พอดีเจอในเวปของ ทอ. เลยเอามาให้เพื่อนๆสมาชิกอ่าน รำลึกถึง สงครามบ้านร่มเกล้าครับ
การปฏิบัติการทางอากาศในกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า
๑๕ ธ.ค.๒๕๓๐ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๑๙๐(๐๐)/๓๐ ห้วงเวลา ๑๑๒๕-๑๒๐๐ ๖ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ และ ๔๐๓๔ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV 099492,101489,104510 เป้าหมายเป็นกำลังทหารต่างชาติประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ คน อยู่ในที่มั่น
ดัดแปลงแข็งแรงมีคูสนามล้อมรอบ มีที่พัก ๒-๓ หลังและเป็นหน่วยสนับสนุนส่งเสบียง โดยมี
๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตฝ.๑๑ (RT-33) จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ไม่มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๒๓ ธ.ค.๒๕๓๐ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๑๙๖(๐๐)/๓๐ ห้วงเวลา ๑๐๔๕-๑๒๓๐ ๖ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ และ ๔๐๓๔ (ตาคลี) ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) และ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV 110489และเนิน ๑๓๗๐ พิกัด QV101506 เป้าหมายเป็นที่รวมพลทหารต่างชาติ อยู่ในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง มีบังเกอร์และคูสนามล้อมรอบ มีอาวุธหนัก ปรส.๗๕ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตฝ.๑๑
(RT-33) จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ไม่มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๖ ม.ค.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๑ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๑๐๐-๑๑๒๐ ๖ บ.ข.๑๘ ข/ค
(F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ และ ๔๐๓๔ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด
QV 102489,101492 เป้าหมายเป็นกำลังทหารต่างชาติประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ คน อยู่ในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง มีบังเกอร์และคูสนามล้อมรอบ มีที่พัก ๒-๓ หลังและเป็นหน่วยสนับสนุนส่งเสบียง โดยมี
๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตฝ.๑๑ (RT-33) จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน SA-7 จากฐานบ้านภูเวียง สปปล. จำนวน ๒ นัด บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
๓๐ ม.ค.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๒๒ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๕๒๕-๑๕๔๐ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน๔๐๓๔(ตาคลี)โจมตีทางอากาศบริเวณภูเวียง พิกัดQV31469,150486,128465 เป้าหมายเป็นที่รวมพล ทปล.ประมาณ ๑๕๐ คน และปืนใหญ่ไม่ทราบขนาดซ่อนพรางตามภูมิประเทศ โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๑ (ตาคลี) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ
อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ไม่มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๑ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๒๓(๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๓๓๓-๑๔๑๐ ๘ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน ๔๐๓๓ และ ๔๐๓๔ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณภูฮวด พิกัด QV 115478 และภูเวียง พิกัดQV142482, 135495,140483,132492,132488 เป้าหมายเป็นที่รวมพลของ ทปล.ประมาณ ๗๐๐ คน คลังอาวุธ อาวุธต่อสู้อากาศยาน และสนามบินลูกรัง โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค
(F-5E/F) จาก หน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณพื้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน แต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๒๔(๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๔๐๘-๑๔๑๐ ๒ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) หน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV101492, 102489 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทหารต่างชาติ และห้วงเวลา ๑๗๓๕-๑๗๔๕ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค(F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี)โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัดQV099492,101489,103498 เป้าหมายเป็นกำลังทหารต่างชาติประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ คน อยู่ในที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง มีบังเกอร์และคูสนามล้อมรอบ และมีอาวุธหนัก ปรส.๗๕ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณพื้นที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
๒ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๒๗,๒๘,๓๐ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๐๗๐๐-๑๔๒๐
๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ ๔๐๓๔ (ตาคลี) และ ๒ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านนาปอ พิกัด QV 154455,155452 และบ้านภูซำเนียน พิกัด QV 191552,192553 188555,189553 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทางทหารต่างชาติ และเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๑,๑๐๒๒ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณพื้นที่ บ้านนาเจริญ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
๓ ก.พ.๒๕๓๑ สถานการณ์ทวีความรุนแรงขึ้น ศสอต.๓ จึงได้สั่งการให้ ๑ ฮ.๔ก หน่วยบิน ๒๐๑๓ (น่าน) เคลื่อนย้ายกำลังไปสมทบกับ ๑ ฮ.๔ก หน่วยบิน ๒๐๑๒ (พิษณุโลก)
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๓๑ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๐๐๐-๑๐๐๙ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๔ (ตาคลี) และ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๓๓ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๕๕๕-๑๖๑๐ ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) และ ๒ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV 099492,101498
เป้าหมายเป็นที่ตั้งทหารต่างชาติ มีคูสนามล้อมรอบ และอาวุธหนัก ปรส.๗๕ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SA-7 จำนวน ๓ นัด และ ปตอ.ขนาด ๓๗ มม.จำนวนหนึ่งแต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๓๒ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๑๕๓-๑๖๒๐ ๒ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) และ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณภูเวียง พิกัด QV 127510,131480,132488,135534,136522 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทหารต่างชาติ มีอาวุธต่อสู้อากาศยาน โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
๔ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๓๗ (๐๐)/๓๑ ) ห้วงเวลา ๐๗๒๐-๐๗๔๐ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV099492, 101498 เป้าหมายเป็นที่ตั้งกองกำลังทหารของลาว รวม ๒ เป้าหมาย โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค
(F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลจาก รายงานผลการสอบสวน อ.เสียหายเนื่องจากการบ โดย กรมยุทธการทหารอากาศ
เมื่อเวลา ๐๖๓๐ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี)
วิ่งขึ้นจาก กองบิน ๔ ภารกิจโจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘
- บ.หมายเลข ๑ (หมายเลข ทอ.๒๕/๒๔ ) มี น.ต.สุรศักดิ์ บุญเปรมปรีดิ์ เป็นนักบิน
- บ.หมายเลข ๒ (หมายเลข ทอ.๒๒/๒๔) มี ร.อ.อาคม วรเสียงสุข เป็นนักบิน
เวลา ๐๗๑๐ หลังจาก น.ต.สุรศักดิ์ฯ เข้าโจมตีด้วยการทิ้งระเบิด ๕๐๐ ปอนด์ (MK-82) พร้อมกันจำนวน ๔ ลูก ขณะดึงเครื่องขึ้นจากเป้าหมายได้ถูกฝ่ายตรงข้ามยิงต่อต้านด้วยจรวดนำวิถีพื้นสู่อากาศ (SA-7B) อย่างต่อเนื่องจำนวน ๗ นัด จากภูเวียง มีนัดหนึ่งยิงถูกบริเวณ
ท่อท้ายเครื่องยนต์ซ้าย ทำให้เครื่องยนต์ดับทั้ง ๒ ข้าง นักบินพยายามทำการติดเครื่องยนต์อีกครั้งแต่เครื่องยนต์ไม่ทำงานจึงต้องสละ บ. เครื่องบินตกที่ พิกัด QV009527 ทางทิศเหนือ ห่าง ๔ กม. จากบ้านร่มเกล้า และอยู่ลึกเข้ามาในเขตไทย ๑๐ กม. (ทิศทาง ๐๓๕ องศา ระยะทาง ๖๒ ไมล์ทะเล จาก จ.พิษณุโลก ) นักบินปลอดภัย
สำหรับ บ.หมายเลข ๒ หลังจาก ร.อ.อาคมฯ แจ้งตำบลเครื่องบินตกแล้วได้บินไปทิ้งระเบิดที่ภูเวียง จนเสร็จภารกิจแล้วจึงบินกลับมาลงที่ กองบิน๔ (ตาคลี) เมื่อเวลา ๐๗๓๕
ข้อมูลการปฏิบัติ ภารกิจของ ฮ.ค้นหาและช่วยชีวิต
จากการสัมภาษณ์ น.อ.ภิรมย์ นวลปลอด ผอ.กกส.สก.ทอ.เมื่อ ก.พ.๒๕๕๑
ในการค้นหาและช่วยชีวิตนักบินที่ถูกยิงตก ๑ ฮ.๔ ก จากหน่วยบิน ๒๐๑๒ (พิษณุโลก) มี ร.อ.สมชาย สังขมณี และ ร.ท.เดชา กรมสุริยศักดิ์ เป็นนักบิน ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ กองบิน ๔๖ ได้วิ่งขึ้น บินค้นหาร่วมกับ ๑ ฮ.๔ก หน่วยบิน ๒๐๑๓ (น่าน) มี ร.อ.ภิรมย์ นวลปลอด และ ร.ท.ทรงพล แจ้งสี เป็นนักบิน ซึ่งเตรียมพร้อมอยู่ที่ บ้านนาเจริญ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก พิกัด QV 001413 โดยมี ๑ บ.จล.๙ จากหน่วยบิน ๔๖๑๓ (พิษณุโลก) เป็น บ.คุ้มกัน
แต่เนื่องจากพื้นที่เกิดเหตุเป็นหุบเขารกทึบประกอบกับนักบินได้พยายามหลบหนีออกจากจุดเครื่องบินตกไปทางทิศตะวันตกและยังไม่เปิดเผยที่ซ่อนตัว นอกจากนั้นแล้วนักบินยังไม่สามารถนำชุดยังชีพซึ่งติดค้างอยู่บนยอดไผ่มาใช้งานได้ ทำให้การค้นหาต้องล่าช้าออกไปถึง ๔ ชม. ฮ.ค้นหาฯ จากหน่วยบิน ๒๐๑๓ จึงสามารถมองเห็นทัศนะสัญญาณของ น.ต.สุรศักดิ์ฯ โดยการโบกเสื้อยืดสีขาว เมื่อเวลา ๑๑๑๕ ฮ.ไม่สามารถลงรับที่พื้นได้จึงใช้รอกกว้าน ( HOIST) รับตัวขึ้นมาได้โดยปลอดภัย ฮ.ค้นหาฯ กลับมาลงที่สนามบิน กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก) เมื่อเวลา๑๒๓๐
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๓๘ (๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๕๐๐-๑๕๐๘ ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณเนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV 099492,101489 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทหารต่างชาติ มีคูสนามล้อมรอบ และอาวุธหนัก ปรส.๗๕ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๑ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน
ผลการปฏิบัติ ไม่ได้ใช้อาวุธ เนื่องจากสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SA-7 จำนวน ๓ นัด และ ปตอ.ไม่ทราบขนาด จำนวนหนึ่ง
๕ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๔๔(๐๐)/๓๑ ห้วงเวลา ๑๐๐๖-๑๐๑๐ ๑ บ.ข.๑๘ ค (F-5F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๔ (ตาคลี) และ ๒ บ.ข.๑๘ ข (F-5E) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) ภารกิจ โจมตีทางอากาศบริเวณ เนิน ๑๔๒๘ พิกัด QV 101489 ด้วยระเบิด LASER GUIDE BOMB ขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ เป้าหมายเป็นฐานที่มั่นใหญ่ของทหารลาวในเขตแดนไทย และอาวุธหนัก ปรส.ขนาด ๗๕ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๑ (ตาคลี) เป็น บ.คุ้มกัน
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SA-7 จำนวน ๓ นัด แต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
ข้อมูลการปฏิบัติภารกิจของ ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F)
จากการสัมภาษณ์ น.อ.ธเนศ ชลิตภิรัติ รอง ผบ.พล.บ.๒ บยอ.เมื่อ ก.พ.๒๕๕๑
- บ.หมายเลข ๑ F-5F หน่วยบิน ๔๐๓๔ (ตาคลี) มี น.ท.วีรวิท คงศักดิ์ และ น.ต.เจริญ บำรุงบุญ เป็นนักบิน (บ.ชี้เป้า LTDS )
- บ.หมายเลข ๒ F-5E หน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) มี น.ต.พลเดช สุภาตรัย เป็นนักบิน (บ.ทิ้งระเบิด)
- บ.หมายเลข ๓ F-5E หน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) มี ร.อ.สถาพร เจริญศิริ เป็นนักบิน (บ.ทิ้งระเบิด)
- บ.หมายเลข ๔ F-5E หน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) มี ร.อ.ธเนศ ชลิตภิรัติ เป็นนักบิน (บ.ทิ้งระเบิด)
นักบินในภารกิจนี้ทั้งหมดมาประชุมวางแผนร่วมกันที่ กองบิน ๔ (ตาคลี) และวิ่งขึ้นจากสนามบินตาคลี โดยที่ บ.หมายเลข ๔ซึ่งเป็น บ.ทิ้งระเบิดสำรอง ไม่ได้ทำการวิ่งขึ้น
หมายเหตุ ในการรบวันนี้ไทยเราต้องสูญเสียกำลังพลทหารม้าส่วนหน้าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นพื้นที่สูงชัน ยากลำบากต่อการเข้าตีทางพื้นดิน ประกอบกับทั้งสองฝ่าย
ทำการรบอยู่ในระยะใกล้กันมากเพื่อให้การระดมยิงของปืนใหญ่ฝ่ายลาวกระทำได้ยาก ดังนั้นอานุภาพความรุนแรงของระเบิดขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ จึงมีผลกระทบต่อฝ่ายเราด้วย
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๔๔ (๐๐)/๓๑ ไม่ทราบห้วงเวลา ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค
(F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณภูเวียง พิกัด QV 131496,132485, 136522 เป้าหมายเป็นที่ตั้งฐานปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จาก
หน่วยบิน ๔๐๓๑ (ตาคลี) เป็น บ.คุ้มกัน
ผลการปฏิบัติ ไม่เรียบร้อย เนื่องจาก บ.หมายเลข ๑ มีเชื้อเพลิงรั่วจึงละภารกิจ บ.กลับมาลงสนามบิน กองบิน
๖ ก.พ.๒๕๓๑ ศสอต.๓ สั่งเคลื่อนย้ายกำลัง ๒ บ.จ.๕ จาก ฝูงบิน ๔๑๑ (เชียงใหม่) มาทำหน้าที่คุ้มกัน ฮ.ค้นหาฯ แทน บ.จล.๙
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๔๙ (๐๐)/๓๑ ) ห้วงเวลา ๑๒๓๕-๑๒๕๐ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณภูเวียงพิกัด QV 131496, 134489, 132491,132488 เป้าหมายเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน
ในการปฏิบัติภารกิจครั้งนี้ บ.หมายเลข ๒ มีเชื้อเพลิงรั่วจึงได้ละภารกิจ ส่วนอีก ๓ เครื่องที่เหลือ ปฏิบัติภารกิจเรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ไม่มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๗ ก.พ.๒๕๓๑ มีการใช้กำลังทางอากาศเป็นจำนวนมากต่อเป้าหมายภายนอกประเทศลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึก ๒๐ กม. ศยอ.ศปก.ทอ.ได้สั่งการให้ ๑ ฮ.๔ก หน่วยบิน ๒๐๑๑ (ลพบุรี) และ
๑ ฮ.๖ก หน่วยบิน ๒๐๓๑ (ลพบุรี) เคลื่อนย้ายไปเพิ่มเติมกำลังที่ กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก) และให้
๑ ฮ.๔ก หน่วยบิน ๒๐๑๓ (น่าน) ถอนกำลังกลับที่ตั้ง ฝูงบิน ๔๑๖ (น่าน) และมีการเพิ่มเติมกำลังของ บ.จ.๕ ที่คุ้มกัน ฮ.ช่วยชีวิต จากจำนวน ๒ เครื่อง เป็น ๔ เครื่อง
ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๕๑ (๐๐)/๓๑ ) ห้วงเวลา ๑๑๐๐-๑๑๑๐ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณภูเวียงพิกัด QV 131496, 134489, 132491,132488 เป้าหมายเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน และ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านจากอาวุธต่อสู้อากาศยานแบบ SA ไม่ทราบขนาด จำนวน ๓ นัด และ ปตอ.ขนาด ๓๗ มม.จำนวนมาก แต่ บ.ฝ่ายเราปลอดภัย
๙ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๕๔ (๐๐)/๓๑ ) ห้วงเวลา ๑๐๐๐-๑๔๐๐ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓,๔๐๓๔ (ตาคลี) และ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) (เป็น บ.ทิ้งระเบิด GP ๕๐๐ ปอนด์ ๒ เครื่อง อีก ๑ เครื่อง เป็น บ.ชี้เป้า LTDS) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านนากอก สปปล.พิกัด QV 301677, 305663,305659 เป้าหมายเป็นที่รวมพล คลังอาวุธและที่ตั้งปืนใหญ่ขนาด ๑๓๐ มม. โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (พิษณุโลก) เป็น บ.คุ้มกัน และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ บ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
