หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


F-35B กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร (2017)

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 09/03/2017 11:23:15

เห็นใน Facebook มีการพูดคุยถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการนำ F-35B มาใช้ปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร
ตรงนี้ก็มีความเห็นในส่วนที่เห็นด้วยและส่วนที่แย้งครับ

๑.F-35B ไม่เหมาะจะบินขึ้นลงบน ร.ล.จักรีนฤเบศร

https://www.youtube.com/watch?v=Ki86x1WKPmE
The F-35B short takeoff/vertical landing variant completed ship suitability testing aboard the USS WASP (LHD-1) off the coast of Virginia in October 2011.

ถ้าดูจาก Clip ในข้างต้นที่มีการทดสอบการปฏิบัติการขึ้นลงของ F-35B บนเรือ LHD-1 USS Waps

ซึ่ง USS Waps นี่เป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1989 ก่อนที่จะมีโครงการ JSF อีก

ก็จะเห็นได้ว่า F-35B สามารถบินขึ้นและลงจอดบนดาดฟ้าบินของเรือได้ไม่ต่างจาก AV-8B Harrier II

https://www.youtube.com/watch?v=3bG5v2d1XrI
We went aboard USS America during USMC F-35B Proof Of Concept Sea Trials

อย่างไรก็ตามเนื่องจากกำลังขับจากไอพ่น Lift Fan ของ F-35B นั้นสูงกว่า Harrier จะเห็นได้ว่าดาดฟ้าในจุดลงจอดและวิ่งขึ้นบนเรือนั้นไหม้ดำ

ซึ่งก็เป็นในเรือ LHA-6 USS America ซึ่งเป็นเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จู่โจมใหม่ที่เพิ่งเข้าประจำการในปี 2014

เข้าใจว่าถ้ามีการนำ F-35B มาปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร ดาดฟ้าคงต้องมีวงรอบการซ่อมบำรุงกันบ่อยขึ้น

https://www.youtube.com/watch?v=P5LdkPaERhI
BAE Systems test pilot Peter Wilson flies F-35B from land based ski jump ramp for the first time.

เช่นเดียวกันการบินขึ้นด้วย Ski-Jump อังกฤษได้มีการทดสอบการนำ F-35B บินขึ้นระยะสั้นด้วย Ski-Jump ไปแล้ว

ซึ่งกองทัพเรืออังกฤษจะนำ F-35B ไปใช้กับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth ซึ่งเป็นเรือ STO/VL Carrier

 

๒.F-35B ไม่สามารถลง Lift และเข้าโรงเก็บในตัวเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศรได้

F-35B มีความยาว 15.4m ปีกกว้าง 10.7m สูง 4.6m น้ำหนักตัวเปล่า 14.7tons บรรทุกเชื้อเพลิงภายในหนัก 6tons น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 27.2tons

ขณะที่ Lift ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร นั้นมีข้อมูลว่ารับน้ำหนักได้สูงสุด 20tons

แสดงว่า Lift ของ ร.ล.จักรีนฤเบศร นั้นสามารถยก F-35B ที่เติมเชื้อเพลิงไม่เต็ม 100% ได้

แต่การติดตั้งอาวุธหรือเชื้อเพลิงเพิ่มเติมคงต้องทำบนดาดฟ้าบิน ไม่ใช่ในโรงเก็บอากาศยานในตัวเรือ

 

ในส่วนของแบบอากาศยานดังเดิมที่ ร.ล.จักรีนฤเบศร รองรับได้นั้น

AV-8S มีความยาว 14.27m ปีกกว้าง 7.7m ความสูง 3.63m

TAV-8S มีความยาว 16.8m ปีกกว้าง 7.7m ความสูง 4.2m

S-70B มีความยาว 15.26m(พับหางยาว 12.48m) เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 16.36m ความสูง 5.18m

 

