หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Alpha Jet ยุคใหม่จะปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง

โดยคุณ : เล็ก เมื่อวันที่ : 07/02/2019 14:44:15

จากข้อมูลที่หายไป เพื่อนๆ คิดว่า A-jet ของเรา จะมีการปรับปรุงอะไรใหม่ๆ บ้างครับ





ความคิดเห็นที่ 1


การปรับปรุงครั้งนี้ จะออกมารูปแบบไหนน้อออออ


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 13:28:26


ความคิดเห็นที่ 2


ภาพไม่มา

ที่นั่งหลัง


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 13:31:36


ความคิดเห็นที่ 3


เอาใหม่อีกรอบ ภาพที่นั่งหลังของ A-jet เบลเยี่ยม เพิ่มจอมัลติฟังชั่น 1 จอ


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 14:15:26


ความคิดเห็นที่ 4


ส่วนภาพนี้ ฟูล กลาสค๊อกพิท ตามโครงการแอดวานด์เทรนเนอร์ ที่โดนยกเลิกไป

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 14:18:16


ความคิดเห็นที่ 5


อีกที


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 14:24:52


ความคิดเห็นที่ 6


ภาพนี้อัพเบาๆ แบบโปรตุเกส เพิ่ม ระบบ RWR

ของโปรตุเกสเป็น รุ่น A เหมือนเราครับ


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 15/10/2018 14:34:15


ความคิดเห็นที่ 7


Portugal to phase out Alpha Jet A
https://www.janes.com/article/75823/portugal-to-phase-out-alpha-jet-a

กองทัพอากาศโปรตุเกสเพิ่งจะปลดประจำการเครื่องบินโจมตีเบา Alpha Jet A ๖เครื่องสุดท้ายจาก ๕๐เครื่องที่จัดหาในปี 1993 ซึ่งเป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศเยอรมนีมาก่อน

ซึ่งเครื่องของโปรตุเกสเป็นรุ่นเดียวกับที่กองทัพอากาศไทยจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๔๓ อาจเป็นไปได้ที่ไทยเราอาจจะไปเจรจาขอจัดซื้อเครื่องบางส่วนมาเป็นอะไหล่

เช่นเดียวกับกองทัพอากาศเบลเยียมที่เพิ่งจะปลดประจำการเครื่องบินฝึกไอพ่น Alpha Jet 1B ๒๙เครื่องที่ประจำการในโรงเรียนการบินร่วมในฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 1978

โดยเบลเยี่ยมเปิดการประกวดราคาเพื่อขายเครื่องบินฝึกไอพ่น Alpha Jet 1B เหล่านี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตามเครื่องรุ่นนี้ของเบลเยียมเป็นคนละรุ่นกับของเยอรมนีที่ขายให้ไทยกับโปรตุเกส

สำหรับโครงการปรับปรุงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Alpha Jet จำนวน ๑๔เครื่องของกองทัพอากาศไทย วงเงิน ๓,๓๘๘,๖๓๗,๘๐๐บาท ไม่ทราบว่าจะสามารถดำเนินการได้ในระดับใด

จะเห็นได้จากกองทัพอากาศโปรตุเกสประจำการเครื่องบินโจมตีเบา Alpha Jet A ที่จัดหาจากเยอรมนีในช่วงปี 1993-2018 รวมอายุการใช้งาน ๒๕ปี
เมื่อมองรูปแบบการจัดหาลักษณะเดียวกันกับกองทัพอากาศไทยก็น่าจะประจำการ บ.จ.๗ Alpha Jet ไปจนถึงราวปี พ.ศ.๒๕๖๘ เป็นอย่างต่ำ

อย่างไรตามถ้าดูจากแนวทางการใช้งานอากาศยานรบแบบอื่นๆของกองทัพอากาศไทยที่มีแต่จะพยายามยืดอายุการใช้งานไปถึงมากกว่า ๔๐ปีแล้ว

อาจจะเป็นไปได้ว่ากองทัพอากาศไทยอาจจะประจำการ บ.จ.๗ Alpha Jet ไปได้ถึงปี พ.ศ.๒๕๗๓ เลยทีเดียวถ้าสภาพเครื่องเอื้ออำนวยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/10/2018 16:41:36


