หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ปากีสถานมีแผนจัดหาเรือคอร์เวตจากตุรกีจำนวน 4 ลำ

โดยคุณ : superboy เมื่อวันที่ : 19/05/2017 20:54:08

http://www.navyrecognition.com/index.php/news/defence-news/2017/may-2017-navy-naval-forces-defense-industry-technology-maritime-security-global-news/5203-idef-2017-turkey-signed-loi-with-pakistan-for-the-procurement-of-4-corvettes.html

 

ในงาน IDEF 2017 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงอิสตัลบูล ประเทศตุรกีนั้น ปากีสถานได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI letter of intent หรือ LOI) เรื่องการจัดหาเรือคอร์เวตชั้น  Ada (หรือ MILGEM Project) จำนวน 4 ลำ โดยเป็นการจัดซื้อระหว่างรัฐต่อรัฐหรือ G to G ที่พวกเราคุ้นเคยกันดี โครงการจะเริ่มเดินเครื่องในช่วงปลายปีนี่ และคาดว่าจะส่งมอบเรือลำแรกได้ประมาณปี 2021


เรือทั้ง 4 ลำสร้างขึ้นเองภายในประเทศปากีสถาน โดยใช้แบบเรือชุดเดียวกับกองทัพเรือตุรกีนั่นแหละครับ แต่ระบบอาวุธและเรดาร์ปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบมาตราฐานปากีสถาน ทั้งนี้เพื่อนำมาทดแทนเรือฟริเกต Type-21 จำนวน 6 ลำ (เรือฟริเกตมือสองจากอังกฤษมีชื่อเสียโด่งดังในช่วงสงครามฟอคแลนด์ หลังสิ้นสงสุดครามอังกฤษเลหลังเรือทุกลำทันที และปากีสถานก็เหมามาใช้งานกระทั่งปัจจุบัน)


เรือคอร์เวต MILGEM ระวางขับน้ำ 2400 ตัน ยาว 99.5 เมตร กว้าง 14.4 เมตร ความเร็วสุงสุด 29 น๊อต ติดอาวุธพร้อมใช้งานครบ 3 มิติ รองรับการทำงานในสงครามอสมมาตร หรือสงครามสุคที่ 4 ซึ่งเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เรือจึงมีความเอนกประสงค์ในการทำงานครบถ้วน ทั้งตรวจการณ์ กู้ภัย ตรวจค้นเรือเล็ก รวมทั้งทำสงครามเต็มตัว รูปทางลดการสะท้อนจากเรดาร์ได้เป็นอย่างดี จัดเป็นแบบที่ทันสมัยมากที่สุดรุ่นหนึ่ง


ปากีสถานต้องการจัดหาเรือคอร์เวต MILGEM มานานตั้งแต่ 4-5 ปีก่อน กระทั่งผมเองยังคิดว่ากินแห้วไปเสียแล้ว และคิดว่าเรือจีนจะเข้าวินตามติดมาอีกหนึ่งชุดใหญ่ นี่คือการส่งออกเรือคอร์เวตครั้งแรกสุดของตุรกี เพิ่มจำนวนผู้ขายเข้ามาในตลาดโลกอีกหนึ่งราย 


ยินดีด้วยครับ ตรุกีมีพัฒนาการที่เข้มแข็งและเป็นระบบมาก เราเองก็สนับสนุนเขาอยู่นะ อย่างแบบเรือน้ำมันลำใหม่คือเรือหลวงมาตราก็เอามาจากทางโน้น ผู้เล่นรายถัดไปที่ผมจับตามองก็คือสิงคโปร์ ว่าเมื่อไหร่จะขายเรือรบติดอาวุธครบ 3 มิติได้เสียที (ไม่นับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งนะ มันยังไม่ใช่มาตราฐานเรือรบแท้ๆ)

 

