หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไมแอลจีเรียเลือก RBS-15 ติด Meko A-200

โดยคุณ : GT500 เมื่อวันที่ : 05/06/2017 17:34:18

 

     เพิ่งอ่านข่าวจากเพจท่าน AAG_TH ว่าแอลจีเรียเพิ่งรับเรือ Meko A-200 ระบบต่างๆก็ใช้ของ SAAB ยกแผงคล้ายๆเรือหลวงท่าจีนของเรา แต่มาสะดุดตรงเขาเลือกใช้ RBS-15 mk3 ตั้ง 16 นัดแทนที่จะเป็น Harphoon แบบเรา 

สิ่งที่สงสัยคือ

1. จรวดชนิดใดมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากัน 

2. จรวดชนิดใดราคาถูกกว่ากัน  

3. ระหว่างติดฮาร์พูน 8 นัด กับติด RBS-15 16 นัดแบบแอลจีเรีย อันไหนจะดีกว่า

ไม่แน่ใจเรื่องราคาลูกจรวดว่ามันถูกกว่าหรือเปล่า แบบว่าแอลจีเรียใช้เรือแพง เลยลดเกรดอาวุธประจำเรือลงอะไรแบบนี้หรือเปล่า





ความคิดเห็นที่ 1


แอลจีเรียเป็นประเทศที่มีเงินครับ มีเงินเยอะด้วย แต่มีปัญหาเรื่องคุณภาพของคนในการทำงานใหญ่ จะซื้ออะไรซักอย่างเลยรวมเป็นก้อนเดียวให้คนขายจัดหามาให้

 

การจัดหาเรือฟริเกตจากเยอรมันยังได้รวมกับจัดหาจรวด RBS-15 และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำเข้าไปด้วย (น่าจะ Super Lynx) ซึ่งถ้า SAAB เป็นเจ้าภาพการขายจรวดมันก็ง่ายเข้าไปอีก

 

ลองมาดูเรือ LPD ซึ่งเป็นเรือธงของเขาสิครับ ราคา 500 ล้านยูโร ติดตั้งระบบเรดาร์ทันสมัยจากอิตาลีและจรวดต่อสู้อากาศยาน ASTER ด้วย

ปัญหาของอัลจีเรียก็คือ ใช้เรือรบจากประเทศรัสเซีย เยอรมัน จีน และอิตาลี รวมทั้งใช้อาวุธจากรัสเซีย จีน เยอรมัน อิตาลี สวีเดน อังกฤษ แอฟริกาใต้ และอื่น ๆ อีกมากมาย คือแต่ละลำก็แยกกันไปเลย ไม่ต้องมาพูดเรื่อง datalink เพราะมันไม่มีแน่นอน นั่นแหละครับท่านผู้ชม

 

RBS-15 โ€‹ก็มีคนใช้พอสมควรนี่ครับ สวีเดน โปแลนด์ เยอรมัน ฟินแลนด์  ราคาก็คงไม่ต่างจากฮาร์พูนเท่าไหร่ ระยะยิงน่าจะไกลกว่าที่ 200 กม.ในรุ่น MK3

 

ทั้งหมดตอบจากความจำนะครับ อาจมีผิดพลาดไปบ้างช่างมันเถอะ ถ้าพึ่งพาวิกิกับอากู๋มากเกินไป ผมรู้ว่าตัวเองไร้ค่ายังไงก็ไม่รู้ เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่เลยตอบแบบพิมพ์เลย อันไหนสงสัยค่อยไปหาข้อมูลอีกที

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 31/05/2017 19:09:55


ความคิดเห็นที่ 2


        ขอบคุณครับท่าน superboy แหม่ ถ้าท่านรู้สึกว่าเปิดอากู๋หรือวิกิแล้วไร้ค่านี่   ผมที่มีอากู๋กับวิกิเป็นเพื่อนตายก็ไม่รู้จะอยู่บนโลกได้อย่างไรแล้วล่ะ 555

