หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เมื่อไหร่ไทยจะมี โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับ

โดยคุณ : pinkmaster เมื่อวันที่ : 17/02/2010 15:58:12

พ่อผมบอกว่า

ตอนสมัยพ่อผมเป็นนักศึกษา ประเทศไทยเคยมีใครการจะทำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยศึกษา และรับการถ่ายทอดการพัฒนา ร่วมมือกับญี่ปุ่น และไต้หวัน  ไม่รู้จริงป่าวพ่อบอกว่าอาจจะข่าวลือ แต่เรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี่มีมานานแล้วตั้งแต่จจอมพลสฤษดิ์ แล้วนี่ (พ่อผมยังเป็น นร อยู่เลย)  ไมหายไปกับสายลม ตอนนี้ มาเล กับ เวียด และอินดด เขาจะทำกันแล้ว เวียด เริ่มรับการถ่ายทอดจากรัสเซียแล้ว มาเลอีกไม่นานเพราะไปพึ่งฝรั่งเศสแล้วนิ

 

แล้วไทยหละครับ  ตอนนี้ไฟฟ้ากว่าครึ่งประเทศมาจาก ลาว และพม่านี่ครับ เกิดวันนึงเราทเลาะกับเขาแล้วเขาตัดไฟเรา เหมือนตอนเราปิดชายแดนตอนร่มเกล้าหละ

หรือเมื่อปีที่แล้ทีพม่าไม่ส่งก๊าซมาแล้วไทยปล่อยน้ำจากเขื่อนทำไฟฟ้าจนชาวกาญเดือดร้อนหละ

เราจะทำอย่างไรครับ

สุดท้ายเมื่อก่อนย่านนี้เราเยี่ยมกว่าเขาทุกด้าน วันนี้เรา ถอยหลังลงคลองกันแล้วหรอครับ

  





ความคิดเห็นที่ 1


เมื่อก่อนผมก็มีแนวคิดว่าทำไมเราไม่สร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

แต่ว่าพอได้มาเรียนวิศวแล้วเทอมนี้ผมมีลงเรียนวิชา Engineering Materials

ทำให้รู้ทำให้เข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นมากมายครับ โครงสร้างของอาคาร กังหัน

ของเทอร์ไบน์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านวัสดุทั้งนั้นครับ

และผมว่าตอนนี้ถ้าการควบคุมการก่อสร้างอาคารของเรายังไม่ได้มาตรฐาน

มากพอผมคิดว่าความเสี่ยงมันมีมากเกินรับได้ครับ

พวกท่านทั้งหลายพร้อมรึยังล่ะครับถ้าวันนึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฝีมือคนไทยจะมาตั้งอยู่ข้างบ้านท่านครับ

ปล.ผมไม่ได้ดูถูกฝีมือคนไทยนะครับ แต่ว่าการทุจริตในบ้านเมืองเรานั้นมันมีมากเหลือเกินครับ กลัวว่าโรงไฟฟ้าที่เราสร้างมานั้นก็จะเป็นหนึ่งในโครงการที่ถูกทุจริตด้วยครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 11/02/2010 03:08:49


ความคิดเห็นที่ 2


สำนวนคุ้นๆ
โดยคุณ janus เมื่อวันที่ 11/02/2010 00:01:41


ความคิดเห็นที่ 3


สำนวนจาก พี่แอ๊ด ครับ ถอยหลังเข้าคลอด ตือดื๊อตื๊อตือดือดื๊อ

ครับ เหอะๆๆๆ

โดยคุณ pinkmaster เมื่อวันที่ 11/02/2010 01:13:40


ความคิดเห็นที่ 4


ประเทศไทยใช้พลังงานหลักอะไรในการผลิตกระแสไฟฟ้า

แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน น้ำ ลม แสงอาทิตย์

ในปีหนึ่งๆเราสูญเสียเงินในการนำเข้าพลังงานปีละเท่าไหร่

เราเคยเป็นประเทศผู้ส่งออกแก๊สธรรมชาติใครเคยรู้บ้าง ปัจจุบันนำเข้า แถมราคาที่ขายในบ้านเราถูกกว่าราคาจริงถึง 3 เท่า

เวลาตลาดพลังงานโลกมีการเคลื่อนไหว ค่าไฟฟ้าขึ้นราคา คนไทยก็บ่น นักธุรกิจไทยก็บ่น (จะบ่นทำ อาวุธโบราณ อะไรกัน)

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ประเทศไทยควรมีตั้งนานแล้ว แต่ก็อย่างว่าแหละ พวกดัดจริตบ้านเรามันเยอะ โดยเฉพาะ

NGO บิดา ทุกสถาบัน

ผมเป็นคนหนึ่งล่ะครับที่ยินดีให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตั้งอยู่หลังบ้าน ไม่กลัวครับ แต่ขอเงื่อนไขเดียวคือ IAEA รับรองความปลอดภัย

ที่ เชอร์โนบิล น่ะ IAEA ไม่ได้รับรองมันเลยเป็นเช่นนั้นแล......

ป.ล. อาวุธโบราณ ผมหมายถึง หอก ครับ 555+

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 11/02/2010 01:25:06


ความคิดเห็นที่ 5


โอโห ผมเห็นด้วยกับพี่ น่าคิด มากที่สุดครับ

ที่พี่พูดมาใช่ทุกอย่างเลย

พลังงานงาน ทุกวันน้ำปลูกข้าวยังจะไม่เลยปล่อยมาผลิตไฟฟ้ามากๆ แล้วเราจะกินอะไร

ลม ยังพึ่งพัฒนา แสงอาทิตย์ โคตะระแพง แถมเวลาไม่มีแดด ทำไงอะ

ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซ โดนด่าอีก โลกร้อน แถมหมดแล้วทำไงอะ เหลอน้อยแพงอีก

ถามหน่อย ngo  ครับ รถผมน้ำมันหมดพี่เข็นให้ได้ป่าว

ไฟดับพี่ไปปั่นไดนาโมให้ป่าว  ค่าไฟขึ้น พี่ไปบอกให้เขาลดได้เปล่าหรือพี่จะจ่ายให้แทน

