หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เปลี่ยนจาก เอส-๒๖ที เป็น เอส-๒๐ แทนดีไหม ?

โดยคุณ : เสือใหญ่ เมื่อวันที่ : 21/04/2017 11:51:52

ขึ้นชื่อว่าเรือดำน้ำ แบบไหนก็น่ากลัวทั้งนั้นครับ ทั้งเชิงรุกโดยลอบเข้าไปสอดแนม ทำลายเรือและเป้าหมายบนฝั่งด้วยตอร์ปิโดและจรวดนำวิถี วางทุ่นระเบิดเพื่อปิดกั้นการเดินเรือ และที่สำคัญคือ ตรวจค้นและทำลายเรือดำน้ำด้วยกันเอง ซึ่งอันนี้ว่ากันตามจริง เรือผิวน้ำล่าทำลายและ ฮ.ปราบ ด. มีปัญญาค้นหาและทำลาย ด. ได้สักเท่าไหร่ ทร. น่าจะรู้ดีที่สุด

ถ้า เอส-๒๖ที มันใหญ่ ทำให้ใช้ในอ่าวไทยได้ไม่ดีกว่าเรือคู่เปรียบที่เล็กกว่า อย่าง อู-๒๐๙/๒๑๐  อู-๒๑๔ เรือสกอร์ปิเน่ หรือกระทั่งเรือเก่ามือสองอย่าง อู-๒๐๖เอ ฯลฯ และโจทย์มันยิ่งยากยิ่งขึ้นตรงที่มันต้องเป็นเรือจีนเท่านั้น ทร. ลองเปลี่ยนเป็น เอส-๒๐ แทนดีไหมครับ ไม่ต้องมี เอไอพี ขนาดเรือเล็กลง การใช้งานในน้ำตื้นน่าจะทำได้ดีกว่าเรือ เอส-๒๖ที ราคาต่อลำก็น่าจะต้องลดลงด้วย และซื้อแค่ ๒ ลำพอ มันน่าจะโอเคกว่าสำหรับ ทร. ไหมครับ ไม่ทราบพี่ใหญ่จะว่าไง รวมถึงทางรัฐบาลจีนด้วย ต้องคุยต้องดีลใหม่หมด

อีกอย่าง ทร. เราจะได้มีเพื่อนที่ใช้เรือตระกูลเดียวกันด้วย เอส-๒๐ แปดลำของปากีสถาน จะทำให้ ทร. พูดได้เต็มปากว่า เราเลือกเรือที่มีผู้ใช้งาน ไม่ได้โดดเดียวเหมือนระบบอาวุธหลายอย่างของเหล่าทัพไทย ถึงแม้ว่าทั้งไทยและปากีสถานต่างก็มีความต้องการเรือ ส. สเปคไม่เหมือนกันก็ตาม จีนต้องม๊อดอุปกรณ์บางอย่างรวมถึงปรับแบบเรือหยวนมาตรฐานตามความต้องการ ของไทยและปากีสถาน (ฟลีตเรือ เอส-๒๐ รวมกันจะมีรวม ๑๐ ลำ) 

แค่คิดเล่นๆ นะครับ เรื่องจริงแน่ๆ คือ เอส-๒๖ที ใหม่หนึ่งลำมาแน่ ส่วนลำต่อๆ ไป คงยากที่จะคาดเดาครับ เพราะถ้า ทร. ไม่ลงนามในสัญญาทีเดียวสามลำรวด ก็ต้องดูกันต่อไปว่าท่านผู้มีอำนาจในปีงบประมาณ ๖๑-๖๒ จะลงนามสั่งสร้างปีละลำจนกว่าจะครบอย่างที่เป็นข่าวหรือเปล่าเอ่ย..





