หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กกล่าวไทยสนใจจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39NG

โดยคุณ : AAG_th1 เมื่อวันที่ : 18/11/2018 16:34:14

Thailand interested in acquiring L-39NG training aircraft
https://www.janes.com/article/84559/thailand-interested-in-acquiring-l-39ng-training-aircraft
https://aagth1.blogspot.com/2018/11/l-39ng.html

นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเช็กกล่าวกับสื่อว่าในเข้าพบกับนายกรัฐมนตรีไทยในการประชุม ASEM ที่  Brussels เบลเยียมเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ระบุว่ากระทรวงกลาโหมไทยแสดงความสนใจจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น/โจมตีเบา L-39NG โดยไม่ระบุจำนวน

เป็นที่ทราบกันว่ากองทัพอากาศไทยได้มีการสั่งจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH สาธารณรัฐเกาหลี เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔

เพื่อทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่ปัจจุบันประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้าย
จึงมีข้อสงสัยว่ากองทัพอากาศไทยยังมีความสนใจ L-39NG จากเช็กจริงหรือไม่

หรือความสนใจในส่วนของกระทรวงกลาโหมไทยจะเป็นของเหล่าทัพอื่น เช่น กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย แต่นั่นก็ไม่เป็นที่ชัดเจน

เนื่องจากกองทัพเรือไทยไม่น่าจะมีงบประมาณมากพอที่จะให้ กบร.กลับมาปฏิบัติการด้วยอากาศยานรบปีกตรึงเครื่องยนต์ไอพ่นอีกครั้งหลังจากปลด บ.จต.๑ A-7E ไป

อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้ทราบข่าวที่ไม่มีการยืนยันมา เห็นว่าทางนายกฯเช็กเป็นฝ่ายที่เข้ามาหารือกับนายกฯไทยด้วยตนเองในระหว่างประชุม ASEM ที่เบลเยียม

โดยนายกฯเช็กมีกำหนดที่จะเดินทางเยือนประเทศไทยในเดือนมกราคมปีหน้า เพื่อหารือประเด็นที่สาธารณรัฐเช็กขาดดุลการค้ากับประเทศไทยค่อนข้างสูง

ตามที่บริษัท Aero Vodochody เปิดตัว L-39NG เครื่องต้นแบบที่สร้างใหม่ทั้งเครื่องไปเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/l-39ng.html)

รัฐบาลสาธารณรัฐเช็กจึงกำลังพยายามที่จะเปิดตลาด L-39NG ในกลุ่มประเทศลูกค้า L-39 เดิมให้ได้

ซึ่งในกรณีของไทยนายกรัฐมนตรีเช็กน่าจะขอให้ไทยซื้่อเครื่องบินของตนเพื่อแลกเปลี่ยนชดเชยการขาดดุลทางการค้าระหว่างกันครับ





ความคิดเห็นที่ 1


L39NG ถ้าราคาไม่แพง ผมก็เห็นด้วยที่จะเอามาประจำการ 1 ฝูง แทน L39 ฝูงเก่า ใช้ฝึกบินเป็นหลัก โจมตีเป็นงานเสริม. แต่ต้องมีเงื่อนไขประกอบในไทย. ส่วนอีกฝูงคือ TA50 ก็จัดให้ครบฝูงใช้โจมตีเป็นหลัก ก็น่าจะพอเพราะถึงจะดีกว่า L39 แต่ราคาเครื่องกับค่าใช้จ่ายอื่นๆแพงกว่าพอสมควร.  ส่วน L39 ฝูงเก่าก็ทยอยปลดประจำการ.   สำหรับ Alpha jet ที่ปรับปรุงไปแล้ว จะปลดเมื่อไหร่ค่อยจัด TA50 มาทดแทน  สรุปผมอยากให้มีฝูงบินฝึกบินแท้ๆ 1 ฝูงก็พอแต่จำนวนอาจเยอะหน่อย 20 เครื่อง  และฝูงบินโจมตีแท้ๆ 2 ฝูงๆล่ะ 12-16 เครื่อง

 