จะเห็นจากมิติขนาดสูงสุดของอากาศยานที่ปฏิบัติการบน ร.ล.จักรีนฤเบศรได้นั้น

มีความยาวสุด 16.8m ความกว้างสูงสุด 7.7m ความสูงสูงสุด 5.18m

เนื่องจากยังไม่ทราบมิติขนาด Lift ทั้งสองตัวบน ร.ล.จักรีนฤเบศร

เฉพาะโรงเก็บอากาศยานในตัวเรือ ร.ล.จักรีนฤเบศร น่าจะบรรจุ F-35B ได้

แต่เนื่องจาก F-35B มีขนาดใหญ่คงจะเก็บเครื่องในเรือได้จำนวนจำกัดกว่า AV-8S ที่บรรทุกได้สูงสุด ๙เครื่อง
(น่าจะไม่เกิน ๖เครื่องเป็นอย่างมาก ถ้า Lift ใช้งานกับ F-35B ได้)

 

ข้อสรุป

F-35B สามารถปฏิบัติการขึ้นลงบน ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ครับ แต่มีข้อจำกัดในหลายประการ

ซึ่งการปรับปรุง Lift นั้นอาจจะเป็นที่ทำได้ แต่ก็ไม่ง่ายนักเนื่องจากเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ฝังในตัวเรือ

คงต้องประกวดราคาโครงการจัดหาบริษัทต่างประเทศมาประเมินดูก่อนว่าทำได้หรือไม่

 

แต่ปัญหาที่แท้จริงของกองทัพเรือไทยสำหรับ F-35B คือราคาเครื่องครับ

ราคาในสายการผลิตเต็มอัตราของ F-35B (รวมเครื่องยนต์) ทาง Lockheed Martin ต้องการจะไม่ให้เกินที่ $108.1 million ต่อเครื่อง

จัดหาเครื่องเปล่าๆไม่รวมรายการย่อยอื่นๆเพียง ๔เครื่องก็จะต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า $433 million หรือ ๑๕,๑๕๐ล้านบาท

งบประมาณมากขนาดนี้กองทัพเรือคงพิจารณาแล้วว่า ถ้ามีก็ควรจะจัดสรรไปให้โครงการอื่นที่สำคัญกว่าครับ





ความคิดเห็นที่ 1


สำหรับ เอฟ-35 ผมว่าไม่มีทางได้เกิด ไม่ว่าจะเป็นรุ่น เอ สำหรับ ทอ. หรือ รุ่น บี สำหรับ ทร. ของเราหรอกครับ จากนี้ไปอีก 20 ปี เต็มที่เราคงได้แค่ บข. ยุค 4.5 ครับ ไม่ใช่ บ. ยุคที่ 5 ด้วยงบประมาณในการจัดหา เอฟ-35 และโดยเฉพาะงบดูแลซ่อมบำรุงให้มันใช้งานได้ ประเทศเราไม่มีงบประมาณหรอกครับ ลืมไปได้เลย

สำหรับ ทอ. คงต้องหา บ. ยุค 4.5 มาแทน เอฟ-16 ADF/OCU/MLU และ เอฟ-5 ไทกริส ม๊อด ส่วนจะเป็นแบบไหนก็เลือกกันไป ถ้าจำกัดว่าต้องเป็น บ. เครื่องยนต์เดี่ยว ตัวเลือกยิ่งมีน้อยเข้าไปใหญ่ (ภาพ เจ-10 แว้บเข้ามาในหัว !!!) แต่ถ้าเป็น บ. สองเครื่องยนต์ได้ด้วย จะขอเสนอราฟาลหรือซูเปอร์ฮอร์เน็ตเข้าประกวดซะเลย

ส่วน บ. ที่จะจัดมาประจำเรือจักรีฯ แทนฝูงมาธาดอร์ที่ปลดไปนานแล้ว (ถ้า ทร. ยังมีความคิดจะใช้ บ. ปีกตรึงบนเรือจักรีอยู่นะครับ) ทางหนึ่งที่ทำได้คือไปขอซื้อ นย. เมกัน เอวี-8 บี แฮริเออร์ 2 พลัส ตัวที่มีเรดาร์ เอพียี-65 ที่กำลังจะทยอยปลด (ทดแทนด้วย เอฟ-35 บี) เอา 9 ลำเลยครับ ตามอัตราของเรือจักรีฯ และอยากให้เป็นรุ่นป้องกันภัยทางอากาศเป็นหลักด้วย จะได้คุ้มครองกองเรือได้ อย่าลืมซื้อเผื่อเอามาเป็นอะไหล่ด้วยนะครับ งบที่ต้องใช้ซื้อเครื่องบวกกับงบปรับปรุงก่อนเอามาใช้งานน่าจะประหยัดกว่าซื้อ เอฟ-35 บี เป็นไหนๆ ครับ

