ผ้ายืดเคลือบซิลิโคนรักษาแผลเป็น-แผลไฟไหม้ เป็นโครงงานวิจัยที่เกิดขึ้นหลังร่วมมือกับศัลยแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วพบว่า ผ้ายืดรัด (Pressure Garment) ที่ใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกนี้ สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก
ทั้งนี้ ผ้ายืดรัดจะใช้รักษาแผลไฟไหม้น้ำ ร้อนลวกที่มีขนาดใหญ่ หรือแผลความรุนแรงระดับ 3 ที่ต่อมไขมัน เซลล์ผิวหนังชั้นในถูกทำลาย โดยทำเป็นชุดรัด อาศัยหลักแรงกดทับให้แผลที่หายแล้วสร้างคอลลาเจนขึ้นใหม่ โดยที่คอลลาเจนมีการจัดเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ ไม่เกิดรอยปูดนูน แต่สำหรับแผลขนาดเล็ก เช่น แผลผ่าตัดหลังคลอด น้ำร้อนลวกในพื้นที่เล็กๆ ก็จะใช้ซิลิโคนเจลปิดทับเพื่อรักษา
แม้ผ้ายืดรัดจะทำหน้าที่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่ก็ต้องใช้เวลา 6-12 เดือน ซึ่งมีผลทางใจของผู้ป่วย การรักษาที่ให้ผลเร็วขึ้นจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจได้เช่นกัน ดร.วนิดา จึงนำผ้ายืดรัดและซิลิโคนเจลมาผสมผสานเป็นวิธีการ รักษาใหม่ โดยศึกษาและพัฒนาส่วนผสมของซิลิโคนที่เป็นสูตรเฉพาะ สามารถขึ้นรูปได้ง่าย สามารถคงรูปได้ดี มีความอ่อนนุ่ม และมีความเหนียวพอที่จะยึดติดกับผิวหนังมนุษย์
เมื่อพัฒนาสูตรซิลิโคนตามความต้องการ นักวิจัยนำมาเคลือบผ้ายืดรัด โดยอาศัยเทคนิคการเคลือบบนผ้าแบบพิเศษ ที่ทำให้ซิลิโคนเจลสามารถยึดติดกับผ้ายืด ได้ ไม่หลุดลอกแม้ดึงหรือยืดผ้า
ผลการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า ผ้ายืดเคลือบซิลิโคนเจลไม่มีความเป็นพิษต่อ เซลล์ผิวหนังมนุษย์ ผ่านมาตรฐานทดสอบความระคายเคืองของวัสดุ สามารถยึดเกาะกับผิวหนังได้ดี และสามารถซักล้างแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 50 ครั้ง
"ซิลิโคนเจลมีความชุ่มชื้น ช่วยให้แผลนุ่ม และหายเร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้เป็นผ้ายืดรัดเฉพาะตำแหน่งที่เป็นแผล ไม่ต้องสวมทั้งชุด ทำให้ใช้งานง่าย สะดวก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบในผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวกที่ร่วมมือกับหน่วย กายภาพบำบัด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์"
ในการทดสอบ ผู้ป่วยจะถูกแบ่งแผลออกเป็น 2 ส่วนบริเวณใกล้กัน จากนั้นทีมวิจัยจะนำผ้ายืดเคลือบซิลิโคนเจลมาปิดรัดแผลส่วนหนึ่ง และโรงพยาบาลนำผ้ายืดรัดปิดแผลอีกส่วนหนึ่ง สวมใส่อย่างน้อย 6-12 เดือนเหมือนการรักษาปกติ
ผู้ป่วยจะกลับมาให้แพทย์เปิดแผลดูผลการรักษาทุก 6-8 สัปดาห์ ปัจจุบันเริ่มทดสอบไปแล้วประมาณ 2 เดือน คาดว่าช่วงกลางปี 2553 จะได้ผลการทดสอบที่แน่ชัด
"เราตั้งเป้าที่จะต่อยอดไปในเชิงพาณิชย์ โดยการถ่ายทอดวิธีการเตรียมผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตซิลิโคน และเทคนิคการเคลือบ ปัจจุบันก็มีเอกชน 2-3 รายให้ความสนใจเข้ามาศึกษาพูดคุย" ดร.วนิดา กล่าว
ps.น่าจะเอามาประยุกต์ใช้วงการแพทย์ทหารได้
http://www.bangkokbiznews.com/home/เครื่องจับเท็จทำงานโดยผสมผสาน อุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ขณะผู้ต้องสงสัยถูกถามคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้ตรวจจะดูอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ และการเปลี่ยนแปลงกระแสคลื่นไฟฟ้าที่ชั้นผิวหนัง โดยเปรียบเทียบกับภาวะปกติ
ถ้าเส้นกราฟที่ได้มีการแกว่งหรือขึ้นๆ ลงๆ ที่ต่างกันมาก นั่นก็อาจจะชี้ได้ว่า ผู้ที่ถูกตรวจสอบในขณะนั้นกำลังหลอกลวง แต่ว่าผลการตรวจสอบนั้นก็แล้วแต่ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะตีความว่า นี่ใช่การโกหกหรือไม่
