หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สงคราม จีน - อินเดีย รอบ 2 ?????

โดยคุณ : โปร-จีน เมื่อวันที่ : 29/08/2017 06:32:56

http://www.bbc.com/news/world-asia-40478813

ช่วงนี้เกิดการตึงเครียดอย่างรุนแรงที่สุดตั้งแต่หลังสงคราม จีน - อินเดีย ปี 1962

คือ ทหารอินเดีย ได้ล้ำเข้าในเขตแดนจีน (พรมแดน จีน-ภูฏาน)

อินเดีย...อ้างเข้าไปช่วยภูฏานเพื่อปกป้องภูฏาน

จีน....อ้าง เขตแดนตรงนี้ เป็นเขตแดนที่ไม่มีข้อพิพาทใดๆทั้งสิ้น ไม่เคยเกิดเรื่องใดๆ ตั้งแต่สมัยอังกฤษเป็นเจ้าอนานิคม

ภูฏาน...อ้าง ดินแดนนี้ยังไม่ได้ตกลงปันเขตที่แน่ชัด (ภูฏานไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีน แต่สนิทกับอินเดีย)

ผ่านไปเกือบ20 วัน...ทหารอินเดีย ยังไม่ยอมถอนกำลังออกไปตามที่จีนเรียกร้อง แถมบอกว่า อินเดียยุคนี้ไม่ใช่ อินเดียยุคปี 1962....

ต้องติดตาม ก็เกิดอะไรขึ้นต่อไป.........

 

 

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


เออ.... ภูฏานไม่เคยตกเป็นอณานิคมของใครครับ ,..... อ้างอังกฤษมานี้ สงสัยเมาน้ำชามาแน่ๆ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 05/07/2017 11:24:36


ความคิดเห็นที่ 2


เรื่องประวัตศาสตร์ของภูฎานผมไม่รู้ แต่แปลจากข้อความด้านล่างนี้ จีนบอกว่า ...เขตแดนตรงนี้ทำข้อตกลงกับอังกฤษตั้งแต่ปี 1890

***** On Monday, a Chinese foreign ministry spokesman said that the border in Sikkim had been settled in an 1890 agreement with the British, and that India's violation of this was "very serious". *****

 

จริงๆคือจีนทำข้อตกลงกับประเทศ sikkim ...แต่ต่อมา sikkim ถูกอินเดียรุกราน ฮุบเป็นของตัวเอง กษัตริย์ sikkim หนีไปลี้ภัยที่สหรัฐ จีนก็ไม่เคยยอมรับ sikkim เป็นของอินเดีย...

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 05/07/2017 12:19:47


ความคิดเห็นที่ 3


แล้วเกี่ยวอะไรกับภูฏาน การยอมรับข้อตกลงระหว่างภูฏานกับสิขิมคืออะไร เคยมีการยอมรับเขตแดนระหว่างกันนั้นหรือไม่ เมื่อสิขิมรวมประเทศกับอินเดียจะมีผลอย่างไร, อังกฤษยอมรับอินเดียหรือสิขิม ณ เวลาปัจจุบัน .... การเมืองระหว่างประเทศ ก็ว่ากันด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศ อย่าเพิ่งคิดเองเออเองครับ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 05/07/2017 14:07:00


ความคิดเห็นที่ 4


มาดูภูฎานเองพูดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดูเหมือนภูฎานเองยังงงๆที่ถูกอินเดียเอาชื่อมาอ้าง

คือ อินเดียสงทหารเข้าในเขตแดนจีน ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่าง จีน-ภูฎาน 

อินเดียหาเหตุผลไม่ได้ เลยเอาภูฎานมาอ้าง

เหตุที่อินเดียส่งทหารเข้าไปในเขตแดนจีน เพราะจีนกำลังสร้างถนน อินเดียเกรงจะทำให้เสียเปรียบทางทหารถ้าเกิดมีสงครามกับจีนในอนาคต เลยส่งทหารเข้าไปในเขตแดนจีน เพื่อยับยั้งการสร้างถนน....แต่อ้างเพื่อเข้าไปปกป้องภูฏาน

ลิ๊งค์ด้านล่าง คือข่าวจากภูฎานพูดถึงเรื่องนี้

http://www.bhutannewsnetwork.com/2017/06/india-enters-into-bhutan-china-border-conflict/

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 06/07/2017 06:34:24


ความคิดเห็นที่ 5


http://www.backchina.com/news/2017/07/06/502599.html

มาดูทางฝั่งจีนพูดบ้าง

จีนบอกสาเหตุที่อินเดียส่งทหารเข้าในเขตจีน ทั้งที่ไม่เคยมีข้อพิพาทกับอินเดียในจุดนี้เลย และ เป็นเขตแดนที่แม้กระทั่งอินเดียเองก็ยอมรับ และ ทำข้อตกลงกันนับร้อยปีมาแล้ว

สาเหตุน่ามาจาก 3 ข้อ

1..... อินเดียหวังกลืนภูฎาน แบบเดียวกับที่เคยกลืนกัยซิขิมมาแล้ว

(ด้วยอิทธิพลของอินเดีย ภูฎานเสมือนเป็นลูกเมียน้อยของอินเดีย ไม่เคยมีอิสระด้านการเมืองระหว่างประเทศ ภูฎานคงเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่ได้เปิดสัมพันธ์ทางการฑูตกับมหาอำนาจโลก 5 ชาติ คือ สหรัฐ จีน รัสเซีย อังกฤษ และ ฝรั่งเศส)

2... ยับยั้งการแผ่อิทธิของจีนลงทางใต้ อินเดียกลัวจีนจะญาติดีกับภูฎานเป็นอย่างมาก แบบที่ทำกับเนปาลในตอนนี้ (ก่อนหน้านี้ เนปาลเพิ่งพาอินเดียเกือบทุกอย่าง ของกินของใช้ยารักษาโรค นำเข้าจากอินเดียหมด แต่ตอนนี้สินค้ามากชนิดสามารถนำเข้าจากจีน ทั้งน้ำมันและของอื่นๆที่จำเป็น)

 

3...ต้องการยับยั้งการสร้างถนนยุทธศาสตร์ของจีน เพราะกลัวเสียเปรียบด้านทหาร ถ้าเกิดส่งครามกับจีนขึ้นในอนาคต เพราะอินเดียมีข้อพิพาทด้านพรมแดนกับจีนหลายแห่ง ปัญหาเหล่าล้วนเกิดจากสมัยอินเดียเป็นอนานิคมของอังกฤษ อังกฤษได้รุนรานและฮุบดินแดนจากจีนไปบางส่วน หลังอินเดียได้เอกราช อินเดียไม่ยอมคืนให้จีน จนเป็นปัญหากระทั่งบัดนี้

ผมคิดว่า จะอย่างไรด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม การอินเดียส่งทหารเข้าในเขตแดนจีน มันเป็นความเสี่ยงเกิดสงครามอย่างมาก ลองประเทศใดทำแบบนี้กับรัสเซียดูซิ  โดนรัสเซียขย้ำแต่วินาทีแรกแล้ว ......แต่เพราะเป็นจีน จึงได้ทนได้ขนาดนี้ (จีนคงกินหญ้าเยอะไปหน่อย)

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 06/07/2017 07:16:27


ความคิดเห็นที่ 6


ตามข่าว ก็เป็นข้อมูลว่า เขตแดนดังกล่าว ยังไม่มีการปักปัน เขตแดนกัน...

ดังนั้น จีนจะบอกว่าเป็น เขตดินแดนจีน ก็คงไม่ถูกต้องนัก...

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ภูฎาน กับ อินเดีย กับ จีน ก็ค่อนข้างชัดเจน ครับ...และ ภูฏาน ก็ชัดเจนว่า จะมีความสัมพันธ์ทางการฑูต เฉพาะ ประเทศ ที่มีประโยชน์ต่อ ภูฏาน เท่านั้น...

http://sameaf.mfa.go.th/th/country/south-asia/detail.php?ID=6#2

นโยบายต่างประเทศ

     -  ภูฏานมีเป้าหมายในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ เพื่อรักษาบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศและส่งเสริมการพัฒนาประเทศ จากเป้าหมายดังกล่าวภูฏานได้ดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ โดยยึดหลักนโยบาย Utilitarian Engagement โดยเลือกที่จะมีความสัมพันธ์กับเพียงบางประเทศที่ภูฏานเห็นว่ามีความสำคัญ และให้ประโยชน์สูงสุดแก่ชาวภูฏาน ทั้งนี้ จะเห็นได้จากการตั้งสถานทูตประจำในประเทศเหล่านี้ ได้แก่ อินเดีย บังกลาเทศ คูเวต เบลเยี่ยม และไทย และมีคณะทูตถาวรฯ ประจำองค์การสหประชาชาติที่นครเจนีวา และนครนิวยอร์ก ล่าสุดภูฏานเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่เมืองกัลกัตตาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง

     -  ความสัมพันธ์กับอินเดีย ในอดีตภูฏานให้ความสำคัญกับอินเดียสูงสุด นโยบายต่างประเทศของภูฏานตั้งอยู่บนพื้นฐานของสนธิสัญญาดาร์จีลิง (Darjeeling) หรือสนธิสัญญามิตรภาพอินเดีย-ภูฏาน ปี 2492 ซึ่งระบุว่า อินเดียจะไม่แทรกแซงกิจการภายในของภูฏาน แต่ภูฏานยินยอมที่จะได้รับการชี้นำจากอินเดียในเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ อินเดียพยายามผูกขาดภูฏานทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ดังนั้น ภูฏานจึงต้องการเพิ่มความสัมพันธ์ไปยังประเทศอื่น ๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพื่อลดอิทธิพลของอินเดียต่อภูฏานลง และเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ได้ทรงลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพอินเดีย-ภูฏานฉบับใหม่ ทำให้ภูฏานมีอิสระจากอินเดียมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ

     -  ความสัมพันธ์กับจีน ภูฏานได้ดำเนินความสัมพันธ์ในลักษณะระแวดระวังกับจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศมหาอำนาจขนาดใหญ่ที่มีพรมแดนติดกัน ทั้งนี้ ภูฏานได้ใช้นโยบายที่เรียกว่า Conflict Control and Preventive Diplomacy กับจีน เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างกัน จีนและภูฏานมี กลไกการหารือระดับกระทรวงต่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศเป็นประจำทุกปี

     -  ความสัมพันธ์กับเนปาล ปัญหาผู้อพยพภูฏานในเนปาลนับเป็นปัญหาที่สำคัญ โดยกลุ่มผู้อพยพซึ่งมีอยู่กว่า 100,000 คน อาศัยอยู่ตามชายแดนเนปาลและภูฏาน ในค่ายผู้อพยพจำนวน 7 แห่ง ทั้งสองประเทศได้เจรจากันในเดือนตุลาคม 2546 สามารถตกลงกันได้ในบางประเด็น คือ ผู้อพยพจำนวนกว่าร้อยละ 70 ในค่ายลี้ภัย สามารถเดินทางกลับภูฏานได้ แต่ผู้อพยพเหล่านี้อ้างว่าได้เดินทางออกจากภูฏานเป็นระยะเวลากว่า 10 ปีแล้ว เนื่องจากรัฐบาลของภูฏาน (ในขณะนั้น) ซึ่งประกอบด้วยชนเผ่า Drukpa ได้ขับไล่ชนกลุ่มน้อยชาว Lothsampa ออกจากประเทศ โดยอ้างว่าเป็นพวกเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

     -  ความสัมพันธ์พหุภาคี ภูฏานให้ความสำคัญกับองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยเห็นว่าการเข้าเป็นสมาชิก UN (เดือนกันยายน 2514) ทำให้ภูฏานมีความสัมพันธ์กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้โดยมิต้องมีการจัดตั้งสถานทูตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งยังสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ของประเทศต่าง ๆ โดยผ่านการช่วยเหลือจากนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศในเรื่องที่เป็นความต้องการของภูฏานได้ด้วย โดยเฉพาะในด้านของการพัฒนา

     -  ภูฏานยังเป็นสมาชิกองค์การไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด Non-Aligned Movement (NAM) เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนด้านความเป็นกลาง และเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ South Asian Association for Regional Cooperation (SAARC) และBay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC) และ Asia Cooperation Dialogue (ACD) เพื่อขยายบทบาทและความร่วมมือของภูฏานในทวีปเอเชียให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในกรอบความร่วมมือ BIMSTEC ภูฏานเข้าเป็นประเทศนำ (lead country) ในสาขาความร่วมมือด้านวัฒนธรรม 

 

ซึ่งคิดว่า ภูฎาน อาจจะกลัว ประเทศตัวเอง เป็น อาณาบริเวณของจีน แบบ ทะเลจีนใต้ แต่อยู่ บนบก ก็เป็นได้...