แล้วเวลาพี่ไปทำงานนั่งรถไปป่าวแค่นี้แหละ คิดเอา

บ้านผมอยู่แม่เมาะเนี่ย เอามาตั้งแทนเลยผมว่านะ ซัลเฟอร์จากโรงไฟฟ้าเนี่ยจะฆ่าผมตายก่อนโรงไฟฟ้าตั้งอีก ไอ้ถังแก๊ซข้าง บิ๊กซี ลำปางเกิดมาผมก็เห็นมันตั้งอยู่คนเขากลัวเขาก็ตรวจตราดี ไม่เห็นเป็นไรเลย

ถ้าเราทำจริงๆ นะ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน มันต้องควบคู่กับธรรมชาติอยู่แล้วไม่งั้นไม่ได้มาตราฐานโลก เขาก็กดดันเราอยู่แล้ว

น่าจะรู้ถึงสนธิสัญญาเรื่องสิ่งแวดล้อมโลกดีกว่าคนอื่นนะ พี่ngo เนี่ย

มือไม่พาย อย่าเอาหัวเถิกๆมาราน้ำ

ปล.พี่ครับ อาวุญโบราณถูกใจเป็นอย่างยิ่ง

โดยคุณ pinkmaster เมื่อวันที่ 11/02/2010 01:50:18


ความคิดเห็นที่ 6


สงสัยต้องรอชาติหน้าหรืออีก200-300ปีนั้นแหละขนาดจะสร้างเขื่อน

มาเพื่อกั้นไม่ให้น้ำท่วมพวกนั้น(NGO)ค้านคอเป็นเอ็นเลยยิ่งโรงไฟฟ้า

นิวเคลียร์คิดเลิกหวังได้เลยยังงัยซะพวกบ้าพวกนั้นมันคงค้านแน่และอีก

อย่างอย่างที่ท่านน่าคิดบอกนั้นแหละบ้านเราเมืองเราเมืองไทยมีพวก

ดัดจริตคลั่งศีลธรรมเยอะถ้าสมมุติว่าน้ำมันหมดก๊าซธรรมชาติหมด

ถ่านหินก็หมดหมดๆๆทุกอย่างแล้วที่นี้จะเอาอะไรผลิตกระแสไฟฟ้าละ

ลำพังจะหวังพึ่งน้ำ แสงอาทิตย์ ลมต้นทุนก็สูงถึงตอนนั้นพวกดัดจริต

ทั้งหลายมันจะออกมาค้านอีกไหม

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 11/02/2010 01:54:15


ความคิดเห็นที่ 7


ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ โฮเท็ล เซียร์ร่า โฟร์ เท่าไหร่นะครับ

ถ้าการควบคุมการก่อสร้างอาคารของเรายังไม่ได้มาตรฐาน มากพอผมคิดว่าความเสี่ยงมันมีมากเกินรับได้

IAEA : International Atomic Energy Agency จะเข้ามาควบคุมดูแลในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง เค้ามีมาตรฐานที่แน่นอนสำหรับขนาดของโรงไฟฟ้า เค้ารับประกันถึงขั้นที่ว่า เครื่อง 747 ชนก็ไม่กระเทือนถึง เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (อันนี้เกือบได้พิสูจน์ตอนเหตุการ 911)

แบบผิดเพี้ยน หรือลดสเป็ค เค้าไม่เอาด้วยหรอกครับ ส่วนที่เชอร์โนบิล ต้องยอมรับความจริงอย่างนึงว่า ยุคนั้นยังมีการแบ่งแยกโลกของการปกครองออกเป็นสองค่ายอย่างชัดเจน เลยเข้าข่ายที่ว่า จะสร้างแต่ไม่ให้ตรวจมีอะไรไม๊ (ตูมเดียว สยองไปครึ่งโลก)

โดยส่วนตัวผมมองว่า IAEA เป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่า ผมมองว่าเอาไว้ควบคุมการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ เลยทำเหมือนว่าเป็นองค์กรกลางในการตรวจสอบ แต่จริงๆก็อยู่ภายใต้ร่มของ NATO (No Action Talk Only) ซะมากกว่า แต่ดีกว่าไม่มีอะไรคอยตรวจสอบ

มีใครเคยสงสัยไม๊ว่า ทำไมอเมริกาถึงไม่โจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ เพราะโรงงานไฟฟ้าของเกาหลีเหนือเคยเดินเครื่องปฏิกรณ์แล้วไงครับ ไม่เหมือนตอนยิวโจมตีอิรัค ลองนึกภาพเล่นๆนะ ตูม ฝุ่นกัมตภาพรังสี ลอยไปที่ไหนบ้าง เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น เต็มๆครับ เกาหลีเหนือก็รู้ อเมริกาเองก็รู้ กลุ่มประเทศที่มีชายแดนติดกับเกาหลีเหนือก็รู้ ภาพข่าวมันถึงเป็นแบบนี้ไงครับ คว่ำบาตรเหรอ ยิงขู่สักลูก สองลูก กรณีของอิหร่านก็เช่นเดียวกัน

เสียดสี + ประชดประชันเล็กน้อย

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 11/02/2010 04:50:47


ความคิดเห็นที่ 8


Engineering Material หรือวิชา วัสดุวิศวกรรม มันยังเป็นแค่วิชาพื้นฐานครับ ในภาควิชาวิศวกรรมวัสดุไม่ว่าจะสถาบันไหน มีของเจ๋งๆอยู่ข้างในเพียบ ลองไปลุยดูสิครับ แล้วพอศึกษาไปเรื่อยๆ ในสมองก็จะมีแต่คำว่า นาโน นาโน นาโน แล้วช่วงนั้นจะเอ๋อๆนิดนึงเพราะผีนาโนเข้าสิง

ถ้าเราจะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริงเราไม่ได้สร้างตัวคนเดียวอยู่แล้ว เชื่อได้เลยว่าวิศวกรใหญ่ต้องไม่ใช่คนไทยและมีการตรวจสอบของฝ่ายที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลขณะนั้นอีกบานเบอะ หรือไม่เอาไปตั้งหลังบ้านนายกฯเลย รับรองปลอดสินบน โฮะๆๆ
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 11/02/2010 05:25:08


ความคิดเห็นที่ 9


แผนพัฒนาประเทศและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานมีโครงสร้าง ในอีก 20-25 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ตอบโจทย์พื้นฐานเหล่านี้ก่อน แล้วจะพูดถึงโครงการนิวเคลียร์หรืออื่นๆ เท่าที่ทราบเรามีแผนงานด้านพลังงานที่ยืดหยุ่นมาโดยตลอดและเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป จนทำให้โครงการดีๆหลายโครงการมีอยู่เฉพาะในแผ่นกระดาษ
องค์ความรู้ถ้าไม่มีการนำเข้ามาได้ ความคุ้มค่าโครงการหรือผลกระทบด้านต่างๆ ก็ประเมินได้ แต่เราต้องมีความชัดเจนในตัวเราเองก่อน

