หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


จะเป็นไปได้ไหมที่ไทยจะมีเรือรบขนาดใหญ่ โดยมีวิธีทั้งการสนับสนุนจากต่างประเทศหรือการผ่อนจ่าย

โดยคุณ : Tachibana เมื่อวันที่ : 28/01/2017 21:56:39

เราอยากรู้ว่าจะเป็นไปได้ไหมที่ไทยจะมีเรือรบขนาดใหญ่ โดยมีวิธีทั้งการสนับสนุนจากต่างประเทศหรือการผ่อนจ่าย เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับเขียนมังงะด้วย และเพื่อเป็นความรู้ด้วย ขอบคุณทุกท่านที่มาช่วยเหลือนะครับ

เรือหลวงธนบุรี




ความคิดเห็นที่ 1


ตามความเห็นผม การรบทางทะเลปัจจุบันปืนเรือใหญ่ๆ เกราะหนาๆ ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ........นอกจากนี้เรือใหญ่นี่จรวดนำวิถีเข้าเป้าง่ายจัง....เอางบประมาณเรือใหญ่มาเป็นเรือเล็กลงมาได้สัก 3 ลำโอเคกว่ามั๊ง

โดยคุณ goldenflower เมื่อวันที่ 23/01/2017 16:44:47


ความคิดเห็นที่ 2


ผมขอเสนอให้ท่าน ถอดปืนใหญ่แฝด 3 นั้นออก แล้วติดตั้งท่อยิง โตมาฮอว์ค     และดูจากอากาศยานที่ท่านส่งบินปร๋อ   ขอให้เปลี่ยนแบบเรือ เป็นเรืออู่ มีถังอับเฉา ด้านท้ายมีบานเปิด หย่อนตูดปล่อย เอๆวี หรือ ฮ๊อฟเว่อร์คร้าฟ ออกไปได้    สแตนดาร์ดข้างหน้าถอดออก ใส่แค่ แอสปิเด้ก็พอ     สรุปคือ เปลี่ยนเป็นเรือสะเทิ้นน้ำ-บก น่าจะรุ่งกว่า................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 23/01/2017 23:22:38


ความคิดเห็นที่ 3


อ่อ  อาร์พูน  กับ เรดาร์ ท็อพเพลท เอาออกด้วย    ส่วน 2มิติระยะไกล จะเอาไว้ก็ไม่มีปัญหา    อีเอสเอ็ม ถอด  อีซีเอ็ม เอาไว้ก็ได้.............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 23/01/2017 23:27:38


ความคิดเห็นที่ 4


อ่อ  อีเอสเอ็มไม่ต้องถอด 

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 23/01/2017 23:28:45


ความคิดเห็นที่ 5


แนวคิดเดียวกับเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินของญี่ปุ่น ยุค WW2 สินะครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 24/01/2017 12:31:04