ผลการปฏิบัติ ไม่เรียบร้อย เนื่องจากสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด
จึงละภารกิจ ไม่มีการใช้อาวุธ
๑๑ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๕๔ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๑๑๕-๑๕๐๒ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓,๔๐๓๔ (ตาคลี)(หมู่บินละ ๒ เครื่อง) และ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) ( เครื่องที่ ๑ บรรทุกระเบิด LGB ๕๐๐ ปอนด์ ๑ ลูก เครื่องที่ ๒ บรรทุกระเบิด GP ๕๐๐ ปอนด์ ๔ ลูก เครื่องที่ ๓ เป็น บ.ชี้เป้า LTDS) โจมตีทางอากาศบริเวณ
บ้านนากอก สปปล.พิกัด QV 301677,305663 305659 เป้าหมายเป็นที่รวมพล คลังอาวุธ และที่ตั้งปืนใหญ่ขนาด ๑๓๐ มม. และที่บ้านต้นตาล สปปล.พิกัด QV 248471 เป้าหมายเป็นอาคารที่พัก ๔ หลังและที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (อุดรธานี) (เที่ยวละ ๒ เครื่อง) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33)จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓,๔๐๓๔ (ตาคลี) ปฏิบัติภารกิจสำเร็จ อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ยกเว้น บ.หมายเลข ๑ ปลดระเบิดไม่หลุด ๒ ลูก
ห้วงเวลา ๑๑๒๐-๑๑๒๓ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) ไม่ได้ใช้อาวุธเนื่องจากได้รับแจ้งจาก บ.ตล.๗ ว่าถูก LOCK ON ด้วย RADAR FIRE CONTROL จึงละภารกิจ
ห้วงเวลา ๑๕๐๐-๑๕๐๒ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) บ.หมายเลข ๑ และ ๒ ปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จเนื่องจากสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด
จึงละภารกิจ บ.หมายเลข ๓ (บ.ตข.๑๘ หมายเลข ทอ.๓/๑๓) ประสบอุบัติเหตุขณะวิ่งขึ้นจาก
กองบิน ๒๓ นักบินปลอดภัย
๑๒ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๕๗ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๔๓๐-๑๔๓๕ ๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑(อุดรธานี) ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓ (ตาคลี)
๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๔ (ตาคลี) และ ๔ บ.จ.๕ (OV-10) จากหน่วยบิน ๔๑๑๑ (เชียงใหม่) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านนากอก สปปล.พิกัด QV 301677,305663,302664 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทางทหาร อาคารที่พักประมาณ ๑๐ หลัง มีคูสนามเพลาะล้อมรอบ ปตอ.ขนาด ๕๗ มม.จำนวน ๒ กระบอก โดยมี ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33) จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์
ผลการปฏิบัติ ๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑ (อุดรธานี) ปฏิบัติภารกิจสำเร็จ อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ไม่มีการยิงต่อต้าน ส่วน ๕ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๓,๔๐๓๔ (ตาคลี) ) และ ๔ บ.จ.๕ (OV-10) จาก หน่วยบิน ๔๑๑๑ (เชียงใหม่) ปฏิบัติภารกิจไม่สำเร็จ เนื่องจากสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด จึงละภารกิจ
๑๓ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๕๙ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๓๐๕-๑๓๑๐ ๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑ (อุดรธานี) ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) และ ๔ บ.จ.๕ (OV-10) จากหน่วยบิน ๔๑๑๑ (เชียงใหม่) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านนากอก สปปล.พิกัด QV 286658,295687 301677,302664,305663 เป้าหมายเป็นที่ตั้งทางทหาร อาคารที่พักประมาณ ๑๐ หลัง มีคูสนามเพลาะล้อมรอบ ปตอ.ขนาด ๕๗ มม. ๒ กระบอก โดยมี ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33)จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑
(ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ ๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑ (อุดรธานี) และ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒ (โคราช) ปฏิบัติภารกิจเรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยานจำนวนมาก ทำให้ บ.หมายเลข ๒ ของ
๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑ (อุดรธานี) ถูกยิงด้วยจรวดต่อสู้อากาศยาน (SAM-7) บริเวณท่อท้าย เครื่องยนต์ขวาดับ นักบินนำ บ.กลับมาลงสนามบินอุดรฯ ได้โดยปลอดภัย
ส่วน ๔ บ.จ.๕ (OV-10) จาก หน่วยบิน ๔๑๑๑ (เชียงใหม่) ปฏิบัติภารกิจ
ไม่สำเร็จ เนื่องจาก บ.จ.๕ หมายเลข ๑ ถูกยิงตกที่สนามบินนากอก
ข้อมูลการปฏิบัติภารกิจของ ๕ บ.ข.๑๘ /ก
จากการสัมภาษณ์ พล.อ.ต.เผด็จ วงษ์ปิ่นแก้ว ผบ.พล.บ.๒ บยอ. และ
น.อ.ธเนศ ชลิตภิรัติ รอง ผบ.พล.บ.๒ บยอ. เมื่อ ก.พ.๒๕๕๑
๕ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๑ (อุดรธานี) ในภารกิจนั้นมี น.ต.ทรงธรรม โชค-คณาพิทักษ์ เป็น หน.หมู่บิน บ.หมายเลข ๒ ที่ถูกยิงเป็น บ.ข.๑๘ก หมายเลข ทอ.๔/๒๕ มี น.ต.
