หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ไทยกำลังถูกรุมจากกองเรือดำน้ำเพื่อนบ้าน ทั้งอ่าวไทยและอันดามัน

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 23/05/2022 20:11:58

ทันทีที่เมียนมารับมอบเรือดำน้ำจากอินเดียมา ทำให้กองทัพเรือของไทยต้องแสดงปฏิกิริยาตอบสนองด้วยการเดินหน้าชี้แจงความจำเป็นที่ไทยจะเตรียมรับกับสถานการณ์ใหม่ และยังเตรียมใช้ฐานทัพเรือในภูเก็ตเพื่อจับตาความเคลื่อนไหวของเมียนมา

เมียนมาอาจจะไม่ใช่ศัตรูของไทย แต่การที่เพื่อนบ้านมีเทคโนโลยีทางทหารที่เหนือกว่า ก็เหมือนกับการที่เราปล่อยบ้านเปิดโล่งให้คนนอกเข้ามาเพ่นพ่านได้โดยที่เราไม่สามารถจะ "ตักเตือน" (หรือข่มขู่) อีกฝ่ายได้เลย

เมื่อเดือนเมษายน 2561 มีเรือดำน้ำไม่ทราบสัญชาติมาโผล่ข้างๆ เรือท่องเที่ยวนอกชายฝั่งภูเก็ต เล่นเอาผู้คนตกอกตกใจกัน และพยายามค้นหาว่าเป็นเรือของใคร กระทั่งลือไปว่าเป็นเรือที่ไทยเพิ่งรับมาจากจีน ซึ่งไม่เป็นความจริง ต่อมามีการชี้แจ้งว่าเป็นเรือดำน้ำของสหรัฐที่เข้าร่วมการซ้อมรบ Guardian Sea 2018

อาการตื่นตกใจสะท้อนว่าเมืองไทยไม่มีความมั่นคงใต้น้ำจนลือกันไปต่างๆ นานา และแม้การซ้อม Guardian Sea เองก็ดูขาดๆ เกินๆ เพราะเป็นการซ้อมต่อต้านเรือดำน้ำในอันดามัน โดยที่คู่ซ้อมคือไทยไม่มีเรือดำน้ำ

การซ้อมรบต่อต้านเรือดำน้ำเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับไทย เพราะน่านน้ำอันดามันกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเอเชีย "เจ้าสมุทร" ของพื้นที่นี้คืออินเดีย ซึ่งมีเรือดำน้ำ 16 ลำและมีฐานทัพเรือที่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ไม่ไกลจากภูเก็ต (และอันที่จริงไทยกับอินเดียมีพรมแดนติดต่อกันทางทะเล)

แต่ฐานะเจ้าสมุทรของอินเดียถูกจีนท้าทาย เพราะมีเรือดำน้ำจีนมาป้วนเปี้ยนแถวอันดามันหลายครั้ง เคยไปจอดที่ท่าเรือโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา และตอนนี้จีนยังมีท่าเรือในศรีลังกาและปากีสถาน เรียกว่าวางหมากล้อมอินเดียเต็มๆ

มิหนำซ้ำอินเดียยังอาจระแวงไทยอยู่กลายๆ เพราะไทยซื้อเรือดำน้ำจากจีนและก่อนหน้านี้มีข่าวเรื่องจีนพยายามล็อบบี้ให้ไทยขุดคอคอดกระเป็นช่องทางลัดตัดจากทะเลจีนใต้มายังมหาสมุทรอินเดีย

ในฉากหน้า อินเดียจึงต้องพยายามดึงไทยมาร่วมเป็นพันธมิตรเอาไว้ โดยอินเดียสร้างแนวร่วมตรวจการทางทะเลจตุรภาคีระหว่างอินเดีย ไทย เมียนมา และอินโดนีเซีย ซึ่งนี่คือแกนแนวตั้ง และอินเดียยังประสานพันธมิตรแนวนอนโดยร่วมกับสิงคโปร์ในการลาดตระเวนแบบทวิภาคี จากนั้นในปีนี้ จึงมีการผสานแนวดิ่งกับแนวนอน ด้วยการจัดซ้อมรบไตรภาคีในทะเลอันดามันระหว่างอินเดีย ไทย และสิงคโปร์

นับตั้งแต่ยุคอาณานิคมในเอเชีย ไทยมีไม้ตายสำคัญที่มหาอำนาจต้องการคือคอคอดกระ ซึ่งไทยมักจะใช้เรื่องนี้มาเป็นไม้ตายต่อรองกับมหาอำนาจอยู่เสมอโดยขู่ว่าจะยกสัมปทานให้อีกฝ่ายขุด ทำให้อีกประเทศต้องยื่นข้อเสนอพิเศษสุดกว่าให้ไทย มาถึงยุคนี้คอคอดกระก็ยังเป็นสิ่งที่ประเทศใหญ่รอบข้างไทยหมายปองและระแวง เช่น กรณีของอินเดียกับจีน

การถ่วงดุลอำนาจจึงเป็นกลศึกสำคัญ ไทยจึงคบทั้งอินเดียโดยซ้อมรบร่วมกันและซื้อเรือดำน้ำจากจีน เช่นเดียวกับเมียนมาที่ซื้อเรือดำน้ำจากอินเดีย แต่ให้จีนมาลงทุนสร้างท่าเรือเจาะพยู (Kyaukpyu port) ให้ตรงอ่าวเบงกอล จ่อคอหอยอินเดียเลยทีเดียว

นอกจากจีนที่ส่งเรือลึกลับมาป้วนเปี้ยนแถวมหาสมุทรอินเดียแล้ว ตอนนี้อินเดียยังใช้นโยบาย Look East policy เข้าหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อใช้ภูมิภาคนี้ช่วยยันอิทธิพลจีน แต่เท่านั้นไม่พออินเดียยังสร้างฐานทัพเรือเพิ่มที่หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ และจะเปิดฐานทัพแห่งที่ 3 คือ INS Kohassa ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเอาไว้เพื่อรับมือกองเรือบนน้ำและใต้น้ำของจีนในอันดามันโดยเฉพาะ

ปัญหาของไทยคือเราไม่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งพอจะ "ไล่" ภัยคุกคามของประเทศใหญ่ที่มางัดข้อกันแถวนี้ได้ เรามีแต่การซ้อมรอบและลาดตระเวนที่ขาดยุทโธปกรณ์สำคัญ คือเรือดำน้ำ ในบรรดาประเทศพันธมิตรลาดตระเวนร่วมในทะเลอันดามัน มีแต่ไทยเท่านั้นที่ยังไม่มีเรือดำน้ำ

อินโดนีเซียมีเรือดำน้ำแล้ว 2 ลำและกำลังจะสั่งเพิ่มอีก 3 ลำ สิงคโปร์มีเรือดำน้ำถึง 2 ลำ (เดิมนั้นมีถึง 5 ลำ) กำลังสร้างอีก 1 ลำ เมียนมาเป็นประเทศล่าสุดที่ได้เรือดำน้ำมาครอง 1 ลำแล้ว และเตรียมเจรจาซื้ออีก 1 ลำจากรัสเซีย

ส่วนประเทศไทย 0 ลำ ยังไม่นับเพื่อนบ้านอาเซียนรายอื่นๆ ที่มีกันเกือบจะครบแล้ว เช่นเวียดนาม 6 ลำ มาเลเซีย 2 ลำ มีแต่ลาวที่ไร้ทางออกทะเล และฟิลิปปินส์กับกัมพูชาเท่านั้นที่ยังไม่มีเมือวัดสถานะทางเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศยังไม่อาจเทียบไทยได้ คำถามก็คือเมื่อไทยมีศักยภาพที่จะซื้อแล้วจะรีรออะไรอีก?

