หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรือชั้น Lafayette ของฝรั่งเศสอาจทดแทนจรวดต่อสู้อากาศยาน Crotale ด้วยระบบ SADRAL

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 02/10/2016 09:31:04

ข้อมูลจาก MBDA ในงาน Euronaval 2016 ว่ากองทัพเรือฝรั่งเศสมีโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตเบาชั้น Lafayette ซึ่งเริ่มเข้าประจำการในปี 1996 แผนการปรับปรุงครึ่งอายุได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2015 และคาดว่าจะมีการปรับปรุงเรือลำแลกสุดในปี 2018 หนึ่งในหลายออปชั่นที่เป็นตัวเลือกอยู่ในเวลานี้ก็คือ จะมีการถอดระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน Crotale จำนวน 8 นัดออก (มีจรวดสำรอง 16 นัด แต่รีโหลดด้วยมือนะครับ) และติดตั้งระบบป้องกันตนเองระยะประชิด SADRAL ซึ่งใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน Mistral จำนวน 6 นัด เข้าไปทดแทน โดยจะติดตั้ง 2 ระบบซ้าย-ขวาบนหลังคาโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ เท่ากับว่าจะมีจรวดรวมทั้งสิ้น 12 นัด (ขณะที่เรือหลวงจักรีของเรามี 18 นัด แฮร่!!!)

 

การปรับปรุงครั้งนี้จะเรียกว่าสุดประหยัดก็คงได้ โดยนำแท่นยิง SADRAL จากเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำชั้น Georges Leygues  (ซึ่งปัจจุบันประจำการ 5 ลำและกำลังจะโดนทดแทนด้วยเรือชั้น FREMM ในไม่กี่อึดใจ)  มาซ่อมคืนสภาพและใช้งานบน เรือชั้น Lafayette จำนวน 5 ลำเท่ากันพอดีแทน คาดเอาเองว่าคงจะเป็นจรวด Mistral 2 ที่ทันสมัยมากกว่าของเดิม

 

เป็นการแสดงให้เห็นว่าฝรั่งเศสก็รู้จักประหยัดนะเออ และจรวด Mistral ยังคงมีอนาคตยาวไกลอยู่กับพวกเขาแน่นอน ฉะนั้น ประเทศใดก็ตามที่อยากได้ของดีราคาไม่แพงและใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ จงรีบหันมาทางนี้โดยด่วน และทำเป็นทำมองจรวดหมายเลข 18 ไม่เห็นไปเสียเถอะ  เอ้า... ฮา

 

http://www.navyrecognition.com/index.php/news/naval-exhibitions/euronaval-2016/4382-french-navy-lafayette-class-frigates-crotale-sam-systems-may-be-replaced-with-sadral.html

 

During the Euronaval 2016 press tour held last week, an MBDA representative explained that French Navy (Marine Nationale) Lafayette class frigates' existing Crotale SAM system may be replaced with SADRAL launchers. "It is one of the options being considered for the upgrade" the representative said. According to an update to the French Military Planning Law (Loi de Programmation Militaire) released in May 2015, the Lafayette-class is set to receive an upgrade in the near future.

Two SADRAL launchers with 6x Mistral surface to air missiles each would be fitted on top of the helicopter hangar to replace the existing Crotale laucher (with 8x missiles). Navy Recognition believes this upgrade would address two major obsolescences: The ageing Crotale missiles (designed in the 70ies and produces in the 80ies) are nearing the end of their shelf life. In addition, according to our information, Crotale's effectiveness against modern sea-skimming anti-ship missiles is limited.

The upgrade would be fairly affordable as the plan is to re-use existing launchers currently fitted aboard the Georges Leygues-class ASW Frigates (as they are being replaced by FREMM Frigates). The Mistral is an infrared homing surface-to-air missile with an effective firing range up to 6 km and a speed of Mach 2.7.

Excerpt from the French MoD Military Planning Law Update of May 2015 (unofficial translation):
Frigates
The construction and admission to active duty of multi-mission frigates (FREMM) started before 2014 will continue: 6 will be delivered before mid-2019. The next two, delivered in 2021 and 2022, will have enhanced capacity to replace the two Cassard class air defense frigates. Rounding up to a capacity of 15 first-class frigates and comply with the principle of differentiation, a new program of "intermediate size frigates" (FTI) is advanced, with a target of first delivery in 2023.
In this context, a renovation program for the Lafayette class stealth frigates will be launched during the period: Renovations will be carried out over the scheduled technical shutdowns. These frigates renovation will consists (among other things) in the fitting of a sonar system. They will carry out the tasks arising from operational contracts in the transition phase that will accompany the delivery of future midsize frigates (FTI).
The FREMM will be fitted with naval cruise missile (MdCN) from 2015, the anti-ship missile Exocet MM 40 B3 extended range, anti-submarine torpedo MU 90, NFH90 ASW helicopter and ASTER air defense missile.

In July 2016, Navy Recognition contacted the French Navy Lafayette-class Programme Officer to learn more about the upgrade programme.

Navy Recognition: What is the scope of the modernization ?
French Navy: For 20 years, La Fayette-class frigates have been involved in every French Navy operations (Atalanta Corymbe, Triggerfish, Harmattan, Chammal, etc.). This mid-life modernization will provide the class with anti-submarine warfare capabilities pending the arrival of mid-size frigates (FTI). This modernization program is still in the process of discussion; the possibilities are not yet finalized.

Navy Recognition: What new capabilities will the Lafayette-class frigates get? 
French Navy: The Lafayettes cover a wide spectrum of missions and are stretched operationally. It is therefore essential to keep them up-to-date. The renovation program will upgrade the vessels. The modernization of Lafayettes will also allow the addition of a hull sonar for ASW missions, strengthening the intelligence capability of the French Navy against the presence of intruders in all our approaches, in all our areas of interest (national territory, EEZ, continental shelf) and against any threats to our various intervention forces (battle group, amphibious group).

Navy Recognition: How many frigates will be upgraded and when? Which company will be incharge of the upgrade ?
French Navy: The Lafayette renovation program will be launched in 2018. The details of the program are not yet finalized.

The French Navy's La Fayette Class multipurpose stealth frigates were developed and built by DCNS. The French Navy awarded DCNS the contracts to construct the La Fayette (F710), Surcouff (F711) and Courbet (F712) frigates in 1988, and Aconit (F713) and Guepratte (F714) in 1992.

The La Fayette Class incorporates a number of stealth features – the sides of the vessel are sloped at 10° to minimize radar cross section, surfaces are made of alloy, reinforced plastic and kevlar. The profiles of external features have been reduced.





ความคิดเห็นที่ 1


ความเห็นส่วนตัวก็คือ มีข่าวขนาดนี้ก็คงจะเป็นไปตามนี้แหละครับ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะมีการติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยานที่ทันสมัยรุ่นอื่นด้วยหรือเปล่า เพราะบริเวณหัวเรือหลังปืนหลักก็มีพื้นที่ว่างสำหรับแท่นยิงแนวดิ่งได้สบาย กองทัพเรือฝรั่งเศสไม่เคยใช้งานจรวด VL Micra มาก่อน ฉะนั้นถ้าจะติดก็คงต้องข้ามไปเป็น Aster 15 เลย ซึ่งก็คงต้องปรับปรุงเรดาร์เพิ่มเติมด้วยกระมังครับ เพราะ DRBV 15C คงใช้ร่วมกับจรวดไม่ได้ 

 

ฉะนั้น Aster 15 ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ใช้เงินเยอะ ก็อาจจะไม่มาและใช้แค่ SADRAL 2 ระบบแทน โดยหันไปเน้นระบบเป้าลวงทันสมัยรุ่นใหม่เอี่ยม เพราะเรือชั้น Lafayette ไม่น่าจะใช่เรือรบที่เข้าปะทะในแนวแรกสุด เนื่องจากถูกกำหนดให้เป็นเรือฟริเกตอเนกประสงค์ขนาดเบาเท่านั้น (แต่ระวางขับน้ำเต็มที่ 3,600 ตันนะ เหอ ๆ ๆ)

 

 

ดูจากภาพแล้ว เรือชั้น Georges Leygues ติด Sadral จำนวน 2 ระบบจริง แต่เท่าที่ผมตรวจเช็ดลำท้าย ๆ จะเป็นแท่นยิงแฝดสอง Simbad ที่ยิงด้วยมือไปเสียแล้ว เขาก็คงจะไปเอา Sadral จากเรือชั้นอื่นมาใส่ให้ครบไปนั่นแหละครับ อย่างเรือชั้น Cassard ก็มี 2 ระบบเช่นกัน แล้วเอา Simbad RC ควบคุมด้วยรีโมทติดตั้งทดแทนก็เป็นได้ เพราะยังไงเรือก็ยังมีจรวดต่อสู้อากาศยาน SM-1 ป้องกันตัวเองได้อยู่ 

 

 

แล้วทำไมถึงถอด Crotale ซึ่งยิงได้ประมาณ 11 กิโลเมตรออก จรวด Mistral มีระยะยิงแค่ 6 กิโลเมตรเท่านั้นหายไปเลยครึ่งหนึ่ง ผมเข้าใจว่าจรวดคงหมดอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เลยต้องเอาออกเพราะไม่คิดจะพัฒนารุ่นใช้งานทางทะเลต่อ ไม่อย่างนั้นก็ต้องไปซื้อจรวด HQ-7 ของจีนมาใช้แทน ให้เป็นมุขฮาระดับโลกกันต่อไป เอวังด้วยประการฉะนี้แหละครับ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 28/09/2016 14:30:58


ความคิดเห็นที่ 2


สาเหตุที่ถอด โคตาล ออกจากเรือชุดนี้หลักๆเพราะเปลืองงบซ่อมบำรุงเป็นแน่แท้ครับ    ..............เรือชุดนี้แผนแบบเป็นเรือพิฆาตคุ้มกัน (มาตรฐานฟรีเกตแท้ๆ ตามตำราคลาสสิค) คือใช้ปราบเรือดำน้ำ    คู่ขาของเธอก็คือเรือพิฆาตอาวุธนำวิถีชั้น คาสสาด  ................. สองนางนี้เป็นคู่จิ้น ในบทบาทฟรีเกตแท้ๆ กับ เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ  เหมือน พิฆาตไทป์ 42 และ ฟรีเกต อเมซอน ของผู้ดี ยังไงยังงั้น .......................