ธีระพงษ์ วรรณสำเริง และ ร.ท.ณฤทธิ์ สุดใจธรรม เป็นนักบิน ถูกยิงด้วยจรวดต่อสู้อากาศยาน (SAM-7) บริเวณส่วนท้ายของ บ.เสียหาย เครื่องยนต์ขวาดับ นักบินนำเครื่องกลับมาลงที่สนามบิน กองบิน ๒๓ (อุดรธานี) ได้โดยปลอดภัย
ข้อมูลการปฏิบัติภารกิจของ ๔ บ.จ.๕
จากการสัมภาษณ์ พล.อ.ต.วัธน มณีนัย ผช.ฝสธ.ประจำ ผบ.ทอ. และ
น.อ.อนิรุท กิตติรัต รอง จก.กร.ทอ. เมื่อ ก.พ.๒๕๕๑
ในตอนค่ำของวันที่ ๑๑ ก.พ.๒๕๓๑ ขณะที่ ฝูงบิน ๔๑๑ มีงานเลี้ยง Combat ready อยู่นั้น ผบ.กองบิน ๔๑ มีคำสั่งด่วนให้นักบินทุกคนกลับไปพักผ่อนเพื่อเตรียมรับภารกิจสำคัญในวันรุ่งขึ้น
๑๒ ก.พ.๒๕๓๑ เวลาประมาณ ๐๔๐๐ ๔ บ.จ.๕ วิ่งขึ้นจาก กองบิน ๔๑ (เชียงใหม่) เพื่อมารับการติดตั้งระเบิดและรับฟังแผนการโจมตี ที่ บน.๔๖ (พิษณุโลก)ในช่วงเวลานั้นสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด ทำให้ต้องรอจนกว่าสภาพอากาศจะเปิดเสียก่อน
เวลาประมาณ ๑๐๐๐ ได้รับรายงานสภาพอากาศเหนือเป้าหมายเปิด ๔ บ.จ.๕ได้วิ่งขึ้นจากสนามบินพิษณุโลกเพื่อไปโจมตีสนามบินบ้านนากอก สปปล.แต่สภาพอากาศไม่เป็นใจ ไม่สามารถบินข้ามพรมแดนออกไปได้ จึงต้องวนรอบริเวณ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ และในที่สุด
ก็ต้องละภารกิจกลับมาลงสนามที่พิษณุโลกอีกครั้ง เพื่อรอปฏิบัติภารกิจนี้ใหม่ในวันรุ่งขึ้น
๑๓ ก.พ.๒๕๓๑ ๔ บ.จ.๕ หมู่เดิมนามเรียกขาน “ชบา”วิ่งขึ้นจาก กองบิน ๔๖ (พิษณุโลก)
อีกครั้ง ก่อนวิ่งขึ้นได้รับการแจ้งเตือนจาก ร.อ.ชาญชาย เกิดผล (ยศ ปัจจุบัน พล.อ.อ.) นักบิน
บ.ข.๑๘ ข/ค ฝูงบิน ๑๐๒ ว่า สปปล.มีอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีอำนาจการยิงสูง ขอให้ระมัดระวัง
น.ท.สมนึกฯ ผบ.ฝูงบิน ๔๑๑ ได้สั่งปรับแผนใหม่ โดยให้แบ่งหมู่บินออกเป็น
๒ หมู่บินย่อย หมู่บินย่อยแรก (เครื่องหมายเลข ๑ และ ๒) จะบินนำเข้าสู่เป้าหมายและทิ้งระเบิดที่ความสูง ๖,๐๐๐ ฟุต ซึ่งเป็นความสูงที่เหมาะในการทิ้งระเบิด หมู่บินย่อยที่ ๒ (เครื่องหมายเลข ๓ และ๔) ให้บินอยู่เหนือขึ้นไปที่ ความสูง ๘,๐๐๐ ฟุต และจะทำหน้าที่เข้าโจมตีซ้ำหากหมู่บินแรก
ทิ้งระเบิดพลาดเป้าหมาย
- บ.หมายเลข ๑ มี น.ท.สมนึก เยี่ยมสถาน และร.อ.ไพโรจน์ เป้าประยูร เป็นนักบิน
- บ.หมายเลข ๒ มี ร.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ และ ร.ท.สุรพันธ์ สุวรรณทัต เป็นนักบิน
- บ.หมายเลข ๓ มี ร.อ.วัธน มณีนัย และ ร.ท.ธนศักดิ์ เมตะนันท์ เป็นนักบิน
- บ.หมายเลข ๔ มี ร.ท.สมศักดิ์ หาญวงศ์ และ ร.อ.อนิรุท กิตติรัต เป็นนักบิน
ก่อนที่หมู่บิน บ.จ.๕ จะมาถึงเป้าหมายได้มีหมู่บิน บ.ข.๑๘ โจมตีกวาดล้าง
รัง ปตอ.อยู่ก่อนแล้ว เมื่อ บ.จ.๕ มาถึงและกำลังจะเข้าโจมตีเที่ยวแรกต่อเป้าหมายซึ่งเป็นคลังอาวุธ นักบิน บ.หมายเลข ๔ ซึ่งอยู่สูงกว่าสังเกตเห็นกลุ่มควันสีขาวจากพื้นดินพุ่งตรงมายัง บ.หมายเลข ๑ (บ.จ.๕ หมายเลข ทอ.๘/๑๔) คาดว่าจะเป็นจรวดแซม ๗ เครื่องบินเสียการทรงตัว นักบินทั้งสองจึงต้องสละ บ. (เวลาประมาณ ๑๓๐๐) นักบิน บ.หมายเลข ๔ มองเห็นร่มชูชีพกางออกจำนวน ๒ ร่ม ตกลงไปในสนามบินบ้านนากอก บ.จ.๕ ที่เหลืออีก ๓ เครื่อง ถูกระดมยิงจากอาวุธภาคพื้นดินอย่างหนักจนต้องถอนตัวกลับเข้ามาฝั่งไทย
มีคำสั่งให้ บ.จ.๕ ทั้ง ๓ เครื่อง กลับไปโจมตีเป้าหมายเดิมอีกครั้ง แต่ไม่อาจกระทำได้เพราะนักบิน ๒ คน ของเราถูกจับตัวไป อาจได้รับอันตรายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายเรา
ข้อมูลการปฏิบัติภารกิจของ ฮ.ค้นหาและช่วยชีวิต
จากการสัมภาษณ์ น.อ.ปรีชา ชนะชัย รอง ผบ.กกล.ทอ.ฉก.๙ (ปัตตานี) เมื่อ มี.ค.๒๕๕๑
มีคำสั่งจาก ศสอต.๓ ให้ชุดค้นหาและช่วยชีวิต ประกอบด้วย ๑ ฮ.๔ก จาก หน่วยบิน ๒๐๑๑ มี น.ท.ธนิต รอดนุสนธิ์ และ ร.อ.ปรีชา ชนะชัย เป็นนักบิน และ ๒ บ.จ.๕