เป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกที่ไทยตกอยู่ในสภาพเป็นเจ้าของจุดยุทธศาสตร์ แต่ไม่มียุทโธปกรณ์ที่มีแสนยานุภาพมาปกป้อง

ความมั่นคงของชาติจะต้องฟังจากเสียงตัวแทนประชาชนในสภา หากมัวแต่ฟังเสียงชาวเน็ตเกรงว่าจะสายเกินไป เพราะตอนนี้ทั้งจีนและอินเดียใช้นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น และเพื่อนบ้านที่เข้ามา "เยี่ยม" น่านน้ำเราตอนไหนก็ได้ด้วยเรือดำน้ำโดยที่เราไม่ทันระวังตัว

ไทยเราไม่ใช่ลาวที่ไร้ทางออกทะเล ตรงกันข้ามไทยคือจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่อยู่ตรงกลางระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับทะเลจีนใต้ การไม่มีอาวุธดีๆ มาครอบครอง ก็เหมือนบ้านที่ไม่มีรั้ว แถมยังเป็นบ้านบนทางสามแพร่งที่ใครๆ ก็มุ่งตรงเข้ามา

สรรพาวุธที่ซื้อมานั้นบางทีไม่ได้นำไปรบในทันที แต่ทำหน้าที่เป็นเหมือนรั้วลวดหนามที่เตือนพวกที่เข้ามาเพ่นพ่านใกล้ๆ เราได้ตระหนักว่าเข้ามาแล้วจะเจอดี

ประเทศไทยมีการนำเข้า-ส่งออก สินค้าทางทะเลสูงถึงร้อยละ 95 มีเรือสินค้าผ่านเข้าออกอ่าวไทยปีละประมาณ 15,000 ลำ โดย อ่าวไทย ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคม ที่มีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่สำคัญที่เชื่อมทวีปยุโรป เอเชีย และอเมริกา เข้าไว้ด้วยกัน โดยผ่านทางช่องแคบมะละกา ซึ่งหากเกิดปัญหาการปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาททางทะเลไม่ว่าที่ใด ย่อมส่งผลกระทบต่อการคมนาคมทางทะเลโดยตรง ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมาก

 

ทั้งนี้อ่าวไทย เป็นพื้นที่ มีความเสี่ยงสูงทางด้านภูมิศาสตร์ในการที่จะถูกปิดอ่าวหรือขัดขวางการใช้เส้นทางเดินเรือ เนื่องจากปากอ่าวมีความกว้างประมาณ 200 ไมล์ทะเล หรือ 400 กิโลเมตร หากเกิดกรณีพิพาทหรือความขัดแย้งกับต่างประเทศขึ้น การถูก ปิดอ่าวจะทำให้การขนส่งทางทะเลสายนี้หยุดชะงักทันที ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดความเสียหาย อย่างไม่สามารถประเมินค่าได้

แม้ว่ากองทัพเรือจะมีเรือผิวน้ำและอากาศยาน ในการสกัดกั้นการรุกรานทางทะเลอยู่แล้ว แต่การประกอบกำลังทางเรือที่สมบูรณ์จะต้องมีครบทั้ง 3 มิติ เพราะในมิติใต้น้ำ ต้องใช้เรือดำน้ำในการปราบเรือดำน้ำด้วยกัน สำหรับยามปกติ เรือดำน้ำจะทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เรือใดๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามคิดเข้ามารุกรานประเทศไทย เปรียบเสมือนเป็นรั้วให้กับประเทศ เรือดำน้ำจึงเปรียบเสมือนกองกำลังใต้น้ำที่จะสร้างความน่าเกรงขามให้กับประเทศไทย

ในแง่ความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ นั้นประเทศไทยมีแผ่นดินติดกับทะเล 2 ด้าน คือ ด้านตะวันตกเป็นทะเลอันดามันและช่องแคบมะละกา ส่วนด้านตะวันออกเป็นอ่าวไทย มีพื้นที่ทางทะเลประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ยที่ประมาณ 50 เมตร ความลึกที่สุดอยู่บริเวณกลางอ่าว ประมาณ 85 เมตร ความใสของน้ำสามารถเห็นได้ลึกสุดไม่เกิน 16 เมตร

จากพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างและสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการซ่อนพรางของเรือดำน้ำ ทำให้การค้นหาเรือดำน้ำด้วยสายตาจากบริเวณผิวน้ำ หรืออากาศยาน เป็นไปด้วยความยากลำบาก เรือดำน้ำจึงสามารถเข้ามาปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายที่จำเป็นต่อการพิทักษ์ปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

ในอดีตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำ USS Sealion ของกองทัพเรือสหรัฐฯ เคยเข้ามาจมเรือหลวงสมุย ขณะกำลังลำเลียงน้ำมันจากสิงคโปร์บริเวณอ่าวไทยตอนใต้

ส่วนในปัจจุบันเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของกองทัพเรือสหรัฐซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าในอดีตมาก ก็เข้ามาฝึกกับกองทัพเรือในอ่าวไทยเป็นประจำ โดยสามารถปฏิบัติการใต้น้ำในอ่าวไทยได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

ทั้งนี้ เรือดำน้ำยุคใหม่ จะมีอุปกรณ์การเดินเรือที่ทันสมัย มีระบบรักษาความลึกขณะดำน้ำโดยอัตโนมัติที่มีความเที่ยงตรงสูง ดังนั้นการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นถือเป็นเรื่องปกติของเรือดำน้ำ เพราะในบางภารกิจเรือดำน้ำจำเป็นต้องเข้าใกล้ฝั่งมาก ในอ่าวไทยมีน้ำลึกเฉลี่ย 50 เมตร จึงไม่ใช่อุปสรรคในการปฏิบัติการของเรือดำน้ำปัจจุบัน และการมองเห็นจากเครื่องบินเมื่อเรือดำน้ำดำลึกกว่า 20 เมตรก็ไม่สามารถมองเห็นได้

จากเหตุผลความจำเป็นที่กล่าวมาทั้งหมดดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการในกองทัพเรือ มีความจำเป็น ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ด้วยการเพิ่มศักยภาพของกำลังทางเรือของกองทัพเรือให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาคให้มีความสมดุล ซึ่งนับว่ามีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติทางทะเลที่ยั่งยืนตลอดไป

ในอดีตการทำสงครามจะทำกันเฉพาะบนบกกับในทะเลบริเวณเหนือผิวน้ำเท่านั้น ส่วนการรบทางอากาศกับใต้น้ำนั้นยังไม่มีเนื่องจากวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่มี ความเจริญก้าวหน้าดังเช่นปัจจุบันที่ได้มีการทำสงครามเต็มรูปแบบทั้ง 4 มิติ ดังนั้น องค์ประกอบของกำลังรบในกองทัพปัจจุบัน จึงต้องมีทั้งกำลังทางบก กำลังทางเรือ และกำลังทางอากาศ โดยเฉพาะกำลังทางเรือนั้น ต้องมีทั้งในส่วนของเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำ ซึ่งกองทัพในนานาอารยประเทศต่างก็ได้มีการพัฒนากำลังรบดังกล่าวให้มีความเข้มแข็งเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจในการป้องกันอธิปไตยของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานาวิกานุภาพของกองทัพเรือไทยได้มีการเสริมสร้างกำลังทางเรือ อาทิ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ เรือฟริเกต เรือคอร์เวต เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง เรือยกพลขึ้นบก เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด และกำลังอากาศนาวีอีกจำนวนหนึ่ง เรียกได้ว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

การที่ประเทศไทยไม่มีเรือดำน้ำนั้น ทำให้เสียเปรียบบางประเทศที่มีเรือดำน้ำ เนื่องจากเรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงรุกที่สามารถข่มขวัญฝ่ายตรงข้ามได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการที่จะส่งเรือรบผิวน้ำเข้ามาประชิดยังทะเลอาณาเขตจึงต้องใช้ความระมัดระวังที่สูงมาก ซึ่งสร้างความหวาดหวั่นแก่ฝ่ายตรงข้ามอยู่ไม่น้อย แม้ว่าเรือดำน้ำจะเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับยุทโธปกรณ์แบบอื่น ๆ

แต่ก็ถือว่ามีความจำเป็นที่รัฐบาลควรจะให้ความสนใจ และจัดหาไว้เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจได้ว่ากำลังทางเรือของไทยจะสามารถปกปักรักษาอธิปไตยของชาติทางทะเลได้อย่างสมบูรณ์

การจัดซื้อเรือดำน้ำจึงมีความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ซึ่งหากการคมนาคมขนส่งทางทะเลมีความมั่นคง ก็จะสร้างความมั่นใจให้กับภาคธุรกิจในด้านการลงทุนได้เป็นอย่างดี

สำหรับยามปกติ เรือดำน้ำจะทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้เรือใดๆ ที่เป็นฝ่ายตรงข้ามคิดเข้ามารุกรานประเทศไทย เปรียบเสมือนเป็นรั้วให้กับประเทศ เรือดำน้ำจึงเปรียบเสมือนกองกำลังใต้น้ำที่จะสร้างความน่าเกรงขามให้กับประเทศไทย จากสถานการณ์ปัจจุบันที่หลายคนมองว่าคงจะไม่เกิดสงครามในระยะใกล้นี้

แต่ความขัดแย้งในทะเลยังคงมีอยู่และไม่มีใครยืนยันได้ว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายไปถึงขั้นการใช้กำลัง ต่อกันเมื่อใด

การมีเรือดำน้ำจึงเป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่จะป้องปรามไม่ให้เกิดสงคราม ซึ่งการรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาคจึงมีความจำเป็น เพื่อให้มีการยับยั้งชั่งใจในการใช้กำลังทางเรือและนำไปสู่การเจรจาต่อรองที่มีความทัดเทียมกัน






