หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ซื้อเฉพาะเครื่องยนต์เจ็ทมา แล้วไทยมาทำชิ้นส่วนอื่นๆสร้างเครื่องบินเองจะเป็นไปได้ไหม

โดยคุณ : f18-superhornet เมื่อวันที่ : 24/08/2016 21:53:17

สวีเดนก็ไม่มีศักยภาพมากพอที่จะสร้างเครื่องยนต์เจ็ทด้วยตนเองเลยไปซื้อเครื่องยนต์มาแล้วทำเครื่องบินเอง ไทยก็น่าจะพอสร้างเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่า f15 ได้โดยวีธีการเดียวกันกับสวีเดน




ความคิดเห็นที่ 1


ตอนนี้ก็ทำอยู่นี่ครับ ซื้อเครื่องยนต์ Turbo Prop Allison 250  มาใส่ แล้วทำการผลิตอัตราต่ำ  ส่วนถ้าเป็นเครื่องบินไอพ่นความเร็วสูงคงอีกนานครับ ต้องค่อยๆ ไป เพราะเรื่องอากาศพลศาสตร์ กับ วัสดุศาสตร์ คนละแบบเลย มันก้าวกระโดดมากไป รวมทั้งการเชื่อมต่อระบบอิเลคทรอนิคส์ที่เป็นความลับอีก มันไม่ง่ายเหมือนเครื่องเทอร์โบพรอพอย่างที่เราทำอยู่ครับ ไม่อย่างนั้นเพื่อนบ้านเราอย่าง สิงค์โปร์คงทำไปแล้ว

โดยคุณ som3021 เมื่อวันที่ 22/08/2016 14:04:07


ความคิดเห็นที่ 2


เดี๋ยวครับ ... สวีเดนสามารถผลิตเองได้ครับ

Volvo Aero สวีเดน แต่ก่อนผลิตเครื่องยนต์เจตให้เครื่องบินสวีเดนครับ จนขายให้ GKN ของอังกฤษไปในภายหลังครับ

เพิ่งจะมาเปลี่ยนใช้เครื่องยนต์ของ GE ตอนใช้กับ SAAB Jas 39 นี่เองครับ

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 22/08/2016 18:26:07


ความคิดเห็นที่ 3


Volvo Aero สวีเดน ผลิตเครื่องยนต์ให้เครื่องบิน JAS 39 Gripen A/B  C/D ครับ "Produced by Volvo Aero (now GKN Aerospace Engine Systems), the RM12 is a derivative of the General Electric F404-400. Changes from the standard F404 includes greater reliability for single-engine operations (including more stringent birdstrike protection), increased thrust, and the adoption of a full authority digital engine control (FADEC) system.[1][2] Several subsystems and components were also redesigned to reduce maintenance demands.[3] The air intakes of the engine were designed to minimize radar reflection from the compression fan, reducing the radar cross section of the aircraft overall.[2] The F404's analogue Engine Control Unit was replaced with the Digital Engine Control – jointly developed by Volvo and GE – which communicates with the cockpit through the digital data buses and, as redundancy, mechanical calculators controlled by a single wire will regulate the fuel-flow into the engine. These mechanical backup systems remain in the new Full Authority Digital Engine Control (FADEC) which Volvo began developing in 1996.[2] General Electric produces 50% of the engine. Elements such as the fan/compressor discs and case, compressor spool, hubs, seals, and afterburner are manufactured in Sweden, final assembly also taking place there.[2]" แต่พอมาเป็นJAS 39E/F   ความต้องการเครื่องยนต์ที่แรงขึ้น แล้วก็ขายVolvo Aeroไปแล้วจึงเลือก General Electric F414 แทน F414G  และ  F414-GE-39E   อยู่ในตระกูลที่ใช้กันมาก 

  • Boeing F/A-18E/F Super Hornet
  • EADS Mako/HEAT
  • Saab Gripen Demo/NG(JAS 39E/F )
  • HAL Tejas Mark II

ทำให้ราคาถูกกว่าทำเองมากครับ  

https://en.wikipedia.org/wiki/Volvo_RM12

https://en.wikipedia.org/wiki/General_Electric_F414

https://en.wikipedia.org/wiki/Saab_JAS_39_Gripen

 

โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 22/08/2016 19:41:20


ความคิดเห็นที่ 4


เอายูเอวีหรือเทอร์โบพร็อพให้ดีก่อน ค่อยมาคิดเจ็ทครับ
โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/08/2016 21:35:18