โดยคุณ yaiterday เมื่อวันที่ 11/02/2010 06:25:09


ความคิดเห็นที่ 10


ถ้าบ้านเราสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์เมื่อสัก 20 30 ปีที่แล้วรับรองว่าประไทยเรารวยไปนานแล้ว ส่งออกก๊าซธรรมชาติ

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 11/02/2010 07:22:18


ความคิดเห็นที่ 11


ตอบคุณpurikuครับว่า ตอนนี้ขอเอาแค่แปลงเฟสเหล็กก่อนครับช่วงนี้กำลังจะสอบไฟนอลเลย ออสติไนท์ เฟอไรท์ มาเทนไซท บลาๆๆๆ
แต่จะว่าไป NASAองค์กรผู้นำทางด้านวิทยาศาสตร์ของโลกก็เกือบถูกปิดเพราะแค่วิชาพื้นฐานที่คุณpurikuกล่าวถึงนะครับ (กรณีกระสวยอวกาศระเบิดขณะทำการปล่อยจากพื้นโลก)ทำให้ต่อมาภาคการศึกษาจึงเพิ่มวิชาทางสายนี้เข้ามาให้นักศึกษาวิศว

คงยังไม่ทะลุไปถึงนาโนหรอกครับ ผมจบมาจากทางสายปวส.ครับแล้วมาเรียนต่อทำให้พื้นความรู้ไม่แน่นเท่ากับสาย ม.หก ครับ การเรียนจึงอาศัยความขยันเข้าแลกครับ

ผมคิดว่าถ้าเกิดการก่อสร้างขึ้นจริงๆคงจะอยู่ในรูปแบบของบริษัทร่วมทุนนะครับ

แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงอย่างนึงคือ บุคลากรที่จะใช้ทำงานภายในโรงไฟฟ้าตอนนี้ไม่ทราบว่าทาง
ภาคการศึกษาได้มีเตรียมการผลิตบุคลากรทางสายงานนี้ไว้เพียงพอหรือไม่ครับ

และอีกอย่างนึงคือไม่ว่าจะโครงการเล็กใหญ่ของบ้านเรานั้น แทบจะไม่รอดไปจากการทุจริตได้เลยนะครับ ผมก็เลยเป็นห่วงในเรื่องนี้

ส่วนการตรวจสอบจากIAEAนั้นไม่ทราบว่าจะพึ่งพาได้แค่ไหนนะครับ
องค์กรที่ตั้งมาจากเรื่องของการเมืองแบบนี้

ไม่ทราบว่าโครงการโรงไฟฟ้าของเรานั้นเป็นแบบน้ำหนักหรือน้ำเบาครับ(ไม่ทราบว่าผมเรียกถูกมั้ยนะครับ)ถ้ายังไงผิดตกยังไงก็ขออภัยด้วยนะครับ

เพราะที่ทราบมาข้อแตกต่างคือการได้ผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้าที่สามารถนำไปผลิตเป็นอาวุธนิวเคลียร์ได้
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 11/02/2010 07:37:03


ความคิดเห็นที่ 12


ชักดราม่า

เรื่องเกี่ยวกับกระทู้ขอละไว้ดีกว่า

นึกถึง material ขึ้นมาทีไรขำไม่หาย

พวกลอกกันสะบั้นสุดท้ายอาจารย์ฟันทิ้งยับ มีน ตกฮวบ พวกที่เหลือ A B กระจาย...

โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 11/02/2010 08:39:30


ความคิดเห็นที่ 13


จะมีเมื่อไหร่ไม่รู้ครับ รู้แต่ว่าถ้ามีต้องเป็นภาคใต้ไม่้ก็ตะวันออกเท่านั้นครับ
จึงจะมีน้ำพอทำระบบหล่อเย็น ตอนผมไปฟังบรรยายที่โรงไฟฟ้าบางปะกง
พี่วิศวกรเขาบอกมาครับ
แล้วเขาก็ยังเหน็บแนมมาว่า จะได้ทำก็ต่อเมื่อพวกNGO เลิกยุยงชาวบ้านไปประท้วง (เพราะเขาเป็นคนที่ต้องไปเจรจาเวลามีประท้วง)
โดยคุณ Chipmonk เมื่อวันที่ 11/02/2010 09:12:51


ความคิดเห็นที่ 14


 Engineering Materials ที่ไหนเค้าสอนโครงสร้างอาคาร   กังหันเทอร์ไบน์


โดยคุณ seekmen เมื่อวันที่ 11/02/2010 11:50:11


ความคิดเห็นที่ 15


ด้วยความเคารพครับคุณseekman มหาวิทยาลัยที่สอนที่ท่านถามคือ

มหาวิทยาลัยขอนแก่นครับ

กระผมอาจจะพูดไม่แน่ชัดครับว่า ที่พูดถึงเรื่องโครงสร้างนั้นอาจจะพูดถึงอย่างไม่จำเพาะเจาะจงครับว่าเป็นการที่ได้รับความรู้มาจากท่านอาจารย์ประจำวิชาที่ท่านช่วยเสริมให้ในชั่วโมงเรียนครับ

ในเนื้อหาวิชาคาบนั้นท่านอาจารย์ได้สอนในเรื่องของวัสดุที่ใช้ในที่ๆมีอุณหภูมิสูง ท่านเลยยกตัวอย่างกรณีกังหันเทอร์ไบน์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับว่า ต้องรับกับความร้อนสูงๆ จึงต้องมีการใช้วัสดุที่รับกับความร้อนได้

เมื่อท่านกล่าวถึงแล้วก็เลยได้ออกนอกเรื่องไปถึงเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครับเพราะจากการที่มีกระแสเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ท่านก็เลยได้ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักศึกษาในคาบนั้นครับ ทำให้ได้พอจะทราบว่าการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โครงสร้างของอาคารนั้นถ้าผมจำไม่ผิดนั้น ไม่มีการตอกเสาเข็มครับ ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าต้องไม่อยู่บนรอยเลื่อนต่างๆ
ก็เลยทำให้ผมกล่าวไว้ว่าได้รับความรู้เรื่องโครงสร้างครับ

