หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


DTI จับมือ Thales พัฒนาขีดความสามารถด้าน Digital ให้กับกองทัพบกไทย เริ่มจากระบบสื่อสารของยานเกราะลำเลียงพล

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 18/09/2018 17:42:42

Thailand’s Defence Technology Institute to Digitalise Armed Forces’ Capabilities with Thales
https://www.thalesgroup.com/en/thailand/press-release/thailands-defence-technology-institute-digitalise-armed-forces-capabilities
http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-thales-digital-indra-lanza-3d-radar.html

- สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (DTI), บริษัท Datagate ไทยและบริษัท Thales ยุโรปลงนามบันทึกข้อตกลง(MoA) เพื่อยกระดับความร่วมมือในการพัฒนาระบบการสื่อสารแบบ Digital

- โครงการความร่วมมือโครงการแรกจะมุ่งไปที่การปรับปรุงยานเกราะลำเลียงพลที่มีอยู่ของกองทัพบกไทย

- Thales จะถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้กับ DTI อย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ ด้วยการสนับสนุนจาก Datagate ซึ่งเป็นหุ้นส่วนหลักของ Thales ในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในไทย

ไม่ทราบว่าโครงการแรกที่จะเริ่มจากการพัฒนาระบบสื่อสาร C5I สำหรับ APC ที่มีอยู่ของกองทัพบกไทยจะเกี่ยข้องอะไรกับยานเกราะล้อยาง DTI Black Widow Spider 8x8 หรือไม่ หรือจะเป็นยานเกราะลำเลียงพลแบบอื่นๆ

หรือจะรวมถึงยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC 8x8 ของนาวิกโยธินไทยด้วยหรือไม่ครับ http://aagth1.blogspot.com/2018/09/dti-aapc.html





ความคิดเห็นที่ 1


ผมมองไปที่ VN-1 ถ้าหากว่าจีนยอมที่จะให้เราปรับปรุงดัดแปลง หรือไม่ก็รถหุ้มเกราะของ DTI ที่กำลังทำการทดสอบครับครับ แต่อีกใจนึงก็นึกไปถึง BTR-3E1 ที่อาจจะเอาระบบนี้มาติดก็ได้ เนื่องจากรถก้ยังค่อนข้างใหม่ แถมมีใช้ทั้ง ทบ. และ นย.

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 14/09/2018 14:46:02


ความคิดเห็นที่ 2


APC นี่อาจจะไม่จำกัดเฉพาะระบบล้อยางครับ อาจจะรวมถึงระบบสายพานที่กองทัพบไทยมี เช่น รสพ.M113 และ รสพ.๓๐ Type 85 ด้วย

เห็นเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของ DTI ฉบับหนึ่ง กล่าวถึง "โครงการจ้างเหมาสร้างชิ้นส่วนระบบย่อยยานเกราะล้อยางพร้อมประกอบรวมและทดสอบสมรรถภาพการทำงานเบื้องต้นของยานเกราะล้อยาง 8x8 สำหรับ โครงการวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยาง ระยะที่๒" วงเงินโครงการอยู่ที่ ๗๗,๙๗๐,๐๐๐บาท มีใบเสนอราคาจากผู้ประกอบการรายเดียวคือ บริษัท Datagate

ถ้าโครงการดังกล่าวข้างต้นจะเป็นโครงการที่ต่อเนื่องจากยานเกราะล้อยางต้นแบบ DTI Black Widow Spider 8x8 สำหรับกองทัพบกไทย จริงๆได้ก็ดีถ้ามีโอกาสได้รับการสั่งจัดหาจนเปิดสายการผลิตได้

แต่ทว่าถ้าดูจากโครงการ Black Widow Spider 8x8 และ AAPC 8x8 สำหรับนาวิกโยธินไทยเอง ราคารถต่อคันรวมกับระบบที่สำคัญ เช่น ป้อมปืน ราคาโดยรวมจะแพงกว่า BTR-3E1 หรือ VN1 ที่ระบบทุกอย่างครบทั้งคันมากทีเดียวครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 14/09/2018 16:00:18


