MIG-31 "Foxhound"
1ในสุดยอดเครื่องบินขับไล่ของโซเวียต
ในที่สุดก็ได้ฤกษ์เขียนถึงเครื่องบินตัวที่ปลื้มที่สุดซักที ปลื้มจนต้องเอามาตั้งเป็นชื่อนามแฝงตัวเอง หลายคนคงจะสงสัยว่าเจ้าเครื่องบิน Mig-31 มันมีอะไรให้ปลื้มขนาดนั้นฟะ สำหรับตัวผมเองก็คิดเหมือนกัน มันมีอะไรให้ปลื้มขนาดนั้นฟะทั้งๆที่รุ่นอื่นมีให้เพียบ ซึ่งผมบอกได้เพียงสั้นๆว่าเป็นเครื่องบินรบตัวแรกที่ผมไปอ่านเจอข้อมูล ยิ่งได้รู้จักก็ยิ่งสนใจ เครื่องบินรบที่รูปร่างเทอะทะใหญ่โต ไม่ได้มีความเป็นสเตล์ทเลยซักนิด ซึ่งจำกัดความได้ง่ายๆเหมือนรถถังลอยฟ้านั้นเอง แต่มันกลับมีความเป็นเครื่องบินรบชั้นยอดซึ่งแม้จะผ่านมาเนิ่นนาน มันเป็นเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ+ฐานยิงอาวุธลอยฟ้าที่บินได้เร็ว3พันกิโลเมตร/ชั่วโมง และยังพ่นพิษได้อยู่ถึงจะเก่าล้าหลัง ด้วยอาวุธประสิทธิภาพสูงประจำเครื่องที่สามารถสอยอากาศยานทุกชนิดในระยะหลักร้อยกิโลเมตร บทความบางแห่งเลยยกให้ มิก-31 เป็น1ในบรรดาเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นที่ดีที่สุดของโซเวียต/รัสเซีย เพราะรวมเอาเทคโนโลยีใหม่ๆในยุคนั้นที่จำเป็นแก่การรบทางอากาศเข้าไว้ด้วยกัน
ร่ายซะยาวมาเข้าเนื้อถึง Mig-31 (นามเรียกนาโต้ ฟอกซ์ฮาว์ด )ถูกพัฒนาโดยใช้แผนแบบ มิก-25 ฟอกซ์แบท เป็นแผนแบบ พื้นฐานเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นเพดานบินสูง ระยะบินไกล และความเร็วสูงมาก ติดตั้งเรดาห์ขนาดใหญ่มีกำลังค้นหาตรวจจับเป้าหมายทุกชนิด ภารกิจหลักนอกจากทำลายอากาศยานข้าศึกยังถูกใช้ล่าทำลายขีปนาวุธทุกชนิดที่ยิงจากเรือดำน้ำ เรือรบเข้ามาในพื้นที่ โดยใช้ความเร็วที่สูงมากถึง3มัคบินเข้าไปในพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีภารกิจลาดตระเวณและสกัดกั้นทางอากาศส่วนหน้าก่อนใช้แซมภาคพื้นยิงและยังเป็นอากาศยานรบของโซเวีนตรุ่นแรกๆที่สามารถลิงซ์เชื่อมโยงข้อมูลเรดาห์กับอีก3เครื่อง เพื่อรวมสัญญาณเรดาห์เข้าด้วยกันทำให้มีระยะตรวจจับไกลถึง900กิโลเมตร
มิก-25
มิก-31 ถูกสร้างขึ้นโดยสำนักออกแบบอากาศยาน มิโกยัน-กูเรวิช ในช่วงทศวรรษ1975 เพื่อทดแทน มิก-25 ที่ถูกสร้างขึ้นมาสกัดกั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูง เอ็กซ์บี-70 วัลคีรี ที่โครงการถูกยกเลิกไปประกอบกับข่าวกรองที่รัสเซียมีโดยหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ (พีวีโอ)พบว่ากลุ่มประเทศในนาโต้เริ่มนำขีปนาวุธมาใช้งานมากขึ้นโดยเฉพาะขีปนาวุธยิงจากเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำ แถมยังมีประสิทธิภาพในการโคจรเข้าหาเป้าหมายในระดับต่ำ แน่นอนว่าพื้นที่รับผิดชอบในยุคนั้นของโซเวียตทั้งหมดกว้างขวางเกินกว่าระบบแซมป้องกันทางอากาศภาคพื้นจะรองรับได้ ภาระเลยถูกส่งมาที่เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นที่มี มิก-25 นั้นมีข้อดีที่บินได้เร็วมากรวมถึงทำการบินระดับสูงมากได้แต่ ไม่สามารถตอบสนองในภารกิจบินลาดตระเวณระดับต่ำได้ดีพอ จึงทำให้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการบินป้องกันในระดับต่ำและสูงมาไว้ใน มิก-31
ต้นแบบ มิก-31 ชื่อว่า วายอี-155เอ็มพีหรือมิก-25มาดัดแปลงใหม่ทั้งลำโดยชื่อเดิมของมิก-25ที่เป็นต้นแบบของ วายอี-155คือ มิก-25อาร์บี การพัฒนาเริ่มในปี1966 เพิ่มความแข็งแรงของปีกและแพนหางให้มากขึ้น และห้องนักบิน2ที่นั้ง เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ต 2เครื่องยนต์ออกแบบโดย โอเคบี-36เอ็มเอพี สุดท้ายได้เครื่องยนต์ อาร์ดี-19เอ็ม และเสนอแบบในวันที่24พฤศภาคมปี1968ต่อกองทัพอากาศ โดยมีต้นแบบดังนี้คือ รุ่น วายอี-155 เอ็มพี ขับไล่/สกัดกั้นเพดานบินสูง รุ่นเอ็มเอฟ ลาดตระเวณ(และมีนักบิน2นายในรุ่นนี้) รุ่นเอ็มอาร์ ถ่ายภาพทางอากาศ นอกจากนั้นยังมีเรดาห์ว่ากันว่าเป็นระบบแรกในโลกที่สามารถตรวจจับเป้าหมายทุกประเภทโดยเกาะติดเป้าหมายที่มีความเร็วสูงได้ แยกประเภทเป้าหมาย รวมถึงเป้าหมายที่อยู่ในระดับสูงสุดจนถึงยอดไม้ ซึ่งประสิทธิภาพแทบจะเทียบเท่าเอแวค เลยก็ได้ เรดาห์ที่ว่านี้คือ เอ็น-0007แซสลอน(นาโต้เรียกว่าแฟรชแดนซ์) ที่พัฒนาโดย สำนักออกแบบ ทิโมรอฟ เอสอาร์(หรือเจเอสซี พลาโทรซอน ในยุคปัจจุบัน) ผู้พัฒนาเรดาห์ ไอบิส-อี ที่ติดตั้งกับ ซู-35ในปัจจุบัน
แต่มาถึงปี1971 ความต้องการของกองทัพอากาศโซเวียตเพิ่มขึ้นคือ ต้องการให้สามารถไต่ระดับความสูงได้มากกว่าเดิม แน่นอนว่าต้องหาเครื่องยนต์ใส่เข้าไปใหม่ โดยได้หันมาใช้เครื่องยนต์ ดี-30เอฟ-6 เทอร์โบแฟนที่ประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่าเดิมแถมมีแรงขับมหาศาลกว่า3หมื่น4พันปอน์ด พร้อมเชื้อเพลิงเต็มความจุอีก2500ลิตร ของสำนัก เอ็มเคบี โดยมีหัวหน้าวิศวกรเป็นผู้ออกแบบคือ พาเวฟ โซโลเยฟ ลำตัวของ วายอี-155 ประกอบด้วยวัสดุผสม มากกว่าเหล็กกล้าไร้สนิมที่ใช้กับมิก-25 