หวังว่าคงเข้าใจครับ ด้วยสามัญสำนึกครับว่าวิชาวัสดุก็คงไม่มีที่ไหนเค้าสอนเรื่องโครงสร้างหรอก ส่วนที่ๆท่านเรียนอาจารย์คงไม่เคยให้ความรู้เพิ่มเติมกระมังครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 11/02/2010 12:24:38


ความคิดเห็นที่ 16


เอ...ผมไม่ได้เรียนโยธาด้วยสิ แต่ว่าไม่มีการตอกเสาเข็มเลยหรือเนี่ย เกิดฝนตกมาไม่แย่หรือครับ หนักน่ะนั่น
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 11/02/2010 14:06:18


ความคิดเห็นที่ 17


ถ้าผมไม่เบลอจนเกินไปคิดว่าใช่นะครัับคุณPuriku หลักการเลือกพื้นที่น่าจะตั้งอยู่บริเวณที่มีชั้นหินแข็งใต้พื้นดินเพื่อรองรับน้ำหนักโครงสร้าง แล้วบริเวณนั้นต้องมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ครับ ถ้าผิดพลาดยังไงขออภัยด้วยนะครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 11/02/2010 14:49:12


ความคิดเห็นที่ 18


ในฐานะที่คุณ HS4-TES  เป็นนักศึกษาทางด้านวิศวกรรม

ผมอยากเห็นคำตอบของคุณในเรื่องนี้

นอกจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิลแล้ว หลังจากเหตุการนั้นจะมีการให้ IAEA เข้าไปตรวจสอบ ควบคุมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แทบทั้งสิ้น (กรณีของรัสเซีย กับ จีน ผมไม่แน่ใจ) มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใด ที่เกิดอุบัติเหตุและสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแบบนั้นอีกหรือไม่ ถ้ามี มีที่ไหนบ้าง แล้วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทั่วโลกมีกี่แห่ง จากทั้งหมดที่มี อยากรู้ว่ามีกี่ เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ IAEA

หลายคนกลัวเกินไป กลัวในสิ่งที่ไม่ควรกลัว ทั้งที่หลักฐานเชิงประจักษ์ก็มากมาย กรณีศึกษาก็เยอะมาก สำหรับผมอ่านแล้วออกจะตลกไปซะด้วยซ้ำไป

ปัญหาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผมเป็นกังวลมากกว่า เพราะไม่มีหน่วยงานใดควบคุมเลย นั่นคือ ของเสียจากกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือ กากนิวเคลียร์ นั่นเอง

ส่วนคำถามไม่จำเป็นต้องตอบก็ได้นะครับ แค่ถามให้ลองคิดดูเล่นๆ


โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 11/02/2010 21:10:32


ความคิดเห็นที่ 19


ขอสนทนาด้วยหน่อยนะครับจากความรู้อันน้อยนิดและพร้อมรับคำวิจารณ์ ประเทศเรามีสภาวะสังคมที่เปราะบางเกินไป NGOบ้านเรามีทัศนคติที่ไม่ดีต่อโครงการนี้มานานแล้วหรือเกี่ยวโยงกับผลประโยชน์พิเศษบางอย่างหรือเปล่าไม่รู้ สังเกตุจากกรณีการศึกษาการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่องค์รักษ์สิครับ มีการเดินขบวนประท้วงกันไปยกใหญ่ไม่เอาขนาดยังไม่สร้างนะครับ

ผมว่าการมีโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจบ้านเราเป็นอย่างมาก ถ้าจะสร้างจริงๆผมว่ารัฐบาลควรที่จะสื่อสารกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาและจริงจัง สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการที่ดีในการดำเนินการ เพราะปัจจุบันแถวเมืองกาญจน์กำลังผุดโครงการโรงงานไฟฟ้าใต้เขื่อนแม่กลองอยู่ผมว่ากำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ในพื้นที่หรอกครับ ผมเห็นด้วยกับทุกความเห็นที่ผ่านมาด้านบนว่าจะต้องมีการรับรองการตรวจสอบจากองค์กรสากลภายนอกประเทศเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ในความคิดเห็นส่วนตัวพลังงานจากชีวมวลเช่นโรงงานไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงก็ก่อมลพิษไม่ต่างกัน แต่ผมว่านิวเคลียร์เป็นพลังงานที่มากพอและสะอาดถ้ารู้จักการจัดการที่ดี

โดยคุณ ddd2521 เมื่อวันที่ 11/02/2010 21:40:02


ความคิดเห็นที่ 20


เรามีเตาปฏิกรปรมณูครับน้องมีมานานแล้วด้วย พอน้อง โฮเตลเซียร่าโฟร์ พูดถึงคนไทย เลยอยากบอกน้อง น้องอยู่ขอนแก่น พี่อยู่บางพลีสมุทรปราการ เตาปฏิกรอยู่ที่ม.เกษตร บางเขน กทม.มีมากว่า 40 ปี เราอ้างว่าเพื่อการศึกษา ฝีมือไทยๆ ไม่เห็นรั้วซะที(ทรยศต่อชาติป่าวไม่รู้ ขออภัยปากมันคัน)และสนับสนุนคุณน่าคิด คุณแสดงความเห็นเป็นกลางแบบเผื่อเสมอ(ให้น้องใหม่หัดศึกษาจากท่านนี้ได้เลย แน่นมาก)
โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 11/02/2010 21:52:28


ความคิดเห็นที่ 21


ผมสงสัยมานานแล้วครับเกี่ยวกับ NGO เขาประท้วงอยู่นั่นแหละเวลาจะสร้างอะไรสักอย่าง อยากรู้จังคนที่ทำงานด้าน NGO วันๆคุณไปทำงานคุณเดินไปป่ะ กลับมาถึงบ้านเปิดไฟมั่งป่ะ วันๆทำงานหน้าคอมขาถีบจักรยานปั่นไฟหรอ คุณก็ใช้พลังงานเหมือนๆชาวบ้านทุกคน

โรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เอา
โรงแยกแก๊สก็ไม่เอา
โรงไฟฟ้าจากขยะก็ไม่เอา
แล้วคุณจะเอาอารายค๊าบ

