หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เกี่ยวกับการปลดประจำการเรือชุดราชฤทธิ์ และ ปราบปรปักษ์

โดยคุณ : A_hatyai เมื่อวันที่ : 23/01/2017 15:05:25

พอดีได้ไปอ่านในบล็อกของคุณเอกพล เรื่อง

กองทัพเรือไทยจะปลดประจำการเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์ และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ในอีกสิบปีข้างหน้า

http://aagth1.blogspot.com/2017/01/blog-post_19.html

ก็ให้สงสัยว่า เราจำเป็นต้องปลดประจำการเรือชุดนี้เลยอย่างนั้นหรือ สะตุ้งสตังค์เดี๋ยวนี้ก็หายาก  จะต่อเรือลำใหม่ก็ใช้ตังค์

หลายอัฐอยู่

เคยอ่านเจอจากสมรภูมิว่าปัจจุบันเรือชุดปราบปรปักษ์ หลังจากถอดเกเบรียลออก ก็ลดสถานะเป็นเรือเร็วโจมตีปืน

และ ตอนนี้คงกำลังจะถึงตาของเรือชุดราชฤทธิ์

จริงอยู่หากเรือทั้ง 2 ชุด ลดสถานะเป็นเรือเร็วโจมตีปืน ก็จะถูกมองว่าเป็นเรือที่กำลังล้าสมัย เพราะเริ่มหมดยุดของเรือเร็วโจมตีแล้ว

แต่ถ้าเรามองถึงขนาดของเรือ และ อาวุธของเรือที่ยังเหลืออยู่หลังปลดอาวุธนำวิถีออกแล้ว ผมว่าเรือทั้ง 2 ชุดนี้

มีคุณสมบัติไม่ต่างจากเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงหัวหิน หรือ ชุดเรือหลวงคลองใหญ่เลย แถมยังมีอำนาจการยิงสูงกว่า

เรือตรวจการณ์ในชุดเรือ ต. ทั้งหลายด้วย  ยิ่งถ้าเพิ่มแท่นปืน 20 ม.ม. เข้าไปแทนที่อาวุธนำวิถีตรงกลางลำเรือซัก 2 กระบอก

ก็น่าจะมีคุณสมบัติไม่ต่างจากเรือตรวจการณ์ปืนที่เรามีอยู่

ทำให้คิดว่าแทนที่จะปลดประจำการเรือเหล่านี้่  เรายังสามารถประจำการเรือทั้ง 2 ชุดนี้เข้าประจำการต่อในฐานะเรือตรวจการณ์ปืน

เทียบเท่ากับเรือในชุด รล.คลองใหญ่ หรือ รล.กันตัง จะเป็นการคุ้มค่ากว่ามั้ยครับ จำนวนเรือตรวจการณ์ที่เพิ่มขึ้นอาจช่วยเพิ่ม

ขีดความสามารถในการดูแลพี่น้องชาวประมงของเราให้ดีขึ้นไปอีกก็ได้

 





ความคิดเห็นที่ 1


เรือเก่ามากซ่อมไม่ไหวก็คงต้องปลดประจำการ ทุกวันนี้เรือถูกใช้ในภารกิจตรวจการณ์ระยะไม่ไกลจากฝั่งมากนัก เรือที่จะมาแทนในอนาคตก็คงประมาณเรือหลวงแหลมสิงห์ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการออกปฎิบัติการต่ำกว่า ระยะทำการไกลกว่า บรรทุกยุทธปัจจัยดีกว่า ทนทะเลดีกว่า

 

และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ เรือหลวงแหลมสิงห์ใช้แบบเรือรุ่นใหม่ มีห้องหับสำหรับพักผ่อนและหน่วยซีล หรือจะเป็นพื้นที่เอนกประสงค์สำหรับจับกุมผู้กระทำความผิดกลางทะเล รวมทั้งติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์อเนกประสงค์เพิ่มเติมได้ เหมาะสมกับภารกิจในยุคปัจจุบันมาก ทั้งยังรับมือกับภัยคุกคามได้ดี เพราะมีทั้ง 76/62 มม.และ 30 มม.ควบคุมด้วยรีโมทและมี E/O ควบคุมการยิงได้ดีในระดับหนึ่ง