ความคิดเห็นที่ 5


สวีเดนผลิต Gripen อยู่ไงครับ คุณเจ้าของกระทู้

โดยคุณ Nakarin เมื่อวันที่ 23/08/2016 16:58:09


ความคิดเห็นที่ 6


ไทยมาทำชิ้นส่วนอื่นๆสร้างเครื่องบินเองเป็นไปไม่ได้  และได้เครื่องเจตไม่ได้ทำให้สร้างเครื่องได้ง่ายหรอกครับ
ด้านบุคลากรและเงินทุน เรามีไม่พอแน่นอน 
SensorsกับAvionicsต่างๆอย่างเรดาห์หรืออุปกรณ์EWเราไม่มีขีดความสามารถในการผลิตแน่นอน
การจะสร้างชิ้นส่วนพวกนี้ใช้การวิจัยพัฒนาและการทดสอบมหาศาลซึ่งก็จะแพงลิ่วเหมือน F-35

ยังไม่นับรวมfly-by-wire สำหรับระบบควบคุมการบิน ที่ต้องมาเขียนsoftwareกันเป็นล้านบรรทัดนะครับ
อย่างที่เห็นเป็นปัญหากับF-35อยู่ช่วงหนึ่งจนปัจจุบันก็ยังเขียนตัวเต็มไม่เสร็จ หรือJAS 39ตอนบินทดสอบทีแรกก็มีปัญหากับsoftwareจนเครื่องตกสุดท้ายต้องเอาLockheedมาช่วย

วีธีที่สวีเดน ทำคือออกแบบเองแต่ใช้ชิ้นส่วนจากแหล่งผลิตที่มีความพร้อมและเชี่ยวชาญ เอาของที่มีอยู่ในตลาดมาใช้เลยเพื่อตัดปัญหาด้านR&Dและการทดสอบต่างๆที่น้อยลง 
หรืออย่างเครื่องRM12 ก็คือการเอาF404ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความน่าเชื่อถือสูงอยู่แล้ว โดยให้GE ชิปจากอเมริกาไปสวีเดนมาโมเอง  ต่างจากgen 4.5เจ้าอื่นๆอย่าง
Rafaleที่ใช้เครื่องSnecma M88 หรือTyphoon ที่ใช้EJ200 เป็นเครื่องที่ออกแบบเองใหม่หมดค่าใช้จ่ายย่อมมากกว่า


โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 23/08/2016 23:22:44


ความคิดเห็นที่ 7


....จริงๆ...ก็ไม่มีโรงงานผลิตเครื่องบินโรงไหน....สร้างเครื่องยนต์เอง...ครับ

....และก็ไม่ได้สร้างส่วนประกอบอีกเป็น พันๆ ชนิด  ขึ้นเอง....อีกเหมือนกัน

....ซื้อเค้ามาประกอบทั้งสิ้น......

.................................................................

....สรุปว่าสร้างได้ครับ....แต่จะบินขึ้นได้หรือเปล่า?....บินขึ้นแล้วจะล่วงหรือเปล่า?

....สร้างไว้ดูเล่นก็แล้วกันครับ....เอาไปตั้งในสนามเด็กเล่นนะ...ครับ....OK    (ล้อเล่นนะ)

...............................................................

.....ตวามรู้  ประสบการ และความสามารถ  และความพยายาม  คือความสำเร็จ  ครับ

.....แต่...ต้องไม่ดูถูกตนเอง  และไม่หลงตัวเอง ครับ  

.....เน้นที่  มีความรู้ ความมั่นใจ ความพยายาม และความร่วมมือกัน  ของผู้มีความรู้สาขาต่างๆ ครับ

.....แล้วมาร่วมงานวิจัยพัฒนากันครับ  แต่ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ  และงบประมาณด้วย

.....ไม่ใช่มาบอกว่า  ฉันไม่ได้ใช่ให้วิจัยพัฒนานี่  ทำมาได้ฉันก็ไม่สนใจ  ฉันชอบซื้อของนอกมากกกว่า

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 24/08/2016 10:36:04


ความคิดเห็นที่ 8


การจะสร้างเครื่องบินเอง ต้องออกแบบเองเป็นครับ กำหนดสเปกต่างๆ ว่าชนิดส่วนใดต้องการสเปกขนาดไหน ใครผลิต จึงจะได้สมถรรนะที่ต้องการ (ที่ออกแบบไว้) ต้องทดสอบเองเป็น มีอุปกรณ์ทดสอบครบ (หรือจะจ้างเค้าทดสอบ ข้อมูลรั่ว ?) ประกอบเอง (หรือจะจ้างเค้าประกอบ เราก็ไม่ได้ความรู้ความชำนาญ) ฯลฯ แค่คิดก็ไม่อยากแล้วครับ ถ้าตลาดยังมีให้เลือกซื้อเลือกหา และจำนวนซื้อของเรายังน้อย ไม่คุ้มทำเอง

