หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาลองนั่งเดา กับ งบประมาณปี 62 ของ กองทัพเรือ

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 01/02/2020 14:34:06

ในปีงบประมาณ 2562 กองทัพเรือ ได้งบประมาณการจัดซื้ออาวุธใหม่ จำนวน 7 โครงการ

รวมงบประมาณปี 62 จำนวน 14,464,000 บาท

ตอนนี้ที่แสดงรายการใน สนง.จัดหายุทโธปกรณ์ มีอยู่ 3 รายการแล้ว คือ

1. จัดหา เครื่องบินลาดตระเวณทางทะเล จำนวน 3 ลำ วงเงิน 6,485,000,000 บาท

2. จัดหา เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง (แบบ ต.994) จำนวน 2 ลำ วงเงิน 780,000,000 บาท

3. จัดหา ระบบปืนกล จำนวน 2 ระบบ (30 ม.ม.) สำหรับ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง 2 ลำ วงเงิน 140,000,000 บาท

จึงยังคงเหลืออยู่อีก 4 รายการ วงเงินงบประมาณรวม 7,059,000,000 บาท

ท่านสมาชิกคิดว่า จะมีโครงการอะไรอีก ?





ความคิดเห็นที่ 1


จะมี ฮ.ตผ.1ก อยู่ด้วยหรือเปล่า จำนวน 2 ลำ งบประมาณ 3,500 ล้านบาท (เท่ากับ ทร.ฟิลิปปินส์)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 13:28:38


ความคิดเห็นที่ 2


หรือ เพิ่ม ฮ.ลล.5 อีก 2 ลำ เพราะมีงบประมาณปรับปรุง ฮ.ปด.1 หมายเลข 3206 ระยะ 2 ไป เมื่อเร็วๆ นี้ จำนวน 240 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะเพิ่มเติมระบบ ยิงจรวดต่อต้าน เรือผิวน้ำ หรือเปล่า?

และคาดว่า Bell-214ST น่าจะใช้ไม่ไหวแล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮ.ลล.5 mh-60s

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 13:38:18


ความคิดเห็นที่ 3


น่าสนใจว่าอีกสี่โครงการที่เหลือคืออะไร?

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 26/06/2019 13:54:26


ความคิดเห็นที่ 4


ค่าผ่อนเรือดำน้ำรวมอยู่ด้วยไหมครับ หรือจะสั่งลำที่สองต่อเลย หรือจะขึ้นโครงการเรือฟริเกตเกาหลีลำที่สอง ทหารเริอก็ต้องซื้อเรือสิ เหอๆๆ
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/06/2019 14:33:50


ความคิดเห็นที่ 5


เป็นการตั้ง งบประมาณโครงการใหม่ ครับ ท่าน Superboy ไม่รวมงบประมาณ ผูกพันเดิม ครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 15:40:48


ความคิดเห็นที่ 6


เป็นข้อมูลที่ รวบรวมมาช่วงปีงบประมาณ 2560 แต่ตัวเลขจริง ปีนี้ ที่เป็นงบผูกพันจากการจัดหาโครงการใหม่ จะ 10,000 กว่าล้าน ไม่ใช้ 9 พันล้าน


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 16:08:00


ความคิดเห็นที่ 7


สรุปถ้านับโครงการใหม่ ตั้งแต่ปี 2560 จนถึง 2562 จะมีโครงการใหม่ของ ทร. รวมจำนวน 19 โครงการด้วยกัน

ซึ่งก็ไม่รู้ว่า โครงการใหม่ตั้งแต่ปี 2560 มีสำเร็จไปกี่โครงการ แต่สรุปว่า ยังมีโครงการค้างตั้งแต่ปี 2555 - 2561 รวม 16 โครงการ

เมื่อรวมกับ โครงการใหม่ ปี 2562 จำนวน 7 โครงการ จะรวมเป็นโครงการของ ทร. ที่ยังค้างอยู่ 24 โครงการ ในปี งบประมาณ 2562

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 16:13:57


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าไม่รวมเงินผ่อนเรือดำน้ำก็สมควรซื้อเรือฟริเกตลำที่สองได้แล้วนะครับ คือถ้าชลอไปอีก 2 ปีแบบเรือมันจะเก่าจนสมควรคัดเลือกแบบใหม่ เราก็จะมีเรือรุ่นล่ะลำเดียวให้ปวดหัวเล่นอีก ผมมองว่าการซื้อเรือรบสำคัญกว่าเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบิน หรือเรือ opv เพราะใช้เวลาสร้างนานกว่า ราคาแพงกว่า ซื้อก็ยากกว่า ปัญหาจุกจิกกว่า ครั้นจะมาสร้างเองก็อย่างที่เห็น ซื้ออีกลำให้มันจบๆ จะได้ไปทำอย่างอื่นต่อ
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/06/2019 17:09:33