 

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9500000016512

" เอเอฟพี - สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งภูฏาน ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเชื่อมสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกในฐานะผู้นำประเทศ ด้วยการร่วมลงพระปรมาภิไธยสนธิสัญญาสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์ ปรับความสัมพันธ์กับอินเดีย ประเทศเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่
       
        เจ้าหน้าที่ของอินเดียระบุว่า สนธิสัญญามิตรภาพฉบับนี้ได้มีการปรับปรุงเนื้อหาใหม่ หลังจากที่ได้ใช้ร่วมกันมานานถึง 57 ปี โดยสนธิสัญญาฉบับนี้จะเปิดทางให้ภูฏานมีอิสระมากขึ้นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
       
       ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลนิวเดลีจะเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแก่ภูฏานมาโดยตลอด
       
       สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุกได้ทรงลงพระปรมาภิไธยสนธิสัญญาฉบับนี้ ร่วมกับประนาบ มุขเคอร์จี รัฐมนตรีต่างประเทศของอินเดียในกรุงนิวเดลีเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (8) หลังจากที่พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับนายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์
       
       กษัตริย์จิกมีตรัสว่า สนธิสัญญาฉบับใหม่นี้ สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพอันมั่นคงไม่มีเปลี่ยนแปลงระหว่างอินเดียและภูฏานอย่างแท้จริง รวมไปถึงความเป็นจริงด้านภูมิรัฐศาสตร์
       
       ตามรายงานของสำนักข่าวเพรส ทรัสต์ของอินเดีย พระองค์ตรัสต่อว่า "สนธิสัญญาฉบับนี้จะช่วยปูทางนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับประเทศภูฏานในปี 2008" ซึ่งอาจตีความได้ถึงความคืบหน้าในการก้าวสู่ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
       
       นอกจากนั้น ข้อตกลงนี้ยังเปิดโอกาสให้ภูฏานสามารถนำเข้าอุปกรณ์ทางการทหารซึ่งไม่มีอานุภาพร้ายแรงจากต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องได้รับการเห็นชอบจากอินเดียก่อน
       
       นาฟเตจ ซาร์นา โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศอินเดียกล่าวชื่นชมการลงนามสนธิสัญญามิตรภาพระหว่างอินเดีย-ภูฏานครั้งนี้ว่า ถือเป็น "ช่วงเวลาสำคัญครั้งประวัติศาสตร์"
       
       ซาร์นาเผยต่อว่า ข้อตกลงนี้ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการกระชับความสัมพันธ์และสร้างเสริมสัมพันธภาพในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
       
       เขายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า "สนธิสัญญานี้เป็นการผูกมัดทั้งสองประเทศในการประสานความร่วมมือกันในด้านต่างๆอย่างใกล้ชิด ซึ่งล้วนเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ของชาติ และยังเป็นคำสัญญาที่จะไม่ยินยอมปล่อยให้เกิดการกระทำใดๆ ในดินแดนของตน ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและผลประโยชน์ของแต่ละฝ่าย"
       
       การเสด็จพระราชดำเนินเยือนอินเดียเป็นเวลา 5 วันครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ก่อนหน้านี้ทั้งสองประเทศได้ตกลงกำหนดเขตแดนกันได้ในเดือนธันวาคมปีก่อน หลังจากที่เจรจากันมานานถึง 45 ปี
       
       ปัจจุบัน กษัตริย์จิกมีทรงมีพระชนมายุ 26 พรรษา และได้ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด และเพิ่งขึ้นครองราชย์ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลังจากที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก พระราชบิดาซึ่งมีพระชนมายุ 51 พรรษา ทรงสละราชสมบัติ ท่ามกลางความตกตะลึงของประชาชน 600,000 คนในประเทศ
       
       สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก เคยประกาศเอาไว้ในปี 2005 ถึงแผนการสละราชบัลลังก์และความมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนภูฏานให้กลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ภายในปี 2008 "

 

หรือ อาจจะเป็นแผนการต่างประเทศของ ภูฎาน เพื่อให้ จีน ตกลงปักปันเขตแดนให้เสร็จสิ้น เหมือนกับที่ ภูฎาน ทำกับ อินเดีย ไปแล้ว ก็ได้ครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/07/2017 08:52:39


ความคิดเห็นที่ 7


ตามข่าว ก็เป็นข้อมูลว่า เขตแดนดังกล่าว ยังไม่มีการปักปัน เขตแดนกัน...

ดังนั้น จีนจะบอกว่าเป็น เขตดินแดนจีน ก็คงไม่ถูกต้องนัก...

-----------------------------------

ปัญหาคือ มันเป็นเขตแดน จีน กับ ภูฏาน ...แล้วอินเดียเกี่ยวอะไรด้วยเล่า...?????

และ ทางจีนบอกว่า.... จีนพยายามทำข้อตกลงปันเขตแดนกับภูฎานหลายสิบปี แต่ถูกอินเดียแทรกแซงก่อกวนตลอด เพื่อมิให้ทางภูฎานทำข้อตกลงปันเขตแดนกับจีนเป็นผลสำเร็จ เพื่อผลประโยชน์่ของอินเดียเอง.

 

ผมอ่านในเว็บข่าวของจีน ชาวเว็บจีนต่างเรียกร้องถือโอกาสทำสงครามยึดคืนดินแดนทั้งหมดจากอินเดีย ที่จีนถูกอังกฤษยึดไปตั้งแต่สมัยโน้นนนนน

----------------------

ซึ่งคิดว่า ภูฎาน อาจจะกลัว ประเทศตัวเอง เป็น อาณาบริเวณของจีน แบบ ทะเลจีนใต้ แต่อยู่ บนบก ก็เป็นได้...

ผมว่านะ จีนไม่ได้คิดอะไรกับภูฎาน มากไปกว่าเป็นเพื่อนบ้านที่ดีหรอก ถ้าจีนคิดจะยึดภูฎาน จีนใช้เวลาแค่ไม่ถึงวันก็ยึดได้แล้ว

-------------------------------------

พวกที่มักอคติจีนตลอด โดยไม่ดูสาเหตุ และข้อเท็จจริง ...ถ้าจีนมีข้อพิพาทกับใคร จีนต้องผิดก่อนแน่นอน 

พวกที่คิดเช่นนี้ คงได้รับอิทธิจากสื่อตะวันตก เป่าหูล้างสมองนับสิบนับร้อยปี จนใครที่ไม่ใช่เพื่อนของประเทศตะวันตก กลายเป็นประเทศเลวร้ายไปหมดทุกๆด้าน  ทั้งๆที่ไม่ถึงร้อยปีมานี้ พวกประเทศตะวันตก ต่างแล่นเรือรบออกล่าเหยื่อ(อนานิคม)ทั่วโลก ฆ่าปล้นชิงทุกหนแห่งทุกทวีป ตอนนี้พวกตะวันตกมันกลายเป็นคนดี มีคุณธรรมสูงส่งกว่าคนอื่น คอยสอนคนอื่นให้ทำดี คอยตัดสินคนอื่นว่าใครดีใครชั่ว

พูดแล้วเพลีย...

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 06/07/2017 10:11:06


ความคิดเห็นที่ 8


อินเดียให้ความคุ้มครองแก่ภูฏานตามข้อตกลงร่วมมานานหลายสิบปีแล้ว

กองกำลังทหาร อากาศยาน ฮ. ในภารกิจต่างๆ ของภูฏาน ก้ใช้บริการกองทัพอินเดียทั้งนั้น

ดังนั้นจึงไม่แปลก ที่จีนต้องมาเคลียร์เรื่องเขตแดนกับอินเดียโดยตรง

จีนเองก้รู้ดี มีหรือที่ภูฏานจะเอาตัวเองไปปะทะกับจีนตรงๆ

ให้บังพี่ใหญ่ออกหน้าแบบที่ผ่านมานั่นแหล่ะ

ซึ่งยังมองไม่ออกว่าจะมีใครไปคนกลางไกล่เกลี่ยให้  เพราะต่างฝ่ายต่างใหญ่จนไม่ต้องฟังใครทั้งคู่

จะว่าไป ลองซัดกันอีกสักตั้ง อาจมีไรชัดเจนขึ้นก้ได้

จริงมั้ย ???

 

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 06/07/2017 10:47:18


ความคิดเห็นที่ 9


จะว่าไป ลองซัดกันอีกสักตั้ง อาจมีไรชัดเจนขึ้นก้ได้

จริงมั้ย ???

------------------------

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย ยิ่ง รมต กลาโหมของอินเดียบอก อินเดียในวันนี้ ไม่ใช่อินเดียปี 1962.....

-------------------

ปี1962....จีนทนไม่ไหวที่ถูกอินเดียก่อกวนตามแนวชายแดนนับครั้งไม่ถ้วน ยกทัพบุกอินเดียเพื่อสั่งสอน ใช้เวลาไม่กี่วันทะลวงไปเกือบถึงกรุงนิวเดลีเมืองหลวงของอินเดีย ทั้งที่ช่วงเวลานั้น สถานการณ์ของจีนแย่มาก ไหนเลยความยากจน ชาวบ้านถึงขนาดต้องกินรากไม้แทนข้าว ภายไหนประเทศก็วุ่นวายช่วงชิงอำนาจต่อสู้กันเอง แถมสหภาพโซเวียต+สหรัฐ+ประเทศตะวันตก ล้วนถือหางอินเดีย ต่างส่งอาวุธนานาชนิดให้อินเดียอย่างมากมาย .....แต่ อาวุธใหม่เอี่ยมเหล่านี้ถูกจีนยึดได้มากมายตั้งแต่ยังไม่ทันได้แกะหีบห่อ

ขณะที่ในเมืองหลวงอินเดียต่างโกลหล ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของเพื่อหนีออกนอกเมือง เพราะอีกไม่กี่กิโลเมตร ทัพจีนก็ถึงเมืองหลวงแล้ว ทันใดนั้น จีนทำสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิดมาก่อน คือ ประกาศยุติสงคราม ถอนทัพกลับประเทศ พร้อมส่งคืนอาวุธทั้งหมดที่ยึดได้ + เชลยศศึกนับพันคน คืนดินเดีย เฉ๊ยยยย

(จนป่านนี้ชาวจีนยังด่าผู้นำจีนที่ตัดสินใจยุติสงครามและถอยทัพว่า โง่บัดซับสิ้นดี...การประกาศยุติสงครามและถอนทัพ ไม่ได้ทำให้อินเดียรู้สึกขอบคุณ สิ่งที่ได้คือความเกลียดชังจากชาวอินเดีย และ ยังดื้อไม่ยอมคืนดินแดนส่วนของจีนให้แก่จีนจนบัดนี้ เขาว่าการที่ผู้นำจีนยุติสงครามและถอยทัพ เพื่อต้องการให้อินเดียทราบซึ้งและยอมเจรจรยุติข้อพิพาทดินแดน แต่ผลไม่ได้อย่างที่คาดหวัง)

 

คราวนี้ ก็อยากให้ อินเดีย กับ จีน ล่อกันอีกสักตั้ง ตัวต่อตัวไปเลย เพื่อเปิดโอกาสให้อินเดียล้างแค้น  ถ้าจีนชนะ ก็ขอให้อินเดียคืนพื้นที่ทั้งหมดคืนแก่จีนไป และ ถ้าจีนแพ้ ก็ขอให้จีนยอมรับพื้นที่ส่วนนั้นเป็นของอินเดีย ตลอดไป ....หันมาจับมือเป็นเพื่อนกัน จบ

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 06/07/2017 13:00:35


ความคิดเห็นที่ 10


แห่มม ประวัติศาสตร์หาอ่านกันง่ายๆ

ไม่จำเป็นต้องบรรยาย จีนก้ไม่ได้เก่งเวอร์อะไรขนาดนั้น

แล้วไปเอามาจากไหน บุกใกล้ถึงเมืองหลวง ???

จะให้ข้อมูลอะไร ก้ควรอยู่พื้นฐานความจริงด้วย

รบกัน ก้อยู่ในพื้นที่ Aksai Chin จีนชนะได้ลากเขตเพิ่มมา 16km

จีนบุกตอนไม่ทันตั้งตัว ระดมพลมา 8 หมื่น อินเดียมีอยู่ 12000

ตัวเลขกลมๆ อินเดียตาย 1300   บาดเจ็บ 1000 ถูกจับ 4000 

จีนตาย 700 บาดเจ็บ 1600 ถูกจับ 300

 

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 06/07/2017 13:40:57


ความคิดเห็นที่ 11


มีภาพแผนที่ประกอบไหมครับ เรื่องในข่าวครั้งนี้ เกิดขึ้นที่ไหนครับ

 

ตรงคำว่า Sikkim นั่นหรือครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 06/07/2017 14:01:42


ความคิดเห็นที่ 12


k..MIGGERS  ครับ

ที่เขียนมาอ่านจากไหนครับ เว็บคนอินเดียหรือเปล่า

จริงๆแล้ว ผมเคยเจอบางคน บอกว่า สงคราม ปี1962 จีน-อินเดีย ...จีนแพ้ยับด้วยซ้ำ

-----------------

คือ ข้อมูลฝ่ายอินเดีย และ ฝ่ายจีน บาดเจ็บและตายแต่ละฝ่าย ต่างกันมาก

แต่ดูจากรูปภาพต่างๆที่ฝ่ายจีนนำแสดง เห็นชัด จีนชนะขาด

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 06/07/2017 14:09:50


ความคิดเห็นที่ 13


น่าเบื่อนะ บอกขนาดนี้ ยังจะหว่าไปเอาข้อมูลเวปอินเดียมาอีก

ผมไม่ใช่ทั้งโปรจีน หรืออินเดีย

ไม่มีเหตุผลที่ต้องเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือบิดเบือนประวัติศาสตร์

ถ้าโปรจีนที่ผมพอรู้จัก เค้าคงไม่บอกแบบนี้นะ

เสียเวลาจริงๆ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 06/07/2017 14:51:03


ความคิดเห็นที่ 14


ในปี 59 ไทยได้ดุลอินเดีย เกือบ 9 หมื่นล้านบาท แต่เสียดุลการค้าจีน  6.5 แสนล้านบาทนะจ้ะนายจ้า

http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=TradeThCountryTrade


โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 06/07/2017 20:21:21


ความคิดเห็นที่ 15


สับสนอะไรกับสงครามจีน-เวียดนามรึเปล่าครับ......

โดยคุณ Phu2000 เมื่อวันที่ 06/07/2017 22:51:49


ความคิดเห็นที่ 16


เรื่องดุลการค้า แค่สถิติการค้าขายเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าใครดี ใครชั่ว

จีนได้เปรียบดุลการค้าไทย แสดงว่าไทยซื้อสินค้าจีนมากกว่าจีนซื้อสินค้าไทย

แล้วไทยมีอะไรขายให้จีนล่ะ ผลไม้ พืชผล ยาง ???? แล้วอะไรอีก...