โดย50%เป็นสแตนเลสโดยมีไทเทเนียม16%และอลูมิเนียม33% ปีกรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พื้นที่ใต้ปีกเพิ่มขึ้น1.2ตารางเมตร โดยเน้นความแข็งแรงของปีกเพื่อให้ติดตั้งจรวดนำวิถี เค-33(เอเอ-9เอมอส) ที่ลำตัวและให้สามารถทนการบินระดับต่ำด้วยความเร็วสูงได้ดี โดยเริ่มทดลองต้นแบบลำที่สมบูรณ์ปี1975ที่ชานกรุงมอสโก สร้างโดยโรงงาน มิโกยัน และเริ่มทดสอบในวันที่16กันยายนปีเดียวกัน โดยมีนักบินทดสอบได้แก่ บอริส ออลอฟ,วาเรียรี่ มินิสทรี เป็นต้น และบินอีกครั้งในวันที่22เมษายน1976 โดยนักบิน อเล็กซานเดอร์ โฟโวตอฟ ถือเป็นต้นแบบลำที่สองก่อนเข้าสู่สายการผลิตในชื่อ ฟอกซ์ฮาว์ด-เอ
ห้องนักบินและระบบเรดาห์
เรดาห์ เอ็น-0007 แซสลอน เป็นเรดาห์ เฟส-อเรย์ แบบแรกของ โซเวียต แน่นอนว่าทีมพัฒนาปวดหัวมากกว่าจะได้มันมาติดตั้งกับมิก-31 ในปี1968 พลาโทรซอน ได้รับมอบหมายให้พัฒนาเรดาห์เพื่อใช้กับ มิก-31 ทีมวิศวกรได้พัฒนาเรดาห์2คือ ดรอป-โกลซ่า และ วิรค์ ใช้เทคโนโลยีขั้นสุดยอดในยุคนั้นเรียกว่า แชปไฟร์ สเมิรซ์-100 แต่เรดาห์ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้ ทำให้ทางหน่วยป้องกันภัยทางอากาศให้ทาง ฟราโทรซอน ส่งเอกสารไปยังทีมพัฒนาเรดาห์อื่นๆมาร่วมกันพัฒนาขึ้นมาใหม่ในปี1971 เมื่อรวมบริษัทต่างๆเข้าด้วยกันเช่น เอ็นพีโอ-อิซต็อก จึงได้ แซสลอน มาใช้งาน โดยหลักๆได้แก้ไขปัญหาเรื่องการตรวจจับเป้าหมายที่โคจรเหนือพื้นดิน การเกาะติดเป้าหมายจำนวนมาก กว่าจะให้ระบบทำงานได้ต้องรอถึง12วินาทีเพื่อให้เรดาห์เริ่มสแกน เรดาห์เริ่มทดสอบครั้งแรกในปี1973และบินทดสอบในปี1976 ในวันที่15กุมภาพันธ์1978สามารถตรวจจับเป้าหมายในภารกิจแรกได้10เป้าหมายเหนือที่เพดานบินสูง5พันเมตร ในปี1981 มิก-31ติดตั้งเรดาห์ แซสลอน จึงได้รับการประเมินจากกองทัพอากาศและถูกสั่งผลิตเต็มที่ในปี1983
มิก-31เอ นั้นถูกติดตั้งระบบนำทางแบบ โพลยุช-1ไอ ระบบออโต่ไพลอท เอสเอยู-155ยูพี ซึ่งทำงานร่วมกับระบบเรดาห์แซสลอน และเซ็นเซอร์อินฟาเรด สาเหตุนึงที่ต้องใช้นักบิน2นายเพราะว่าเดิมที มิก-25 นั้นต้องพึ่งพาข้อมูลเป้าหมายจากสถานีเรดาห์ภาคพื้นดินรวมถึงความสำคัญของเป้าหมายที่ต้องทำการเข้าต่อตี แต่มิก-31 จะใช้นักบินที่สองเพื่อจัดลำดับเป้าหมาย ประเมินภัยคุกคามเพื่อเข้าตี มีระบบเขื่อมโยงข้อมูลอัตโนมัติกับเรดาห์ภาคพื้น เอเค-อาร์แอลดีเอ็น ระบบเชื่อมโยงข้อมูลดาต้าลิงซ์กับเครื่องบินลำอื่น เอพีดี-518 ใช้งานร่วมกับ ระบบควบคุมการการเชื่อมโยงข้อมูล