ความคิดเห็นที่ 9


เดา ว่า เรือฟริเกตลำที่ 2 น่าจะมาในปีงบประมาณ 65 ส่วนเรือดำน้ำ ผมว่า Midget Submarine น่าจะแซงมาก่อน เรือดำน้ำจีน ลำที่ 2 ซึ่ง ทร. ตั้งงบประมาณในการออกแบบไว้ น่าจะ 80-100 ล้านบาท และเมื่อลองไปดู ผัง บังคับบัญชากองเรือดำน้ำ จะมี ผบ.หมวดเรือดำน้ำ ถึง 3 หมวด นั่นน่าจะหมายถึง ทร. อาจจะวางแผนการจัดหาเรือดำน้ำไว้ 3 แบบ หมวดที่ 1 อาจจะหมวดเรือดำน้ำ จีน 1 ลำ หมวดที่ 2 อาจจะหมวดเรือดำน้ำจากฝากตะวันตก อาจจะมือ 1 หรือมือ 2 จำนวน 2 ลำ หมวดที่ 3 อาจจะ Midget submarine จำนวน 3 ลำ เดาล้วนๆ
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 18:59:49


ความคิดเห็นที่ 10


หรือ โครงการ เรือสนับสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด เพื่อทดแทน ร.ล.ถลาง

บริษัท BMT Desige & Technoloty ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่ ทร. อ้างอิงราคากลางในการจัดจ้างที่ปรึกษา โครงการ Midget Submarine

ซึงก็มีแบบเรือ ต่อต้านทุ่นระเบิด ด้วยเช่นกัน โดยแบบเรือ ก็ทำได้หลายภาระกิจ ทั้ง สำรวจใต้น้ำ และ ต่อต้านเรือดำน้ำ ได้ด้วย ซึ่งอาจจะพอจะเป็นเรือ สนับสนุน เรือดำน้ำ ได้ด้วยก็ได้

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/06/2019 11:27:51


ความคิดเห็นที่ 11


แบบโครงการ เรือดำน้ำ ของ BMT ขนาด 720 ตัน ซึ่งเท่าที่ดูในเวป บริษัท BMT เป็นบริษัท ให้บริการการทำ โครงการออกแบบต่างๆ ซึ่ง เรือ Midget Submarine ของ ทร.ไทย คงเป็นแบบของ ทร. เอง โดยอาศัยเทคโนโลยี่ และความรู้ที่จะได้รับการถ่ายทอด นำมาออกแบบ ซึ่ง Midget Submarine ของ ทร.ไทย คงขนาดเล็กกว่านี้

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/06/2019 11:31:14


ความคิดเห็นที่ 12


อ่อ...ผมไม่ได้ติดตามข่าวสารมานาน...มันเคยมีออกข่าว อ้างจาก บางกอกโพส วันที่ 18 ก.ค. 2561 ว่า รัฐบาล อนุมัติงบประมาณ 193 ล้านบาท

Royal Thai Navy Capt Sattaya Chandraprabha briefs media on his assignment to design a mini-submarine of between 150-300 tonnes surface displacement and a crew of 10. (Photo by Pawat Laopaisarntaksin)

Prime Minister Prayut Chan-o-cha has approved a 193-million baht project to design a so-called "midget" submarine -- the first step in the planned construction of a prototype for the Royal Thai Navy.

The design will take an estimated four years, with construction of the prototype expected to take another two years at an expected cost of another 1 billion baht.

Capt Sattaya Chandraprabha from the Royal Thai Navy Academy announced the decision Tuesday.

The design will take four years and construction of the first mini-submarine another two, to be followed by seaworthiness checks and training for one year, Capt Sattaya said.

The cost of the mini-submarine will be known after four years.

Capt Sattaya, head of the mini-submarine research project, said the navy began the project last October.

Some 25 navy officers, all graduates in naval architecture and other fields from schools in Europe, were sent for training in England.

Gen Prayut floated the idea to build the craft, with 193 million baht allocated for research, Capt Sattaya said.

The first mini-submarine in the unofficially named "Chalawan Class" would have a surface displacement of 150-300 tonnes, a crew of 10 and a 300-nautical-mile range, he said.

In April last year, the cabinet endorsed the navys purchase of a Yuan Class S26T submarine from China for 13.5 billion baht, part of a plan to buy three for 36 billion baht.

Tesla boss Elon Musk brought a mini-submarine made of rocket parts and named "Wild Boar" to Thailand on July 10 to potentially help with the rescue of 12 boys and their coach trapped in a cave in Chiang Rai, but it was not used.