 

 

ส่วนเรือทั้ง 2 ชั้นที่จะปลดนั้น ถูกออกแบบให้ทำการรบในยุคสงครามเย็น เน้นการติดอาวุธมากที่สุด วิ่งด้วยความเร็วสุงสุด ยิงเสร็จแล้วไปไหนก็ไป เอามาลาดตระเวนก็พอได้แต่กินน้ำมันมาก ห้องพักมีน้อย ออกทะเลลึกได้ไม่ดี ออกทะเลนาน ๆ ก็ไม่ดี หน่วยซีลไม่รู้จะไปนั่งตรงไหน  บลา บลา บลา 

 

คือให้สาธยายสิ่งที่เรือไม่เหมาะกับภารกิจปัจจุบัน คงต้องว่ากันหลายชั่วโมงเลยครับ เอาเป็นว่าผมขอย้อนอดีตนะครับ

 

กาลครั้งหนึ่ง เราเอาเรือตอร์ปิโดใหญ่ไปทำหน้าที่ตั้งรับกองเรือฝรั่งเศสขนาดใหญ่ ซึ่งขัดกับความเหมาะสมของเรือที่ออกแบบให้โจมตีและฉีกหนีไปไหนก็ไป ผลก็คือ XXXXX แบบสู้กันไม่ได้เลย ประสบการณ์ในอดีตก็มีอยู่แล้วอย่าดันทุรังเลยครับ ปืนมันเก่าแล้ววันหนึ่งมันก็ต้องเสียอย่าไปยึดติด 

 

 

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/01/2017 19:44:25


ความคิดเห็นที่ 2


อืมมม FAC หมดความจำเป็นกับ ทร.แล้วหรือ แล้วยุทธศาสตร์แบบใหม่ของ ทร. ต่อไปจะออกมาแนวไหนน้อ อะไรจะมาแทนดีล่ะ opv ติดอาวุธ หรือ เรือ ตกก.ปืน ,เรือ ตกก.อาวุธนำวิถี ปลด รจอ. หกลำอำนาจการยิงหายไปอักโขเลยนะเนี่ย
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 19/01/2017 20:07:33


ความคิดเห็นที่ 3


Skjold class คือเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีที่ทันสมัยมากของนอร์เวย์ สามารถวิ่งได้เร็วสุดถึง 60 น๊อตในสภาพทะเลเรียบ สามารถติดจรวดสุดยอดถวิลหามาสิแจ๊ะอย่าง NSM ได้ถึง 8 นัด อายุอานานก็แค่ 15-18 ปีเท่านั้นเอง

นอร์เวย์เป็นประเทศที่มีฐานะดีมาก เพราะมีน้ำมันมากจึงมีรายได้สุงตามไปด้วย ปลายปี 2016 รัฐบาลนอร์เวย์ตัดสินใจไม่ปรับปรุงกลางอายุเรือชั้น Skjold class ทุกลำ และมีโครงการปลดประจำการประมาณปี 2025-2030 จนหมดทุกลำ โดยผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทนเรือชั้นนี้ก็คือ F-35 จากกองทัพอากาศนอร์เวย์ครับ (สั่งซื้อไป 52 ลำ)

 

เรือดำน้ำที่จัดหาใหม่ก็ลดลงมาเหลือ 4 ลำจาก 6 ลำ เรือกวาดทุ่นระเบิดจะโดนปลดประจำการทั้งหมด และเปลี่ยนมาใช้ Robot mine vessel ขนาดไม่ใหญ่มากทำหน้าที่แทน เรือช่วยรบจุกจิกทั้งหลายโดนปลดเรียบ ใช้เรือสนับสนุนขนาดใหญ่ต่อจากเรือ DSME 1 ลำทดแทน เรือหน่วยยามฝั่งลดจำนวนลงแต่ขนาดใหญ่กว่าเดิม เรือที่มีระวางขับน้ำ 4,000 ตัน ติดปืน 57 มม. ของเดิมนำไปซ่อมคืนสภาพ