ปล.แก้ไขในหัวกระทู้ทีไร ย.ยักษ์มาเยือนทุกที ทำไงดีครับแอดมิน    





ความคิดเห็นที่ 1


ทำความเข้าใจนิดนึงนะครับ ใช่ว่าปากีสถานนึกอยากต่อเรือรบแล้วสามารถทำได้เลย ก่อนหน้านี้พวกเขาเคยซื้อเรือฟริเกต F-22 จากจีนจำนวน 4 ลำ โดยเรือลำสุดท้าย F-254 PNS Aslat ได้ต่อขึ้นเองในประเทศแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2013 ฉะนั้น เรือคอร์เวตใหม่ 4 ลำ แม้จะมีแบบเรือทันสมัยมากกว่าเยอะก็ตาม ทว่าพวกเขาเคยมีประสบการณ์มาก่อน อุปกรณ์การต่อเรือก็พร้อม และปัจจุบันก็กำลังต่อเรือรบขนาด 600 ตันจำนวนหนึ่งอยู่ด้วย จึงไม่น่าปัญหาและยังได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่จากตุรกีด้วย (ใหม่ตามแบบเรือเลย ไม่ใช่แบบเรือเก่ามาโมใหม่)

อุตสาหกรรมต่อเรือของปากีสถานเข้าสู่ระดับเรือรบแท้ ๆ นานแล้ว ฉะนั้น...ที่ยังเคยคืดว่าอูต่อเรือเอกชนไทยไปสอนเข้าต่อเรือให้อยู่นั้น (ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว) ผมบอกได้คำเดียวว่าลืมอดีตไปเสียเถ๊อะ

 

แต่ก็ยังแปลกใจอยู่ดี ว่าทำไมเรือจีนถึงไม่เข้าวิน ??? 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/05/2017 09:49:53


ความคิดเห็นที่ 2


หน้าตาเรือแขกเติร์คกับปากีฯ ดูหล่อเหลาเอาการอยู่ พอจะมีสเปคเรือเรือบ้างไหมครับท่าน superboy

ท่านคิดว่า ทร. หรือ อู่กรุงเทพ หรือ มาร์ซัน มีขีดความสามารถในการต่อเรือรบแท้ๆ ได้ถึงระดับฟรีเกตไหมครับ ?

คือกำลังคิดถึงเรือท่าจีนใหม่ลำที่สองครับ ที่ว่ากันว่าจะต่อโดย อรม. มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และจะใช้งบปีอะไรในการต่อสร้างครับ ?

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 18/05/2017 12:40:02


ความคิดเห็นที่ 3


สเปกจากวิกิครับ มีให้เลือกทั้งคอเวตท์ และฟรีเกตเลย

 
Name: Ada class
Builders: Istanbul Naval Shipyard
Operators: Turkish Navy
Subclasses: TF-100 class
Built: 2005–present
In service: 2011–present
Building: 2
Planned: 12
Completed: 3
Active: 2
Laid up: 3
General characteristics
Type:
Displacement:
  • 2,400 tonnes for Ada class
  • 3,000 tonnes for ฤฐ class
Length:
  • 99.56 m (326 ft 8 in) for Ada class
  • 113.2 m (371 ft 5 in) for ฤฐ class
Beam:
  • 14.40 m (47 ft 3 in) for Ada class
  • 14.40 m (47 ft 3 in) for ฤฐ class
Draft:
  • 3.90 m (12 ft 10 in) for Ada class
  • 4.05 m (13 ft 3 in) for ฤฐ class
Installed power:
  • Main: 31,640 kW (42,430 hp) RENK CODAG
  • Aux: 4 x 588 kW (789 hp)
Propulsion: 1 gas turbine, 2 diesels, 2 shafts
Speed:
  • Economy: 15 kn (28 km/h; 17 mph)
  • Maximum: 30 kn (56 km/h; 35 mph)
Range: 3,500 nmi (6,500 km; 4,000 mi) at 15 kn (28 km/h; 17 mph)
Endurance:
  • 21 days with logistic support
  • 10 days autonomous
Boats & landing
craft carried:
2 x RHIB
Complement: 93 including aviation officers, with accommodation for up to 106 for Ada Class Corvets and 125 for ฤฐ Class Frigates
Sensors and
processing systems:
  • Combat Management System: G-MSYS (GENESIS MฤฐLGEM SavaลŸ Yönetim Sistemi)
  • Search radar: SMART-S Mk2[2]
  • Weapon control: STING EO Mk2
  • Sonar: TBT-01 Yakamoz
  • Communication: SatCom, GPS, LAN, ECDIS/WECDIS, Link 11/16
  • Navigation: ECPINS-W, ALPER LPI
  • IPMS: UniMACS 3000
  • Others: X-Band radar, Fire Control Radar
Electronic warfare
& decoys:
  • SIGINT: ARES-2N[3]
  • Others: Laser/RF systems, ASW jammers, DG, SSTD
Armament:
Aircraft carried:
Aviation facilities: Capability of storing armaments, 20 tons of JP-5 aircraft fuel, aerial refueling (HIRF) and maintenance systems
โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 18/05/2017 13:19:51