ขอระบายนิดนึงครับมันอัดอั้น

โดยคุณ jointstar เมื่อวันที่ 11/02/2010 21:57:01


ความคิดเห็นที่ 22


ขอเสริมอีกนิด คือครูบาอาจารย์ บางทีท่านก็สอนตามความเชื่อส่วนตัวของท่าน เช่นอ.ผมท่านเคยสอนผมว่าประเทศสวิทฯไม่มีทหารเขาเลยรวย พอไปคุยกับเพื่อนผมก็เชื่อตามอ.ผม จนเพื่อนๆต้องหาข้อมูลกองทัพสวิทฯตลอดจนภาพของบ.เอฟ-5 ของกองทัพสวิทฯมาให้ดู ผมอับอายเพราะความหลงในตัวบุคคล พอบวชได้ศึกษาถึงชีวิตองคุลีมารที่เกือบเสียความเป็นคนเพราะความเชื่อในอ. ก็เลยอยากเตือนน้องๆ หาข้อมูลด้วยความเชื่อที่เป็นกลางก่อน จนแน่ใจแล้วด้วยตาที่เห็น หูได้ยินมือสัมผัส จึงจะแน่ ส่วนแฟนผมเธอเกลียดทหารเพราะเธอจบจากม.ธรรมศาสตร์ ในตอนนั้นมีการต่อต้านการทหารจากกลุ่มอ.ซึ่งเป็นนิสิตเก่าในสมัย 14 ตุลา ท่านฝังใจเรื่องทหารทำร้ายประชาชนเลยนำเอามาอธิบายโดยนิสิตถูกกลืนเข้าไปในวังวนโดยไม่รู้ตัว สุดท้ายเธอก็ได้สิ่งที่เกลียดคือ เป็นเมียทหาร(เกี่ยวกันเปล่าไม่รู้) อย่าเคลียดนักครับ ฟังข้อมูลนำมาศึกษาหาข้อมูลก่อนก็ได้ค่อยไปประท้วง
โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 11/02/2010 22:29:21


ความคิดเห็นที่ 23


ครับผมยินดีที่จะรับฟังพี่ๆทุกๆท่านครับ

แต่จะว่าไปแล้วผมติดตามอ่านเวบข่าวสารทางเทคโนโลยีทหารนี้มานานแล้วครับ พี่ makropolo 

ตั้งแต่สมัยWing21 ก็พอจะรู้ธรรมเนียมของที่นี้ดีครับ เคยโพสกระทู้ถามแค่เรื่องเดียวคือ หน้าตาอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-อากาศ ระยะสั้น ของกองกำลังป้องกันตนเองครับ หลังจากนั้นก็ติดตามอ่านเรื่อยมาครับ

ก่อนอื่นขอชี้แจงก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ผมสนับสนุนให้สร้างครับ แต่ความเห็นที่พูดไปนั้นผมพูดด้วยความเป็นห่วงครับ

สาเหตุก็เนื่องมาจากได้เคยอ่านเนชั่ลแนลจีโอกราฟีกครับในตอนที่ลงเรื่องครบรอบ ความเสียหายมหันตภัยจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล (ขออภัยครับหาจำชื่อตอนผิด) ก็เลยเป้นห่วงว่าเหตุการนี้จะเกิดขึ้นกับบ้านเรา เพราะผลกระทบตกค้างอันยาวนาน+กับกรณีโคบอลท์60ในบ้านเราครับซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด นั่นแค่กากนะครับ ผลกระทบยังเป็นซะขนาดนั้น ทำให้ทราบได้เลยว่าแผนการแก้ปัญหา อุปกรณ์ในการใช้งาน ของเราไม่พร้อมครับ ผมก็เลยเป็นกังวลครับ(จะว่าผมตลกก็ได้นะครับไม่เป็นไร)

ขออณุญาตตอบคำถามพี่น่าคิดนะครับ
อุบัติเหตุหลังเชอร์โนบิล(ระดับความรุนแรงคือระดับ7)มีครับพี่
คือที่ประเทศญี่ปุ่น(ความรุนแรงระดับ5ครับ)
สเปน(ระดับ3)

อุบัติเหตุหลังเชอร์โนบิลคือ
1.ในปี พ.ศ. 2542 เกิดอุบัติเหตุที่โรงงานทดสอบแปรสภาพ ยูเรเนียม โตไก (Tokai Uranium Conversion Test Facility ) ประเทศญี่ปุ่น สาเหตุเกิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานข้ามขั้นตอน โดย เทสารยูเรนิลไนเตรท ลงในถังตกตะกอนโดยตรง แทนที่จะเทลงถังพักก่อน และสารที่เทนั้นมีปริมาณ 16 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าที่กำนดไว้คือ 2.4 ก.ก. (มากกว่าถึง 7 เท่า) มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน มีก๊าซไอโอดีน -131 รั่วไหล ออกสู่บรรยากาศเล็กน้อยทางปล่องระบายอากาศ ประมาณ 1/200 ส่วนของปริมาณ กำหนด ความรุนแรงของเหตุการณ์ อยู่ในระดับ 4 ตาม
มาตรา INES แต่กระทรวงวิทยาศาสตร์ (Science and Technology Agency-STA) ปรับเป็น ระดับ 5 เพราะถือว่า
เจ้าของโรงงานเจตนาฝ่าฝืนกฏระเบียบความปลอดภัย .

2.โรงไฟฟ้าแวนเดลลอส (Spain)
พ.ศ.2532  เหตุขัดข้องรุนแรง ผลกระทบภายนอกโรงไฟฟ้ามีการปลดปล่อยสารรังสีปริมาณน้อยมาก ประชาชนได้รับรังสี ต่ำกว่าปริมาณที่กำหนด ผลกระทบภายใน รฟ.มีการเปรอะเปื้อนทางรังสีอย่างมากผู้ปฏิบัติงานได้รับรังสีเกินปริมาณกำหนด
ที่มา http://std.kku.ac.th/4830410330/assignment2_Neuclear_powerplant/accident/accident.html

ตอบเรื่องจำนวนโรงไฟฟ้าครับ ทั่วโลกที่กำลังเดินเครื่องจากรายงายIAEA
ปี2549 มี437 หน่วย กำลังการผลิตรวม 265,800 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด

ส่วนที่พี่น่าคิดว่าตลกในสิ่งที่ไม่ควรกลัวมีหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายนั้นผมคงไม่ก้าวล่วงอารมณ์ขันของพี่ครับ
เข้าใจว่าพี่เป็นคนอารมณ์ดี >< ยังไงลองอ่านเรื่องนี้ดูนะครับ

ตัวอย่างกรณี
โคบอลต์-60
ปี 2543 มีเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างความตื่นตระหนก เสียขวัญให้กับประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก นั่นคือ อุบัติเหตุทางรังสีที่ จ.สมุทรปราการ ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสารรังสีและอันตรายของสารรังสี นำมาซึ่งความสูญเสียเป็นอย่างมาก...