 

ทุกอย่างบนโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาครับ ผมถึงบอกว่าอย่าไปยึดติดกับอดีต เนเธอร์แลนด์เคยมีเรือฟริเกตชั้น m จำนวน 8 ลำ พดหมดสงครามเย็นขายออกไป 6 ลำ แล้วต่อเรือ OPV จำนวน 4 ลำมาทดแทน เพราะพวกเขามองภารกิจตรงหน้าเป็นเรื่องสำคัญกว่าการคงไว้ซึ่งอำนาจการยิง

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/01/2017 20:51:01


ความคิดเห็นที่ 4


ขออีกนิดนะครับ ทำไมกองทัพเรือต้องการเรือตรวจการณ์ขนาด 50 เมตรจำนวนมาก ทั้งที่มีเรือชั้นเรือหลวงคลองใหญ่ตั้งหลายลำอยู่แล้ว เพราะเรือหลวงคลองใหญ่ใช้แบบเรือจากยุค 70 รองรับการทำสงครามเต็มรูปแบบอย่างชัดเจนและแน่นอน เอาไปช่วยชาวประมงนี่ค่อนข้างมีปัญหา เพราะบนเรือมีแต่ ปืน ปืน ปืน แล้วก็ปืน จะทำไอ้โน่นไอ้นั่นไอ้นี่ลำบากมาก 

 

เรือชั้นนี้มีพี่น้องอยู่ที่ไต้หวัน และอินโดนีเซียครับ เป็นเรือตรวจการณ์อาวุธนำวิถีทั้งหมด ส่วนเกาหลีใต้น่าจะเคยมีและดูเหมือนจะปลดประจำการไปแล้ว เพราะแบบเรือมันเก่าโคตะระ เอาไปรบจริงกับเกาหลีเหนือค่อนข้างมีเรื่องจุกจิก เลยปลดปลดประจำการไปเลยหรือบริจาคนี่แหละ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/01/2017 20:58:57


ความคิดเห็นที่ 5


เข้าใจเรื่องความเก่าครับ แต่ผมมองในเรื่องจำนวนเรือของเราที่ลดลงไปถึง 6 ลำ และ ในวันข้างหน้าเมื่อเรือในยุคเดียวกัน(ที่เข้าประจำการในช่วงปี2520กว่าๆ)อย่างเรือชุดรล.ชลบุรี และ ชุดสัตหีบ ซึ่งมีอายุประจำการไล่เลี่ยกันต้องปลดไปอีก จำนวนเรือของเราจะยิ่งลดลงไปอีกหลายลำ ในขณะที่เรือที่เข้ามาแทนที่กลับมีสัดส่วนที่น้อยกว่ากันอย่างน่าใจหาย ว่าแต่เรือชุดปราบปรปักษ์ และ ราชฤทธิ์ มีระวางขับน้ำแค่ 200 กว่าตัน ถ้าเอาใช้ในภารกิจตรวจการณ์ใกล้ฝั่งในระยะเวลาไม่นาน น่าจะมีค่าใช้จ่ายต่่ำกว่่า เรือรุ่นใหม่ๆอย่าง รล.แหลมสิงห์ที่ขนาดใหญ่กว่ามั้ยครับ อันนี้ถามแบบไม่รู้จริงๆ
โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 19/01/2017 21:04:39


ความคิดเห็นที่ 6


ปลดไปแล้วไม่พอใช้งาน ทร.ก็ต้องจัดหาเพิ่มเติมแหละครับ เรือขนาด 50 เมตรเราต่อเองได้สบายมาก อู่ต่อเรือเอกชนก็มีตั้งหลายเจ้า ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลใจเลย

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/01/2017 21:20:22


ความคิดเห็นที่ 7


กระทู้นี้ผมคุยยาวหน่อยแล้วกัน กองทัพเรือประเทศอื่น ๆ ส่วนมากจะมีเรือตรวจการณ์ยาว 50 เมตรเป็นเรือขนาดเล็กสุด ส่วนเล็กกว่านั้นยกให้เป็นหน้าที่ของหน่วยยามฝั่ง หรือกรมท่าเรือ หรืออะไรก็ว่าไปให้เขาจัดการดูแล เพราะถ้าเล็กกว่านี้ก็ไม่เหมาะกับการทำภารกิจของกองทัพเรือ (ยกเว้นเรือหน่วยปฎิบัติการณ์พิเศษนะ) กำหนดไว้ที่ความยาว 50 เมตรโดยประมาณ ก็ใกล้เคียงกับเรือหลวงแหลมสิงห์นั่นแล

 

แต่บังเอิญว่าทร.เราเหมากินรวบในทุกขนาดเรือ มันก็เลยมองภาพแบบที่ผมพูดมาไม่ออก แต่ทร.เราก็ไม่ได้มั่วนะครับ ในอนาคตคงจะต่อเรือตรวจการณ์ 50 เมตรออกมาพอสมควร ส่วนเรือตรวจการณ์ชายฝั่งก็จะเป็นก็เรือชั้นเรือต.221 (ใช่มั้ย) ที่สั่งไปแล้ว 20 กว่าลำ และอาจมีเรือสนับสนุนการปฏิบัติการทางเรือชั้น ต.111 ต่อเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง 

 

ส่วนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเหมือนเรือชั้น ต.991 ต.994 ที่มีระวางขับน้ำประมาณ 200 ตันคงไม่ได้เกิดแล้วกระมัง คือถ้าได้ไปต่อคงเกิดไปแล้วและไม่มีเรือหลวงแหลมสิงห์แน่ ผมเคยมโนไว้นานแล้วเรือโครงการเรือ ต.997 เนี่ย อ่านดูพอขำ ๆ นะครับ

http://thaimilitary.blogspot.com/2015/09/pgm-997-997.html

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/01/2017 21:37:17


ความคิดเห็นที่ 8


จะเอาไปทำภารกิจอื่นก็ต้องดัดแปลงกันพอสมควรครับ เพราะเรือออกแบบมาใช้ความเร็วสูง ปฏิบัติการระยะเวลาไม่นาน

แต่ผมขอยืมคำท่านนึงมาใช้ละกัน "ถ้าตัวเรือไหว ทร. ดัดแปลงอยู่แล้วครับ"

เรือปืนเราไม่น่ามีปัญหามากนัก แทนที่จะเอาของเดิมไปดัดแปลง สู้ต่อเรือM58ออกมาอีกเยอะๆมากกว่า แต่ปัญหาคือกตอ.จะมีเรือติดอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้นไม่พอ ซึ่งมีหลายท่านเสนอว่าน่าจะต่อเรือแนวๆLMVของสิงคโปร์หรืออย่างเรือSigma 7310ครับ โดยไม่ต้องมีระบบปราบเรือดำน้ำ (หน้าที่กตอ.คือการรบผิวน้ำ ส่วนเรือปราบเรือดำน้ำเอามาลงกฟก.1 ก็อาจจะเป็นคอร์เวต-ฟริเกตแท้ๆขนาดสัก2000ตัน)

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 19/01/2017 22:07:24


ความคิดเห็นที่ 9


ทร. ที่ปลดเรือ รจอ.  เกือบทั้งหมดมี เจ็ท ติด อวป นำวิถี.................. ของมันไปทางเดียวกัน แถม อย่างหลังรวดเร็วและเด็ดขาดกว่า  ก็ถึงกาลปวสารของ รจอ.   ยกเว้นบางชาติที่ไม่มีเจ็ทติดอาวุธปล่อย   หรือบางชาติที่มีน่านน้ำกว้างมากอย่างอินโด ก็ต้องใช้สองอย่างขับตาทับคู่กันไป....................... ของไทย กริเป้น ชุดเดียว ดับรัศมี รจอ.ที่มีอยู่ มอดสนิด...............

 

จะโมไปใช้เป็นเรือตรวจการณ์ ก็มีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์  เนื่องจาก เอ็มทียู ติดหอยตัวเบ้อเร่อ  ไม่เหมาะที่จะเดินรอบต่ำ ...............    ระบบอิเลครอนิคส์ เรดาร์  อีซีเอ็ม ก็ใช้ภารกิจสงครามเต็มรูปแบบ ค่าซ่อมค่ารักษาก็คงแพงโข  ครั้นจะไม่เปิดไม่ใช้เพื่อถนอม ก็กลายเป็นเรือบอดเรือใบ้ไปสะฉิบ .....................