แทบไม่มีใครผลิตสินค้าโดยผลิตชิ้นส่วนทุกชิ้นด้วยตัวเองแล้วครับ จริงๆ ก็ไม่เคยมีมาตั้งแต่แรกแล้ว

ตอนนี้ที่เราสร้าง บ. เอง เพราะต้องการรักษาองค์ความรู้ แค่ บ. เครื่องเทอร์โบพร๊อพเดี่ยว สองที่นั่ง ขิ้นส่วนน้อย ไม่ไฮเท็ค ไม่อิเลคโทรนิกส์เยอะ จำนวนที่ว่าจะสร้างยี่สิบเครื่องขึ้น ทำได้แน่นอนครับ แต่ถึงขั้นกริเป้น ต้องทำขายด้วยครับ แล้วเงินลงทุนต้องมหาศาลด้วย เพราะเริ่มต้นจากศูนย์แทบจะทุกอย่าง แบบนี้ซื้อเค้าเอาดีกว่า

ต้องแยกให้ออกครับว่า อันไหนควรซื้อ อันไหนควรทำเอง

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 24/08/2016 12:35:32


ความคิดเห็นที่ 9


เครื่องเทอร์โบพร๊อพที่ท่านเสือใหญ่เล่ามาผมเกรงว่าองค์ความรู้ที่มีแต่ขาดหัวเรือใหญ่เพราะท่านเกษียณอายุราชการไปจะทำให้โครงการหยุดไปอีกนะครับ  

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 24/08/2016 13:59:00


ความคิดเห็นที่ 10


ท่าน vulcan ครับ ความเห็นผมเป็นแค่หลักการทั่วไปครับ มีปัจจัยมากมายที่จะทำให้โครงการมันล้มหรือได้ไปต่อ เหตุผลที่ท่านว่าก็เป็นหนึ่งในนั้น แถมเกิดมาทุกยุคทุกสมัยกับโครงการก่อนหน้านี้ซะด้วยสิ

ดีใจที่ได้คุยกันครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 24/08/2016 14:49:01


ความคิดเห็นที่ 11


ผ่านไปเห็นเครื่อง fantrainer แล้วก็เสียดายครับตอนนี้ผมก็ลุ้นให้โครงการนี้ไปต่อจนสามารถสร้างเครื่องเพื่อนำมาใช้งานจริงได้เช่นกันครับ

ขอบคุณมุมมองดีๆจากท่านเสือใหญ่ครับ  

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 24/08/2016 15:26:34


ความคิดเห็นที่ 12


ส่วนตัวผมก็หวังว่า เครื่อง บ.ทอ.6 ของเราจะได้ไปต่อแบบยาวๆครับ แต่ข่าวคราวเป็นไงบ้าง หลังจากที่เคยได้ยินข่าวการผลิตล็อตเริ่มต้น ผมไม่ได้ข่าวอีก

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 24/08/2016 17:23:36


ความคิดเห็นที่ 13


     ทำได้หรือทำไม่ได้ เงินเท่านั้นคือคำตอบครับ มีเงินเนรมิตได้ทุกอย่างอยู่แล้ว เทคโนโลยีมันมีไว้จำหน่ายครับ ให้ลับสุดยอดหรือเทคโนโนสูงส่งขนาดไหนถ้าเส้นสายดีและมีเงินถึง ก็ช็อปได้ครับ เจ้านี้ไม่ขายเราก็ไปซื้อเจ้าอื่น ซื้อตัวเทคโนไม่ได้ ก็ซื้อตัวคนสร้าง ซื้อตัวหัวหน้างานไม่ได้ก็ซื้อตัวผู้ร่วมงาน โลกยุ่งๆใบนี้มันขับเคลื่อนด้วยเงินครับ ขอแค่มีเงินและรู้ช่องทางเป็นพอ ผมมองว่าไทยมีศักยภาพนะ ถ้าจะทำจริงๆแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป เรื่องวัสดุศาสตร์อะไรนั่นซื้อเอาได้ครับ มีคนทำขายถมไป บริษัททำเครื่องบินแทบทุกเจ้าก็ไม่มีใครหลอมเหล็กเองหรอก ซื้อซับพลายเออเอาเหมือนกัน เอวิโอนิคส์ ระบบต่างๆ แรกๆก็ซื้อมาประกอบไปก่อนครับ ชำนาญแล้วค่อยขนับมาเป็นโม โมเป็นแล้วถึงค่อยสร้างเอง   อินโดยังทำเครื่องบินขายได้เลยถึงจะไม่ใช่เครื่องเจ็ทก็เถอะเราก็น่าจะทำได้ ติดแต่ตรงคำว่าพึ่งพาตนเองของบ้านเรามันเป็นลมปากเฉยๆ แต่ไม่ได้เอาจริงเอาจังเสียมากกว่ามีโมเดล มีม็อคอัพ มีต้นแบบ แต่ไม่มีคำสั่งซื้อ ไม่มีสายการผลิต...... ไม่รู้จะดองไว้เพื่ออะไร....