ความคิดเห็นที่ 4


คำถามท่านเสือใหญ่ต้องแยกออกเป็นสองส่วน ถามว่าอู่ต่อเรือไทยต่อเรือรบได้ไหม ถ้าต่อบนลานดินกลางแจ้งแบบพม่าผมก็ตอบว่าได้ล่ะครับ ทีนี้เวลาต่อก็ต้อง QC ตามสเปีกเรือรบ ซึ่งผมไม่รู้เหมือนกันว่าอะไรและยังไงบ้าง

 

แต่ถ้าถามว่าอู่ต่อเรือไทยต่อเรือรบได้ดีไหม เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ทันสมัยและเทคดโนโลยีล้วน ๆ ปัจจุบันเรือขนาด 6,000 ตันจากยุโรปนี่ต่อในร่มจนสำเร็จเป็นลำ แล้วค่อยเข็นลงน้ำเขาจึงได้เรือรบที่สมบรูณ์ 100 เปอร์เซนต์ ตุรกี สิงคโปร์ เองก็มีอู่ต่อเรือแบบนี้เช่นกัน (จึงสามารถต่อขายชาติอื่นได้ในราคาดี) ส่วนมาเลและปากีสถานผมไม่แน่ใจ แต่เขาใช้งบในการจัดหาอุปกรณ์และสถานที่จำนวนมหาศาล ผลงานที่ออกมาย่อมดีกว่าต่อกลางลานดินแบบพม่าและอินโดแน่นอน

 

ส่วนของไทยต่อกลางลานปูน เห็นว่าจะสร้างหลังคาคลุมบางส่วน ก็ตามสภาพแหละครับ 

 

เรือตุรกีขนาดประมาณ 2,400 ตัน ใหญ่กว่าเรือหลวงบางปะกงด้วยซ้ำไป เป็นแบบเรือที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับประเทศไทยพอสมควร เพราะไม่ได้ติดตั้งจรวดต่อสู้อากาศยาน NSSM และระบบ VLS ทำให้เทคโนโลยีน้อยลงจนมาอยู่ในระดับที่เราพอไหว ระบบเรดาร์ควบคุมการยิงก็ไม่ต้องใช้รุ่นนำวิถีจรวดได้ ทำให้ราคาโดยรวมลดลงมาพอสมควร นำมาทดแทนเรือเจียงหูของจีนทั้ง 4 ลำได้เลย

 

ส่วนตัวคิดว่าราคาไม่น่าแรงเหมือนแบบเรือจากอังกฤษที่ทร.เราถวิลหาเหลือเกิน ตุรกีนี่พัฒนาอาวุธแทบจะครบทุุกชนิดเลยนะเราสามารถพึ่งพาเขาได้เยอะ ขนาดจรวดปราบเรือดำน้ำไม่นำวิถี (หรือจะเรียกว่าเครื่องยิงระเบิดลึกก็ได้) ยังพัฒนาขึ้นมาใช้งานเลยนะเนี่ย ติดเอาไว้เผื่อเหลือเผื่อขาดไม่เสัยหายอะไร พวกเราเรือหลวงแหลมสิงห์นี่ใส่ท้ายเรือได้สบายแฮ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/05/2017 14:15:55


ความคิดเห็นที่ 5


คิดว่าที่ ปากีสถาน เลือกเรือคอร์เวตจาก ตุรกี ในความเห็นผมว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเรื่อง การวางระบบและเทคโนโลยี่ ภายในตัวเรือ...