 

อันนี้ก็เสียดายนะ  แต่มันก็คงจะถึงคราวต้องพิจารณาแล้วจริงๆ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/01/2017 09:25:00


ความคิดเห็นที่ 10


คิดว่า ภาระกิจ รจอ.แบบ เรือชุด ราชฤทธิ์ กับ ปราบปรปักษ์...

คงถูกทดแทนด้วย เรือชุด ต.994 และ เรือตรวจการณ์ปืน ชุด แหลมสิงห์ ที่มีความสามารถติดอาวุธนำวิถีได้...ซึ่งก็คงไม่แตกต่างจากปัจจุบันมากนัก เพราะ เรือชุด ปราบปรปักษ์  ก็ไม่มีความสามารถติดอาวุธนำวิถีแล้ว และ เรือชุด ราชฤทธิ์ ตัวอาวุธนำวิถีเอง ก็คงน่าจะหมดอายุเกือบหมดแล้ว...และเมื่อคำนวณอายุใช้งานเรือ ในปี 2026 แล้ว อายุเครื่องยนต์เรือ ก็คงร่วม ๆ 40 ปี...ในแง่ ภาระกิจ อาจจะจอดอยู่ในท่า มากกว่า ปฏิบัติภาระกิจจริง...คือ การมีอัตรากำลังสำรองไว้แค่นั้น มากกว่า ในความเห็นผมนะครับ....

ก็คงต้องติดตาม โครงการอัพเกรดของเรือชุด ต.994 และ เรือชุด แหลมสิงห์ ในอนาคต ซึ่งคงมีการติดตั้งอาวุธนำวิถีระยะใกล้ ถึงระยะปานกลาง แน่...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2017 10:45:16


ความคิดเห็นที่ 11


ช่วงหลัง ทร. เริ่มเอา OPV มาติด อวป แถม OPV ที่เราจะต่อก็มีอะไรที่เกินกว่า opv แท้ๆ ไปเยอะ หรือว่า ทร. จะเอาตรงจุดนี้มาทดแทนอำนาจการยิงด้าน อวป พื้นสู่พื้นครับ ตอนนี้เดา ทร. ยากมากในการทดแทนเรือเก่าที่จะต้องปลด ยิ่งเจอโครงการเรือ ส เข้ามาดูดงบอีก หวยจะออกไปหน้าไหนน้อ

โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 20/01/2017 13:50:54


ความคิดเห็นที่ 12


คิดว่า ทร. คงเน้นภาระกิจ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง มากขึ้น...ลองสังเกตุ บ.แบบ DO-228 ที่ เดี๋ยวนี้ ผมเห็นถอนเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำใต้ลำตัวออกหลายลำแล้ว....ไม่แน่ใจว่า ปัจจุบัน เอาออกหมดทุกลำหรือเปล่า?

ก็เลยเกิดข้อสงสัยว่า ปัจจุบัน ทร. ไม่ใช่ อากาศยานลาดตระเวณทางทะเลแล้ว...เพราะนอกจาก DO-228 แล้ว ผมก็ไม่เห็น บ.แบบอื่น ๆ ที่ติดตั้ง นอกจาก F-27 ซึ่งก็คงใช้ในทางยุทธวิธี ไม่น่าจะใช้ในภาระกิจปกติ เพราะความสิ้นเปลืองคงจะมากกว่า DO-228 โดยคงไปเน้นใช้ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง แทน ที่จะมีเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ และอากาศ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น....แบบนั้น หรือเปล่า ?