 

วันเวลาผันผ่าน  ฝรั่งมีคู่จิ้นคู่ใหม่ เป็น ชั้น  เฮอริซอน กับ อะคีตแต๋น    เพื่อลดค่าใช้จ่าย ซ่อมบำรุงเรือเก่า เลยถอด โคตาล ออก ด้วยเหตุประการฉนี้แลครับ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 29/09/2016 08:50:00


ความคิดเห็นที่ 3


ผมกำลังเขียน จัดลำดับชั้นเรือ   ....แต่กำลัง เกลาๆ ยังไม่เสร็จ  อ่านแล้วชวนเวียนหัว............... ไม่รุเป็นไร ต่อม อักษรศิล ผมมันไม่ทำงานมานานแล้ว เขียนก็ไม่รุเรื่อง พูดก็ไม่รุเรื่อง เก่งแต่เอา ..............(งาน) อย่างเดียวช่วงนี้.555555......................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 29/09/2016 08:53:17


ความคิดเห็นที่ 4


ผมจะรออ่านนะครับท่านกบ ;)

 

แต่ขอคู่จิ้นอื่นที่ไม่ใช่ Type-21 กับ Type-42 จะได้ไหมเอ่ย ลำนึงโดน A-4 บินโฉบมาหย่อนระเบิดใส่ซะงั้น ส่วนอีกลำโดนพี่เซ่ต์เข้ากลางลำ ทั้งที่อยู่ห่างเกาะเป้าหมายไกลลิบลับ และห่างจากสนามบินข้าศึกชนิดโคตะระไกล >_<

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 29/09/2016 10:10:02


ความคิดเห็นที่ 5


ตั้งกระทู้ใหม่ ไม่ได้ครับ  ฝากแปะ กระทู้นี้ กะละกัน ......................

 

หากย้อนกลับไปสมัย วว.2  การแยกแยะ คุณลักษณะ ชั้นและขนาดเรือรบผิวน้ำ เป็นไปดังนี้

1. เรือลาดตระเวน  จัดเป็นเรือรบผิวน้ำที่ครบเครื่องที่สุด    พิสัยรบไกล มีความทนทะเล ความเร็วสูง (ไม่ต่ำกว่า 30 น้อต)  ติดตั้งปืนคา

ลิเบอร์ใหญ่แตกต่างกันตามระวางขับน้ำ  มีตอปิโดใช้เป็นอาวุธต่อสู้เรือผิวน้ำได้อีกทาง   นอกจากนี้ยังมีระเบิดลึกต่อต้านเรือดำน้ำ  ปืน

ต่อสู้อากาศยาน จึงถือเป็นเรือทำการรบได้ครบ 3 มิติ     

 

  • สามรถจำแนก เรือ ลว. ออกเป็นย่อยๆ ได้ดังนี้

 

1.1    เรือ ลาดตระเวนเบา  ระวางขับน้ำ  4,000 – 6,000 ตัน      ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว  จำนวน 6- 9 กระบอก    ........... 

อเมริกันประยุกต์ ติดตั้งด้วยปืน 5 นิ้ว 12 กระบอก ใช้ป้องกันอากาศยานให้กองเรือเรียกเป็น เรือ ลว.เบาป้องกันภัยทางอากาศ  

 

ในตอนท้ายของสงคราม อเมริกันนำเรือลาดตระเวนขนาด 12,000 ตัน มาติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 12 -15 กระบอก  แล้วเรียก

เป็น เรือ ลว.เบา   ........... จริงๆแล้วต้องบอกว่าไม่เบาหรอกครับ ด้วยระวางขับน้ำ มันอยู่ในชั้นลาดตระเวนหนักเลยหล่ะ  เพียงแต่ว่า 

ปืน  6 นิ้ว ที่ติดตั้งนั้น มันเล็กกว่ามาตรฐานอาวุธของเรือลาดตระเวณหนัก  แต่กระนั้นก็มีข้อดีก็คือ มันติดได้เยอะกว่าปืนขนาด 8 นิ้วรุ่น

เก่า จากที่ติดได้แค่ 8-9 กระบอก  ก็กลายเป็น 15 กระบอก ถึงจะเล็กแต่จำนวนกระสุน “ชุก” ขึ้น

 

 

1.2 เรือ ลาดตระเวนหนัก   ระวางขับน้ำ  8,000 – 12,000 ตัน   ปืนมาตรฐานขนาด 8 นิ้ว   8-12 กระบอก    บรรทุกเครื่องบินทะเลใช้

ลาดตระะเวนได้ด้วย    ............. ญี่ปุ่นดัดแปลง ถอดป้อมปืนท้ายออก ทำเป็นดาดฟ้าให้เครื่องบินใช้ขึ้นลงได้ ก็เก๋ไปอีกแบบ จัดเป็น 

ไมโคร แอร์แครฟ แคริเออร์ ไปเลย.................

 

1.3 เรือ ลาดตระเวนประจัญบาญ ระวางขับ  25,000 -  50,000 ตัน   อาวุธปืน ตั้งแต่ 11 นิ้ว ไปจนถึง 16 นิ้ว ............... ข้อแตกต่างระหว่างเรือ ลว. ประจัญบาน

กับ เรือประจัญบาญ คือ ความหนาของแผ่นเกราะและความเร็ว เป็นที่แน่นอนว่า เรือประจัญบาน มีเกราะที่หนากว่า น้ำหนักมากกว่า ความเร็วก็ต้องน้อยกว่า (เน้นถึก ไม่เน้นเร็ว)

 

              เรือ ลว.ประจัญบาญ  ที่มีชื่อเสียงก็คือ เอชเอ็มเอส ฮู้ด  เรือธงแหงราชนาวีอังกฤษ   ติดตั้งปืน 15 นิ้ว 8 กระบอก ระวางขับ

น้ำ45,00 ตัน ความเร็ว 31 น้อต ( ภายหลังพยายามยกระดับเป็นเรือ ประจัญบาน โดยเพิ่มแผ่นเกราะป้อมปืนและด้านข้าง ความเร็วจึงลด

ลงเหลือเพียง 28 น้อต)     และเป็นเธอนี่แหล่ะที่หาญกล้าท้าตบกับ นังภูติร้ายพราวเสน่ห์ บิสมาร์ค ในขณะที่ ฝ่ายหลังมีระวางขับ

42,000 ตัน ความเร็ว 30 น้อต ปืน 15 นิ้ว 8 กระบอก 

 เป็นคู่ตบที่สมน้ำสมเนื้อกันทุกกระบวนท่า.............  หลังจากต่างฝ่ายจิกเล็บ กระชากผม แลกตบกันเป็นที่น่าหวาดเสียว 

บิสมาร์คก็ปล่อยทีเด็ด ขว้างกำปั้นทิ้งจากหัวไหล่ กระทบกระโดงคาง  ฮู้ด เหมาะเจาะ เสียงสนั่นดัง “พล็อก” !!!  คู่ตบถึง

กับชงัก  ทรุดฮวบลงขณะมือข้างหนึ่งยังคว้าอยู่ที่เรือนผม   ทันใดนั้น สันหมัดซ้ายที่ลืมแบของบิสมาร์ค ก็ถูกเหวี่ยงวาด

เป็นวงโค้ง กระทบซ้ำเข้าที่โหนกแก้มด้านขวาอย่างจัง     ฮู้ด กระเด็นล้มหัวฟาด สำลักเลือดแดงฉานที่พุ่งออกทั้งปาก

และจมูก  ชักเกร็งตาค้าง ลาโลกไปในที่สุด..................    