บีเอเอ็น-75 สามารถลิงซ์ข้อมูลเรดาห์จาก มิก-31จำนวนรวม4เครื่องเข้าด้วยกัน(เรียกว่า วูฟแพค)จะมีระยะตรวจจับรวม900กิโลเมตร สามารถรวมเข้ากับเรดาห์ เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศแบบ เอ-50 แมนสเตย์ได้อีก นอกจากนั้นยังบินแยกกลุ่มล่ะ4ลำเพื่อโยงข้อมูลเรดาห์ให้กับอากาศยานอื่นได้อีก16เครื่อง(มิก-31จำนวน1ลำโยงข้อมูลซู-27จำนวน4เครื่อง) ซึ่งเครื่องบินหลักที่เข้ามาเชือมโยงภารกิจนี้คือ ซู-27เอส/พี ผ่านระบบควบคุมแบบ วอซดุต-1ซี-2บีเอ็ม ระบบเชื่อมต่อ ทีเคเอส-2-27 ใช้เวลารีเซทข้อมูลดาต้าลิงซ์ใหม่10วินาที ระบบดาต้าลิงซ์กับฐานภาคพื้น รากูด้า-เอ็มบี5ยู15เค
ระบบเรดาห์ เอสบีไอ-ไอ16(เอ็น-0007 แซสลอน เอส-800) มีระยะตรวจจับสูงสุด200กิโลเมตร เกาะติดเป้าหมายได้ไกล120กิโลเมตร ระยะกวาดทางราบ120องศา ส่วนมุมสูงและลึก+70/-60องศา สามารถตรวจจับเป้าหมายที่อย่สูงจากพื้นได้25เมตร ตรวจจับเป้าหมายที่มีหน้าตัดเรดาห์0.3ตารางเมตรในระยะ65กิโมตร เกาะติดเป้าหมายสูงสุด10เป้าหมายและยิงทำลายพร้อมกันได้4เป้าหมาย ระบบค้นหา/ติดตามเป้าหมายด้วยอินฟาเรด กึ่งอัตโนมัติ แบบ ทีพี-8 ไออาร์ไอเอส-ที เชื่อมโยงเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อำนวยการรบแบบ อาร์กอน-15เอ โดยเรดาห์ แซสลอน คลื่นค้นหาความถี่ เอ็กซ์แบน์ด ความถี่สูง9-9.5จิกะเฮิรซ์ แผ่นเรดาห์มีหน้าตัด1.1เมตร หนา30เซ็นติเมตร หนัก300กิโลกรัม หากรวมคอมพิวเตอร์และระบบอำนวยการรบเข้าไปก็1ตันพอดี กำลังไฟ2.5กิโวตต์ เรดาห์สามารถทำงานได้ต่อเนื่องนาน55ชั่วโมง นอกจากนั้นยังเป็นอากาศยานของโซเวียตแบบแรกที่ใช้ระบบอำนวยการรบดิจิตอล ซึ่งว่ากันว่ามีน้ำหนักเป็น2เท่าของเรดาห์ เอดับบิวจี-9 ของอเมริกา
ห้องนักบิน มิก-31 บีเอ็ม
เรดาห์ แซสลอน-เอ ที่ติดตั้งกับ มิก-31บี นั้นผลปวงมาจากข้อมูลที่รั่วไหลของวิศวกร อดอฟ โทวคาเชฟ ที่มีซีไอเอ อยู่เบื้องหลัง ทำให้โซเวียตต้องพัฒนาระบบเรดาห์ แซสลอน-เอ ขึ้นมา โดยขีดความสามารถหลักๆคือมีระยะตรวจจับไกลขึ้น ทำต่อการรบกวนในสภาวะสงครามอิเล็คทรอนิคได้ดี และพัฒนาต่ออีกคือรุ่น เอ็ม มีหน้าตัดเรดาห์1.4เมตร ระยะเกราะติดเป้าหมาย300ก.ม. ระยะตรวจจับไกลสุด400ก.ม. ใช้กับอาวุธ อาร์-37 ทดสอบในเดือนเมษายนปี1994 เรดาห์สามารถเกาะติดเป้าหมายสูงสุด24เป้าหมาย โจมตีเป้าหมายพร้อมกัน6เป้าหมาย นอกจากนั้นยังมีระบบเกาะติดเป้าหมายทางความร้อน ไออาร์ไอเอสที เลเซอร์วัดระยะอีกด้วย