    ส่วนตัวชอบ RBS-15 มากกว่าฮาร์พูนนิดนึงตรงที่นอกจากจะยิงไกลกว่าแล้วยังมีความสามารถในการโจมตีฝั่งด้วยซึ่งตรงนี้เห็นว่าฮาร์พูนก็จะทำให้มีความสามารถนี้เช่นกันแต่ยังไม่มีใครกล่าวถึง  นึกถึงคล้ายๆกรณีเรือซาอุที่โดนเยเมนยิงด้วยฐานปล่อยจรวดจากริมฝั่ง ถ้าเรือมีอาวุธที่จะตอบโต้ได้ก็ถือว่าดีกว่า อุ่นใจกว่ายิ่งถ้ายิงจากระยะ 200 กม. ด้วยยิ่งอุ่นใจจัดเลย

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 01/06/2017 10:55:09


ความคิดเห็นที่ 3


อย่าถือสาผมเลยครับท่าน GT500  โ€‹ชีวิตมันวุ่นวายไม่รู้อะไรต่อมิอะไรประดังเข้ามา อารณ์และความรู้สึกก็เลยแปรปรวนราวกับเด็กสาวอายุ 16 นี่ผมไม่ได้เป็น men นะเออ 555

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/06/2017 13:16:37


ความคิดเห็นที่ 4


มันเคยมีดีลของอินเดียและอเมริกาอยู่ตอนปี 2009 ว่า

170 ล้านดอล กับ ฮาร์ปูน 24 ลูก ตกลูกละ 7.08 ล้านดอล

 

ตอนปี 2006 ดีลของโปแลนด์กับสวีเดน ว่า

140 ล้านดอล กับ RBS-15mk.3 36 ลูก ตกลูกละ 3.88 ล้านดอล 

แต่ว่าดีลของอินเดียมันจะมีพวกระบบพ่วงท้ายอะไรๆด้วย คิดว่าของโปรแลนด์ก็คงจะคล้ายๆกัน

ถ้าจำไม่ผิดฮาร์ปูนถ้าจะเอาเฉพาะจรวดน่าจะตกลูกละ 7-8 แสนดอล ส่วน RBS-15 mk.3 ลูกเท่าไหร่อันนี้ยังไม่รู้

 

ส่วนที่ว่าทำไมแอลจีเรียเลือก RBS-15 mk.3 ทำไมไม่เลือก harpoon  คือต้องเข้าใจก่อนว่าในเรือของเยอรมันเคยใช้ทั้ง

exocet mm38   , RBS-15 ,harpoon ทั้งนั้นครับ ทั้งคอร์เวตและฟริเกต  คือเรือ A-200 ของแอลจีเรียมันมาจากรุ่นก่อนน่านี้ที่แอฟริกาใต้ซื้อไปใช้ และคิดว่าแอฟริกาใต้ก็ใช้ กริฟเฟนด้วยคงอยากให้มี datalink พวกนี้มั้งในตอนนั้นเลยเลือกของสวีเดนมาใส่เรือ

พอเรือ A-200 ของแอฟริกาพัฒนามาเป็นเรือแอลจีเรียเลยยังคงคอนเซ็ปไว้ก็ได้มั้งนะคิดว่า

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 01/06/2017 14:04:28


ความคิดเห็นที่ 5


ผมก็ยังรู้สึกว่า harpoon มันตกยุคและไม่มีการพัฒนาอะไรใหม่ๆ เพียงแต่มันใช้กันมานานเป็นมาตรฐาน

ถ้าให้เลือกผมเอา rbs mk3 ระยะยิงไกลกว่า แล้วก็โจมตีฝั่งได้ ถ้าจำไม่ผิดตั้ง waypoint ได้ด้วย ส่วนฮาร์พูนไม่น่าจะมีโหมดนี้

