|
ครับน่าสนับสนุน ต่อยอดต่อไป
ราคานำเข้ามันต่างกันกับผลิตเองมากเลยนะครับ ยอมคาราวะ
ด้วยความจริงใจ งานวิจัยทำเสร็จแล้วขึ้นหิ้งมีเยอะแยะไป
จริงไหมครับไม่เห็นจะ ก่อประโยชน์ซักเท่าไหร่ไม่คุ้มกันเงิน
ทุ่นทำวิจัย แต่เรื่องนี้เห็นประโยชน์ และสมควรแก่การ
ยกย่องเป็นอย่างยิ่งครับ
เท่าที่อ่านดู ตอนนี้ สับสนตรงที่ว่า ถ้าตีตามความหมายที่ผมเข้าใจ บทความนี้น่าจะหมายถึง ชุดกันแรงอัดและสะเก็ด ของชุดเก็บกู้ฯ หรือที่เราเรียกกันว่า EOD ถ้าราคานำเข้า 1.8 ล้านบาทต่อชุด ก็มีสิทธิ์เป็นไปได้
แต่ถ้ามันหมายถึงเสื้อเกราะประจำบุคคล ละก็ นำเข้ทชุดละ 1.8 ล้านบาท ดูมันเว่อไปนิดนึง เพราะ ฉก.หมายเลข2 ตัว อย่างต่ำก็ 600 กว่าชุด แล้วมีเป็นสิบๆ ฉก. ถ้าชุดละ 1.8 ล้าน คิดดูว่าราคาเท่าไหร่ อาจมีการสับสนกันนะครับ
ส่วนตัวแล้ว ถ้าคุณภาพของเกราะทั้งเกราะอ่อนและแผ่นเพลท ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล(มีการทดสอบได้มาตรฐาน ไม่ใช่สักแต่เอาปืนมายิง นัด สอง นัด จบ) จะของนอกหรือของใน ก็โอเคครับ ยิ่งถ้าของภายในประเทศด้วยแล้วยิ่งสนับสนุน
แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้คำนึงด้วย คือ การออกแบบตัวเสื้อที่ใช้นำพาแผ่นเกราะ จะเป็น เวสหรือเพลทแครี่เออร์ก็ตาม(เวส คือ เสื้อที่สอดใส่เกราะอ่อนและแผ่นเพลทได้ ส่วนเพลทแครี่เออร์จะใส่แผ่นเพลทแบบแสตนด์อะโลน) สำคัญคือ ต้องสามารถปรับได้ ทั้งสูง-ต่ำ และ แคบ-กว้าง เพื่อให้ปรับกระชับตามสรีระผู้สวมใส่
ไซน์ของเสื้อเกราะ S M L นั้นคือ ขนาดของกระเป๋าที่เอาไว้ใช้ใส่แผ่นเพลท(ตามขนาดหน้าอกของแต่ละบุคคล) ไม่ได้หมายถึง ขนาดของตัวเสื้อเหมือนเสื้อผ้าทั่วๆไป
ปัจจุบัน ของที่ใช้อยู่ เป็นแบบเวส(เกราะอ่อนเคฟล่า เรเวล 3A + แผ่นเพลทหน้าหลัง ตรงที่มีเพลทจะเป็น เรเวล3) ปัญหาคือ จัดปรับไม่ได้ เลยทำให้บางคนไปเพิ่มภาระกรรมแทน เพราะเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก(ไม่ได้หมายถึงว่ามันหนักนะครับ แต่หมายถึง มันทำให้มุมมองการตรงจการณ์ทำได้ยาก และ การเคลื่อนไหวในท่าทางต่างๆทำได้ยาก เพราะเสื้อมันไม่กระชับ)
ดังนั้นแล้ว นอกจากคุณลักษณะการป้องกันแล้ว แบบดีไซน์ของเสื้อก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แตกต่างกัน