หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ยุทธการพิฆาตฟ้าครองสมุทร: เที่ยวบินปฏิบัติการที่1 -นามรหัสเพกาซัส

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 10/04/2017 22:16:28

Preview Aircraft Carrier Ibuki: 1st Sortie - Codename Pegasus
http://comic-soon.shogakukan.co.jp/blog/news/aircraft-carrier-ibuki-1-2-preview/

(ทดสอบ)

แปลไทยตัวอย่างตอนแรกที่ลงใน Website ของสำนักพิมพ์ Shogakukan

มีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษาเท่านั้น

ถ้ามีการประกาศลิขสิทธิ์ในไทย หรือผิดกฎการใช้งานของพื้นที่เผยแพร่ หรือถูกแจ้งจากผู้ถือสิทธิตามกฎหมาย อย่างใดอย่างหนึ่งจะทำการลบออกทั้งหมดทันที

 





ความคิดเห็นที่ 1


โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/03/2017 18:15:42


ความคิดเห็นที่ 2


ขออภัยที่ลงไม่ครบทั้งตอนตามที่ตั้งใจไว้แต่แรกครับ
เพราะดูแล้วว่าเหมือนขนาดภาพจะใหญ่ไปหน่อย ซึ่งทั้งตอนมี ๔๒หน้า เกรงว่าจะ load หนักเกินไป เดี๋ยว Webboad จะมีปัญหา
อาจจะไม่ค่อยสะดวกลองเข้าไปอ่านต่อที่ลงในใน Blog ส่วนตัวครับ(ขออภัยจริงๆ)
http://aagth1.blogspot.com/2017/03/aircraft-carrier-ibuki-1st-sortie.html

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/03/2017 18:21:34


ความคิดเห็นที่ 3


จากผู้เขียน ซิปัง สินะครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 20/03/2017 09:08:20


ความคิดเห็นที่ 4


ครับเป็นผลงานใหม่ของอาจารย์ ไคจิ คาวางูจิ ผู้เคยได้รางวัลการ์ตูนยอดเยี่ยม Kodansha Manga Award สามครั้ง และ Shogakukan Manga Award

เรื่องที่ตีพิมพ์ในไทยที่เป็นที่รู้จักก็เช่น "ยุทธการใต้สมุทร"(The Silent Service) และ Zipang

(เรื่องแรกเกี่ยวกับเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เรื่องที่สองเกี่ยวกับเรือพิฆาต Aegis เรื่องที่สามคือเรื่องนี้เกี่ยวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน)

อย่างไรก็ตามเรื่อง "Aircraft Carrier Ibuki" นี่ค่อนข้างแน่ใจว่ายังไม่น่าจะมีการประกาศลิขสิทธ์ในไทยเร็วๆนี้

โดย วิบูลย์กิจ ที่พิมพ์ ยุทธการใต้สมุทร กับ Zipang จบครบชุดไปแล้วทั้งสองเรื่อง ก็บอกชัดเจนครับว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะซื้อเรื่องนี้

เพราะเรื่อง Aircraft Carrier Ibuki ถูกลงตีพิมพ์ในนิตยสารการ์ตูนรายปักษ์ Big Comic ของสำนักพิมพ์ Shogakukan ซึ่งตีพิมพ์มาตั้งแต่ฉบับที่ 24 ปี2014

ขณะที่ The Silent Service กับ Zipang ลงในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ Morning ของสำนักพิมพ์ Kodansha

ไม่รู้จะได้มีโอกาสอ่านเรื่องใหม่ของ อ.ในฉบับลิขสิทธิ์ภาษาไทยหรือเปล่า ยิ่งเป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มอยู่ด้วยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/03/2017 17:18:26


ความคิดเห็นที่ 5


อาจารย์ไคจิ ท่านนำเสนอออกมาได้ดีมากครับยุทธการณ์ใต้สมุทรเป็นการตูนย์เรื่องแรกที่ผมสะสมเลย  สมัยนั้นนอกจากการ์ตูนแล้วจะมีเกม fleet command ด้วยตอนเล่นคล้ายๆกับอยู่ในห้องยุทธการเลย  ขอบคุณท่าน AAG_th1 ที่แนะนำครับ