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 01/06/2017 19:11:23


ความคิดเห็นที่ 6


    งั้นฟรืเกตลำที่สองถ้าได้ต่อในอนาคต ไม่เอา mk141 แฝดสี่ แต่เปลี่ยนเป็น vls 16 เซลแล้วยัด rbs-15 mk3 8 ลูกแทนดีไหม

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 01/06/2017 19:40:42


ความคิดเห็นที่ 7


เรือฟริเกตชั้น Valour กองทัพเรือแอฟริกาใต้นั้นเป็นแบบเรือ MEKO A-200SAN อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำประจำเรือเป็นแบบ Exocet MM40 Block 2 ครับ

ส่วนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon รุ่นที่ใช้งานกับเรือรบผิวน้ำส่วนใหญ่ของกองทัพเรือไทยคือ RGM-84D Harpoon Block 1C นั้นสามารถตั้งค่าจุดเลี้ยวได้สามจุด(3 Waypoint) ซึ่งเป็น อวป.แบบแรกๆที่ทำได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 01/06/2017 22:47:02


ความคิดเห็นที่ 8


ของอินเดียน่าจะเป็นรุ่นใช้ยิงจากเรือดำน้ำเยอรมันนะครับ ซึ่งก็ต้องมีท่อยิงอะไรพวกนี้ด้วย

 

อันที่จริงเรื่องเรือออกแบบให้ติดจรวดได้กี่นัด รวมทั้งจรวดทันสมัยมากน้อยแค่ไหนไม่ใช่เรื่องใหญ่สุด ปัญหาใหญ่สุดที่มีมาแต่เนิ่นนานและเป็นกันทุกชาติก็คือ "จะเอาเงินที่ไหนไปซื้อจรวดมาใส่บนเรือ" ทำให้เรือส่วนใหญ่ออกแบบรองรับจรวดเพียง 8 นัด นอกจากจะใช้ระบบแท่นยิงแนวดิ่ง VLS ซึ่งมีราคาแพงยิ่งกว่าแท่นธรรมดาเข้าไปอีก งบบานปลายหัวแตกมากขึ้นไปอีก

 

ปัญหาพวกนี้มีกันทุกชาติแหละครับ (ยกเว้นจีน อเมริกา รัสเซีย) ขนาดอังกฤษเงินถุงเงินถังยังไม่มีปัญญาซื้อฮาร์พูนมาใส่บนเรือผิวน้ำเลย (แต่มีเงินซื้อโทว์มาฮอกใส่เรือดำน้ำ) ทีนี้มาดูอินโดกันบ้างนะครับ พวกเขาซื้อเรือคอร์เวตมือ 2 จากอังกฤษ 3 ลำ (รุ่นที่บรูไนสั่งซื้อแต่ไม่เอานั่นแหละครับ) ซึ่งตามสเป็กติดเอ็กโซเซ่ต์ได้ 8 นัด แต่ตอนใช้งานจริงติดแค่ 2 นัดเท่านั้น เพราะในท้องพระโรงไม่มีอัญเพียงพอ

 

โดยส่วนตัวมองว่าจรวดบนเรือฟริเกตใช้แค่ป้องกันตัว ประเภทไปจอดเป็นขบวนแล้วระดมยิงใส่ชายใั่งมันต้อง อเมริกา รัสเซีย และจีนเท่านั้น ต่างจากเรือเร็วโจมตีซึ่งเอาไว้โจมตีตามชื่อนั่นแหละ แต่ปัจจุบันเรือ FAC ถูกแทนที่ด้วยเครื่องบินเจ็ตไปเสียเยอะแล้ว อย่างนอร์เวย์ที่มีโคตรเรือ FAC ที่วิ่งได้เร็ว 60 นีอต(ลืมชือ) ก็ตัดสินใจไม่ปรับปรุงเรือใหม่และปลดประจำการเร็วขึ้น ยกหน้าที่ให้กับ F-35 กองทัพอากาศรับไป

 