ออกแบบ 4 ปี สร้างต้นแบบ 2 ปี ทดสอบ 1 ปี รวมเป็น 7 ปี น่าจะใช้เงินประมาณในการออกแบบ 1,000 ล้านบาท

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/06/2019 12:07:22


ความคิดเห็นที่ 13


ถ้าฟรีเกตลำที่ 2 มาในงบปี 65 นี่มันจะนานเกินไปหรือเปล่าครับ กว่าจะได้เรือก็อีก 3 -4 ปี. ไม่งั้นจะห่างกันเกิน ฟรีเกต ทร. แต่ละลำเก่าๆทั้งนั้น ผมมองว่ามันควรเป็นงบปี 63 

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 28/06/2019 14:02:50


ความคิดเห็นที่ 14


ค่าย Leonardo ส่ง C-27J มาแข่งไม่ใช่เหรอครับ

 

ผมว่าตัวนี้น่าสนใจดีนะครับ รูปทรงสวย ระบบควบคุมการบินคุ้นๆว่า ใช้ของ Lockheed Martin ดูแล้วน่าจะเข้ากันได้กับกองทัพเรือเราอย่างเหมาะเจาะ


โดยคุณ end เมื่อวันที่ 28/06/2019 16:34:22


ความคิดเห็นที่ 15


Buk ของ สอ.รฝ.  กับ รถเกราะ รถถัง สะเทินน้ำสะเทินบก นย. รวมไหม

โดยคุณ GT500 เมื่อวันที่ 28/06/2019 21:09:55


ความคิดเห็นที่ 16


ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูล MC-27J

ส่วน Buk กับ รถเกราะ รถถัง ก็น่าจะเป็นไปได้ครับ ส่วนจะเป็นของปีงบประมาณก่อนหน้านี้ หรือ ของปีนี้ คงต้องรอดูข่าวต่อไป

ส่วน เรือฟริเกต ลำที่ 2 ที่ เดา ว่า งบประมาณปี 65 คิดจากว่า งบประมาณปี 62 งบประมาณจัดหาใหม่กว่า 14000 ล้านบาทแล้ว ปีงบประมาณ 63 น่าจะปรับลดงบประมาณจัดหาใหม่ลง เหมือนปี 61 แล้วถ้าจะเพิ่มขึ้นสูงอีกที น่าจะปี 64 หรือ 65 ส่วนจะอย่างเร็วปี 64 หรือไม่ ผมว่า อาจจะต้องหลีกทางให้ ทอ. สำหรับจัดหาฝูงบินรบใหม่ เพราะด้วยสภาพเศรษฐกิจ น่าจะวังเวงไปอีก 2 ปี งบประมาณที่เกินดุลมาตลอด 5 ปี น่าจะกลับมารัดคอใน 1-2 ปีนี้ 

ส่วนเทคโนโลยี่ จะล้าหลังไปไหม ผมคิดว่า ในกองเรือฟริเกต ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สมรรถนะที่เท่าเทียมกัน คือ ร.ล.ภูมิพลฯ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน รวมจำนวน 3 ลำ น่าจะเพียงพอในระยะ 15 ปี ข้างหน้านี้ เลยมองแนวโน้มว่า ถ้าระยะเวลามันเลยไปนาน ทร. อาจจะใช้ระบบใหม่ ไปเลย ในลำที่ 2 และ ที่ 3 ซึ่งพอถึงช่วงครึ่งอายุใช้งานของ ลำที่ 1 ทร.ก็ทำ อัพเกรด ก็จะได้เรือรบสมรรถนะสูง จำนวน 3 ลำ เหมือนกัน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/06/2019 15:30:47


ความคิดเห็นที่ 17


ผมมองว่าตอนนี้เรือฟริเกตที่รบได้ทั้ง 3 มิติจริงๆมีแค่ 3 ลำ ซึ่งน้อยเกินไปเมื่อคิดว่าต้องดูแลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ให้ดีต้องมี 5 ลำ ส่วนเรือชั้นเจ้าพระยา 4 ลำ ผมขอลดชั้นเป็นเรือตรวจการไกลฝั่งก็แล้วกันครับเพราะระบบอาวุธก็เท่ากับเรือหลวงประจวบฯเท่านั้น ทำให้เรือตรวจการไกลฝั่งมีมากเกินพอ. แล้วปี 63 ก็เริ่มเรือฟริเกตลำที่ 2 งบผูกพัน 4ปี ส่วนปี 64-65 น่าจะถึงคิวเรือดำน้ำลำที่ 2 จากจีน ซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นลำสุดท้าย ก่อนจะเปลี่ยนแผนไปเป็นเรือดำน้ำแบบอื่น เช่น แบบ midget submarine ที่กำลังออกแบบเอง