( บ.คุ้มกัน) ซึ่งบินเตรียมพร้อมในอากาศบริเวณบ้านไร่ (พิกัด QV 090700 ใกล้ชายแดน ทางทิศตะวันตกของเป้าหมาย)ให้บินเข้าไปช่วยเหลือนักบิน บ.จ.๕ ที่ถูกยิงตกที่สนามบินบ้านนากอก แต่ในขณะที่ ฮ.ค้นหาฯ กำลังจะบินข้ามชายแดนออกไปนั้นได้รับการติดต่อจากหมู่บินบ.จ.๕ นามเรียกขาน “ชบา” ที่กำลังบินกลับออกมา จึงขอให้นำทางไปยังจุด บ.ตกให้ด้วย แต่ได้รับการแจ้งเตือนว่า ข้าศึกมีกำลังอำนาจการยิงสูงและหนาแน่นมากไม่ควรบินข้ามชายแดนเข้าไป ฮ.ค้นหาฯ จึงบินกลับมาวนรอที่จุดเดิม (พิกัด QV 090700) เพื่อรอคำสั่งใหม่ จนกระทั่งเวลา ๑๗๐๐ จึงได้รับคำสั่งให้บินกลับมาลงที่สนามบิน กองบิน ๔๖
ส่วนชุดค้นหาและช่วยชีวิตชุดที่ ๒ ประกอบด้วย ๑ ฮ.๖ก หน่วยบิน ๒๐๓๑ และ ๒ บ.จ.๕ ซึ่งบินเตรียมพร้อมในอากาศทางใต้ของ อ.ท่าลี่ (พิกัด QV 8045 ใกล้ชายแดนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเป้าหมาย) ไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าค้นหาฯ
เมื่อ บ.จ.๕ นามเรียกขาน “ชบา” ทั้ง ๓ เครื่อง กลับมาลงสนามที่ กองบิน ๔๖ นักบินทั้งหมดถูกแยกนำตัวไปสอบสวน กรณีขัดคำสั่งไม่กลับไปโจมตีซ้ำที่เป้าหมายเดิม (นี่คือธรรมชาติของ ทอ.ผู้สั่งการในห้องแอร์ มักเก่งกว่า นบ.ผู้ไปปฏิบัติภารกิจที่เสี่ยงตายอยู่เสมอ)
น.ท.สมนึกฯ และ ร.อ.ไพโรจน์ฯ ถูกทหารลาวนำตัวไปควบคุมไว้ที่นคร
เวียงจันทร์ ภายหลังจากมีการเจรจาสงบศึกแล้ว และเมื่อ พล.อ.ชวลิตฯ ได้เดินทางไปเยือนลาว คณะผู้แทนทหารของไทยจึงได้รับตัว นบ.ทั้งสองกลับมาเมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ.๒๕๓๑
๑๔ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๖๑ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๒๑๗-๑๒๔๐ ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๒ (ตาคลี) และ ๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) หน่วยบิน ๔๐๓๓,๔๐๓๔ (ตาคลี) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านบ่อส้าน สปปล.พิกัด QV42557,239551,233550,234543, 321542 เป้าหมายเป็นอาคารที่พัก คลังเสบียงอาหาร และฐานที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด โดยมี
๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๓ (โคราช) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33)จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จาก
หน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย ยกเว้น บ.หมายเลข ๑
ต้องละภารกิจเนื่องจากเชื้อเพลิงรั่ว ไม่มีการยิงต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๑๕ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๖๒ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๒๒๕-๑๔๑๗ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) (เครื่องที่ ๑ และ ๒ บรรทุกระเบิด LGB ๕๐๐ ปอนด์ เครื่องที่ ๓ เป็น บ.ชี้เป้า LTDS) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านต้นตาล สปปล.พิกัด QV 248417 เป้าหมายเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด ๑ กระบอก อาคารที่พัก ๔ หลัง และ ๓ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒,๑๐๒๓ (โคราช) โจมตีทางอากาศบริเวณภูซำเนียน สปปล.พิกัด QV 190553, 196546 เป้าหมายเป็นอาคารที่พักและอาวุธต่อสู้อากาศยานไม่ทราบขนาดและแบบ โดยมี
๔ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๒ (ตาคลี) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33) จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จาก
