หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ครม.อนุมัติงบประมาณเพื่อการศึกษาออกแบบโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือไทย

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 20/07/2018 20:11:15

https://www.bangkokpost.com/news/security/1505026/pm-approves-mini-submarine-project

นาวาเอก สัตยา จันทรประภา หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ กล่าวในงานนาวีวิจัย 2018 เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฏาคม พ.ศ.๒๕๖๑ ว่า

คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณราว ๒๐๐ล้านบาท สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กระยะเวลา ๔ปี

โดยจะใช้เวลาเรือดำน้ำขนาดเล็กต้นแบบลำแรกเป็นเวลา ๒ปี และจะมีการทดลองเรือในทะเลและรับรองการสมควรเดินทะเลอีก ๑ปี รวมทั้งสิ้น ๗ปี

ทั้งนี้ได้มีการส่งนักวิจัยของกองทัพเรือไปศึกษาการออกแบบเรือดำน้ำที่สหราชอาณาจักรเป็นเวลากว่า ๒เดือนแล้ว

แม้ว่าปัจจุบันกองทัพเรือสหราชอาณาจักร(Royal Navy) จะมีเฉพาะเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ประจำการก็ตาม แต่ทางอังกฤษก็มีองค์ความรู้ทางการพัฒนาเรือดำน้ำที่สั่งสมมานานอยู่มากตั้งแต่อดีต

คาดว่าค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมดจะอยู่ที่ราว ๑พันล้านบาทครับ





ความคิดเห็นที่ 1


เรือดำนำ้จะเล็กหรือเก่า ถ้ายังยิงตอร์ปิโดได้ก็เป็นอาวุธอันตราย ผมชอบนะครับครับที่จะสร้างเอง ยิ่งเป็นเรือดำนำ้ขนาดเล็กด้วยยิ่งดี เหมาะกับอ่าวไทย แต่เรือดำนำ้ทางทหารไม่เหมือนเรือดำนำ้แบบทั่วไป มันมีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีมากกว่า การพัฒนาแบบเรือดำนำ้ทางทหารและสร้างเองก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งไม่เคยมีความรู้มาก่อนด้วย แถมงบประมาณเท่านี้ไม่รู้ว่าเรือที่สร้างออกมา อาจจะเป็นแค่prototype แล้วไม่ได้สร้างต่อ คือถ้าจะสร้างให้ได้จริงๆ อีกทางหนึ่งน่าจะซื้อแบบเรือเก่าเช่น TYPE206 หรือGal(แบบของเยอรมัน แต่ต่อโดยวิคเกอร์ ให้อิสราเอล) มาปรับปรุง เปลี่ยนเครื่องยนต์ CMS อุปกรณ์ที่ทันสมัยใส่ จริงอยู่ว่าแบบเรือเก่าล้าสมัย แต่เทียบกับการเรียนรู้ที่ได้สำคัญกว่ามาก ลดความเสี่ยงเรื่องแบบเรือ ย่นระยะเวลาทั้งการเรียนรู้และพัฒนา

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 18/07/2018 09:26:23


ความคิดเห็นที่ 2


 

ถ้าเป้าหมายหลักคือการสร้างเรือดำนำ้ขนาดเล็กที่ดำลึกไม่เกิน 100 เมตร เพื่อมาใช้ในอ่าวไทย ผมว่าเป็นเรื่องไม่ยากเกินไปครับ

เดาว่าลำแรกน่าจะเป็นการลอกแบบมาจากเรือรุ่นใดรุ่นหนึ่งของมิตรประเทศ แล้วเอามาย่อส่วน  เน้นไปที่การจับเอาเครื่องยนต์และอุปกรณเดินเรือ /. สื่อสาร มาประกอบกัน ส่วนระบบอาวุธคงยังไม่มี