ความคิดเห็นที่ 1


ความจริงอีกอย่างคือ เรือ เอส-๒๖ที คือเรือชั้นหยวนม๊อด มีต้นแบบจากเรือ ด. จีน ที่มีประจำการอยู่แล้ว เป็นเรือดีเซล-ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ลำตัวสองชั้น ระวางขับน้ำ ๒,๖๐๐ ตัน (๓,๒๐๐ ตัน ขณะดำ) แต่เรือ เอส-๒๐ ที่ปากีสถานจะซื้อเนี่ย เข้าใจเลยว่าจะเป็นการม๊อดเรือหยวนให้เล็กลง และไม่มีระบบ AIP ที่เป็นระบบติดตั้งมาตรฐานของเรือหยวนของจีน ดูได้จากโมเดลที่จีนใช้โปรโมทเรือ เอส-๒๐ ก็ใช้โมเดลเรือชั้นหยวนในการประชาสัมพันธ์เช่นเดียวกับเรือ เอส-๒๖ที แปลว่าจะเป็นเรือชั้นใหม่่ ยังไม่มีใครมีใช้ กระทั่งจีนก็ไม่มี ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการดัดแปลงตามที่ปากีสถานต้องการ โมเดลจริงของ เอส-๒๐ จึงยังไม่มีให้เห็น

มีหลายข่าวว่าปากีสถานเองก็ยังไม่ได้ตกลงปลงใจกับเรือ เอส-๒๐ ยังมีเรือ อู-214 ที่ปากีสถานก็ยังให้ความสนใจอยู่ แต่เยอรมันจะขายให้ปากีสถานเหรอ..

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 17/04/2017 19:32:31


ความคิดเห็นที่ 2


อันที่จริงจะเทียบแบบนี้ก็ไม่น่าจะถูกนักเพราะเรือผิวน้ำไม่เหมือนกับเรือดำน้ำ

ถ้าย้อนกลับไปช่วงการจัดหาเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา กับเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร

เรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา นั้น เรือสองลำแรกคือ ร.ล.เจ้าพระยา กับ ร.ล.บางปะกง เป็นรุ่น Type 053Tมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น Type 053H2 (Jianghu-III) ที่จีนมีประจำการช่วงนั้นโดยตรง

ส่วนเรือสองลำหลังคือ ร.ล.กระบุรี กับ ร.ล.สายบุรี นั้นเป็นรุ่น Type 053HT ที่ดัดแปลงท้ายเรือให้เป็นลาดจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นรุ่นเฉพาะของไทยที่จีนไม่มีใช้

จริงๆแล้วเคยทราบมาว่าจีนจะขายเรือชั้น Jianghu ให้ไทย อีก ๔ลำรวม ๘ลำด้วยซ้ำ(น่าจะเป็นสาเหตุที่หมายเลขชุดเรือนี้เริ่มที่ 455 แต่ 451-454 หายไป) แต่เราไม่เอา ๔ลำแรกมาประจำการจริง

เรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร นั้นเป็นแบบเรือ Type 025T ซึ่งเรือฟริเกตสำหรับส่งออกโดยตรงของจีนสำหรับไทยเฉพาะ ที่มีการการออกแบบตัวเรือและนำระบบตะวันตกหลายๆอย่างมาติดตั้ง

ถ้าเทียบกันระหว่างเรือฟริเกต ชุด ร.ล.เจ้าพระยา กับชุด ร.ล.นเรศวร หลายท่านก็น่าจะพอทราบว่าว่าเรือชุดใดมีปัญหาในการใช้งานมากกว่ากัน

แต่ก็ไม่ทราบว่าระหว่าง S26T ซึ่งมีพื้นฐานจาก Type 039B ที่จีนมีใช้งานและกำลังสร้างเพิ่มอยู่แล้ว

กับ S20 ที่เป็นแบบเรือที่ยังไม่มีการสร้างจริง ถึงมิติขนาดและระวางขับน้ำจะน้อยกว่า S26T แต่สมรรถนะบางด้านก็ด้อยกว่า

เช่นความเร็วใต้น้ำสูงสุด(S26T: 18knots / S20: 16knots) ระยะเวลาทำการ(S26T: ๖๕วัน / S20: ๖๐วัน)

ตรงนี้ก็ไม่ทราบเช่นกันครับว่าจะเทียบกันในกรณีนี้ได้หรือไม่

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 17/04/2017 23:21:49


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าเปลี่ยนได้จริง ผมจะเอา A26  ครับ พี่เสือใหญ่  ฮ่าๆๆ  หนูจะเอาลำนั้นซื้อให้หน่อยครับ