 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 16/11/2018 09:35:55


ความคิดเห็นที่ 2


เห็นด้วยตามท่าน rayong ครับโดยเฉพาะประกอบไทย ไหนๆเขาขาดดุลเยอะก็อาจจะต่อรองได้อยุ่
โดยคุณ EXALT เมื่อวันที่ 16/11/2018 10:42:45


ความคิดเห็นที่ 3


L-39NG มีการแบ่งการตลาดเป็นสองแบบคือ L-39NG Stage1 สำหรับการปรับปรุงเครื่องรุ่นเก่าที่มีใช้งานอยู่เดิม

โดย L-39CW เครื่องต้นแบบสาธิตที่ดัดแปลงจาก L-39C ได้ทำการบินครั้งแรกในปี 2015 และได้รับการรับรองในปี 2018

และแบบที่สองคือ L-39NG Stage2 ที่สร้างใหม่ทั้งเครื่องเปิดตัวไปเมื่อกลางเดือนตุลาคม 2018 ในข้างต้น และคาดว่าจะเปิดสายการผลิตได้ในปี 2019

L-39NG มีการปรับปรุงหลักคือการติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ Williams International FJ44-4M และติดตั้งระบบ Avionic ใหม่

โดยเครื่องบินฝึกไอพ่น L-39CW ที่ดัดแปลงปรับปรุงจาก L-39 รุ่นเก่าจะมีโครงสร้างปีกแบบ dry wings ที่มีถังเชื้อเพลิงที่ปลายปีกสองข้างเช่นที่เห็นได้กับ L-39ZA/ART ของไทย

ส่วน L-39NG ที่สร้างใหม่จากโรงงานจะมีการออกแบบภายในใหม่โดยใช้โครงสร้างปีกแบบ wet wings ไม่มีถังเชื้อเพลิงที่ปลายปีก และมีตำบลอาวุธ ๕จุดแข็ง

ปัจจุบันบริษัท Aero Vodochody สาธารณรัฐเช็กได้รับคำสั่งจัดหา L-39NG ที่สร้างใหม่ และ L-39CW ที่ปรับปรุงจากเครื่องรุ่นก่อนแล้วจำนวนหนึ่ง

โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นรัฐวิสาหกิจ-บริษัทเอกชนที่ให้บริการด้านการบิน หรือฝูงบินผาดแผลง(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/fa-259-l-39ng.html)

ลูกค้าที่เป็นกองทัพก็มีเซเนกัลที่สั่งจัดหา ๔เครื่อง กับกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐเช็กเองที่มีแผนจัดหา ๖เครื่อง

อย่างไรก็ตามในกรณีของกองทัพอากาศไทย การนำ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART มาปรับปรุงใหม่แบบ L-39CW ยังมีคำถามเรื่องความคุ้มค่าต่องบประมาณ

การเปลี่ยนเครื่องยนต์จาก Ivchenko AI-25TL ยูเครน มาเป็น FJ44-4M สหรัฐฯพร้อมปรับปรุง Avionic ใหม่น่าจะมีค่าใช้จ่ายพอสมควร

ถ้าจัดหา L-39NG สร้างใหม่ก็มีคำถามว่าสมรรถนะต่อราคาจะคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการจัดหา บ.ขฝ.๒ T-50TH เพิ่มเติมหรือไม่

และรวมไปถึงการปรับปรุงความทันสมัย บ.จ.๗ Alpha Jet ที่มีแผนจะใช้งานต่อไปอีกด้วยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/11/2018 11:30:30


ความคิดเห็นที่ 4


ว่าด้วยเรื่องการฝึกปรือฝีมือการบิน ผมขอเล่าเรื่องราวสักหน่อย...................... ย้อนไปนานเติบ   ตั้งแต่เรามีเครื่องฝึกหัดบินระดับมัธยมเป็นเครื่องบินเจ็ท นาม ที-๓๗ ทวีต อยู่นั้น.....................หากลำดับขั้นจะเป็นไปดังนี้

 

๑.เครื่องฝึกหัดระดับประถม ใช้งานแบบ ซีที-๔ เอ สำหรับฝึกบินขั้นแรกกับนักบินใหม่เรียกว่าเปลี่ยนจากเดินด้วยเท้าแล้วเริ่มมีขนที่ปีก 

 