ที่คิดว่า การออกแบบและมาตรฐานการจัดวางระบบต่าง ๆ คงจะมี มาตรฐาน ที่ดีกว่า ประเทศจีน...(มาตรฐานตะวันตก หรือ นาโต้ ประมาณนั้น) ซึ่งอาจจะหมายรวมถึง การออกแบบตัวเรือ เพื่อให้ง่ายต่อการซ่อมบำรุงระบบต่าง ๆ ภายในตัวเรือ หรือการวางระบบ เพื่อรองรับการอัพเกรดเฉพาะส่วนได้ในอนาคต...

เช่น เรือชุด P-22 ที่ ปากีสถาน ต่อเรือขึ้นเอง...ระบบอาวุธต่าง ๆ ก็เป็นจากประเทศจีน ทั้งหมด...ซึ่งคงหมายถึง ระบบการวางสายไฟ หรือ ระบบการเชื่อมโยงต่าง ๆ ภายในตัวเรือ ก็คงเป็นมาตรฐาน จีน น่าจะอยู่ในยุค 90...

ซึ่งผมก็วิเคราะห์ จาก หลักนิยม ในการสร้างเรือของประเทศจีน...ที่วางอายุใช้งานของ เรือ เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น...แล้วใช้การสร้างเรือใหม่ ขึ้นทดแทนของเดิม...ไม่นิยม การอัพเกรดบางระบบ...เพื่อยืดอายุใช้งานออกไป...

หรืออย่างประเทศไทย ก็คงได้เห็นภาพ เรือชุด กระบุรี เป็นตัวอย่างหนึ่ง...ที่ ต้อง รื้อระบบเก่าออกทั้งหมด แล้วใส่ระบบใหม่เข้ามาทดแทนของเดิม...ซึ่งจะแตกต่าง กับ เรือชุด รัตนโกสินทร์ ที่สามารถจะอัดเกรดระบบอำนวยการรบ หรือ ระบบโซนาร์ เพื่อยืดอายุใช้งาน หรือ เลือกที่จะอัพเกรดแต่ละระบบของเรือได้...

คงเป็นข้อได้เปรียบของมาตรฐานการออกแบบ...ที่ผมคิดว่า ปากีสถาน คงได้ประเมิน และได้พิสูจน์จริงด้วยตัวเองมาแล้ว...

และผมคิดว่า ปากีสถาน คงจะนำการใช้การวางระบบของเรือ MIGEM นำมาต่อยอด เพื่อขยายแบบเรือฟริเกตจาก P-22 ต่อไปในอนาคต...คงเหมือนกับที่ ตุรกี เสนอเรือดำน้ำแบบ 214 ให้กับ อินโดนีเซีย...ถ้าเทียบระหว่าง เรือชุด AMUR หรือ KILO จากรัสเซีย โดยเสนอการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้อินโดฯ กับ แบบเรือดำน้ำ 214 ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนฯ จาก ตุรกี...ถ้าผมเป็น อินโดฯ ผมก็เลือก ตุรกี มากกว่า รัสเซีย...ที่เป็นเรื่องความเชื่อมั่น ในเรื่องความสมัยใหม่ ที่น่าจะมีมากกว่า....เทียบได้เช่นเดียวกับ MIGEM ของตุรกี กับ Type-056 ของจีน...ถ้าผมเป็น ปากีฯ ผมก็คงเลือก ตุรกี มากกว่า....เพราะ ปากีฯ มีความสามารถต่อเรือได้อยู่แล้ว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/05/2017 16:41:56