จีนอยากซื้อเครื่องบินประเภทโบอิ้ง แอร์บัสไทยมีขายไหม 

จีนจะซื้อรถยนต์หรูคันละนับสิบล้านแบบพวกรถยุโรป ไทยมีขายไหม

(เกาหลี และ ญี่ปุ่น ได้เปรียบดุลการค้าจีนมากมาย เพราะสองประเทศนี้มีสินค้าที่จีนอยากได้)

ส่วนไทยซื้อสินค้าจีนมากมาย เสื้อผ้า ของเล่น ยันเรือรบ...ฉะนั้น ไทยย่อมซื้อจากจีนมากกว่า

ถ้าไทยไม่ซื้อจากจีนก็ได้ ไปซื้อจากประเทศอื่นแทน แต่....อาจเสียเงินมากกว่าซื้อจากจีนเป็นเท่าตัว ยิ่งทำให้เสียดุลการค้ามากกว่าอีก

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 06:40:57


ความคิดเห็นที่ 17


คิดๆแล้ว ก็ยังงงๆ ทำไมอินเดียกล้ายกทหารบุกเข้าไปในเขตแดนที่จีนไม่ได้มีข้อพิพาทก็อินเดียเลย 

ตรงนี้เป็นเขตแดนระหว่าง จีน-ภูฎาน ....และ  จีน-ภูฎาน ก็ไม่เคยได้รบหรือขัดแย้งกันเรื่องเขตแดนเลย (ต่างคนต่างอยู่ในที่ตั้งของตนนับร้อยปีมาแล้ว และ ไม่เคยตึงเครียด) เพียงแค่ยังไม่ได้ทำข้อตกลงปักปันเขตแดนก็เท่านั้น สาเหตุที่ยังทำไม่สำเร็จ ทั้งที่เจรจามาแล้ว20กว่ารอบ ก็เพราะภูฎาน ต้องฟังอินเดียตลอด อินเดียไม่ยอมภูฎานก็ทำไม่ได้ 

อินเดียไม่ยอมให้ จีน-ภูฎาน ญาติดีกัน เพราะกลัวอิทธิพลของตัวเองต่อภูฎานจะถูกลดทอนลง  ภูฎานก็กลัวอินเดีย เพราะมีตัวอย่างซิขิมถูกอินเดียฮุบมาแล้ว  ซ้ำสินค้าทุกชนิดที่จำเป็นสำหรับภูฎานต้องนำเข้าจากอินเดีย (เขตแดนฝั่งจีนเป็นเทือกเขา ไม่มีถนนหนหางเชื่อมกับภูฎาน)  ภูฎานเลยต้องจำยอมทำข้อสนธิสัญญาแบบเสียเปรียบกับอินเดีย  ภูฎานเป็นประเทศเอกราช แต่ทำอย่างต้องฟังอินเดีย ถูกอินเดียกดขี่ตลอด..เช่นเดียวกับเรื่องอินเดีย ยกทหรเข้าไปในเขตแดนจีน โดยอ้างเพื่อปกป้องภูฎาน(แปลกดี  จีน-ภูฎาน อยู่แบบนี้นับพันปี ทำไมเพิ่งมาปกป้องโดยที่ภูฎานไม่ได้เรียกร้อง) แต่ภูฎานกลับไม่รู้เรื่องอะไรเลย พูดไม่ออกสักคำ(คงไม่กล้าพูด)

(ไทย กัมพูชา ก็มีเขตแดนที่ยังไม่ปักปันเขต ต่างคนก็ต่างอยู่ แล้วอยู่ๆมาวันหนึ่ง ทหารอีกฝ่ายเข้าไปอีกฝั่งแล้วไม่ยอมกลับ จะเกิดอะไรขึ้น)

น่าสังเกตุ เหตุการณ์นี้เกิดหลังจาก ผู้นำอินเดียเยือนสหรัฐ และเป็นช่วงเวลาที่สหรัฐกำลังคิดจะทำอย่างไรดีกับเกาหลีเหนือ หรือว่าเป็นแผนสหรัฐ+อินเดีย ต้องการให้จีนเสียสมาธิ ถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดสหรัฐโจมตีเกาหลี อินเดียก็ยกทัพแหย่ กวนจีนจากทางตอนใต้....ทำให้จีนยากที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไป

ผมว่าเป็นไปได้นะ

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 06:59:36


ความคิดเห็นที่ 18


แล้วตกลงบุกถึงนิวเดลีหรือเปล่าครับไม่เห็นพูดถึงอีกเลย

โดยคุณ nick01 เมื่อวันที่ 07/07/2017 08:13:45


ความคิดเห็นที่ 19


ผมลองๆไปค้นเกี่ยวกับดินแดนตรงที่เคยเป็น ราชอาณาจักรสิขิม แล้วพบว่า สิขขิม เป็นรัฐในอารักขา (protectorate) ของอินเดีย ในปี 1950 และถูกผนวกเข้ารวมกับอินเดียในปี 1975 (ด้วยวิธีการที่ไม่ค่อยจะโปร่งใสนัก ตามความเห็นของนักวิชาการตะวันตก) แต่การผนวกรวมนี้ จีนเองก็ได้ให้การยอมรับ

ใน Wiki (ผมไม่สามารถหาข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือว่านี้มายืนยันได้ ต้องขออภัยด้วยครับ) กล่าวว่า

In 1975, the Sikkim monarchy held a referendum, in which the Sikkemese voted overwhelmingly in favour of joining India. At the time China protested and rejected it as illegal. The Sino-Indian Memorandum of 2003 was hailed as a de facto Chinese acceptance of the annexation.China published a map showing Sikkim as a part of India and the Foreign Ministry deleted it from the list of China's "border countries and regions".However, the Sikkim-China border's northernmost point, "The Finger", continues to be the subject of dispute and military activity.

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 07/07/2017 10:37:39


ความคิดเห็นที่ 20


ก่อนที่จะว่าคนอื่นเขา อคติ...ก็ดูตัวเองก่อนไหมล่ะครับ...อุตส่าห์ยกข้อมูลมาให้ ก็ไม่คิดจะอ่าน...คิดแต่ว่า ประเทศอื่น รุกราน จีน...ทั้ง ๆ ที่ ข้อมูลก็บอกว่า ยังไม่มีการปักปันดินแดน...

และความเห็นผม มันอคติ ตรงไหน...มัน ตรงกับ ความเห็นของ เจ้าของกระทู้ เลยนะเนี่ย...(ภาพที่ 1)

และ ทำไม ภูฎาน ถึงระแวงจีน...ก็ เพราะ จีน เอง รุกรานและยึดครอง ทิเบต ซึ่ง ทิเบต ก็มีการปกครองเป็นของตนเอง เช่นเดียวกับ ภูฎาน นั่นแหล่ะ...แต่ ภูฎาน ยังโชคดีหน่อย ที่ยังได้ยกตัวเองเป็น ประเทศราช ได้ก่อน ที่จีนจะ รุกราน เหมือน ทิเบต ...(ภาพที่ 2)

ซึ่งจุดที่เป็นข้อพิพาท การกระทู้ ก็เป็น บริเวณชายแดน อินเดีย จีน ภูฎาน...ซึ่ง อินเดีย ก็ทำตามสัญญาสันติภาพระหว่าง อินเดีย กับ ภูฎาน เมื่อปี 2550 นั่นแหล่ะ...

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/07/2017 15:07:11


ความคิดเห็นที่ 21


เออ... เห็นแล้ว .... พอถามถึงเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศสามฝ่าย สี่ฝ่ายถ้ารวมอังกฤษด้วย การยอมรับทางพฤตินัย นิตินัย ... กลับเลี่ยงตอบ ... กลับว่าคนอื่นอคติ .... ลองออกมานอกจีนบ้าง โลกมีอะไรมากกว่าจีนเยอะ ... อินเตอร์เน็ตเข้าถึงแล้วครับ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 07/07/2017 15:41:08


ความคิดเห็นที่ 22


ดู คห สองคนด้านบน อคติจีนชัดเจนเลย

ที่กล่าวหาว่าจีนรุกรานธิเบต.....

ขอถามหน่อย...

จีนรุกรานธิเบตแต่เมื่อไหร่ ปีอะไร (เท่าที่รู้ รัฐบาลใหม่จีนส่งทหารเข้าไปดูแลธิเบตอีกครั้งหลังว่างเว้นไปช่วงหนึ่ง ช่วงทำสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นและสงครามภายใน)

ธิเบตเคยเป็นประเทศแต่เมื่อไหร่ เคยทำข้อตกลงหรือสนธิสัญญากับประเทศใดบ้าง(ที่อ้างว่าธิเบตเป็นประเทศเอกราช แต่ปี 1912-1950 มีประเทศใดยอมรับและรับรองบ้าง จะอ้างเองไม่ได้(ตอนนี้ใต้หวันก็อ้างตัวเองเป็นประเทศ แต่ไม่มีใครรับรอง และ ยอมรับ)...ปี1950 รัฐบาลใหม่ของจีนแค่รับช่วงการปกครองธิเบตจากรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็เท่านั้นเอง จะมากล่าวหาว่าจีนรุกรานได้อย่างไร แค่ใช้ทหารไปปราบคนกลุ่มหนึ่งที่คิดกบฏ ก็เท่านั้น )

 

ธิเบติเคยมีประมุขหรือกษัตริย์ของตัวเองหรือยัง( ประมุขของธิเบตคือฮ่องเต้จีนตลอด)(ธิเบตมีแต่ผู้นำศาสนา ผู้นำศาสนามีเกือบทุกประเทศ) 

ในอดีตนับพันปีเคยมีประเทศใด องค์กรโ่ลกใดเคยรับรองว่าธิเบตเป็นประเทศเอกราชบ้าง

ซึ่งต่างจากประเทศซิขิม และ ประเทศริวกิว อย่างมาก ซึ่งสองประเทศนี้ มีรัฐบาล มีกษัตริย์ มีประเทศอื่นรับรองยาวนาน แต่ก็ถูกอินเดีย และ ญีปุ่นรุกราน ยึดผนวกเป็นของประเทศตัวเอง

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 17:47:25


ความคิดเห็นที่ 23


ออ เห็นแล้ว .... พอถามถึงเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศสามฝ่าย สี่ฝ่ายถ้ารวมอังกฤษด้วย การยอมรับทางพฤตินัย นิตินัย ... กลับเลี่ยงตอบ ... กลับว่าคนอื่นอคติ .... ลองออกมานอกจีนบ้าง โลกมีอะไรมากกว่าจีนเยอะ ... อินเตอร์เน็ตเข้าถึงแล้วครับ

 ************************************

ตกลงคำถามคืออะไรครับ อ่านยังงง

ใครไม่ทำตามกฏหมายระหว่างประเทศ ข้อใด อย่างไร ????

หรือว่า อินเดียส่งทหารเข้าไปในเขตแดนจีน เป็นการทำตามกฏหมายระหว่างประเทศ

 


 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 17:57:58


ความคิดเห็นที่ 24


จะว่าไปแล้ว ดูประวัติศาสตร์ยาวนับพันปีของจีน ประเทศนี้ไม่เคยยกทัพไปรุกราน ยึดประเทศอื่นเลย 

สงครามที่จีนเคยทำ ล้วนเกิดจากข้อพิพากดินแดนทั้งนั้น คือ ทุกครั้งที่จีนทำสงครามกับประเทศอื่น ล้วนทำกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน และเป็นเรื่องพิพาทดินแดนเกือบทั้งสิ้น

เช่น อินเดีย เวียตนาม โซเวียต เกาหลี ญีปุ่น ......จีนไม่เคยยกทัพไปรุกรานประเทศอื่นแบบดื้อๆหวังยึดประเทศของคนอื่นเป็นของตนเองแม้แต่ครั้งเดียว แบบที่ประเทศตะวันตกและญี่ปุ่นทำ

(สมัยมองโกล ทัพมองโกลที่บุกไปถึงยุโรป แต่มองโกลสมัยโน้นไม่เป็นประเทศจีน ประเทศจีนก็โดนมองโกลยึดเหมือนกันและถูกผนวกเป็นประเทศเดียวกันต่อมา)

และ ประเทศจีนเกิดขึ้นด้วยการผนวกเข้าด้วยกันของประเทศเล็กๆนับสิบๆ หรือนับร้อยประเทศ ใช้เวลานับพันปี โดยประกอบด้วย 56ชนเผ่า  แต่มีเพียง 3 ชนเผ่าเท่านั้นที่ได้ปกครองจีนอันกว้างใหญ่ คือ ชนเผ่าฮั่น มองโกง และ แมงจู (จีนสมัย2-3ร้อยปีที่แล้ว มีดินแดนกว้างใหญ่กว่าปัจจุบันหลายล้าน ตร กม)

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 19:50:22


ความคิดเห็นที่ 25


ขณะที่ในเมืองหลวงอินเดียต่างโกลหล ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของเพื่อหนีออกนอกเมือง เพราะอีกไม่กี่กิโลเมตร ทัพจีนก็ถึงเมืองหลวงแล้ว 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

แล้วตกลงบุกถึงไหนครับ  มีหลายๆคนถามไม่เห็นตอบเลย

โดยคุณ nick01 เมื่อวันที่ 07/07/2017 20:08:20


ความคิดเห็นที่ 26


ขณะที่ในเมืองหลวงอินเดียต่างโกลหล ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของเพื่อหนีออกนอกเมือง เพราะอีกไม่กี่กิโลเมตร ทัพจีนก็ถึงเมืองหลวงแล้ว 

--------------------------------------------------------------------------------------------

แล้วตกลงบุกถึงไหนครับ  มีหลายๆคนถามไม่เห็นตอบเลย

**************************************************

. คือผมก็เบื่อจริงๆ ทำไมไม่อ่านให้ดีๆล่ะครับ ทำไมต้องให้ผมเสียเวลากับสิ่งที่ผมบอกไปแล้ว ลองไปอ่านอีกสักครั้งดีไหม คำตอบก็เขียนอยู่ในนั้น แค่อ่านต่ออีก 1-2 บรรทัดเอง

ก๊อปมาให้อ่านอีกครั้งก็แล้วกัน 

------------------------

ขณะที่ในเมืองหลวงอินเดียต่างโกลหล ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของเพื่อหนีออกนอกเมือง เพราะอีกไม่กี่กิโลเมตร ทัพจีนก็ถึงเมืองหลวงแล้ว ทันใดนั้น จีนทำสิ่งที่ทุกคนไม่คาดคิดมาก่อน คือ ประกาศยุติสงคราม ถอนทัพกลับประเทศ พร้อมส่งคืนอาวุธทั้งหมดที่ยึดได้ + เชลยศศึกนับพันคน คืนดินเดีย เฉ๊ยยยย

-----------------------------

ช่วยเปิดแผนที่อินเดียดู เมืองหลวงอินเดีย อยู่ด้านเหนือเกือบสุดของประเทศ ห่างจากชายแดนจีนไม่มากนัก ปืนใหญ่ยิงไกล 4-50 กิโลเมตร ลองคิดดู จีนบุกอีกนิด ปืนใหญ่ก็ยิงเข้าเมืองหลวงอินเดียได้แล้ว

และ สิ่งที่ผมเล่ามา ก็จำมาจากอ่านเจอในเว็บ ที่นักข่าวฝรั่งไปทำข่าวในกรุงเดลี แล้วเขียนให้ชาวโลกได้ทราม (อ่านเจอนานแล้ว จำไม่ได้เว็บไหน)

--------------------

เว็บนี้เว็บจีน เล่าถึงเหตุการณ์เมืองหลวงของอินเดียในขณะนั้นด้วย ลองใช้กูเกิลแปลดู อาจอ่านรู้เรื่องนิดหน่อย

http://bbs.tiexue.net/post2_11402665_1.html

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 07/07/2017 21:18:37


ความคิดเห็นที่ 27


พื้นที่พิพาท(วงกลมสีแดง ไม่ใช่เนปาล) ใกล้กับเมืองหลวงมากเลยนะครับ 

แต่่มันก็ย้อนแย้งกับคำกล่าวของคุณเองไม่ใช่หรือครับ

1.จีนทนไม่ไหวที่ถูกอินเดียก่อกวนตามแนวชายแดนนับครั้งไม่ถ้วน ยกทัพบุกอินเดียเพื่อสั่งสอน ใช้เวลาไม่กี่วันทะลวงไปเกือบถึงกรุงนิวเดลี

