เคยมีคนพูดกันเยอะ เรื่อง A-10 กับกองทัพอากาศไทย ส่วนตัว ผมก็ชอบบบบบบบบบและอยากได้ มีคนถามว่า จริงหรือ เป็นไปได้หรือที่ไทยคิดจะซื้อ
จริงครับ อย่างที่ผมเคยบอกว่า เมื่อปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ นั้น มีเครื่องบินมากมายหลายแบบมาทดสอบในไทย ทั้ง ทอร์นาโด F-7M และนี่คือคำตอบที่ไม่ได้คำตอบจนทุกวันนี้ของ A-10 ในการแถลงข่าวของ พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี ผู้บัญชาการทหารอากาศ เมื่อปี ๒๕๓๑ ครับ
กับสถานะการณ์ตอนนี้ A10 น่าสนใจที่จะจัดหามาใช้ครับ เพราะสามารถใช้ปราบยานเกราะข้าศึกได้สบายๆ
ถ้าไทยมี A-10 รถถังของประเทศเพื่อนบ้านคงได้หนาวสั้นกันไปตามๆกันครับ ถึงเป็นเพื้นที่ป่าก็เถอะ ปืน GAU-8 ถางป่าเรียบ
ถ้าจัดหามือสอง A10 นี่ละที่น่าสนใจสัก 1-2 ฝูง ครับ
เจ้า A10 นิ มีประเทศ ไหน ใช้ บาง หรอ ครับ
ปกติ เห็น แต่ สหรัฐ ใช้
มีเฉพาะอเมริกาครับ ไม่ขายให้ใครครับ
อเมริกา ขี้เหนียว จัง
ท่าน ท้าว ปัจจุบันนี้เรามีโอกาสจะได้หรือเปล่า เพราะถ้าได้มาจะทำให้เราได้เปรียบกำลังภาคพื้นดินของเพื่อนบ้านมาขึ้น มือ2ก็ดี เรียนท่าน ท้าวทองไหล เราจะมีโอกาสหรือเปล่า
แล้วประเด็นที่ 2 ล่ะครับน้า จะมีน้ำหนักมากกว่า 1 หรือเปล่า
ประเด็นที่ ๒ เป็นเรื่องของการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ F-7M ของจีน ซึ่งเคยลงให้อ่านแล้วครับ
ทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๐ - ๒๕๓๑ หรือเมื่อ ๒๐ กว่าปีที่แล้ว
สรุปประเด็นแรก A-10 เมื่อจีนนำเครื่องบินแบบ F-7M มาเสนอขายและให้ ทอ./ทร.ทดสอบ ที่กองบิน ๑ ทำให้ สหรัฐฯ ตกลงใจจะขายเครื่องบินโจมตีแบบ A-10 ให้ แต่กว่าจะตอบมา ในปี ๒๕๓๑ กองทัพอากาศ มองว่า F-16A/B ฝูงที่ ๒ จะสนองตอบในการปฏิบัติงานซึ่งเราประสบในบ้านร่มเกล้า มากกว่า เพราะพื้นที่การรบเป็นหุบเขาและดอยสูง ไม่ใช่ที่ราบแถวชายแดนเขมร ซึ่งเหมาะกับ A-10 ในการยิงทำลายรถถัง จึงเลิกสนใจตั้งแต่นั้นมาครับ
ผมไปค้นข้อมูลเก่าๆ ความจริง ตั้งแต่ปี ๒๕๒๔ - ๒๕๒๖ เราส่งคนไปทดสอบประเมินค่าเครื่องบินเหล่านี้มาแล้ว ถึงสรุปว่า เราอยากได้ A-10 ตอนนั้น
ย้อนกลับไปช่วงปี ๒๕๒๔ - ๒๕๒๘ ครับ
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ ระหว่างการฝึก RED FLAG 81-3 บริษัท เจอเนรัลไดนามิกส์ ประเทศสหรัฐฯยังได้เชิญ นาวาอากาศเอก หม่อมราชวงศ์ ศิริพงษ์ ทองใหญ่ ผู้บังคับการกองบิน ๑ , นาวาอากาศเอก อมร แนวมาลี รองผู้บังคับการกองบิน ๑ และ นาวาอากาศเอก สวนะ พรเลิศ รองผู้บังคับการกองบิน ๔ ทำการบินทดสอบประเมินค่าเครื่องบินขับไล่แบบ F-16/79 นับเป็นการเริ่มต้นแนวความคิดในการที่กองทัพอากาศ จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ขั้นต่อไป
๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ภายหลังจาก นาวาอากาศเอก อมร แนวมาลี รับรับคำสั่งให้ทำหน้าที่ ผู้ช่วยเจ้ากรมยุทธการทหารอากาศ ช่วงเวลานั้น กองทัพอากาศ มีความสนใจจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินฝึกโจมตีไอพ่น เพื่อใช้ราชการในกองทัพอากาศ จึงมอบหมายให้ นาวาอากาศเอก อมร แนวมาลี เป็นหัวหน้าคณะ เดินทางไปประเมินค่าและทำการบินกับเครื่องบินโจมตีแบบ A-7 ณ ประเทศสหรัฐฯ และในโอกาสนี้ ได้ถือโอกาสประเมินค่าและทำการบินกับเครื่องบินขับไล่แบบ F-5G (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น F-20) และทำการบินเพื่อประเมินค่ากับเครื่องบินโจมตีแบบ A-10A และ YA-10B