สเปนหรืออิตาลี่จะปลด เอวี-8 ของเค้าเมื่อไหร่ครับ ทั้งสองประเทศมีแผนจะแทนด้วย เอฟ-35 บี ใช่ไหม ถ้าได้ของอิตาลีก็น่าจะดีมากๆ เพราะเข้าใจว่าเป็นรุ่นที่ทันสมัยที่สุดนะครับ แต่ถ้าอาศัยอิงคอนเน็ตชั่นที่ดี สเปนน่าจะแน่นอนกว่า

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าสุดท้ายคงไม่ได้เกิดหรอกครับ ก็แค่งบเรือแดวูลำที่หนึ่งสอง + เรือหยวนลำที่หนึ่งสองสาม + โอพีวีลำที่สี่ ทร. ก็ไม่เหลือตังไปซื้ออะไรอื่นอีกไม่น้อยกว่า 10-20 ปี แล้วละครับ 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 15/02/2017 12:49:24


ความคิดเห็นที่ 2


แฮริเออร์ 2 ของสเปน

ขออภัยภาพใหญ่ไปนิด ไม่ได้ย่อรูป


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 15/02/2017 13:06:40


ความคิดเห็นที่ 3


เรื่องนี้ก็เหมือนเรือระบบ VLS บนเรือหลวงท่าจีนลำที่ 3 คือคุยกันมานานมากจนหมดมุขที่จะคุยอีกต่อไปแล้ว แต่ไหน ๆ ก็ ไหน ๆ จึงเข้ามาตอบท่านเสือใหญ่เรื่อง AV-8B ของเมกา ตามแผนเดิมเขาจะทยอยปลดตั้งแต่ปี 2014 โน่นแล้ว ซึ่งเราสามารถเลือกชอบตัวเจ๋ง ๆ มาใช้งานงานได้เลย แต่เป็นเพราะโครงการ F-35B มีความล่าช้า จึงเลื่อนการปลดประจำการออกไปแบบไม่มีกำหนด คิดว่าเกิน 10 ปีขึ้นไปด้วยซ้ำ นอกจากเครื่องที่ไม่ไหวแล้วก็คงต้องจำหน่าย

 

ฉะนั้น...คงไม่เหลือเครื่องบินสภาพดีชั่วโมงบินน้อยให้เลือกซื้ออีกต่อไป ปิดตำนานการรอคอย AV-8B บนเรือ 911 โดยสิ้นเชิง ส่วนเครื่องบินของอิตาลีกับสเปนก็เช่นกัน เพราะมีน้อยจึงใช้หนักและไม่ยอมขายจนกว่าจะได้ของใหม่

 

 นอกจากจะอยากได้...แฮริเออร์มือ 3 สภาพสุดโสภา สถาพรจากอินตะระเดีย กำเงินสดไปซื้อเดี๋ยวนี้เลยพี่บังรออยู่ ฮ่า ฮ่า

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/02/2017 13:52:32


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบคุณท่าน superboy มากครับ

ยังไงผมก็ยังคิดว่า มันจะต้องมีตัวสภาพดีๆ เหลือให้คัดอยู่บ้างละครับ เช็คโครงสร้าง ไวร์ริ่งสายไฟ ใช้ไปจนไม่อะไหล่ในส่วนของเอวิโอนิกค์แล้วค่อยปลด คงได้อีกสักสิบกว่าปีนะครับ

แต่ที่จะไม่ได้ น่าจะเป็นเพราะ ทร. ไม่มีเงินเหลือพอจะไปซื้อแฮริเออร์อะไรอีกแล้วละมากกว่าครับ ฮา..