2.ขณะที่ในเมืองหลวงอินเดียต่างโกลหล ชาวบ้านต่างเก็บข้าวของเพื่อหนีออกนอกเมือง เพราะอีกไม่กี่กิโลเมตร ทัพจีนก็ถึงเมืองหลวงแล้ว

 

เด็กๆอ่านก็ยังเข้าใจความหมายเลยครับว่าคืออะไร  แต่คุณมาย้อนแย้งกันเอง  คำว่ายกทัพบุกของคุณบุกตรงพื้นที่ปะทะไม่ใช่หรือครับ  ไหนกลับมาเป็นอีกที่แล้วจู่ๆมาบอกว่า เป็นชายแดนอีกด้านหนึ่ง  ผมอ่านหลายๆรอบแล้วครับเลยถามครับ


โดยคุณ nick01 เมื่อวันที่ 07/07/2017 21:58:54


ความคิดเห็นที่ 28


อ่านแล้วแบบ..... ถ้าเอาตีนก่ายหน้าผากถึง ผมคงทำไปหลายรอบแล้วครับ ฮา

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 07/07/2017 23:25:00


ความคิดเห็นที่ 29


กฎหมายระหว่างประเทศเรื่องข้อตกลงทีมี ไปหามาดูหรือยังครับ ว่าเขตแดนของใคร ใครเป็นคนยอมรับ หรือต้องอธิบายว่าทำไมถึงเรียกเขตแดนทับซ้อน แล้วที่อ้างว่าคือพื้นที่ของจีน ใครเป็นคนยอมรับ .... หรือยอมรับว่าจีนรุกรานอินเดีย รุกรานภูฏาน ... ใครรุกรานใคร
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 07/07/2017 23:39:02


ความคิดเห็นที่ 30


ปัดโธ่...คุณ nick01 ครับ

ผมพูดถึงสงคราม จีน-อินเดีย ปี1962 โน้นนน ครับ

พรมแดนจีน กับ อินเดีย ยาวนับพัน กม และ มีหลายช่วงครับ

ช่วงสงคราม 1962 จีนบุกเข้ามาทีเดียวหลายจุดครับ ทั้งพรมแดนทางใต้(ที่ใกล้กับภูฎาน) กลาง (ที่ใกล้กับกรุงนิวเดลี) และ เหนือ ครับ

-------------------

ส่วนคนที่ถามเรื่องกฏหมายสากลอะไร ผมไม่ถนัดครับ ตอบไม่เป็น 

ผมรู้แต่ว่า กฏหมายโ่ลก แค่มหาอำนาจ เอามาใช้กับประเทศเล็กๆให้ทำตามครับ ส่วนมหาอำนาจโลก ไม่ต้องครับ ทำยังไงก็ได้ไม่ผิดครับ.....เช่น ห้ามเกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธ  แต่อนุญาติให้สหรัฐและพวกพ้องทำได้ครับ

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 08/07/2017 07:47:10


ความคิดเห็นที่ 31


"ผมรู้แต่ว่า กฏหมายโ่ลก" 

ครับ....

ตอนแรกจะตอบยาวกว่านี้แล้ว แต่ดูๆ คิดๆ ดูแล้ว อย่าเลย

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 08/07/2017 08:04:46


ความคิดเห็นที่ 32


ตอนแรกผมเข้าใจว่า ทหารอินเดีย ข้ามพรมแดนจากภูฎาน

แต่จริงๅ ทหารอินเดียข้ามพรมแดนจากฝั่งอินเดีย ที่ปักปันเขตกับจีนเรียบร้อยแล้ว(ทำตั้งแต่ปี 1890 กับประเทศซิขิม) โดยทหารอินเดียอ้าง เข้ามาปกป้องภูฏาน อ้างเป็นดินแดนของภูฎาน (ทั้งที่จีนกับภูฎานไม่ได้ตึงเครียด ไม่มีปัญหาอะไรเลย ต่างคนต่างอยู่ในเขตควบคุมนับร้อยปีมาแล้ว)

สังเกตุ เส้นสีแดง เป็นเส้นสันปันน้ำ เป็นเขตแดน ระหว่างจีน-อินเดีย  ทหารอินเดียข้ามเข้ามาฝั่งจีน พร้อมเครื่องจักรกล โดยมีทหารจีนเข้าเจรจา

 

 อธิบายภาพ....ซ้ายมืออินเดีย ขวามือจีน ภูฎานอยู่ด้านล่าง  ลูกศรสีน้ำเงินคือจุดที่ทหารอินเดียข้ามไปในเขตแดนจีน

พิกัดแผนที่ในกูเกิล 27.286162, 88.911714

คลิปเหตุการณ์ในขณะนั้น https://www.youtube.com/watch?v=1i_JfBO5Xos

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 08/07/2017 09:08:49


ความคิดเห็นที่ 33


เข้าใจครับ  แต่เขียนแบบนี้บ่งบอกอยู่แล้วนี่ครับว่าจตนาสื่อถึงอะไร

 

แต่เจอกฏหมายโลกคงจะเงียบๆดีกว่าครับ  ไม่อยากจะพูด  เพราะมันยาวดีไม่ดีพายเรือในอ่างครับ

โดยคุณ nick01 เมื่อวันที่ 08/07/2017 09:18:17


ความคิดเห็นที่ 34


"ผมรู้แต่กฎหมายโลก" .... เหมาะสมแล้วที่มาสายนี้ จินตนาการสำคัญกว่าความรู้จริงๆ ฝังเข้า DNA กันเลยทีเดียว,.... (ทำไมถึงมีแต่พวกเพ้อๆฟุ้งๆฟะเนียะ ทั้งในเว็บนั้นและโปรทางนี้)
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 08/07/2017 09:59:21


ความคิดเห็นที่ 35


evill 

ถ้าคิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น 

ลองโชว์ให้ชาวเว็บดูหน่อยซิ

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 08/07/2017 10:13:51


ความคิดเห็นที่ 36


ถึงได้ถามไงว่ามีไหม ถ้าไม่มี อย่าเพิ่งยกหางตัวเองว่าตัวเองถูก เพราะผมหาไม่มี

แม้กระทั่งขอตกลงระหว่างสิขิมกับจีนเองยังไม่มี อย่าเพิงจินตนาการว่าตนเองถูก

ผมเองยังตอบไม่ได้เลยว่า ตรงนั้นพื้นที่ของใคร ถึงได้เรียกว่า เขตแดนทับซ้อน

 

แล้วสรุป มีไหมข้อตกลงระหว่างประเทศ ถ้ามีเอามาโชว์ ไม่เอาเว็บเพ้อเจ้อนะ ผมรู้ว่าท่านมีผู้ช่วย ไปหามา

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 08/07/2017 13:24:54


ความคิดเห็นที่ 37


Nathu La and Cho La clashes ปี 1967 จีนก็แพ้นะครับ ทำตัวกร่างมาก ก็อยากเห็นเหมือนกันว่าจีนจะกล้าบุกเหมือนที่โปรทั้งหลายอวยหรือเปล่า

โดยคุณ premsk127 เมื่อวันที่ 08/07/2017 14:59:03


ความคิดเห็นที่ 38


ข้อตกลง(สนธิสัญญา) จีนทำกับ ซิขิม+อังกฤษ ตั้งแต่ปี 1890 (ตั้งแต่ซิขิมยังไม่ถูกอินเดียกลืนกิน) 

และ ในรัฐบาลคอมมิวนิสจีน ได้ทบทวนข้อตกลง สนธิสัญญาฉบับนี้กับทางอินเดีย ย้ำถึงผลของสนธิสัญญาดังกล่าว ตั้งแต่ก่อนที่ทางการจีนจะยอมรับซิชิมเป็นของอินเดีย ทางอินเดียเห็นด้วยเพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยน (เพราะอินเดียไปฮุบประเทศอื่นมาเป็นของตนเอง อินเดียคิดว่าคุ้มมาก)

ตอนนั้นจีนไม่ยอมรับซิขิมเป็นของอินเดีย ทั้งๆที่กษัริย์ซิขิมก่อนหนีลี้ภัยสหรัฐ ประกาศซิขิมรวมกับจีน(คงหวังจะให้จีนช่วยต้านอินเดีย)  แต่ช่วงนั้นจีนมีปัญหาภายในและภายนอกประเทศมาก ไม่ได้ใส่ใจในเรื่องนี้มากนัก เลยปล่อยให้อินเดียฮุบไปอย่างง่ายดาย(เรื่องนี้ ผมอ่านจากเว็บจีน จริงไม่จริงผมไม่รู้)

ทุกวันนี้ ทางการจีนย้ำถึงสนธิสัญญาข้อตกลงนี้ คือพรมแดนจีนกับอินเดียตรงนี้ ได้ทำปักปันเขตเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี1890 และไม่เคยมีข้อพิพาทตั้งแต่นั้นมา 100กว่าปีแล้ว.......ซึ่งตอนนี้อินเดียรู้ดี เสียเปรียบความชอบธรรม จึงเลี่ยงที่จะพูดถึงสนธิสัญญานี้ แต่กลับเอาภูฎานมาอ้าง ว่าเข้าไปเพื่อปกป้องภูฎาน ซึ่งภูฎานไม่รู้เรื่องอะไรเลย ไม่ได้ขัดแย้งหรือตึงเครียดกับจีนด้วย (อินเดียไม่ได้ใช้ข้ออ้างเรื่องปัญหาพิพาทพรมแดนกับจีนในจุดนี้ แต่เอาภูฎานมาอ้างแทน )

ส่วนจะให้ผมเอาสนธิสัญญานี้มาโชว์ ผมคงจนปัญญา เพราะผมไม่ใช่รัฐบาลจีน อังกฤษ หรือ ซิขิม....ผมไม่มีเก็บไว้ในบ้าน

(ถ้าสิ่งที่จีนพูดไม่จริง ป่านนี้ทางอังกฤษและอินเดีย ต้องออกมาโต้เรื่องนี้แล้ว)

--------------------

ผมย้ำว่า คุญ evill  อคติกับจีนมากเกินไปแล้ว เห็นแย้งข้างๆคูๆ  พยายามหาเหตุลดทอนความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมฝ่ายจีนตลอด

ส่วนผม ขยันเข้ามาตอบ เพราะกระทู้นี้ผมเป็นคนตั้ง ผมต้องแสดงว่าสิ่งที่เชื่อ และ เขียน ไม่ได้ตอแหล ไม่ได้นั่งเทียน

 

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 08/07/2017 15:05:52


ความคิดเห็นที่ 39


ในฐานะคนที่เรียนประวัติศาสตร์เวียตนาม และ เกาหลีมา ถ้าบอกว่าจีนไม่เคยรุกรานเพื่อยึดเลยนี่ ผมว่าเราอาจอยู่ในมิติคู่ขนานกันนะครับ...

โดยคุณ galen เมื่อวันที่ 08/07/2017 17:50:42


ความคิดเห็นที่ 40


จากข่าวนี้  ภูฎานเป็นฝ่ายโวย จีน เรื่องทำถนนเขต ต๊อกลัม ......

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9600000066279

โดยคุณ tng เมื่อวันที่ 08/07/2017 21:42:55


ความคิดเห็นที่ 41


ผมอคติ? หรือท่านแค่หลงตัวเองในจีน จนมองข้ามความจริงไป

คนที่แถข้างคูน่าจะเป็นท่านซะมากกว่า

 

สรุปคือไม่มีหลัักฐานยืนยันจากบุคคลที่สาม ที่ไม่ใช่ทั้งอินเดีย ไม่ใช่จีน ใช่ไหม

ถ้าเช่นนั้น ที่กล่าวมาว่า จีนถูกรุกรานจากอินเดีย ก็เป็นเท็จ และยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า ใครรุกรานใคร ...

สรุปเป็นเช่นนี้ จะยอมรับหรือไม่

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 09/07/2017 03:22:36


ความคิดเห็นที่ 42


ถึงได้ถามไงว่ามีไหม ถ้าไม่มี อย่าเพิ่งยกหางตัวเองว่าตัวเองถูก เพราะผมหาไม่มี

แม้กระทั่งขอตกลงระหว่างสิขิมกับจีนเองยังไม่มี อย่าเพิงจินตนาการว่าตนเองถูก

-*------------------------------------------------

ยังจะแถไม่ยอมเลิกลาหัวชนฝาอีก ก็บอกแล้วว่าจีนมี มี มี....แต่เองก็ยังพูดไม่มี ไม่มี

จีนก็ยกหลักฐานมาพูดคือ ข้อตกลงปักปันเขตปี คศ1890 กับอังกฤษ ซิขิม......ยังจะแถจนหัวเน่าอีก

http://www.abc.net.au/news/2017-07-07/china-says-india-violating-1890-territory-agreement/8685524

พูดแบบเข้าใจง่าย แบบชาวบ้านๆ

ทำไมอินเดียส่งทหารเข้าในเขตควบคุมของจีนนับร้อยปีในตอนนี้ ถ้าเป็นของอินเดียทำไมไม่ทำเมื่อ 10ปี 50ปี หรือ100ปีที่แล้ว

และ ถ้าอ้างว่าเป็นเขตข้อพิพาท แล้วสามารถส่งทหารเข้าไปได้ในอีกฝั่งที่เขาอยู่มานับร้อยปี แล้วถ้าจีนทำแบบเดียวกันนี้โดยใช้เหตุผลแบบเดียวกัน ให้ทหารบุกยึดพื้นที่ซิขิม ลึกเข้าไปในอินเดีย และ พื้นที่อื่นๆด้วยทั้งหมดที่ยังไม่มีการปักปันเขตแดน(หรือมี แต่จีนแถอ้างว่ามี เพราะต้องการเลียนแบบอินเดีย) จะได้หรือไม่ จะผิดหรือไม่ และ คุณยังจะพูดว่า จีนบุกเข้าไปในเขตพื้นที่ควบคุมของอินเดียได้ เพราะจีนอ้างยังไม่ปักปันเขตแดน

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 09/07/2017 08:18:01


ความคิดเห็นที่ 43


มา จัดให้แบบกลางๆแฟร์ๆ

ข้อแรกเลยเอาตามลิงค์แรก (bbc) ของจขกท.จีนเข้าไปสร้างถนนในที่ทับซ้อนอันนี้ผิดเต็มประตู ไม่รู้จขกท.อ่านที่ตัวเองส่งมาหรือเปล่าหรืออ่านเฉพาะที่เข้าข้างฝั่งตัวเอง เพราะในข่าวบอกว่าภูฏานไม่โอเคบอกว่าจีนละเมิดข้อตกลงอย่างร้ายรแงแล้วขอให้จีนหยุดสร้างถนน