นอกจากนี้ นาวาอากาศเอก อมร แนวมาลี ยังได้เดินทางไปทำการประเมินค่าและทำการบินกับเครื่องบินฝึกโจมตีแบบ MB-339 ณ ประเทศอิตาลี รวมถึงเครื่องบินฝึกโจมตีแบบ HAWK และ JAGUAR ณ ประเทศอังกฤษ อีกด้วย
หมายเหตุ...ครับ
น.อ.มรว.ศิริพงษ์ ทองใหญ่ ยศและตำแหน่งครั้งสุดท้าย พลอากาศเอก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ช่วงปี ๒๕๓๘
น.อ.อมร แนวมาลี เป็นอดีตผู้บังคับฝูงบิน ๑๐๒ คนแรก (F-5E คนแรก) ยศและตำแหน่งสุดท้ายคือ พลอากาศเอก ท่านเป็น อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ช่วงปี ๒๕๓๙ - ๒๕๔๐
๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๗ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องบินของกองทัพอากาศสหรัฐฯ บรรยายพิเศษเกี่ยวกับเครื่องบินขับไล่ที่เหมาะสมกับกองทัพอากาศไทย จำนวน ๓ แบบ ประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่แบบ F-16A 100, F-16/79 และ F-20 TIGERSHAK ที่ห้องประชุมกองทัพอากาศ โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชการกองทัพอากาศ เข้ารับฟัง ในการให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งของเสนาธิการทหารอากาศ พลอากาศเอก สมพล บุรุษรัตนพันธุ์ สรุปว่า เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ค่อนข้างจะเชียร์เครื่องบิน F-20 โดยอ้างว่าเหมาะกับกองทัพอากาศมากที่สุด ถือเป็นม้ามืดที่เป็นคู่แข่งของ F-16 A100 ที่กองทัพอากาศให้ความสนใจ
๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗ บริษัท นอร์ธอป ประเทศสหรัฐฯ นำเครื่องบินขับไล่แบบ F-20 จำนวน ๒ เครื่อง มาทำการบินสาธิตให้กองทัพอากาศ ชม ณ กองบัญชาการกองทัพอากาศ จากนั้นจะเดินทางไปทำการบินแสดงสาธิตต่อที่ประเทศสิงคโปร์ และเกาหลีใต้
(อนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๗ เครื่องบิน F-20 หมายเลข N4416T มี ดารีล คอร์เนล เป็นนักบิน ประสบอุบัติเหตุตกขณะทำการแสดงการบินสาธิต ที่ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๗)
๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๘ พลอากาศเอก ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ลงนามใน LOA กับบริษัท เจเนอรัล ไดนามิกส์ ผู้ผลิตเครื่องบินขับไล่แบบ F-16 A/B ในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียวแบบ F-16 A จำนวน ๘ เครื่อง และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งแบบ F-16 B จำนวน ๔ เครื่อง ตามโครงการจัดซื้อทางทหาร FMS ระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสหรัฐฯ ภายใต้รหัสโครงการว่า “PEACE NARESUAN”
โครงการ “PEACE NARESUAN” กำหนดระยะเวลาดำเนินการ ๔๐ – ๔๒ เดือน โดยมีกำหนดรับมอบเครื่องบินชุดแรกในราวกลางปี ๒๕๓๑ โครงการนี้กำหนดงบประมาณขณะนั้นซึ่งรวมถึงค่าอุปกรณ์สนับสนุนใหม่ทั้งหมดและการฝึกศึกษา ๓๑๗,๘๙๑,๐๓๖ เหรียญสหรัฐฯ แต่หากแยกเป็นเฉพาะราคาเครื่องบินจะแยกเป็นราคา F-16A จำนวน ๘ เครื่อง รวม ๑๓๑,๗๓๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ F-16 B จำนวน ๔ เครื่องราคารวม ๖๖,๐๗๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ (อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้นประมาณ ๒๐ – ๒๕ บาท / ๑ เหรียญสหรัฐฯ)
ผมชอบมันตรงนี้แหละ
.
เราคงไม่ได้ A-10 แม้นแต่มือ2 ว่าแต่ ไม่มีเครื่องบิน แบบ A-10 ของ เจ้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ จากค่ายจีน และ หมีขาว เลยหรือครับ ?