ตามที่เคยเห็นในฉากหนัง เครื่องจับเท็จจะมีสายระโยงระยาง เชื่อมตัวเครื่องกับผู้ต้องสงสัย แต่ด้วยเทคโนโลยีไร้สายที่ก้าวหน้า อีกไม่นานจะมีเครื่องจับเท็จแบบไร้สาย หนึ่งในผลงานวิจัยของหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ภายใต้สังกัดศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
เครื่องจับเท็จไร้สายจะทำงานร่วม กับอุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิระยะไกล โดยอาศัยหลักการถ่ายเทความร้อน และการตรวจวัดเชิงแสงเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้ต้องสงสัย
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร นักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค กล่าวว่า เครื่องจับเท็จไร้สายเป็นผลงาน ต่อยอดจากซอฟต์แวร์วัดอุณหภูมิระยะไกล หรือเครื่องตรวจอุณหภูมิร่างกายระยะไกล ซึ่งติดตั้งใช้จริงอยู่ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สาย พันธุ์ 2009 ระบาด
จุดเด่นของเครื่องจับเท็จไร้สายคือ ประสิทธิภาพที่แม่นยำสูง
"เครื่องจับเท็จทั่วไปเมื่ออยู่ใน สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม จะแสดงผลไม่ชัดเจน เนคเทคจึงนำเทคโนโลยีไอทีทางไกล มาช่วยสร้างซอฟต์แวร์ใช้ในการสืบสวนสอบสวนและวิเคราะห์ความผิดปกติ ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีไร้สายคือ สามารถตรวจสอบความจริงจากปากคำของผู้ต้องหา โดยไม่ต้องสัมผัสตัว ช่วยในการหาหลักฐานเพิ่มเติมในคดีต่างๆ
รวมถึงยืนยันความบริสุทธิ์ของผู้ต้องสงสัย ทำให้กระบวนการสอบสวนของหน่วยงานด้านความมั่นคงได้รับความน่าเชื่อถือ"
เนคเทคนำเทคโนโลยีไอทีเข้ามาช่วย ในรูปแบบซอฟต์แวร์ช่วยสืบสวนสอบสวน โดยวิเคราะห์และประมวลผลจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น อุณหภูมิใบหน้า หลังจากใช้เวลาศึกษาและปรับแต่งโปรแกรมอยู่ 3 ปี ทีมวิจัยได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบชื่อ "เทด" (Thermal Analyzer for Deceptive Detection : TAD) ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษกำลังทดสอบประสิทธิภาพอยู่
งานวิจัยดังกล่าวเกิดจากโจทย์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่มองหาเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ให้แก่ผู้ต้องหา ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ถ้าเราทำสำเร็จ ถือว่าเป็นครั้งแรกของโลก ดร.ศรัณย์ กล่าว
โปรแกรมดังกล่าวอาศัยการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของคลื่นความร้อน ของอุณหภูมิบนใบหน้า ด้วยหลักการถ่ายเทความร้อน หรือระบบตรวจวัดเชิงแสงมาใช้ควบคู่ไปกับการติดตามบริเวณที่ต้องการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ผลได้ทันที หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ
เวอร์ชั่นล่าสุดมีความแม่นยำของการวิเคราะห์อยู่ที่ 84% สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมให้คงที่ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ที่มีผลต่อผลการวิเคราะห์ และยังเก็บข้อมูลผู้ถูกสัมภาษณ์ ชุดคำถาม พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิเคราะห์ไว้ในฐานข้อมูลด้วย
นักวิจัยมั่นใจว่า ซอฟต์แวร์จับเท็จช่วยให้การสืบสวนสอบสวนทำได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังมีโอกาสเชิงพาณิชย์ด้วย
ก่อนหน้านี้เทคโนโลยีรูปแบบคล้ายกันถูกนำมาประยุกต์ใช้ทำซอฟต์แวร์วัด การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระยะไกล เพื่อตรวจวัดไข้ผู้โดยสารจากต่างประเทศ ในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ระบาดเมื่อปีที่แล้ว
ทีมวิจัยยังได้พัฒนาเครื่องพิสูจน์บัตรเครดิตปลอม โดยแยกแยะความผิดปกติในตำแหน่งต่างๆ ของบัตรเครดิตด้วยเทคโนโลยีประมวลผลภาพจากจุดที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปตราสัญลักษณ์ และเครื่องหมายที่สายตาเปล่าไม่อาจแยกแยะได้
ps.อันนี้น่าจะมีประโยชน์ในการสอบสวนภาคใต้
http://www.bangkokbiznews.com/น่าสนใจครับ