ความคิดเห็นที่ 6


อ่ะครับ ตามเนื้อเรื่องที่ใช้จะเป็นอีกโลกที่ฝ่ายอักษะไม่แพ้สงคราม แต่สูญเสียอาณานิคมและต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามนะครับ ราชอาณาจักรไทยเองก็ได้ดินแดนตามสนธิสัญญากรุงโตเกียวนะครับ มีปัญหากับเพื่อนบ้านหลายครั้ง โลกยุคที่เรือปืนยุคใหม่ราคาแพงขึ้นและออฟชั่นเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่เป็นสัญลักษณ์ของมหาอำนาจซะมากกว่า ไทยในปี 1980 มีปัญหากับเพื่อนบ้านที่มารุกรานดินแดนของตัวเอง จึงต้องการเรือปืนที่ใช้ยิงสนับสนุนยกพลขึ้นบกและดันอยากได้เรือบรรทุกเครื่องบิน เลยให้บริษัทเสนอแบบแปลนที่มีคุณสมบัติดังนี้ ระวางขับน้ำ 20,000 ถึง 32,000 ตัน สามารถทำสองหน้าที่ได้แบบเคียฟและเรือประจัญบานบรรทุกเครื่องบินชั้นอิโซของญี่ปุ่น บรรทุกเครื่องบินได้ 20-30 ลำ ราคาถูกกว่าคู่แข่ง ซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ออกแบบเรือลาดตระเวนหนักบรรทุกเครื่องบินที่มีอำนาจการยิงเพียงพอต่อการสนับสนุนและมีเครื่องบินประจำการได้ 30 ลำ ราคาถูกกว่าคู่แข่งเพราะว่าบริษัทอุเมโนะโมริได้ใช้ตัวเรือที่สร้างเสร็จไปแล้ว 65% มาดัดแปลงให้และให้ ทร.ราชนาวีไทยมีอิสระในการติดตั้งอุปกรณ์และเรดาร์ยกเว้นปืนใหญ่ขนาด 12.1 นิ้วเท่านั้นที่มาจากญี่ปุ่น ด้วยปัญหาการจัดหาและงบประมาณที่จำกัด ทำให้จัดการ AV-8 แฮริเออร์มาก่อน

เรือหลวงธนบุรี (CAV-03)


โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 24/01/2017 14:13:19


ความคิดเห็นที่ 7


ช่วงเวลาเดียวกันไทยก็ได้ลงนามจัดซื้อเรือดำน้ำมือสองจากญี่ปุ่น Uzushio-class submarine 8 ลำ โดยประจำการ 6 ลำ อะไหล่ 2 ลำในวงเงินไม่เกิน 48,000 ล้านบาท
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 24/01/2017 14:21:16


ความคิดเห็นที่ 8


คคย.CRBFD เก่ามาก (ตั้งแต่ช่วงปี1945-1950s) เอามาใช้ยุค80ไม่ไหวหรอกครับ เรดาร์Type 983 ก็เป็นของยุค1950s ส่วนType 293 นั่นตั้งแต่ยุคสงครามโลกด้วยซ้ำ

ที่วางปืนกระบอกโตๆนั่นเอาไปใช้ทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์ได้มากกว่าเยอะ หรือถ้าอาวุธเท่านี้แล้วไม่ติดป้อมนั้น ระวางขับน้ำ ค่าใช้จ่ายของเรือ ลดลงไปได้มาก

แถมจะยิงจรวดStandardยังไงถ้าไม่มีเรดาร์คคย.ครับ จะเป็น SPG-51 SPG-60 SPG-62 เลือกสักตัว

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 24/01/2017 15:29:10


ความคิดเห็นที่ 9


ถ้าจะทำจริงผมว่าเอาแบบนี้ดีกว่า

ปืนน่ะช่างมันเถอะ ยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นบกไม่ต้องใหญ่ขนาดนั้นเพราะระบบควบคุมการยิงพัฒนาไปมาก ปืน5นิ้วก็ใหญ่มากแล้ว ถ้าอยากได้จริงๆเอา8นิ้วMk71ของสหรัฐมาใส่ดีกว่าเยอะ

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 24/01/2017 15:34:55


ความคิดเห็นที่ 10


เข้าใจว่า Fiction อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดเรื่องอาวุธมากก็ได้มังครับ เพราะในโลกที่ฝ่ายอักษะไม่ได้แพ้สงคราม ระบบอาวุธ หลักนิยมการรบ พื้นฐานแนวคิดทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีที่เป็นอยู่ในโลกนั้นอาจจะแตกต่างไปจากโลกจริงของเรามากอย่างเทียบกันไม่ได้เลยก็ได้ครับ

ระบบอาวุธในกองทัพไทย อาจจะอิงญี่ปุ่น แทนที่จะอิงตะวันตก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ (ความเห็นผมนะ) ถ้าให้รายละเอียดมากเกินไป อาจทำให้ เดินเรื่อง Fic ลำบากได้ครับ

สำหรับประเทศไทย ถ้าญี่ปุ่นไม่แพ้ รัฐบาลหลวงพิบูลก็คงไม่ถูกโค่น ประเทศไทยจะเป็นแบบไหน อืม.......