ความคิดเห็นที่ 3


      แพงกว่าในด้านราคา แต่คุ้มกว่าในด้านอื่นๆ ในมุมมองของผมนะ การที่ไทยมีโรงงานผลิตรถหุ้มเกราะเองมันได้ประโยชน์หลายอย่างทั้งการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับอุตสาหกรรมไทย  การสร้างองค์ความรู้ในด้านผลิต พัฒนาและต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น  ความประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงในอนาคต ความมั่นคงด้านบริการหลังการขายและอะไหล่   โอกาสทางธุรกิจอาวุธในอนาคต พวกนี้คือสิ่งที่เราจะได้มากกว่าในมุมมองของความถูกกว่า ในระยะยาว และยิ่งความต้องการรถเกราะของกองทัพไทยในอนาคตที่ประเมินไว้ว่าต้องการมาแทน M113 Type-85 รวมๆกันก็ 200+ คัน ก็ยิ่งคุ้มค่าที่จะเริ่มต้น แต่ถ้าจะคิดสั้นๆ ง่ายๆ ปิดจ็อบเป็นงานๆไปตามสไตล์ไทยๆ ก็ซื้อเอาถูกกว่าต่อไป

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 15/09/2018 09:02:05


ความคิดเห็นที่ 4


http://aagth1.blogspot.com/2017/11/dti-aapc.html

บริษัท ช ทวี ที่ DTI ร่วมในโครงการยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ AAPC 8x8 เคยกล่าวบริษัทสามารถผลิตรถให้ได้ตามความต้องการไม่ว่าจะ ๑๐-๒๐คัน หรือจะกี่คัน โดยสายการผลิตจำนวนมากคาดว่าจะทำได้ถึง ๑๕-๒๐คันต่อเดือนถ้าได้รับการสั่งส่งออกต่างประเทศ

แต่ถ้าเทียบกับต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ กับ เกาหลีใต้  ที่ยานเกราะล้อยาง 8x8 รูปแบบเดียวกันสั่งจัดหาสำหรับใช้ในกองทัพตนเองทีไม่ต่ำกว่า ๔๐๐-๕๐๐คัน โดยมีขีดความสามารถทางสายการผลิตมากกว่า ๑๐๐คันต่อปี

ตรงนี้ก็ไม่ทราบว่าและกองทัพไทยเองจะมีการสั่งจัดหายานเกราะล้อยางที่ผลิตโดยภาคอุตสาหกรรมของไทยเองมากถึงขนาดนั้นเลยหรือ และตามข้อมูลในข้างต้นด้วยรถของไทยมีราคาต่อคันรวมทั้งระบบแพงกว่าของสำเร็จรูปต่างประเทศด้วยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/09/2018 15:36:09


ความคิดเห็นที่ 5


ถ้าแค่ระบบยาง หลายโรงงานในไทยก็ผลิตล้อยางให้กับต่างประเทศนะครับ เช่น ยานเกราะล้อยางของเมกา เป็นต้น ถ้ามีการจับมือในเรื่องนี้ผมว่าน่าจะเอา SMEs พวกนี้เข้าไปร่วมศึกษาด้วยนะครับ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยผ่านโครงการรัฐ

โดยคุณ TheBighit เมื่อวันที่ 17/09/2018 09:32:10


ความคิดเห็นที่ 6


สำหรับผมมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาถ้ารถเกราะล้อยาง 8x8 ของไทยเราจะมีราคาต้นทุนที่สูงกว่าของยูเครน

1. ชิ้นส่วนของเราโดยส่วนใหญ่ยังนำเข้าเช่นเครื่องยนต์ ระบบอำนวยการรบและเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ

2. ค่าแรงขั้นต่ำในยูเครน เดือนละ 62-100 USD /month (ประมาณ 62x35 = 2,170 - 3,500 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าไทย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ทำไมต้นทุนวัสดุและการผลิตจึงราคาถูกกว่าไทยทำเองใช่เอง

http://ukraine.admission.center/th/cost-of-living-in-ukraine/

3.โรงงานผลิตของยูเครนมีทุกสิ่งทุกอย่างในกระบวนการผลิตที่ลงตัวอยู่แล้วดังนั้นเค้าสามารถควบคุมต้นทุนและราคาได้ไม่ยากซึ่งต่างจากไทยซึ่งบริษัทผู้ผลิตตัวอย่างเช่น บริษัทชัยเสรีเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักรก็ยังไม่ได้มีความพร้อม ที่จะรองรับได้เท่ายูเครน อาจจะต้องลงทุนเพิ่มอีกเยอะหากต้องการจะสร้างเองทำเองใช้เองในอนาคต