ข้อสองอินเดียเข้าไปได้ไง คือในทางพฤตินัยแล้วอินเดียเป็นพี่ใหญ่คุ้มกะลาหัวให้ภูฏาน กองทัพบกได้รับการฝึกได้รับการสนับสนุนอาวุธจากอินเดีย นายทหารก็จบจากอินเดีย กองทัพอากาศอินเดียก็ทำหน้าที่ให้เพราะภูฏานไม่มีกองทัพอากาศ ซึ่งที่ผ่านมาภูฏานก็แฮปปี้กับพันธมิตรนี้เพราะอินเดียสายเปย์ภูฏานจะได้ประโยชน์ 

ทีนี้ก็อยู่ที่ว่าภูฏานพอใจให้อินเดียรับหน้าแบบนี้หรือไม่ ถ้าพอใจหรือเป็นคนบอกลูกพี่ๆเปิดเลย อินเดียก็ถือว่ามีความชอบธรรม ถ้าภูฏานอยากคุยกับจีนเองแต่อินเดียไม่สนใจ อย่างนี้อินเดียก็คือผิด ประเด็นนี้เราไม่รู้ว่าทางการภูฏานว่ายังไง 

โดยที่ราบสูง นี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ถ้าจีนได้ไปจะเป็นอันตรายต่ออินเดีย ซึ่งจีนก็พยายามเจรจากับภูฏานเพื่อแลกกับพื้นที่ทับซ้อนอื่นที่ใหญ่กว่าและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของภูฏาน หลังๆมานี้จีนก็พยายามให้ภูฏานตีตัวห่างจากอินเดียโดยยกวาทกรรม"เป็นเมืองขึ้นอินเดียหรา"มาใช้ 

ก็ต้องรอดูต่อไปว่าภูฏานจะตีตัวออกห่างจากอินเดียมาเป็นเมืองขึ้น เอ้ย พันธมิตรจีนหรือไม่ ก็ลองๆไปเซอร์เวย์แถวซินเจียง ทิเบต อะไรแบบนี้ดูว่าเขามีความสุขสบายเสรีภาพทุกตารางนิ้วหรือเปล่า เห็นว่าฮ่องกงก็อยากเข้าร่วมระบบการปกครองใจจะขาดออกมาแสดงพลังกันเต็มถนนเลย ฮา

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 09/07/2017 09:58:21


ความคิดเห็นที่ 44


จากข่าวเนียะนะ ... ไม่อ่านหน่อยหรือว่าใครเป็นคนกล่าว คนให้ข่าว

อ่านหน่อยเหอะ ... เอามาเรียกว่าหลักฐานยังไม่ได้เลย ... มีคนเขาหามาให้ก็กรองกันหน่อย

... เพ้อจริงๆ ...

 

แล้วอีกอย่าง ตอนนั้นอังกฤษทำข้อตกลงกับราชวงค์ชิง ซึ่งไม่ใช่จีนปัจจุบัน ข้อตกลงนั้นยังมีผลอยู่หรือไม่

และยังมีทิเบตที่ครอบครองพื้นที่นั้น ทำให้ขาดช่วงความต่อเนื่องของข้อตกลง ... มันยังมีผล หรือ สิ้นสุดลงไปแล้ว

หากพิจารณาความต่อเนื่องของข้อตกลงแล้ว ไม่แปลกใจว่าทำไม่จีนถึงไม่นำเข้า ICJ

 

ทำตัวเป็นอาซิ่ม ได้แต่พร่ำเพ้อถึงอดีตที่มันจบไปแล้วอยู่ทุกวัน ...

 

 

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 10/07/2017 00:05:41


ความคิดเห็นที่ 45


แล้วอีกอย่าง ตอนนั้นอังกฤษทำข้อตกลงกับราชวงค์ชิง ซึ่งไม่ใช่จีนปัจจุบัน ข้อตกลงนั้นยังมีผลอยู่หรือไม่

--------------------------------------

เจอคนนี้แถ ไม่เข้ามาตอบไม่ได้เลยนะ

ถ้าสิ่งที่ประเทศใดทำข้อตกลงกับราชวงค์ชิง ไม่ถือมีผลกับจีนในปัจจุบัน เช่น ถ้าอินเดีย(หรือประเทศใด)คิดแบบนี้ ควรแจ้งให้จีนรู้

จีนจะได้ยกทัพข้ามแดนบุกเข้ายึดประเทศนั้นๆไปเลย เพราะถือว่า จีนไม่เคยมีข้อตกลงเขตแดนกับประเทศนี้ 

 

ในกรณี ข้อตกลงปักปันเขต ขีน -ซิขิม .....ถ้าอินเดียไม่ยอมรับ จีนก็แค่ส่งทัพยึดซิขิมไปเลย โดยใช้เหตุผลของอินเดียคือ...ยังไม่ปักปันเขต ดินแดนเหล่านี้ยังไม่มีข้อยุติว่าใครเป็นเจ้าของ....ผมเชื่อว่า เมื่อนั้น อินเดียจะรีบยกข้อสันธิสัญญา จีน-ซิขิมมาอ้าง และ เอามาฟ้องชาวโลก แล้วขอให้จีนถอยออกไป

-----------------------------------------

เรื่องมีชาวฮ่องกงบางคน บางกลุ่มออกมาเรียกร้อง ปชต

ผมมองว่า ฮ่องกลปัจจุบัน มี ปชต มากกว่าสมัยเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเป็นร้อยเท่าตัว สมัยโน้น ไม่มีการเลือกตั้ง หัวหน้าราชการล้วนเป็นคนอังกฤษผมสีทอง...

ทุกประเทศก็จะมีคนกลุ่มหนี่ง มีใจเนรคุณชาติ ใฝ่เป็นทาสของฝรั่ง 

กรณีใต้หวัน แรกๆที่ก๊กหมิ่นตั๋งหนีจากจีนแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่นี่ พูดทุกวันจะตีโต้กลับเพื่อยึดการปกครองแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง แต่ตอนนี้ผ่านไป 70  ปี คนรุ่นปู่รุ่นพ่อตายเกือบหมด คนรุ่นหลังก็ถูกล้างสมอง(เช่น ตำราเรียนประวัติศาสตร์ เนื้อหาจีนถูกตัดเหลือแค่ 2-3 บรรทัด เมื่อก่อนต้องเรียนเป็น10เล่น) เหลือความรักชาติน้อยลง จึงไม่แปลก เสียงต้องการแบ่งแยกออกจากจีนมากขึ้นๆ แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับจีนจะยอมไหม   (เมื่อใดที่จีนยังแข็งแกร่ง ใต้หวันหมดสิทธิแยกตัว)

---------------------------------------

จีนดินแดนใหญ่  คนเยอะ เศรษฐกิจดี เทคโนโลยี่ทุกด้านก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

พวกประเทศตะวันตก เฉพาะสหรัฐและญี่ปุ่น ชักนอนไม่หลับ

กลัวจะเอาเปรียบชาวโลกได้น้อยลงเมื่อจีนมีบทบาทมากขึ้น กลัวจีนจะเอาคืนเพราะก่อนหน้ามีเคยทำกับจีนมากมาย(เช่น ญี่ปุ่น)

สหรัฐกลัวจะสูญเสียความเป็นเจ้าโลก เลยต้องสรรหาทุกวิถีทาง ลดทอน ตัดกำลัง ยับยั้งจีนในทุกๆมิติ 

เช่น...

สร้างฐานทัพ วางกำลังล้อมจีน ตั้งแต่เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เกาะกวม ฟิลิปิน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ

ปิดกั้นด้านโนโลยี่(แต่การปิดกั้นนี่หละ ทำให้จีนสร้างเอง พัฒนาเอง ดียิ่งกว่าซื้อเสียอีก)....ทำข้อตกลงเอาเปรียบด้านการค้า......ช่วยเหลือทุกประเทศที่ข้อพิพาทกับจีน....ช่วยเหลือชาวจีนทุกคนที่มีความคิดต่างจากรัฐบาลจีน

ผมว่าโลกใบนี้ ถ้าไม่มีรัสเซีย และ จีน คอยถ่วงดุลสหรัฐ...............บรรดาพันธมิตรของสหรัฐก็จะกลายเป็นหมาหัวเน่า ทาสรับใช้ชนอเมกันเท่านั้น เพระไม่มีความจำเป็นที่สหรัฐต้องเอาอกเอาใจอีกต่อไป .........ฉะนั้น โลกนี้มีจีน และ รัสเซียคอยถ่วงดุลสหรัฐ เป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 10/07/2017 09:05:26


ความคิดเห็นที่ 46


แล้วทำไมไม่บุกอินเดียละ โอกาสก็มีนิ โง่เองนะ .... บุกทิเบตยังบุกได้ แค่อินเดียเอง ... มัวแต่มาแถ มาเพ้อเจ้อ ถึงอดีต ... ถ้าคิดว่าตนเองถูก หลักฐานถูก ก็เอาเข้า ICJ รับรองชนะแน่ๆ ... แล้วทำไมมานั่งเพ้อเจ้อฟูมฟายแบบไม่มีประโยชน์เหล่านี้ละ... ยังเพ้อเจ้อไม่เลิกนะครับ ... มาเลย์กับสิงคโปร์ แค่กองหินเล็กๆ ยังเอาเข้า ICJ เลยนะ...
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 10/07/2017 11:50:07


ความคิดเห็นที่ 47


แล้ว ประเทศไทยที่มีข้อพิพาทดินแดนกับลาว เขมร  ทำไมไทย(หรือเขมร หรือ ลาว)คิดว่าตัวถูก ทำไมไม่เอาเข้า  ICJ  ล่ะ

และ ข้อพิพาทดินแดนที่อินเดียกับจีน ถ้าอินเดียคิดว่าตัวเองถูก ทำไมอินเดียไม่เอาเข้า  ICJ  วะ

และ ทำไมประเทศทั่วโลกอีกนับสิบๆประเทศที่่มีข้อพิพาทกัน ไม่เอาเข้า  ICJ 

และ ที่บอกว่า เมื่อจีนคิดว่าตัวเองถูกแล้ว ทำไมไม่บุกล่ะ ............ก็จีนกินหญ้าเยอะไปไง  (และ ถ้าวันใด ถ้าจีนบุกอินเดียอีกครั้ง เองก็อย่ามาโวยก็แล้วกัน)

(ถ้าเปรียบมนุษย์เป็นสัตว์ จีนก็พวกสัตว์กินหญ้า ส่วนยุ่น สหรัฐ ก็พวกสัตว์กินเนื้อ สัตว์กินเนื้อจะดุร้าย ชอบทำร้ายสัตว์อื่นๆ)

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 10/07/2017 12:19:50


ความคิดเห็นที่ 48


ลากไทยมาเฉย เกี่ยวไรด้วย เหมือนเถียงอยู่กับเด็กเลย โปรจีนเป็นแบบนี้หมดทุกคนเลยมั้ง ทั้งในนี้ทั้ง pantip

โดยคุณ premsk127 เมื่อวันที่ 10/07/2017 16:48:28


ความคิดเห็นที่ 49


ไม่ได้ลากไทยเข้ามาเกี่ยว แค่เปรียบเทียบให้เห็น เพื่อให้เห็นภาพชัด

--------------------------

เพิ่งรู้นะว่า www.china.com มีภาษาไทยด้วย 

http://thai.china.com/

 

ข่าว จีน-อินเดียก็มี

https://www.google.co.th/search?sitesearch=thai.china.com&q=%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99+%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2&gws_rd=cr&ei=uG1jWZ4Cxfm-BO7BjagP

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 10/07/2017 19:11:14


ความคิดเห็นที่ 50


http://thai.china.com/news/china/1040/20170706/1013264.html

จีนระบุ การที่ทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของประเทศอื่นขัดต่อกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อินเดียริเริ่ม

2017-07-06 14:44:09 CRI 

ต่อกรณีที่ทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในแดนจีนโดยไม่ถูกกฎหมายนั้น นายเกิ่ง ส่วง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมนี้ว่า การกระทำของอินเดียดังกล่าวฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อินเดียริเริ่ม ควรถอนทหารทั้งหมดที่รุกล้ำเข้ามาในแดนจีนออกจากจีนทันที เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทวีความรุนแรง

ตั้งแต่เกิดเหตุฯ จีนได้แสดงจุดยืนที่แข็งกร้าวหลายครั้งแล้ว ความจริง สนธิสัญญาทิเบต-อินเดียของการประชุมจีน-อังกฤษเมื่อปี 1890 ได้กำหนดชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสักขิมแล้ว หลังจากอินเดียเป็นเอกราช รัฐบาลอินเดียได้ยืนยันหลายครั้งต่อชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสิกขิมตามสนธิสัญญาฯดังกล่าว

-------------------------------------

กษัตริย์ และ ราชินี แห่งประเทศซิขิม ปี คศ1965

-----------------------------------------------------------------------

เส้นแดงเป็นเขตแดน ด้านซ้ายคืออินเดีย ขวาคือจีน จุดสีน้ำเงินคือทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนจีน และ เริ่งสร้างเต็น และ บังเกอร์

อนึ่ง อินเดียวางกำลังทหาร 5.5 หมื่นในซิขิม และการที่อินเดียกล้าแหย่จีนแบบนี้ คงเตรียมพร้อมแล้ว

ส่วนฝั่งจีนเป็นเทือกเขา เขตแดนจุดนี้ไม่เคยมีข้อพิพาทกับอินเดีย  จึงมีกำลังพลเดิมๆไม่มากนัก

ถ้าจะให้จีนเตรียมพร้อม คงต้องใช้เวลา เพราะเป็นเทือกเขา..........