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 30/06/2019 18:47:58


ความคิดเห็นที่ 18


ส่วนตัวผมมองว่ากองทัพเรือยังเห็นว่าทะเลฝั่งอันดามันเป็นลูกเมียน้อย จึงส่งแค่เรือคอร์เวตชั้นเรือหลวงรัตนโกสินท์กับเรือฟริเกตชั้นเจียงหูไปประจำการ ส่วนที่เหลือก็เป็นเรือตรวจการณ์และเรือช่วยรบทั่วไป โดยมีเรือ LST เป็นเรือลำใหญ่ที่สุด (ในกรณีช่วยผู้ประสบภัยทางทะเล) ถ้ามีเหตุจำเป็นจึงจะส่งตัวเจ๋งจากอ่าวไทยไปรับแขก ใช้เวลาเดินทางหลายวันหน่อยเพราะเราไม่มีเส้นทางลัด

 

แผนนี้ถ้าเป็น 10 ปีที่แล้วผมเห็นด้วย แต่ตอนนี้ทัพเรือฝั่งอันดามันเราแพ้ทัพเรือพม่าแบบสู้กันไม่ได้ไปแล้ว (นับเฉพาะทัพเรือชนทัพเรือทัพอื่นไม่เกี่ยวนะ) รวมทั้งตอนนี้พม่ามีเครื่องบินตรวจการณ์ติดเรดาร์ระยะไกลของอิสราเอล สามารถช่วยต่อระยะจรวด C-802A ของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม (ของเรายังไม่มี มัวแต่ไปลุ้นอเมริกาอัพของฟรีให้ซึ่งผมมองว่าไม่ควรให้เขาทำให้ฟรีๆ อีกต่อไปแล้ว) อาวุธป้องกันตัวเองเขาก็มี AK630 แบบ 6 ลำกล้องรวบติดไว้ทุกลำที่สำคัญ อาจไม่ดีระดับฟาลังซ์แต่ปืนยิงเป็ดอย่าง DS-30MR ซึ่งยิงได้แค่ 180 นัด/นาทีเทียบกันไม่ได้เลย จรวดแอสปิเด้ก็เก่ามากยิงจรวดด้วยกันไม่ได้แน่นอน ขนาดทดสอบยิงโดรนยังพลาดเป้าตั้งหลายครั้ง

 

เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งถ้าไม่อยากเสียเงินเยอะ ซื้อเรือชั้นเรือหลวงปัตตานีมาใช้งานอีก 2 ลำเป็นอันว่าจบเรื่อง มีพื้นที่รองรับจรวดฮาร์พูนอยู่แล้ว มีโรงเก็บฮ.ขนาดไม่เกิน 7 ตันด้วย เพียงแต่ถ้าจะไปปราบโจรสลัดที่โซมาเลีย ใช้งานเรือหลวงกระบี่ซึ่งออกแบบให้ออกทะเลลึกได้จะเหมาะสมกว่า และสมควรหาเรือฟริเกตติดจรวด ESSM มาไว้ที่อันดามันสักลำ หรือถ้ามีเงินมากพอก็จัดหาเรือฟริเกตเบาติดจรวด VL MICA ระยะยิง 20 กม.ผมโอเคนะ แต่ดูเหมือนทร.อยากได้เรือลูกผสมคือเอา OPV มาติดจรวดแล้วให้ออกไปลุยแถวหน้า ก็ว่ากันไปครับ

 

นอกจากเครื่องบินตรวจการณ์ติดเรดาร์แรงๆ แล้ว อาวุธที่เหลือผมยังมองไม่เห็นความจำเป็นในตอนนี้ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำของเดิม 6 ลำติดโซนาร์ให้ครบก่อนเถอะ โครงการของ สอรฝ. ข้ามๆ ไปก่อนก็ได้ เรือดำน้ำเอาลำแรกของจีนมาจอดท่าเรือก่อน ส่วนลำเล็กที่ออกแบบเองอย่าเพิ่งคาดหวังไปไกลนัก โครงการที่เราทำล่มแล้วล่มอีกตั้งไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง (เรือ OV ได้ลิคสิทธิ์มา 10 ปีสรุปได้แค่ 2 ลำทั้งที่สร้างง่ายกว่าเรือดำน้ำไม่รู้กี่เท่า) เอาต้นแบบลำแรกให้เรียบร้อยก่อนดีกว่า อย่าเพิ่งหวังว่าจะติดอาวุธเป็นไม้เด็ดอะไรพวกนี้เลย

 

แต่ให้เดา...ทร.จะปรับปรุงเรือหลวงเจ้าพระยากับเรือหลวงบางปะกงให้เหมือนกับอีก 2 ลำ แล้วส่งไปอยู่อันดามันเป็นเรือหลักเท่านี้แหละจบข่าว ถึงเวลาเข้าจริงๆ งานนี้ตัวใครตัวมันครับ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/07/2019 08:17:57