          แต่ถ้าถามผมหรือใครหลายๆคนก็คงจะบอกได้คำเดียวว่าต่อให้มันแพงกว่าซื้อสำเร็จจากยูเครนก็ต้องทำครับ เข็นเดินหน้ากันต่อไป พร้อมกับการสนับสนุนบริษัทเอกชนที่สนใจงานด้านนี้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตต่างๆให้มีต้นทุนที่ต่ำลง

นั้นก็เพราะว่ามันคือเทคโนโลยีและวิทยาการของไทยเราเอง แล้วอีกอย่างทางฝั่งยูเครนหรือไม่ได้มีการันตีว่าปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศบวกกับดินแดนไครเมียกับทางรัสเซียจะสงบลงแล้ว 100% ก็ยังมีเชื้อไฟรอว่าเมื่อไรจะปะทุขึ้นมาอีก

ดังนั้นเราจะมารอพึ่งพาอะไหล่จากยูเครนแบบเดียวกับ กรณีของ Oplot-M หรือ???

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 18/09/2018 08:50:03


ความคิดเห็นที่ 7


https://www.facebook.com/panus.panusassembly/posts/1644630928971126
http://aagth1.blogspot.com/2018/09/hmv-420.html

อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศของไทยในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นอกจากบริษัท ชัยเสรี และ บริษัท ช ทวี ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ก็มีบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด อีกรายครับ

โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัท พนัส ที่ได้รับการสั่งจัดหาจากนาวิกโยธินไทยแล้วก็คือรถหุ้มเกราะล้อยาง PHANTOM 380-X1 Cobra 4x4 ที่สั่งจัดหาจำนวนหนึ่งไปใช้ที่ชายแดนภาคใต้แล้ว

รวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-150 4x4 ที่ปรับปรุงความทันสมัยมาจากรถเกราะล้อยาง V-150 เดิมของ นย.ที่ส่งให้บริษัทไปสร้างใหม่ โดยรถต้นแบบก็ส่งไปให้ นย.ทดสอบใช้งานจริงที่ภาสคใต้แล้วเช่นกัน

ซึ่งผลงานล่าสุดของบริษัท พนัส คือรถหุ้มเกราะล้อยาง HMV-420 4x4 ที่เป็นการสร้างใหม่ทั้งคัน โดยพัฒนามาจาก HMV-150

อย่างไรก็ตาม HMV-420 นั้นเป็นรถเกราะล้อยางที่ออกแบบใหม่ก็ตาม แต่มีพื้นฐานดั้งเดิมมาจากรถเกราะล้อยางตระกูล COMMANDO 4x4 ของ Cadillac Gage สหรัฐ ที่ออกแบบมาตั้งแต่ปี 1962

ซึ่งปัจจุบัน Cadillac Gage ได้ถูกควบรวมกิจการเป็นส่วนหนึ่งในเครือของบริษัท Textron สหรัฐฯ ที่ยังคงขายรถเกราะล้อยางตระกูล COMMANDO ให้กองทัพสหรัฐฯเอง และส่งออกหลายประเทศเช่น แคนาดา และอื่นๆอยู่

โดยแนวทางการดัดแปลงรถเกราะล้อยาง 4x4 แบบนี้ก็มี่หลายประเทศที่ทำครับ เช่น ที่พัฒนาจากพื้นฐานยานเกราะล้อยางลาดตระเวน BRDM-2 4x4 รัสเซีย ก็มี Caiman 4x4 ของเบลารุส ที่ส่งออกให้ไอวอรี่โคสต์ กับ BKM 4x4 ของ Azov ยูเครน เป็นต้น

สำหรับ HMV-420 ของบริษัท พนัส ไทย เองนั้นก็ยังคงใช้ระบบสำคัญหลักๆที่มาจากสหรัฐฯอยู่ เช่น เครื่องยนต์ดีเซล Cummins กำลัง 420HP และระบบส่งกำลัง Allison 4500SP

ตรงนี้ส่วนตัวก็ไม่แน่ใจครับว่านอกจากโอกาสในการผลิตเพื่อเสนอให้กับสี่เหล่าทัพไทยที่ยังใช้รถเกราะล้อยาง V-150 อยู่ ถ้าจะส่งออกต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ที่เห็นว่ากำลังสนใจอยู่ จะมีปัญญาเรื่องสิทธิบัตรรถกับ Textron สหรัฐฯหรือไม่ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 18/09/2018 17:42:42