นอกจากนั้นยังติดตั้งระบบเอสอาร์โอ-2พีไอเอฟเอฟ ระบบฐานข้อมูลจีพีเอส เอ็นเค-25 ในการลาดตระเวณเหนือพื้นที่ที่มีหมอกเช่นในสภาวะขั้วโลกเหนือที่สภาพอากาศเลวร้าย คลื่นวิทยุอาร์-862ยูเอชเอฟ,อาร์-864เอชเอฟ เสียงเตือนภัยคุกคาม พี-951
ที่นั้งนักบินของ ซเวสด้า เค-36ดีเอ็ม สามารถดีดตัวได้แม้แต่จอดบนพื้น มีระบบนวดตัวปรับได้สำหรับนักบินที่ทำการบินลาดตระเวณที่ยาวนาน
รุ่นต่างๆของ มิก-31 มียอดผลิตราวๆ500เครื่อง(ทั้งรุ่นประจำการและต้นแบบ)
มิก-31 ฟอกซ์ฮาว์ด-เอ เครื่องบินขับไล่สกัดกั้น รุ่นแรกจากสายการผลิต จำนวนผลิต280เครื่อง ที่โรงงานกอร์กี้ปี1977-1989
มิก-31แอลแอล นำมาดัดแปลงติดระบบควบคุมการยิงใหม่รวมถึงกล้องถ่ายภาพที่บริเวณปีก มีจำนวน1เครื่อง
มิก-31 ดีแซด ฟอกซ์ฮาว์ด-เอ ติดตั้งท่อเติมเชื้อเพลิงในอากาศหน้าห้องนักบิน สร้างจำนวน45เครื่อง ที่โรงงานในกอร์กี้ ปี1990-1991
มิก-31 บี ฟอกซ์ฮาว์ด-เอ ติดตั้งท่อเติมเชื้อเพลิงในอากาศ ระบบเรดาห์ แซสลอน-เอ ระบบอัพเดทแผนที่ดาวเทียม สร้างจำนวน162เครื่อง ที่โรงงานกอรกี้ ปี1990-1994
มิก-31บีเอส คือมิก-31 รุ่นบีที่ผลิตในกอร์กี ปี1990 มาดัดแปลงให้เป็นรุ่นบีเอส เข้าประจำการ
มิก-31ดี สร้างต้นแบบได้2เครื่องใช้ทำภารกิจต่อต้านดาวเทียม
มิก-31เอฟ รุ่นทำภารกิจขับไล่ โจมตี เปิดตัวในงานปารีสแอร์โชว์ ปี1995
มิก-31อี/เอฟอี รุ่นส่งออก
มิก-31เอ็ม ฟอกซ์ฮาว์ด รุ่นที่2 สร้างต้นแบบจำนวน7เครื่อง บินทดสอบครั้งแรกวันที่21 ธันวาคมปี1985 ใช้เรดาห์ แซสลอน-เอ็ม
มิก-31บีเอ็ม คือมิก-31รุ่นบีมาดัดแปลงเป็นรุ่น เอ็ม สามารถติดตั้งอาวุธโจมตีประสิทธิภาพสูงจำพวก เคเอช-31/59/59เอ็ม/29แอล เปิดตัวในปี1999
ระบบอาวุธของ มิก-31
ภารกิจขับไล่ ครองอากาศ
ปืนกลอากาศ จีเอสเอช-6-23(ปืนกลขนาด23ม.ม.6ลำกล้อง)1กระบอก อัตราการยิงกระบอกล่ะ 6-7000นัด/นาที กระสุน280นัด ในรุ่นเอ็มได้ถูกถอดออก
มิก-31สามารถติดตั้งอาวุธใต้ลำตัวได้4-6นัดและที่ไพลอนใต้ปีกข้างล่ะ2-4นัด จรวดนำวิถีต่อต้านอากาศยาน เอเอ-6 นำวิถีด้วยเรดาห์/เลเซอร์/อินฟาเรด ระยะยิง50ก.ม. ความเร็ว4.5มัค
เอเอ-9 เอมอส ระยะยิง160ก.ม.(รุ่นมาตราฐาน)228ก.ม.(รุ่นเอส)ความเร็วต่อตี3.5มัค(มิก-31เอ็ม ติดตั้งจำนวน6นัด) เอเอ-8 นำวิถีด้วยอินฟาเรดระยะยิง8ก.ม. ความเร็วต่อตี2.7มัค
มิก-31 ติดตั้ง เอเอ-13 4นัดใต้ลำตัวและ เอเอ-11 อีก4นัดที่ปีกทั้ง2ด้าน