ความคิดเห็นที่ 1


มากันเพียบ


โดยคุณ top4 เมื่อวันที่ 12/12/2019 11:57:21


ความคิดเห็นที่ 2


เรือดำน้ำเวียดนามหกลำคงไปประจัญหน้ากะจีนที่ทะเลจีนใต้มากกว่า เพราะผลประโยชน์ทางทะเลที่เวียดนามอยู่นั้นหมด อาจมีไว้ซักลำเพื่อขู่และไม่ไว้ใจเขมรมากกว่าเพราะเขมรประกาศพื้นที่ทับซ้อนมากกว่าไทยไม่รู้กี่เท่าตัว

พม่าก็ไว้กันท่าบังกลาเทศที่ซื้อเรือดำน้ำชั้นหมิงจากจีน เพราะเคยทำสงครามทางเรือมาละพม่าแพ้ไป แถมมีปัญหาเรื่องโรฮิงยากันอีก

ไทยก็รอเรือน้ำชั้นหยวนอีก2+1ไว้ภาคตะวันออก,ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยกะอันดามัน

มาเลกะอินโดก็วางกำลังเรือดำน้ำไว้บางส่วนที่ทะเลจีนใต้เพราะไม่ไว้วางใจจีนแบบเวียดนาม บางส่วนก็วางไว้ใกล้สิงคโปร์เพราะสิงคโปร์ก็มีเรือดำน้ำแยะกะศักยภาพทางทะเลสูง แถมมีฮ.อาปาเช่ไว้ใช้งานอีก

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 14/12/2019 23:28:44


ความคิดเห็นที่ 3


เรือดำน้ำเป็นยุทโธปกรร์ที่มีราคาสูง เวลาจะจัดซื้อจึงมีเสียงคัดค้านมาโดยตลอด

บางทีผมก็สงสัยนะครับ ประเทศที่เขามีเรือ ส. เยอะๆ เขาไม่มีปัญหาภาระงบประมาณกันบ้างหรืออย่างไร ทั้งๆที่เมื่อดูตัวเลข GDP ของประเทศเหล่านั้น ก็ใช่ว่าจะรวยกว่าเราสักหน่อย

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 16/12/2019 09:22:04


ความคิดเห็นที่ 4


ประเทศไทย ก็ไม่มีปัญหาอะไร ในการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการ เพียงแต่เขาคัดค้านการจัดหาที่ไม่โปร่งใส เขาคัดค้านการจัดหา เรือดำน้ำที่คุณสมบัติ ที่ไม่เหมาะสมกับภูมิประเทศ และภูมิศาสตร์ เรื่องเก่าสมัยรัฐบาล นายกฯ ผู้หญิง ชื่อ ยิ่งลักษณ์ เขา อนุมัติ เรือดำน้ำ มือ สอง จากประเทศเยอรมัน ซึ่งเหมาะสมกับภูมิประะเทศ และงบประมาณ ก็ถูก กระทรวงกลาโหม ขัดขากันเอง ทางการเมือง ขี้เกียจเล่าเรื่องซ้ำซาก น่าเบื่อ หากระทู้เก่าอ่านเอาเอง เขาอุตส่าห์ออกข่าวดักทาง เพื่ออนุมัติ แต่ก็ถูก ทหารเรือนักการเมือง มาตัดขา ว่า ยังไม่ได้เสนอเรื่อง หาว่าเขามั่ว แล้วพวกกลาโหม ก็ไม่ส่งเรื่องมาจริงๆ สุดท้าย นายกหญิง ชื่อ ยิ่งลักษณ์ ก็เสียหน้าไป กระทู้นี้ ไร้สาระสิ้นดี จะมาตัดพ้ออะไร เรือดำน้ำจีน ที่จัดหามา ก็ประเมินว่า น่าจะเป็น สุสาน นักเรือดำน้ำไทย ในอนาคต หากระทู้เก่า อ่านเอา เขาตอบคำถามซ้ำซากนี้ กันไปเยอะ จนโครตเบื่อแล้ว...กองทัพเป็ดง่อย แห่ง SEA
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/12/2019 14:30:18


ความคิดเห็นที่ 5


นี่ถ้าสมัยพณฯท่านนายกเต็กเชียง แซ่เบ๊ไม่โดนว่ารับสินบนจนล้มโครงการไป ป่านนี้อาจได้เรือดำน้ำค็อกคุมสวีเดนไปละมั้ง แต่อาจจะไม่ได้ก็ได้เพราะขนาดสัญญาซื้อขายf-18กะเมกา8ลำยังยกเลิกเลย

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 17/12/2019 00:06:03


ความคิดเห็นที่ 6


เรื่อง F-18 อย่าเหมารวมครับ คนอื่นที่ไม่รู้เรื่องจะเข้าใจในเรื่องข้อมูลผิดๆ การยกเลิก F-18 เกิดในสมัยรัฐบาลคุณชวน เหตุผลคือ เราไม่มีเงินที่ซื้อครับ ไม่เกี่ยวกับการเมือง ทาง ปธน.คลินตันเลยหาทางออกด้วยการขาย F-16 ADF ที่อยู่ในคลังทะเลทรายนำมาคืนสภาพแล้วขายให้ครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 17/12/2019 12:05:04


ความคิดเห็นที่ 7


ผมไม่แน่ใจครับ ว่าเสียงคัดค้าน คัดค้านเพราะการจัดซื้อไม่โปร่งใส

เพราะถ้าค้านเพราะเหตุนี้ แสดงว่า ในหลักการเห็นด้วยกับการมีเรือ ส. แต่ไม่เห็นด้วยที่จะซื้อเรือรุ่นนี้ จากประเทศนี้ (ซึ่งผมเองก็จัดอยู่ในกลุ่มผู้มีความเห็นในแนวทางนี้ครับ)

แต่ถ้าพี่อ่านจากคอมเมนต์ตามสื่อต่างๆ จะเห็นว่า มีผู้คัดค้านที่มีความเห็นไปในทาง แบบว่า "เศรษฐกิจไม่ดี ซื้อทำไม" "จะเอาไปรบกับใคร" นั่นเลยทีเดียว แสดงให้เห็นว่า แม้แต่หลักการว่า ควรซื้อหรือไม่ควรซื้อ ก็ยังถูกคัดค้านครับ ไม่ใช่การค้านเฉพาะแต่รุ่นของเรือแต่อย่างใด และผมเชื่อว่า คนกลุ่มนี้มีมากกว่า กลุ่มที่ค้านเฉพาะประเด็นการจัดซื้อด้วยครับ

สาเหตุที่ผมคิดเช่นนี้ เป็นเพราะ คนที่ค้านเรื่องการจัดซื้อ หรือค้านเฉพาะรุ่นของเรือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการรักษาความมั่นคงของชาติทางทะเล การรบในทะเล รวมทั้งหลักนิยมการทำสงครามด้วยเรือ ส. พอสมควรเลยแหละครับ  ถึงจะมีแนวคิดว่า "เรือ ส. เป็นของที่ต้องมี แต่เรือรุ่นที่กำลังจะจัดซื้อมานี้ ไม่เหมาะสม" การที่วิเคราะห์ได้ว่าไม่เหมาะสม ก็ต้องมีความรู้มากขึ้นไปอีกระดับหนึ่งอีก ยิ่งถ้าสามารถชี้ได้ว่า แล้วที่เหมาะสม ต้องเป็นอย่างไร ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่า คนๆนั้น ต้องมีความรู้ไม่ธรรมดาแน่ 

แต่ถ้าคนๆนั้น ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ก็จะไม่มีทางคิดอย่างนี้ได้เลยครับ เขาจะรู้แค่ว่า เรือ ส. = แพง เท่านั้นเองครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 18/12/2019 09:33:40


ความคิดเห็นที่ 8


อ้างอิงจากข่าวที่โปแลนด์ จะซื้อA17 มือสอง จำนวน 2 ลำจากสวีเดน ราคาประมาณ 2,600 ล้านเหรียญ นั่นคือ 1,300ล้านเหรียญต่อลำ  ผมว่าถ้าจะเทียบ สเปค A17 รุ่นปรับปรุงนี้คือ ตัวเปรียบเทียบที่พอสูสี ( AIP ทั้งคู่ ) กับการเทียบกับ S26T.  คิดไปเลยว่า ราคานี้ใด้ A17 ปรับปรุงแล้ว +อาวุธเต็มลำ.  นั่นคือ S26T  สามลำ มีอาวุธติดมาเล็กน้อย ราคา เท่ากับ A17 รุ่นปรับปรุง อาวุธเต็มๆ 1ลำ  