ผมว่าพอนโยบายมาทางนี้เดี๋ยวเรื่องแบบเรือ และอื่นๆ ก็จะทยอยตามมาจากการดมกลิ่นของผู้ผลิตหลายๆเจ้าล่ะครับ. 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 18/07/2018 14:57:58


ความคิดเห็นที่ 3


ข้อมูลจากส่วนจัดแสดงของโครงการในงาน นาวีวิจัย 2018 นั้น ขอบเขตของการวิจัย กำหนดความต้องการทางยุทธการเบื้องต้น ดังนี้

คุณลักษณะทั่วไป

-ระวางขับน้ำ 150-300tons

-ระบบขับเคลื่อน

-ระบบควบคุมบังคับตามยุทธวิธีเรือดำน้ำ

-ระบบสื่อสาร ระบบตรวจจับ และระบบนำเรือผิวน้ำ และใต้น้ำ

-รัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 350nmi

 

ขีดความสามารถทางยุทธการ

-การหาข่าว สอดแนม

-การสนับสนุนการฝึกปราบเรือดำน้ำ

-สนับสนุนชุดปฏิบัติการพิเศษได้ไม่น้อยกว่า ๗นาย

-ปฏิบัติการในระดับความลึกได้ถึง 80m

-รองรับลูกเรือไม่น้อยกว่า ๓นาย

 

สำหรับการศึกษาออกแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กระยะเวลา ๔ปี แบ่งเป็น

ขั้นตอนการศึกษาออกแบบ สัมมนาดูงาน และพบที่ปรึกษา พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๕๖๔

ขั้นตอนการคำนวนและออกแบบเบื้องต้นแบ่งเป็น Conceptual Design พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๒, Preliminaly Design ช่วงปี ๒๕๖๓ และ Basic & Detailed Design พ.ศ.๒๕๖๔

ขั้นตอนการจัดทำแผนการสร้างเรือ พ.ศ.๒๕๖๔

การจัดทำแผนการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และประมาณราคาปี พ.ศ.๒๕๖๔

การออกแบบเพื่อสร้าง(Design for Construction) พ.ศ.๒๕๖๕  

ขั้นตอนดำเนินการสร้าง และจัดหาวัสดุและอุปกรณ์ พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๖

ขั้นตอนทดสอบ ทดลอง และฝึก พ.ศ.๒๕๖๗

รวมเป็นเวลา ๗ปีหลังเริ่มจัดตั้งโครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๐

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2018 21:13:38


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้าดูจากขอบเขตและคุณสมบัติในข้างต้น เรือดำน้ำขนาดเล็กนี้จะถูกใช้ในภารกิจหลักคือ

๑.การสนับสนุนการฝึกปราบเรือดำน้ำ เหมือนกับงานไต้น้ำไร้คนขับ UUV ที่เคยสร้างมา

๒.สนับสนุนปฏิบัติการใต้น้ำของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ซึ่งอาจจะมาเสริมในส่วนยานใต้น้ำ SDV

เนื่องจากกว่าที่จะมีการสร้างเรือจริงออกมาก็จะเป็นในราวปี พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๗ ซึ่งอีกนานหลายปี

เรื่องที่เรือดำน้ำขนาดเล็กจะติดอาวุธอย่าง Torpedo หรือ ทุ่นระเบิดได้หรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจนในตอนนี้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/07/2018 21:22:02


ความคิดเห็นที่ 5


 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับคุณเอก. 

ผมมีความเห็นว่ากองทัพเรือจัดการใด้ยอดเยี่ยมมากครับ 

ถ้ามีเรือดำน้ำจิ๋วที่มีเซนเซอร์ดีๆไว้วางกำลังในลักษณะ เซนเซอร์กริดในอ่าวไทย

แต่ละลำสามารถใช้ hotel load อยู่ใต้น้ำใด้สัก 3 วัน พร้อมเชื้อเพลิง/แบตสำรองเดินทางไปกลับอีก 2 วัน 

 