ส่วนที่ว่าทำไมแอลจีเรียติด RBS-15 ถึง 16 นัด ผมเองก็ใบ้รับประทาน เพราะคุณพี่ลงทุนจัดหาจรวดต่อสู้เรือรบเสียเยอะ แต่ใช้จรวดต่อสู้อากาศยาน Umkhonto MK I ของแอฟริกาใต้ที่มีระยะยิง 10 กม.เท่านั้น (รุ่นใหม่ MK II ทันสมัยขึ้นระยะยิงเพิ่มเป็น 15 กม.แต่ยังไม่ขายต่างชาติเพราะใหม่เกิ๊น) ระบบเป้าลวงธรรมดาเกินไป ไม่มีระบบ CIWS แต่ใช้ปืน DSM-30MR เหมือนของเราซึ่งมีอัตรายิง 200 นัด/นาทีเท่านั้น เรือเยอรมันเลยดูเสียของยังไงพิกล เพราะถ้าขน RBS-15 ไประดมยิงใส่.....แอฟริกาใต้ก็ได้ แล้วโดนสวนกลับมาแค่ 2 นัดผมว่ามีเฮกันบ้าง แถมใส่ปืน 5 นิ้วรุ่นใหม่ต่างหาก ทำอย่างกับว่าอีกฝ่ายไม่มีเขี้ยวเล็บหรือไงกัน

 

เรื่องป้องกันตนเองจากจรวดฝ่ายตรงข้าม เป็นจุดอ่อนใหญ่มากของเรืออัลจีเรียลำนี้ เพราะ Umkhonto MK ประสิทธิภาพด้อยกว่า VL MICA ด้วยซ้ำ ไม่มี CIWS ปืนหลักใช้ยิงต่อสู้อากาศยานไม่ได้ ปืนรองก็หนองเหน่งหนองแกละ ระบบเป้าลวงไม่มาเต็ม ระบบสงครามอิเลคทรอนิคน่าจะไม่มีอะไรเลยนะ จำได้ประมาณนี้ครับ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/06/2017 23:00:52


ความคิดเห็นที่ 9


ผมไม่รู้นะว่า rbs ยิงจาก vls ได้ด้วย

เท่าที่เห็นยิงจากกล่องเฉพาะหน้าตาประหลาดๆ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 01/06/2017 23:03:33


ความคิดเห็นที่ 10


เรือฟริเกตแอฟริกาใต้ไม่มีดาต้าลิงค์กับกริเพนนะครับ การจัดซื้อเรือและเครื่องบินทำพร้อมกันด้วยงบประมาณเดียวกัน รวมทั้งเรือดำน้ำ เฮลิคอปเตอร์ และเครื่องบินฝึก อ้อ ปรับปรุงรถถังหลักด้วย

 

งบประมาณสุงมาก....และบานปลายอย่างไม่ต้องคาดเดา สุดท้ายมีการลดจำนวนลง อย่างเรือดำน้ำก็ลดจาก 4 ลงมาเหลือ 3 ลำ เรือฟริเกตใช้ระบบอำนวยการรบอะไรซักอย่างแต่ไม่ใช่ SAAB แน่ คือทั้งลำมี SAAB แค่ระบบสงครามอิเลคทรอนิค อันนี้จำได้เพราะผมเขียนบทความถึงทั้งโครงการเรือฟริเกตและเรือดำน้ำ เขาต้องการประหยัดที่สุด และใช้ผลิตภัณท์ที่สร้างเองในชาติบนเรือให้มากที่สุด ต่างจากไทยที่ต้องการให้เขัากับระบบมาตราฐานคือ SAAB ต่างจากอัลจีเรียที่ไม่เข้าระบบอะไรเลย แต่ตรูมีเงินและจะเอาแบบนี้มีอะไรมั้ย

 

RBS-15 ไม่มีรุ่น VLS นะครับ บนเรือวิสบี้ของสวีเดนจะมีช่องด้านข้างตัวเรือส่วนที่เรียกว่า HULL สำหรับให้จรวดวิ่งออกซ้าย-ขวา แต่ไม่รู้ตรงไหนเหมือนกันเพราะสวีเดนหวงภาพถ่ายมาก ผมเคยนั่งหาอยู่นานจนถอดใจช่างแม่ม 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/06/2017 23:15:10