 

มีเรือ ลว. ประจัญบาญที่น่าสนใจอีกนางหนึ่ง คือ การฟสปีย์ ของเยอรมัน  เธอมีรูปร่างค่อนข้างแคระ  คือราว 18,000 ตัน

แต่ถูกติดตั้งด้วยปืนขนาด  11 นิ้วแท่นคู่ 2 แท่นหัวท้าย  เธอมีฉายาว่า เรือประจัญบาญกระเป๋า

 

      2.  เรือประจัญบาน   เป็นเรือรบที่พัฒนาต่อจากเรือ พรี เดรดน้อจ์ท ยุคสงครามโลก วว.1  จนมาถึง เดรดน้อจ์ท และกลายเป็นเรือ

ประจัญบานในที่สุด ..................จัดเป็นเรือ ทน ถึก มีเกราะป้องกันตัวที่หนาเตอะ ระวางขับน้ำ 30,000- 60,000 ตัน ความเร็วระหว่าง 

24 – 28 น้อต  ติดตั้งปืน ขนาด 14- 18 นิ้ว  เป็นเรือที่ยากจะหาคู่ต่อสู้ที่ประมือได้

 

3. เรือรบขนาดเล็ก     จัดเป็นชั้นเรือเล็กที่ข้ามมหาสมุทรไปกับกองเรือได้     แบ่งเป็น

 

  3.1 เรือพิฆาต ระวางขับน้ำระหว่าง 2,500 -4,000 ตัน ความเร็ว 28- 30 น้อต แผนแบบหลักเพื่อใช้รบทางผิวน้ำ ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด

4 นิ้ว – 5 นิ้ว    มี ตอปิโดต่อ   ระเบิดลึกและอุปกรณ์สงครามใต้น้ำ    ด้วยความเร็วสูง จึงติดตามกองเรือไปในที่ต่างๆ และยังใช้เป็นส่วน

ระวังป้องกัน หรือเรือฉาก ให้กับเรือใหญ่ด้วย

 

3.2 เรือพิฆาตคุ้มกัน        เรือดำน้ำเป็นภัยคุกคามน่ากลัวที่สุด    โดยเฉพาะต่อคอนวอยขนส่งยุทธปัจจัย เรือสินค้ามักตกเป็นเป้าของ

เหล่าฉลามใต้สมุทร ...................... เพื่อป้องกันการโจมตี  เรือพิฆาตคุ้มกันจึงรับหน้าที่ เปรียบเช่น หมาเฝ้าฝูงแกะ ........................ 

ระวางขับน้ำ 2,000 – 2,500  ตันเพียงพอจะฝ่าคลื่นลมไปไกลเท่าที่เรือดำน้ำข้าศึกจะออกปฏิบัติการได้  ความเร็วไม่มากนัก  คือ

ประมาณ 20 – 25 น้อต เพียงพอเพื่อเกาะติดไปกับเหล่าเรือสินค้า  อาวุธคือระเบิดลึก และอุปกรณ์ตรวจจับใต้น้ำ           ปืนเรือ 3 นิ้ว

ใช้ยิงผิวน้ำและยิงระดมฝั่ง             

 

  หมายเหตุ  ............... อเมริกัน เรียกเป็น เดสทรอยเย่อร์ เอสคอร์ด หรือ เรือพิฆาตคุ้มกัน   แต่ตำราอื่นโดยสากล เรียกเรือ

ฟรีเกต...................

 

3.3 เรือ คอร์เวต  วัตถุประสงค์ใช้งานเหมือนเรือฟรีเกต แต่ระวางขับน้ำจะลดลงมา คือตั้งแต่ 500 – 1,500 ตัน ขนาดและจำนวนของปืน

เรืออาจลดลงมาตามระวางขับน้ำ

 

ครับ  การสัปยุทธทางทะเลสมัยก่อน    เรือรบใช้รบแลกหมัดกับเรือรบ  ปืนเรือใช้ยิงระดมฝั่ง  นอกจากนั้นเรือบางประเภท ยังใช้คุ้มกัน

กองเรือจากภัยเรือดำน้ำอีกด้วย     ....................ซึ่งจะเห็นว่า การป้องกันภัยทางอากาศสำของเรือรบ สมัยก่อน นั้น   เป็นเรื่องที่ยิ่ง

ใหญ่มาก  ยิ่งใหญ่เกินกว่าเรือเล็กๆจะทำได้       ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเรือใหญ่ มีระวางขับน้ำมากๆ มีพื้นที่ติดตั้ง ปตอ.ขนาดต่างๆเยอะๆ 

   .................

 

ล่วงเลยจนถึง ทศตวรรตที่ 70-80    เทคโนโลยี่เปลี่ยนโฉมเรือรบ    อาวุธนำวิถีปราบรือ บรรจุหัวรบระเบิดแรงสูงขนาด 200 กก. ระยะ

ยิงไกลกว่า 30 กม.    ทำให้เรือยุคใหม่ ไม่ต้องอาศัยปืนคาลิเบอร์ บิ๊กๆ...........................

 

เช่นเดียวกับภัยคุกคามจากอากาศยานติดอาวุธปล่อยนำวิถี  สิ่งนี้กลายเป็นมารร้ายที่น่าเกรงขามที่สุดสำหรับเรือรบ.................. 

อากาศยานถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูง ต่อตีเรือด้วยอาวุธปล่อยตั้งแต่ระยะไกล................... เรือรบจึงต้องหาแนวทางเพื่อดำรงค์ความ

อยู่รอด     การเปลี่ยนแปลงภายใต้ภัยคุกคามจากอากาศยานยุคใหม่ เป็นไปดังนี้

 

1 . เรือลาดตระเวน      ผลการเปลี่ยนแปลงทำให้ เรือ ลว.ยุคสงครามโลก  ที่มีขนาด 12,000 ตัน   ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเธอ ใช้พื้นที่ดาดฟ้า

มากกว่า 2 ใน 3   ติดตั้งป้อมปืน 8 นิ้วกระบอกเขื่อง    ก็ถูกเปลี่ยน  กลายเป็นเรือ ลว. ที่มี เสากระโดงหลายเสา แต่ละเสาติดตั้งจาน

สายอากาศเรดาร์น้อยใหญ่ใช้ตรวจน่านฟ้า.......... พื้นที่อีกไม่น้อยถูกติดตั้งจานสายอากาศเรดาร์ควบคุมการยิงเชื่อมต่อกับระบบอาวุธ

ต่างๆ...................  

เพื่อให้เห็นภาพ จึงขอยกตัวอย่าง เรือ ลว.อาวุธนำวิถี ชั้น ลองบีช   ซึ่งเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศขนาดระวางขับน้ำ 12,000 ตัน 

 สร้างในยุค 70-80    เป็นเรือ ลว. ติดอาวุธนำวิถีที่ทันสมัยที่สุดของอเมริกาในเวลานั้น  อาวุธหลักประกอบด้วย แซมพิสัยปานกลางแบบ

ทาลอส ระยะยิง 150 กม. , แซม พิสัยปานกลาง-ใกล้ แบบ เทอริเอร์ ระยะยิง 30 กม.    แน่นอนที่สุด อาวุธปล่อยต่อต้านเรือก็คือแบบ

ฮาร์พูน   ...........มีขีดความสามารถต่อตีเรือดำน้ำ ด้วยจรวด แอสร็ค  ติดตั้งระบบป้องกันระยะประชิดแบบฟาลังซ์  ......................... 

อาวุธเอกอุทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเกื้อหนุนที่ดีจากระบบตรวจจับและอำนวยการรบ  จึงทำให้เธอดูยุ่งเหยิงไปด้วยจานสายอากาศ

       

             เมื่อหมดยุค สวยมหากาฬ ชั้น ลองบีช    อเมริกาก็เริ่มประจำการ สวยประหาร ชั้น ติคอนเดอโรก้า  ซึ่งเป็น เรือ ลว. ไฮเทค 

ติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศทันสมัยมาก จานสายอากาศกวาดด้วยอิเลคทรอนิคแบบ เฟสอาร์เรย์     นัยว่า สามารถตรวจจับและติดตามเป้า

หมายขนาดเท่าลูกบาสเก็ตบอลบินเรียดน้ำระยะไกลได้อย่างแม่นยำชัดแจ๋ว ซึ่งเธอก็ได้พิสูจน์ความเยี่ยมยอดมาแล้ว โดยสอยเอาเครื่อง

พานิชย์ตกกลางอ่าวเปอร์เซีย

 

           ในฟากวอซอแพ็ค หรือโซเวียต ในอดีต ก็มีเรือรบขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น เรือ คิรอฟ ระวางขับน้ำ 25,000 ตัน  

ด้วยขนาดน้ำหนักเช่นนี้จึงจัดขึ้นไปอยู่ถึงชั้น ลว.ประจัญบาญ  อาวุธมหากาฬมากมาย ติดตั้งแซมถึง 3 ระยะเรียงจากไกล ปานกลางและ

ใกล้ นอกจากนี้ยังติดขีปนาวุธซึ่งก็ลับๆล่อๆว่าติดหัวรบนิวเคลียร์ด้วยหรือไม่ ดังนั้น เธอจึงเป็นมหากาฬ ซึ่งจัดชั้นกันแล้วเป็นยิ่งกว่าเป็น

ตัวแม่ แม้วันเวลาล่วงเลย เธอหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่ก็ยังเป็นดาวจรัสฟ้า เยื้องกรายไปแห่งหลใดก็มีแต่ผู้คนครั่นคร้าม ............  และที่เฉิด

ฉายอีกหนึ่งก็คือ เรือ ลว. ชั้น ซาลาว่า    ระวางขับน้ำ 12,000 ตัน   ซึ่งแนวความคิดและหลักนิยมการออกแบบจะต่างจากอเมริกาอยู่

บ้าง  ตรงที่เรือ อเมริกามีความเป็นเอนกประสงค์ และเน้นป้องกันภัยทางอากาศ     แต่ฟากโซเวียต เน้นแรงปะทะด้านหน้าเพื่อใช้อัดกอง

เรือบรรทุกเครื่องบินของข้าศึก ดังนั้น เธอจึงติดตั้งด้วยอาวุธปล่อย พื้น – พื้น ระยะยิงไกลมาก (500 กม.) และนี่เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ใช้

ยันกองเรือบรรทุกเครื่องบินอันน่าเกรงขามของอเมริกันไว้ได้

 

 