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 24/01/2017 16:21:02


ความคิดเห็นที่ 11


ขอบคุณสำหรับทุกท่านที่มาแสดงความคิดเห็นนะครับ จะพิจารณาอีกที จากที่คาดการณ์ ราชอาณาจักรไทยจะกลายเป็นประเทศเผด็จการอย่างสมบูรณ์แบบเลยนะครับ แต่อุตสาหกรรมไทยจะพึ่งพาตัวเองมากขึ้นและคนไทยเห็นคุณค่ามากกว่าที่เป็นอยู่
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 24/01/2017 18:47:12


ความคิดเห็นที่ 12


แหม่ ด้วยความคิดเห็นสุดท้ายของท่าน  คงอยู่ร่วมกันไม่ได้   จอดเรือที่ไหน จะได้เอาระเบิดเจาะท้องเรือให้นอนใต้น้ำ หมดเรื่องหมดราวไปครับ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 24/01/2017 21:10:26


ความคิดเห็นที่ 13


ส่วนแปลนเรือจะมีการปรับอยู่เรื่อยๆ แหละ แต่ทางนี้มีแหล่งตัดต่อน้อย ใครมีก็เอามาฝากด้วยนะครับ แต่คุณพี่ใจเย็นๆ จากข้อมูลที่มีมันเป็นแบบนั้นจริงๆ
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 24/01/2017 21:49:48


ความคิดเห็นที่ 14


ผมไม่มีคำแนะนำอะไรเลย นอกจากจะมามั่วด้วยคน

 

ปี 1965 กองทัพเรือไทยต่อเรือรบลำแรกขึ้นเองในประเทศ โดยใช้แบบเรือ PF-103 ของอเมริกา ติดปืนใหญ่ 5"/38 Mark 12 แท่นเดียวจำนวน 2 กระบอก โดยการนำปืนเก่ามาปรับปรุงคืนสภาพใหม่อีกครั้ง ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofor 40/60 แท่นคู่จำนวน 1 กระบอก แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง และรางละเบิดลึกอีก 2 รางท้ายเรือ 

ระบบเรดาร์ตรวจการณ์ และเรดาร์ควบคุมการยิงใช้ของอังกฤษทั้งหมด ระบบโซนาร์ของอเมริกา ติดจรวดต่อสู้อากาศยานซีแคทแท่นยิงแฝดสามจำนวน 1 แท่นยิง จำนวนเรือที่ต่อรวมทั้งหมด 8 ลำ ยาวนานจนถึงปี 1973

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 10:23:38


ความคิดเห็นที่ 15


ต่อมาในปี 1973 ทร.ต่อเรือฟริเกตอาวุธนำวิถีลำแรกออกมาสำเร็จ ใช้แบบเรือจากอังกฤษ ติดแท่นยิง Mk 22 GMLS ด้านหน้าเรือสำหรับจรวดต่อสู้อากาศยาน Tartar จำนวน 16 นัด ปืนต่อสู้อากาศยาน Bofor 40/60 แท่นคู่จำนวน 1 กระบอก แท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง และรางละเบิดลึกอีก 2 รางท้ายเรือ มีลานเฮลิคอปเตอร์ด้านท้ายเรือแต่ไม่มีโรงเก็บ ประจำการเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ Westland Wasp จำนวน 1 ลำ