ปล. ช่วงเดือนสองเดือนนี้ สมาชิกหายเรียบ ไม่ค่อยมีใครมาถามตอบกระทู้กันเลย ไม่รู้ใครเอาตะไคร้ไปปักหัวหรือเปล่า หุหุ... 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 15/02/2017 22:50:03


ความคิดเห็นที่ 5


นอกเรื่องนิดนึง...วันนี้ดูหนังเรื่อง Hacksaw Ridge วีรบุรุษสมรภูมิปาฏิหาริย์ มาครับท่านเสือใหญ่ สนุกสมการรอคอย แม้ ตับ ไต ใส้ พุง จะกระเด็นเต็มจอไปบ้างก็ตาม แต่ไม่ควรรู้ประวัติก่อนดูหนังนะครับ จะได้ลุ้นสนุกแบบผมเนี่ยแหละ (ถ้ารู้มาก่อนก็แกล้งทำเป็นลืมเสีย) สร้างจากเรื่องจริงยิ่งชอบใหญ่

 

หนังสงครามโลกครั้งที่สองเนี่ย...ผมพยายามไล่ดูให้ครบทุกเรื่องเท่าที่จะหาได้ ชอบมาก แม้ว่ามันจะไม่เกี่ยวข้องกับไทยซักเรื่องก็ตาม อ้อ...มีละครเรื่องคู่กรรมสิที่เกี่ยว แต่มันเป็นนิยายนี่นา เคยดูสมัยยังเป็นเด็กน้อย พี่เบิร์ดเล่นคู่กับปัญญา กวางกมลชนกเป็นนางเอก

 

ส่วนเวอร์ชั่นล่าสุดที่ณเดชเล่น ดูมาถึงฉากเข้าพระเข้านางก็ปิด ไม่ไหวและ ฮ่า ฮ่า

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 15/02/2017 23:39:29


ความคิดเห็นที่ 6


คู่กรรม Version ตลาดเหงา (เพราะทุกคนกลับบ้านดูละครกันหมด)

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 16/02/2017 13:52:24


ความคิดเห็นที่ 7


ฮ่ะะๆๆๆ ดูคู่กรรมเวอร์ชั่นณเดช ผมจั๊กจี้ตอนพระเอกนางเอกเข้าพระเข้านาง ดูเหมือนงูกำลังรัดกันเลยครับ อิอิ... ม่ายหวาย...

ชอบพระเอกครับ ดูธรรมชาติมาก ไม่เก็กเหมือนลุงเบิร์ด มีฉากใส่ชุดทหารขาสั้นด้วย หน้าตาก็ยุ่นมากๆ

ส่วนนางเอกมีแข็งเป็นหุ่นบ้าง แต่โดยรวมผมชอบน้องเค้านะ น่ารักดี ถ้าจะมีใครถูกตำหนิก็ควรจะเป็นผู้กำกับมากกว่า ปล่อยให้ดาราใหม่เล่นเป็นหุ่นยนต์ได้อย่างไร 

ส่วนมนัสก็หลุดโลกเลย หน้าตาผมเผ้ามันฮิปปี้ยุคปี 70 ชัดๆ ไม่ใช่หนุ่มเสรีไทยยุคสงครามโลกสักนิด

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 16/02/2017 23:23:56


ความคิดเห็นที่ 8


หลังกองทัพเรือสเปนปลดประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน Principe de Asturias ในปี 2013 อากาศยานประจำเรือรวมถึง EAV-8B Matador II ก็ถูกย้ายไปปฏิบัติการบนเรือ LHA ใหม่ Juan Carlos I

แต่สเปนยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการจัดหา F-35B เนื่องจากสเปนไม่ได้เข้าร่วมโครงการ JSF แต่แรก และมีปัญหาติดขัดด้านงบประมาณในช่วงหลายปีมานี้ด้วย(เศรษฐกิจไม่ดี)

ด้านกองทัพเรืออิตาลีนั้นมีแผนนำ F-35B ที่มีประจำการในกองทัพอากาศด้วยเช่นกันมาปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Cavour ที่ประจำการอยู่ และชั้น Trieste ที่มีแผนจะสร้างใหม่

ซึ่ง EAV-8B ของสเปน และ AV-8B Harrier II Plus ของอิตาลี เป็นรุ่นที่ถูกปรับปรุงให้ใช้ AIM-120 ได้ โดยในส่วนของสหรัฐฯและอิตาลีนั้นจะประจำการ Harrier ไปจนถึงราวปี 2025 หรือนานกว่านั้น

 

แต่นอกจากนาวิกโยธินสหรัฐฯที่เริ่มทยอยรับมอบ F-35B เข้าประจำการแล้ว ความล่าช้าในการพัฒนา F35 ทำให้ AV-8B ที่ประจำการอยู่ในแต่ละประเทศมีอายุการใช้งานสูงมาก

