พื้นที่ช่องบกเป็นบริเวณที่มีทิวเขาสลับซับซ้อน แนวทิวเขาส่วนมากจะอยู่ในเขตประเทศไทย ยอดเขาหรือยอดเนินเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นแนวสำคัญได้ 3 แนวคือ
1. แนวที่ 1 ถือเป็นแนวยอดเนินสุดท้าย ห่างชายแดนเข้ามาในเขตประเทศไทย 3-5 กม. มียอดเนินทอดติดต่อกันจากซ้ายไปขวา คือ ยอดเนิน 453,352,361 (ภูถ่ำเจีย) ,362,436
2. แนวที่ 2 เป็นแนวยอดเนินซึ่งห่างจากแนวชายแดนข้ามาในเขตไทย 1-3 กม. ทอดติดต่อกันจากซ้ายไปขวา คือ ยอดเนิน 497 (ภูปาดช้าง) ,500,408,382,396
3. แนวที่ 3 เป็นแนวยอดเนินซึ่งทอดติดต่อกันตามแนวชายแดน ซึ่งได้แก่ ยอดเนิน 565 (หน่วยที่เข้าทำการรบมักเรียกว่า โนเนม เนื่องจากในแผนที่ไม่ได้บอกตัวเลขความสูงไว้ ความสูงที่ได้ต้องอ่านจากเส้นลายขอบเขา) ,469,495,477,502,500
สำหรับยอดเนินที่ฝ่ายเราเข้าตีจะอยู่ในแนวที่ 1และ2 ซึ่งแนวที่ 2 จะเป็นแนวที่มีการรบรุนแรงที่สุด
พื้นที่ช่องบกเป็นบริเวณที่มีทิวเขาสลับซับซ้อน แนวทิวเขาส่วนมากจะอยู่ในเขตประเทศไทย ยอดเขาหรือยอดเนินเหล่านี้สามารถแบ่งเป็นแนวสำคัญได้ 3 แนวคือ
1. แนวที่ 1 ถือเป็นแนวยอดเนินสุดท้าย ห่างชายแดนเข้ามาในเขตประเทศไทย 3-5 กม. มียอดเนินทอดติดต่อกันจากซ้ายไปขวา คือ ยอดเนิน 453,352,361 (ภูถ่ำเจีย) ,362,436
2. แนวที่ 2 เป็นแนวยอดเนินซึ่งห่างจากแนวชายแดนข้ามาในเขตไทย 1-3 กม. ทอดติดต่อกันจากซ้ายไปขวา คือ ยอดเนิน 497 (ภูปาดช้าง) ,500,408,382,396
3. แนวที่ 3 เป็นแนวยอดเนินซึ่งทอดติดต่อกันตามแนวชายแดน ซึ่งได้แก่ ยอดเนิน 565 (หน่วยที่เข้าทำการรบมักเรียกว่า โนเนม เนื่องจากในแผนที่ไม่ได้บอกตัวเลขความสูงไว้ ความสูงที่ได้ต้องอ่านจากเส้นลายขอบเขา) ,469,495,477,502,500
สำหรับยอดเนินที่ฝ่ายเราเข้าตีจะอยู่ในแนวที่ 1และ2 ซึ่งแนวที่ 2 จะเป็นแนวที่มีการรบรุนแรงที่สุด
ถึงแม้ฝ่ายเราสามารถเข้าผลักดันและยึดรักษายอดเนินตามแนวที่ 1 ได้แล้ว ภูมิประเทศสำคัญบริเวณยอดเนินตามแนวที่ 2 ข้าศึก กรม ร.733 พล.ร. 315ก็ยังคงวางกำลังยึดรักษาอยู่ที่ เนิน 500 ,408 ,382 และ 396 โดยมีการวางกำลังในเขตไทยดังนี้
- ร.พัน 8 ตั้งอยู่บริเวณชายแดนใต้เนิน 500 วางกำลังระดับหมวดบนเนิน 500
- ร.พัน 9 ตั้งอยู่เหนือช่องบกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 600 เมตร และวางกำลัง ร้อย 9 ใว้ระหว่าง เนิน 408 และ 382 โดยส่งกำลังระดับหมวดไปอยู่บน เนิน 408 , 382
- ร.พัน 7 ตั้งอยู่บริเวณ เนิน 500 , 502รับผิดชอบพื้นที่ช่องโปร่งแดง
นอกจากนี้ยังมีอาวุธยิงสนับสนุน และหน่วยอื่นๆตั้งอยู่ตามแนวชายแดน ลึกเข้าไปในเขต กัมพูชา และ ลาว เพื่อเป็นส่วนสนับสนุนและเพิ่มเติมกำลัง