เอเอ-12 แอดเดอร์ นำวิถีด้วยเรดาห์ ความเร็ว4.5มัค ระยะยิง50ก.ม.(รุ่นมาตราฐาน) เอเอ-11 นำวิถีด้วยอินฟาเรด ระยะยิง20ก.ม. ความเร็ว2.5มัค เอเอ-เอ็กซ์-13 ระยะยิง398ก.ม. ความเร็ว6มัค(ทดสอบกับ มิก-31บีเอ็มในปี1998 แต่ในแผนงานปี2006 มิก-31บีเอ็ม จะนำมาติดตั้งเพื่อเข้าประจำการ)
เคเอส-172 ระยะยิงไกล400ก.ม. ความเร็ว4มัค ใช้ยิงเป้าหมายที่ระดับความสูง3-30ก.ม. ภารกิจหลักล่าทำลายเครื่องบินแจ้งเตือนภัยทางอากาศ
ภารกิจโจมตี
ภารกิจโจมตีไวด์วีเซล(โจมตีระบบเรดาห์) เคเอช-31เอ/พี ระยะยิง110ก.ม. ความเร็ว2.7-3.5มัค นำวิถีด้วยเรดาห์พาสชีพและแอคทีพเรดาห์ เคเอช-25เอ็มพี/เอ็มพียู ระยะยิง10-40ก.ม. หัวรบนำทางได้หลายแบบทั้งเลเซอร์ เรดาห์ ทีวี เคเอช-29แอล/ที นำวิถีด้วยเลเซอร์ ระยะยิง10-12ก.ม.
มิก-31 ติดตั้ง เคเอช-31ที่ใต้ปีกและเอเอ-9เอมอสใต้ลำตัว
เคเอช-59เอ/เอ็ม โจมตีเรือรบ เป้าหมายอาคาร ระยะยิง115-200ก.ม. นำวิถีด้วยดาวเทียมและทีวี 3เอ็ม-14อี/ทีอี ระยะยิง300ก.ม. เข้าหาเป้าหมายด้วยดาวเทียม เพดานบินต่ำเกาะติดภูมิประเทศ ระเบิด เคเอบี-500/1500 เอฟเอบี-1500 นำวิถีด้วยเลเซอร์
ข้อมูลทั่วไป
มีนักบิน2นายโดย1นายเป็นนักบินและอีก1เจ้าหน้าที่สรรพวุธ เพดานบินสูงสุด67585ฟุต ความเร็วสูงสุด2.83มัคที่57400ฟุต ระยะบินไกลสุด3300ก.ม. ระยะทำการที่1200ก.ม. ที่ความเร็ว0.85มัค ระยะทำการ720ก.ม.ที่ความเร็ว2.35มัค
ราคาต่อลำปี1997ที่60ล้านเหรียญ
ผู้ใช้ รัสเซียและคาซัคสถาน โดยรัสเซียยังใช้ มิก-31เอ็ม/บีเอ็ม และเคยได้รับยความสนใจจัดหารุ่น มิก-31อี จากซีเรีย ในปี1992นั้นลงนามสัญญากับจีนในการจัดหา มิก-31จำนวน24เครื่อง คาดว่าเป็นรุ่นทำขับไล่ครองกาศ โดยจีนจะซื้อสิทธิบัตรจำนวน700ลำ ผลิตที่โรงงานที่ตั้งใหม่ในเมืองเซนหยาง อัตราผลิต4ลำต่อเดือนและคาดว่าจะส่งมอบเข้าประจำการได้ครบในปี2000 แต่ก็ไม่ได้มีความชัดเจนและส่งมอบจริงหรือไม่ โดยทั่วไปบอกว่าเนื่องจากประสิทธิภาพของ มิก-31นั้นล้าหลังเกินกว่า เจ-11(ซู-27)หรือเครื่องบินรบรุ่นใหม่ๆจากนาโต้ที่พัฒนาในช่วงท้ายสงครามเย็น
มิก-31อี
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=imruksa&month=07-07-2010&group=14&gblog=7
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
นานแล้วนะที่เวบนี้ไม่มีกระทู้แบบนี้
ในห้องนักบินนี้มีระบบครายเครียดอะไรบ้างอะครับ มีเเบบเครื่องเล่นDVD , Interned , เกม , หนังสือ , เอาBBไปเล่น Facebook ประมาณนี้
ปล.ถามเล่นๆสนุกๆครับอย่าหาว่าผมติ้งต้องเลยครับ