หตุการณ์นี้เกิดขึ้นระหว่างปลายเดือนมกราคม-ต้นเดือนกุมภาพันธ์  2543 เมื่อส่วนหัวของเครื่องฉายรังสีทางการแพทย์ หรือ เครื่องฉายรังสีโคบอลต์-60 ที่ไม่ใช้แล้วถูกแยกชิ้นส่วนออกมา(แยกโดยใคร มีใครควบคุม จนท. อยู่ไหน) และบางส่วนถูกนำออกมาจากสถานที่เก็บที่ไม่มีการควบคุมดูแล นำไปเก็บไว้ในที่จอดรถร้างในซอยอ่อนนุช(ดีไม่ใช่ซอยบ้านผมครับ) ตั้งแต่ปี 2542

ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของคนเก็บของเก่า(คนในบ้านเราในกลุ่มที่การศึกษาไม่สูงขาดการได้รับการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐ มีความเข้าใจในเรื่องนี้เพียงแค่ในกลุ่มผู้ศึกษาทางเทคโนโลยีและกลุ่มที่มีการศึกษาซึ่งไม่ใช่กลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศ) จัดการแยกชิ้นส่วนเพื่อจะนำไปขายเป็นเศษโลหะ ที่ร้านรับซื้อของเก่า ทำให้รังสีแพร่ออกมา ผู้ที่โดนรังสีเข้าไปต่างมีอาการเจ็บป่วยไปตามๆ กัน  เมื่อแพทย์ได้ตรวจรักษาผู้ป่วย 2 -3 ราย และสงสัยว่าเป็นการได้รับรังสีจากต้นกำเนิดรังสีจึงได้แจ้งให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องทราบจนกลายเป็นข่าวครึกโครม

ในจำนวนผู้ป่วย 10 ราย ที่ได้รับปริมาณรังสีสูงจากต้นกำเนิดรังสี ในจำนวนนี้มี 3 ราย ที่ทำงานร้านรับซื้อของเก่า เสียชีวิตในระยะเวลา 2 เดือน หลังจากได้รับรังสี

กระทรวงสาธารณสุขแม้จะไม่ได้มีการเปิด เผยอย่างเป็นทางการถึงจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ(โอ้ยังจะปิดข้อมูลอีก ข่าวลือคงแพร่ไปเยอะ) ทั้งหมดและมาตรการรองรับผู้ป่วย แต่มีข้อมูลบางส่วนที่สามารถสรุปได้ว่ามีประชาชนเข้ารับการตรวจร่างกายทั้ง สิ้น 948 คนจากประชากร 1,882 คน!!!!!(ขนาดแค่ชิ้นส่วนเล็กนิดเดียวผู้รับผลกระทบยังขนาดนี้)

ท่าทีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) ซึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่มีหน้าที่ควบคุมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ หรือสารกัมมันตรังสีให้เป็นไปด้วยความปลอดภัย  พิจารณาออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ใช้ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีการผลิต ครอบครอง หรือนำเข้าสารรังสี และดูแลตรวจสอบและให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้สารรังสีทั้งในด้านการใช้ การจัดเก็บ และสถานที่จัดเก็บ

ทั้งที่ทราบมาโดยตลอด ทว่า พปส.กลับไม่ยอมดำเนินการตรวจสอบบริษัทกมลสุโกศลฯ ว่าได้จัดเก็บสารรังสีอย่างปลอดภัยถูกต้องตามหลักปฏิบัติหรือไม่ และไม่เคยแจ้งให้บริษัทฯ ทำรายงานสภาพสารรังสีแจ้งต่อ พปส. ทุกๆ 60 วันตามกฎหมาย ผลจากความหย่อนยานก็คือ พปส.ไม่ทราบว่าผู้ใช้สารรังสีประเภทต่างๆ ที่มีอยู่มากมายกว่า 600 รายทั่วประเทศนั้น มีการจัดการความปลอดภัยดีพอหรือไม่ และไม่มีข้อมูลว่า กากรังสีที่เลิกใช้งานแล้วตกไปอยู่ในที่ใดบ้างและมีการดูแลอย่างไร(มาตรฐานข้าราชการไทย)

อย่างไรก็ตาม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง(กว่าจะขับได้) ผลออกมาว่า เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ พปส. 3 คน ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ แต่จนถึงขณะนี้ พปส.ก็ยังไม่ยอมแสดงความรับผิดชอบใดๆ ต่อผู้เสียหาย

ด้านนายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ จากกลุ่มศึกษาพลังงานทางเลือกเพื่ออนาคต เปิดเผยว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ให้ข้อมูลของนิวเคลียร์กับการนำมาใช้ประโยชน์เพียงด้านเดียวโดยไม่มีการพูด ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งข้อมูลพื้นฐาน เช่นสัญลักษณ์ใบพัดคน ก็ยังไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งไม่ต้องนึกเลยว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจะต้องทำอย่างไร เพราะไม่มีความรู้นั่นเอง

นายสันติ กล่าวด้วยว่า จากเหตุการณ์ในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่พร้อมของพปส.อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการปฏิบัติการกู้ซากกัมมันตรังสีแถมการเข้าไปกู้ซากเจ้าหน้าที่ก็ ไม่ได้แต่งตัวป้องกันรังสี และระดับรองเลขาธิการ พป.ยังออกมาพูดอีกว่า ไม่มีงบประมาณจัดซื้อ และไม่จำเป็นต้องใช้ชุด (ได้ฟังเพิ่มเติมมาจากอาจารครับ ตอนเรียนวิชาเคมี ท่านบอกว่าการกู้ซากใช้วิธีการเกณท์เจ้าหน้าที่มาหมดสำนักงาน พปส. เลยครับ แล้วใช้แผ่นตะกั่วขนาดใหญ่มาตั้งบังไว้ให้เจ้าหน้าที่ต่อแถวอยู่หลังแผ่นตะกั่ว แล้ววิ่งออกไปเก็บขยะคนละชิ้นจากกองในบริเวณที่รถเคลียร์เข้าไปใกล้ได้ที่สุด)ในจุดนี้ข้อเท็จจริงคืออะไร เป็นความไม่พร้อมของ พปส.

