หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เครื่องบินพวกนี้นับว่าเป็นปีกลู่หรือเปล่าครับ?

โดยคุณ : Wayunirun เมื่อวันที่ : 09/09/2018 11:42:13

อยากทราบว่าปีกพวกนี้เป็นปีกลู่หรือเปล่าครับ


Su6


G8n1





ความคิดเห็นที่ 1


Swept wings น่าจะลู่ทั้งปีกนะครับ แบบในภาพน่าจะอยู่ในหมวดปรกตรงอยู่

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 09/09/2018 09:52:28


ความคิดเห็นที่ 2


อันนี้เป็นวิชาการปนกับความรู้สึกนะครับ  ผิดตกบกพร่องขออภัย..................

 

ปีกแบ่ง ชายขอบ ออกเป็น2ด้าน  คือชายขอบหน้า และชายขอบหลัง...........โดยที่

 

1.ชายขอบหน้า เป็นส่วนปะทะอากาศ ทำให้เกิดความต่างของความเร็วด้านบนและล่างของปีกทำให้เกิดแรงยก 

   1.1 ชายขอบหน้า ตรง  กระแสอากาศไหลผ่านใต้ปีกมากได้แรงยกมาก    แต่แรงต้านซึ่งเกิดจากการปะทะอากาศตรงๆก็มีมาก

   1.2 ชายขอบหน้าลู่หลัง  เกิดการผ่องถ่ายกระแสอากาศไหลไปตามชายปีกสู่ด้านหลังลดแรงปะทะจึงเกิดแรงต้านน้อย  และเนื่องจากกระแสอากาศไหลผ่านปีกน้อยลง จึงได้แรงยกน้อยกว่าปีกตรง เสถียรภาพการบังคับก็น้อย

   1.3 ชายขอบหน้า ลู่หน้า เกิดการผ่องถ่ายกระแสอากาศไหลไปทางด้านหลังตรงโคนปีกติดลำตัว แรงต้านน้อย  และมีเสถียรภาพการบังคับมาก (ถ้าวันไหน เมียใจดีขับรถให้นั่ง ลองแง้มกระจก แล้วทำฝ่ามือแบนๆยื่นออกไปทั้งแขน  ลองเทียบระหว่าง  ยื่นเฉียงตรงไปข้างหน้า  กับยื่นเฉียงไปด้านท้าย แล้วลองกระดกข้อมือขึ้นลง  อย่างแรกแรงปะทะทำให้แขนขยับขึ้นลงรุนแรงทั้งลำ)

 

   ทั้งหมดนี้คือสันฐานชายขอบหน้าแบบปกติ  ซึ่ง ไม่ใช่การเปิดแฟล่บ หรือการเพิ่มส่วนโค้งงอปีก ทำให้เกิดแรงยกเพิ่มนะครับ อันนั้นสันฐานแบบไหนก็ยกได้เยอะ.................. มีต่อ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2018 10:50:44


ความคิดเห็นที่ 3


2.ชายขอบหลัง......  เป็นส่วนทีอากาศไหลพ้นผ่านออกไป  ซึ่ง อันนี้ เป็นความรู้สึกล้วนๆนะครับ   ชายขอบหลังนี้ จะมีส่วนในเรื่องเสถียรภาพของปีก  โดยถ้าวัดจากชายขอบหน้ามายังชายขอบหลัง ส่วนใหนของปีกที่มีระยะห่างระหว่างชายขอบทั้งสองมาก บริเวณนั้นจะมีแรงดันให้เกิดเสถียรภาพมาก

 

     2.1 ชายขอบหลังที่ขนานไปกับชายขอบหน้า     เมื่อลมเข้าสู่ปีกผ่านจากชายขอบหน้าสู่ชายขอบหลัง และระยะทางที่อากาศเคลื่อนผ่านเท่ากันตลอดปีก จึงไม่เกิดความแตกต่างของความดัน กระแสลมจึงไหลลื่นปรื๊ดลื่นปรื๊ด.........

 

     2.2 ชายขอบหลังที่มีระยะต่างๆกัน เมื่อวัดจากชายขอบหน้า    เมื่อระยะที่อากาศเคลื่อนผ่านปีกไม่เท่ากัน  จึงเกิดความแตกต่างของความดัน ส่วนใดที่กระแสอากาศไหลผ่านปีกได้ระยะทางมากว่าก็จะเกิดแรงมาก  เสถียรภาพจึงเกิดที่บริเวณนั้นมากกว่า 

 

             2.2.1 ชายขอบหลังทำให้พื้นที่โคนปีกมากกว่าปลายปีก   เสถียรภาพอยู่บริเวณด้านใน ทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างฉวัดเฉวียน แต่เสถียรภาพน้อย   เหมือนรองเท้าเสก็ตน้ำแข็ง

 

             2.2.2 ชายขอบหลังทำให้พื้นที่ปลายปีกมากกว่าโคนปีก  เสถียรภาพอยู่บริเวณด้านนอก ทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างมีเสถียรภาพ แต่ความคล่องแคล่วน้อย   เหมือนนันยางดอกใหม่ๆวิ่งบนปูนขัด หรือไม่ก็ให้นึกถึงลูกแบตมินตั้น  ขนไก่เหมือนปลายปีก สร้างเสถียรภาพแต่ก็ทำให้มันไปตรง ยากที่จะซิกแซก............  (สังเกตครีบหน้า ของจรวด เอๆ-10 อลาโม่ แรงเกิดขึ้นที่ปลายครีบมากกว่าโคนครีบ  ส่งผลต่อโมเมนต์การบังคับเลี้ยว)......... 

 

 

ครับ  ที่นี้เห็นปีก  ก็ลอง เอา  ชายปีกหน้า กับชายปีกหลัง มาประกอบกันดู  ได้ผลอย่างไร

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 09/09/2018 11:42:13