ถ้ามองในเรื่องราคาในสเปคใกล้เคียงกัน มันก็ต้องออก S26T แหงๆ   

ผมยังเชื่อว่า ทัพเรือไทยต้องใช้ ส ที่มี AIP ครับ   และเรื่องนี้ ทร คิด/ต้องการมานานแล้ว ไม่งั้นA19 ไม่มาอยู่บนโต๊ะจนกระทั่งใด้รับการอณุมัติจากสภาในสมัยนั้น  เพราะในเวลานั้น  ส  ธรรมดา ราคาถูกกว่า A19 ก็มีหลายแบบให้เลือก 

มองย้อนไปที่ กรณี U206  วันนี้ ผมกลับมองว่าดี ที่ ดีลนั้นไม่เกิด  เพราะ U206 ใด้มาแล้วก็ไม่จบ/ไม่ตอบโจทย์ในระยะยาว ( แต่ตอบโจทย์ระยะสั้นดีมากๆ) แล้ว ทร. จะติดกับดักตัวเองในการซ่อมบำรุง จะขอซื้อใหม่ก็ไม่ใด้เพราะสาธารณชนจะมองว่า มีแล้ว จะเอามาทำไมอีก / ไหนตอนซื้อว่าดี  แล้วทำไมผ่านไปไม่กี่ปีจะมาขอซื้ออีก/ซื้อใหม่ ฯลฯ  เผลอๆชาติ ตต. หมั่นใส้  บีบไม่ขายอะไหล่/อาวุธให้อีกต่างหาก 

ส่วนเรื่องการคัดค้านที่ท่านนริสว่ามา ผมก็เห็นแบบเดียวกันครับ คือคนทั่วไปค้าน “การซื้ออาวุธ” ไม่ใด้เจาะจงเลยว่าอาวุธอะไร  พอมาถึงเรื่องเรือดำน้ำก็ว่า แพงมาก ซื้อมาทำไม ไม่จำเป็น   พออนุมัติไปแล้ว  ที่นี้สื่อเอามาขุดคุ้ยว่าเรือจีนจะไม่คุ้มค่า สเปค/ราคา ไม่คุ้มค่า ไม่ทน เดี๋ยวดำไม่โผล่  สื่อทั่วไปเท่าที่ผมเห็น ไม่มีความรู้พอที่จะวิเคราะห์เรื่องเรือดำนำ้เลยแม้นแต่น้อย  

ยิ่งไปกว่านั้น ผมไม่คิดว่าคนไทยทั่วไปจะมีโอกาสใด้อ่านการวิเคราะห์สภาวะ พท ทับซ้อนในอ่าวไทยที่จัดทำโดยชาติมหาอำนาจ ทำมาตั้งแต่ช่วงปี 80’s เพิ่งมาหมดอายุชั้นความลับเมื่อไม่กี่ปีมานี้ แล้วก็ไม่เชื่อว่าคนไทยบางคนที่รู้เรื่องนี้ (นายทหารเรือระดับสูง ) จะสามารถเอาเรื่องนี้มาประกอบคำอธิบายเรื่องการซื้อเรือดำนำ้ใด้ทั้งๆทึ่รู้มาตั้งนานแล้ว  

 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 18/12/2019 18:18:05


ความคิดเห็นที่ 9


เรือดำน้ำ S26T มันสอบตก ตั้งแต่ กระดาษแผ่นแรกแล้วครับ ที่ไม่มีประเทศไหนเขามีประจำการ เป็น สเปค ในแผ่นกระดาษเท่านั้น

ในขณะที่ การจัดหาเรือดำน้ำ จำนวนกระจุ๋ม กระจิ๋ม แบบนี้ ไม่มีเขาทำกันหรอกครับ...

ให้ดู S-80 ของ สเปน ที่แผนแบบก็ขยายมาจากแบบ Scorpene ปัจจุบัน ก็ยังไม่สำเร็จ...

ซึ่ง S26T มันก็มาทำนองเดียวกัน คือดัดแปลงจากแบบเดิม คือ Type-039 ที่ยังไม่มีใครสร้างกัน ที่ประเทศจีน เอง ก็ยังไม่มีใช้... เรือดำน้ำ S26T เลยต้องใช้เวลาในสร้าง นานกว่า ชาวบ้าน เขา...ถ้าจัดหามาจาก เกาหลีใต้ ก็คงจะได้เข้าประจำการในเร็วๆ นี้แล้ว...

แล้วไม่ต้องไป โม้ ว่า ปากีสถาน ก็จัดหา....ใช่ เขาจัดหา ในแบบ สร้างใหม่ ไปเลย...ซึ่งก็ไม่ใช่ S26T ซะด้วย...(ก็ขี้เกียจบอกอีกแหล่ะว่า ปากีฯ ถูก อินเดีย กดดัน ไม่ให้ประเทศอื่นขายเรือดำน้ำให้...ขนาด เยอรมัน ยังบอกให้ไปซื้อจาก ตุรกี แทน....ไม่ได้มีความต้องการ เรือดำน้ำจีน เลย)

ซึ่ง ทั้งหมด ทั้งมวล ก็คุยกันมานานหลายปีแล้วใน กระทู้ เก่าๆ....

ว่า ดีล เรือดำน้ำ S26T ไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้...ควรจะล้มโครงการไปได้แล้ว...

ผมจะ แอนตี้ กระทู้ ที่จะมาเชียร์ให้ ประเทศไทยมีเรือดำน้ำอีก ในตอนนี้...เพราะ เท่ากับว่า จะไปสนับสนุน หาเหตุ ให้จัดหา เรือดำน้ำจีน เพิ่ม นั่นเอง...เพราะดูแล้ว ตอนนี้ กองทัพเรือ ก็จัดหาเรือรบ เละเทะ มั่วซั่ว ไปหมดแล้ว...ซึ่งมันจะมากับข้ออ้าง...มันคือ ความลับทางทหาร...(แต่เวปนอก รู้ก่อน ซะงั้น ฮ่าๆๆๆๆๆๆ)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/12/2019 08:40:33


ความคิดเห็นที่ 10


การมีคนเข้ามาให้ความเห็นว่า "เศรษฐกิจไม่ดี ซื้อทำไม" "จะเอาไปรบกับใคร" 

และการมีคนเข้ามาให้ความเห็นว่า "เราต้องมีเรื่อดำน้ำ 6 ลำ" "เราต้องมีจรวดยิงได้ไกล 2,000 ไมล์ติดเรือดำน้ำ"

เป็นเรื่องปรกติมีทุกประเทศบนโลกนี้ครับ คนที่เข้ามาให้ความเห็นทั้ง 2 ด้านไม่ผิด เพราะเขาไม่ทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งเรื่องนนี้ให้ตอบตรงๆ ผมก็ไม่ทราบครับคุณนริส มนุษย์เรามองเห็นผลประโยชน์แค่ตรงหน้าเราเท่านั้นเอง

วิธีแก้ไขทำอย่างไร = คนซื้อเรือดำน้ำจะต้องอธิบายอย่างชัดเจนกับประชาชนครับ ควรจะละเอียดให้มากที่สุดเท่าทำได้ เหมือนๆ กับที่หลายประเทศเปิดเผยข้อมูลกันโครมๆ เวลาซื้ออาวุธ ส่วนคน 2 กลุ่มเขาจะเข้าใจมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับเวรกรรมของใครของมันครับ

แล้วเราจะธิบายอย่างชัดเจนได้อย่างไร ในเมื่อข้อมูลบางอย่างมีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ก็ง่ายๆ อีกแหละครับ คือเน้นการอธิบายวิธีการจัดหาอาวุธ มีการกำหนดคุณสมบัติไว้แบบไหนบ้าง มีการให้คะแนนแบบไหน กรรมการผู้ให้คะแนนเป็นใคร ได้คะแนนมาแล้วตัดสินอย่างไร การเจรจาต่อลองกับผู้ชนะเลิศหรืออันดับสองทำแบบไหน ทั้งเรื่อง offsert การเงิน การจัดส่ง หรืออะไหล่คงคลัง รวมทั้งเปิดเผยการจัดหาอาวุธที่ไม่ได้เป็นไอเทมลับ

เห็นไหมครับว่ามีอะไรเยอะแยะมากมายที่เราสามารถบอกกับคนทั้งประเทศได้ คำถามก็คือคนซื้อเรือดำน้ำเคยทำหรือไม่ หรือเพราะอยากได้แล้วผู้มีอำนาจบอกให้เลือกแบบนี้ ก็เลยเอาแบบนี้ถ้าไม่เอาจะไม่มีโอกาศได้ซื้อแล้ว