ในความลึกขนาดนี้ พอตรวจเจออะไรที่น่าสงสัยก็ปล่อยบุย แจ้งตำแหน่งระบุพิกัดให้พวกมารุมกินโต๊ะทั้งสามมิติใด้เลย

มีซัก 10 ลำน่าจะเหลือเฟือ สำหรับอ่าวไทย

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 18/07/2018 22:19:36


ความคิดเห็นที่ 6


ตอนแแรกนึกว่าจะเหมือนตอนทำจรวด DTI 1 ที่ซื้อแบบจีนมาวิจัยและผลิตเอง. แต่พออ่านดูรอบนี้ไปเรียนที่อังกฤษ ก็เป็นไปได้ว่าน่าจะมีแบบในใจจากอังกฤษมาบ้างแล้ว เช่น หน้าตาอาจเหมือนเรือดำน้ำอังกฤษที่เคนาดาใช้อยู่แต่มีขนาดเล็กกว่ามากๆ ติดตอร์ปิโดได้4-6ลูกไม่มีบรรจุใหม่.  สังเกตุหลังๆ ทร ไทย จะชอบแบบเรือจากอังกฤษน่ะครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/07/2018 07:22:51


ความคิดเห็นที่ 7


ขอจินตนาการเพิ่มครับ.  ทร น่านำเรือดำน้ำที่เคยวิจัยสำเร็จ มาต่อยอดเป็นแบบ UUV ไม่ใช้คน.  พัฒนาให้ดำน้ำได้ไม่เกิน 100 เมตรใช้ในอ่าวไทย. ติดอาวุธเป็นตอร์ปิโดเบา 2 ลูก  ติดทุ่นระเบิดได้.  สามารถเคลื่อนที่ไปดำวางตัวในจุดที่ต้องการ. ถึงเวลากลับก็เคลื่อนที่มาในเขตปลอดภัย มีเรือพี่เลี้ยงมารับ. แบบเรือพี่เลี้ยงก็ลักษณะเหมือนเรืออ่างทอง แต่มีส่วนท้ายที่จมน้ำได้ลึกกว่าเพื่อให้เรือดำน้ำเข้าไปจอดได้ เติมอาวุธ. ซ่อมบำรุงได้. มีเรือดำน้ำแบบนี้สัก 6-10 ลำ. ก็สามารถป้องกันใครมาปิดอ่าวไทยได้แล้วครับในระยะ 200 กิโลเมตรจากฝั่ง

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/07/2018 10:42:47


ความคิดเห็นที่ 8


ที่ปรึกษาของวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กกองทัพเรือ คือบริษัท BMT Defence Services ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือของอังกฤษ ที่มีส่วนร่วมในหลายโครงการ เช่น เรือดำน้ำนิวเคลียร์ชั้น Astute

โดยแบบเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ สวพ.ทร ออกแบบจะต้องได้รับรับรองโดยสมาคมจัดชั้นเรือก่อน ซึ่งเห็นว่าค่าสิทธิบัตรอุปกรณ์ Software และการดำเนินการทดสอบการรับรองต่างๆราคาค่อนข้างสูง

ทั้งนี้ที่นักวิจัยของกองทัพเรือไปเรียนหลักสูตรการออกแบบเรือดำน้ำเบื้องต้นที่ University College London ก็เพื่อที่จะให้มีความรู้เบื้องต้นก่อนการรับการถ่ายทอด Technology จากบริษัทที่ปรึกษาครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 19/07/2018 20:35:45


ความคิดเห็นที่ 9


 

เอาใจช่วย ทร. เป็นอย่างยิ่งครับ.  งานนี้งบประมาณจำกัดมาก ถ้าจะไปไม่สุดก็เพราะเรื่องนี้ล่ะ  เพราะว่าอะไรๆเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการทหารมันแพงเหลือเกิน  ค่า r&d  มันสูง

การเริ่มที่เรือแบบไม่มีอาวุธเนี่ยถูกต้องที่สุดแล้วจริงๆ  เพราะลดแรงเสียดทานใด้มาก หาคนร่วมโครงการง่าย  คงต้องค่อยเป็นค่อยไป  

อ่านเพิ่มเติมจาก blog ของคุณเอก เรือขนาด 150-300 ตัน รัศมีทำการ 350nm. ถ้าดำน้ำตลอดเวลา น่าจะต้องมี 5-10 วันใต้น้ำ แล้วแต่ความเร็วเดินทางที่ใช้.