๒.เครื่องฝึกมัธยมต้น ใช้งานแบบ  เอสเอฟ-๒๖๐    สำหรับฝึกนักบินที่ผ่านมาจากขั้นแรกได้รับเซอร์ฯเป็นนักบินครึ่งปีก (นักบินบีกขนอุย)    ซึ่งสำหรับปลายทางสายนี้ จะเป็นสามแพร่ง คือ ด้านหนึ่งส่งไปต่อสายมัธยมปลายเพื่อบินเครื่องไอพ่นหรือพวกหัวแหลม ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ...........ส่วนอีกสายผมขอเรียกเป็นสาย ปวช.ก็แล้วกัน (๕๕๕๕)    คือสายนี้จุดประสงค์จะไปบินพวกเครื่องตรวจการณ์หรือไม่ก็ลำเลียง  เรียกว่าหัวทู่    นักเรียนจะบินต่อกับเจ้า ๒๖๐ ตัวนี้แหล่ะจนครบสองร้อย ชม. ได้เป็นนักบินสองปีก(ปีกขนสาก  ผู้ไม่ตกลงมาเดินเท้าอีกต่อไปแล้ว )  ............     

หลังจากสำเร็จการศึกษารับใบประกาศก็จะถูกส่งไปฝึกเป็นนักบินพร้อมรบแบบต่างๆ เช่น ฝูงตรวจการณ์ ก็ไปบินกับ โอ-๑  หรือ เอยู-๒๓     บางส่วน ถูกส่งไปบินกับเครื่อง มัลติเอ็นจิ้น (เครื่องหลายเครื่องยนต์)  เช่น โอวี-๑๐  หรือ  เอ็น-๒๒ นอแมด  เพื่อก้าวไปสู่เครื่องบินลำเลียงที่ใหญ่กว่า เช่น ซี-๔๗ ดาโกต้า    ซี-๑๒๓    ซี-๑๓๐    แต่สำหรับนักบิน โอวี-๑๐ บางท่าน ที่มีฝีมือการบินดี   อาจถูกส่งไปฝึกบินต่อประเภทขับไล่ไอพ่น

 

 

  อย่างที่ทุกท่านทราบ  หลังจาก เอสเอฟ-๒๖๐ เริ่มมีอายุการใช้งานมากขึ้น ทอ.พยายามจัดหาเครื่องบินฝึกมัธยมต้นตัวใหม่เข้าประจำการ ซึ่งที่สุดก็ได้สิทธิบัตรการสร้าง เป็น พร็อพรุ่น แฟนเทรนเน่อร์   มาจากสหพันธรัฐเยอรมัน    แต่ใช้งานอยู่ระยะหนึ่ง ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ   ซึ่งประกอบกับการปลดประจำการ ที-๓๗   ทอ.จึงจัดหา พร็อพสมรรถนะสูงแบบ พีซี-๙ เข้าประจำการทดแทนเครื่องทั้งสอง       ถือเป็นการสิ้นสุดทางสามแพร่ง ปวช.และมัธยมปลาย กลายเป็นสายมัธยมสองปีกเพียงสายเดียว

 

๓.เครื่องฝึกมัธยมปลาย ใช้งานแบบไอพ่น   ที-๓๗ ทวีต     เป็นที่ทราบว่า ยุคก่อนนั้นกองทัพของเราทั้งหมดได้รับการสนับสนุนจากอเมริกา    เจ้าเจ็ทฝึกมัธยมตัวนี้เช่นกัน ทอ.ได้เป็นเจ้าของจากการช่วยเหลือ    และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบินย่อมสูงกว่าเครื่องใบพัดลูกสูบทั่วไป การให้นักบินประถมจบแล้วเข้าฝึกต่อกับเครื่องพร็อพ  ค่าใช้จ่ายการบินถูกกว่าจึงเป็นเรื่องประหยัด   ดังนั้นนักบินสายหัวแหลม ต้องผ่านด่านมัธยมต้นจาก เอสเอฟ-๒๖๐ หรือ แฟนเทรนเน่อร์   เสียก่อนจึงมาต่อกับ เจ็ทฝึกคุณภาพห้าดาว ที-๓๗     จนมีชม.ตามหลักสูตรรับใบประกาศ....................หนทางสำหรับนักบินกลุ่มนี้มีทางเดินต่อสองทางกับเครื่องบินสองแบบคือ