หน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ ห้วงเวลา ๑๒๒๕-๑๒๔๕ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) ปฏิบัติภารกิจเรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมาย แต่ห้วงเวลา ๑๖๕๒-๑๖๕๘ ๓ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) ต้องละภารกิจเนื่องจากสภาพอากาศเหนือเป้าหมายปิด ส่วน ๖ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๑๐๒๒,๑๐๒๓ (โคราช)
โจมตีภูซำเนียนสำเร็จ อาวุธตกคลุมเป้าหมาย มีการยิงต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน
๑๖ ก.พ.๒๕๓๑ ตามคำสั่ง ยก.ย่อยที่ ๖๒ (๐๐)/๓๑) ห้วงเวลา ๑๑๓๐-๑๑๕๐ ๒ บ.ข.๑๘ /ก (F-5A/B) จากหน่วยบิน ๒๓๑๓ (อุดรธานี) ( เครื่องที่ ๑ บรรทุกระเบิด LGB ๕๐๐ ปอนด์ เครื่องที่ ๒ เป็น บ.ชี้เป้า LTDS) โจมตีทางอากาศบริเวณบ้านนาโนน สปปล.พิกัด QV 237443 เป้าหมายเป็นที่ตั้งปืนใหญ่ไม่ทราบขนาด ๑ กระบอก อาคารที่พัก ๔ หลัง โดยมี ๒ บ.ข.๑๘ ข/ค (F-5E/F) จากหน่วยบิน ๔๐๓๒ (ตาคลี) เป็น บ.คุ้มกัน ๑ บ.ตล.๑๑ (RT-33)จากหน่วยบิน ๕๖๑๑ (ดอนเมือง) เป็น บ.ถ่ายภาพหลังการโจมตี และ ๑ บ.ตล.๗ (ARAVA) จากหน่วยบิน ๔๐๔๑ (ตาคลี) เป็น บ.ลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ เหนือบริเวณ อ.ด่านซ้าย จ.เลย
ผลการปฏิบัติ เรียบร้อย อาวุธตกคลุมเป้าหมายไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๕๐-๑๙๐ เมตร ไม่มีการยิงต่อต้านด้วยอาวุธต่อสู้อากาศยาน
หมายเหตุ เป็นการปฏิบัติการทางอากาศครั้งสุดท้ายในกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้า เนื่องจากมีการพบปะหารือระหว่างคณะผู้แทนทหารของไทย นำโดย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกรักษาราชการผู้บัญชาการทหารสูงสุด กับคณะผู้แทนทหารสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชานลาว นำโดย พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุนพัน หัวหน้าเสนาธิการสูงสุด กองทัพประชาชนลาว ที่ห้องรับรองกองทัพอากาศ กรุงเทพฯ
การปฏิบัติการทางอากาศในกรณีพิพาทบ้านร่มเกล้าครั้งนี้ ทอ.ได้เสียเครื่องบินตรวจการณ์ไร้นักบิน บ.ว.๑ (RPV: REMODE PILOTED VEHICLE) ของ ฝูงบิน ๔๐๔
(ตาคลี) จากการถูกยิงตก ๑ เครื่อง (ยังหาหลักฐาน วัน เวลา สถานที่ และรายละเอียดของเหตุการณ์ที่ถูกยิงตกไม่ได้)
ขอบคุณครับข้อมูลละเอียดมาก
ทำไม เวลาเครื่อว f5 ไปทิ้งระเบิด ต้อง มี บ. rt 33/ avara บินตามไปด้วยครับ
หมายเลข ๒ มี ร.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ และ ร.ท.สุรพันธ์ สุวรรณทัต เป็นนักบิน
ผมเคยอ่านหนังสือ นักรบเลือดไทย
หน้า121 ตอน นักรบเวหาผู้ไล่ล่า ผกค.
เป็นเรื่องราวของ นักบินคนที่1เครื่องหมายเลข 2 ร.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์
เป็นเรื่องตั้งแต่ เลือกเรียน ทีแรกท่านเลือกเหล่า เรือ ครับ แล้วพี่ชายทั้งสองของท่านบอกใ้ห้เปลี่ยนไป
เลือกเหล่า อากาศ ซึ่งตอนแรกท่านเลือก เหล่าอากาศเป็นอันดับสอง
" สงครามที่ไม่มีการประกาศระหว่างโลกเสรีกับคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นทั้งในเวียดนาม ลาว และในกัมพูชา
ประเทศไทยซึ่งดำเนินนโยบายทหารตามแนวทางของ สหรัฐอเมริกาจึงส่งนักบินเข้าร่วมในสงครามเหล่านั้น
ทั้งในลักษณะของความร่วมมือทางทหารทหารอย่างเปิดเผยและ "นักบินลับ" ที่บินให้กับแอร์อเมริกาและซีไอเอ
แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ สถานการณ์ภายในประเทศกองทัพไทยต้องทำสงครามปราบปรามผู้ก่อการร้าย
ซึ่งเป็นกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในหลายภูมิภาค
ความต้องการนักบินจึงมีอยุ่สูงและในประเทศไทยไม่มีโรงเรียนหรือ
สถาบันแห่งไหนที่ผลิตนักบินให้กับกองทัพโดยตรง
ดังนั้นกองทัพอากาศจึงมีความจำเปนต้องรับ "พลเรือน" รวมทั้ง นักเรียนจ่าอากาศเข้าไปเป็นศิษย์การบิน
เหมือนเช่นที่เคยกระทำมาในอดีต และด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนการบินจึงมีการกำหนดชื่อแยกแยะ อย่างชัดเจนตามที่มาของศิษย์การบินแต่ละประเภท