โดยคุณ vulcan เมื่อวันที่ 20/03/2017 18:31:15


ความคิดเห็นที่ 6


นอกจากท่าน AAG_th จะแปลเรื่อง Aircraft Carrier Ibuki แล้ว

สมาชิกใน facebook ในห้อง สมาคมนิยมอาวุธญี่ปุ่น JSDF Military Fanclub

ชื่อคุณ สุภาพบุรุษในขวด ก้แปลเรื่องนี้เช่นกันครับ

(แต่แกไปเรียนต่อเมืองนอก อาจแปลช้าลง)


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 21/03/2017 10:34:16


ความคิดเห็นที่ 7


ไม่คิดว่าจะมีท่านอื่นที่แปลไทยเรื่องนี้ด้วยครับ(ที่จริงไม่คิดว่าเรื่องนี้จะมี RAW Scan ด้วยซ้ำ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ดังเป็นกระแส)

แต่จากที่ได้ไปอ่านงานของอีกท่านในข้างต้น อันนี้ต้องขออภัยที่เรียนตามตรงว่าแปลได้ไม่ดีนักครับ

กล่าวตรงๆคือแปลไม่ครบ แปลผิด กับด้นสดและใช้คำหยาบเกิดบริบทของเรื่องเยอะมาก

อย่างหน้าหนึ่งตัวละครพูดถึง "ธงแดงดาวห้าดวง"(ไบ”ๆ˜Ÿ็ด…ๆ——ๅพŒๆœŸ) ที่หมายถึงธงชาติจีน อยู่ๆไปแปลเป็นไต้หวัน

รวมถึงตัวละครพูดยาวมากแต่แปลสั้นๆ หรือพูดสั้นๆแต่แปลยาว และมีเนื้อหาที่แปลไปคนละทางกับต้นฉบับเลยหลายหน้า

(ที่ทราบว่าตอนที่ทำการแปลตอนแรกนี่เปิดพจนานุกรม online ภาษาญี่ปุ่นในส่วนตัวคันจิแปลทุกคำครับ)

ที่ติมาตรงนี้ก็เพื่อเป็นกำลังใจในการปรับปรุงงานกันต่อไปครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 21/03/2017 15:03:10


ความคิดเห็นที่ 8


ที่จริงงานของ อ.ไคจิ คาวางูจิ ที่เขียนให้ Shogakukan ที่มีลิขสิทธิ์ในไทย ก็มี

Eagle ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ผู้สมัครคนอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น

กับ "ยุทธการจุดตะวัน" ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟื้นฟูญี่ปุ่นหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ทำให้ประเทศแบ่งเป็นสองส่วนและถูกยึดครองโดยต่างชาติ

ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้มีลิขสิทธิ์ในไทยโดย บุรพัฒน์ ซึ่งไม่ได้ประกาศลิขสิทธิ์การ์ตูนญี่ปุ่นใหม่มานานแล้วครับ(ออกแต่การ์ตูนจีน)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/03/2017 20:26:41


ความคิดเห็นที่ 9


ทุกวันนี้ผมต้องอ่านการ์ตูนบนเฟสบุคจำนวนหลายเรื่อง โดยความอนุเคราะห์ของผู้แปลผู้เป็นนักเรียนมัธยมปลาย สาเหตุเป็นเพราะไม่มีใครซื้อลิคสิทธิ๋มาจัดจำหน่าย และจะเป็นแบบนี้ไปอีกนานหรือไม่ก็ตลอดกาล

 

ผมงานของคุณ"สุภาพบุรุษในขวด" จัดอยู่ในระดับดีใช้ได้ ตามสไตล์วัยรุ่นที่มีกลุ่มเป้าหมายก็คือกลุ่มวัยรุ่น ผมอาจไม่ได้ความสบรูณ์ของเนื้อหาครบถ้วน 100 เปอร์เซ็นต์ (อยากได้ต้องไปของแท้) แต่ผมก็พอได้รู้ได้เห็นว่าวัยรุ่นยุคนี้กำลังคิดอะไร ทำอะไร และมีความมุ่งมั่นมากน้อยแค่ไหน 

 

คนแปลมีความตั้งใจและมุ่งมั่นไม่แพ้ผู้ใหญ่เลย ไม่อย่างนั้นคงไม่ได้ถึง 8 ตอนอย่างรวดเร็วหรอก เพียงแต่เขาทำในรูปแบบของเขา ในพื้นที่ส่วนตัวของเขา และในมุมมองของเขา ซึ่งตอนผมอายุเท่าเขาบอกตรง ๆ ว่าไม่ได้ขี้เล็บเขาหรอกครับ จริงแท้แน่นอน