ความคิดเห็นที่ 19


ราคากลางของ เครื่องบินลาดตระเวณทางทะเล จำนวน 3 ลำ มีแหล่งที่มา จำนวน 4 บริษัท

1. PT.Dirgantara INDONESIA (Persero)

2. Airbus Defense and Space

3. Leonardo S.p.A

4. Lockheed Martin

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 12:28:25


ความคิดเห็นที่ 20


เครื่องบินไม่มีบริษัทยื่นซองครับท่านจูดาส เพราะราคาไม่พอซื้อ 3 เครื่อง อาจต้องรอปีหน้าปรับลงมาเหลือ 2 ลำแล้วเปิดให้ยื่นใหม่
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 26/06/2019 12:32:37


ความคิดเห็นที่ 21


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ท่าน Superboy...เอ...หรือว่า จะมีอะไรแปลกๆ พวก P-8A บินผ่านกองทัพเรือบ่อย ๆ หรือเปล่า หน๊ออออ...เลย ยกเลิก ไปก่อน...ฮ่า ๆ ๆ ๆ ๆ 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 12:39:07


ความคิดเห็นที่ 22


แหล่งที่มา ของ ราคากลาง 

1. P.T.Dirgantara 

Image result for p.t dirgantara indonesia MPA

2. Airbus Defense and Space

Image result for airbus defense and space mpa

3. Leonardo S.p.A

Image result for leonardo S.p.A mpa

4. Lockheed Martin

Image result for lockheed martin mpa

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/06/2019 12:46:56


ความคิดเห็นที่ 23


ในส่วนเรื่อง ฝั่งทะเลอันดามัน ในความเห็นผม

ถ้าเทียบ ผลประโยชน์ทางทะเล แล้ว ฝั่งอันดามัน สำหรับไทย มีแต่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

แหล่งพลังงานทางธรรมชาติ น่าจะแทบไม่มี ในอดีตเคยสำรวจ ก็ตรวจไม่พบ  และสำหรับ อาณาเขตน่านน้ำไทย ก็ไม่มีพื้นที่ทับซ้อนที่จะเป็นปัญหาระหว่างประเทศเลย

โดย ฝั่งอันดามัน อาณาเขตเราแคบกว่า อ่าวไทย พอสมควร ถ้า ไทย จะมี บทบาท ก็เป็นเพียง บทบาท คุ้มครอง ความปลอดภัย เรือที่เข้าช่องแคบ มะระกา...ซึ่ง ผลประโยชน์ตรงนั้น น่าจะเป็นของ อินโด, มาเล และ สิงค ที่จะต้องรับผิดชอบมากกว่า

ดังนั้น ฝั่ง อันดามัน ในระดับ เรือ OPV และเรือฟริเกตแบบ ชุด เจ้าพระยา ผมว่า ก็เพียงพอแล้ว

เว้นแต่ จะมีประเทศไหน จะยกพลขึ้นบก ฝั่งทะเลอันดามัน...ซึ่ง มันก็ไม่น่าจะมี โดยเฉพาะ พม่า แผ่นดิน ก็ติดกันอยู่แล้ว ก็บุกกันทางบก จะดีกว่า หรือ แม้แต่ มาเลเซีย ก็ไม่น่าจะไปยกพลขึ้นบกในฝั่งนั้น เสริมกำลังทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ ตีโอบล้อม น่าจะง่าย และได้ผลมากกว่า

หรือจะมีภัยจากเรือดำน้ำ ฝั่งอันดามัน ไทย ก็ไม่มีอ่าว หรือ ท่าเรืออะไรให้มาปิดล้อม ประเทศที่จะเดือดร้อนจาก ภัย เรือดำน้ำ น่าจะเป็น อินโด มาเล สิงค์ และ พม่า มากกว่า ไทย

ซึ่งในฝั่งอันดามัน ผมว่า ในสงครามทางทะเล ภัยทางอากาศของไทย จะสร้างความน่ากลัว มากกว่า เรือรบผิวน้ำ ซึ่งมี ทอ.ไทย ก็มีสนามบิน รองรับหลายแห่ง ซึ่งแค่ปัญหา เอาเรือรบผิวน้ำผ่านช่องแคบ มะระกา ก็ถูกจำกัดไว้อยู่ระดับหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะนำเรือรบไปสร้างความได้เปรียบในฝั่งอันดามัน ไม่น่าจะสร้างความได้เปรียบกว่า กำลังทางอากาศ

ยกตัวอย่าง มาเลเซีย ก็จัดฝูง F/A-18D ไว้รองรับทาง ฝั่งทะเลอันดามัน

ในความเห็นผมว่า ฝั่งอันดามัน มีเรือ OPV ที่ เอนกประสงค์ จะได้ใช้ประโยชน์และประหยัดมากกว่า

