ความเป็นมา ในปี ๒๕๓๘ ทบ. กำหนดให้ใช้ยานเกราะล้อยางเป็นยานยนต์หุ้มเกราะในอัตราของหน่วย ร.๒ รอ. และ
ร.๒๑ รอ. และได้กำหนดแผนนโยบายเสริมสร้างกำลังกองทัพปี ๒๕๔๐ - ๒๕๔๙ โดยกำหนดแผนพัฒนาหน่วย ให้มี
การปรับการจัดหน่วย ร.๒ รอ. และ ร.๒๑ รอ. ไปสู่อัตราการจัดหน่วย กรม ร.(ก.) ตามขีดความสามารถด้านงบประมาณ
แต่เนื่องจากโครงการจัดหายานเกราะล้อยางมาใช้งานนั้น ต้องใช้งบประมาณสูง ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการ
ตลอดมา จนกระทั่งเวลาผ่านไป ๑๕ ปี ทบ. จึงเริ่มได้รับยานเกราะล้อยาง ๘x๘ BTR - 3E1 มาประจำการ ซึ่งปัจจุบัน
ผู้ผลิตได้ส่งมอบให้กับ ทบ. แล้ว จำนวน ๑๔ คัน ส่วนอีก ๘๗ คัน จะดำเนินการส่งมอบเป็นงวด จำนวน ๓ งวด
โดยสามารถส่งมอบได้ครบ ๑๐๑ คัน ใน ม.ค.๕๕ ซึ่ง ทบ. ได้กำหนดให้ประจำการที่หน่วย ร.๒ พัน.๑ รอ. จำนวน ๙๖ คัน
ส่วนที่เหลืออีก ๕ คัน แจกจ่ายให้กับ ศร. จำนวน ๓ คัน และ รร.สพ.สพ.ทบ. จำนวน ๒ คัน
คุณลักษณะทั่วไปของยานเกราะล้อยางที่ ทบ. กำหนด
๑. เป็นยานเกราะล้อยาง แบบ ๖x๖ ขึ้นไป ที่มีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ได้ทุกสภาพภูมิประเทศ
ในทุกสถานการณ์การสู้รบ
๒. มีขีดความสามารถในการบรรทุกพลรบพร้อมยุทโธปกรณ์ ได้อย่างน้อย ๑๑ นาย ไม่รวมพลประจำรถโดย
สามารถดำรงประสิทธิภาพความพร้อมรบของพลรบ
๓. ปฏิบัติการภายใต้เกราะกำบังที่สามารถป้องกันอันตรายจากสะเก็ด หรือแรงอัดของกระสุนปืนใหญ่
แตกอากาศ หรือสนามทุ่นระเบิดสังหารบุคคล หรือการระดมยิงจากกระสุนเจาะเกราะ ขนาด ๗.๖๒ มม. ลงมา ในระยะ
๑๕๐ เมตร และสามารถตรวจการณ์ และทำการยิงจากในตัวรถได้
๔. สามารถติดตั้งระบบอาวุธประจำรถได้หลายประเภท ตามที่ต้องการ โดยมีป้อมปืนที่สามารถทำการต่อสู้
ได้รอบตัว
๕. รถในตระกูลเดียวกันนี้สามารถใช้งานได้หลายความมุ่งหมาย
๖. สามารถปฏิบัติการในขณะทัศนวิสัยจำกัด ทั้งในพื้นราบ พื้นที่ป่าภูเขา ลำน้ำ และในเวลากลางคืน โดยมี
ขีดจำกัดน้อยที่สุด
๗. มีความอยู่รอดในสงคราม นชค.และมีระบบความอยู่รอดอื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกัน และความเชื่อมั่น
ให้แก่พลรบ ในขณะเกิดเพลิงไหม้ หรือกำลังจะจมน้ำ
๘. วิทยุประจำรถสามารถใช้งานร่วมกับวิทยุระบบ เอฟเอ็ม แบบความถี่ก้าวกระโดด (Hopping Frequency)
ในทุกโหมดการสื่อสาร ที่มีประจำการอยู่แล้วใน ทบ.ได้ และใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบควบคุม สั่งการ