เรือดำน้ำมีราคาแพงจริงครับ ยิ่งถ้านำมาต่อเองในประเทศโดยที่เราไม่พร้อมยิ่งแพงใหญ่ ง่ายๆ ก็กรีซกับตุรกีซึ่งมีเรือดำน้ำเพื่อคานอำนาจกัน ปรากฎว่าฝ่ายแรกสายป่านไม่ถึงทำเอาประเทศปั่นป่วนไปด้วย แต่สิ่งที่แพงกว่าเรือดำน้ำคือค่าซ่อมบำรุง ยิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งแพงขึ้นไปเรื่อยๆ และเรือลำใหญ่ย่อมมีค่าใช้จ่ายมากกว่าเรือลำน้อย ใครเถียงว่าไม่จริงช่วยมาทาสีบ้านผมซึ่งเป็นตกแถวสองชั้นให้หน่อย แล้วผมจะจ่ายเงินเท่าราคากระท่อมปลายนาให้คุณเอง

เขียนมาตั้งเยอะอ่านกันพอเข้าใจไหมครับ ช่วงนี้งานยุ่งมากง่วงนอนมากไปดีกว่าเรา

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 18/12/2019 22:05:04


ความคิดเห็นที่ 11


มีแนวโน้มครับ...ว่า

 S-26t จะต้องใช้ชิ้นส่วนที่เป็นของจีน กับรัสเซียเท่านั้นครับ  (เพราะนโยบาย ทรัมท์มันชัดเจนมาก)

ที่มีใครหลายคนคาดหวังว่า  จะเป็นเรือดำน้ำจีนที่ได้ใช้ชิ้นส่วนตะวันตกที่เป็นมาตรฐานนาโต้มาติดตั้งบางส่วน

ในห้องยุทธการนั้น  และควบคุมการเดินเรือนะ......อาจจะต้องฝันค้างก็ได้ครับ...เรื่องเทคโนโลยี่ตะวันตกสำหรับจีนตอนนี้

(ตอนออกแบบขั้นต้นเมื่อหลายปีก่อน....นะมันพอเป็นไปได้   แต่ตอนนี้  มันเปลี่ยนไป....แล้วยังจะสั่งเพิ่มอีก  ก็ตามใจแล้วกัน)

 

ขอบ่นกับชีวิตจริงๆ.....หน่อยแล้วกัน.....เพราะมันตันจริงๆ...

(ขึ้นภาษีที่ดินเอาแล้วกัน  บังคับให้เอาที่ดินรกร้างมาลงทุนกัน  เพื่อจะได้เจ้งกันทั่วหน้ากันอีก  หลายๆ รอบ....ที่ลงทุนไปแล้ว  ยังเคลียร์หนี้สินกันยังไม่จบ...จะบังคับใช้กู้ให้ลงทุนใหม่อีกหรือ  จะเอาลูกค้าที่ไหนมาใช้บริการ  มาซื้อ มากิน  มีแต่ความเงียบ  กับเงียบฉี่....เก็บเป็นที่เปล่านะดีแล้ว...ไม่เจ็บตัวเพิ่ม   ยุกต์นี้มีแต่คนขาย  ไม่มีคนซื้อ  พวกพม่า มอญ เขมร ลาว  มันก็ไม่ใช้จ่าย  เก็บเงินกลับบ้านอย่างเดียว)    

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 19/12/2019 21:39:46


ความคิดเห็นที่ 12


มีความเป็นไปได้มั้ยครับว่าลำต่อๆไปจะมาจากค่ายตะวันตก และมีประเทศไหนบ้างที่ใช้เรือ ส หลายค่ายบ้างครับ

โดยคุณ top4 เมื่อวันที่ 20/12/2019 01:57:36


ความคิดเห็นที่ 13


การคัดค้านของภาคประชาชนในเรื่องการจัดหาอาวุธ เกิดขึ้นมานานหลายยุคหลายสมัย โดยทั่วไปกลุ่มที่คัดค้านจะแบ่งได้ดังนี้

1. กลุ่มคัดค้านโดยปราศจากเหตุผล กลุ่มคนประเภทนี้จะคัดค้านทุกอย่างตามแต่ที่ตนเองคิดว่าสิ่งนั้นไม่ตรงกับความคิดของตนเอง ถึงแม้จะมีเหตุผลมากล่าวอธิบาย กลุ่มคนประเภทจะไม่ฟังเหตุผล โดยจะยึดแค่แนวความคิดของตนเองเท่านั้น

2. กลุ่มคัดค้านโดยขาดความรู้ ความเข้าใจใรเรื่องที่ตนเองกำลังคัดค้าน ตัวอย่าง ในกรณีของเรือดำน้ำกลุ่มคนที่คัดค้านบางคนยังไม่รู้การวางยุทธศาสตร์ทางทหาร ไม่รู้ว่าเรือดำน้ำใช้ประโยชน์อย่างไรในการรบทางยุทธวิธี ไม่รู้รายละเอียดข้อมูลที่แท้จริงของเรือดำน้ำ เพียงแต่รู้ข้อมูลผิวเผินเช่น ได้รับฟังข่าวสารว่าอ่าวไทยนั้นตื้นไม่เหมาะกับเรือดำน้ำ จึงได้มีความคิดคัดค้านเกิดขึ้น ดังนั้นกองทัพเรือควรประชาสัมพันธ์อธิบายเหตุผลในการจัดซื้อให้ประชาชนทั่วไปทราบถึง ความสำคัญถึงการวางยุทธศาสตร์ทางการทหาร สเปกเรือดำน้ำระบบอาวุธว่ามีความคุ้มค่ากับงบประมาณในการจัดซื้อ

3. กลุ่มคัดค้านที่มีความรู้ขั้นสูง กลุ่มคนประเภทนี้เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ทางยุทธศาสตร์เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีแนวคิดที่แตกต่าง เรียกว่ากลุ่มคนเห็นต่าง บางคนไม่ได้คัดค้านว่าควรประจำการเรือดำน้ำหรือไม่ แต่คัดค้านในตัวเลือกของเรือดำน้ำ แม้แต่ทหารด้วยกันหลายๆนายยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเลือกในการจัดซื้อเรือดำน้ำ เช่น บางคนให้ความเห็นว่าเรือดำน้ำสวีเดน เกาหลีใจ้ หรือเยอรมันนี ดีกว่าเรือดำน้ำของจีน ดังนั้นกองทัพเรือต้องมีการประชาสัมพันธ์หรือตอบคำถามว่าเรือดำน้ำของจีนมีความสามารถเหนือกว่าเรือรุ่นอื่นๆอย่างไร แล้วจะเอาไปใช้ในแผนยุทธศาสตร์ทางทหารอย่างไร รวมถึงการอายุการใช้งาน ค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการและค่าบำรุงรักษาว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ กองทัพเรือต้องอธิบายกลุ่มคนประเภทนี้ให้ได้

ส่วนตัวคิดว่าตามหลักยุทธศาสตร์ทางทหาร กองทัพเรือควรมีเรือดำน้ำประจำการทั้งหมดจำนวน 6 ลำ แต่ควรจะเป็นเรือดำน้ำรุ่นอื่นเช่น เรือดำน้ำ SAAB ชั้น A26 Oceanic ของประเทศสวีเดน เป็นต้น

 

SAAB ชั้น A26 Oceanic


โดยคุณ momo เมื่อวันที่ 20/12/2019 19:14:14


ความคิดเห็นที่ 14


บังกลาเทศซื้อเรือดำน้ำชั้นหมิงจากจีนมาสองลำ เรือดำน้ำนี้จีนก็อปมาจากเรือดำน้ำโซเวียตยุค60 พัฒนาใหม่ยุค80 สั่งซื้อยุค2010 เพิ่งได้ครบสองสามปีนี้เอง

พม่าซื้อเรือดำน้ำชั้นกิโลจากอินเดีย เรือดำน้ำนี้โซเวียตผลิตเมื่อยุค80ให้อินเดีย อินเดียมาปรับปรุงใหม่ขายให้พม่า1ลำ

คู่นี้น่าจะเอาใช้ประจญหน้ากันมากสุดละ เพราะเคยมีสงครามทางเรือหย่อมๆ แถมมีปัญหาเรื่องโรฮิงญากันอีก บังกลาเทศได้เรือดำน้ำครบ พม่าถามซื้อเรือดำน้ำจ่กอินเดียทันที สงครมเย็นตัวแทนเลย จีนหนุนบังกลาเทศ ส่วนอินเดียหนุนพม่า 

อีกฝ่ายใช้แบบของเก่าเอามาผรับปรุงผลิตใหม่แต่มีสองลำ อีกฝ่ายทันสมัยกว่าแต่มือสองปรับปรุงใหม่มีลำเดียว ถ้ามีประเทศละลำคงเปรียบมวยกันได้ดีกว่า