ผมเดาว่า ถ้าจีนจะเปิดศึกกับอินเดีย คงไม่ใช่จุดนี้จุดเดียว เพราะจีนเสียเปรียบด้านภูมิศาสตร์อย่างมากในจุดนี้ การลำเลียงส่งกำลังและอื่นๆทุกอย่างลำบากมาก

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 11/07/2017 09:24:22


ความคิดเห็นที่ 51


ผมว่าเรื่องนี้ง๊องแง๊งไงก็ไม่รู้ครับ

ผมว่าหากจะสนทนากันก็ควรนำหลักฐานมาโต้แย้งกันแบบที่ผู้รู้พึงกระทำกัน คุณโปร-จีน เขาจะมีความเห็นเช่นไร ก็เป็นเสรีภาพที่เขาจะมีความเห็นเช่นนั้นได้ ส่วนท่านอื่นๆ หากไม่เห็นด้วย ก็สามารถโต้แย้งได้ เพราะเป็นเสรีภาพเช่นกัน แต่ถ้าจะให้ดีให้เป็นการโต้แย้งอย่างมีวิชาการ ผู้ค้านก็ควรไปนำหลักฐานที่สนับสนุนความเชื่อหรือความเห็นของตนมาแสดงบ้าง จึงจะเหมาะสม และเป็นประโยชน์กับผู้อ่านโดยรวมนะครับ

สำหรับเรื่องนี้ ผมสนใจในประเด็นที่ว่า เหตุเกิดขึ้นตรงไหน และสภาพภูมิประเทศบริเวณนั้นเป็นอย่างไร เพราะเรื่องนี้มีความคล้อยคลึงกับเหตุการณ์ตรงเขาพระวิหารของเราอยู่ไม่น้อย ผมสนใจว่า การจัดการข้อพิพาทบริเวณนั้น เขาจะทำกันอย่างไร รวมทั้ง มีความห่วงใยนิดๆไปยังภูฏาน

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 11/07/2017 09:45:42


ความคิดเห็นที่ 52


เห็นด้วยครับ ... หากลองกลับไปอ่านที่ผมถามข้างบนไว้ ผมถามแต่ในเรื่องเชิงหลักฐานและกฎหมายเพื่อพิจารณาทั้งนั้น ... แต่คำตอบสะเปะสะปะมาก ... ถ้าคิดว่าตนเองถูก ต้องสามารถอธิบายได้ ... แต่ไม่มี... ถามหาหลักฐาน ไม่มี... ถามหาความต่อเนื่องไทม์ไลน์ ... ไม่มี ... ถามหาความสัมพันธ์ของเรื่อง .... ไม่มี, ... ถามหาความต่อเนื่องของเขตแดนที่มีผลต่อสัญญา ... ไม่มี,.... .. ทั้งที่ ยังไม่ได้บอกสักครั้งว่าจีนผิดหรือถูก ... พยายามซักถามความจริงและเหตุผล ... แค่โดนหลอกล่อซะหน่อนถึงกับหลุดกันเลยที่เดียว ... เป็นเหมือนกันหมด เคยถามแบบนี้มาครั้งหนึ่งแล้ว ได้ผลเหมือนเดิม จีนเหมือนกันเลย... นี่ขนาดถามว่าทำไมไม่เข้า ICJ ขนาดหลักฐานดีแบบนี้ ... ดูสิคำตอบกลับมา งอแงชะมัด... จีนนี่มันจีนจริงๆ เป็นเหมือนกันหมด จินตนาการสำคัญกว่าความรู้
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 14:05:09


ความคิดเห็นที่ 53


ยังแถแบบหน้าด้านๆ เข้าข้างตัวเองซะด้วย

---------------------------

หลักฐานก็เอามาให้หลายรอบแล้ว

เอามาอีกรอบ ............. สนธิสัญญาทิเบต-อินเดียของการประชุมจีน-อังกฤษเมื่อปี 1890 ได้กำหนดชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสักขิมแล้ว หลังจากอินเดียเป็นเอกราช รัฐบาลอินเดียได้ยืนยันหลายครั้งต่อชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสิกขิมตามสนธิสัญญาฯดังกล่าว 

และ หลักฐานรูปภาพต่างๆที่ทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในเขตจีน (ย้อนไปดูข้างบน มีหลายรูป)

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 11/07/2017 14:32:19


ความคิดเห็นที่ 54


http://www.tibetjustice.org/materials/treaties/treaties9.html

ผมเจอข้อมูลนี้ ยาวเกินกว่าจะแอบอ่านและแปลในที่ทำงาน (แฮ่ๆ) นี่คือสนธิสัญญา (หรือสรุปย่อๆของสนธิสัญญานั้น) ที่ว่านั้นใช่ไหมครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 11/07/2017 14:54:10


ความคิดเห็นที่ 55


ขอบคุณท่านที่อยู่ด้านบนครับ

ผมก็เสริชหา เพื่อจะเอามายัน (ที่จริง แค่จีนพูด แล้วอินเดียและอังกฤษไม่ปฏิเสธ ก็น่าเชื่อได้แล้วว่าจริง) แต่ก็หาไม่เก่งเท่า

ตอนนี้อย่างน้อย ผมก็รู้ว่าในเว็บนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่อคติจีน ยังพอมีคนกลางๆอยู่บ้าง

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 11/07/2017 15:41:24


ความคิดเห็นที่ 56


อยาเพิ่งดีใจไป ยังมีไทม์ไลน์หลังจากนั้น ทีมีผลต่อข้อตกลงอีก ... ท่านนริสไม่น่ารีบเลย อุตสาห์ปล่อยให้เขาหาให้อ่านเอง จะได้ได้ทำความเข้าใจ ไม่ใช่ตามคนอื่นแบบปัจจุบัน ... ขนาดผมมีตัวไฟล์สแกน ผมยังไม่โชว์เลย... ผมอยากรู้ ว่าเขาเข้าใจอย่างไร กับข้อตกลงในปี 1980 และ 1906 ... เดี๋ยวไทม์ไลน์จะมาถามใหม่ เตรียมคำตอบไว้นะครับ ว่ามีหลักการและสมเหตุสมผลหรือไม่ต่อการพิจรณา.... ปล.เรื่องมันอยู่ที่ภูฏานแล้วไหงมาลงที่อินเดียหว่า
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 16:09:23


ความคิดเห็นที่ 57


ก่อนอื่นขอย้อนกลับไปที่ จีน-ภูฏาน ก่อน ว่าทำไมถึงมีข้อพิพาท ... พื้นที่ข้อที่มีข้อพิพาท ไม่ได้อยู่ติดสิขขิม ไม่ได้ติดอินเดีย เป็นพื้นที่หนึ่งที่ถือการแบ่งสันปันน้ำคนละแบบ .... ภูฏานถือเอาร่องน้ำ ส่วนจีนถือเอายอดเขา ... ก็เลยมีข้อพิพาทกัน ... ส่วนอินเดียเข้าไปในนามภูฏานไม่ได้เข้าไปในนามอินเดียนะจ๊ะนายจ๋า ....
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 16:33:23


ความคิดเห็นที่ 58


พอคนอื่นเอาหลักฐานมาโชว์ รีบทำเป็นรู้ก่อนเขาอีก ฮา......

ใช่ ...อินเดียรู้ดี ไม่มีความชอบธรรมที่รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนจีน จึงอ้างอย่างหน้าด้านๆว่า เข้าไปเพื่อปกป้องภูฎาน

แม้ภูฎานไม่ออกมาโต้อินเดียตรงๆ (คงกลัวอินเดียโกรธ) แต่ก็หาช่องทางทำหนังสือผ่านไปยังประเทศจีน ว่าภูฎานเองไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้ใดๆเลย (ถ้าใครไม่เชื่อเรื่องนี้อีก จะหาข่าวมาให้อ่าน โษฆกกระทรวงการต่างประเทศจีนพูดเอง)

สรุปคือ อินเดียรุกล้ำเขตแดนจีน แต่เอาประเทศอื่นที่อยู่ใต้อำนาจตัวเองมาอ้างเฉย...งานนี้ภูฎานกินไม่เข้าคายไม่ออก

จีน ภูฏาน เจรจาเรื่องพรมแดนร่วม 20 ปี 20กว่ารอบ บรรลุข้อตกลงทั้้งหมดแล้ว ขาดแต่เซ็นสัญญาก็เท่านั้น ซึ่งถูกอินเดียขัดขวางมาตลอด สาเหตุ...

1...อินเดียไม่ต้องการ จีน-ภูฎาน ญาติดีกัน เพราะจะลดอิทธิของอินเดียที่มีต่อภูฏาน

2...อินเดียไม่ต้องการพื้นที่ตรงนั้น (ตรงอินเดียข้ามเขตไปฝั่งจีน) มีถนนจีนตัดผ่าน (จีนกำลังตัดถนนเข้ามา) เพราะเกรงกลัวจีนสามารถส่งกำลังทหารเข้ามาสะดวกในบริเวณนี้ เพราะเขตแดน ซิขิม-จีน-ภูฎาน เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับอินเดีย ลองเปิดแผนที่ดู จะเห็นว่าตรงนี้เป็นคอขวด ถ้าเกิดอินเดียทำสงครามกับจีน แล้วตรงนี้ถูกจีนยึด อินเดียทางทิศตะวันออกจะถูกตัดขาดทั้งหมด ฉะนั้น อินเดียสะสมกำลังในซิขิมเป็นจำนวนมากตลอดเวลา และ ห้าม คนจีนและปากีสถาน เข้ามาในบริเวณซิขิมโดยเด็ดขาด ไม่ว่าเป็น นทท หรือ ทำธุรกิจ (และ ก็คงเป็นเหตุผลที่ทำไม อินเดียต้องกลืนกินซิขิมเป็นของตัวเอง)

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 11/07/2017 17:55:48


ความคิดเห็นที่ 59


เอาข่าว BBC มาลงไม่ได้อ่าน ส่วนของภูฏานหรือท่าน... ... เรื่องไฟล์ผมมีตั้งแต่เคยถกเรื่องจีนอินเดียจากเว็บนั้นแล้วจะ ... เรื่องจีนอินเดีย ถกเถียงกันมาหลายรอบ ... ผมไม่ได้อคติจีน แต่ผมอคติกับพวกมั่วซั่ว ใช้ชื่อโปรจีน แต่ไม่มีความรู้อะไร .... , มะ มาที่ไทม์ไลน์ แรกเลยดีกว่า ,... ช่วงระหว่างปี 1913-1951 ที่ทิเบตประกาศอิสระจากจีน มีอะไรยืนยันได้ว่า ข้อตกลง อังกฤษ-จีน-ทิเบต 1890, 1906 นั้นยังมีผลอยู่ ในเมื่อสิทธิ์อำนาจเขตแดนได้เปลี่ยนไป ... หลักการและหลักฐานมีอะไรบ้าง ... อย่ามั่วมาอีก ... ไปหามาทำความเข้าใจมาซะ... อ้อแล้วเรื่องภูฏานกับอินเดีย ทำไมถึงคิดว่าตกลงกันได้แล้ว ส่วนตรงนั้นยกให้จีน หลักฐานยืนยัน ข้อตกลงมีให้ดูไหมครับ อะไรคือความมั่นใจนั้น ... คิดจะเป็นโปร ก็ทำให้เป็นโปรหน่อยครับ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 18:36:54


ความคิดเห็นที่ 60


** ช่วงระหว่างปี 1913-1951 ที่ทิเบตประกาศอิสระจากจีน มีอะไรยืนยันได้ว่า ข้อตกลง อังกฤษ-จีน-ทิเบต 1890, 1906 นั้นยังมีผลอยู่ ในเมื่อสิทธิ์อำนาจเขตแดนได้เปลี่ยนไป ... หลักการและหลักฐานมีอะไรบ้าง ... อย่ามั่วมาอีก ..**

(ดูข้อความอักษรตัวหนาด้านล่าง)

สนธิสัญญาทิเบต-อินเดียของการประชุมจีน-อังกฤษเมื่อปี 1890 ได้กำหนดชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสักขิมแล้ว หลังจากอินเดียเป็นเอกราช รัฐบาลอินเดียได้ยืนยันหลายครั้งต่อชายแดนจีน-อินเดียช่วงรัฐสิกขิมตามสนธิสัญญาฯดังกล่าว 

---------------------------------------------------------------------

พูดไปแล้ว ก็คือ คนบางคนอคติจีน ไม่ชอบจีน เกลียดชังจีน(แต่ไม่ยอมรับ) ไม่ว่าฝ่ายจีนทำอะไรก็ผิดไปหมด แม้จะรู้ จะมีข้อมูลว่าจีนไม่ผิด แม้จะรู้ว่าอีกฝ่ายที่ขัดแย้งกับจีนทำไม่ถูกต้อง แต่ก็กั๊ก เก็บสิ่งที่ตัวเองรู้ไว้ เพราะข้อมูลเหล่านี้สนับสนุนความถูกต้องของจีน และพยายามดิสเครดิตจีน แก้ต่างให้คู่ขัดแย้งจีน เพื่อให้คนอื่นคล้อยตาม เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าจีนนั่นหละผิด แต่พอคนอื่นเอาข้อมูลมาเปิดเผย กลับมาแสดงทำเป็นฟอร์มว่าตัวเองก็รู้ แค่ต้องการทดสอบ แค่ต้องการลองเชิงคนอื่น .......

ไม่ไหวครับคนแบบนี้

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 11/07/2017 20:24:03


ความคิดเห็นที่ 61


กลับไปดูช่วงเวลาซะใหม่นะ 1913-1951 ทิเบตเป็นอิสระ การครอบครองเปลียนไป ข้อตกลงย่อมสิ้นสุด ใช่ไหม ... นี่ไม่ได้แกล้งโง่ใช่ใหม่ใหมเนียะ ... ว่าข้อกฎหมายจะเป็นอย่างไรเมื่อเปลียนผู้ถือครอง และต้องทำอย่างไร ... ถามจริงๆเหอะ ข้อตกลงระหว่างประเทศเนียะ ได้อ่านทุกข้อไหม หรืออ่านแค่ข้อเดียว แล้วก็เพ้อเจ้ออยู่ข้อเดียว .. ข้ออื่นที่เกียวข้องไม่สน ...
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 21:49:50


ความคิดเห็นที่ 62


อุ๊ปซ์.... ไม่ไหวจริงๆครับ เสียดาย อัพโหลดภาพ ไม่เข้า ... ไฟล์จากเว็บไซต์รัฐบาลอังกฤษนี่แย่จริงๆ
โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 21:53:03


ความคิดเห็นที่ 63


Opps! 2

 

2


โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 22:24:51


ความคิดเห็นที่ 64


รู้ละ ต้อง upload เป็นไฟล์ png ไฟล์ jpeg ไม่ได้


โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 22:04:30


ความคิดเห็นที่ 65


Opps!

t1



โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 11/07/2017 22:19:16


ความคิดเห็นที่ 66


แกอ่านออกแต่ภาษาจีนหรือเปล่านั้น

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 11/07/2017 23:52:22


ความคิดเห็นที่ 67


1913-1951 ทิเบตเป็นอิสระ 

---------------------------------

เออ ยังไม่ยอมเลิกรา ยังจะนอนยังยืนยันว่า 1913-1951 ทิเบตเป็นอิสระ 

มีแต่ประเทศพวกที่อยากเห็นจีนแตกเป็นเสี่ยงๆพูดเช่นนี้หละ เช่น อินเดีย ยุ่น สหรัฐ และ ประเทศตะวันตก

1913-1951 ทิเบตเป็นอิสระ ....ช่วงเวลานั้น มีประเทศใดรับรอง ประเทศใดยอมรับบ้าง มีองค์กรโลกใดรับรองบ้าง....แล้ว ธิเบตเคยทำสินธิสัญญากับประเทศใดในฐานะประเทศเอกราชบ้าง 

เหมือนใต้หวัน ทุกวันนี้ก็บอกว่าตัวเองเป็นประเทศ ไม่ใช่จีน....แต่ไม่มีใครยอมรับและรับรอง มิหนำซ้ำ ในรัฐธรรมนูญของใต้หวันเอง ก็เขียนชัดว่า จีนแผ่นดินใหญ่กับเกาะใต้หวันเป็นประเทศเดียวกัน (ไอ้พวกแหลมันก็เหลือเกิน เหมือนกันทุกคน ขนาดกฏหมายสูงสุดของตัวเองเขียนแบบนั้น มันยังอ้างเป็นอีกแบบได้ เวร) เช่นเดียวกันพวกชาวอินเดียแหลไม่ยอมรับธิเบตเป็นของจีน แต่รัฐบาลพวกมันกลับรับรองธิเบตเป็นของจีน

เรื่องราวคร่าวๆคือ......