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 24/08/2016 18:38:56


ความคิดเห็นที่ 14


กว่าจะเป็นวันนี้ได้ อินโดนีเซียใช้เวลามากกว่า 20 ปี เริ่มต้นจากให้ทุกเหล่าทัพซื้อเฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินรุ่นเดียวกันก่อน เมื่อมีปริมาณมากพอจึงไปต่อรองกับคนขายว่า กระผมจะขอประกอบเองภายในประเทศนะเออ จากนั้นค่อยต่อยอดกลายเป็นสร้างเครื่องบินขนส่งขนาดเล็ก แต่ก็เป็นการเอาแบบเก่ามาปรับปรุงให้ทันสมัยมากขึ้น เขายังผลิตเครื่องบินรบไม่ได้ เครื่องบินฝึกอะไรก็ยังไม่ได้ทั้งสิ้น

 

ของไทยเราผมถามคำเดียว "ทุกวันนี้เรามีเฮลิคอปเตอร์กี่แบบกันแน่"  เอาแค่เรื่องลาโกต้าที่ผมเคยบ่นสมัยก่อนก็ได้ เราจะซื้อมาทำไมแค่ 6 ลำ ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าเขากำลังจะปิดสายการประกอบ (คือถ้าบอกไม่รู้นี่ ต้องไล่ออกยกทีมนะครับ) สุดท้ายก็ต้องข้ามไปซื้อรุ่นใหม่กว่ากับแอร์บัส จริงอยู่ว่าพื้นฐานเดียวกันแต่อะไหล่หลายตัวก็แตกต่างออกไป

 

เงินไม่ใช่คำตอบสุดท้าย วิสัยทัศน์ของผู้นำต่างหาก ตราบใดที่ยังไม่มีการรวมยอดซื้อของทุกเหล่าทัพ ก็จะมีไอเท็มลับสุดยอดประเภทตัวเดียวอันเดียวโผล่ออกมาให้ลำบากลูกหลานร่ำไป

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 24/08/2016 19:10:00


ความคิดเห็นที่ 15


ใช่ครับเห็นด้วย วิสัยทัศน์ของเราคือเน้นช็อปปิดจ๊อบเป็นงานๆไป สบายตัวเป็นงานๆไป เรื่องงานระยะยาวไม่มีใครอยากจับ

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 24/08/2016 19:14:30


ความคิดเห็นที่ 16


เรื่องการผลิตล็อตเริ่มต้นผมก็อ่านข่าวจาก TFC นี่หละครับแต่หลังจากนั้นก็ได้ข่าวว่าเครื่องต้นแบบยังต้องปรับปรุงอยู่โดยมีบริษัทข้างนอกเข้ามาช่วยดูและสุดท้ายหัวเรือใหญ่ก็ย้ายไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นแล้วท่านก็เกษียณอายุราชการไป  ผมจึงเดาว่าน่าจะยังไม่มีการผลิตล็อตเริ่มต้นครับ  

 ส่วนเรื่องการจัดหายุทโธปกรณ์อย่างที่ท่าน Superboy กับท่าน GT500 คุยกันผมเห็นปัญหาหนึ่งคือนายหน้าครับ  ของดีเหมาะกับประเทศเราแต่นายหน้าต่อรองไม่เก่งหรือบริษัทผู้ผลิตให้ผลตอบแทนไม่ดีเค้าก็ไปวิ่งให้บริษัทอื่น  แย่สุดนายหน้าเก่งไปวิ่งให้ของที่ไม่น่าเชื่อถือก็มี  ที่ท่าน Superboy ยกตัวอย่าง ฮ.มาผมก็นึกถึง Network centric เมื่อประมาณ 2ปีก่อนเห็นการบ้านจากโรงเรียนหนึ่งสำหรับยศใหญ่ๆ ให้เขียนมุมมอง Network centric ของ ทบ. ทำให้ผมห่วงว่าถึงวันนี้ทั้ง 3เหล่าทัพรวมทั้ง บก.สูงสุดคุยกันหรือยังว่าจะใช้ Protocal อะไรในการรับส่งข้อมูล      

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 24/08/2016 21:53:17