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 18/04/2017 00:33:16


ความคิดเห็นที่ 4


ผมขอลดมาอีกหน่อยเป็น A19T เพิ่ม option ยิง sub harpoon กับระบบวางทุ่นระเบิด ครับ
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 18/04/2017 01:48:56


ความคิดเห็นที่ 5


S20 ก็น่าสนครับ ซึ่งมีขนาดกำลังดี แถมเคยอ่านว่า ออกแบบเผื่อสำหรับเพิ่ม AIP ได้ภายหลังด้วยย�

แต่ S26T น่าจะเดินมาไกลแล้วครับ ไม่เปลี่ยนจากจีนแน่ๆ ย�เดี๋ยวหารไม่ลง 36000 ล้านอีก หรือว่าเค้าจะยอมขาย S20 แบบ 1 แถม 1 ซื้อ 2 ลำ แถมอีก 2 ลำ อาวุธครบ 555

โดยคุณ ninekao เมื่อวันที่ 18/04/2017 09:44:00


ความคิดเห็นที่ 6


ติดตามข่าวด้านนี้มานาน ก้เพิ่งเคยเห็นเนี่ยแหล่ะครับ

ท้ายสุดแล้วต้องปรับยุทธศาสตร์ของกองทัพให้เข้ากับ Hardware เรือ ส. จีน

ไม่รู้จะดีใจ หรือเสียใจดี

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 18/04/2017 10:42:19


ความคิดเห็นที่ 7


เอส-๒๐ ก็คือเรือจีนที่ยังไม่มีการสร้างขึ้นมาใช้งานแม้แต่ลำเดียว เป็นแบบและขนาดที่เสนอปากีสถาน ข้อมูลที่ผมทราบก็แค่ระวางขับน้ำมันเล็กกว่าเรือ เอส-๒๖ที ที่จีนเสนอไทย กับไม่มีระบบ เอไอพี ติดตั้งอยู่ ก็แค่นั้นครับ

โมเดลเรือ เอส-๒๐ ที่เห็นในรูปงานแสดงอาวุธต่างๆ เหมือนหรือละม้ายคล้ายกับแบบเรือ เอส-๒๖ที หรือ เรือชั้นหยวนของจีน อันนี้เข้าใจได้ครับ อย่างที่บอกว่า เรือ เอส-๒๐ น่าจะเป็นการลดขนาดเรือหยวนลงมา ระวางขับน้ำน้อยกว่าเรือ เอส-๒๖ที และมีการออกแบบดัดแปลงเรือบางส่วนตามที่ปากีสถานต้องการ ที่จีนน่าจะยอมทำให้ก็เพราะเรือชั้นนี้ยังไม่เคยมีการสร้างขึ้นมาก่อน เป็นเรือใหม่ไม่ใช้เรือม๊อด (โมดิฟาย-ดัดแปลง) และปากีสถานต้องการถึง ๘ ลำ ซึ่งถ้าต้องการจะเปรียบเทียบจริงๆ จังๆ กับเรือ เอส-๒๖ที คงต้องรอให้มีข้อมูลอย่างเป็นทางการจากจีนหรือปากีสถานออกมาก่อนละครับ

แต่แค่ข้อมูลคร่าวๆที่มีอยู่ คือเป็นเรือ ด. จีน เหมือนกัน อันหนึ่งปรับปรุงดัดแปลงอุปกรณ์บางอย่างมาจากเรือหยวนรวมถึงแก้ไขแบบห้องภายในเรือบางส่วน อีกอันออกแบบดัดแปลงใหม่จากเรือหยวน ระวางขับน้ำน้อยลง อันหนึ่งมีระบบ เอไอพี อีกอันไม่มี คร่าวๆ แค่นี้น่าจะพอเปรียบเทียบกันได้บ้างแล้วนะครับท่าน 