ช่วงเวลานั้น เป็นช่วงเวลาที่ ..จีนเปลี่ยนระบอบการปกครอง ต่อมาถูกญี่ปุ่นรุกราน แล้วต่อมาก็ทำสงครามภายในชิงอำนาจกันอีก กว่าจีนจะสงบก็ปี 1949......ช่วงเวลานั้นมีชาวธิเบตบางกลุ่ม อาศัยจีนกำลังวุ่นวาย ไม่มีเวลา ไม่แรงกำลัง  คิดกบฏนำโดยผู้นำศาสนา  คิดแยกตัว...............ปี1950 หรือ 51......จีนส่งทหารเข้าไปปราบ จนพวกกบฏพ่ายไป........ก็แค่นั้น แล้วจะมาแหลบอกธิเบต ปี 1913-1951 เป็นประเทศแล้ว....ขำ 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 12/07/2017 07:44:10


ความคิดเห็นที่ 68


ทีวีจีน เชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งฝ่ายจีน และ อินเดีย เรื่องนี้

https://www.youtube.com/watch?v=YSnQhjUs2FE

ลองฟันดู เหตุผลใครเข้าท่ากว่ากัน

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 12/07/2017 11:19:22


ความคิดเห็นที่ 69


ยังไม่ได้ดูคลิปนะครับ

อืม.. ประเด็นกลายมาเป็นว่า ข้อสัญญาที่เราคุยกันอยู่นี้ มีจริง แต่รัฐคู่สัญญา เปลี่ยนสภาพไปแล้ว ถ้าอย่างนี้ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ จะถือว่า สัญญานั้นสิ้นผลไป หรือถือว่า รัฐใหม่ที่สืบทอดจากรัฐเดิม ต้องผูกพันตามสัญญานั้นต่อไปด้วย อันนี้ ผมไม่มีความรู้เลยครับ

รัฐเอกราชในเอเซียเรา มีแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นรัฐชาติแตกต่างจากทางยุโรปเสียด้วย สมัยก่อนการเข้ามาของชาวตะวันตก รัฐต่างๆในเอเซียเราไม่ขีดเส้นบนพื้นโลกเพื่อแบ่งเขตแดนกัน เราอาศัยพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์เป็นหลัก ถ้าจะเทียบให้เห็นภาพก็ เหมือนก่อกองไฟไว้กองหนึ่ง ความร้อนของเพลวไปแผ่ไปถึงตรงไหนก็ตรงนันแหละ อานุภาพของไฟ ถ้ามีกองไฟสองกอง ใกล้ๆกัน ก็ยากที่จะขีดเว้นได้ว่า ตรงไหนเป็นความร้อนจากไฟกองไหน อาจจะมาจากทั้ง 2 กองพร้อมๆกันก็ได้

เมืองที่อยู่ตรงกลางไฟสองกอง (หรือกลางบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ 2 พระองค์) จะเรียกว่า เมืองสองฝ่ายฟ้า คือถูกบีบให้ต้องภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์พร้อมๆกัน เว้นแต่จะมั่นในว่า พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง จะมีบรมเดชานุภาพมากกว่า สามารถคุ้มครองตนให้รอดจากราชภัยจากกษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งได้ชัวร์ๆ ถึงจะประกาศตัวว่าขึ้นกับเมืองใดเมืองหนึ่งเพียงเมืองเดียวได้

ผมว่า สิขิม ในยุคนั้น คงเป็นแบบหลัง คือ มั่นใจว่า พระเจ้ากรุงอังกฤษ เจ๋ง กว่า ฮ่องเต้ต้าชิง แหงๆ เลยเลือกเป็นรัฐในอารักขาของ รัฐที่ชื่อ British Raj ในสมัยนั้น (ภาษาไทยแปลว่าอะไรหนอ)  

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 12/07/2017 13:31:46


ความคิดเห็นที่ 70


ผมขอแทรกนิดนึงนะครับ...ตัวผมไม่เอียงไปทางข้างไหน

ชอบอยู่ตรงกลาง แล้วมานั่งดูข้อมูล ถ้าข้างไหนถูก หรือ ผิด ก็มาว่ากันอีกที

ผมเห็นด้วยว่าเป็นการดีที่หลายๆฝ่ายเอาข้อมูลมาวิเคราะห์กัน...ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เชื่อว่าเหล่าคนที่มาอ่านกระทู้

ก็ได้รับความรู้โดยทางอ้อมไปด้วย  ผมนี่เข้า-ออก Google Translate กันเหนื่อยเลย

แต่ขอเสนอแนะคุณโปร-จีนนิดนึงครับ เรื่องการใช้ข่าว หรือ ข้อมูลจากใน website ที่(อาจ)สร้างมาเพื่ออวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(ซึ่ง Webประเภทนี้มีเยอะมาก) มาเป็นข้อมูล...เพราะขึ้นชื่อว่าสื่อแล้วผมเชื่อว่ามีการนำเสนออย่างเอียงข้าง

แน่นอนครับ(ไอ้ที่ไม่เอียงก็คงมีแหละ แต่หายากหน่อย)  อย่างถ้าคุณเอาข้อมูลโดยอ้างอิงข่าวจากสำนักข่าวจีน

หรือ จาก website ที่สร้างมาเพื่อจุดมุ่งหมายใดเป็นการเฉพาะ  ข้อมูลที่ได้มันก็ต้องเอนเอียงไปทางจีนอยู่แล้ว

ฉะนั้น พยายามหาหลักฐานที่เป็นเอกสาร หรือ ข้อมูลทางวิชาการ(และเป็นกลาง)มานำเสนอกัน ผมว่าข้อมูลที่ได้

จะน่าเชื่อถือมากกว่าข้อมูลจากข่าว หรือ Web ที่อวยประเทศตัวเองทั้งหลาย

ปล.

ตัวผมเองก็เห็นด้วยกับคุณโปร-จีน ในส่วนที่ว่าทุกวันนี้มีจีน กับรัสเซีย คอยถ่วงดุลอเมริกา ทำให้อเมริกา

ต้องลดความกร่างลง และ เริ่มเห็นหัวประเทศเล็กๆในแถบเอเซีย เพราะอเมริกาเห็นแล้วว่าจะเสียผลประโยชน์

ของตนในแถบนี้แน่ ถ้าจีนแผ่อิทธิพลเข้ามาสำเร็จ

ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่อเมริกาหาประเด็นกีดกันเราหลายๆเรื่องโดยเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนบ้าง เรื่องรัฐประหารบ้าง

มาเป็นข้ออ้างในการบีบไทย   แต่ในเวลาเดียวกันนั้น ฝ่ายจีนเองกลับเข้ามาเสนอโปรโมชั่นนั่น-นู่น-นี่ให้เรามากมาย ซึ่งมันก็เป็น

ผลประโยชน์ที่จีนหยิบยื่นให้เรา (ดี-ไม่ดีก็อีกเรื่องนึง)

ซึ่งนั่นก็เป็นอีกข้อดีอย่างหนึ่งของจีน

แต่ในหลายๆเรื่อง ก็มีเหมือนกันที่จีนทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่คิดถึงคนอื่น เช่น เรื่องที่จะระเบิดเกาะแก่งต่างๆ

ในแม่น้ำโขงเพื่อสร้างเขื่อนประหนึ่งว่าแม่น้ำโขงเป็นของจีนคนเดียว โดยไม่นึกถึงผลกระทบต่อประเทศที่อยู่ปลายแม่น้ำ

นี่ก็ข้อเสียของจีนเหมือนกัน

ฉะนั้น ผมว่าอย่าโปรข้างไหนเลยครับ...อยู่ตรงที่กลางๆแล้วเราจะมองเห็นชัดเจนกว่าว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 12/07/2017 14:40:34


ความคิดเห็นที่ 71


ถ้าดูจากภูมิศาสตร์ของเขตแดน จีน ภูฎาน และ อินเดีย.....

แน่นอน จีน - ภูฎาน คมนาคมไปมาหาสู่ลำบากทาก เทือกเขาทั้งนั้น ก็ไม่แปลกที่ทางภูฎานจะยอมก้มหัวให้ฝ่ายอินเดีย ยิ่งอินเดียเพิ่งจะทำให้ดูเป็นตัวอย่างไม่นานมานี้ (ยึดซิขิมเป็นของตัวเอง)

จริงๆ ผมตั้งกระทู้นี้เพื่อมาเล่าสู่กันฟังว่า เกิดเหตุการณ์ทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนจีน ณ สถานที่นั้นๆ

แต่ไม่นึกเลยว่ามีบางคนในที่นี้ ไม่ยอมรับว่าตรงนั้นเป็นเขตแดนจีน-อินเดีย ที่ปักปันเขตเรียบร้อยแล้วตั้งนานแล้วและอินเดียก็ยอมรับ รับรองตลอดมาตั้งแต่ได้เอกราชจากอังกฤษ.........จนกระทั้่งขณะนี้ ขณะที่อินเดียล้ำเขตเข้าไปในจีน อินเดียก็ยังยอมรับว่าเข้าไปในเขตแดนจีนจริง(แต่มีคนอื่นในที่นี้ไม่ยอมรับแทน) แต่....เพื่อเข้าไปปกป้องภูฎาน

ปัญหาคือ...........ถ้าอินเดียต้องการปกป้องภูฎาน แล้วทำไมอินเดียไม่ส่งทหารเข้าไปในภูฎานตามแนวเขตแดนที่ประชิดกับจีน แต่ส่งทหารเข้าไปในเขตแดนจีน ทำได้อย่างไร.......

(ก็เหมือนสหรัฐต้องการปกป้องญี่ปุ่น ก็วางกำลังทหารในญี่ปุ่นย่อมได้ แต่จะปกป้องญี่ปุ่น แต่ส่งกองกำลังทหารเข้าไปในดินแดนจีน ย่อมไม่ได้)

เรื่องแค่นี้ ทารกยังเข้าใจง่ายกว่าคนบางคน

ฉะนั้น ถ้าเกิดสงครามขึ้นมา รู้แล้วนะว่าฝ่ายไหนเริ่มทำผิดก่อน

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 12/07/2017 15:03:15


ความคิดเห็นที่ 72


งานเข้าซะก่อนเลยพิมพ์ไม่ต่อเนื่อง แหะๆ

คือ งี้ครับ ผมมองว่า ตรงนั้น มันเคยมีรัฐสิขิมอยู่มาก่อน แล้วก็เคยมีการเจรจากันแล้ว ว่าเส้นเขตแดน สิขิม-จีน อยู่ตรงไหน (ใช่ไหมครับ ผมเข้าใจถูกไหม) ต่อมา รัฐสิขิมสิ้นสภาพไปกลายเป็นส่วนหนึ่งของ รัฐชื่ออินเดีย ประเด็นแรกคือ รัฐอินเดีย ต้องยอมรับในสัญญาต่างๆ ที่รัฐสิขิมเคยทำไว้ทุกฉบับหรือไม่ อันเนี้ย ผมไม่รู้ แต่ถ้าความเห็นผม ผมว่า ควรต้องรับมาก่อน ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ไปแก้ไขกันเอา ซึ่งเรื่องอย่างนี้มันก็ควรจะมีกระบวนการของมันอยู่แหละ ว่ามั๊ยครับ

ทีนี้ เมื่อรัฐสิขิมเคยมีเขตแดนที่แน่นอน แล้วต่อมารัฐสิขิม รวมเข้ากับรัฐอินเดีย ในความเป็นจริง ผืนแผ่นดิน ก็ยังเป็นผืนดินเดิมอยู่นั่นเอง หากทั้งสองฝ่าย ยอมรับกันแต่แรกแล้ว ว่า เขตแดนรัฐสิขิม เคยอยู่ตรงไหน เขตแดนรัฐอินเดีย มันก็ต้องอยู่ตรงนั้นนั่นแหละ จะเคลื่อนไปได้ยังไง ใช่ไหมครับ อันนี้ ว่ากันแบบชาวบ้านๆ เลย

เพราะฉะนั้น งานนี้ก็ต้องถามว่า เขตแดนที่ว่านั่น อยู่ตรงไหนหละ ซึ่ง ว่ากันตามหลักฐานนะครับ คุณโปร-จีน เขามีแผนที่มาแสดง ถ้านี่เป็นศาล ผมก็ต้องมองว่า ทางฝ่ายนี้มีน้ำหนักมากกว่า

มาถึงตรงนี้ โดยส่วนตัว ส่วนตัวผมคนเดียวนะ ผมเริ่มเห็นด้วยว่า พี่อินเดีย ล้ำแดนพี่จีนจริงๆ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 12/07/2017 15:31:08


ความคิดเห็นที่ 73


มีอีกประเด็นคือ พื้นที่ตรงนั้น ณ วันนี้ ยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องเส้นเขตแดน ผมนึกภาพเอาง่ายๆ โดยดูจากโมเดล เขาพระวิหาร เวลาที่บอกว่า เขตแดนไม่ชัดเจนนี่ ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีเส้นเขตแดนอะไรเลยสักเส้นเดียวนะ แต่มันหมายความว่า 2 ฝ่ายอ้างเส้นเขตแดนกันคนละเส้นมากกว่า ก็อารมณ์ประมาณนี้

รัฐ ก.