ความคิดเห็นที่ 11


มีอีกเรื่องเพิ่งนึกออก เยอรมันคือชาติที่มีระเบียบวินัยสุง ขยันและตั้งใจทำงาน มีความเด็ดเดี่ยวมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ ความกดดันและอะไรมากมายไม่ส่งผลกับเขาเลย นี่คือเยอรมันที่ทุกคนรู้จักดี ผมเองเคยทำงานร่วมกับเยอรมันในไทยอยู่ 3 ปี แบบนี้แหละ (ยกเว้นเพิ่มติดหญิงขึ้นมาอีกเรื่อง)

 

พวกเขาใช้จรวดต่อสู้เรือรบเริ่มจากเอ็กโซเซ่ต์ ฮาร์พูน RBS-15 MK3 และมีแผนว่าจะไปรุ่น MK4 ซึ่งมีระยะยิงไกลมาก (ใกล้เสร็จแล้ว) แต่ในช่วงต้นปีนอร์เวย์ซื้อเรือดำน้ำ Type 212 จำนวน 4 ลำจากเยอรมัน สิ่งที่ตามมาก็คือเยอรมันจะสั่งซื้อจรวด NMS มาติดตั้งบนเรือรบตัวเอง MK4 ก็กลายเป็นหมันไป

 

ประสิทธิภาพ ความทันสมัย ขนาดของจรวดและหัวรบ อยู่ตรงไหนในการพิจารณาการซื้อจรวดครั้งนี้ ?? ไม่มีเลยครับเรื่องการค้าล้วน ๆ รองมาก็คือการค้าในอนาคต นั่นคือจรวดแต่ละแบบไม่ได้แตกต่างกันจนเยอรมันรับไม่ได้ ฉะนั้น ผมเห็นตามว่าอยากใช้รุ่นไหนก็ใช้ไปเถอะ สุดท้ายก็ใช้ซ้อมยิงกับเป้าเช่นเคย

 

อีกเรื่องก็คือ เทรนด์จรวดต่อสู้เรือรบยิงใส่เป้าหมายบนบก รวมทั้งจรวดร่อนโจมตีชายฝั่งขนาดไม่ใหญ่เท่าไหร่นี่มันเกิดขึ้นประมาณ 10 ปีแล้ว  ซึ่งในตอนนี้ชาตินาโต้ที่เคยอยากได้ถอยห่างกันไปเกือบหมด เพราะผลการรบแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่ ที่รัสเซีย อเมริกา ระดมโชว์ให้โลกประจักษ์มันก็ไอ้เท่านั้น คือไม่ได้ดีเด่นเวอ่อวังแบบที่เคยวาดฝันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว

 

ตอนนี้ชาตินาโต้เกือบทั้งหมด กำลังไล่อัพเกรดเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ ให้รับมือกับขีปนาวุธข้ามทวีปที่หล่นลงมาจากอวกาศได้ในระดับหนึ่ง นี่อาจจะเป็นเทรนด์ใหม่หรือเป็นเฟส 2 ที่เพิ่งพัฒนาเสร็จ ภัยคุกครามเปลี่ยนไปไวมาก ความน่ากลัวของเรือรบลดน้อยลงมากกว่าเดิม ความน่ากลัวของเรือดำน้ำมีมากขึ้นเพราะมันทันสมัยมากขึ้น

 

เอ่อ....จะยกเว้นก็เพียงบางประเทศ ที่ซื้อเรือดำน้ำเพราะท่านพี่ปลื้มมาก ลำนี้ผมยังไม่แน่ใจแฮะว่ามันจะทำอะไรได้บ้าง

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/06/2017 07:29:55


ความคิดเห็นที่ 12


สมมุติว่าเกิดสงครามเต็มรูปแบบ ในสมัยปัจจุบันนี้ มีโอกาสที่จะเกิดยุทธนาวี เรือรบต่อเรือรบ ได้อีกไหมครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 02/06/2017 09:47:00