คำนึงถึงแนวทางที่เป็นไปใด้มากที่สุด คือเอาเทคโนโลยีที่มีใน ปจบ. มาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์. แบตเตอรี่ ระบบนำร่องและ sensor ต่างๆ  มอเตอร์ขับเคลื่อน ไปจนถึงระบบสื่อสาร. ซื้อพวกนี้มาทุกอย่าง จับยัดลงในแบเรือที่จะออกแบบมาใหม่  งบ 1,000 ล้านนี่ไม่น่าจะพอจริงๆครับ สำหรับลำแรก.

ยกเว้นว่า ......   phase แรกนี้ไม่ต้องการอะไร มากไปกว่า ตัวเรือที่ดำน้ำใด้ เครื่องยนต์  แบตเตอรี่ที่แค่เพียงพอให้ดำใด้ไม่กี่ ชม.  ระบบนำร่องแบบพื้นฐาน commercial sonar และระบบสื่อสารพื้นๆที่แค่พอให้ติดต่อกับเรืออื่นหรือฐานใด้.  แบบนี้อาจพอมีลุ้น.

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 20/07/2018 02:25:00


ความคิดเห็นที่ 10


แบบเรือVIDAR-7ขนาด700ตันของBMTดูน่าสนใจมากนะครับ ออกแบบการใช้งานและขนาดเหมาะสมกับอ่าวไทยมาก ถ้าเอามาเป็นโปรเจคต่อไปได้ยิ่งดีมาก

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 20/07/2018 09:03:11


ความคิดเห็นที่ 11


ในฐานะชาวพิจิตร ดีใจที่เรือชื่อชาละวัน

แต่ ชาละวันเป็นตะเข้น้ำจืดเนี่ยสิครับ จะดำทะเลไหวไหมน้อ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 20/07/2018 13:48:27


ความคิดเห็นที่ 12


เพื่อนบ้านคุณnaris ไปว่ายนำ้ที่ภูเก็ต ตอนนี้เค้ากำลังตามหาตัวกันอยู่

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 20/07/2018 14:18:46


ความคิดเห็นที่ 13


จะว่าไป นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของการนำเสนอเรื่องอานุภาพของเรือดำน้ำนะครับ

มาตัวเดียว เสียวยกเกาะ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 20/07/2018 15:26:14


ความคิดเห็นที่ 14


http://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_20.html

บทความมีรายละเอียดที่คัดลอกมาจากส่วนจัดแสดงในงานนาวีวิจัย 2018 สามารถเข้าไปอ่านได้

ชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยที่ฤทธิ์ทางน้ำที่ถูกนำมาตั้งชื่อในโครงการก่อนหน้านั้นคือ โครงการยานใต้น้ำไร้คนขับสำหรับการฝึกปราบเรือดำน้ำ UUV ก็มีที่ตั้งชื่อไว้สามลำคือ ไกรทอง, วิชุดา และ สุดสาคร

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.662284070450880.1073741863.546940131985275

ส่วนยานใต้น้ำขนาดเล็กที่สร้างขึ้นมา ๑ลำนั้นไม่ทราบว่ามีการตั้งชื่อไว้หรือไม่

อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็กของกองทัพเรือนี่ ที่ว่ามีชื่อชั้น "ชาละวัน" นี่ที่ได้ทราบข้อมูลมาน่าจะเป็นความเข้าใจผิดของสื่อที่ทำรายงานข่าว(เจ้าประจำเดิมๆ)มากกว่าครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/07/2018 20:11:15