ซึ่งนอกจากประเด็นที่ต้องคิดเรื่องการสำรองอะไหล่และอุปกรณ์หลังจากประเทศผู้ใช้งานหลักปลดประจำการและปิดสายการผลิตอะไหล่ Harrier II แล้ว เรื่องสภาพเครื่องที่พร้อมขายว่าเหมาะสมกับการใช้ในระยะยาวก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย

เพราะกองทัพเรือไทยเองก็ให้ความสนใจ AV-8B ที่สหรัฐฯเก็บสำรองไว้ตั้งแต่ช่วงที่ AV-8S ใกล้จะปลดแล้ว แต่ที่ไม่ได้จัดหาก็คงเพราะพิจารณาว่ามีความคุ้มค่าเทียบงบประมาณที่ได้รับไม่มากพอ ต้องเอา งป.ให้โครงการอื่นที่จำเป็นกว่าก่อน

แต่ทั้งนี้นาวิกโยธินสหรัฐฯก็นำ AV-8B มาฝึกในไทยมาหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยมีการฝึกร่วมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศรเลยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/02/2017 14:00:51


ความคิดเห็นที่ 9


แนวทางที่น่าสนใจและเป็นได้สำหนับการจัดหาอากาศยานโจมตีทดแทน AV-8S สำหรับ ร.ล.จักรีนฤเบศร ถ้าจะดูจากแนวทางจากหลายประเทศที่มีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ใช้งาน ก็น่าจะเป็นการจัดหาเฮลิคอปคอปเตอร์โจมตีมาใช้กับเรือครับ

เช่นกองทัพเรืออังกฤษที่มีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ L12 HMS Ocean ปฏิบัติการร่วมกับ ฮ.โจมตี Apache AH.1 ของกองทัพบกอังกฤษ

ฮ.Apache ได้ถูกนำมาใช้แทน Harrier GR9A ที่ปลดประจำการไปในปี 2010 เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Invincible ทั้ง ๓ลำ

ฮ.Apache นั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงในการปฏิบัติการจากเรือ HMS Ocean ในภารกิจที่ลิเบียปี 2011

โดย ฮ.Apache อังกฤษ และรุ่นใหม่ๆของสหรัฐฯสามารถพับใบพัดประธาน เพื่อการจัดเก็บในโรงเก็บอากาศยานในเรือ หรือขนส่งทางอากาศด้วย บ.ลำเลียงหนักได้

Apache Longbow Attack Helicopter unloaded from C-5M Galaxy in Germany
https://www.youtube.com/watch?v=IjM1cOm0yHU

ที่จริงมองว่าถ้ากองทัพเรือจะไม่จัดหา ฮ.โจมตีมาใช้เองอย่าง AH-1Z Viper ที่นาวิกโยธินสหรัฐฯ หรือ ฮ.โจมตีตะวันตกอื่นๆที่น้ำหนักบินขึ้นสูงสุดไม่เกิน 10-11tons ซึ่งใช้งานกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้

ก็น่าจะลองมองแนวคิดการปฏิบัติการร่วมกับกองทัพบกในการนำ ฮ.โจมตีของกองทัพบกมาปฏิบัติการกับเรือแบบเดียวกับอังกฤษก็น่าจะเป็นแนวทางที่น่าสนใจ

(แต่อาจจะยากในเร็วๆนี้ เพราะแต่ละเหล่าทัพมีหลักนิยมในการใช้กำลังอากาศยานต่างกัน)

ส่วน ฮ.รัสเซียอย่าง Ka-52K ที่กองทัพเรือรัสเซียและอียิปต์จะจัดหาใช้ปฏิบัติการกับเรืออู่ยกพลขึ้นบกเฮลิคอปเตอร์ของตนนั้น

มองว่าระบบของรัสเซียอาจจะปฏิบัติร่วมกับระบบของ ร.ล.จักรีนฤเบศร ไม่ได้สะดวกเท่าอากาศยานมาตรฐาน NATO ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 26/02/2017 14:09:13