ว่าที่ เรืออากาศตรีอานนท์จึงเป็นศิษยืการบิน ชั้น"สัญญาบัตร" ในปีนั้น โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นทั้งสิ้น 50นาย ในจำนวนนี้มาจาก กองทัพเรือ5นาย "
บทความบางตอน จากหนังสือ
ท่านยังกล่าวอีกว่า OV-10 เหมาะกับการทำสงครามปราบปรามผู้ก่อการร้ายมากที่สุด เพราะมีความเร็วน้อยกว่าเครื่องบิน ไอพ่น แบบ F-5
ส่งผลให้การใช้อาวุธมีประสิทธิภาพแม่นยำกว่าเครื่องบินความเร็วสูง
แต่ไม่เหมาะกับการทำสงครามกับต่างประเทศ อย่างเช่น สงครามบ้านร่มเกล้า เพราะเครื่องบินมีความเร็วช้าและข้าศึกมีศักยภาพในการต่อสู้อากาศยาน
อาทิ เช่น SAM-7 แต่ผกค.นั้นส่วนมากก็ใช้พวกปืนเล็กยาว
ผมขอคารวะ นักบินไทยทุกท่านที่ปกป้องน่าฟ้าไทยและนำเครื่องบินฟ่าดงกระสุน ปตอ. ไปทิ้งระเบิดทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้าศึก
ถ้าไม่มีพวกเขาเหล่านี้ และทหารกล้าทุกนาย ในวันนั้น ประเทสจะกลายเป็น คอมมิวนิสต์ไปแล้ว
ขอบคุณครับ ว่างๆ หายุทธเวหาเหนือน่านฟ้าลำปางมาให้อ่านบ้างสิครับ
ปล.ผมเคยได้ยินมาว่า B-29 ถูกยิงตกเครื่องแรกโดยนักบินไทย ท่านที่ทราบบอกผมหน่อยว่าเครื่องบินที่สอย B-29 นี้เครื่องอะไรครับ
ตอบคุณgokinw31652 ในวิกิเคยบอกไว้ตอนนี้เจอลบออกไปแล้ว แถมบอกว่าบี29ที่ปฏิบัติการในไทยไม่เคยตกเพราะเจอสอย เหอะๆ
เลยหาข้อมูลจากที่อื่น เครื่องที่สอยคือกิ-43 ฮายาบูซาครับ (Ki-43 Hayabusas)
http://blog.nationmultimedia.com/print.php?id=1611
ดูล่างสุดของหน้าเลยครับได้ข้อมูลดังนี้
Hayabusas and B-29s. On November 27, 1944, the Allies sent fifty-five B-29s to bomb Bangsue marshalling yard in Bangkok. Flight Lieutenant Terdsak Worasap led a flight of seven Ki-43 Hayabusas to intercept, shooting down one B-29.
แปลคราวๆไทยใช้ฮายาบูซา 7ลำ ในการรุมยิงบี29มะกันที่มาถล่มกรุงเทพฯ จนตกไปหนึ่งลำครับ
แถมภาพวาดมาด้วย
ขอบคุณพี่แทนมากเลยครับไม่คิดว่าพี่แทนจะมาตอบโพสผมด้วย
ผมติดตามเว็บพี่มาตลอดเลยครับพี่อะ บุรุษในดวงใจเลยครับ
SAM-7 ถึง 7 ลูก จึงจะสามารถสยบเครื่อง F-5 E/F ที่ไม่มีพลุไฟ ของไทยได้
แบบนี้ไม่สงสัยในฝีมือ นักบินของไทยแล้วหละ
เอ่อรู้สึกเหมือนเคยได้ยินมาด้วยนะว่าเคยสอย F-15 เมกา ด้วย F-5 ใครรู้ช่วยบอกหน่อยว่าจริงป่าว
F-5 เราเคย ส่อยF-15 ในการฝึกซ้อมมาแล้วครับ F-5เราส่อย F-15ได้1ลำ และF-5เรา ล่วงยกฝูงครับ
นักบิน F-15 บอกว่า งงกับลูกหลอกของF-5ครับ เลยทำให้ ตกไปโดยแบบงง
มีรูปเครื่อง F 5E ของไทยที่โดนจรวด Sam ที่ช่องโอบก
เครดิตให้ตามเว็บนี้เลยครับ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=12-05-2006&group=2&blog=1
ขอแก้ไขข้อมูลนะครับ จากรูปเป็น F-5B ไม่ใช่ F-5E หมายเลขเครื่อง 400778 จากรูปจะเห็นท่อไอพ่นที่ถูกแซม และรูปที่ซ่อมแล้วนำกลับมาประจำการต่อไปได้อีก
ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=12-05-2006&group=2&blog=1
ไม่คลางแคลงใจในความสามารถของนักบินไทยเลยครับ ว่าแต่ทางกองทัพ จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดขนาดนี้เลยเหรอครับ
ข้อมูลแบบนี้ดครับ
ลงเผยแพร่ให้คนไทยทราบมีประโยชน์มากกว่าปกปิด
บ.ตล.๑๑ (RT-33) <---- ทำหน้าที่ถ่ายภาพบริเวณจุดพิพาท เพื่อประเมิณสถานการณ์การวางกลยุทธ์
บ.ตล.๗ (ARAVA) <---- ทำหน้าที่หาข่าว ทางสัญญาณ(Signal Intelligent)/ข่าวทางการสื่อสาร
RT-33
Arava
แหมรูป F-5B และเรื่องราวจากเวป www.wingsofsiam.pantown.com แท้ๆ แต่ไปปรากฏในเวปบ๊อก ได้เครดิต ไปซะงั้น น้อยใจจริงๆ
เห็นรูปF-5 ที่โดน SAM แล้วยังบินกลับฐานได้ ทำให้ผมเห็นความสำคัญ บินรบแบบสองเครื่องยนต์เลยทีเดียว
แต่แนวโน้มบินรบไทยในอนาคตมีแต่แบบยนต์เดียว