 

๔. เครื่องบินฝึกเปลี่ยนแบบก้าวหน้า ที-๓๓   ผมจำได้ว่า ปี ๓๒ เข้ามาสมัครสอบนายเรืออากาศที่ดอนเมือง สมัครเสร็จเดินข้ามไปชมมิวเซี่ยม แต่ไม่รู้อิท่าไหน สองพ่อลูกเดินดุ่ยๆเข้าไปท่าอากาศยานทัพอากาศ ไปถึงบันไดทางลงลานจอด บน.๖ เสียด้วย....................    ได้เห็น ที-๓๓  บินขึ้นแล้วหายไป จนกลับมา  แล้วบินตามด้วยระยะต่อและหักเลี้ยวลงจอดทีละลำ  ด้วยการแต่งตัว(ชุดนักเรียน) คงทำให้ผ่าน สห.มาหลายด่านจนมานั่งถึงขอบบันได    ความมาแตกตรงที่ดันสะเหร่อจะลงเดินไปบนลานบินนี่แหล่ะ สห. เลยถาม(ที่ผู้ปกครอง)     อ้าวคู้นนนนย มาทำอะไร     ...... พาลูกมาดูเครื่องบินครับ.......   เท่านั้นแหล่ะ   ถูกอันเชิญออกจากสถานที่อย่างรีบด่วน    ก็ยังเป็นที่ขำขัน เวลาพ่อลูกมารื้อฟื้นความหลังกัน........................... ครับนั่นแหล่ะ   เมื่อก่อน นักบินหัวแหลม   จบฝึก ที-๓๗ จากนครปฐม ก็ต้องมาเปลี่ยนแบบกับ ที-๓๓  กันที่กรุงเทพ   หลังจากนั้นจะถูกส่งไปฝึกพร้อมรบกับ เอฟ-๕ ทั้งสามฝูงคือ เอฟ-๕ เอ/บี ที่อุดร  อี/เอฟ   ที่ โคราช และ นครสวรรค์   ............... เป็นที่น่าตื่นเต้นว่า     นอกจากที่กล่าวนี้ ที่ดอนเมืองยังได้เห็นนอแมด จอดอยู่อีกฝูงหนึ่ง   อันนี้คาดว่าไว้สำหรับนักบินหัวทู่ จบสาย ปวช. มาบินเปลี่ยนแบบหลักสูตร มัลติเอ็นจิ้น อีกด้วย................

 

๕.เครื่องบินโจมตีเบาไอพ่น เอ-๓๗   เนื่องจากสมรรถนะการบินของเครื่องนี้ไม่สูงจนเกินไป ประกอบกับองค์ประกอบต่างๆคล้ายคลึงกับ ที-๓๗   บางครั้งนักบินจบการฝึกชั้นมัธยมปลายจึงถูกส่งมาฝึกพร้อมรบที่อุบลฯ โดยไม่ผ่านการฝึกเปลี่ยนแบบกับ ที-๓๓ ......................เคยอ่านหนังสือสมรภูมิ ลงบทสัมภาษณ์ ผบ.ฝูงบิน ๒๓๑ อุดรฯ   น.ท.ธีรพงษ์ วรรณสำเริง  (พล.อ.ต.) เล่าว่า ช่วงหนึ่ง นักบินขับไล่กองทัพอากาศลาออกไปทำงานพานิชกันมากจนนักบินขาดแคลน   ทอ.จึงมีนโยบายให้ นักบินที่สำเร็จาจาก รร.การบิน เข้าฝึกพร้อมรบกับฝูง เอฟ-๕ โดยตรงเลย ซึ่งท่านให้สัมภาษณ์ว่าตื่นเต้นและยากมาก แต่ก็ผ่านมาได้

 

ครับ นั่นเป็นเรื่องของเมื่ออดีต ราวปี ๓๐  ปี ๓๖  จะเห็นว่า สายหัวแหลมนั้น มีลำดับทางเดินคือย ประถม ซีที-๔    มัธยมต้น เอสเอฟ-๒๖๐ / แฟนเทรนเน่อร์   มัธยมปลาย  ที-๓๗   เปลี่ยนแบบ ที-๓๓   พร้อมรบสมรรถนะสูง เอฟ ๕  - พร้อมรบสมรรถนะสูงมาก เอฟ-๑๖ (๑๐๓) ..............................