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2017 15:27:53


ความคิดเห็นที่ 13


อนาคต มีเรือดำน้ำ ป้อมปรามเรือรบใายตรงข้ามที่จะเข้ามาในอ่าวไทยได้มากครับ เรือเร็วโจมตีแบบ อวป. วิ่งไปยิงแล้วหนีหลบตามเกาะน่าจะหมดสมัยไปแล้ว คาดว่า ต่อไปคงจะเห็น ทร.ต่อ เรือตรวจการณ์อเนกประสงค์ และ โอพีวี + ( option อวป. ) มากกว่าครับ ในเมื่อมี เรือดำน้ำ ปฎิบัติการ 1 ลำ ในอ่าวไทย ก็เสมือนมีกองเรือเฝ้า 24 ชม. ( อีก 1 ลำ ที่ท่าเรือ 1 ลำซ่อมบำรุง ) เรือฟริเกต เรือคอร์เวต คงจอดเทียบท่า รอเท่านั้น ถนอมอายุการประจำการและงบประมาณได้เยอะ แถม อาจย้ายกำลังเรือไปเพิ่มที่ใงอันดามันได้อีก อาจมีเรือฟริเกตเพิ่มจาก 1 เป็น 3 เรือตรวจการณ์อเนกประสงค์กับ โอพีวี น่าจะเป็นม้าใช้หลัก ผมเดาว่า การเรอ่มปลดเรือเก่าๆ ออก เพราะโครงการเรือดำน้ำ จะต้องใช้งบประมาณมากตลอดอายุการใช้งานครับ
โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 20/01/2017 17:50:35


ความคิดเห็นที่ 14


เรือดำน้ำมีแต่โซนาร์นะครับ ใช้วิธีการปิงไปหาเป้าหมายเพื่อตรวจจับ การตรวจเป้าหมายบนอากาศทำไม่ได้เลย การตรวจจับเป้าหมายใต้ทะเลทำได้ดีก็จริง แต่การตรวจจับเป้าหมายผิวน้ำค่อนข้างมีปัญหา เพราะคุณจะไม่รู้ว่าเป้าหมายที่ตรวจพบเป็นเรือข้าศึกหรือเรือขนส่งสินค้า ยิงสุ่มสี่สุ่มห้าเข้าไปก็เอวังบันรัยจัก แล้วไอ้ระบบโซนาร์ปรกติที่ใช้โดยทั่วไป มันไม่ได้บอกอะไรมากมายนักถ้าอยู่ไกลเกินไป หรือถ้าคิดจะเปิด Active sonar ซึ่งเป็นโซนาร์ที่มีประสิทธิภาพสุงขึ้น เท่ากับเป็นการเปิดเผยตำแหน่งของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่เรือดำน้ำทุกลำไม่อยากทำแน่นอน

 

ถ้าเรือดำน้ำต้องการความชัดเจนมากกว่านั้น ต้องลอยลำขึ้นมาแล้วใช้เรดาร์เดินเรือตรวจสอบรวมทั้งใช้สายตาตรวจสอบ แน่นอนครับว่าเรดาร์พวกนี้มันมีประสิทธิภาพไม่สุ ถ้าบังเอิญมาจ๊ะเอ๋กับเรือฟริเกตุที่มีเรดาร์ตรวจการณ์ 3 มิติสุดทันสมัย รวมทั้งมีเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเป็นตัวช่วย เรือส.ที่ท่าน Mr. Bean ภาคภูมิใจมากคงได้ดำน้ำตลอดกาล

 

ฉะนั้น ถึงไทยได้เรือดำน้ำมา 3 ลำ ทุกอย่างก็ยังคงเหมือนเดิม เรือฟริเกตทุกลำจะอยู่ในกองเรือเดิมและทำหน้าที่เดิมของตนเองต่อไป ส่วนเรือดำน้ำทำหน้าที่เป็นไอเท็มลับ อยู่ตรงไหนซักแห่งบนโลกนี้เพราะเราดำน้ำได้นาน 21 วัน ทำได้แค่นี้แหละ เชื่อผม !!!