2. เรือพิฆาต  แนวทางการพัฒนาแบ่งออกสำหรับ 2 ภารกิจ คือ

 

2.1 เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ  อเมริกากำหนดชื่อเรียกเรือรบประเภทนี้เป็น “เรือพิฆาตอาวุธนำวิถี”   ใช้รหัส ดีดีจี    ภารกิจหลัก

คือ การป้องกันภัยทางอากาศแก่กองเรือ      ที่มีชื่อเสียงคือ เรือ พิฆาตอาวุธนำวิถี ชั้น ชาร์ล เอฟ อะดำ    ระวาง 3,500 ตัน  ติดตั้งแซม

พิสัยกลาง แบบ สแตนดาร์ด-1  ระยะยิง 70 กม.      อาวุธอื่นๆได้แก่  จรวด ฮาร์พูน และ แอสร็อค

 

สำหรับ ราชนาวีหลวง มหาอำนาจทางทะเลรองจากอเมริกา   ซึ่งงบประมาณทางทหารมีน้อยกว่า   การประจำการด้วยเรือ 

ลว. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก    ดังนั้นเรือรบตัวเก่งจึงมีขนาดเล็กลงมาเป็นเรือพิฆาต โดยมีภารกิจหลักในการต่อตี

อากาศยานพิสัยปานกลาง    เรือที่มีชื่อเสียงในอดีตก็คือ เรือพิฆาต ไทป์ 42  ซึ่งมีส่วนทำการรบในสงครามฟลอคแลนด์

   มีระวางขับน้ำ 4,000 ตัน  ติดตั้งแซมพิสัยกลาง ซีดาร์ด ระยะยิง 80 กม.     อาวุธรองอื่นๆ ได้แก่   อาวุธปล่อย เอ็มๆ-38

เอ็กโซเซต์  ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ   

 

ฝรังเศส มหาอำนาจทางทะเลอีกชาติหนึ่ง ในยุค 90 ประจำการด้วย เรือพิฆาต อาวุธนำวิถี ชั้น แคสสาร์ด  ระวางขับน้ำ 

4,500 ตัน  ติดตั้งแซม สแตนดาร์ด-1  อาวุธรอง จรวด เอ็กโซเซ่ต์ และ ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ

 

  

 

ในปัจจุบัน เรือรบประเภทนี้ ถูกเพิ่มระวาง และมีขนาดใหญ่มากขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น สุดยอด เรือพิฆาตอาวุธนำวิถี ติดตั้งเรดาร์เฟส

อาร์เรย์  ชั้น อาเลจ์เบิร์ก   ของอเมริกา มีระวางขับน้ำ 8,000 ตัน อาวุธหลัก จรวดแซมพิสัยกลาง สแตนดาร์ด-3 เป็นแบบแอคตีฟโฮมมิ่ง 

ระยะยิงกว่า 100 กม.   

 

ของราชนาวีหลวงก็เป็น ไทป์-45 ระวางขับ 8,000 ตัน  ติดแอคตีฟโฮมมิ่งเรดาร์ แซม เอสเตอร์ 30 ระยะยิง 120 กม.

 

ฝรั่งเศส ชั้น เฮอริซอน ระวางขับ 7,000 ตัน  ตัวนี้ใช้ เอสเตอร์-30 เหมือนกัน

 

แม้อาวุธแซมเอกอุ  แต่ก็ไม่ลืมอาวุธปล่อยปราบเรือและ ตอต่อตีเรือดำน้ำ..............

 

 

2.2  เรือ พิฆาต  อเนกประสงค์  อเมริกากำหนดรหัส   ดีดี     ทำภารกิจรบครอบคลุม 3 มิติ     แต่ในช่วงสงครามเย็นนั้น  เรือพิฆาต

เอนกประสงค์  ถูกกำหนดบทบาทเป็นเครื่องจักรไล่ล่า เรือดำน้ำ  ของโซเวียต ที่มีชื่อสียงได้แก่

 

ชั้น สปร๊วนซ์   ระวางขับ 8,000 ตัน ความเร็ว 32 น้อต อาวุธหลักคือ จรวด แอสร็ค   อาวุธอื่นๆได้แก่ แซมระยะใกล้ ซีสแปร์โร่ว์    

ฮาร์พูน และ ฟาลังซ์    จะเห็นว่า แม้จะเป็นเรือใหญ่ระดับ แปดพันตัน ทำการรบ 3 มิติ แต่แซมต่อสู้อากาศยานก็เป็นแบบพิสัยใกล้

15 กม.  ใช้ป้องกันเป็นจุดเท่านั้น

 

 

ปัจจุบัน อเมริกา มีประจำการด้วยเรือพิฆาตอาวุธนำวิถี ชั้น อาเลจ์เบริก เพียงชั้นเดียว  คือไม่จำแนกภารกิจดังแต่ก่อน    ซึ่งก็คือใช้ใน

ภารกิจทั้งต่อสู้อากาศยานและปราบเรือดำน้ำ    .............  สำหรับชาติอื่นๆ เปลี่ยนไปมอบภารกิจปราบเรือดำน้ำ ให้แก่เรือฟรีเกต     

ซึ่งเรือฟรีเกตในปัจจุบันมีระวางขับน้ำและขีดความสามารถพัฒนาขึ้นขึ้นเป็นอย่างมาก

 

 

2.3 เรือพิฆาตคุ้มกัน    เรือรบประเภทนี้ มีอดีตมาตั้งแต่สมัย วว.2    และที่ถูกต่อขึ้นในช่วงสงครามเย็น ก็คือ เรือพิฆาต ชั้น น็อกซ์  หรือ 

รล.พุทธยอดฟ้าฯ และ รล.พุทธเลิศหล้าฯ ของเรานี่ยังไงครับ   ระวางขับน้ำ 4,000 ตัน  ทำความเร็วได้ 26 น้อต  เครื่องจักรเป็นแบบ

ไอน้ำ แถมมีใบจักร   ..........    ในตอนแรกเรือชั้น น็อกซ์ ถูกจัดเป็น เรือพิฆาตคุ้มกัน   แต่เพื่อให้สอดคล้องการจัดชั้นเรือยุคใหม่ 

จึงกำหนดเป็น เรือฟรีเกต     และเป็นการสิ้นสุดการใช้ คำว่า เรือพิฆาตคุ้มกัน ในสารบบการจัดชั้นเรือยุคใหม่ของอเมริกา นับแต่บัดนั้น

 

 

3.  เรือ ฟรีเกต    ดังที่กล่าว เดิมนั้นเรือฟรีเกตเป็นเรือที่มีพื้นฐานจาก เรือพิฆาตคุ้มกัน คือใช้ในภารกิจรบใต้น้ำเป็นหลัก ความเร็วและ

อาวุธพื้นน้ำ/ต่อสู้อากาศยาน มีจำกัด   ในช่วงสงครามเย็น เรือฟรีเกตถูกยกระดับให้มีความเป็นเอนกประสงค์มากยิ่งขึ้น  โดยเพิ่มระวาง

ขับน้ำ เป็น 2,000 – 4,000 ตัน เพิ่มความเร็ว  ติดตั้งอาวุธมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะทำการรบครอบคลุมได้ 3 มิติ     ในปัจจุบัน 

แบ่งเรือฟริเกตได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

 

3.1 เรือ ฟรีเกต/ฟรีเกตเบา ปราบเรือดำน้ำ    ยังคงวัตถุประสงค์แบบเดียวกับเรือพิฆาติคุ้มกัน แต่ได้ทำการเพิ่มกำลังเครื่องจักร ความเร็ว

มากขึ้น   ติดตั้งอาวุธอัตโนมัติ  ทั้งนี้เพื่อหมาะสมกับภัยคุกคามสมัยใหม่  ยกตัวอย่างเช่น

 

 เรือฟริเกตเบา ชั้น เพทยา ของโซเวียต ระวางขับน้ำ 1,000 ตัน ความเร็ว 30 น้อต ติดตั้งปืนเรือ โซนาร์ จรวดและ 

ต.ปราบเรือดำน้ำ         หรือ เรือฟรีเกตเบา ชั้นตาปี ของทร.ไทย(อิหร่านมีประจำการ)  ระวางขับน้ำ 1,000 ตัน 

ความเร็ว 22 น้อต โซนาร์ ตอปิโด และปืนเรือ อัตโนมัติ

 

3.2 เรือฟรีเกต อเนกประสงค์   จัดเป็นเรือพิมพ์นิยม มีการต่อประจำการมากที่สุดในยุคปัจจุบัน   ระวางขับน้ำระหว่าง 2,000 – 4,500 ตัน 

 ขึ้นอยู่กับภารกิจความต้องการติดตั้งอาวุธมากน้อย     ความเร็วมาตรฐานอยู่ในช่วง 25 – 30 น้อต  แยกย่อยตามอาวุธติดตั้งดังนี้

 

3.2.1 เรือฟรีเกตเบาเอนกประสงค์............ ถูกออกแบบมาให้เป็นฐานอาวุธปล่อย พ-พ แบบลอยน้ำ  ระวางขับน้ำ ไม่เกิน 2,500 ตัน 

ทำการรบ 3 มิติ    มีขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศอย่างจำกัด    อาวุธหลักคือจรวดนำวิถีต่อสู้เรือรบ   สามารถทำสงครามปราบ

เรือดำน้ำและสงครามอิเลคทรอนิคส์ได้ ...     แต่เนื่องจากระวางขับน้ำค่อนข้างน้อย    จึงเหมาะทำการรบในน่านน้ำ    ไม่เหมาะนำออก

ไปโต้คลื่นกับกองเรือในทะเลลึก/ทะเลหลวง ขอยกตัวอย่างเรือประจำการในภูมิภาคอาเซี่ยนได้แก่

 

        - เรือฟรีเกต ชั้น ลีนเดอร์ ของอินโดนิเซีย ระวางขับน้ำ 2,300 ตัน ยาว 112 เมตร  อาวุธปล่อยนำวิถี ซี-802 / บรามอส โซนาร์

และตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง    

        - เรือ ฟรีเกต เจียงหู ไทป์ 053 ของไทย/พม่า   ระวางขับน้ำ 1,900 ตัน ยาว 105 เมตร อาวุธปล่อย ซี-802  โซนาร์และจรวด

ปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง

       - เรือฟรีเกตุเบา เอฟเอส1500 ชุด คาสตุรี่ ของ มาเลย์เซีย ระวางขับ 1,900 ตัน ยาว 98 เมตร อาวุธปล่อย เอ็มๆ- 40 เอ็กโซเซ่ต์ 

โซนาร์และตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง

       - เรือฟรีเกต ชุด ดิ๋ว ต่าย โห ของ เวียตนาม ระวางขับ 1,900 ตัน  ความยาว 102 เมตร ออกแบบให้มีดาดฟ้า/โรงเก็บ ฮ.  