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 21/12/2019 00:27:29


ความคิดเห็นที่ 15


พม่าจะไปตีรันฟันแทงกับใครเป็นปัญหาเรื่องความมั่นคงของเขา ปัญหาเรื่องความมั่นคงขอเรามีอยู่ว่า...เรือดำน้ำพม่าสามารถดำเข้ามาในพื้นที่อันดามันของเราได้ เพราะเราไม่ได้เอาตาข่ายไปกั้นเอาไว้นี่นา เพราะฉะนั้นเราจะต้องหาทางป้องปรามหรือทำอะไรสักอย่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เรือดำน้ำพม่าหรือชาติอื่นเข้ามารุกล้ำน่านน้ำไทย เรื่องของเรื่องของกระทู้นี้มีอยู่แค่นี้เอง 

 

การป้องกันประเทศไม่สำคัญว่าเครื่องบินหรือเรือชาติไหนรุกล้ำเข้ามา ต่อให้เป็นมหามิตรที่เราจิ้มก้องให้มากมายมหาศาลอย่างจีนเราก็ต้องทำตามกฎอย่างเคร่งครัด ถ้าทำแล้วเขาไม่ทำตามจำเป็นต้องยิงก็ต้องยิง ปัญหาก็คือทะเลฝั่งอันดามันของเรามันเป็นจุดอ่อนใหญ่เบ้อเริ่ม อย่าว่าแต่ยิงเขาเลยเอาแค่ตรวจจับให้ได้ก็หืดขึ้นคอแล้ว

 

ที่ท่าน airy บ่นมาผมยังมืนๆ อยู่เลยนะ กฎหมายว่าอย่างไรกันแน่ไม่เห็นมีใครตอบได้ชัดเจน เศรษฐกิจไม่ค่อยดีท่านเจ้าคุณจึงต้องเก็บค่าต๋งจากทุกอย่าง ผมก็ขยับตัวทำอะไรไม่ได้เลยนอนแกร่วอยู่บ้านนี่แหละ

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 21/12/2019 09:22:30


ความคิดเห็นที่ 16


มาเชียร์ A26 กับท่าน momo ด้วยคน ถ้าใด้มาจริง จะปลื้มมาก 

เรื่องอธิบายให้คนทั่วไปที่ไม่ใด้สนใจเรื่องเทคโนโลยี ให้เข้าใจยุทธวิธีและความจำเป็นของเรือเรือดำน้ำนี่มันยากจริงๆครับ ขนาดนักวิชาการที่ใด้พะยี่ห้อว่า “ นักวิชาการทางการทหาร” บางคน ยังออกมาบอกว่าเรือดำนำ้ไม่จำเป็น ใช้เรือผิวนำ้ตรวจจับใด้เหมือนกัน ฯลฯ  แถมมั่วส่งๆว่าไปเน้นเรื่องการสงครามอสมมาตร ดีกว่า ฯลฯ.  คนที่ห่วงเรื่องปากท้องอยู่แล้วก็ไปแบบกู่ไม่กลับเลย

ส่วนเรื่องที่ ทร จะมาชี้แจงว่าเรือจีนดีกว่า เรือเยอรมัน / เกาหลี (ลิขสิทธ์เยอรมัน) นี่ คงเกินกลืนครับ มันอธิบายไม่ค่อยใด้สักเรื่อง เช่น มันไม่ใด้ดีกว่าเรืออื่น.  ความทนทาน/อายุการใช้งานก็ตอบไม่ได้  ใครจะกล้าพูดว่าเรือจีนทนกว่าเรือเยอรมัน  ที่ ทร ชี้แจงแบบอ้อมๆว่าเรือจีนมี AIP ดำใด้นานกว่า เรืออื่นที่เสนอมาไม่มี AIP ใด้อาวุธติดเรือมาด้วย แล้วจบเอาไว้แบบนั้น มันพูดใด้แค่นั้นจริงๆ 

ชุดแรก มีAIP สองลำ แล้วชุดหลัง 2-4ลำ เอาแบบไม่มี AIP มาก่อนก็ได้ พอถึงเวลาที่ต้องซ่อมใหญ่ 20-25ปี ข้างหน้า (ถ้าเป็นเรือ ตต) ค่อยอัพเกรด 

โดยคุณ Sam เมื่อวันที่ 22/12/2019 22:09:29


ความคิดเห็นที่ 17


ขอบคุณท่านSAMครับ ที่มีแนวคิดที่จะอธิบายให้คนทั่วไปที่ไม่ใด้มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีทางการทหาร ให้เข้าใจยุทธวิธีและความจำเป็นของเรือดำน้ำ ถึงมันจะเป็นเรื่องยาก และมีความจำเป็นที่จะต้องพูดซ้ำๆ บ่อยๆ ก็เป็นการแชร์องค์ความรู้ ประสปการณ์ของท่านผู้รู้ที่มาร่วมแชร์ความคิดเห็นกัน บางท่านก็บอกว่าให้ไปดูในกระทู้เก่าๆ เล่ามาบ่อยแล้วก็เป็นเรี่องที่ดีครับ แต่เรื่องเก่าเอามาเล่าใหม่ก็เป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ อาจมีองค์ความรู้ใหม่ๆ มาเพิ่มเติมและร่วมกันแชร์ความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น เพราะวัน เวลา และสถานการณ์ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เรามีองค์ความรู้หรือเรื่องราวดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติก็มาร่วมกันแชร์เพิ่มเติมกันไปครับ เพราะผมคิดว่าทุกคนในบอร์ดนี้ล้วนแล้วแต่รักประเทศ หวังดีต่อประเทศชาติ และที่นี่อาจจะเป็นอีกบันทึกหนึ่งของข่าวสารทางการทหาร ที่ลูกหลานของเราจะได้เรียนรู้ต่อไปในอนาคตครับ

โดยคุณ top4 เมื่อวันที่ 23/12/2019 09:36:29


ความคิดเห็นที่ 18


ตามที่ท่าน SAM บอกไว้ว่า " “ นักวิชาการทางการทหาร” บางคน ยังออกมาบอกว่าเรือดำนำ้ไม่จำเป็น ใช้เรือผิวนำ้ตรวจจับใด้เหมือนกัน ฯลฯ" ผมว่าพวกที่เรียกตัวเองว่าเป็น“ นักวิชาการทางการทหาร”พวกนั้นของปลอม ไม่ได้มีความรู้อะไรเลย หรือ ไม่ก็เป็นพวกที่มีอีโก้สูงเอาแต่ความคิดของตนเองเป็นหลัก ผมว่าอย่าไปให้ความสำคัญอะไรก็คนพวกนั้นมากเลยครับ เอาเป็นว่าถ้ามีเรือดำน้ำลำที่4-6 มาร่วมลุ้นขอให้เป็น SAAB A26 Oceanic กันครับ อิอิ

ผมมีบทความที่อยากให้ทุกท่านได้อ่าน เป็นบทความเรื่องความสำคัญและประโยชน์ของเรือดำน้ำ

เรือดำน้ำมีความเกี่ยวข้องอย่างไรบ้างกับหน้าที่ทางยุทธศาสตร์ของกำลังทางเรือตามหลักการของ Mahan และ Corbett

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน ทำให้เรือขนาดเล็กที่ติดอาวุธหนักระยะไกลสามารถเป็นภัยคุกคามต่อกองเรือขนาดใหญ่ได้ จึงเป็นการยากที่จะกำหนดให้ชัดเจนว่าเรือดำน้ำ จัดอยู่ในประเภทของกองเรือป้องกันฝั่ง หรือกองเรือลาดตระเวน หรือกองเรือหลัก ซึ่งในกรณีสุดท้ายนักยุทธศาสตร์อาจมีความจำเป็นต้องปรับการให้ความสำคัญจากการสร้างเรือผิวน้ำ ไปเป็นการเน้นความสำคัญในการสร้างเรือดำน้ำแทน

ขีดความสามารถพื้นฐานของเรือดำน้ำ คือการช่วยให้กำลังที่ด้อยกว่า สามารถต่อต้านกำลังขนาดใหญ่กว่าได้ หรือเป็นขีดความสามารถในการปฏิเสธการใช้ทะเลนั่นเอง ถึงแม้ว่า Mahan และ Corbett จะเน้นความสำคัญของการควบคุมทะเลและการทำการรบโดยตรงกับกำลังทางเรือของฝ่ายตรงข้าม โดยมองว่าการปฏิเสธการใช้ทะเลเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่นำไปสู่การควบคุมทะเล แต่ Corbett เองก็ยอมรับว่าสำหรับกองเรือที่มีขีดความสามารถด้อยกว่าแล้ว การหลีกเลี่ยงการปะทะโดยตรงและการปฏิเสธการใช้ทะเล อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพื่อรอหาจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมในการโจมตีตอบโต้กำลังที่เหนือกว่าได้ ทั้งนี้นักยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ท่านมีแนวคิดตรงกันว่าเป้าหมายสำคัญของกำลังทางเรือยังคงเป็นการพยายามได้มาซึ่งการควบคุมทะเล และการแสวงประโยชน์จากการควบคุมทะเล