ความคิดเห็นที่ 13


วกเข้าเรือดำน้ำสงสัยมิสไซล์เทพ C802 รุ่นยิงจากเรือดำน้ำอยากแจมกระทู้นี้ด้วย อิอิ

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 02/06/2017 16:12:16


ความคิดเห็นที่ 14


ผมมองว่าจรวดยิงจากเรือสู่เป้าหมายบนฝั่งยังมีประโยชน์มากน่ะครับ แต่ระยะยิงต้องไกลพอสมควรอย่างน้อยก็ 200 กิโลเมตรขึ้นไป โดยจะใช้กับเป้าหมายสำคัญๆที่ไม่เคลื่อนที่ เช่น คลังอาวุธ  สนามบิน  ฐานทัพ ฐานเรดาร์ เป็นต้น ซึ่งจะใช้เป็นการโจมตีระลอกแรกๆ แทนการใช้คนขับเครื่องบินเข้าไปที่เสี่ยงต่อการถูกยิงตก ผลของการยิงจะสามารถกดดันให้อีกฝ่ายยอมแพ้ได้หรือยอมเจรจา หากเป็นการขัดแย้งในพื้นที่จำกัด เช่น เกาะเล็กๆ พื้นที่ทับซ้อนเล็กๆ  แต่หากเป็นสงครามขนาดใหญ่ก็คงไม่คุ้มเท่าไหร่เพราะค่าใช้จ่ายจะสูงมากเกินไป

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 02/06/2017 16:56:56


ความคิดเห็นที่ 15


สำหรับแบบของอาวุธ ผมว่าหากมีไว้ไม่เกิน 3 แบบที่มาจากแหล่งผลิตที่แตกต่างกัน ก็ถือว่าไม่เยอะ เช่น มีทั้งฮาพูน  RBS15  C802 สำหรับโจมตีเรือและชายฝั่ง  โดย C802 ราคาน่าจะถูกกว่า 2 ตัวแรก สามารถตอบสนองในแง่ปริมาณ  ส่วน ฮาพูน กับ RBS15 น่าจะตอบสนองเรื่องความแม่นยำและโอกาสรอดจากการถูกสกัดกั้นที่ดีกว่า  นอกจากนี้ความที่ระบบมาจากต่างค่ายมีข้อดีที่หากระบบใดล่มไปด้วยเหตุใดก็ตามก็มีอีกระบบของอีกค่ายที่ใช้ได้ 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 02/06/2017 17:04:04


ความคิดเห็นที่ 16


ระบบจรวดไม่มีทางล่มหรอกครับ ทีนี้เรามาพูดเรื่องที่ไม่ค่อยได้คุยกันบ้าง นั่นคือจรวดฮาร์พูนยิงเรืออเมริกาไม่ได้แน่นอน รับรองว่าโดนแจมตกน้ำทุกลูกย้ำว่าทุกลูก เช่นเดียวกับจรวด C-802 ยิงเรือจีนไม่ได้เช่นกัน เผลอ ๆ จรวดอาจวิ่งย้อนศรกลับไปหาเรือเราเองก็ได้

 

เรื่องนี้ไม่มีหลักฐานมาแสดงนะครับ การจัดหาจรวดจึงต้องคำนึงด้วยว่า คุณจะมีโอกาสยิงใส่ประเทศผู้ผลิตมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้ามีก็จะเป็นอย่างที่อิหร่านเคยทำ ไม่อยากให้พิจารณาแค่เรื่องสเป็ก (ดูโบร์ชัวร์เอาก็ได้) มีเรื่องสนุกมากกว่านั้นเยอะมาก

 