สำหรับผม ถ้าโจทย์ว่าต้องเป็นเฉพาะเรือจีน ผมให้คะแนน เอส-๒๐ มากกว่า ด้วยเชื่อว่ามันจะกินน้ำลึกน้อยกว่า ใช้งานในอ่าวไทยได้ดีกว่า ลำเล็กกว่า ซ่อนพรางได้ดีกว่า ประหยัดกว่าทั้งตอนซื้อและตอนใช้งาน เมื่อเทียบกับ เอส-๒๖ที รวมถึงความไม่จำเป็นของระบบ เอไอพี ครับ

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 18/04/2017 11:36:23


ความคิดเห็นที่ 8


เอ-๑๙, เอ-๒๖, สกอร์ปิเน่, สารพัดเรือ อู ฯลฯ ไม่อยู่ในข่ายครับ คือจารย์ใหญ่แกให้โจทย์มาว่าต้องเป็น ด. จีนเท่านั้นครับท่าน แล้วก็ต้องไปขอให้ถูกคนด้วยนะครับ มาขอกับผมอย่างมากก็ได้แต่เรือโมเดลละครับ ฮ่ะๆๆๆ...

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 18/04/2017 11:53:00


ความคิดเห็นที่ 9


เท่าที่อ่านจากอีกเว็บนึง ผมดูๆ ไปแล้ว s26T ก็เหมาะเล้วครับ

โดยคุณ moraruang เมื่อวันที่ 18/04/2017 13:47:14


ความคิดเห็นที่ 10


ถ้าเลือกเจ้าอื่นไม่ได้ แล้วถ้าเรือ S20 มีความสูงต่ำกว่า S26 สมมุติว่า S20 สูง 14.5 เมตร S26 สูง 16 เมตร ผมก็ขอเลือก S20 3 ลำ ติดตั้ง AIP และ option เหมือนที่จีนให้กับไทยล่าสุด แถมจะเพิ่มเงินขอซื้อเทคโนโลยีผลิตแบตเตอรี่ ตอปิโดร์ จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ ทุ่นระเบิด ที่ใช้กับเรือ S20 มาด้วยเลย รวมอู่ซ่อมบำรุง overhual เหมาๆสัก 4.5 หมื่นล้าน ( 10ปี ก็ปีล่ะ 4500 ล้าน น่าจะพอไหว)
โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 18/04/2017 15:22:33


ความคิดเห็นที่ 11


s26t ชอบตรงที่ ได้ จรวด CM-708UNB วางกล้ามได้สบายๆ ถึงแม้มันอาจจะใช้งานไม่ได้เหมือนในสเป็ค แต่ผมว่า DTI คงได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี ตัวนี้แน่นอน สอดคล้องกับ แผนพัฒนาจรวด
DTI_Develop

โดยคุณ absulation เมื่อวันที่ 18/04/2017 15:27:13


ความคิดเห็นที่ 12


เออ.... ข้างบนเขาไม่ทราบหรือว่าต้องซื้อเพิ่มเอาเอง ไม่ได้ให้มาฟรี และลูกหนึ่งก็ร่วมเกือบร้อยล้านแล้วมั้ง และ....... เขาจะสมัครแอคเคาท์ทำไมหลายอันนะ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 18/04/2017 16:41:49


ความคิดเห็นที่ 13


ผมขอคุยเรื่องจรวด 300 กม.นิดนึงนะครับ เพราะตอนนี้คนไทยจำนวนมาก (รวมทั้ง officer จำนวนมหาศาล) กำลังคุยโม้ไปทั่วโลก และเอามาเป็นประเด็นสำคัญว่ามันคืดสุดยอดเจ้าโลก ที่ทำให้ทุกคนไม่กล้าบุกไทยแน่นอนล้านเปอร์เซนต์

 

ปี 1998 มาเลเซียเข้าประจำการจรวดต่อสู้เรือรบ Ootmat MK II จากอิตาลี จรวดมีระยะยิง 180 กม.พร้อมระบบ datalink ของจริงที่สามารถยิงได้จริงตามการันตี ประเทศที่อยู่ติดกันต้องกลัวคลี่หดตดหายสิครับ เพราะทั้งไทยและสิงคดปร์มีแค่จรวดฮาร์พูนระยะยิง 120 กิโลเมตรเท่านั้น (ห่างกันอยู่ 8 เสาไฟ) แล้วมาดูที่ 2 ประเทศนี้ตั้งรับกับจรวดระยะยิง 180 กม.จำนวน 48 ลูก กันดูนะครับ