ทั้งภายในและภายนอกตัวรถที่ดี และเชื่อถือได้
๙. เครื่องยนต์เป็นเครื่องยนต์ดีเซล หรือสามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลายประเภท (Multi Fuel) มีระบบ
ส่งกำลัง ระบบบังคับเลี้ยว และระบบเบรกที่มีประสิทธิภาพ การใช้งานของผู้ใช้กระทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน หรือยุ่งยากเกินไป
๑๐. เป็นตระกูลรถ ซึ่งยังคงมีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้ว ในประเทศผู้ผลิต รวมทั้งสามารถให้การ
สนับสนุนชิ้นส่วนซ่อม ได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑๕ ปี
เหตุผลสำคัญที่ ทบ. รับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ยานเกราะล้อยาง ๘x๘ แบบ BTR - 3E1
๑. ความพร้อมรบ ทบ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับจัดหายานเกราะ
ล้อยางจำนวน ๔๘ คัน ซึ่งสามารถนำมาประจำการ พัน.ร.(ก.) ได้เพียงครึ่งกองพัน แต่ถ้าเลือกแบบ BTR - 3E1 จะสามารถ
จัดหาได้ครบ ๙๖ คัน สำหรับ ๑ พัน.ร.(ก.) ในคราวเดียว
๒. อำนาจการยิง BTR - 3E1 มีการติดตั้งอาวุธประจำถึง ๕ ระบบ ในขณะที่แบบอื่นๆ มีเพียง ๑ - ๒ ระบบ
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบอำนาจการยิงกับแบบอื่น ๆ BTR - 3E1 จึงมีอำนาจการยิงมากกว่า
๓. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ผลิต BTR - 3E1 เสนอให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งการติดตั้งอุปกรณ์ และ
การผลิตกระสุนของอาวุธประจำรถตามที่ ทบ. ต้องการ
คุณลักษณะสำคัญของ BTR - 3E1
- พลประจำรถ ๒ นาย (พลขับ, พลยิง)
- พลรบ ๑๑ นาย (ขีดความสามารถการบรรทุก)
- มิติ : กว้าง ๒.๙๐ ม.
มิติ : ยาว ๗.๘๕ ม.
สูง ๒.๗๘ ม.
- ความเร็วสูงสุด บนถนน ๑๐๐ กม./ชม.
ในน้ำ ๘ กม./ชม.
- ระยะปฏิบัติการ ๖๐๐ กม.
- น้ำหนักพร้อมรบ ๑๖.๕ ตัน
- ขีดความสามารถในการไต่ลาด
ลาดชัน < ๓๐º
ลาดเอียง < ๒๐º
- ระยะพ้นพื้น ๐.๔๒ ม.
- ข้ามคูได้กว้าง ๒ ม.
- ข้ามเครื่องกีดขวางสูง ๐.๕ ม. ได้
- ปฏิบัติการได้ใน พท. ที่มีอุณหภูมิ -๑๕ ถึง + ๕๕ ºC
ระบบอาวุธ
๑) Automatic Cannon "ZTM - 1"
- ขนาด ๓๐ มม.
- ระยะยิงหวังผลภาคพื้น ๔,๐๐๐ ม.
- ระยะยิงหวังผลทางอากาศ ๒,๐๐๐ ม.
๒) Automatic Grenade Launcher "AG - 17"
- ขนาด ๓๐ มม.
- ระยะยิงไกลสุด ๑,๗๐๐ ม.
๓) Machine Gun "KT - 7.62"
- ขนาด ๗.๖๒ มม. (ติดตั้งเฉพาะแบบลำเลียงพล และ ทก.)
- ระยะยิงหวังผล ๒,๐๐๐ ม.