ความคิดเห็นที่ 8


ใจจริง อยากให้ปรับปรุง เผื่อรองรับระบบ เดต้าลิ้งค์ แบบเต็มรูปแบบ มีจอแสดงผลรับข้อมูลจากระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ทอ. และสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องบิน จะ JAS39 F-16 หรือ F-5ST ได้ เพิ่มเติมการใช้อาวุธสมาร์ทใหม่ๆ และที่สำคัญคือ เพิ่มในส่วนของปืนใหญ่อากาศด้วยนะครับ ไม่รู้จากงบที่ได้ มันจะพอไหม 55555

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 17/10/2018 10:11:27


ความคิดเห็นที่ 9


คือ ผมมี แบ็คอัพ ที่ลงไปก่อนนี้  แต่เป็นว่า อาจกระเทือนต่อมความมั่นคง เอาว่า ไม่ลงอีกแล้วนะครับ...........

 

ง่ายๆคือ ตาม วีดีโอด้านล่าง................. หากไม่มีอุปกรณ์นำร่อง  ไอเอ็นเอส    สิ่งที่ทำได้ก็เหมือน แอว-39  นั่นคือ การจิกหัวต่อตีด้วยปืนหรือจรวด      ......ในการทอยระเบิด เพื่อความแม่นยำ นักบินต้องปลดที่เพดานบินต่ำ ระเบิดก็พวก นาปาล์ม หรือ แรงต้านสูง อย่างเช่นสเนคอาย (แรงต้านไม่สูง พวกจะบินตามมาระเบิดใต้ท้องน้อย)  หรือไม่งั้นก็ใช้ท่าไม้ตาย จิกหัวดำทิ้ง สร้างแรงส่งระเบิดดิ่งตรงไปที่เป้า ก่อนนักบินจะดึงขึ้นเพื่อหลบหลีก อันนี้ก็ปลดได้ไกลขึ้นไปอีกหน่อย .......................  

 

จะเห็นว่า การทิ้งให้แม่นยำ นักบินต้องประสบการณ์สูง บินต่ำทอยต่ำ  ไม่งั้นก็ใช้ท่าไม้ตาย ต้องจิกหัว ซึ่งเสี่ยงสูง................. ปัญหาจะหมดไป  เมื่อมีระบบนำร่อง   ( เป็นอย่างไรนั้น ไม่อธิบายแล้ว )        นักบินทอยระเบิดเพดานบินสูง   แม่นเป๊ะ เว่อร์ ................... และถ้าจะวิเศษมีกระเปาะอินฟราเรด เฟลอร์ ใช้ร่วมจอเล็กๆสักจอ   งานนี้ส่องกลางคืนได้ด้วย.................... เอวังก็คงมีด้วยประการเพียงแค่นี้ ก็เพียงพอแล้ว.....................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 11:14:30


ความคิดเห็นที่ 10


เสียดาย ม่ายทันแค๊ปไว้ 55555 แต่จากชื่อโครงการ ปรับปรุงโครงสร้าง ระบบเอวิออนิค และเพิ่มการใช้อาวุธ รอบนี้ INS คงมีติดมาด้วยละครับ

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 17/10/2018 12:26:21


ความคิดเห็นที่ 11


มี ไอเอ็นเอส คอยนำร่องคำนวณ จังหวะการใช้อาวุธ  ............ มี  ผตน.  ส่องเลเซ่อร์ให้บนยอดเขา  อัลฟ่าเจ็ท ทอย เบฟเวย์ เลเซอร์ไกเด็ด มาจากเพดานบินสูง  แค่นี้ก็แม่นไม่แพ้ เอฟ-16 แล้วครับ..............    กระเปาะชี้เป้า  แอตลิส สอง    ไล้เทนนิ่ง   สไนเป้อร์  ไม่ต้อง   .......... เนื่องจาก อัลฟ่าเจ็ท บทบาทสนับสนุนในพื้นที่การรบ  ซึ่งพื้นที่นั้น เรามี ผตน คอยชี้เป้าอยู่แล้ว ........... ขณะที่ เอฟ-16  โจมตีทางลึก  ไม่มี ผตน. คอยช่วยหลังแนว   จึงต้องพก กระเปาะ ไปเอง............................