"การควบคุมการใช้กัมมันตภาพรังสีใน ประเทศ ทาง พปส.มีข้อมูลอยู่ในมือ แต่ยังปล่อยให้มีการหลุดรอดออกมาเป็นอันตรายกับชาวบ้าน และไม่ควรจะโยนความผิดให้บริษัท กมลสุโกศลเท่านั้น แต่ต้องโทษ พปส.ด้วย จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เอาจริงในเรื่องนี้เสียที โดยเฉพาะโครงการศูนย์วิจัยนิวเคลียร์แห่งใหม่ขนาด 10 เมกะวัตต์ ที่ จ.นครนายก มีการผลักดันโครงการท่ามกลางเสียงต่อต้าน ในแง่ของการขอให้มีใบรับรองความปลอดภัยมาเป็นแรมปี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีอะไรที่จะล้มเลิกโครงการ ได้ หากไม่รีบดำเนินการคนที่จะถูกมองว่าหละหลวมก็คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์นั่นเอง" นายสันติ กล่าว

ที่มาhttp://www.thairath.co.th/content/region/45126 จากไทยรัฐครับ

ยินดีรับฟังความคิดเห็นจากพี่ๆทุกท่านครับ
ปล.ผมยังเป็นแค่นักศึกษาปี1ครับ ความรู้ยังมีน้อยนิดผิดตกประการใดขออภัยอย่างสูงครับ




โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 12/02/2010 01:42:31


ความคิดเห็นที่ 24


ขอแจมด้วยคน

 

Engineering Material เป็นด้วยศาตร์ว่าด้วยของวัสดุ ผสมนั่นผสมนี่ได้โน่น เติมคาร์บอนให้เหล็กดิบก็จะแข็งแต่เปราะ เอาเหล็กเผาร้อนๆ ไปแช่น้ำทันทีกลายเป็นชุบแข็ง ง่ายๆ คือทำวัสดุให้เหมาะกับการใช้งาน.....สุดยอดตำราวัสดุศาตร์โบราณคือการตีดาบ เผาให้นิ่มตีขึ้นรูป แล้วไปชุบน้ำหรือชุบฉี่ (แอมโมเนีย) เหล็กจะเหนียวหว่าปกติ

 

Structural Analysis หรือการวิเคราะห์โครงสร้าง-เป็นศาสตร์ที่ขอบเขตกว้างมากจะว่าด้วยการหาแรงกระทำในแต่ละชิ้นของของโครงสร้างจากแรงภายนอกเป็นสำคัญจะใช้การจำลองและแก้ไขปัญหาด้วยคณิตศาตร์...ซึ่งความแม่นยำของผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสมมติฐานของผู้วิเคราะห์เป็นกลัก...ผลที่ได้ก็มาดูซิว่ามากกว่ากำลังวัสดุหรือเปล่า ถ้าเกินก็ต้องเพิ่มขนาด กระจายน้ำหนัก ฯลฯ ส่วนการออกแบบใบพัด ใบจักร หรือเครื่องมือต่างๆ จะถูกอยู่ในหมวดนี้ส่วนหนึ่ง

 

ส่วนเรื่องของการจะตอกหรือไม่ตอกเข็มนั้นอยู่ในชาเน่วของวิศวกรรมปฐพี-เราต้องมาดูที่กำลังของดิน ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเรื่องของกำลังรับแรงแบกทาน มีหน่วยเป็นแรงต่อพื้นที่ ตราบใดที่แรงกระทำยังน้อยกว่ากำลังของดิน ก็ไม่ต้องมีเสาเข็มครับ เล่าคร่าวๆ...การสำรวจสภาพชั้นดินก่อนการก่อสร้างจะบอกเราได้ว่าควรมีหรือไม่มีเสาเข็ม รอยเลื่อนของแนวชั้นหินก็เป็นสิ่งควรคำนึง โครงสร้างของโรงไฟฟ้าพ.นิวเคลียร์ มาตรฐานการก่อสร้างย่อมสูงกว่าโครงสร้างประเภทอื่น บ้านพัง-ตายแค่คนในบ้าน, ตึกพัง-ตายแค่คนในตึก, แต่โรงไฟฟ้าพ.นิวเคลียร์พัง-อาจตายไปค่อนประเทศ สัญญานไม่ดีใดๆอันจะส่งผลต่อโครงสร้างในระยะยาวจำต้องหลีกเลี่ยงหรือถูกกำจัดเสียตั้งแต่เนิ่นๆ........ในฐานะของคนทำงานก่อสร้าง โรงไฟฟ้านี้หากได้มีส่วนส่วนร่วมก่อสร้างในประเทศไทย ผมก็นอนตายตาหลับแล้วครับ

 

........นอกเรื่องนิดนึง อันนี้จะเกี่ยวพันกับรถถังอยู่ กรณีเช่นในพื้นที่ กทม.ที่เป็นดินเหนียวอ่อน กำลังรับแรงแบกทานปลอดภัยประมาณ 2.0 ตัน/ตร.ม. รถถัง T-90 มีน้ำหนักทั้งคันถ่ายลงสายพานสองข้าง ตกที่ประมาณ 0.91 ตัน/ตร.ม. ดังนั้นจึงวิ่งได้ครับ....อ้าว แล้ว ทำไมยังเห็นจมกันบ่อยๆ อันนี้ต้องว่ากันด้วยเรื่องของการรบกวนดินครับ....กำลังของดินจะลดลงเรื่อยตามสภาพการรบกวน เช่น ถ. T-90 วิ่งเรียงแถวตามกันมาเรื่อยๆ คันแรกๆ จะไม่จม แต่จะไปจมเอาที่คันท้ายๆ เนื่องจากดินเสียกำลังไปแล้วนั่นเอง ต้องแก้โดยการวิ่งหน้ากระดาน หรือเป็นแถวสับหว่างกัน เป็นต้น

 