 

สิงคโปร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย เรือฟริเกตที่ต่อใหม่ทั้ง 6 ลำก็ยังใช้ฮาร์พูนเหมือนเดิม ทั้งยังไม่ติดตั้งระบบ CIWS ต่างหาก เอาเงินไปลงระบบ datalink รวมทั้งระบบเป้าลวงทันสมัยดีกว่า ชาตินี้ติดจรวดต่อสู้อากาศยานบนเรือรบและเรือช่วยทุกลำครับ แต่ก็ติดไปตามขนาดเรือจึงมีทั้ง Aster-15 VL-Mica Barak-1 และ Misitral การจัดหาเรือดำน้ำกฌทำไปตามแผน นั่นคือเอาเรือมือสองจากสวีเดนอีกแล้วครับท่าน 

 

หันมาดูประเทศไทยบ้าง เราตั้งรับด้วยการจัดหาเรือตรวจการณ์ชายฝั่งจากประเทศจีน 2 ลำ ริเริ่มโครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ต.991 รวมทั้งจัดการปัญหาหลังบ้านที่หมักหมมมานานให้เข้าที่เข้าทาง ทั้งเรื่ออาวุธติดเรือ ระบบสื่อสาร ระบบอำนวยการรบ ระบบซ่อมบำรุง กระทั่งปัจจุบันกองทัพเรือจึงมีระบบมาตราฐานเหมือนกันชาวโลกเขาเสียที กระทั่ง(อีกครั้ง) ต้องมารื้อใหม่หมดเพราะเรือดำน้ำจีนนี่แหละ เพราะเราอยากได้จรวด 300 กม.จำนวนไม่กี่นัดเสียเหลือเกิน

 

เห็นไหมครับว่าไม่มีใครให้ความสำคัญกับจรวด 180 กม.จำนวน 48 นัดของมาเลเลย และจะไม่มีใครให้ความสำคัญกับจรวด 300 กม.จำนวนไม่กี่นัดของเราเช่นกัน คนทั่วโลกกำลังหัวเราะจนฟันร่วงหมดปากแล้ว ที่เราเสียเงิน 36,000 ล้านเพราะมีความคิดแค่เพียงเท่านี้ ตลกมาก....ที่ไทยยอมรับข้อเสนอแย่ ๆ แต่ที่ตลกยิ่งกว่าคือคนไทยจำนวนมากกำลังเอาเรื่องแย่ ๆ ไปคุยโม้ทั่วโลก

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/04/2017 07:24:14


ความคิดเห็นที่ 14


ได้ความรู้เพิ่มขอบคุณครับ

โดยคุณ absulation เมื่อวันที่ 19/04/2017 08:30:59


ความคิดเห็นที่ 15


ความเห็นท่าน superboy โดนใจจริง ๆ...

หลายครั้งที่จะพูดกันว่า...มันมีดีอะไร ?...แต่ไม่คอ่ยจะพูดกันว่า...เราใช้อะไรได้ดี...

สำหรับ S-20 นั้น...ท่านเสือใหญ่ อย่าลืมว่า...เรือดำน้ำจีน เป็นเรือดำน้ำแบบ ลำตัว 2 ชั้น น่ะครับ...

นั่นหมายถึง ถึงจะระวาง 2,000 ตันก็จริง แต่พื้นที่ภายใน ผมว่ามันคงจะประมาณ เรือดำน้ำลำตัวเดียว ประมาณ 1,000 ตัน...หรือ น้อยกว่า...

ถ้าให้เทียบความสามารถ ผมว่าคงประมาณ เรือชุด ชาแลนเจอร์ ของ ทร.สิงคโปร์...

แล้วเราจะต้อง ทน กล้ำกลืน เพื่ออะไร ?

เมื่อสัก 100 ปี ผ่านมาแล้ว

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์ ให้ความเห็นไว้ในรายงานเรื่อง เรือ ส.

