ในสงครามประกาศอิสระภาพอเมริกา American Revolution ที่สนามรบ Saratoga  พรานแม่นปืนอเมริกัน Timorty Murphy ยิงนายพล Simon Fraserของอังกฤษเสียชีวิตที่ระยะ ๓๐๐ หลา (รายนึงอ้าง ๕๐๐ หลา) โดยใช้ปืนยาวลำกล้องเกลียวที่เรียกว่า Kentucky Rifle  ถือเป็นการยิงสังหารระยะไกลครั้งแรกของโลก
หลังเหตุการณ์ที่แม่น้ำสะโตง๑๙๓ ปี

หากจะเชื่อว่าที่แม่น้ำสะโตงเมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ ใช้ปืน Matchlock จะต้องยึดถือเอาระยะยิงของปืน Matchlock สมัยพ.ศ. ๒๑๒๗/ค.ศ.1584 ด้วย หรือจะจำลองปืนขึ้นมาใหม่ แต่ต้องใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่จริงสมัยนั้นเท่านั้น แล้วยิงหาระยะดู หากระยะที่ได้ต่ำกว่า ๔๐๐ เมตร ล่ะ แต่หากปืนMatchlockแบบที่ยิงเมื่อพ.ศ. ๒๑๒๗ ที่แม่น้ำสะโตง ยิงได้ถึง ๔๐๐ เมตร ได้จริง ก็จะลบตำนานของTimorty Murphy และ Kentucky Rifleและสร้างตำนานการยิงปืนใหม่ ได้

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 07/06/2010 10:36:47


ความคิดเห็นที่ 13


เรื่องที่จะถกกันนี้

1.. เรื่อง Swivel Gun

ปืนแบบนี้บ้านเราก็มีใช้ครับบนกลางช้าง เรียกกันว่า "ปืนขานกยาง"  , ปืนหามแล่นก็เรียก , ปืนเลลา หรือ ปืนลีลา ก็เรียก

จากรูปที่มีประกอบคือ  "ปืนหามแล่น" สมัย ร.4-ร.5



โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 05:23:43


ความคิดเห็นที่ 14


ปืนขานกยาง หรือ ปืนหามแล่น หรือ ปืนเลลานี้ ปกติส่วนใหญ่ก็ใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว สำหรับเจ้าพนักงานที่จะต้องไปตั้งกองคอยระวังเหตุ(จุกช่อง)

ถ้าอยู่ประจำบนหลังช้าง ก็จะต้องมีสัปคับ(หรือ แหย่ง) เอาไว้สำหรับนั่งคอยยิงปืนแบบนี้


2..ในประวัติศาสตร์พม่าบอกว่า พระนเรศวรใช้ปืนใหญ่ยิงพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์

แต่ไม่ใช่ปืนขานกยาง หรือ ปืนหามแล่น............หากแต่เป็นปืนใหญ่ที่อยู่ประจำบนเชิงเทินกำแพงพระนครศรีอยุธยาครับ

เรื่องการใช้ปืนขานกยางบนหลังช้างยิงใส่ศัตรูนั้น พระเจ้าบุเรงนองเอง สมัยที่มารบกับสยาม ในคราวศึกสิ้นสมเด็จพระศรีสุริโยไทย ก็เคยใช้ปืนขานกยางแบบนี้ยิงใส่จนแม่ทัพฝ่ายสยามเสียชีวิตไปแล้ว


3..ข้อมูลของฝ่ายไทย ต่างจากข้อมูลของฝ่ายพม่า

4..ทั้งปืนใหญ่ และ ปืนยาวคาบชุด ต่างก็ไม่มีการตีเกลียวด้วยกันทั้งคู่ เพราะฉะนั้นการยิงออกไป ถ้าเกินระยะ 50 เมตร ผลก็แทบไม่แตกต่างกันอยู่แล้ว เพราะไม่ได้เป็นการรับรองว่ายิงแล้วจะต้องโดน


โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 05:31:46


ความคิดเห็นที่ 15


5..ถ้าให้ผมเดา จุดที่ทรงพระแสงปืน ต้องไม่ใช่จุดที่ระยะความกว้างของแม่น้ำ 400 เมตรแน่นอน ต้องเป็นจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำซิตตอง(สะโตง)

เพราะการจะขนคน ม้า ช้าง ข้ามแม่น้ำย่อมต้องหาจุดที่แคบที่สุด

หรือบางทีอาจจะเป็นจุดที่ตื้นที่สุดของแม่น้ำก็ได้

..เพราะหากขนในจุดที่แคบที่สุด แต่ถ้าน้ำเชี่ยวเกินไป การขนคน+สัตว์+สิ่งของก็จะทำให้เสียเวลาในการบังคับแพ หรือ เรือ..

แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าขนในจุดที่น้ำตื้นที่สุด ก็จะสะดวกต่อการข้ามได้ง่ายกว่า น้ำไม่น่าจะเชี่ยว

เห็นได้จากกรณีการเดินทัพสยามไปข้ามน้ำที่บริเวณวัดท่าสุทธาวาส ต.บางเจ้าฉ่า อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ซึ่งในอดีตเป็นเส้นทางเดินทัพข้าม แม่น้ำเจ้าพระยาของทัพอยุธยามาตลอด

เพราะฉะนั้น สมมติฐานว่าจะเป็นปืนแบบไหน ก็ต้องพิจารณาจุดที่จะทรงพระแสงปืนด้วยเช่นกันครับ