ปัจจัยหนึ่งที่ยังคงเป็นประเด็นการตัดสินใจสำคัญของนักยุทธศาสตร์ทางเรือ คือการตัดสินใจเลือกระหว่างการกระจายกำลังกับการรวมกำลัง ในขณะที่ Corbett สนับสนุนการกระจายกำลังเพื่อครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด แต่การวางกำลังก็ควรมีความอ่อนตัวเพียงพอที่จะสามารถรวมกำลังไปยังยุดสำคัญทางยุทธศาสตร์หรือจุดศูนย์ดุลได้เมื่อมีความจำเป็น

ธรรมชาติการปฏิบัติการเรือดำน้ำ คือการกระจายกำลังและการปฏิบัติการโดยอิสระ อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีสมัยใหม่ช่วยให้เรือดำน้ำสามารถรวมกำลังไปยังจุดศูนย์ดุลทางยุทธศาสตร์ได้เมื่อจำเป็น เช่น ขีดความสามารถในการเคลื่อนที่ของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ที่สามารถเดินทางไปยังพื้นที่สำคัญได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การรวมกำลังยังไม่ได้หมายถึงการเคลื่อนกำลังเข้าใกล้กันเท่านั้น แต่หมายถึงการสนับสนุนอำนาจการยิงซึ่งกันและกันได้ การพัฒนาอาวุธของเรือดำน้ำสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นตอร์ปิโดหนัก หรืออาวุธปล่อยนำวิถีระยะไกล โดยการเพิ่มระยะยิงของอาวุธสมัยใหม่เป็น 2 เท่า หมายถึงการเพิ่มขนาดพื้นที่ปฏิบัติการได้ถึง 4 เท่า ส่งผลให้เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า สามารถกระจายกำลังปฏิบัติการในพื้นที่ต่างกันได้ โดยยังคงความอ่อนตัวในการรวมอำนาจการยิงด้วยอาวุธระยะไกลโดยไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่เข้าใกล้กัน

ปัจจัยต่อมาคือการหาความสมดุลระหว่างขีดความสามารถเชิงรุกและเชิงรับ ซึ่ง Corbett ได้ให้ข้อสังเกตว่ากำลังเชิงรุกยังคงจำเป็นต้องมีขีดความสามารถเชิงรับ เพื่อทำการระวังป้องกันพื้นที่ที่อาจเป็นจุดอ่อนได้ โดยในส่วนของเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่มีขีดความสามารถทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ การซ่อนพรางและการปฏิบัติการโดยอิสระของเรือดำน้ำทำให้เรือดำน้ำสามารถวางตัวลึกเข้าไปในพื้นที่ของฝ่ายตรงข้ามได้ ในขณะที่ขีดความสามารถเดียวกันของเรือดำน้ำสามารถใช้ในการระวังป้องกันพื้นที่ส่วนหลังได้ โดยเรือดำน้ำสามารถปฏิเสธการใช้ทะเลในพื้นที่ส่วนหลังเพื่อไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามมีเสรีในการปฏิบัติในพื้นที่ของฝ่ายเรา นอกจากนี้แล้วการใช้เรือดำน้ำในการระวังป้องกันพื้นที่ส่วนหลังยังช่วยให้กำลังเรือผิวน้ำมีอิสระในการทำการควบคุมทะเลในพื้นที่ส่วนหน้าหรือในพื้นที่ที่ต้องการได้ อีกทั้งเมื่อได้มาซึ่งการควบคุมทะเลแล้ว เรือดำน้ำยังสามารถใช้ในการปิดอ่าวเพื่อดำรงการจำกัดเสรีของฝ่ายตรงข้ามได้

การแสวงประโยชน์จากการควบคุมทะเล เป็นหน้าที่ทางยุทธศาสตร์ของกำลังทางเรือที่มีความเกี่ยวข้องกับเรือดำน้ำน้อยที่สุด อย่างไรก็ดี Corbett ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าในบางครั้งกำลังทางเรืออาจมีความจำเป็นต้องใช้ทะเล ก่อนที่จะสามารถควบคุมทะเลได้ ทั้งนี้การทำสงครามไม่จำเป็นต้องยึดติดกับตรรกะและลำดับขั้นตอนเสมอไป ตัวอย่างเช่น อาจมีความจำเป็นต้องทำการยกพลขึ้นบก ก่อนที่จะสามารถควบคุมทะเลได้ หรือในกรณีที่กำลังทางเรือหลักหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกันโดยตรง อาจมีความจำเป็นต้องใช้การทำสงครามเรือพาณิชย์ หรือ guere de course ซึ่งเป็นหน้าที่ของกองเรือลาดตระเวนเป็นหลัก ในกรณีนี้อาจจัดเรือดำน้ำอยู่ในประเภทกองเรือลาดตระเวนได้ เนื่องจากเรือดำน้ำมีขีดความสามารถที่เหมาะสมในการโจมตีปิดกั้นเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางทะเล ดังจะเห็นได้จากการใช้เรือดำน้ำของเยอรมนี และสหรัฐฯ ในสงครามโลกครั้งที่ 2 นอกจากนี้แล้ว เรือดำน้ำไม่จำเป็นต้องจมเรือสินค้าทุกลำเพื่อทำลายการคมนาคมขนส่งทางทะเลและระบบเศรษฐกิจ แต่การโจมตีเพียงไม่กี่ครั้งเพื่อให้ทราบว่ามีเรือดำน้ำปฏิบัติการอยู่ ก็สามารถทำให้กองเรือสินค้าเปลี่ยนเส้นทาง ซึ่งเป็นการเพิ่มความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ล้วนแต่จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

นอกจากขีดความสามารถในการทำสงครามเรือพาณิชย์ต่อระบบเศรษฐกิจแล้ว เรือดำน้ำสมัยใหม่ยังสามารถขยายอิทธิพลของกำลังทางเรือขึ้นสู่ฝั่งได้โดยตรง ด้วยการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีฝั่งระยะไกล ตัวอย่างเช่นการใช้เรือดำน้ำเป็นฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีอิรัคและลีเบียของ ทร.สหรัฐฯ รวมทั้งการส่งชุดปฏิบัติการพิเศษขึ้นสู่ฝั่ง เพื่อสนับสนุนหรือเตรียมการสำหรับการส่งกำลังทางบกขึ้นสู่ฝั่งต่อไป

ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเรือดำน้ำมีขีดความสามารถที่หลากหลายทั้งในเชิงรุกและในเชิงรับ เพื่อรองรับหน้าที่ทางยุทธศาสตร์ของกำลังทางเรือ ตั้งแต่การปฏิเสธการใช้ทะเล การควบคุมทะเล และการแสวงประโยชน์จากการควบคุมทะเล โดยในปัจจุบันการจัดแบ่งประเภทของเรือตามหลักการของ Corbett มีความชัดเจนที่น้อยลง และเรือดำน้ำอาจเป็นได้ทั้งกองเรือป้องกันฝั่ง กองเรือลาดตระเวน รวมไปถึงกองเรือหลัก ทั้งนี้การวางแผนกำลังรบในส่วนของเรือดำน้ำ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ทางเรือ ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักที่อยู่บนฝั่ง โดยการรบทางเรือไม่ได้มีเป้าหมายเพียงเพื่อการเอาชนะกำลังฝ่ายตรงข้ามในทะเลเท่านั้น แต่ควรสนับสนุนวัตถุประสงค์แห่งชาติเป็นหลัก ดังคำกล่าวของ Corbett ที่ว่า "Men live upon the land and not upon the sea."