ดีกว่า เอา ร.ล.รัตนฯ ไปรับ นักท่องเที่ยวติดเกาะ อะไรแบบนั้น

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2019 13:53:41


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าได้แค่ 471 ลำเดียวมันก็รู้สึกแปลกๆอยู่ครับแบบ  สเปคก็ไม่ได้เทพมาก และถ้าได้มาแค่ลำเดียวอีกนี่ โอยย  มองไปในกองเรือที่แบบดูดีหน่อยมีแค่ 3 ลำ...   ตอนนี้จึงอยากให้เร่งจัดหาฟรีเกตก่อน ส่วนเรือดำน้ำรับมาแค่ลำแรกมาฝึกศึกษาก่อน แล้วค่อยจัดหาเพิ่มเติม  ได้แต่เฝ้าดูกันละครับไม่รู้ ทร. จะไปทางไหน 

โดยคุณ akekolos เมื่อวันที่ 01/07/2019 21:07:56


ความคิดเห็นที่ 25


ท่านจูดาสต้องตัดกองทัพอากาศออก แล้วบอกผมว่าฝั่งอันดามันทร.ไทยสู้ใครได้บ้าง และเราอยากเป็นรองอยู่แบบนี้ตลอดไปใช่หรือไม่ เครื่องบินมันน่ากลัวก็จริง แต่โอกาสที่เรือจะปะทะกันโดยไม่ใช่สงครามใหญ่มีมากกว่า แล้วถ้าเรือ OPV เราโดนเรือฟริเกตพม่ายิงจมอะไรจะเกิดขึ้น (ทุกวันนี้เรือตรวจการณ์เล็งปืนใส่กันบ่อยครั้ง) ตัดกองทัพอากาศออกไปนะครับ เพราะกระทู้นี้พูดถึงกองทัพเรือไม่ใช่กองทัพไทย ไม่อย่างนั้นเราจะประเมินกองทัพเรือที่แท้จริงไม่ได้
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/07/2019 21:45:54


ความคิดเห็นที่ 26


เรืออเนกประสงค์ช่วยคนตามหมู่เกาะ ใช้เรือใหญ่ไม่ติดอาวุธหนักก็ได้นี่นา อย่างอินโดหรือปินส์ใช้เรือ LPD พร้อมเรือเล็กใส่ได้ 40 คนวิ่งเข้าท้ายเรือได้เลย มีปืนกล 40 มม.ป้องกันตนเองก็พอ เรือ OPV ยังไงก็รับคนได้ไม่เยอะ เวลารับคนก็มีแต่เรือยางบรรทุกได้แค่ 10 คน มันก็ไม่เหมาะและไม่อเนกประสงค์อยู่ดี เพราะทร.กำหนดให้เรือต้องใช้รบจริงได้ พื้นที่อเนกประสงค์ไม่เหลือแล้วเพราะติดอาวุธหมดแล้ว ผมจึงว่าซื้อเรือหลวงปัตตานีให้จบๆ ไปเลยดีกว่า แล้วไปซื้อเรือฟริเกต เรือ LPD จริงๆ มาใช้งานตามภารกิจเถอะ
โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 01/07/2019 22:03:58


ความคิดเห็นที่ 27


          ที่น่าสนใจคือ ผบ.ทร. ท่านเคยเป็น ผบ.สอ.รฝ. ซึ่งท่านภูมิใจมาก และทราบดีว่าหน่วยขาดแคลนอะไร ที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนปรับปรุงหน่วยมากน้อยเพียงไร ท่านมีความตั้งใจตอนนั้นว่าหากวันนึงข้างหน้ามีโอกาส ท่านจะปรับปรุงพัฒนาหน่วยให้เหมาะสม ซึ่งตอนนี้วันนั้นมาถึงแล้ว ท่านก็เริ่มหลายโครงการมาก โดยเฉพาะการยกให้ สอ.รฝ.เข้ามาดูแลการฝึกทหารร่วมกับ นย. และให้ทหาร สอ.รฝ. เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของศูนย์ฝึกทหารใหม่ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี  ที่กรมยุทธศึกษาทหารเรือดูแลมาหลายสิบปีอย่างพลิกฝ่ามือ  การปรับยุบกรมก่อสร้างและพัฒนามาเป็นส่วนหนึ่งของ สอ.รฝ.  และมีแนวคิดอย่างแรงกล้าในการผลักดันและพัฒนาระบบอาวุธนำวิถีให้แก่ สอ.รฝ. เพิ่มเติมเสียที  ตรงนี้น่าจับตามอง พอๆ กับการพัฒนาในส่วนอื่นๆ ของกองทัพเรือครับ

โดยคุณ piti.l เมื่อวันที่ 01/07/2019 22:19:41


ความคิดเห็นที่ 28


อวป.พื้นสู่พื้น และ ปตอ. 35 มม. ของ สอรฝ.น่าจะมาครับ  ส่วนโครงการที่เหลือ คาดว่าจะเป็น lpd และ ปรับปรุงเจ้าพระยา บางประกงครับ ปล. midget submarine ตัดออกไปเลยครับ เป็นแค่งานวิจัยของ ทร. ครับ จะเกิด หรือไม่เกิดนี่อีกนานโขครับ