คำถามคุณ Naris ปัจจุบันก็ยังมียุทธนาวีระหว่างเรือต่อเรือนะครับ นั่นคือเรือตรวจการณ์ของจีนกับเวียตนามวิ่งไล่ชนกัน รวมทั้งเอาปืนฉีดน้ำไล่ฉีดกันแถวเกาะเตี๊ยวหยุน ประเภทใช้ปืนยิงใส่กันก็มีที่เกาหลีใต้ ครั้งล่าสุดน่าจะปี 2002 ระหว่่างเรือตรวจการณ์ของสองประเทศ

 

แต่ถ้าประเภทเอาเรือฟริเกตใส่ยิงจรวดใส่กันกลางมหาสมุทร ผมเคยคิดว่าอาจเกิดระหว่างจีนกับเวียตนามหรือไต้หวันอะไรพวกนี้ แต่วันนี้จีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ฉะนั้น คงใช้เครื่องบินยิงจรวดใส่มากกว่า

 

ส่วนกรณีอเมริกา vs รัสเซีย ไม่น่าเป็นไปไม่ได้เลย เพราะรัสเซียถนัดยิงถล่มด้วยจรวดระยะไกลหรือใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดต่าง ๆ มากกว่า อเมริกา vs จีน ก็ไม่น่าใช่แล้วเพราะจีนมีเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว 

 

ความน่าจะเป็นจึงย้ายไปอยู่ฝั่งแอฟริกา อาจจะมีบางประเทศขัดแย้งกัน หรือมีฝ่ายกบฎยืดเรือได้แล้วแล่นเข้าไปโจมตีฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน ตะวันออกกลางไม่มีหรอก อย่างดีก็เรือยางติดระเบิดวิ่งใส่เรือฟริเกตซาอุ ซึ่งมันได้ผลทางจิตวิทยาแต่เรือเสียหายนิดเดียว

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/06/2017 20:44:27


ความคิดเห็นที่ 17


การที่อาวุธประเภทเดียวจะต้องมีประมือกัน เช่น รดน vs รดน, บ ขับไล่ vs บ ขับไล่ ฯลฯ ยังจะมีต่อไปตราบนานเท่านานครับ ซึ่งมันก็เริ่มมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยกตัวอย่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เครื่องบินเขาเอามาลาดตระเวณหรือทำแผนที่ อีกฝ่ายเลยต้องหาเครื่องมายิงให้ร่วง ก็กลายเป็นเครื่องบินไฝว้กัน ทีนี้เลยกลายเป็นหน้าที่หลักว่า คอยบินหาอีกฝ่ายแล้วสอยซะ เหมือนทุกวันนี้เครื่องบินขับไล่ก็ยังจะต้องทำหน้าที่คุ้มกันเครื่องใหญ่ ไม่ว่าจะทิ้งระเบิด แท้งเกอร์เติมน้ำมัน หรือ สงครามข้อมูล  ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องหาเครื่องบินขับไล่มาสอยเครื่องคุ้มกันของข้าศึกห้ได้ เพื่อที่จะสอยเครื่องหลักเป้าหมายได้

เหมือน รดน ถ้ามีฝ่ายเดียว จะเอาไปจมเรือสินค้าเหมือสงครามโลก ก่อวินาศกรรมทำลายท่อน้ำมันใต้น้ำ ตัดเคเบิลสื่อสารใต้น้ำ ฯลฯ อีกฝ่ายก็ต้องหาเรือดำน้ำมาไล่ปราบ เพราะความสามารถในแง่นี้สูงสุดแล้ว 

หรืออย่างรถถัง บางประเทศเคยคิดว่าเออ ไม่ต้องมีแล้วก็ได้ ก็เปลี่ยนเป็นรถล้อยางแปดล้อ ติดปืน105mm เกราะบางๆ สุดท้ายก็ต้องมานั่งไล่ซื้อรถถังกันอีกรอบ ดังนั้นตราบใดก็ตามที่ตัวอาวุธนั้นยังมีคุณค่ายุทธศาสตร์  ตราบนั้นก็จะต้องมีการดวลกันจนได้ 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 05/06/2017 17:34:18