"..ในที่สุดนี้ จะขอกล่าวอีกทีหนึ่งว่า เราควรจะวินิจฉัยเสียให้เด็จขาด ว่าควรจะมีเรือ ส หรือไม่ เพราะว่าถ้าจะมีแล้วเข้าใจว่า กองเรือ ส จะเปนส่วนสำคัญของกองทัพเรือไทยอย่างหนึ่ง เพราะฉนั้น ถ้าเราจะมีแล้วควรจะมีให้ใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่มีสำหรับประดับพระเกียรติยศ หรือเมื่อเห็นว่าควรจะมีไว้บ้าง อย่ามีเสียเลยดีกว่าไม่เสียเงิน "

ผมว่าเป็น หลักคิด ที่ไม่เคย เก่า...เนื่องเพราะ ข้อจำกัด ของสภาพอ่าวไทย เองที่สำคัญ...รวมถึง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำรงให้ เรือดำน้ำ พร้อมรบ ตามหลักยุทธวิธี ที่มีจำนวนที่สูง ไม่ว่าจะยุคไหน สมัยไหน ก็ตาม...จึง ควรจะคิดให้ดี คิดให้รอบคอม...ไม่ใช่ สักแต่ว่า มี ไปก่อน...ค่อย แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันทีหลัง...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2017 10:26:09


ความคิดเห็นที่ 16


ท่านจูลดาส ผมคิดตามโจทย์ที่ว่า เฉพาะเรือดีเซล-ไฟฟ้า จีนครับ เอส-20 ก็น่าจะเสียหายน้อยกว่า เอส-26ที ครับ ถ้าคิดแบบบัญญัติไตรยางค์ ก็ประมาณระวางขับน้ำปรกติ 2,000 ตัน ถ้าดำก็จะเพิ่มเป็น 2,450 ตัน ไม่รู้ถูกผิดหรือเปล่านะครับ (เทียบกับ 2,600/3,200 ของ เอส-26ที นะครับ)

คือถ้าคิดนอกกรอบได้ คือเลือกเรืออะไรก็ได้ตามงบประมาณที่มี ผมเลือก อู-209/1400 เกาหลีต่อแล้วครับ

แล้วก็ กำลังเห็นภาพว่า โครงการปรับปรุง อรม. โดยการสร้างโรงและลานต่อและซ่อมบำรุงเรือ รวมถึงชิปลิฟท์ด้วย น่าจะเป็นโครงการแยกต่างหาก เป็นโครงการของ อรม. เอง ใครอย่าได้เอาไปรวมกับโครงการซื้อเรือดำน้ำเชียว มันเอาเปรียบกันเกินไป ภาพโครงการเรือ ด. มันก็จะดีเกินคุ้มเกิน  

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 19/04/2017 14:25:23


ความคิดเห็นที่ 17


ส่วนข้อความของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ที่ท่านยกขึ้นมา ผมเคยอ่านมาหลายครั้งแล้ว และเห็นด้วยสุดหัวใจเหมือนหลายๆ ท่านครับ เป็นสัจธรรม จริงแท้แน่นอน ชัดเจน ไม่ต้องแปลความหมายใดๆ อีก

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 19/04/2017 14:28:09


ความคิดเห็นที่ 18


ผมอ่านข้อความ ของ TAF ผมไม่แน่ใจว่าทางจีนเสนอ S20 มาแต่แรกหรือป่าว ครับ แต่ทางเราเองที่มาเปลี่ยนสเปค ก็เลยกลายมาเป็น S26T

โดยคุณ absulation เมื่อวันที่ 21/04/2017 08:43:33


ความคิดเห็นที่ 19


เท่าที่เคยอ่าน ไม่เคยพบว่าจีนเสนอ เอส-20 ให้ ทร. ครับ ตอนมาพรีเซ้นต์ก็มาเสนอ เอส-26 ครับ

เท่าที่รู้ ทร. ก็ไม่เคยให้ข่าวว่าสนใจ เอส-20 ครับ

กระทู้นี้แค่อยากให้ลองเปรียบเทียบ เอส-26ที กับ เอส-20 ครับ แบบไหนน่าจะเหมาะสมกับ ทร. มากกว่ากันครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 21/04/2017 11:51:52