และมีพื้นที่ว่างสำหรับปรับปรุงยกระดับในอนาคต....... แต่เนื่องจากแผนการต่อเรือลดค่าใช้จ่าย ระบบต่างๆจึงถูกตัดออกมากมาย  รวม

ถึงระบบสงครามใต้น้ำก็ถูกตัดด้วย    .......... ระบบอาวุธได้แก่  อาวุธปล่อยปราบเรือ เอสเอ-เอ็น-4   ติดตั้งระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์

และเป้าลวง

 

 

3.2.2  เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ เป็นการขยายตัวเรือและเพิ่มระวางขับน้ำจากเรือฟรีเกตเบาเอนกประสงค์ คือมีระวางขับน้ำไม่เกิน 

3,500 พันตัน ทำการรบครอบคลุม 3 มิติ     มีขีดความสามารถทำสงครามใต้น้ำและสงครามอิเลคทรอนิคส์ เต็มรูปแบบ  เฮลิคอปเตอร์

บรรทุกไปด้วย ใช้ในภารกิจตรวจการณ์ และปราบเรือดำน้ำ.......................  เนื่องจากมีพื้นที่เพิ่มขึ้น จึงรับการติดตั้งอุปกรณ์

ตรวจจับ/ควบคุมการยิงอาวุธนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศ   ขอยกตัวอย่างในภูมิภาคอาเซี่ยนได้แก่

 

        - เรือฟรีเกต ชั้น ฟอมิดาเบิ้ล ของสิงคโปร์ ระวางขับน้ำ 3,200 ตัน ยาว 115 เมตร  อาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน  ตอปิโดปราบเรือดำ

น้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง     แซมพิสัยปานกลาง แอคตีฟเรดาร์ แอสเตอร์-30 ระยะยิง 120 กม.

 

        - เรือ ฟรีเกต เจียงหู 25 ที  ชุด รล. นเรศวร ของไทย  ระวาง 3,000 ตัน ยาว 120 เมตร อาวุธปล่อยนำวิถี ฮาร์พูน  ตอปิโดปราบ

เรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง     แซมพิสัยปานกลาง แอคตีฟเรดาร์ ซีสแปร์โร่ว์ เอฟเวอร์ลูชั่น ระยะยิง 100 กม.

 

       - เรือฟรีเกต ชุด ลีเกียว ของ มาเลย์เซีย ระวางขับ 2,2 00 ตัน  ความยาว 102 เมตร มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่เนื่องจากมีการ

ออกแบบดาดฟ้าและโรงเก็บ ฮ. พร้อมระบบยิงอาวุธปล่อยแนวตั้ง ผมจึงขอเลื่อนชั้น จากฟีเกตเบามาอยู่ในชั้นนี้      .......  ระบบอาวุธ

ได้แก่  อาวุธปล่อย เอ็มๆ 40 เอ็กโซเซ่ต์  ตอปิโดปราบเรือดำน้ำ สงครามอิเลคทรอนิคส์/เป้าลวง............  แซมพิสัยใกล้ นำวิถีแบบ

เคลื่อนตามแนวเล็ง แบบ ซีสวูลฟ์ ระยะยิง 10 กม.  และด้วยสาเหตุที่เรือค่อนข้างเล็กส่งผลถึงตำแหน่งพื้นที่วางอาวุธภายในเรือ และการ

มีระบบยิงแนวตั้งไว้ตอนหน้า  ปืนใหญ่เรือจึงต้องลดขนาดลงเหลือแค่ 57 มม.     การดัดแปลงเพื่อติดตั้งระบบที่ใหญ่ขึ้น จะเป็นปัญหา

อย่างมากในอนาคต

 

 

จะเห็นได้ว่า  ไทยและสิงคโปร์ เป็นเพียง 2 ชาติในอาเซี่ยน  ที่มีประจำการด้วยจรวด อ-อ พิสัยกลาง  ติดตั้งบนเรือรบ  ซึ่งเพิ่มศักยภาพ

ป้องกันภัยทางอากาศให้แก่กองเรือได้อย่างสูงยิ่ง...........  เป็นที่แน่นอนว่า ขีดความสามารถเหล่านี้ต้องแลกด้วยงบประมาณเป็นจำนวน

มหาศาล.....................

 

 

3.2.3  เรือฟรีเกตเอนกประสงค์ ขนาดใหญ่    จุดประสงค์การออกแบบ เพื่อเป็นเรือสำหรับติดสอยกระบวนเรือปฏิบัติการณ์ในทะเลลึก

ของเหล่ามหาอำนาจ  แน่นอนว่า จะต้องมีขนาดใหญ่ระวางขับน้ำมาก  ซึ่งก็ควรจะมีระดับน้องๆเรือพิฆาตซึ่งก็ไม่ต่ำกว่า 4,000 ตัน 

........................... ก็คงมีเพียง มหาอำนาจทางทะเลเท่านั้นที่ใช้เรือฟรีเกตประเภทนี้  สำหรับประเทศที่มีชายฝั่งทอดยาวแบบไทย

   การรักษาเขตเศษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล (เมื่อก่อนถือเป็นทะเลหลวง)   เรือรบขนาด 2,000 – 3,000 ตัน ก็จัดว่าเพียงพอที่จะโต้

คลื่นลมออกไปได้ ........................

 

ขอยกตัวอย่าง เรือฟรีเกตขนาดใหญ่ดังนี้

 

- เรือฟรีเกตชั้น น็อกซ์     ต้องขอนำมากล่าวอีกครั้ง   ระวางขับน้ำ 4,200 ตัน  จากเดิมที่เคยจัดเป็นเรือพิฆาตคุ้มกัน จึงเปลี่ยมาเป็นเรือ

ฟริเกต  ต้องกล่าวว่า เรือชั้นน็อกซ์ถูกสร้างมาเพื่อปราบเรือดำน้ำจริงๆ  เห็นได้จากเครื่องจักรเป็นไอน้ำ ใบจักรเดี่ยวปรับพิชได้   ทำให้

เรือมีเสียงรบกวนน้อยเหมาะสำหรับทำสงครามใต้น้ำ  (ข้อดีของใบจักรเดี่ยวอีกข้อคือ มีราคาถูก ไม่เปลืองเพลา เกียร์บ็อกซ์  แต่ก็มีข้อ

เสียคือ ใบจักรเดียวทำให้เดินเรือยากขึ้นอีกนิด  เนื่องจากเรือจะหัวหัวหนีเข็มตามทอร์คของใบจักร  ดังนั้น พขร.  ต้องขยันตื่นมาตั้งเข็ม

บ่อยๆ....  ที่ทราบเพราะสมัยเด็กๆชอบเล่นเรือโฟม สิ่งที่สังเกตคือ แม้จะวัด ตัด ขัด ให้เรือเที่ยงตรงเพียงใด เวลาแล่นจริง หัวเรือมักหัน

ออกจากแนวที่ตั้งไว้ไปทิศทางที่ใบพัดหมุน ทางแก้คือต้องมี 2 มอเตอร์ ต่อเข้ากับ 2 ใบพัด และให้หมุนกลับทิศกันโดยการสลับขั้ว

ถ่าน.....)           ระบบติดตั้งถือเป็นทีเด็ดของเรือชั้นนี้ คือ โซนาร์ลากท้าย ร่วมด้วยอาวุธยิงปราบ ด. แบบแอสร็อค  พื้นที่ด้านท้าย

สำหรับเฮลิคอปเตอร์ ซีสไปร้ซ์ ติดโซนาร์ชักหย่อน และ ตอปิโด .................. ในส่วนของฮาร์พูนนั้น มีไว้เป็นน้ำจิ้มพอป้องกันตัว 

เพราะโหลดได้ครั้งละแค่ 2 นัด ไม่สะดวกในกรณีรบติดพัน

 

- เรือฟรีเกต ชั้น โอลิเวอร์ ฮาร์ซาด เพอรี่    ระวางขับน้ำ 4,100 ตัน ความเร็ว 29 น้อต เครื่องยนต์ แก้สเทอร์ไบน์ ใบจักรเดี่ยว ปรับพิช

ได้    อาวุธ แซม เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่ง สแตนดาร์ด-1 ระยะยิง 75 กม.  จรวด ฮาร์พูน ตอปิโดมาร์ค-42  ฮ.ซีฮอว์ค หรือ ซีสไปร้ท์

  ปืน 3นิ้ว  ซีไอดับบลิวเอส ฟาลังซ์      ...................  เราเกือบได้เป็นเจ้าของเรือชุดนี้จำนวน 2 ลำ    ...................... 

