ผู้บริหารกลุ่มโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน ระบุยูเอวี ผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2552 เป็นยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญของกองทัพไทย ...
เมื่อวันที่ 25ม.ค. พลโทหญิงพงษ์รุจี ศิริวัฒนะ ผู้บริหารกลุ่มโครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน (Unmanned Aerial Vehicle ) หรือ ยูเอวี กล่าวภายหลังเข้ารับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2552 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) วันเดียวกันนี้ว่า ปัจจุบันกองทัพไทยให้ความสำคัญกับระบบ ยูเอวี เป็นลำดับแรกๆ ในกระบวนยุทโธปกรณ์ที่มีความสำคัญในการเสริมสร้างกำลังกองทัพที่ต้องมีเข้า ประจำการ โดยนำเข้า ยูเอวี รุ่น Searcher จากประเทศอิสราเอล จำนวน 1 ชุด เพื่อใช้ลาดตระเวนตรวจการ แทนอดีตที่ต้องใช้เครื่องบินที่มีนักบินควบคุม นอกจากจะมีต้นทุนในการดำเนินการสูงแล้ว ยังเป็นการเลี่ยงอันตรายต่อตัวนักบินที่อาจจะถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตีอีกด้วย ประโยชน์ของ ยูเอวี นี้ นอกจากจะใช้ลาดตระเวนตรวจการแล้ว ยังสามารถชี้เป้าและส่งสัญญาณภาพตามจริง (real time) เป็นการเพิ่มความแม่นยำในการยิงปืนใหญ่ ทำให้ประหยัด ไม่ต้องเสียลูกกระสุนในจำนวนมากด้วย
พลโทหญิงพงษ์รุจี กล่าวต่อว่า อากาศยานไร้นักบิน ยูเอวี จัดทำขึ้นเพื่อทดแทนการนำเข้าและการสูญเสียค่าซ่อมบำรุงปีละหลายล้านบาท ความพยายามศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการสร้างยูเอวี ขึ้นใช้เองภายในประเทศจึงเกิดขึ้น โดยในขั้นต้นกำหนดให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของกองพลทหารปืนใหญ่ ( พล.ป.) สำหรับภารกิจตรวจการณ์ สอดแนม ค้นหาและติดตามเป้าหมาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว.) และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม ( สวพ.กห.) จึงร่วมสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน โดยหน่วยงานวิจัยใช้นักวิชาการจากสถาบันต่างๆ จำนวน 50 คน ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านซอฟต์แวร์และอาร์ดแวร์ร่วมพัฒนาโครงการนี้
"ผล จากการพัฒนาต้นแบบยูเอวีมากว่า5 ปี ได้สร้างนักวิจัยที่มีความรู้และประสบการณ์ในการออกแบบและสร้างระบบอากาศยาน ไร้นักบิน จำนวนไม่น้อย รวมทั้งยังได้องค์ความรู้พื้นฐานเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับอากาศยานไร้นักบิน ทั้งการออกแบบและสร้างอากาศยานไร้นักบิน ระบบควบคุมการบิน ระบบการติดต่อสื่อสารการบิน ระบบการประมวลผลสัญญาณวีดีโอ ระบบการเชื่อมต่อเข้ากับระบบภูมิสารสนเทศ การออกแบบและสร้างอุปกรณ์โดยนักวิจัยและบริษัทภาคเอกชนในประเทศ ยังสามารถผลิตขายให้เป็นเครื่องฝึกนักบินให้กับกองพลทหารปืนใหญ่จำนวน 10 ลำ และขายให้บริษัท ไอเอไอ ประเทศอิสราเอล จำนวน 24 ตัว ได้รับค่าสิทธิบัตรประมาณ 1 ล้านบาท นอกจากนั้นยังได้ความรู้จากโครงการวิจัยนี้ ช่วยให้ทีมมีส่วนต่อรองการจัดชั้นระบบใหม่ที่ทำให้กองทัพประหยัดเงินได้ไม่ ต่ำกว่า 650 ล้านบาท "ผู้บริหารกลุ่มโครงการวิจัย ยูเอวีกล่าว
ประเทศไทยผลิดอาวุธ ได้ก็เป็นความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ คนชาติอื่นจะได้รู้ว่า คนไทยก็ไม่ใช่ขี้ไก่เหมือน และ ในอนาคตกองทัพไทย ใช้อาวุธของตัวเองเกินกว่าครึ่งนึกของอาวุธที่เราซื้อจากต่างประเทศ การของบประมาณก็จะน้อยลงแต่กองทัพมีอาวุธที่เพียบพร้อมเพียงพอต่อความต้องการของเหล่าทัพต่างๆ กองทัพไทยจะเกรียงไกรขนาดไหน ถ้าอาวุธเราคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับก็สามารถส่งออกนำเงินตราเขาประเทศ ไม่อยากจะคิดมันจะสวยหรู่ขนาดไหน ผมเชื่อว่าคนไทยถ้าตั้งใจจะทำอะไรคงไม่ยากเกินความสามารถ
อย่าติดกับลักษณะเครื่องบินก็จะดี