..........[พื้นที่ของ ก.]........................................A............[พื้นที่ของ ข.]....... A คือเส้นแบ่งแดนที่รัฐ ก. ยึดถือ

แต่ รัฐ ข. บอก ไม่ใช่ มันต้องยังงี้

..........[พื้นที่ของ ก.].....B...............................................[พื้นที่ของ ข.]....... B คือเส้นแบ่งแดนที่รัฐ ข. ยึดถือ

ดังนั้น เมื่อมองในภาพรวม มันจึงเป็นอย่างนี้

.........[พื้นที่ของ ก.].....B.......[พื้นที่ทับซ้อน]....A.............[พื้นที่ของ ข.]......

กราฟฟิคระดับ Full HD ขนาดนี้ ดูเข้าใจกันไหมครับ แหะๆๆ

ทีนี้ ถ้า ก. คืออินเดีย ข. คือจีน แบบนี้

.........[อินเดีย]............B.......[พื้นที่ทับซ้อน]....A....................[จีน]...............

ขอถามว่า อ้ายที่ว่า อินเดียข้ามแดน ไปนั้นหนะ มันเป็นแบบ

(1) .........[อินเดีย]............B......ท......................A....................[จีน]............... หรือเป็นแบบ

(2) .........[อินเดีย]............B............................A.....ท...............[จีน]............... นี้ครับ

ท. คือ ทหาร

ผมว่า ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหนะ คุณ Evill พยายามบอกว่า เป็นแบบ (1) คือ รุกเข้าไปในดินแดนส่วนที่ยังไม่ได้ตกลงกันให้ชัดว่าเป็นของใคร แต่คุณโปร-จีน บอกว่า เป็นแบบ (2) คือ เข้ามาในแดนจีนแท้เลย ไม่ใช่แดนทับซ้อน

อย่างนี้ใช่ไหมครับเนี่ย

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 12/07/2017 15:58:53


ความคิดเห็นที่ 74


ผมว่าก่อนล็อกอินคุณโปร-จีนดูให้ดีก่อนไหมครับ ล็อกอินอันไหนชื่อไหนจะได้ต่อเนื่อง มีหลายล็อกอินอย่างนี้โป๊ะแตกแล้วนะครับ

โดยคุณ 461 เมื่อวันที่ 12/07/2017 16:38:54


ความคิดเห็นที่ 75


ดูๆแล้ว ไม่ใช่ 1 และ 2 ครับ

เอาแผนที่ ที่อ้างถึงดินแดนที่จีนมีข้อพิพาทกับภูฎานมาให้ดู

โดยเฉพาะ...เป็นแผนที่ของอินเดีย (ถ้าเอาจากฝ่ายจีน เดี๋ยวหาว่าไม่น่าเชื่อถือ)

 

 

ดูจากแผนที่จะเห็นว่า จุดที่ทหารอินเดียรุกล้ำเข้าไปในเขตแดนจีน(ลูกศรสีน้ำเงิน) ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ ที่มีข้อพิพาทกันเลย

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 12/07/2017 18:05:08


ความคิดเห็นที่ 76


พื้นที่ตรงบริเวณสิขขิมภูฏานนี้จะว่าไปต่างจากทางเหนือๆแถวแคชเมียร์กับ Aksai Chin ฝั่งจีน ที่อินเดียกับจีนถือแผนที่คนละฉบับ (อินเดียถือแผนที่ที่ข้าราชการอังกฤษทำขึ้นแลัวส่งให้กษัตริย์ซิกรับรอง แต่จีนถือแผนที่ที่ราชวงชิงทำกับอังกฤษแต่ไม่มีใครรับรอง) และทางตะวันออกของอินเดียแถวอรุนาจัล ประเทศ ที่อินเดียถือแผนที่ที่อังกฤษทำกับทิเบต แต่จีนไม่ยอมรับ ที่ทำให้แถวๆสิขขิม ต่างออกไปคือจีนกับอินเดียถือสนธิสัญญาเดียวกัน แต่ตีความเหมือนกันเกือบทั้งหมดมาต่างไปตรงบริเวณมีประเด็นกันในวันนี้ ประเด็นไม่ใช่อยู่ที่จีนกับอินเดีย แต่ไปอยู่ที่ภูฏานกับจีน 

ในปี 1890 สนธิสัญญา ที่ราชวงชิงทำกับอังกฤษเขียนไว้ว่า I. The boundary of Sikkim and Tibet shall be the crest of the mountain range separating the waters flowing into the Sikkim Teesta and its affluents from the waters flowing into the Tibetan Mochu and northwards into other rivers of Tibet. The line commences at Mount Gipmochi on the Bhutan frontier, and follows the above-mentioned water-parting to the point where it meets Nipal territory.

คือใช้ภูเขาที่แบ่งสันปันน้ำระหว่างสิขขิมกับทิเบตจนถึงภูเขาที่ชื่อว่า Gipmochi ของภูฏาน ประเด็นที่เถียงกันคือไอ้จุดที่เรียกว่า Mount Gipmochi ชนกับสันปันน้ำระหว่างสิขขิมกับทิเบต มันอยู่ตรงไหน ทางภูฏานเคลมว่า Mount Gipmochi ยาวไปทางเหมือ จุดนี้จะอยู่ค่อนไปทางเหนือ ตามรูปแรก (ลูกศรเขียว) แต่จีนเคลมว่าจุดนี้จะอยู่ค่อนมาทางใต้ (ลูกศรแดง) จุดที่ทหารทั้งสองฝั่งเอาอกดันกันเหมือนนักบอลเคืองกันแต่กลัวกรรมการแจกใบแดงจะอยู่แถวๆสี่เหลี่ยมผืนผ้า 

รูป 2 จะเป็นแผนที่ที่ทางภูฏานใช้อธิบายเหตุการณ์ อ้างอิงจาก http://thebhutanese.bt/understanding-the-doklam-border-issue/

ขอเดาว่าถ้ายิงกันจะได้ไม่คุ้มเสียทั้ง 3 ฝ่าย รอดูกันต่อดีกว่าครับ


โดยคุณ DEKO เมื่อวันที่ 13/07/2017 00:35:03


ความคิดเห็นที่ 77


รูป 2 TT ไม่มาเฉยเลย ตามไปดูในลิ้งข้างบนเองนะ

 

 

โดยคุณ DEKO เมื่อวันที่ 13/07/2017 00:38:42


ความคิดเห็นที่ 78


ได้ภาพที่ชัดเจนขึ้นอีก น่าสนใจครับๆ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 13/07/2017 09:40:06


ความคิดเห็นที่ 79


ลิ้งจาก the diplomat วิเคราะห์เหมือนผมหลายส่วน http://thediplomat.com/2017/07/the-political-geography-of-the-india-china-crisis-at-doklam/ มีความรู้เพิ่มเติมว่า ถ้านับจุดที่สันปันน้ำทิเบต สิขขิมชนภูเขาแรก ตามหลักภูมิศาสตร์ ภูฏานจะถูก แต่ถ้าตีความตามตัวหนังสือของสนธิสัญญา ว่าสันปันน้ำชนเขา Gimochi จีนจะถูก ในเมื่อความเห็นไม่ตรงกัน ทางออกมี4 ทางคือ 1 อยู่เฉยๆ อย่าไปทำอะไรบนภูเขาแถวนั้น 2 ยิงกันให้รู้เรื่อง แล้วคอยแก้ไขปัญหาตามมา 3 เจรจา 4ฟ้องศาล icj ข้อ 4 มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด จากประวัติศาตรยุคใหม่ตั้งแต่มีun ชาติมหาอำนาจทั้ง5ไม่เคยเอาประเด็นขัดแย้งขึ้นศาล ถึงจะเอาเรื่องขึ้นศาล ศาลตัดสินไม่เข้าข้างตัวเองก็เลือกที่จะไม่ปฏิบัติตาม อเมกาเคยแพ้นิคารากัว แต่ไม่จ่าย ใครจะกล้าบังคับแก ลองคิดเทียบเคสเขาพระวิหาร ถ้าว่ากันตามภูมิศาสตร ไทยถูกชัวๆ แต่ผลการตัดสิน โหวตกันออกมาให้เขมรชนะ จีนคงไม่เสี่ยงเอากรณีนี้ไปโหวต ข้อ 2 ถ้ารบกันเพราะพื้นที่ไม่กี่ตารางกิโลเมตร จีนอาจชนะแต่อาจเสียพันธมิตรในโครงการ obor มูลค่ามหาศาล เพราะใช้กำลังแก้ปัญหา แถวทะเลจีนใต้ก็จะเข้าหาอเมกามากขึ้น ข้อนี้ ถ้าผู้นำจีนเลือกก็แย่แล้ว ข้อ 1 คงเป็นไปได้ยาก เพราะออกตัวแรงทั้งคู่ ข้อ3 เป็นไปได้สูงสุด เจรจาหาทางออกชั่วคราวแบบไม่ให้เสียหน้าทั้งคู่ เรื่องหน้าตาแถวๆเอเชียเค้าให้ความสำคัญ
โดยคุณ DEKO เมื่อวันที่ 14/07/2017 22:28:55


ความคิดเห็นที่ 80


https://www.strategic-culture.org/news/2017/07/11/india-china-standoff-sets-precedents-in-regional-security.html อดีตนักการทูตอินเดียมองในมุมภูมิรัฐศาสตร ต้นตอของปัญหาเริ่มจากอินเดีย ซึ่งเป็นคนทำแผนที่ให้ภูฏานในปี196x ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีประเด็นระหว่างภูฏานกับจีน ภูฏานเริ่มทำให้เกิดประเด็นตั้งแต่ปี 2000
โดยคุณ DEKO เมื่อวันที่ 15/07/2017 10:54:34


ความคิดเห็นที่ 81


ผมก็มองว่า จริงๆแล้ว จีนไม่อยากทำสงครามกับใครทั้งสิ้น

จีนกำลังต้องการความสงบอีกสักหลายสิบปี เพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งตอนนี้ทุกอย่างไปได้สวย ถ้าเกิดสงครามเท่ากับถูกขัดจังหวะ 

และ อินเดียก็คงมองทะลุใจจีนในเรื่องนี้ หลังได้หาเรือกับสหรัฐและญี่ปุ่น (ถ้าเกิดสงครามกับจีน จะได้มั่่นใจว่า จะได้รับความช่วยเหลือจากทั้ง2ประเทศ ทั้งทางด้านอาวุธและการข่าว ซึ่ง 2 ประเทศนี้อยา่กให้อินเดียกับจีนล่อกันมานานแล้ว ไม่มีเรื่องใดสามารถลดทอนกำลังจีนเท่ากับเรื่องสงครามแล้ว) จึงกล้าที่ส่งทหารเข้าไปในเขตจีน เพื่อยับยั้งการสร้างถนนของจีน และ เพื่อทำลายข้อตกลงระหว่างจีน-ภูฎาน ที่ใกล้จะบรรลุเสร็จสมบูรณ์...........

กล่าวคือ เหตุการณ์พิพาทตรงจุดนี้ ฝ่ายอินเดียเป็นฝ่ายขยับข้ามเขตแดน หาเรื่องจีนก่อน.........ถ้าเกิดสงครามขึ้นมา ก็ไม่ต้องเสียเวลามากล่าวหาว่าใครเป็นผู้เริ่มก่อ

ข้อสังเกตุ....จีนมีเพื่อนบ้าน 12 ประเทศ ....ณ เวลา นี้มีเพียงอินเดีย และ ภูฏาน เท่านั้น ที่ยังมีเขตแดนที่ยังไม่ทำข้อตกลงปักปันเขตแดน  กับอีก 9 ประเทศเสร็จสมบูรณ์ 100 เบอร์เซ็นแล้ว(เฉพาะทางบก)(จีนใช้นโยบายคนละครึ่งทาง ทำให้ง่ายขึ้น....แต่ก็ถูกชาวจีนเองด่าเละเหมือนกัน)

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 15/07/2017 11:43:11


ความคิดเห็นที่ 82


ท่านโปร-จีน อย่าตอบเลยมากความ ในนี้โปร เมกาครับ ไม่รับอะไรหลอกเหนื่อยเปล่า เชื่อผม วันนี้ ถ้าอินเดียด่าเมกา จีนจับมือทรัม ผมบอกเลย คนชมข้อมูลท่านตรึม 

โดยคุณ fighttt เมื่อวันที่ 22/07/2017 18:08:24


ความคิดเห็นที่ 83


ปญอ ครับ ผมยังไม่เคยเห็นกระทู้อวยอเมริกาเลยนะครับ

มีแต่พวกอวยจีนที่นั่งเขียนเชิดชูคุณธรรมเป็นคุ้งเป็นแคว เคยเห็นแต่สายอวยจีนกับรัสเซียเนี่ยแหละ ผมยังไม่เคยเห็นใครอวยอเมริกาเวลาไปบุกใคร (อ่อลืมๆจีนไม่เคยบุกใคร โอเคๆโทษทีครับๆ)

เป็นคนดีอยากอยู่เงียบๆชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ว่างๆเข้าวัดธรรมบุญ แต่โดนรังแกทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ เลยต้องปกป้องตัวเอง ต้องสั่งสอน ฯลฯ #มองบน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 22/07/2017 20:06:20


ความคิดเห็นที่ 84


ผมว่าจะพอสำหรับกระทู้นี้แล้ว  แต่บังเอิญไปเจอ นักวิชาการอินเดีย(ที่พอจะมีใจไม่ลำเอียง ตรงไปตรงมา) พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้

เขาบอกว่า สุดท้ายแล้ว อินเดียคงต้องถอยทหารที่ล้ำเข้าไปในเขตจีนกลับมา เพราะอินเดียขาดเหตุผล ขาดความถูกต้อง ขาดความชอบธรรม.....หลักฐานมันชัด อินเดียล่้ำเข้าไปในเขตจีน

ลองอ่านดู....(มีทั้งคลิปและข้อความ เป็นภาษาอังกฤษ)

หมายเหตุ.....จากสื่อภายในประเทศของอินเดีย

https://thewire.in/155118/india-china-face-off-watch-manoj-joshi-m-k-venu-discuss/

 

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 24/07/2017 11:51:03


ความคิดเห็นที่ 85


ล่าสุด เมื่อวานนี้ ช่วงบ่ายๆ (28/8/2560)

อินเดียได้ถอนทหารที่รุกล้ำเข้าไปในเขตแดนจีนออกไปหมดแล้วครับ

 

โดยคุณ โปร-จีน เมื่อวันที่ 29/08/2017 06:32:56