ครั้งหนึ่งเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เรือ ชุดนี้     ชื่อ ยูเอสๆ สตร๊าค  เคยพลาดท่า โดนจรวดเอ็กโซเซ่ต์ ของอิรัค กระซวกเข้าอย่างลึกขณะ

ลอยลำในอ่าวเปอร์เซีย....................... เสียหายถึงขั้นจำหน่าย    แต่อย่าเข้าใจผิด ขณะนั้น อิรัค กับอเมริกายังจูบปากกันอยู่นะครับ  

การยิงเกิดจากความเข้าใจผิด ......................   ผู้บังคับการเรือถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากอยู่ในวิสัยป้องกันตัวเองได้  

..................ทั้งนี้เรือติดตั้งใช้งานระบบสงครามอิเลคทรอนิคส์และเป้าลง รวมถึงอาวุธป้องกันระยะประชิด  แต่ที่ว่ามาทั้งหมด ไม่ได้ถูก

ใช้งานเลย ............ ง่ายๆคือ ไม่ได้ยิง หรือเปิดระบบแจมอะไรทุกอย่างสักอย่าง  ก็เลยโดนกรรมการไล่ลง โทษฐานชกไม่สมศักดิ

ศรี..............

 

 

- เรือฟรีเกต ไทป์23 ของอังกฤษ    นี่เป็นฟรีเกตยักษ์ของอีกหนึ่งชาติมหาอำนาจ ..........ฟรีเกตไทป์ 23 ถูกสร้างเพื่อใช้งานคู่กับ 

เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ ไทป์ 45    ถือเป็นคู่จิ้นเลียนคู่หนึ่งในอดีต คือเรือฟรีเกต ไทป์ 22 คู่กับ เรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ 

ไทป์ 42  ......................... ไทป์ 23 มีระวางขับน้ำ 4,800 ตัน ความเร็ว 28 น้อต อาวุธปราบเรือ ฮาร์พูน แซม พิสัยใกล้ ซีวูล์ฟ ระยะยิง 

10 กม.  ระบบสงคราอิเลคทรอนิคส์เป้าลวง   โซนาร์และต.ปราบเรือดำน้ำ   ...............ฮ.ซุเปอร์ลิงซ์ สามารถติดอาวุธปล่อยปราบเรือ

ขนาดเล็กแบบ ซีสกัว ระยะยิง 25 กม. หัวรบ 30 กก. หรือ เป็นโซนาร์ชักหย่อนและต.ปราบเรือดำน้ำได้ด้วย ....................  สาเหตุที่

เรือ ฟริเกต ไทป์ 23  มีระบบแซมค่อนข้างกะทัดรัด เนื่องจากต้องรอนแรมออกทะเลไปกับ เรือพิฆาต ไทป์-45 ซึ่งจะคอยซึ่งคุ้มกันภัย

ทางอากาศให้

 

ครับ ร่ายมายาว ก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์ ในการใช้แบ่งชั้นเรือกับเพื่อนๆนะครับ

 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 29/09/2016 12:05:24


ความคิดเห็นที่ 6


ท่านกบแก้นิดช่วงท้าย
เรื่องOHP  USS Starkไม่ได้โดนจำหน่ายครับท่าน เหตุโดนยิงเกิด18 พฤษภา 1987 กลับมาซ่อมต่อที่เมกาแล้วกลับไปประจำตะวันออกกลางจนปลดระวาง เดือนเดียวกัน ปี1999 กรณีUSS Stark เป็นอีกเหตุนึงที่ปีต่อมา3 กรกฎา 1988ที่เรือTicon class USS Vincennes ก่อเลยก่อเหตุยิงเครื่องอิหร่าน Flight 655 ตายยกลำครับ

Type 23 frigateเน้นASWเป็นหลักครับเลยติดแค่Sea Wolf ไปด้วย32ลูก เพื่อป้องกันตัวเองอย่างเดียว ไม่ได้สร้างมาใช้งานคู่กับ Type 45ครับ สองตัวนี้เปิดตัวคนละสมัยกันเลย Type 23 ทยอยมาแทนLeander class กับType 22 ตั้งแต่ปี1990มา  ซึ่งทั้งหมดนี้ทำงานร่วมกันกับ เรือพิฆาตType 42 ซึ่งถูกแทนด้วยType 45 ที่เน้นAAW เป็นหลัก นั้นเริ่มทยอยประจำการในปี2009เป็นต้นมาครับ

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 30/09/2016 02:17:02


ความคิดเห็นที่ 7


ส่วนเรื่องLa Fayette classของฝรั่งเศสเองนั้นแม้เรือชั้นนี้จะระบุเป็นfrigateแต่ขีดความสามารถมันคือOPVดีนี่เองแหละ เรือออกแบบมาบนหลักlow-intensity conflict คือภัยคุกคามระดับต่ำ หรือไม่ใช่ภาวะสงคราม ที่ระวางเยอะเพราะมีภารกิจหลักคือดูแลEEZของฝรั่งเศสโดยเฉพาะซึ่งมีพื้นที่กว้าง จึงต้องออกทะเลได้นาน และเน้นเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ เรือจึงใช้ระบบดีเซลล้วนๆ   เรือชั้นนี้ไม่ได้ไว้ปราบเรือดำน้ำแต่ใดทั้งสิ้นครับไม่มีระบบอะไรรองรับเลยไม่มีทั้งโซน่า,ตอร์ปิโด และ ฮปด.  มีแต่พื้นที่รองรับAsterไว้เฉยๆ

ส่วนเรื่องเอาCrotaleออกผมว่าเอา Searamมาแทนดูดีกว่าเยอออะ แบบที่เวอร์ชั่นของไต้หวันติดPhalanxไว้

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 30/09/2016 02:53:51


ความคิดเห็นที่ 8


ไทป์ 23 ถูกออกแบบใช้งาน คู่ ไทป์ 45    ถูกต้องแล้วครับ       ขอให้วางเรื่อง โอเวอร์แหล็บของเวลาลงนิดนึง อีกด้วยนะครับ................

 

เริ่มที่่ แนวความคิด แบบคลาสสิคกำลังรบทางเรือของนาโต้   เรือจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ ใช้ต่อต้านอากาศยานเป็นหลัก และ ต่อสู้ผิวน้ำ/ใต้น้ำ     อเมริกามี ลองบิช  ชาร์เอฟ อะดำ  ทำงานคู่กับ สปร๊วนซ์ น็อกซ์        เช่นเดียวกัน  อังกฤษ ก็มี  ลีนเดอร์ ไทป์ 21 ไทป์ 22 ใช้งานคู่กับ ไทป์ 42    

 

คำว่าทำงานร่วมกัน หมายถึง  หลักนิยมการออกแบบ   เพื่อใช้งานมุ่งเน้นไปคนละด้าน   และจะประกอบเป็นกองเรือที่แข็งแกร่ง  ป้องกันพื้นที่ได้ทุกมิติ ภายหลังการสนธิกำลัง       มันไม่ใช่ต้องทำอะไรด้วยกัน ไปไหนไปด้วยกัน ติดกันเป็นแฝดสยาม อินทร์ จันทร์ อย่างนั้นดอกครับ        

 

   ยกตัวอย่างในสงครามฟอล์คแลนด์   อังกฤษ วางกำลังเรือรบ  นอกจากเรือ บรรทุกบ. และ เรือสนับสนุน  ยังมี กำลังผิวน้ำหลัก ได้แก่ ไทป์42 ป้องกันภัยทางอากาศ และ ไทป์ 21  ลีนเดอร์ ในการรบผิวน้ำ/เรือดำน้ำ...............

 

มันคือหลักนิยมการออกแบบอาวุธครับ   ดังนั้น ไทป์ 23 ออกแบบ เพื่อคู่กับ ไทป์ 45 จึงไม่ผิด   แม้ 45 จะมาทีหลัง  แต่ต้องใช้งานคู่กับเรือป้องกันภัยทางอากาศในขั้นการสนธิกำลังรบ ไม่ว่าจะเป็น ไทป์ 42 ไทป์ 45        ซึ่งในวันนี้ก็คือ ไทป์ 45  ครับ................

 

 

อันนี้เพิ่มภายหลัง  

 

 แต่ที่สุดเรือรบก็คล้ายๆเครื่องบินรบครับ   เมื่อก่อนอเมริกาแยก อินเตอร์เซปท์เตอร์ กับ โจมตีออกกันเด็ดขาด เช่น เอฟ-104  เอฟ- 106 บทบาท ป้องกันภัยทางอากาศ  เอ-7 โจมตี   ตอนหลัง ก็จับ 2 แบบมายำรวมกันเป็น เอฟ-16  ...........  เช่นเดียวกับรุ่นใหญ่  เอฟ-4 ซี   เอฟ-15 ซี เป็น ซุพีเหรี่ย ไฟท์เตอร์ ครองอากาศ   เอฟ-105 เอฟ-111 เป็นไฟเตอร์ บอมเบอร์  ก็จับมารวม เป็น เอฟ-15 อี สไตร้ค์ไฟเตอร์ (จริงๆ ภาพมันก็ยังดูเป็นบอมเบอร์  แต่มีขีดความสามารถรบทางอากาศแบบ บีวีอาร์ ที่ดีมาก) ...............