ความคิดเห็นที่ 6


คิดว่า Type-056 ไม่ตรงความต้องการน่ะครับท่านจูดาส เพราะระวางขับน้ำน้อยเกินไปและไม่มีโรงเก็บฮ.ด้วย ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าจีนเสนอเรือ C-28A ให้ ระวางขับน้ำ 2,800 ตัน ติดอาวุธจีนเหมือนเรือชั้น F-22P เป๊ะ ๆ โดยใช้ระบบเรดาร์และระบบอำนวยการรบจากตะวันตก ซึ่งค่อนข้างจะง่ายกับปากีในการใช้งาน ซ่อมบำรุง และจัดหาอาวุธมาตราฐาน

แต่ท้ายที่สุดเมื่อปากียืนยันจะเอาเรือตุรกี ผมก็พอจะเดาได้ประมาณว่า จีนเสนอC-28A ต่อในจีน 2 ลำ ต่อในปากี 2 ลำ ส่วนตุรกีโชว์ป๋าเสนอต่อ MILGEM ในปากีครบทั้ง 4 ลำ พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แบบไม่กั๊ก

 

มาเดาต่อเรืออาวุธติดบนเรือลำใหม่ ปืน 76 มม.จรวด C-802A ปืนกล 30 มม.Type 730B รวมทั้งตอร์ปิโดปราบเรือดำน้ำรุ่นเดิมคงมากันครับ แต่จรวดต่อสู้อากาศยาน FM-90N (ซึ่งก็คือโครเทรลจากฝรั่งเศส) น่าจะติดตั้งแทนที่ RAM ลำบากหน่อย ทั้งยังต้องใช้เรดาร์ควบคุมการยิงเพิ่มเติม สุดท้ายปากีอาจเลือกจรวด FL-3000N (หรือ RAM จีน) มาใช้งานก็เป็นได้ เดาเอาประมาณนี้แหละครับ

 

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/05/2017 19:29:48


ความคิดเห็นที่ 7


เทคนิคการตลาดของจีนไม่ต้องเดากันเลย เพราะจะใช้ขนาดที่ใหญ่กว่าเข้าข่มพร้อมของแถมที่ไม้ได้ต้องการจำนวนมากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับคนซื้อว่าจะมีจิตใจมั่นคงมากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสุงแล้ว คงพอจำกันได้เนอะ

 

C-28A ที่อัลจีเรียซื้อไปก็จัดเป็นเรือคอร์เวตเช่นกัน แม้จะขนาดและระวางขับน้ำจะใกล้เคียงกับเรือหลวงนเรศวรเข้าไปแล้วก็ตาม หวังว่าพ่อคุณจะไม่มาโผล่ในไทยเชียวนะ ให้เลือกร้อยครั้งผมก็เอา MILGEM ทั้งร้อยครั้ง

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/05/2017 19:37:33


ความคิดเห็นที่ 8


สงสัย C-28A คงใหญ่เกินที่จะเป็น corvette เพราะยาวตั้ง 120 เมตร...ยาวกว่า Milgem 20 กว่าเมตร..ในขณะที่ลานดาดฟ้าบิน รองรับ ฮ.ขนาด Lynx ในขณะที่ Milgem รองรับ ฮ.ขนาด S-70 ในปี 2016...มีโมเดล C-28A แบบติดตั้ง AESA เรดาร์...ดูเหมือนประเทศจีน...เขาออกแบบเรือรบง่ายดีนะ...55555


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/05/2017 22:23:15


ความคิดเห็นที่ 9


รูปไม่ขึ้น โพสใหม่ครับ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 18/05/2017 22:25:00


ความคิดเห็นที่ 10


ตุรกีให้ออฟเฟอร์ซื้อ 3 แถม 1 มั้งครับ     แถมยังมีทุนระเบิดแถมให้ฟรีอีกมั้งปากีสถานเลยเลือก

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 19/05/2017 04:43:56


ความคิดเห็นที่ 11


ที่เรือจีนมันย๊าวยาวเพราะใช้แปลนเรือสมัย 198x จะบอกว่า C-28A และ F-22P โ€‹คือหลานชายคนโตและคนรองของเรือหลวงนเรศวรก็เห็นจะไม่ผิด

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/05/2017 08:53:22


ความคิดเห็นที่ 12


หรืออาจจะว่า ปากีสถาน จะต้องการร่วมโครงการ Milgem-i กับ ตุรกี หรือเปล่า ?