ปลายปี 2529 ฝ่ายเราเริ่มปฎิบัติการผลักดันข้าศึกอีกครั้ง ตามแผนยุทธการ ดี 9 โดยในช่วงแรกเป็นการปฏิบัติการสร้างความปลอดภัยให้กับราษฎรในพื้นที่ เนื่องจากเมื่อมีการรบปืนใหญ่ของข้าศึกที่ใช้ยิงต่อต้านปืนใหญ่ของฝ่ายเราและยิงทำลายการส่งกำลังบำรุง การเพิ่มเติมกำลังของฝ่ายเรา จะทำการยิงลึกเข้ามาในเขตไทยเรามาก ( ปืนใหญ่ 130 มม.ของข้าศึกที่ตั้งอยู่ บ.ตระเปียงกูล ห่างจากช่องบกเข้าไปในกัมพูชา 10 กม. สามารถทำการยิงได้ถึง อ. นาจะหลวย) ทำให้ราษฎรได้รับอันตรายและได้รับความเดือดร้อนได้ สำหรับการปฏิบัติการทางทหารเริ่มในเดือน ม.ค. 30 สามารถผลักดันและยึดเนิน 396 ได้ สำหรับเนิน 500 , 408 และ 382 นั้น ฝ่ายเราได้ใช้กำลัง 1 พัน ร.เข้าตี 3 ครั้งในเดือน ม.ค.-ก.พ.30 และใช้กำลัง 2 พัน ร.เข้าตีในเดือน มี.ค.30 ได้รับการต้านทานจากข้าศึกอย่างหนัก ทำให้ยังไม่สามารถผลักดันข้าศึกออกไปได้ การปฏิบัติตามแผนยุทธการ ดี 9 ฝ่ายเราเสียชีวิต 36 นาย บาดเจ็บ 252 นาย
เพื่อดำรงความมุ่งหมายในการผลักดันกำลังข้าศึกให้ออกไปจากเขตประเทศไทย กองทัพภาคที่ 2 จึงได้จัดตั้งที่ทำการยุทธวิธี (ทกย. ทภ.2) ขึ้นในพื้นที่ อ.น้ำยืน จว.อ.บ. และกำหนดแผนยุทธการเผด็จศึกขึ้น เพื่อประสานการใช้กำลังภาคพื้นดิน กำลังทางอากาศ หน่วยปฏิบัติการพิเศษ เข้าทำลายผลักดันข้าศึกบริเวณ เนิน 565 (โนเนม) ,500 , 408 , 382 , 376 โดยใช้กำลัง 5 พัน ร. (19 ร้อย ร.) , 1 ร้อย ถ.(-)/ร้อย ถ.หย่อนกำลัง , 9 ร้อย ป. , 1 ร้อย ลว.ไกล , 37 กองร้อยทหารพราน และกำลังสนับสนุนต่างๆเช่น ชุดสัตว์ต่างที่ใช้ในการส่งกำลังบำรุงในพื้นที่ป่าเขาที่ยานพาหนะไม่สามารถเข้าถึง ชุดสุนัขทหารที่ประกอบไปด้วยสุนัขลาดตระเวณและสุนัขตรวจค้นทุ่นระเบิด กำลังราษฎรอาสาสมัครซึ่งใช้ในการคุ้มกันเส้นทางส่งกำลังบำรุง และระวังป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง ในการปฏิบัติตามแผนได้กำหนดวัน ว.ในวันที่ 14 เม.ย.30โดยใช้กำลังเข้าตีพร้อมกันทั้ง 5 ที่หมาย ในการเข้าสู่ที่หมายในระยะแรกฝ่ายเราได้รับการต้านทานอย่างเบาบาง ยกเว้นเนิน 408 ที่ข้าศึกระดมยิงอย่างหนัก แต่ต่อมาข้าศึกใช้กำลังเข้าตีโต้ตอบฝ่ายเราอย่างหนัก ต่อเนื่องเป็นระยะ พร้อมทั้งใช้ปืนใหญ่ , ปรส.(ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง) , เครื่องยิงลูกระเบิดระดมยิงฝ่ายเราอย่างหนัก จนกระทั้งวันที่ 25 พ.ค.30 ฝ่ายเราจึงสามารถยึดและควบคุมที่หมายสำคัญ เนิน 408 , 382 ได้ ส่วน เนิน 500 แม้ฝ่ายเรายึดและควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ แต่ยอดเนินซึ่งเราเรียกกันว่า ไข่ดาว (ซึ่งอยู่ค่อนไปทางทิศใต้และเป็นจุดสูงสุดของเนิน) ฝ่ายข้าศึกยังคงยึดรักษาไว้ได้ แต่ฝ่ายเราก็ได้วางกำลังเกาะติดข้าศึกไว้ โดยกำลังหมวดที่อยู่หน้าสุดอยู่ห่างจากข้าศึกเพียง 60-70 เมตร และมีการยิงปะทะกันเป็นประจำทุกวัน จนพวกเราพูดกันติดปากว่า