โดยคุณ ausangi เมื่อวันที่ 02/07/2019 13:51:03


ความคิดเห็นที่ 29


เรือขุดเจ้าพระยาทั้ง 4 ลำถ้า ทร. คิดว่าจะใช้เป็นเรือฟริเกตต่อ ก็อยากให้ทำให้สมศักดิ์ศรี นอกจากติดจรวด C802A แล้ว ก็ขอเพิ่มจรวดต่อสู้อากาศยานกับระบบ CIW จากจีนมาด้วยเลย พร้อมโซนาตรวจการณ์ใต้น้ำด้วย ไม่ต้องดีมาก แต่ให้พอสู้เค้าได้ก็ยังดี. ส่วนเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งก็เห็นด้วยกับสร้างเรือชั้นปัตตานี 2 ลำ ปรับปรุงจุดบกพร่องที่เคยเจอ ติดจรวดฮาพูน ก็น่าจะ ok ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 02/07/2019 20:44:06


ความคิดเห็นที่ 30


ติดงานซะหลายวัน เลยไม่ได้เข้ามาตอบกระทู้เลย

ท่าน superboy ครับ สงครามทางทะเล ไม่ได้หมายความถึง เรือ อย่างเดียว ทั้ง ในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต มันหมายถึง 3 มิติ ทั้ง น้ำ ฟ้า ใต้น้ำ

จากอดีต สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามฟอร์คแลนด์  เรือที่โดนจม ส่วนใหญ่ ก็มาจากเครื่องบินโจมตีทางอากาศ และเรือดำน้ำ  เหตุการณ์ ที่เรือรบ ที่ถูกจม เรือรบ ด้วยกันเอง น่าจะมีจำนวนที่น้อยกว่า

กองทัพเรือญี่ปุ่น ที่เพลี่ยงพล้ำ กับ สหรัฐ อย่างหนักหนา ก็มาจากที่ เรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ไม่มีเครื่องบิน เรือประจัญบานส่วนใหญ่ ก็ถูกจมโดย เครื่องบินโจมตีจากสหรัฐ

เหตุการณ์ที่ เรือรบ จม เรือรบ เท่าที่จำได้ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีแต่ เรือเร็วโจมตี ยิง อวป. เรือพิฆาต

ในฝั่งทะเลอันดามัน ถ้าดูจากอาณาเขตทางทะเลแล้ว โอกาส ที่ จะกระทบกระทั่งกัน จะเป็นเรื่องการประมง หรือ ผู้อพยพลี้ภัย ทางทะเล มากกว่า ผลประโยชน์ทางอื่น  ภัยคุกคามของ ทร.พม่า น่าจะมาจาก ฝั่งบังคลาเทศ หรือเกิดความขัดแย้ง แถบมหาสมุทรอินเดีย มีมากกว่า ไทย หลายเท่า ซึ่งถ้า พม่า จะถูกคุกคาม จาก สหรัฐ ก็น่าจะมาจากฝั่ง มหาสมุทรอินเดีย จากภาพประกอบ อาณาเขตทางทะเลของ พม่า พื้นที่ไม่ใช่น้อย ส่วนที่ติด อาณาเขตไทย แค่ส่วนหนึ่ง น่าจะประมาณ 1 ใน 5 หรือ 6 ส่วน

แต่ลักษณะ ผลประโยชน์ทางทะเล ฝั่งทะเลอันดามัน ของไทย เช่น แหล่งท่องเที่ยว การประมง และผู้อพยพลี้ภัย น่าจะเป็นสิ่ง เรือรบของ ทร.ไทย ในฝั่งนี้ ควรจะตอบสนองในส่วนนี้ ซึ่งผมว่า เรือลักษณะ OPV ในปริมาณที่เพียงพอ จะมีประโยชน์มากกว่า 

ยกเว้นแต่ว่า ในอนาคต เกิดโครงการ คลองไทย เกิดขึ้น ก็จะเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง ที่ กองเรือในฝั่งนี้ จะปรับเปลี่ยนไป

Image result for myanmar sea area

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/07/2019 08:21:54


ความคิดเห็นที่ 31


ข่าวจาก blog ของท่าน AAG_th

โครงการซื้อพร้อมติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ ของ นป.สอ.รฝ.๖๒๑

http://www.supplyonline.navy.mi.th/pdf2/36903.pdf

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย มีโครงการจัดซื้อ Radar ตรวจการณ์ทางอากาศ ที่ตั้งบนเกาะ*ฝั่งอันดามัน ที่สามารถตรวจับอากาศยานเพดานบินระดับต่ำและสามารถหลบหลีกระบบตรวจการณ์ทางอากาศหรือรอดพ้นการสกัดกั้นจากเครื่องบินของกองทัพอากาศ