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/01/2017 19:17:23


ความคิดเห็นที่ 15


การพิสูจน์ทราบเป้าหมายเรือผิวน้ำของเรือดำน้ำสมัยใหม่ด้วย Sonar เชิงรับนั้น ทำได้ด้วยการวิเคราะห์รูปแบบเสียงของเครื่องยนต์และใบจักร

ซึ่งถ้า Sonar ที่ติดตั้งมีประสิทธิภาพสูงก็จะจับเสียงได้ในระยะที่ไกล

โดยรูปแบบเสียงที่แพร่ออกมาจากเรือสินค้าและเรือรบนั้นมีความแตกต่างกันอยู่แล้ว โดยการเทียบจากรูปแบบเสียงที่มีบันทึกในฐานข้อมูล หรือจากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ประจำสถานี Sonar

 

ทั้งนี้การระบุประเภทชั้นของเรืออาจจะเป็นต้องใช้ระบบตรวจจับอื่นๆประกอบ เช่น ESM ในการตรวจจับสัญญาณการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

ซึ่งเรือรบจะมีการเปิด Radar ตรวจจับชนิดต่างๆซึ่งมีรูปแบบสัญญาณเฉพาะตามชนิดของระบบที่ติดตั้ง

หรือการระบุเรือเป้าหมายในระยะสายตาด้วยกล้องตาเรือจากใต้น้ำ

 

ข้อมูลทั้งหมดที่ระบบตรวจจับต่างๆของเรือดำน้ำรวบรวมได้จะถูกป้อนเข้าสู่สถานีวิเคราะห์การเคลื่อนที่เป้าหมาย (TMA: Target Motion Analysis)

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบอำนวยการรบในการวิเคราะห์และกำหนดรูปแบบของแต่ละเป้าหมายที่ตรวจจับได้ต่อไป

 

ตัวอย่างหนึ่งคือในกองเรือนานาชาติภารกิจปราบปรามโจรสลัดโซมาเลียในอ่าว Aden นั้น

เรือดำน้ำหลายชาติที่เข้าร่วมปฏิบัติการจะดำลงใต้น้ำและใช้ Sonar ตรวจจับเรือต่างๆที่เดินทางออกมาจากชายฝั่งโซมาเลีย

ซึ่งสามารถวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของเรือพลเรือนที่ตรวจจับได้ว่า เรือลำไหนเป็นเรือแม่ที่ปล่อยเรือเล็กของโจรสลัดที่จะเข้าโจมตีเรือพาณิชย์ได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/01/2017 21:44:57


ความคิดเห็นที่ 16


โอ้..ท่านเจ้าของบล็อกมาตอบเองเลย

อยากจะบอกคุณเอกพลว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบเข้าไปอ่านข่าวสารในบล็อกของคุณเอกพลมาก

ต้องขอขอบคุณคุณเอกพล ไว้ ณ ที่นี้เลยครับ ที่นำข่าวสารมาให้ผมได้ติดตามอ่านกันทุกวัน

ผมเป็นแฟนตัวยงของบล็อกคุณครับ

 

 

 

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 21/01/2017 11:36:38


ความคิดเห็นที่ 17


ผมว่าการเอาเรือดำน้ำมาลาดตระเวนแทนเรือผิวน้ำมันก็มีข้อจำกัดเยอะอยู่นะครับ ความเร็วก็ต่ำ จำนวนก็น้อย ในยามสงบยังไงก็คงต้องพิสูจน์ทราบด้วยสายตาอยู่ดีล่ะมั้ง แถมเรือดีเซลก็ใช้เวลาส่วนมากบนผิวน้ำอยู่แล้วด้วย

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 21/01/2017 13:28:23


ความคิดเห็นที่ 18


กว่าจะปลดประจำการก็อีก 10 ปี สภาพเรือคงไม่ไหว หรือปรับปรุงแล้วคงไม่คุ้มค่า  ผมเห็นด้วยกับการลดจำนวนเรือรบขนาดเล็กที่ต่ำกว่า 500 ตันลงมา แล้วไปเน้นขนาดที่ใหญ่ขึ้น ติดอาวุธมากขึ้น ทนทะเลมากขึ้น  เช่น ปลดไป 6 สร้างทดแทน 3-4 ลำ   ส่วนเรือเล็กให้เป้นหน้าที่หน่วยงานอื่นๆ เช่น ตำรวจน้ำ กรมทรัพฯ กรมประมง ฯลฯ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 23/01/2017 15:05:25