ะบบเรดาร์ตรวจการณ์ของเยอรมัน เรดาร์ควบคุมการยิงใช้ของอเมริกา ระบบโซนาร์ของอเมริกา ไม่กี่ปีต่อต่อมาปรับปรุงด้วยการติดตั้งโซนาร์ลากท้าย VDS ระบบป้องกันระยะประชิด DRADO และเรดาร์ควบคุมการยิงจากอิตาลี สุดท้ายปรับปรุงให้แท่นยิง Mk 22 GMLS รองรับจรวดต่อสู้เรือรบฮาร์พูนได้ ในแมกกาซีน 16 นัดก็แบ่ง ๆ กันไปแล้วกัน จำนวนเรือที่ต่อรวมทั้งสิ้น 6 ลำ

 

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 10:34:04


ความคิดเห็นที่ 16


เม้นบนก็เอาด้วยแหะ อยากฟังอีก
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 25/01/2017 15:05:49


ความคิดเห็นที่ 17


ถ้ารายนั้นลงสนามด้วย ก็รับประกันความสนุกหละครับ (ฮ่า)

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 25/01/2017 15:48:53


ความคิดเห็นที่ 18


ต่อกันอีกซักหน่อย...เดี๋ยวพรุ่งนี้ไม่ว่างแล้ว วาดรูปเป็นงานอดิเรกที่ผมรักมากที่สุด แต่ต้องใช้เวลาเยอะมากซึ่งผมไม่มีให้ ก็เลยไม่มีผลงานใหม่ออกมาเป็นปี ๆ แล้ว


 กองทัพเรือไทยมีแผนจะต่อเรือฟริเกตขนาด 3,000 ตันในปี 1978 แต่ทว่าเกิดวิกฤตการณ์การเงินผัดขี้เมาหมูสับขึ้นมาเสียก่อน ทำให้พวกเขาต้องหยุดทุกอย่างไว้ถึง 2 ปีเต็ม โดยจำเป็นต้องปลดเรือรบจากยุคสงครามโลกจำนวนมาก จึงได้ริเริ่มแผน 2 ในเวลาต่อมา
 โดยในปี 1980 กองทัพเรือได้ต่อเรือฟริเกตเบาอเนกประสงค์ขึ้นมาทดแทน ใช้แบบเรือจากอังกฤษแต่ใช้อาวุธจากจีนทั้งหมด (เพื่อความประหยัด) ต่อออกมาในเฟสแรกสุดจำนวน 4 ลำก่อน โดยเฟสต่อไปจะปรับปรุงให้รองรับอากาศยานปีกหมุนรุ่นใหม่ หรือเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำนั่นแหละครับ


เรือฟริเกตชั้นเรือหลวงบางปะกง ติดปืนใหญ่ขนาด 100 มม.แท่นคู่จำนวน 2 กระบอก ปืนกลต่อสู้อากาศยาน 37 มม.แท่นคู่จำนวน 4 กระบอก จรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200 จำนวน 2 แท่นยิง จรวดต่อสู้เรือรบ C-801 จำนวน 8 นัด ระบบเรดาร์ ระบบโซนาร์ รับบบเป้าลวง ระบบสงครามอิเลคทรอนิค ระบบอำนวยการรบจากจีนทั้งหมด ยกเว้นก็เพียงเครื่องยนต์ดีเซลของเยอรมัน จึงมีราคาไม่แพงเหมาะสมกับเงินในกระเป๋า

 

 

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 21:51:51


ความคิดเห็นที่ 19


ต้นปี 1981 กองทัพเรือพม่าเข้าประจำการเรือดำน้ำ Type-206 จำนวน 6 ลำ จึงเกิดปัญหาเร่งด่วนขึ้นมาทันควัน เพราะไทยมีอาวุธปรายเรือดำน้ำไม่เพียงพอ เรือฟริเกตชั้นบางปะกงเฟส 2 จึงต้องเร่งเดินเครื่อง เนื่องจากการเงินยังคงมีปัญหาอย่างหนักต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 เรือฟริเกตชั้นเรือหลวงประแสร์ จึงต้องติดระบบอาวุธเก่าและใหม่จาก อเมริกา ยุโรป และจีนผสมกันไป และต่อลำแรกแล้วเสร็จเข้าประจำการในปี 1983


