หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพเรือมาเลเซีย จาก 15 Class To 5 Class

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 24/01/2019 15:13:37

เมื่อปี 2017 มีข่าวเกี่ยวกับ กองทัพเรือมาเลเซีย จะปรับกองเรือจาก เรือ 15 Class เป็น 5 Class โดยประกอบด้วยเรือ จำนวน 55 ลำ

และจากเว๊ป defense-studies.blogspot มีการลงรูปภาพประกอบ เกี่ยวกับ ระยะเวลา ตั้งแต่ปี 2016-2050 หรือรวมระยะเวลาประมาณ 34 ปี กองทัพเรือ มาเลเซีย ก็จะสำเร็จตามเป้าหมาย (ผมคงไม่อยู่ในโลกนี้แล้ว มั้ง)

ก็เลยลองทำ แผ่นภาพ เกี่ยวกับแผนการจัดหาต่าง ๆ ของ กองทัพเรือมาเลเซีย เพื่อจะได้มองว่า ในช่วงระยะเวลาใด กองทัพเรือ น่าจะ เรือประจำการเป็นประเภทใด ชั้นไหน ประมาณการว่า เรือชั้นไหน จะปลดระวางประจำการ เมื่อไร

ภาพประกอบกระทู้ จาก defense-studies.blogspot

 





ความคิดเห็นที่ 1


สำหรับ ทร.สิงคโปร์ จากข้อจำกัดของ พื้นที่ ในเรือ 1 ลำ จึงรวมความสามารถ ของทั้ง OPV และ LMS ในลักษณะภาระกิจของ ทร.มาเลเซีย ไว้ได้ในลำเดียว

สำหรับ ทร.ไทย เรายังภูมิใจในลักษณะ เรือปืนล้วนๆ ไม่เจือส่วนผสม UAV กันต่อไป...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/01/2019 15:13:37


ความคิดเห็นที่ 2


แผ่นที่ 1  จำนวนเรือ 55 ลำ มาจากไหน เรือ 15 ชั้นมาจากไหน

ในบางเว๊ป จะลงภาพประกอบที่แตกต่างไปจาก ข้อมูลตามแผ่นภาพนี้ 

โดยตามความเห็นผม เรือ จำนวน 15 ชั้น น่าจะมาจาก เรือรบที่ประจำการในปัจจุบัน รวมกับ เรือที่มีการสั่งซื้อไปจำนวน 16 ลำ

โดยผมไม่ได้รวมกับ เรือ สนับสนุนทั่วไป และ เรือสำรวจใต้ทะเล


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2018 10:11:49


ความคิดเห็นที่ 3


ภาพแผ่นที่ 2  จะแสดงข้อมูลว่า ปัจจุบัน กองทัพเรือมาเลเซีย มีเรือรบ จำนวน 39 ลำ บวก ที่สั่งซื้อใหม่ รวม 16 ลำ รวมเป็นเรือรบทั้งสิ้น 55 ลำ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2018 10:13:44


ความคิดเห็นที่ 4


หลังจาก ทำแผ่นภาพ ข้างต้น ก็พอจะมี เรื่องคุย หรือ วิเคราะห์ ต่อไป ว่า

1. ทร.มาเลเซีย เน้นการป้องกันแนวเขตเศรษฐกิจเป็นสำคัญ มากกว่า สงครามในน่านน้ำทะเลลึก

2. ทร.มาเลเซีย จะเปลี่ยนจากคุณลักษณะเรือรบ FFG เป็น LCS ที่จะมีความยืดหยุ่น ตามภาระกิจ ตามรอย ทร.สหรัฐ

3. ภาระกิจ ต่อต้านทุ่นระเบิด ในอนาคต ของ ทร.มาเลเซีย คงจะเป็นหน้าที่ของ LCS ซึ่งจะช่วยให้เราได้วิเคราะห์แบบต่อไป

4. ยานรบประเภท ตรวจจับ ตรวจการณ์ แบบไร้คนขับ ของ ทร.มาเลเซีย จะมีมากขึ้น เพื่อใช้กับเรือ LCS

5. ข่าวการจัดหาต่อไป ที่จะได้เห็น คือ Multi Role Support Ship จำนวน 2 ลำ

6. ในช่วงปี 2025 ทร.มาเลเซีย จะมีเรือรบจำนวน 55 ลำ แต่ยังมีชั้นเรือจำนวน 15 ชั้นอยู่

7. เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งรุ่นใหม่ สำหรับในอนาคต ที่จะมาแทน เรือ OPV ปัจจุบัน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2018 10:23:17


ความคิดเห็นที่ 5


กลับมาดู ข่าวการจัดหาใหม่

แบบ Missile Surface Corvette จะจัดอยู่ในหมวด New Generation Patrol Vessel

แบบ Littoral Mission Ship จะมีความสามารถใช้ ชุด container ต่อต้าน ทุ่นระเบิด ด้วย

จึงขอจัดหมวดเรือใหม่

ภาพที่ 1  จำนวนเรือ 55 ลำ จำนวน 15 Class และในอีก 30 ข้างหน้า ทร.มาเลเซีย จะมีเรือใหม่ เข้าประจำการ จำนวน 53 ลำ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2018 12:37:11


ความคิดเห็นที่ 6


ภาพที่ 2 ความน่าจะเป็น ชั้นเรือ ที่มีประจำการ ตามแต่ละช่วงเวลา ตามแผน ดังนั้น ในช่วงนี้ คงตามข่าวของเรือ MRSS จำนวน 2 ลำ ที่จะเป็นข่าวใหม่ ส่วน NGPV ชุดใหม่ ที่จะมาแทน Kedah Class คงต้องรอกันอีก 10 ปี


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2018 12:39:32


ความคิดเห็นที่ 7


1. https://www.youtube.com/watch?v=EP3ZsruDllk&t=567s

 

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 31/12/2018 14:56:22


ความคิดเห็นที่ 8


2.

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 31/12/2018 14:56:52


ความคิดเห็นที่ 9


มองภาพอนาคต กองทัพเรือมาเลเซีย ในปี 2050

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/01/2019 10:39:55


ความคิดเห็นที่ 10


ดูแล้ว กองทัพเรือมาเลเซีย ค่อนข้างวาง concept ชัดเจนดีว่า จะเป็น กองเรือคุณลักษณะใด

สิ่งที่จะนำสมัยต่อ ๆ มา คือ unmanned aerial vehical ต่าง ๆ ที่จะตามมา ทั้ง ต่อต้านเรือดำน้ำ ต่อต้านทุ่นระเบิด

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/01/2019 10:45:18


ความคิดเห็นที่ 11


ทัพเรือมาเลเซียยุคใหม่ดีมากในความคิดผม หลายสิ่งหลายอย่างอยากให้ทร.ไทยนำมาใช้งาน ลอกการบ้านตามกันไปเลยไม่ต้องคิดเอง (อาทิเช่นสิ่งที่ไม่มีวันเป็นไปได้คือหน่วยามฝั่ง) เสียดาย...คนไทยจำนวนมากมีอคติบังตา เอาแต่จิกกัดมาเลเซียแล้วก็อวยกันเองไม่ลืมหูลืมตา หลายวันมานี้ได้ยินคำว่า sea state 8 จนเบื่อมาก หลายวันมานี่ได้ยินคำว่าเรือพิฆาตจนเซ็งสุดๆ มาเลเซียมองตัวเลขในเชิงปริมาณ แต่ไทยแลนด์มองตัวเลขในเชิงคุณภาพ เรากำลังจะโดนเขาทิ้งห่าง...ทั้งที่อดีตเขาตามหลังเราหลายก้าว
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 05/01/2019 12:03:19


ความคิดเห็นที่ 12


เห็นด้วยกับความเห็นท่าน superboy ครับ

โดยเฉพาะ หน่วยยามฝั่ง นี่ ผมก็ว่า จะยังหวงอยู่ทำไม ประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจทางทะเล ล้วนแต่ แยกหน่วยออกเป็นอิสระ ซึ่งมีผลทั้งในแง่การบังคับกฎหมาย และทางการเมืองระหว่างประเทศ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ก็คงมีแต่ พม่า กับ กัมพูชา และไทย เท่านั้น ที่ยังไม่มี

กองเรือยามฝั่งของ ฟิลิปปินส์ ก็ขึ้นตรงกับ กระทรวงคมนาคม ดังนั้น การช่วยเหลือและสนับสนุนจากประเทศ ญี่ปุ่น เช่น การบริจาคเรือยามฝั่ง หรือ สนับสนุนเงินกู้จัดซื้อเรือ ก็เสมือนกับการสนับสนุน กระทรวงคมนาคม ของ ฟิลิปปินส์ ไม่ใช่ กระทรวงกลาโหม 