 

เมื่อเทคโนโลยี่พัฒนาไปมาก  จึงเกิดช่องว่างการฝึกเปลี่ยนแบบและพร้อมรบ   เนื่องจากแต่เดิม การเปลี่ยนแบบคือการฝึกเรียนรู้ท่าทางการบินที่ยากขึ้น  และซ้อมท่าทางการรบ   เครื่องจึงเป็นไอพ่นแบบ ซุเปอร์โซนิค (ยกเว้นมะกัน พี่เล่นไฮเปอร์โซนิค ที-๓๘ เลย)  ซึ่งเมื่อจบแล้ว ก็ก้าวไปเป็นนักบินประจำกอง กับเครื่องบินรบสมรถนะสูงต่อไป................   แต่เดี๋ยวนี้ นอกจากด้านสมรรถนะการบิน เครื่องบินรบยังมีเทคโนโลยี่ทางอิเลคทรอนิคล้ำสมัย  นักบินทีจบเปลี่ยนแบบจึงต้องมาฝึกต่อใช้เวลาเป็นอันมาก   ซึ่งเปลืองค่าใช้จ่าย เปลืองค่าเสื่อมราคาในแต่ละเที่ยวบิน  .........................เพื่อแก้ปัญหานี้สำหรับ ทอ.ที่มีงบประมาณมาก ก็จัดหาเครื่องบินสมรรถนะสูงรองรับทั้งการฝึกท่าบินและเทคโนโลยี่ไปพร้อมกัน.............................. แต่สำหรับ ทอ.ที่มีงบประมาณน้อย จึงต้องแยกการฝึก

  

แต่เดิม หลังจากนักบินสองปีกจบจาก รร.การบิน  นักบินหัวแหลมถูกส่งไปนครสวรรค์ฝึกเปลี่ยนท่าทางการบินกับ แอล-๓๙  จากนั้นจึงส่งฝึกประจำกองกับ  อัลฟ่าเจ็ท  เอฟ-๕ และ เอฟ-๑๖   ซึ่งที่ผ่นมา เอฟ-๑๖ รุ่นแรก ยังมี เทคโนโลยี่ไม่สูงนัก   แต่หลังจากการทำ เอ็มแอลยู   รวมถึงการปรับปรุงเอฟ-๕  ทำให้นักบินที่จบ แอล-๓๙   จะขาดทักษะรับมือกับเทคโนโลยี่................. ดังนั้น เพื่อลด ปัญหาความเหลื่อม  จำเป็นจะต้องมีเครื่องบินอีกสักแบบหนึ่ง ที่มีเทคโนโลยี่ ใกล้เคียงเครื่องสมรรถนะสูง   แต่มีค่าใช้จ่ายการบิน รวมถึงค่าเสื่อมราคาที่ต่ำกว่าไว้เป็นบันไดอีกขั้น จึงเกิดเป็น บข.ฝ.๒   ที-๕๐.................... ดังนั้นตั้งแต่ แรกได้วิจารณ์ไปหลายกระทู้แล้วว่า  ที-๕๐ ไม่มีทางเป็นเครื่องบินเปลี่ยนแบบเต็มตัวของเรา   คำกล่าวที่ว่า   ที-๕๐ จะมาแทน แอล-๓๙  จึงถูกแค่ครึ่งเดียว  โดยส่วนตัวเชื่อว่า แอล-๓๙ จะยังประจำการอยู่ และเมื่อปลดลง ก็จะต้องมีเครื่อง ซุเปอร์โซนิค ระดับใกล้เคียงกันมาทดแทน ไม่มีทางที่ ที-๕๐ จะมาแทน ๑๐๐% ครับ ( ยกเว้นสะแต่ ประเทศรวยจากรายได้การส่งออกน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นอันดับ ๒๒ ของโลก เหนือกว่าอินโดนิเซียเสียอีก ) ถ้ามีเงินขนาดนั้น ที-๕๐ อาจรับบททั้งหมด.....อันนั้นเป็นไปได้