โดยใช้ระบบเรดาร์ ระบบอำนวยการรบ ระบบเป้าลวง ระบบสงครามอิเลคทรอนิค  จรวดต่อสู้เรือรบ C-801 จำนวน 4 นัด กระบอก ปืนกลต่อสู้อากาศยาน 37 มม.แท่นคู่จำนวน 2 กระบอก  และจรวดปราบเรือดำน้ำ RBU-1200 จำนวน 2 แท่นยิงจากจีน ระบบโซนาร์และแท่นยิงตอร์ปิโดเบาปราบเรือดำน้ำ Mark 32 แฝดสามจำนวน 2 แท่นยิง จากอเมริกา ใช้ปืนใหญ่ 5"/38 Mark 12 แท่นเดียวสมัยพระเจ้าเหาจำนวน 1 กระบอก ควบคุมการยิงด้วยเรดาร์มือสองจากอังกฤษ 


ด้านท้ายเรือรองรับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำใหม่เอี่ยม  ซึ่งก็คือรุ่น SH-2 Seasprite จากอเมริกา นอกจากนี้ยังติดตั้งโซนาร์ลากท้าย VDS ด้วย กองทัพเรือไทยต่อเรือฟริเกตเบาปราบเรือดำน้ำจำนวน 4 ลำ เพื่อคานอำนาจทางทะเลกับกองทัพเรือพม่าไว้ก่อน อาวุธจึงมีแต่ของเก่าโบราณเต็มเรือไปหมด ทว่าระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำใหม่เอี่ยมแกะกล่อง ถือเป็นเรือลำแรกสุดที่ใช้ระบบอำนวยการรบจากจีนควบคุมอาวุธอเมริกาได้ เรือหลวงประแสร์ยาวมากกว่าเรือหลวงบางปะกงเพียงเล็กน้อย ด้วยการขยายด้านท้ายเรือให้แบะออกมากกว่าเดิม


ในอนาคตประมาณ 10-12 ปีข้างหน้า เมื่อต่อเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำขนาดใหญ่ได้แล้ว อาวุธจากจีนทั้งหมดจะถูกโยกไปลงเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถี อาวุธเก่าทั้งหมดจะถูกโละขายเป็นเศษเหล็ก โซนาร์ลากท้าย VDS จะย้ายไปอยู่เรือฟริเกตลำใหญ่ เรือชั้นเรือหลวงประแสร์จะปรับปรุงใหญ่ทั้งลำ โดยการใช้อาวุธและระบบเรดาร์จากตะวันตก รวมทั้งติดตั้งแท่นยิงจรวดต่อสู้อากาศยานซีสแปร์โรว์ท้ายเรือ หรือไม่ก็ระบบป้องกันตนเองระยะประชิดฟาลังซ์ 


ส่วนเรือชั้นเรือหลวงบางปะกงที่ต่อออกมาก่อน คงไม่คุ้มที่จะปรับปรุงใหญ่เหมือนเรือหลวงประแสร์ จะถอดอาวุธจากจีนทั้งหมดก่อนปี 2000 แล้วโอนเรือทั้ง 4 ลำให้กับหน่วยยามฝั่งต่อไป ซึ่งจะมีการติดตั้งอาวุธปืนจำนวนหนึ่งเพื่อป้องกันตัว แต่ไม่มีจรวดนำวิถีปราบเรือรบ รวมทั้งอาจปรับปรุงบริเวณด้านท้ายเรือ เพื่อรองรับอากาศยานปีกหมุนขนาดเล็ก