กล่าวโดยสรุป นักเรือดำน้ำ นักยุทธศาสตร์ และประชาชนทั่วไป ไม่ควรมองแค่ความสำคัญของเรือดำน้ำในด้านของขีดความสามารถทางยุทธวิธี แต่การมองภาพรวมที่กว้างขึ้นกว่าในระดับยุทธศาสตร์ โดยนำเอาขีดความสามารถของเรือดำน้ำไปประยุกต์เข้ากับหลักสมุททานุภาพและยุทธศาสตร์ทางเรือ จะทำให้สามารถตอบคำถามได้ว่า เรือดำน้ำมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ทางเรือ และยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศในองค์รวมได้อย่างไร

 


โดยคุณ momo เมื่อวันที่ 23/12/2019 22:19:19


ความคิดเห็นที่ 19


ระหว่างรอเรือดำน้ำจีน อาจไปเช่าหรือซื้อเรือดำน้ำชั้นโรมิโอหรือชั้นหยวนจากจีนมาฝึกไปพรางๆก่อนระหว่างเรือดำน้ำจีนไปก่อน

ใครว่าโลกสงบสุข กาต้าที่รักสงบมีมิราจ2000 แล้วยังมีเอฟ15ถึง36ลำและเครื่องราฟาเอลอีก ล่าสุดสั่งฮ.อาปาเช่อีอีก24+24ลำ แถมจรวดหลายลำกล้องระยะเชิงรุกยิงไกลแบบแอสตรอท(สมัยซัดดามอยู่เคยจัดหาจากบราซิล)อีก มีจรวดป้องกันภัยรุ่นล่าสุดนาสมาสจากเมกาอีก รวมๆแล้วศักยภาพมากกกว่าคูเวตอีก ส่วนมาเลที่รักสงบก็มีจรวดหลายลำกล้องระยะเชิงรุกยิงไกลแบบแอสตรอทด้วย

ดังนั้นมีอาวุธก็ต้องให้ใกล้เคียงกันบ้าง เหมือนตอนเขมร,เวียดนามใต้,ลาวแพ้คอมมิวนิสต์ แค่เครื่องบินเอฟ5ไทยยังมีน้อยไม่รู้กี่เท่าแถมยังไม่มีเอฟ5อีเลย ปืนใหญ่ยิงไกลสุดก็แค่เอ็ม114ที่ระยิงไม่ถึง15กิโลเลย แต่เวียดนามมมีปืนใหญ่130มม.ระยิงไกล27กิโลจำนวนมหาศาล รออีกสิบปีกว่าไทยจะมีเรือดำน้ำชั้นหยวนครบสามลำ ช่วงที่รออยู่ก็?

 

 

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 23/12/2019 22:46:56


ความคิดเห็นที่ 20


บังกลาเทศโปรอินเดียตอนหลังจีนแทน พม่าโปรจีนตอนนี้เข้าทางอินเดียบ้างละ มาเลโปรเมกาเรือดำน้ำฝรั่งเศส เขมรโปรจีน100% เวียดนามโปรโซเวียตตอนนี้เข้าหาทางตะวันตกอย่างเมกากะอินเดียไว้ต้านจีนที่เกาะพาราเซลกะสแปรตลี่ ไทยโปรเมกา แต่เข้าทางจีน-รัสเซียละ

โดยคุณ sepia เมื่อวันที่ 27/12/2019 00:47:00


ความคิดเห็นที่ 21


......ยุทธศาสตร์ ชาติ .....กำหนดโดย ทหารบก

......ยุทธศาสตร์ ทางทะเล ......กำหนดโดยทหารบก

......ยุทธวิธีรบทางทะเล.......กำหนดโดย.....ทหาร.....(ทหารบก....มั้ง...)

......การเลือกเรือดำน้ำ.......กำหนดโดย....ทหาร.....ใครเลือกก็ไม่รู้   (ไม่รู้จริงๆ...)

......มันเป็นยุทธศาสตร์ชาติไหนนี่.......(ยุทธศาสตร์ ......เขมร...แน่ๆ...ครับ)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 27/12/2019 11:27:59


ความคิดเห็นที่ 22


Salvatore Ferragamo
Polo Outlet Factory
Birkenstock Molina
Cheap Nike Soccer Jerseys
Swarovski Necklace
Ralph Lauren Outlet Factory
Fitflop USA
Panodra Bracelets
Pandora Outlet Online
Birkenstock Arizona
Tods Slip On
Fjallraven Canada
US Outlet Soccer Jersey
Adidas Copa 18 Soccer
Adidas Shoes Green Blue
Nike Soccer Jerseys Outlet
Ralph Lauren Polo UK
Womens Adidas Shoes
By Fashion Nike Air Max 97
Golden Goose Francy
Tory Burch Sandals
Womens Ed Hardy Hoodies Sale
Pandora Rings
Nike Soccer Shoes Outlet
Cheap Snapbacks Sale
Stores Oakley Sunglasses
Mulberry Shoulder Bag
Christian Louboutin Outlet
Pandora Promotions
Fjallraven Kanken
Nike Air Jordan Womens Blue
Ed Hardy Love Kill Slowly
Oakley Sunglasses
Mulberry Tote Bag
Nike Shoes USA
Polo Ralph Lauren
Salomon Snowcross
Snapback Hats
Salomon Sport Shoes Designer
NFL Jerseys Wholesale
Asics Running Shoes
Fitflop Online Sale
Christian Louboutin Outlet
Pandora Jewelry
Air Jordan 1 Outlet
Golden Goose Shoes
Ed Hardy Tank authentic quality
Adidas Falcon In Red
Converse Shoes
Online Nike Air Max Discount
Adidas Ultra Boost Wide Range
Longchamp Handbags
Jimmy Choo Thigh High Boots
Special Adidas NMD Boost Offers
Adidas Ultra Boost
Balenciaga Sale
Longchamp Handbags
NFL Jerseys XXXXL
Golden Goose Womens Sale
Longchamp Bags
Nike Air Max 97 Outlet
ECCO Casual Shoes
True Religion Bootcut Jeans
Nike Air Jordan Sport
Silver Pandora Necklaces
Pandora Rings
True Religion USA
Ecco Sandals
Nike Air Jordan EU
Salvatore Ferragamo Handbags
Juicy Couture Tracksuit
Small Pony Ralph Lauren
Ed Hardy Surprise Clothing
Asics Running Shoes
High Tops Women's Salomon
Longchamp Backpack
Longchamp Bags USA
Adidas Real NMD Boost For Sale
Nike LeBron Great Deals
Ralph Lauren Shorts
Balenciaga Outlet
Official Shop Nike Air Max 270
Polo Ralph Lauren Wholesale UK
ralph lauren polo shirts
polo ralph lauren
Jimmy Choo Shoes
Ferragamo Shoes
salomon speedcross 4
Tory Burch Bags
Womens Golden Goose
Nike Air Max Shop
Men's Polo Ralph Lauren By USA
Bape Hoodies
Puma Speed Cat
Adidas Online Shop
Juicy Couture Handbags
Nike Air Force 1 Gift
Bape Hoodies
Polo Ralph Lauren Outlet
Toms Shoes
Outlet Factory Adidas NMD Boost Online
Salomon Speedcross Pro
Ecco Outlet
polo ralph lauren outlet online
Oakley Sunglasses Outlet
Authentic Polo Ralph Lauren Online
Polo Ralph Lauren Shop Clothes Online
Adidas Shoes Green Blue
Nike Air Jordan 4 Internship
Ed Hardy Christian Audigier
Longchamp Canada
Bape Hoodie
Swarovski Crystal
Save Up Pandora Bracelets
Discounted Adidas Falcon
adidas neo shoes
Wholesale Snapbacks Online
Nike Soccer Shoes
NFL Jerseys Outlet
Cheap Oakley Sunglasses
Fitflop Sandals
Salomon Speedcross
Pandora Bracelets
Nike Air Max Best Selling
Lowest Price Adidas NMD Boost
Fjallraven Backpacks
Nike Soccer Cleats
Ralph Lauren Big Pony Logo
Ladies Birkenstock Piazza
Nike Air Max 270 White Mens
Asics Onitsuka Tiger
Salomon Shoes
Birkenstock Arizona
Fjallraven Outlet
Bape Clothing
Designer Fashion Ralph Lauren USA Sale
adidas yeezy
Air Jordan 1 Red With Bule
Nike Kobe Factory Wholesale Prices
Jimmy Choo Boots
Nike Jordan Shoes
Nike Air Jordan Pink Women
Montblanc Fountain Pens
Christian Louboutin Shoes
Balenciaga USA
Salvatore Ferragamo
Tods Driving Shoes
Skechers Boots
Where To Buy Authentic Ed Hardy
Fitflop USA
ralph lauren outlet
Fila Shirts
Skechers Clothing
Air Jordan Outlet Stores Online
Worldwide shipping Ed Hardy
Ed Hardy T Shirts Online
Cheap Fitflops
Air Max 720 USA Online
Cheap England Soccer Jerseys
Jimmy Choo Slingbacks
MontBlanc Boheme
Puma Ferrari
Toms Shoes
Nike Air Jordan Black
Pandora Charms Superior Quality
Oakley Sunglasses Wholesale
Authentic Discount Ed Hardy Suits
Balenciaga Track
Online Nike Multi Ground Boots Style
adidas ultra Boost
Asics Shoes
Sale Golden Goose Hi Star Online
Pandora Rings
Outlet Nike SB Dunk Online
Polo Ralph Lauren Products White USA
Snapbacks Hats
Converse Trainers
Cheap Country Jerseys
Black Soccer Jersey

โดยคุณ thomaslist เมื่อวันที่ 23/05/2022 20:11:58