 

ด้วยดังนี้   อัลฟ่าเจ็ท  จากเครื่องบินโจมตีสนับสนุนการรบอย่างใกล้ชิด    ก็จะเพิ่มมิติภารกิจ  สามารถโจมตีขัดขวางในพื้นที่การรบ ด้วยอาวุธแม่นยำสูง อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปล.  หรือจะทอยเปล่าๆ ด้วยระเบิดซื่อบื้อ   ไอเอ็นเอส   ก็ช่วยให้แม่นเว่อร์ เหมือน เอฟ-16  ในคลิป

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 11:25:15


ความคิดเห็นที่ 12


ดูเหมือนว่า  การจะแทร็ค  เลเซอร์สปอต ที่ฉายไปที่เป้า   ยังไงก็คงต้องมีจอภาพเล็กๆสักจอ ซึ่งแน่นอนภาพย่อมได้จากกระเปาะอินฟาเรด (เฟลอร์)........... ดังนั้นเราจึงเห็น เอ-10   มีกระเปาะอินฟาเรด น้อยๆอยู่ใต้ค็อคพิท ใช้งานร่วมจอภาพใหญ่บักเอ้บ ที่ด้านขวาของคอนโซล (แม้ว่าเราจะไม่ค่อยเห็น เอ-10 ติด เลเซอร์พอด (ก็เพราะใช้บริการจาก แฟกค์ ภาคพื้นเหมือนในคลิป)) ............... กรณี   เอฟ-16   103 กระเปาะชี้เป้า แอตลิสสอง  ตามสเปค คล้ายว่าจะเป็นกล้องทีวี ใช้งานกลางคืนได้ไม่ดีนัก    ระบบแลนเทิร์น เมื่อก่อน ก็แยกเป็น เดินอากาศ และ เลเซอร์ชี้เป้า     แต่กระเปาะใหม่ๆ เด๋วนี้   ชี้เป้าในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี

 

นั่นหมายความว่า  ถ้า อัลฟ่าเจ็ท   ตั้งใจว่าจะให้ใช้ ระเบิดเลเซอร์ให้จงได้  เช่นนั้นก็ต้องมีจอภาพ 1 จอ พร้อมกระเปาะอินฟาเรด (แบบถอดได้) ซึ่ง อาจไม่ต้องมีกระเปาะเลเซอร์ชี้เป้า  โดยใช้บริการจากภาคพื้น..............................    ยกเว้นซะแต่  ไม่มีจุดประสงค์ในการใช้งานระเบิดนำวิถี   เอาแค่ทอยระเบิด คอนเวนชันนั่ล แม่นยำ  ........... ถ้างี้ก็แค่  ไอเอ็นเอส  และ คอมพิวเตอร์ขีปนะ พ่วงใส่กับ ฮัด   ไม่จำเป็นต้องมีจอภาพ  จ้า...............

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 12:48:15


ความคิดเห็นที่ 13


ถ้างั้นอัพ แบบของเบลเยี่ยมก็น่าจะเวิร์ค มีจอด้านหลัง 1 จอ ไว้ทอยไข่ 55555

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 17/10/2018 13:10:57


ความคิดเห็นที่ 14


หรือจะทำขนาดนี้เลยก็ได้ครับ อดีต A เหมือนบ้านเรา

http://s56.radikal.ru/i153/1109/b8/1e095e01f15e.jpg

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 17/10/2018 13:13:48


ความคิดเห็นที่ 15


ต่อเนื่องจากเมื่อกี้สักหน่อยนะครับ........................... เมื่อกี้ ลงไปทานข้าว พึ่งนึกได้......................... เพื่อนๆหลายคนเคยติดตามภาพข่าว สมัยสงครามอ่าว ตอนที่ เอฟ-15 อี สไตร้ค์อีเกิ้ล ขนระเบิดไปถล่ม แบกแดด ................  เพื่อนๆจะเห็นภาพการทิ้งระเบิดที่แสดงในจอภาพ เป็นสองแบบ   .................... แบบแรกคือ   มีภาพเป้าหมายปรากฏอยู่ในจออินฟาเรด  มีกากะบาดเล็กๆทับทาบอยู่ สักพัก ก็เห็นเป้ามายนั้นปะทุขึ้นจากลูกระเบิดที่ส่งลงไป............................ อีกแบบนึงคือ     มีภาพเป้าหมายปรากฏอยู่ในจอภาพอินฟาเรด เหมือนกัน  แต่ภาพมันจะใหญ่ขึ้นๆ  จนเหมือนกระทบกับกล้องแล้วภาพก็กลายเป็นแมงเม่า...............