๔) "Barrier" Anti - Tank Missile System
- ระยะยิงหวังผล ๗๕ - ๕,๕๐๐ ม.
๕) Smoke Screen System (ค.ควัน)
- ขนาด ๘๑ มม. จำนวน ๖ เครื่องยิง
- ระยะยิง ๒๑๐ - ๓๕๐ ม.
๖) "Skif" Anti - Tank Guided Missile System (ติดตั้งเฉพาะแบบ ตถ.)
- ระยะยิงหวังผล ๗๕ - ๕,๕๐๐ ม.
๗) Machine Gun "KT - 12.7"
- ขนาด ๑๒.๗ มม. (ติดตั้งเฉพาะรถพยาบาล, ค.๘๑, ค.๑๒๐ และ ตถ.)
- ระยะยิงหวังผล ๒,๐๐๐ ม.
เพิมเติม
เพิ่มเติม
ที่มา http://www.crma31.com/crma31/board-view.php?forum_id=168
ภาพสวยมากท่านได้มาแต่ใด?
ข้าวหลามยูเครน บ้องอวบดีแท้ อยากดูการฝึกขึ้นลงของทหารว่าจะคล่องซักเพียงไรกับประตูข้างแบบนี้ แต่น่าจะคล่องกว่าของ รัสเซียหรือยูเครนเป็นแน่ ก็ทหารเราตัวมันเล็กกว่านี่เนอะ!
สวยงามมากกกกก!
สวยจัง สำหรับผมแล้ว กำขี้ดีกว่ากำตด
ขอบคุณ จขกท ภาพสวยๆเข้าพื้นที่การรบใด้รวดเร็วแถมอาวุธหนักๆอีก
รอเพียง รถถังหลัก 120มม ของทัพบกก็จะเต็มความสามารถแล้ว
ขอความกรุณา ตรวจสอบข้อมุลปืนกล KT 12.7 หน่อยครับ ติดตั้งกับรถพยาบาล ?
และปืนกล KT-7.62 ไม่น่าจะยิงได้ไกลถึง 2,000 เมตร เท่า KT-12.7
ขอขอบคุณข้อมูล และภาพ ครับ
ว้าววววว ! เยี่ยม
แจ่มมาก ยิ่งลาย ดิจิตอล นี่สวยงามที่สุด
บอกได้คำเดียวว่า มันสวยมากกกกกก
สวยกว่าที่คิดเยอะเลยครับ แต่ลายดิจิตอลนี้ใหญ่ไปหน่อยเนอะ นึกว่าเลโก้ 555+
หุหุในที่สุดก็เริ่มหลุดมาแล้วสาวยูเครนนางนี้ ยอมรับว่าดูบึกบึนดี แต่ว่าประตูอยู่ข้างลำตัวลงทีคงเสียวพิลึก เตียงท้องแบนเรียบ อืมลงสามจังหวัดใต้กลัว IED จัง
ท่าน ผบ.ประยุทธ์ไม่เหลียวมองดู รถขับสี่ของชัยเสรีบ้างหรือ
งามแท้ๆ ทบ.ไทย
โอ้ว สุดยอด ดูสวยบึกบึนดีครับ
เริ่มเผยตัวออกมาแล้ว ...
สวยงามมาก ๆ ครับ มาซะที รอมานานแล้ว อยากลูบไล้สาวยูเครนร่างอวบอ้วนจังเลย ขอบคุณมาก ๆ นะครับคุณ Chin ที่นำรูปมาให้ดู
แจ่มเลยคับ
อยาให้เอารถนี้มาแสดงยุทวธีเข้าตีจังเลยคับ คงจะมันส์กระจาย
จาก ร.ด. เชียงใหม่คับอิอิ
ดูแล้วมันส์มากครับนี่ถ้าไดรถถังหลักเสริมมาอีกก็แหล่มเลย
เห็นลายชัดๆก็ครั้งนี้แหละครับ งามมากๆ อยากให้ลายนี้ไปอยู่บนตัว ฮ. Mi-17 จัง