เรื่องราวยังมาไม่ถึงปี 1985 เลย ใครอยากต่อหรือเสริมก็ว่ากันมานะครับ ฮ่า ฮ่า 

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 21:53:28


ความคิดเห็นที่ 20


แต่ความจริงถ้าท่าน Tachibana จะทำงานในรูปแบบมังงะ ก็ไม่จำเป็นต้องวาดเรือในรูปแบบ shipbucket ก็ได้ ฉีกแนวไปเลยดีกว่า อาวุธก็ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับของจริง ยกตัวอย่างอะไรทำนองนี้ ดูมีสีสันน่าสนใจมากกว่านะครับ มังงะภาพต้องสวยไว้ก่อน

 

 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 22:24:06


ความคิดเห็นที่ 21


ก่อนหน้าการจัดหาเรือหลวงธนบุรีนั้น ปี 1970-1975ไทยได้้จัดหาเรือแบบเร่งด่วนโดยจำกัดงบประมาณแต่ไม่ได้จำกัดประเภทเรือ ระบุเพียงว่าเรือต้องมีความสามารถในการคงทะเลสูง ระยะปฏบัติไกล ครอบครองและใช้เป็นเรือควบคุมทะเล(SSV)ได้ บริษัทอุเมโนะโมริจึงเสนอเรือ 2 ใน 4 ใน Zao-class Heavy Cruise ที่กำลังจะปลดประจำการก่อนหมดอายุไขเพราะต้องการนำเรือใหม่เข้าประจำการ เรือสองลำนี้ญี่ปุ่นคิดราคาแค่ค่าเทียบเท่าเศษเหล็กโดยมีเพียงติดตั้งและปรับปรุงคืนสภาพให้ดีและทันสมัยเท่านั้น เรือถูกดัดแปลงให้เหมือน DDH ชั้นฮารุนะ ติดตั้งระบบสมัยใหม่เข้าไปเพื่อความทันสมัยมากขึ้น ปี 1982 เรือทั้งสองลำก็ได้รับประจำการในชื่อเรือหลวงเชียงตุง(CAV-01) และเรือหลวงพิษณุโลก (CAV-02) อาวุธหลักๆบนเรือเป็นปืนใหญ่ขนาด 203 ซม.ลำกล้องแฝดสาม Type-8 kai 2 ป้อม 6 กระบอก ปืนใหญ่รองสำหรับต่อต้านเรือระยะใกล้และต่อต้านอากาศยานลำกล้องคู่ขนาด 100 มม. จำนวน 12 กระบอก CIWS มินิอินาริ 40 มม. 2 ระบบ สามารถบรรทุกอากาศยานได้ 20 ลำโดยที่บรรทุกไว้ในโรงเก็บและตัวเรือเอง

เรือหลวงเชียงตุง (สหรัฐไทยเดิม) ปล.ทำแบบติดธงไทยหายเลยเอาอันนี้แทน



โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 25/01/2017 22:26:14


ความคิดเห็นที่ 22


สนุกอยู่คนเดียวนี่แหละ 555 


โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/01/2017 22:37:47


ความคิดเห็นที่ 23


.คุณ superboy ล่ะก็ 55555+
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 26/01/2017 14:20:19


ความคิดเห็นที่ 24


(แก้แปลนใหม่ 5555+) เรือบรรทุกเครื่องบินเบาชั้นธนบุรี เรือหลวงธนบุรี (CVL-921) โครงการจัดหาเริ่มต้นเมื่อปี 2008 เมื่อต้องการเรือที่สามารถป้องกันอธิปไตย์ได้พร้อมมากกว่า ผู้ชนะประมูลคือบริษัทมิตซูบิชิและอุเมโนะโมริ เรือปล่อยลงน้ำ 22 พฤษภาคม 2014 และประจำการวันที่ 18 ธันวาคมของปีเดียวกัน เป็นครั้งแรกที่ราชนาวีไทยจัดหาจากญี่ปุ่นยกเช็ต เรือหลวงธนบุรีมีระวางขับน้ำ 30,000 ตัน บรรทุกเต็มที่ 32,500 ตัน ยาว 265 เมตร กว้าง 50 เมตร กินน้ำลึก 11 เมตร ความเร็ว 30 น็อต บรรทุกอากาศยานได้ 30 ลำ มีการจัดหาและประจำการ F-2C 18 ลำ E-2U (E-2E เวอร์ชั่นญี่ปุ่น) 2 ลำ S-70B 6 ลำ CH-2U (CH-53Eเวอร์ชั่นญี่ปุ่น) 4 ลำ โดยจัดหมวดหมู่อยู่ในกองบินที่ 3 ฝูงบินที่ 3 และฝูงบินที่ 4
โดยคุณ Tachibana เมื่อวันที่ 28/01/2017 21:43:11