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/05/2017 10:57:21


ความคิดเห็นที่ 13


เอาใจช่วยให้มันออกมาเป็นเรือลูกครึ่งเตริก+เอเชีย ที่ดีที่สุดแบบนึงครับ

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 19/05/2017 11:39:46


ความคิดเห็นที่ 14


ที่จริงตุรกีพยายามจะนำเสนอระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนให้กลุ่มประเทศ ASEAN มานานแล้วครับ

ที่ประสบความสำเร็จก็มี เช่น รถรบทหารราบสายพาน ACV-300 adnan กับ รถเกราะล้อยาง 8x8 AV8 Gempita กองทัพบกมาเลเซียที่ FNSS ตุรกีถ่ายทอด Technology ให้ Deftech มาเลเซีย

ซึ่ง PT PINDAD อินโดนีเซียก็ร่วมกับ FNSS ตุรกีเปิดตัวรถถัง Kaplan MT คันต้นแบบไปเมื่อเร็วๆนี้ครับ

ถ้าเป็นระบบทางทะเล ก็มีที่ STM ตุรกี ร่วมกับ TKMS เยอรมนีลงนามสัญญาการเสนอเรือดำน้ำ Type 214 ที่ต่อโดยอู่ต่อเรือ Golcuk ให้กองทัพเรืออินโดนีเซีย

 

แต่สำหรับไทยแล้วโอกาสของอาวุธตุรกีในไทยอาจจะมีไม่มากครับ

เนื่องจากสถานการณ์ภายในของตุรกีเอง กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับชาติยุโรปตะวันตก เช่น เยอรมนี และไทยที่ไม่สู้ดีนักในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/05/2017 14:55:42


ความคิดเห็นที่ 15


ไก่งวงตอนนี้เตรียมเจาะ ทบ.อยู่ครับ เสนอมาทั้งจรวด ทั้ง ฮ โจมตี แถมข้อเสนอดีซะด้วย ทบ.ก็แว่วๆอยากได้ ฮ โจมตีมาแทนงูเห่าที่แก่เต็มทน แต่ไปๆมาๆเปลี่ยนใจจะเอา ฮท.ก่อน ซะงั้น นั่งลุ้นกันต่อไป
โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 19/05/2017 20:10:34


ความคิดเห็นที่ 16


ปากีสถานเองก็มีการขายยุทโธปกรณ์ของตนให้ตุรกีครับ เช่นเครื่องบินฝึกใบพัด Super Mushshak ซึ่งกองทัพอากาศตุกีจัดหาไป ๕๒เครื่อง

ขณะเดียวกันก็มีข่าวที่ตุรกีเสนออากาศยานของตน(TAI: Turkish Aerospace Industries)อย่างเครื่องบินฝึกใบพัด Hurkus กับเฮลิคอปเตอร์โจมตี T-129 ATAK

(ปากีสถานเลือกจัดหาระบบอาวุธจากหลายแหล่งมาใช้พัฒนาในประเทศตนเอง ซึ่งของจีน ตะวันตก ตุรกี ฯลฯ)

 

ซึ่ง ฮ.T-129 ATAK นี่ละครับที่เข้าใจว่าน่าจะมาเสนอพร้อมกับระบบตรวจจับของ Aselsan

และอาวุธของ Rocketsan ทั้งจรวด Laser Cirit 70mm กับอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น UMTAS

แต่ก็ไม่ทราบว่าทางกองทัพบกไทยจะสนใจ ฮ.โจมตี T-129 ตุรกีเพื่อทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F หรือไม่

เพราะอย่างไรก็ตาม ฮ.ใช้งานทั่วไปมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหามากกว่าครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/05/2017 20:54:08