เพื่อแจ้งเตือนภัยทางอากาศแก่หน่วยกำลังทางเรือที่ปฏิบัติการในทะเล และหน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ตลอดจนหน่วยใช้อาวุธของกองทัพเรือ ให้สามารถป้องกันเป้าหมายสำคัญทางทหาร และเป้าหมายสำคัญต่อความอยู่รอดของชาติได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพ

 

คุณลักษณะทางเทคนิค Radar ตรวจการณ์ทางอากาศ เช่น

๑.ใช้ Solid State Technology

๒.สามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่มีเพดานบินครอบคลุมตั้งแต่ 0-5,000feet

๓.สามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่ระยะตรวจจับ(Detection Range) ได้ไม่น้อยกว่า 54nmi

๔.สามารถติดตามเป้าแบบอัตโนมัติ(Automatic Tracking) และแสดงผลได้ไม่น้อยกว่า ๑๐๐เป้าในเวลาเดียวกัน(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)

๕.ระบบ Radar ตรวจการณ์ทางอากาศที่มีโอกาสในการถูกตรวจจับจากการแพร่คลื่น Radar ต่ำ(LPI: Low Probability Intercept) โดยยังคงสามารถตรวจจับเป้าอากาศยานที่มีเพดานบินครอบคลุมตั้งแต่ 0-5,000feet

๖.มี Function ควบคุมการทำงานสำหรับการค้นหา ตรวจับ และติดตามเป้าในลักษณะต่างๆ ครอบคลุมสถาณการต่างๆ รวมทั้งมีความสะดวกต่อการใช้งาน ดังนี้

   -Sector Blanking

   -ระบบขจัดสัญญาณ Clutter

   -แสดงเฉพาะเป้าเคลื่อนที่ได้(Moving Targer) โดย radar สามารถกดสัญญาณเป้าที่ไม่เคลื่อนที่(Non Moving Target) ที่เป็น Clutter(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)

๗.มีความสามารถทางด้านมาตรการตอบโต้การก่อกวนทางอิเล็กทรอนิกส์(ECCM: Electronic Counter Couunter Measures)(ใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา)

๘.ต้องสามารถส่งออก(Output Interface) ข้อมูลเป้าที่ Radar ติดตามได้(Track Target) ในรูปแบบ Asterix Format Category 048 สำหรับการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมบังคับบัญชาของกองทัพเรือ สำหรับสงครามที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง(NCW: Network Centric Warfare) ในอนาคตได้

โดยจะต้องมีการแสดงให้เห็นเพื่อตรวจสอบได้ในขั้นตอนการตรวจรับระดับโรงงาน(FAT) หรือขั้นตอนการส่งมอบในพื้นที่จริง

วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท(4,248,130.73Euros) กำหนดราคากลาง(ราคาอ้างอิง) เป็นเงิน 2,600,000Euros หรือ ๙๓,๐๑๒,๔๐๐บาท แหล่งที่มาราคากลางจากใบเสนอราคาประกอบด้วย ๖บริษัทจากหกประเทศคือ

บริษัท Reutech Radar Systems แอฟริกาใต้, บริษัท CETC INTERNATIONAL CO., LTD. สาธารณรัฐประชาชนจีน, บริษัท ICS Technologies S.r.L. อิตาลี, บริษัท Terma เดนมาร์ก, บริษัท THALES ฝรั่งเศส และบริษัท Indra Sistemas S.A สเปน ครับ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/07/2019 08:26:01


ความคิดเห็นที่ 32


ทบ. ทอ. ได้ FMS กันรัวๆ 

ทร. จะมีโอกาสได้มั่งป่าวครัช บ.ตรวจการณ์ 3 ลำ พอได้ลุ้นไหมครับ

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 10/07/2019 14:53:09


ความคิดเห็นที่ 33


ปรับปรุงพี3เอสามลำให้เป็นพี3ซีไม่ก็ปรับปรุงให้ใกล้เคียงพี8ก็ได้ ไว้รับมือเรือดำน้ำรอบบ้าน ไม่ก็ปรับปรุงเป็นเอแวคไปเลย

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 03/01/2020 00:05:07


ความคิดเห็นที่ 34


ฝูงบินเอฟ27ที่อินโดปลดทิ้งฝูงก็น่าสน เอาไว้ลาดตระเวณทางทะเลกะติดจรวดไว้ทำลายเรือกะเรือดำน้ำ

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 03/01/2020 23:42:27


ความคิดเห็นที่ 35


ตัวเลือกเรือฟรีเกตของทร.ไทย

เรือฟรีเกตชั้นSIGMAของทร.โมร็อคโค


โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 01/02/2020 14:27:25


ความคิดเห็นที่ 36


ตัวเลือกเรือฟรีเกตของทร.ไทย

 
โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 01/02/2020 14:34:06