ความคิดเห็นที่ 25


เรื่องทางด้วยข้อมูลประวัติศาสตร์สมมุติ หรือคุณลักษณะระบบอาวุธ ก็มีท่านอื่นแนะนำกันไปแล้ว

แต่เห็นว่าเรือรบในเรื่องนี้จะใช้ในการแต่งการ์ตูนหรือนิยาย เลยมีขออนุญาตแนะนำสักเล็กน้อยครับ

 

โดยทั่วไปงานเขียนเชิงวิชาการนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานความถูกต้องที่พิสูจน์ได้ตามหลักวิชาการ

แต่สำหรับเรื่องแต่งอย่างการ์ตูนนี้ส่วนใหญ่อาจจะไม่จำเป็นต้องอ้างอิงในเชิงวิชาการจริงจังมากขนาดนั้นก็ได้

เพียงแต่ผู้แต่งจะต้องคำนึงถึง 'ความสมเหตุสมผล' ในแง่การ์ตูน/นิยายด้วย

ยกตัวอย่างเช่น ตัวละคร หรือพลังความสามารถ หรืออาวุธในเรื่อง

จะต้องมีอุปนิสัย วิธีคิด การพูดการกระทำ ความเป็นมาเป็นไป ระบบการทำงาน ข้อได้เปรียบ จุดอ่อน ฯลฯ

ชัดเจนพอที่จะให้ผู้อ่านเชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆในโลกสมมุติตามท้องเรื่องนั้น

 

อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะแนะนำเกี่ยวกับการเขียนเนื้อเรื่องในการ์ตูนสงคราม หรือนิยายสงครามคือ

สงครามเป็นเรื่องของมนุษย์ อาวุธยุทโธปกรณ์เป็นแค่เครื่องมือที่ใช้ในการทำสงครามเท่านั้น

ปืนใหญ่ เรือรบ หรือเครื่องบิน ถึงจะมีสมรรถนะแค่ไหน ก็ต้องมีตัวละครที่เป็นมนุษย์ควบคุม และขับเคลื่อนเรื่องราว มีประวัติศาสตร์ในโลกที่สมเหตุสมผล

ฉะนั้นถ้าจะเขียนการ์ตูนหรือนิยาย แนะนำว่าควรใช้เวลาและให้ความสำคัญในการออกแบบตัวละครต่างๆที่จะปรากฎในเรื่องให้มาก

เพราะจากตัวอย่างที่เคยได้อ่านนิยายสงครามสมัยใหม่ ในหมวดนิยายสงครามของ Web นิยายชื่อดังที่หนึ่งมาบ้าง

หลายเรื่องข้อมูลอาวุธยุทโธปกรณ์ละเอียดยิบ แต่ตัวละครที่ปรากฎในเรื่องนั้นมีมิติที่ราบเรียบ หรือไม่มีความสมเหตุสมผลแบบคนจริงๆครับ

 

(การ์ตูนหรือนิยายที่ว่านี้ลงมือวาดหรือเขียนไปหรือยังครับ

ถ้าเขียนไปแล้วลงแพร่เผยแพร่ที่ไหน หรือมีแผนจะเสนอที่ใดหรือไม่ครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 28/01/2017 21:56:39