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 22/03/2017 21:17:52


ความคิดเห็นที่ 10


ที่ผ่านมาบางที่การ์ตูนลิขสิทธิ์ในไทยบางเรื่องก็มีข้อบกพร่องในการแปลอยู่บ้าง

อย่างเช่นเรื่อง Zipang ของ อ.ไคจิ ที่เป็นลิขสิทธิ์ของ วิบูลย์กิจ ๔๓เล่มจบก็เช่นกัน

ตัวอย่างเช่นใช้ยศทหารบกปนกับยศทหารเรือบ้าง หรือแปลชื่ออาวุธผิด อย่างปืนใหญ่กล Vulcan ใช้คำว่า 'บัลกัน' ทับศัพย์ตามตัวคาตะคานะตรงๆ

(อักษรคาตาคะนะในภาษาญี่ปุ่นจะใช้แทนสียงคำที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งตัว V ญี่ปุ่นจะออกเสียงเป็น บ

ตัวอย่างที่เสียงคาตะคานะต่างจากศัพท์จริงๆที่รู้จักดีในไทยคือ Space Sheriff Gavan ไทยเราจะเรียกตามเสียงญี่ปุ่นคือ 'ตำรวจอวกาศเกียบัน')

แต่ก็นับว่าการ์ตูนญี่ปุ่นแบบลิขสิทธิ์ยังดีกว่า Scan ที่เผยแพร่ใน Internet กว่าระดับหนึ่ง

เพราะโดยมากการแปลไทยของ Scan จะแปลจากเรื่องที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วอีกที ซึ่งจะมีปัญหา Lost in Translation ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะถ้าตัวแปลอังกฤษมั่วด้วยยิ่งไปกันใหญ่

ที่แปลจากญี่ปุ่นตรงๆแล้วดีก็มีอยู่หลายราย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด อีกทั้งการแปลไทยแล้วด้นสดยัดมุขเข้าไปเองโดยไม่ได้ดูบริบทของตัวเนื้อหา หรือใส่ความเห็นส่วนตัวแทรก ก็แสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพด้วย

ที่เคยได้คุยกับหลาย สนพ.มา มีเด็กรุ่นใหม่ที่มาสมัครเป็นคนแปลการ์ตูนหรือนิยายญี่ปุ่นที่เคยมีผลงานแปล Scan มาแล้วก็เยอะในช่วงหลังๆ

แต่ส่วนใหญ่ที่สมัครไม่ค่อยผ่านกันหรอก เพราะแปลแบบเป็นการเป็นงานจริงๆกันไม่ค่อยได้

อย่างน้อยต้องมีทักษะภาษาญี่ปุ่นระดับ N3 ที่เรียกกันไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ชั่วโมง รู้จักตัวคันจิมากกว่า ๗๐๐ตัวอักษร รู้จักศัพท์ต่างๆกว่า ๓,๕๐๐คำ

(เรื่องที่แปลนี้เป็นเรื่องแรกซึ่งเกินความสามารถตนเองมากเพราะเป็นการ์ตูน Seinen มีแต่ตัวคันจิยากๆล้วนๆ เพราะขนาดโดราเอมอนซึ่งใช้ภาษาระดับเด็กประถมยังอ่านไม่คล่องเลย)

จะว่ากันตรงๆคือการแปลการ์ตูน Scan เป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้สำนักพิมพ์การตูนลิขสิทธิ์ในไทยอยู่กันไม่ได้

ด้วยเหตุผลง่ายๆคือก็อ่าน Free ใน Internet ไปแล้ว จะไปเสียงเงินซื้อที่เป็นเล่มจริงๆที่ออกช้ากว่าทำไม

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/03/2017 13:38:29


ความคิดเห็นที่ 11


http://www.animenewsnetwork.com/news/2017-04-07/manga-with-biggest-1st-printings-from-kodansha-shogakukan-shueisha-2016-2017/.114453

ผลสำรวจยอดขายของสำนักพิมพ์ Shogakukan ช่วงเดือนเมษายน 2016-มีนาคม 2017 นั้น

เรื่อง Kuubo Ibuki Vol.6 ของอาจารย์ ไคจิ คาวางูจิ สามารถทำยอดขายได้ในอันดับที่๘ คือ ๒๓๐,๐๐๐เล่ม

ถือว่าเป็นยอดขายที่สูงไม่เลวเลยสำหรับการ์ตูน Seinen ที่มีเนื้อหาเฉพาะกลุ่มครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/04/2017 22:16:28