 

เพื่อนๆครับ  แบบแรกนั้น ก็คือแบบที่ผมอธิบายไปตอนแรก คือต้องมีกระเปาะสร้างภาพติดอยู่ที่เครื่องบิน................ในขณะแบบที่สองนั้น   เป็นภาพที่ได้จากกล้องที่หัว ของระเบิด/จรวด  นั้นเอง    ระบบนี้จึงเรียกว่า การนำวิถีด้วย ทีวี    ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นการประสมกันระหว่าง กล้องอินฟาเรดที่หัวอาวุธ กับระบบนำวิถี ไม่ว่าจะเป็น เลเซอร์ , ไลน์ ออฟ ไซจท์ หรือ อินฟาเรดนำวิถี(เช่นจรวดเฮลไฟร์) ............... ครับซึ่งถ้าเป็นแบบหลังนี้ อาจไม่ต้องมีกระเปาะอินฟาเรดที่เครื่องบิน  ไปใช้ของทีวีที่หัวนำวิถีกันเลย   ประมาณว่า เป็นแบบใช้แล้วทิ้งนะครับ ซึ่งแน่นอน  ระเบิดมันก็คงจะแพงกว่าแบบธรรมดาหน่ะหล่ะ...........................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 14:08:19


ความคิดเห็นที่ 16


"

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 14:11:56


ความคิดเห็นที่ 17


เรียนท่านเล็ก   สำหรับ ภาพตามลิ้งค์ นั่นก็น่าจะพอเป็นไปได้ครับ   ฮัดยังเป็นอันเดิม    ที่เพิ่มมาคือจอภาพ เอนกประสงค์เล็กๆจอนึงตรงกลาง เอาไว้สร้างภาพตอนทิ้งระเบิด    ................ซ้ายบนนั่น เดิมเป็นกล่องกระเปาะเดินอากาศ   อันนี้ดู หะรูหะรา ไม่น้อย ............ ที่ขาดไม่ได้  ขวามือด้านล่าง (ไม่ปรากฎในภาพ ) จะต้องมี ปุ่มบิดหมุน รวมถึงช่องดาวโหลดข้อมูลสำหรับระบบ ไอเอ็นเอส ครับ..................... ลำนี้ ไม่มี เรดาร์วอร์นนิ่ง นะครับ...................ซึ่งผมว่าจริงๆ   ภารกิจนี้อาจไม่ต้องก็ได้ครับ   เพราะศัตรูตัวฉกาดคือ แซม อินฟาเรดแบบแมนแผด ครับ...................... เผลอๆ ตอนยิงไม่มีเรดาร์อะไรด้วยซ้ำ  ใช้ วิช่วล เพียวๆ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 17/10/2018 14:29:49


ความคิดเห็นที่ 18


คงอยู่ที่ ทอ.ละครับ ว่าจะจัดเต็มขนาดไหน หรือเอาแค่ ยืดอายุการใช้งานไปเฉยๆ อยากเห็นข้อมูลการอัพจริงๆ

ปล.ได้ไปอ่าน link ZA ของอัฟริกาใต้คร่าวๆ มันสามารถใช้ร่วมกับ HAWK 120 ได้ด้วย เป็นไปได้ไหม ว่า A-jet เราจะไปทำหน้าที่ตรงนั้น ในฐานนะ link T แต่ข้อมูลไม่รู้จะแชร์กันได้ขนาดไหน จะมาทั้งภาพ และเสียงไฮไฟ สเตริโอ หรือ ไปได้แค่เสียง แบบโมโน ^.^

โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 17/10/2018 14:42:55


ความคิดเห็นที่ 19


ขุด ครับขุด เลขที่ออก อ๊อด อ๊อด

 

อืมมมมม ปรับปรุงรอบนี้ A-jet จะได้อะไรบ้างนะ


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 07/02/2019 13:20:20


ความคิดเห็นที่ 20


รูปครับ

A-jet


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 07/02/2019 13:22:36


ความคิดเห็นที่ 21


รูปไม่ไป TT เอา link ไปแทนละกันครับ RV คอนเน็ค ได้งานไป เหมือนกับคราวปรับปรุง AU-23 เลย๐Ÿ˜Š

https://www.facebook.com/groups/thaiarmedforce/permalink/2283988475179163/


โดยคุณ เล็ก เมื่อวันที่ 07/02/2019 14:44:15