พอเป็นเรือ   จาก ชาร์ลเอฟ อะดำ และ สปร๊วนซ์    ก็ยำรวม เป็น อาเลย์เบิร์ค ซะเลย .............. (จริงๆ แววการรวม มันส่อมาตั้งแต่ โอลิเวอร์ ฮัด สาด แล้ว   เพียงว่า ระวางขับแค่ 4,000 ตัน มันยังไม่ถึงใจ พระเดชพระคุณท่าน)

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 30/09/2016 08:30:30


ความคิดเห็นที่ 9


ผมเข้าใจว่าท่านกบหมายถึงเรือชั้น Georges Leygues กับ Cassard มากกว่านะครับ จนถึงปีนี้ Georges Leygues ก็ยังทำภารกิจต่อไปเรื่อย ๆ ทั้งฝีกปราบเรือดำน้ำร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านหรือออกไปคุ้มกันกองเรือนาโต้ที่อ่าวเปอร์เซีย จนกว่าเรือชั้น FREMM รุ่น ASW จะเข้าประจำการครบ ซึ่งก็คงไม่นานเท่าไหร่

 

ส่วนเรื่อง SeaRam กับกองทัพเรือฝรั่งเศสคงเป็นไปไม่ได้เลย และถ้าเป็นไปได้ผมก็จะขอยืมคำพูดของท่าน dcalpha มาแก้ต่าง เพราะเน้นเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ ระบบฟาลังซ์ 1 ระบบซึ่งใช้ปืนกลยังมีราคา 16-18 ล้านเหรียญเข้าไปแล้ว ส่วน SeaRam 1ระบบ + จรวด RAM 20 นัด + อุปกรณ์สนับสนุนและซ่อมบำรุง + การอบรม = มากกว่า 25 ล้านเหรียญแน่นอน

 

แม้ว่าจรวด RAM จะถูกออกแบบให้ราคาไม่แพง ทนทานกับการใช้งาน ซ่อมบำรุงง่ายและไม่แพง แต่ยังไงเสียก็จะมีราคาแพงกว่า ทานทานน้อยกว่า ซ่อมบำรุงมากกว่าและแพงกว่าจรวด Mistral ซึ่งเป็น Manpad แท้ ๆ แน่ ฉะนั้นยังไงก็ไม่มาแน่สบายใจได้

 

ฝรั่งเศสกับเยอรมันเหมือนกันอยู่เรื่องคือ ขายเรือ OPV ติดอาวุธไปทั่วโลก แต่ตัวเองไม่มีเรือดังกล่าวเลย (มีแต่แบบไม่ติดอาวุธ) La Fayette ไม่ใช่เรือฟริเกตที่ไม่ติดระบบปราบเรือดำน้ำรุ่นแรก เพราะเรือชั้น Floréal ซึ่งมีระวางขับน้ำเต็มที่เท่ากับเรือหลวงนเรศวรของเราต่างหากที่เข้าประจำการก่อน ไม่มีตอร์ปิโดและใช้เครื่องยนต์ดีเซลล้วนเหมือนกัน

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/09/2016 08:49:14


ความคิดเห็นที่ 10


 

ทีนี้ผมจะพาไปดูของแปลกกันบ้างนะครับ ในปี 1994 แอฟริกาใต้ผุดโครงการชื่อProject Sitron ขึ้นมา เพื่อจัดหาเรือคอร์เวตอาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ แต่โครงการได้ถูกเปลี่ยนความต้องการมาเป็นเรือฟริเกตติดจรวดต่อสู้อากาศยานในภายหลัง  เซ็นสัญญาซื้อเรือในปี 1999 และส่งมอบเรือลำแลกสุดในปี 2004 ผมเคยเขียนบทความถึงไปแล้วเมื่อปีกลายท่านใดสนใจตามไปอ่านได้ครับ ;)

เจาะโครงการจัดหาเรือคอร์เวตกองทัพเรือแอฟริกาใต้

มาที่การจัดหาเรือครั้งที่สองในรอบแรกกันก่อนนะครับ  ฝรั่งเศสส่งแบบเรือ La Fayette เข้าประกวดโดยติดตั้งอุปกรณ์และอาวุธตามความต้องการแอฟริกาใต้ ใช้เครื่องยนต์ CODAG นะครับ (ขณะที่เรือจริงทั้ง 4 ประเทศน่าจะใช้ดีเซลล้วนมั้ย) นั่นหมายถึงแบบเรือสามารถใช้ระบบขับเคลื่อนและอาวุธได้ตามความต้องการของลูกค้า ส่วนอาวุธก็มีประมาณนี้ครับ

 

1xOto 76/62 mm Naval Guns (SAN Version)

1xDenel 35mm Dual Purpose Guns

2xReutech Sea Rogue 12.7mm remote machine gun

32xUmkhonto surface-to-air missiles 

8xExocet MM40 Block 2 Serface-to-Serface Missiles

2x324mm torpedo twin tubes

 

 

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/09/2016 09:00:17


ความคิดเห็นที่ 11


และพอถึงรอบสุดท้ายในปีถัดมา ฝรั่งเศสเห็นท่าไม่ดีเลยเปลี่ยนแบบเรือเสียเลย กลายมาเป็นแบบเรือ Patrol Corvette ที่ยาว 114.7 เมตร กว้าง 15.5 เมตร ระวางขับน้ำเต็มที่ 3,248 ตันแทน ขนาดเรือใหญ่กว่าเดิมนิดหน่อย รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไปบ้าง เพื่อให้สามารถต่อกรกับคู่แข่งได้สมน้ำสมเนิ้อขึ้น ผลการประกวดเป็นอย่างไรติดตามกันเอาเองนะครับ ผมไม่อยากสปอย แฮร่..!!

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/09/2016 09:06:51


ความคิดเห็นที่ 12


โดยในรอบสุดท้ายฝรั่งเศสยังคงแสดงความเขี้ยวให้เห็น ด้วยการเสนอแบบเรือ La Fayette Alternative ควบคู่กันไปด้วย วิธีการง่ายมากคือเอา La Fayette เครื่องยนต์ดีเซลล้วน (หน้าตาเหมือนของฝรั่งเศสเป๊ะ) มาติดอาวุธตามความต้องการ โดยอ้างราคาที่แพงเท่าเดิมแต่ขนาดเรือใหญ่กว่าเดิม ซ่อมบำรุงก็ถูกกว่าเพราะเพื่อนเยอะ และสามารถส่งมอบได้อย่างรวดเร็วกว่าใครนะเออ เพราะเรืออยู่ในระหว่างทำการต่อให้กับหลายประเทศ โดยเสนอเรือเพียง 3 ลำเท่านั้น นัยว่าตรูพร้อมต่อให้เมิงเท่านี้หรืออย่างไรไม่ทราบ ราคาทั้งโครงการลดลงครับเพราะจำนวนมันลดลง และแอฟริกาใต้จะได้เรือเข้าประจำการเร็วขึ้นถึง 2 ปีเต็ม

 

 

แต่แอฟริกาใต้ไม่ใช่ประเทศแถบอาเซี่ยนประเทศหนึ่ง จึงตัดแบบเรือและข้อเสนอที่ไม่ตรงตามความต้องการทิ้งทันที เงิบกันไปเลย ฮ่า ฮ่า

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 30/09/2016 09:24:25


ความคิดเห็นที่ 13


กรรมการพิจารณาแบบเรือ เค้าแข็งจริงๆ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 30/09/2016 09:48:15


ความคิดเห็นที่ 14


ท่านกบ ผมก็ไม่ได้ค้านท่านเรื่องconcept อันนั้นทราบอยู่แล้วครับการออกแบบเรือเฉพาะด้านASW,AAW ปฏิบัติภาระกิจร่วมกัน
ผมค้านแค่เรื่องtimelineนั้นแหละ Type 23 กับ  Type 45มันคนละยุคกัน ตัวที่จะมาใช้คู่กันจริงๆคือType 26หรือGlobal Combat Ship 
แต่มันโดนแช่กันหมดเพราะสงครามเย็นจบนั้นแล Type 42ลำสุดท้ายพึ่งปลดเมื่อ 2013นี้เอง เพราะ  แต่เดิมโครงการคือNFR-90ที่อังกฤษแยกมาเป็นType 45มาแทนType 42 กับFuture Surface Combatant (FSC)ที่กลายมาเป็นType 26 
 เพื่อมาแทนType 23   ซึ่งแว่วๆว่าจะมีType 31 มาเพิ่มอีกแบบด้วยตอนนี้ 


เรื่อง SeaRamเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วผิดconceptแค่เชียร์เพราะความชอบส่วนตัว เห็นหลังคาโรงเก็บฮ.โล่งๆอย่างงั้นติดCIWSเนื้อแท้ไปนี้จะได้ใช้ได้เต็มที่หน่อย

"แต่แอฟริกาใต้ไม่ใช่ประเทศแถบอาเซี่ยนประเทศหนึ่ง จึงตัดแบบเรือและข้อเสนอที่ไม่ตรงตามความต้องการทิ้งทันที"  โ อยยโคตรเจ็บ 

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 30/09/2016 19:13:25


ความคิดเห็นที่ 15


555. ต่อให้เรือที่ว่ามีจริงมันก็โอเวอร์แล็ป กับไทพ์45 อยู่ดีหล่ะครับ. คุณดูอายุเฉลี่ยการประจำการของ ไทป์42 สิ ผมว่าลำแรกๆมันก็มากโขแล้วขณะที่ไทป์23ใหม่กิ๊กลำแรกเข้าประจำการ   เรือสองแบบคงไม่ประจำการลำแรกพร้อมกันดอก  และถ้าเอาบรรทัดฐานทามไลน์ของคุณ คุณเองก็พูดไม่ได้หรอกว่าไทป์ 45ออกแบบมาคู่ไทป์26 เพราะถ้ามีจริงผมก็จะใช้ตรรกของคุณว่าไม่ใช่ เพราะทามไลน์ทั้งสองไม่ตรงกัน  ผมว่า จริงๆแล้วเป็นประเด็นน้อยสาระครับ แต่โอเค ถ้าสบายใจไม่คู่ก็ไม่คู่ครับ.....