ดังนั้น ในแง่งบประมาณเอง มันก็จะแยกต่างหาก ไม่เกี่ยวกับ งบประมาณกองทัพเรือ แล้ว กองทัพเรือ จะเป็นเตี้ยอุ้มค่อม ไปทำไม

การแยก กองเรือยามฝั่ง ออกจาก กองทัพเรือ ไม่ได้หมายความว่า กองทัพเรือจะถูกลดงบประมาณแต่อย่างใด 

โดยงบประมาณในส่วนนี้ มันจะไปเพิ่มในหน่วยขึ้นตรง ซึ่งมันจะมีแต่เพิ่มงบประมาณ ไม่ได้มีผลกระทบกับการลดประมาณกับใคร

และในแง่การปฏิบัติงาน ก็ต้องประสานงานกันกับ กองทัพเรือ และหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ เป็นปกติ เหมือนเดิม


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/01/2019 08:07:28


ความคิดเห็นที่ 13


ข่่าวต่อไป ที่น่าจะมาพร้อม ๆ กับ เรือรบใหม่ คือ เฮลิคอปเตอร์ใหม่ สังกัด กองทัพเรือ

โดย เมื่อเดือน ตุลาคม 2561 กองทัพเรือมาเลเซีย ก็มีข่าว ครบ 10,000 ชั่วโมงบิน กับ ซุปเปอร์ลิงซ์

Malaysian Navy Hits 10,000 Super Lynx Flight Hours

By R&WI Staff | October 23, 2018 

The Royal Malaysian Navy has flown 10,000 hours in its six Leonardo Super Lynx helicopters since taking delivery of the first utility aircraft in 2003.

The Royal Malaysian Navy took delivery of its first Super Lynx in 2003 with the other five aircraft following in 2004. The aircraft are equipped to perform a wide range of roles including anti-surface warfare, anti-submarine warfare, maritime and coastal surveillance, over the horizon targeting and a number of secondary roles.

“The arrival of the Super Lynx helicopters gave the Royal Malaysian Navy a massive increase in capability, in fact at the time they were the most advanced and capable naval helicopters in their weight class worldwide,” Lorenzo Pariani, Leonardo’s head of region for southeast Asia, said at the ceremony. “It is testament to the professionalism of the Royal Malaysian Navy that they have now reached 10,000 flying hours whilst protecting Malaysia’s national interests and supporting international maritime security operations. We look forward to continuing our long and successful collaboration with the Royal Malaysian Navy.”

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/01/2019 08:48:05


ความคิดเห็นที่ 14


โดยประเมินว่า เฮลิคอปเตอร์ ที่จะมาเพิ่มใหม่ น่าจะประกอบไปด้วย

1. MH-60R

2. EC-725

หรือ แบบใด แบบหนึ่ง

The Royal Malaysian Navy (RMN) wants an organic maritime patrol and reconnaissance capability. This role is currently provided by four Raytheon Beechcraft Super King Air B200Ts acquired in 1994. Given the requirement to better patrol the Malacca Straits against piracy and smuggling, the RMN has examined offers from Lockheed Martin, Northrop Grumman, Saab/Embraer and EADS. Malaysia has identified a requirement for three to four platforms.

The Navy had plans to buy 12 Eurocopter EC-725 worth RM1.607 billion, to replace the ageing fleet of Sikorsky S61-A4 Nuri. However, the purchase was postponed on 28 October 2008 because the government had to focus on projects that were more beneficial to the people. The EC-725 aircraft was chosen because the model was an upgrade from the AS532 Cougar helicopter and had made its first flight in 2000 to fulfil French Air Force Combat Search and Rescue (CSAR) requirements. The Royal Malaysian Navy plans to purchase at least six anti-submarine warfare helicopters, but this requirement is likely to be postponed to 2013 due to the 2012 budget cuts. Sikorsky had been heavily marketing the MH-60R Seahawk for this requirement, although Eurocopter offered the possibility of a navalized EC725.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/01/2019 08:57:43


ความคิดเห็นที่ 15


ประเมินว่า

MH-60R + LCS, MSC

EC-725 + NGPV, MRSS


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/01/2019 09:19:54