คิดว่า คงยากทั้งหมดและครับ
แต่ ถ้ามีประเทศที่ร่วมพัฒนาด้วยมันก็จะเร็วกว่า
ดูอย่าง Gripen ของสวีเดน ทั้งหมด ที่มันรวม เป็น JAS-39 จะเห็นว่า ไม่ใช่ของที่สวีเดนผลิตเองทั้งหมด ดูอย่างเครื่องยนต์ สิ่งเป็นเครื่องยนต์ของ F-18 ของสหรัฐที่สวีเดนเอามาพัฒนาต่อ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ไม่ใช่ของสวีเดนทั้งหมด มีทั้งของเยอรมัน อเมริกา เป็นต้น แต่สวีเดนออกแบบ และนำสิ่งที่ดีที่สุดมารวมกับ แล้วก็โมเป็น Gripen
แต่จะยากหรือไม่ยากมันก็อยู่ที่การเริ่มต้นครับ แค่เริ่มเท่านั้นและ ^^
รอพี่ ๆ ที่รู้จริงมาตอบดีกว่าครับ
การที่จะผลิตอะไรออกมาชิ้น1
เช่น รถยนต์ บริษัท ที่ผลิตรถ ก็ไม่จำเป้นต้องสร้างเองทุกชิ้น
เครื่องบินก็คล้ายๆๆกัน ผลิต เเค่บางชิ้นสว่น ที่สำคัญหรือความลับเเละไม่ขายคล่อยผลิต
ถ้าผลิตเองทั้งหมดคงต้องโรงงานเเละจ้างคนงานเป้นจำนวนมาก
ส่วนเรื่องที่เเพ้คือ ไอเดีย ค่า มันสมองที่ใช้ในการคิดค้นตะหาก
หลายคนอ้างว่าประเทศไทยไม่อุตสาหกรรมเหล็กต้น สร้างโน้นสร้างนี้ไม่ได้
จริงๆๆเเล้วถึงเรามีอุตสาหกรรมเหล็กต้น เราก็สร้างไม่ได้เพราะยังไงก้ต้องซื้อเหล็กจากประเทศอื่นมาทำอยู่ดี
เเหม๋กระทั้งจีนที่มีอุตสาหกรรมนักเเต่ก็ยังซื้อเหล็กจากญี่ปุ่นไปต่อเรือรบเลย
ดังนั้น
เครื่องยนต์ เรด้า เเละอื่นๆๆมีขายเเยกชิ้น เเต่เราจะเอาชิ้นส่วนต่างๆๆมารวมกันได้หรือเปล่า ถ้าเราสามารถนำชิ้นส่วนต่างๆๆมารวมกันได้อย่างลงตัวนั้นล่ะ
....... บ่นไรเนี่ยเรา
เท่าที่ทราบ ราคาเครื่องบินเปล่าๆ ๑ เครื่อง (ไม่รวมอาวุธ) จะแบ่งเป็นราคา ค่าตัวถัง หรือ ตัวโครงสร้างเครื่องบินประมาณ ๕๐ เปอเซนต์ เป็นราคาเครื่องยนต์ ๓๐ เปอร์เซนต์ ครับ ส่วนที่เหลือจะเป็นราคาของ เรดาห์พื้นฐาน ระบบเครื่องวัด ระบบควบคุม เครื่องบิน และควบคุมอาวุธแบบพื้นๆ และ อิเลคทรอนิคส์อื่นๆครับ
ตัวถังเครื่องบินนั้นต้องใช้ความรู้ทางด้านวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมการผลิตอยู่ในระดับนึงครับ ซึ่งแม้ว่าจะสร้างไม่ยากเหมือน ชิ้นส่วนอื่นๆ แต่ด้วยเหตุที่มันมีราคาแพง ประมาณ ครี่งนึง ของราคาเครื่องบิน ดังนั้นเครื่องบินที่ปลดประจำการแล้วในกองทัพสหรัฐจึงยังต้องเก้บมันเอาไว้สำรองใช้งานจำนวนนึงครับ อย่างที่ เดวิส มอนทาน นั่นเขาก้เก้บเฉพาะตัวถังเครื่องบินอย่างเดียวเลยเป้นพันๆลำครับ ถ้าจะนำเอามาใช้ใหม่ก้ต้องไปหาซื้อเครื่องยนต์ และระบบ อิเลคทรอนิคส ประกอบเข้าไปใหม่ครับ เพราะปกติแล้วทั้งเครื่องยนต์และ เครื่องอิเลคทรอนิส มันจะอายุสั้นและเสื่อมสภาพ เร็วกว่าตัวถังเครื่องบินหลายเท่าครับ
ระบบเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้งานทางทหารนั้นเท่าที่ทราบในโลกนี้สร้างได้ไม่น่าเกิน ๑๐ ประเทศครับ แต่ถ้าจะนับประเทศที่ออกแบบเองด้วย ไม่นับพวกซื้อสิทธิบัตรมาผลิต) ก็น่าจะน้อยกว่านี้ครับ ส่วนระบบเรด้าห์ หรือ ระบบ ควบคุมด้วยอิเลคทรอนิคส์ นี่ผมว่า น่าจะมีหลายสิบชาติ ผลิตและออกแบบได้เองครับ เพราะพวกนี้ เป็นแขนงหนึ่งของวิศวกรรมอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งสามารถดัดแปลงต่อยอดจากเทคโนโลยี่ทางการพาค้าที่ใช้งานทั่วไปได้ครับอีกอย่างเทคโนโลยี่ทางด้านนี้ยิ่งก้าวหน้าก็ยิ่งราคาถุกครับแถมก็อปปี้กันได้ง่ายๆ ดังนั้นผมว่าถ้าไม่ใช่เทคโนโลยี่ที่ใหม่จริงๆ( อย่าง เรด้าระบบ เออีเอสเอ ที่ใช้ใน ซู ๓๕ หรือ เอฟ ๒๒ ) แล้ว ตัวอื่นๆนอกจากนี้น่าจะไม่ยากในการสร้างครับ