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 30/09/2016 21:56:05


ความคิดเห็นที่ 16


เฮ้อท่านกบ เอาที่ท่านสบายใจก็แล้วกัน  
Type 42 batch 1ลำแรกต่อปี1970  batch 3ลำสุดท้ายEdinburgh ต่อปี1980  Type 23ลำแรกต่อปี1985  
เรืออายุ15ปีคือมากโขเหรอท่าน
ประเด็นเรื่องยุคType 26 หรือFSCในตอนแรกเริ่มโครงการปี1998  Type 45มาจากโครงการHorizon CNGF ปี1992
Type 26 จริงๆควรจะเริ่มต่อหลังจบดีล Type 45 ที่ยังไม่เริ่มเพราะสงครามเย็นจบตัดงบกระจายเลยลากมากว่าจะเร่มต่อ แม้แต่Type 45 ตอนแรกจะต่อ12ลำก็ลดไป8จนมาเหลือ6ในที่สุด
และทั้งUKเอง หลังสงครามเย็นอู่ต่อเรือล้มหายตายจากไปเยอะครับขีดความสามารถต่อเรือเหลืออยู่ไม่กี่อู่เพราะฉะนั้นตอนนี้ต่อแบบปล่อยลงน้ำปีละลำสองลำแบบจีนไม่ได้หรอกครับ

ที่ผมแย้งเพราะผมพูดตามข้อมูลที่ผมทราบและผมก็เคยคุยเกี่ยวกับเรื่องเรือเล่นๆกับตัวทหารเรืออังกฤษที่ผมพอจะรู้จักเองหลายรอบแล้วครับ  อย่าหาว่าผมหาเรื่องอะไรเลยนะท่าน

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 30/09/2016 23:26:44


ความคิดเห็นที่ 17


แก้ปัญหาเรื่องไทมไลน์ให้ 

type 23 มาเพื่อใช้กับ type 42, type 45 มาเพื่อใช้กับ type 23, type 26 มาเชื่อใช้กับ type 45 

หมดปัญหา ฮา

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 01/10/2016 04:31:26


ความคิดเห็นที่ 18


โจ้กเจ้าที่อยู่หน้าตลาดอร่อยดีครับ แต่ถ้าไปสาย ปาต้องโก๋จะหมด ว่าตะซื้อมาสักสองถุงฝากคนที่บ้านด้วยครับ
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 01/10/2016 08:03:50


ความคิดเห็นที่ 19


ถ้าพูดถึงเรือ Type 45 ล่ะก็ อย่าลืมโคตะระอภิมหาโปรเจค NFR-90 ซึ่งมียอดรวมสั่งซื้อเริอ 52 ลำจาก 8 ประเทศในนาโต้ด้วยนะครับ

 

แล้วถ้าพูดถึงเรือ Type 26 ที่โดนตัดยอดจาก 13 ลำมาเหลือ 8 ลำไปแล้ว ก็ต้องไม่ลืมโคตะระอภิมหาเรือฟริเกต Type 31 ด้วยนะครับ

หนาตาคุ้นกันมั้ยนั่น 555 เหมาะมากกับท่านสมาชิกที่อยากเอาเรือหลวงกระบี่ไปขยายเป็นเรือฟริเกตเสียเหลือเกิน อังกฤษทำมาให้แล้วครับ คราวนี้แหละมีโรงเก็บฮ.สมใจนึกบางลำภู แต่เชื่อผมเถอะว่าเรือสุดขี้เหร่ลำนี้ราคาแพงหูฉี่แน่นอน 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/10/2016 08:43:13


ความคิดเห็นที่ 20


Type 31GPFF เกิดได้เพราะ Type 26  จะเอามาทำภาระกิจGeneral Purposeแพงเกินความจำเป็นเลยจัดหาลดลงมาแค่8ลำไว้ทำภาระกิจASWล้วนๆพอ 
ราชนาวีอังกฤษมองหาเรือที่ระวางไม่เยอะเท่า ไม่ติดอาวุธหนักค่าใช้จ่ายน้อยหน่อยมาเชื่อมระหว่างBatch II River Class กับType 26
 มาทำภาระกิจลาดตระเวนแทนtype 23 ที่ทุกวันนี้พี่แกเอามาลาดตระเวนมารักษาเขตประมง

Type 31นั้นยังรอเลือกแบบกันอยู่ไม่รู้หวยจะออกตัวไหน


โดย แบบแรกที่นำเสนอมาจากอู่BMT   Venator 110  ระวางขับน้ำล่อตั้ง4,000ตัน
http://www.bmtdsl.co.uk/media/6102250/BMT%20Warships%20Venator%20110%20General%20Purpose%20Light%20Frigate%20Technical%20Brief.pdf

กับอีกแบบล่าสุดที่เสนอโดยBAE ใช้ชื่อCutlass ขยายแบบมาจาก Khareef อีกที 

ส่วนอีกแบบBAE Avenger ที่ท่านsuperboy ว่าขยายแบบมาจาก River Class Batch II ตัวล่าสุดที่อังกฤษต่ออีกที  
แปลกใจที่แบบเรือที่BAEเสนอทั้งสองนี่ติดปืนเรือMk 45 Mod 4 5″หมดเลย ดูแล้วใหญ่เกินหน้าภารกิจยังไงไม่รู้ 

 

 

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 02/10/2016 01:43:20


ความคิดเห็นที่ 21


เรือรบอังกฤษติดปืนใหญ่ขนาด 4.5 นิ้วมาโดยตลอด ทีนี้พอปืน 4.5 นิ้วไม่ได้ไปต่อก็เลยต้องใช้ 5 นิ้วตามType 26 เพร่าะปืนขนาดเล็กกว่าของเขาก็คือ 30 มม. ซึ่งมันใช้ยิงเป้าหมายผิวน้ำระยะไกลไม่ได้ ส่วน BMT Venator 110 ที่นำมาโชว์มันมาจากโบร์ชัวร์  แค่จรวดต่อสู้เรือรบก็ไม่ใช่แล้ว เพราะอังกฤษไม่ได้ใช้ NSM แต่ประการใด

 

ส่วนตัวผมไม่คิดว่า MK 45 จะใหญ่โตอะไร ขนาดเรือหลวงนเรศวรของเราซึ่งมีระวางขับน้ำ 3,000 ตัน ยังติดแล้วมีขนาดพอดีตัวเลย ขณะที่เรือ OPV ของอังกฤษก็ติดแค่ 30 มม.

 

ส่วนตัวอีกแล้ว คิดว่าอาจจะเป็นแบบนี้มากกว่า เพราะเรือ Type 26 ก็ไม่มีแท่นยิงจรวดต่อสู้เรือรบแบบวางบนเรือ โดยใช้ VLS กันไป ซ้ายเป็นจรวดต่อสู้อากาศยาน Sea Ceptor 24 นัด ขวาเป็นจรวดต่อสู้เรือรบและชายฝั่งXXX 8 นัด

เหมือนปืน 5 นิ้วมากกว่านะครับ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/10/2016 08:58:05


ความคิดเห็นที่ 22


เสริมอีกนิดว่า BMT ไม่ใช่อู่ต่อเรือเหมือน BAE แบบเรือจึงเป็นแค่ดีไซน์เท่านั้นเพราะทำได้เท่านี้ อย่างไรเสียต้องให้ Thales Naval UK ซึ่งเป็นคู่ค้าดำเนินธุรกิจให้อีกที ซึ่งท้ายที่สุดก็ต้องไปที่อู่ต่อเรือ BAE อยู่ดีนั่นแหละ เพราะ Thales Naval UK  นี่อาศัยการขายโซนาร์เป็นรายได้หลัก อย่างโครงการปรับปรุงเรือ Type 23 นี่ก็กินอิ่มนอนหลับเลย

 

ส่วนตัวอีกแล้วเชื่อว่าแบบเรือจะเปลี่ยนคมต้องการไปมากกว่านี้ (เหมือนที่เคยเป็นมา และจะเป็นไปแบบนี้ตลอด) ฉะนั้น แบบเรือคงจะต้องอิงกับเรือจริงที่เคยสร้างมาแล้ว แบบเรือที่ต่อให้ UAE น่าจะเหมาะสมมากที่สุด แต่ถ้าเลือกแบบเรือ River Batch III เหมือนของผม อะไรต่อมิอะไรหลายอย่างก็จะใกล้เคียงกับเรือ OPV ของพวกเขา มันก็ง่ายขึ้นในเรื่องอะไหล่และการซ่อมบำรุง ถ้าจะเน้นประหยัดนะครับ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/10/2016 09:31:04