ถ้าอยู่บริเวณน้ำตื้นมาก ๆ ก็อาจทรงประทับพระแสงปืนคาบชุดก็เป็นได้

 
โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 05:40:23


ความคิดเห็นที่ 16


จากรูปจะเห็นว่า แม่น้ำซิตตอง(สะโตง) ยาวมาก ในรูปแม่น้ำซิตตองคือ R1

Myanmar (Burma) Maps - Mon State

Map 
of Mon state

































จุดเบอร์ 3 คือส่วนที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำซิตตอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะแคบที่สุด สะพานนี้สร้างเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทหารญี่ปุ่นนะครับ แต่สร้างไม่เสร็จโดนระเบิดทำลายเสียก่อน รัฐบาลพม่าเพิ่งมาสร้างใหม่

จากรูปส่วนบน ๆ ของแม่น้ำ ก็ยัง "แคบกว่า"

ที่มา :http://www.ourweb.info/01/maps/myanmar/state-2.shtml
โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 05:50:49


ความคิดเห็นที่ 17


....ขออภัยครับ ข้อความเรื่องพระมหาอุปราชจำผิดศึกแล้วครับ ขออภัยเขียนมากชักมึน...


ถ้าไปลองดูใน Google Earth จะเห็นว่า
http://maps.google.com/

มีสันทราย(สีชมพู) ที่เกิดจากตะกอนทับถมอยู่บริเวณเกือบ ๆ จะถึงปากแม่น้ำเหมือนกันนะครับ (ใช้ Keyword : Sittaung River)

อาจจะเป็นจุดที่ทรงเลือกข้ามแม่น้ำตรงนี้ก็ได้ เพราะดูจากระยะทางแล้ว ลัดตัดตรงกว่าทางที่จะไปยังจุดที่แคบที่สุด(มีสะพานสร้างอยู่ในปัจจุบัน)

ซึ่งน่าจะข้ามได้ไวกว่า(หากน้ำตื้น : ตรงที่เขียนว่า Mokkamu) 

หรือบางที อาจจะทรงพระแสงปืนบนสะพานข้ามแม่น้ำก็ยังได้เลย... ??? (ดูจากพระอุปนิสัย ที่กล้ามาก ขนาดปีนกำแพงค่ายพม่าจนโดนอาวุธแทงต้องพระองค์มาแล้ว )








โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 06:16:04


ความคิดเห็นที่ 18


ประการสุดท้าย

ผมไม่ได้มองว่า การที่เห็นต่างแล้วจะเป็นกบฎ (เบื่อประโยคแบบนี้จริง ๆ )

เพียงแต่มีข้อสงสัยว่า

ถ้ามองว่าเหตุการณ์ยิงปืนนี้มันเป็นเรื่องจริง.ไม่ใช่เรื่องแต่งเสริมเกียรติยศแล้ว

ข้อมูลของบุคคลที่เคยทำงานใกล้ชิดวัตถุสิ่งของนั้น ๆ มาตลอด

...กับ...

ข้อมูลที่คาดเดาขึ้นเอง

อย่างไหนมันจะน่าเชื่อถือได้มากกว่ากันครับ ?

ฝรั่งก็ไม่ได้ถูกไปเสียหมด กรณีเรื่องเจิ้งเหอของ Mckansy นั่นก็ตัวอย่างหนึ่ง...

เพราะ เราก็ได้แต่เดา ๆ กันไป เพราะจุดที่ทรงพระแสงปืน(ถ้าทรงยิงจริง ๆ ) อยู่ตรงไหนของแม่น้ำสะโตงก็ยังไม่รู้.....และทุกคนไม่มีใครรู้แน่ ๆ ด้วยเช่นกัน




โดยคุณ lordsri เมื่อวันที่ 08/06/2010 06:30:18


ความคิดเห็นที่ 19


ขอขอบคุณท่าน Lordsriที่กรุณามาให้ข้อมุฃยืนยันว่าไทยเราก็มี Swivel Gun ในชื่อปืนกลางช้าง เป็นความรู้ใหม่ของผม ยอดเลยครับ อย่างไรก็ตามคงสรุปว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ เรามีปืนกลางช้างด้วยไม่ได้ หรือถึงจะมีปืนก็ไม่สามารถยืนยันว่าได้มีการใช้ยิงข้ามแม่น้ำสะโตง แต่ถ้ามี เอาว่า ถ้ามี
๑ ปืนจะอยู่ในตำแหน่งที่จะใช้ได้ง่าย
๒ ปืนจะมีอุปกรณ์ช่วยพยุงปืน พักปืน rest เล็งยิงได้โดยไม่ต้องยกปืน
๓ ระยะยิงที่น่าจะถึง ๔๐๐ เมตร เป็นระยะที่มากกว่าระยะยิงของปืนยาว
ขอขอบคุณที่มาให้ความรู้ครับ
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 12/06/2010 09:58:06


ความคิดเห็นที่ 20



ขอแสดงความยินดีกับความเห็น ถ้าให้ผมเดา จุดที่ทรงพระแสงปืน ต้องไม่ใช่จุดที่ระยะความกว้างของแม่น้ำ ๔๐๐ เมตรแน่นอน ต้องเป็นจุดที่แคบที่สุดของแม่น้ำซิตตอง(สะโตง)
แสดงว่าผู้รู้ก็แน่ใจว่ามีที่ผิดในตำนานแม่น้ำสะโตงเหมือนกัน

ของผม ไม่ติดใจเรื่องระยะยิง แต่สงสัยปืน เลยตัดปืนยาวออก เอาเป็นปืนใหญ่แทน
ของอีกท่านไม่สงสัยเรื่องปืน แต่แน่ใจว่าระยะผิด เลยขยับจุดยิงให้เข้าไปอยู่ในระยะยิงปืนยาว

ให้ผู้อ่านเลือกเชื่อดีกว่า

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 12/06/2010 10:01:03