 

ครับ   เมื่อเปรียบเทียบเมื่อก่อน มี มัธยมต้น ปวช. และ มัธยมปลาย........................ปัจจุบันก็จะเป็น เอ็กซ์เทิร์น   อินเทิร์นสำหรับ นิสิตแพทย์ไปในทำนองนั้นครับ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 16/11/2018 12:02:30


ความคิดเห็นที่ 5


อ่อ ปัจจุบันนี้  สายหัวทู่  จบ พีซี-๙ มาจากกำแพงแสน จะมาฝึกหลักสูตร มัลติเอ็นจิ้น ที่ฝูง ๖๐๔  กับเครื่องไดม่อน ดีเอ-๔๒ ครับ.............

 

จะเห็นว่า หนทางเป็นนักบินสองปีกของ ทอ.ไทย เด๋วนี้หลากหลายกว่าแต่ก่อน  เมื่อก่อนคือ สองร้อย ชม. ที่โรงเรียนการบินกำแพงแสนเพียงที่เดียว  แต่ปัจจุบัน หลังจากโครงการรับนักบินหญิงจากบุคคลภายนอกและภายในกองทัพอากาศจึงมีอีก ๒ ทางคือ

 

๑ . สองร้อย ชม.จากฝูง ๖๐๔   ซึ่งฝูงนี้ มีทั้งเครื่องบิน เครื่องยนต์เดี่ยว และ มัลติเอ็นจิ้น  ในสองร้อย ชม.บินนั้น  หากได้บินประกอบเครื่องวัด ๓๐ ชม.บิน และ เครื่องยนต์คู่อีก ๓๐ ชม.บิน  ก็มีศักดิ์พอที่จะสอบใบขับขี่พานิชได้ (นักบินสองปีก จบ รร.การบิน สอบไม่ได้ เพราะยังไม่ผ่านฝึกสองเครื่องยนต์)

๒.สายนอก   รับจากผู้ที่มีใบขับขี่ (ใบอนุญาต พานิชตรี)  ซึ่งกลุ่มนี้ คุณสมบัติสมบูรณ์ในซองแล้ว แกะออกชงได้เลย เพียงแต่เข้ารับอบรมณ์การเป็นทหารสัญญาบัติเท่านั้น

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 16/11/2018 14:31:54


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้าเปรียบเทียบในด้านบทบาทภารกิจโจมตีเบา บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A เป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงกว่า L-39NG เกือบสองเท่าครับ

โดย Alpha Jet ติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น SNECMA Turbomeca Larzac สองเครื่องให้กำลังขับเครื่องละ 2,976lbf หรือรวม 5,952lbf

ขณะที่ L-39NG ที่ติดตั้ง ย.Williams International FJ44-4M เดี่ยวให้กำลังขับเพียง 3,790lbs เท่านั้น

Alpha Jet ทำความเร็วได้สูงสุด 540knots อัตราไต่ระดับ 57m/s บรรทุกอาวุธและอุปกรณ์ได้รวม 5,500lbs

ส่วน L-39NG ทำความเร็วได้สูงสุด 420knots อัตราไต่ระดับ 23m/s บรรทุกอาวุธและอุปกรณ์ได้รวม 2,600lbs

ยิ่งไม่ต้องเทียบกับ บ.ขฝ.๒ T-50TH ที่เป็นเครื่องบินความเร็วเหนือเสียงด้วยแล้ว

L-39NG ดูจะเป็นเครื่องที่ไม่น่าจะมาทดแทนความต้องการเครื่องบินโจมตีสำหรับกองทัพอากาศไทยได้ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/11/2018 17:01:10


ความคิดเห็นที่ 7


ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับ L-39 NG ครับ

เราเลือก T-50TH ไปแล้วด้วย ซึ่งก็ถือว่าเป็นเครื่อง multirole

ประเทศไม่ได้มีเงินเยอะขนาดนั้น ขนาด AA ระยะใกล้ก็กำลังลดแบบให้เหลือ IRIS-T แบบเดียว

L39 ZA/ART ถ้ายังจำเป็นต้องใช้ก็คงเป็นแนวโน้มแบบซ่อมกินตัวเป็นหลัก

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 18/11/2018 16:34:14