ความคิดเห็นที่ 10



การจัดหา ฮ.โจมตีทดแทน AV-8S นั้น แน่นอนว่าสมรรถทางการบินของเฮลิคอปเตอร์นั้นจะด้อยกว่าถ้าเทียบกับเครื่องบินไอพ่นปีกตรึง
แต่ด้านขีดความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศนั้น ฮ.โจมตีรุ่นใหม่ในปัจจบันดูจะมีขีดความสามารถทีใกล้เคียงกับ AV-8S ในบางด้าน

ถึงแม้ว่ากองทัพเรือจะกำหนดแบบ บ.ขล.๑ AV-8S เป็นเครื่องบินขับไล่ แต่จริงๆแล้ว AV-8S นั้นเป็นเครื่องบินโจมตีมากกว่า
โดยในระบบอาวุธอากาศสู่อากาศนั้น AV-8S ไม่มี Radar สามารถติด AIM-9 Sidewinder ได้เพียง ๒นัด+กระเปาะปืนใหญ่กล 25mm เท่านั้น

นั่นทำให้ใกล้เคียงกับ AH-1Z ที่ติด AIM-9 Sidewinder ได้สูงสุด ๒นัด เช่นกัน หรือ ฮ.โจมตีรัสเซียอย่าง Ka-52 สามารติด R-73 ทีมีระยะยิง 30km ได้ถึง ๖นัด

ยังไม่รวมอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบอื่น หรืออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นแบบนำวิถีด้วย Laser ที่ใช้ยิงอากาศยานเพดานบินต่ำความเร็วต่ำได้

เมื่อร่วมกับ Radar mode Air-to-Air ของ ฮ.โจมตี ก็ดูจะทำให้มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธอากาศสู่อากาศเพียงพอต่อการป้องกันตนเองและต่อสู้กับ ฮ.หรือ บ.ความเร็วต่ำกว่าเสียงได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 02/03/2017 13:33:13


ความคิดเห็นที่ 11


เสียดาย KA-52K จัง ถ้าเหมาะนี้น่าจัดมาก

โดยคุณ premsk127 เมื่อวันที่ 08/03/2017 14:01:52


ความคิดเห็นที่ 12



Ka-52K ที่รัสเซียได้นำไปปฏิบัติการรบจริงในซีเรียมา และส่งออกให้อียิปต์เพื่อนำไปปฏิบัติการบนเรือ LHD ที่ซื้อต่อจากฝรั่งเศสที่เดิมเป็นของรัสเซียนั้น

นอกจากสมรรถนะของเครื่องแล้ว ยังมีความสามารถในบางด้านที่เหนือกว่าแนวคิด ฮ.โจมตีตะวันตก

อย่างการพัฒนาอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Hermes-A ที่มีระยะยิงไกล 30km และสามารถโจมตีเป้าหมายทางอากาศได้ที่ระยะยิง 15km ซึ่งตามทฤษฏีแล้ว Hermes สามารถยิงเป้าหมายได้ไกลสุดถึง 100km

โดยถ้ามีการปรับปรุงติดระบบ Radar Seeker ของ R-77 ก็จะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางสำหรับ ฮ.โจมตี ได้เลย

เพราะ Ka-52K สามารถติด AESA Radar ที่มีระยะตรวจจับไกลถึง 180km แทน Arbalet radar

ดูเหมือนว่ารัสเซียตั้งใจจะนำ Ka-52K มาปฏิบัติการบนเรือ LHD ของตนแทนในหน้าที่ของเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง Yak-38 กับเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev ที่ปลดไปแล้วทั้งคู่

อาจจะเรียกว่า Ka-52K เป็นเฮลิคอปเตอร์ขับไล่ได้ ถ้ามีขีดความสามารถสู้กับเครื่องขับไล่ได้เช่นนั้นจริง

แต่ทั้งนี้รุ่นส่งออกของ Ka-52K ให้กับอียิปต์นั้นก็ใช้ระบบพื้นฐานแบบที่รัสเซียใช้ทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง Ataka กับ Vikhr ระยะยิง 6-8km กับอาวุธปล่อนำวิถีอากาศสู่อากาศ Igla สำหรับป้องกันตัว

รวมถึงความเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการบินมาตรฐานตะวันตกถ้าจะมาใช้บน ร.ล.จักรีนฤเบศร ด้วยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 09/03/2017 11:23:15