ยิงกันวันละ 3 เวลาหลังอาหาร ในการปฏิบัติการต่อมาเพื่อลดการสูญเสียฝ่ายเราจึงปรับยุทธวิธีไปใช้ชุดปฏิบัติการขนาดเล็กริดรอนกำลังข้าศึก พร้อมทั้งขุดคูเหลด(คูติดต่อ) สร้างเบิร์มปิดขยับกำลังทางปีกซ้ายของฝ่ายเราเข้าประชิดข้าศึกบนยอดเนิน 500 เข้าไปเรื่อยๆ ซึ่งหากกำลังทางปีกซ้ายของฝ่ายเราสามารถเข้าประชิดฐานข้าศึกบนยอดเนิน 500 และควบคุมพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของยอดเนินได้ ข้าศึกบนยอดเนิน 500 จะถูกตัดเส้นทางส่งกำลังบำรุงและเส้นทางเพิ่มเติมกำลัง เนื่องจากทิศใต้ของยอดเนินเป็นหน้าผาและทางด้านทิสตะวันตกเฉียงใต้เป็นเส้นทางสูงชัน ในวันที่ 2 ม.ค.31 เวลาประมาณ 2 ทุ่ม ข้าศึกได้ส่งกำลังเข้ากดดันกำลังฝ่ายเราที่เผชิญหน้ากันอยู่บนยอดเนิน 500 เกิดการยิงปะทะกันนานประมาณ 30 นาที กำลังข้าศึกส่วนใหญ่ได้ทำการถอนตัวออกจากยอดเนิน 500 คงเหลือกำลัง 5-7 คนเอาไว้เกาะติดความเคลื่อนไหวของฝ่ายเรา ในวันที่ 5 ม.ค.31 ฝ่ายเราจึงส่งกำลังเข้ายึดและควบคุมยอดเนิน 500หรือไข่ดาวเอาไว้ได้ จากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการเผด็จศึก ฝ่ายเราเสียชีวิต 45 นาย บาดเจ็บ 330 นาย
ช่วงสมรภูมิช่องบก ปี 29-30 ตอนนั้นผมอายุ 13-14 ปี จำความได้ว่าช่วงก่อนสงกรานต์ 2- 3วัน เห็น รถ GMC ลากจูงปืนใหญ่ และบรรทุกทหารผ่านหน้าบ้าน 30 กว่าคัน เป็นขบวนยาวเลยครับ รู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เห็นภาพ ทหารและอาวุธ มากมายในขณะนั้น และรู้สึกสงสารทหารที่ไปออกรบมาก ที่พวกเขาได้ทำหน้าที่แทนพวกเรา ตอนนั้นทหารในแนวหลังก็ ออกไปรับบริจาคสิ่งของกับ ร้านค้า ประชาชนทั่วไป เพื่อส่งไปยังแนวหน้า ผมจำได้ว่า แม่ผมได้บริจาค ผ้าอนามัย (เอาไว้ซับเลือดเวลาบาดเจ็บ) และมีเรื่องที่น่าหดหู่ใจในสมัยนั้นที่ผมได้ยินมา พวกชาวญวนอพยพที่อยู่ในอุบล มักจะปล่อยข่าวไม่ดีเกี่ยวกับทหารไทยเสมอ(สมควรไล่พวกมันกับบ้านไปด้วย) เป็นต้นว่าผ้าห่อศพ ในท้องตลาดขาดตลาด เนื่องจากทหารไทยถุกทหารเวียดนามฆ่าตายเป็นจำนวนมากและที่เคยเป็นข่าวหน้า 1 ในสมัยนั้น ตอนที่สงครามเข้าขั้นรุนแรง พลเอกเปรม นายกฯได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมให้กำลังใจทหารในแนวรบ แต่ ผู้ว่าราชการ ไม่อยู่ ลาราชการเพื่อไปทัวร์ที่ประเทศจีน ป๋าเปรม จึงมีคำสั่งด่วนให้ ผวจ.เดินทางกลับมารายงานตัวด่วน ผู้ว่าสมัยนั้น น่าจะเป็น เรือตรี ดนัย เกตุศิริ (บิดาของท่าน ผบ.กรมทหารที่ 16 ในปัจจุบัน)
ขอสดุดีในวีรกรรมของบรรพชนทุกท่านครับ
ที่ช่องบกตายเยอะยืนยันเพราะเคยได้ยินผู้ใหญ่คุยกันว่าตายเยอะจิงๆๆ ตายเยอะกว่าบ้านร่มเกล้าอีก แต่บ้านร่มเกล้าดังกว่า ทั้งทหารหลัก ทั้งทหารพราน ทั้ง ตชด. หามลงเปลกันลงมาทุกวัน ฟังแล้วมันคาราวะท่านเหล่านั้นจิงๆ