สุดท้ายขอพูดด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ....เวลามีโครงการก่อสร้างอะไรก้แล้วแต่ ทำไมต้องยัดข้อหาคอรัปชั่นมาให้กันเนืองๆ....หรือคนไทยทำโน่นทำนี่ไม่ได้เลยหรือ? คนเผ่าพันธุ์นี้เอาดีอะไรไม่ได้สักอย่างเลยหรือ?.....ถ้าทุกท่านมัวแต่จะมาก่นด่าคนเผ่าพันธุ์เดียวกันอยู่อย่างนี้ สู้ท่านปรับปรุงตัวเองให้ดีไปเลยไม่ดีกว่าหรือ? ทุกคนรู้หน้าที่ตัวเองก็ปรับปรุงตัวเองกันไป......ตึกหนึ่งหลัง จะเป็นราคาของงานโครงสร้าง (เสา, คาน, พื้น) แค่ 30-40% ไม่เกินนี้ ที่เหลือเป็นงานระบบ(ไฟฟ้า ประปา น้ำเสีย แอร์)และงานสถาปัตย์ น่ากินกว่าเยอะ ราคาสั่งซื้อของยุโรปแต่เอาของจีนมายัดใส้ก็ได้แล้ว....หากจะกินหิน ปูน ทราย เหล็ก จะเป็นการได้ไม่คุ้มเสีย ซะมากกว่า....ตัวสำคัญคือนายหน้าและโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างหากที่น่าจะได้รับเกียรติถูกตำหนิหากตัองพูดถึงเรื่องขอ-รับ-ฉัน นี่.....จบครับ

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 12/02/2010 01:42:58


ความคิดเห็นที่ 25


น้องไม่ผิดหรอกครับตรงข้ามน้องให้ความรู้สมาชิกอีกตะหาก พี่เองก็เป็นสมาชิกวิทยุสมัครเล่นเหมือนกัน รุ่นแรกเลยที่ไปสอบที่ซอยสายลม(เหตุเพราะโดน ตร.จับ พกพาเครื่องวิทยุสื่อสารโดยไม่มีใบอนุญาติ)HS1 แต่ตอนนี้เล่น ว.ทหารแทน ว.2 ว.8 อย่าเคลียดครับ น้องนำเสนอในส่วนที่น้องถนัด ถูกต้องแล้ว แต่ Admin ขอร้องไม่ให้ด่าว่าชาติตัวเอง(มีความสุขมากที่ Admin ทำอย่างนี้) ข้อนี้น้องเลยถูกโต้กลับแบบวิชา ต่อวิชา ถ้าน้องติดตามมาตลอดจริง น้องน่าสังเกตุว่าคุณน่าคิดมักตอบโต้ด้วยเหตุผลเสมอบางทีอาจขัดใจบ้างแต่ สรุปด้วยเหตุผลที่กลางๆเข้าไวดีที่สุด พี่เองไม่สนับสนุน แต่ไม่ขัดเพราะเราต้องยอมรับว่าอนาคต ประชากรเราจะบริโภคไฟฟ้ามากขึ้นไปอีก คำถามคือเราจะไปเอามาจากไหน ลมก็ไม่สมบูรณ์ อาทิตย์ก็แพง เฮ้อหนักใจแทนลูกหลานเน๊อะ  

โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:06:32


ความคิดเห็นที่ 26


อีกอย่างครับ ตอนโคบอลต์ 60 น่ะหน่วยงานของพี่ที่ กอ.รมน.ก็ได้สวมชุด NBC หรือชุดนิวเคลีย ชีวะเคมี จะเข้าไปตรวจแต่พอหน่วยงานของรัฐ(ทหารถือว่าตัวเองคือประชาชนเสมอ)มาถึง เห็นเข้าหัวเราะกันใหญ่หาว่าเว่อ พวกพี่เลยรายงานศูนย์ว่ามีเจ้าหน้าที่จากราชการมาถึงแล้ว ศูนย์ก็สั่งถอนตัวกลับ พวกพี่ทั้งโมโหทั้งอาย แต่ได้ออกเป็นข่าวทางโทรทัศน์ได้แพลบหนึ่ง ปัจจุบันพี่นึกภาพถึงเจ้าหน้าที่เหล่านั้นทีไร สงสารทุกที
โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:24:06


ความคิดเห็นที่ 27


เยี่ยมครับ ทำการบ้านมาดีมาก

จะเห็นว่าเหตุหลังจากเชอร์โนบิล เป็นความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงานและความเห็นแก่ตัวของเจ้าของทุนแทบทั้งสิ้น

เหตุรุนแรงแบบเชอร์โนบิลแทบไม่มีเลย แล้วเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีอยู่ถือว่าน้อยมากๆ

แล้วทีนี้คนไทยถ้าต้องไปปฏิบัติงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ละ จะต้องตั้งเกณฑ์กันไว้สูงมากทีเดียว แต่ก็คงจะมีบางส่วนที่เข้าไปได้ด้วยระบบอุปถัมภ์ ความปลอดภัยของคุณกับผมคงต้องเสี่ยงกันสูงหน่อย

ประกอบกับบุคคลากรด้านนี้เรามีน้อยมาก ถ้าจำเหตุการณ์ แท่งโคบอล 60 ได้ ณ.วันนั้นเรามีบุคคลากรระดับผู้ชำนาญการทั้งประเทศเพียง 2 คนเท่านั้น (ข้อมูลเชิงลึก) วันนี้ก็ดีขึ้น

ของทุกอย่างบนโลกนี้ มีสองด้านเหมือนเหรียญครับ ต้องมองทั้งสองด้านแล้วชั่งน้ำหนักถึงผลได้ผลเสียทั้งปัจจุบัน อนาคต หาจุดคุ้มทุน ดูจุดสูญเสีย แล้วตัดสินใจว่า เอาหรือไม่เอา ส่วนตัวผมว่าคุ้มมากในระยะยาวถึงแม้การลงทุนในครั้งแรกจะสูงก็ตาม

แต่ไม่ว่ายังไงก็หนีคำว่า

High risk high return

ไม่พ้นครับ

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:27:39


ความคิดเห็นที่ 28


ขอบคุณครับพี่makropolo   โดนจับเลยเหรอครับ

โทษหนักเลยไม่ใช่เหรอนั้นครับพี่ จากที่ทราบๆมาเห็นว่าโทษหนักพอๆกับปืนเลยใช่มั้ยครับ แล้วโดนดำเนินคดียังไงมั้งอ่ะครับ ถามไว้เป็นความรู้ครับ
เพราะว่ามีน้องๆที่เป็นกู้ภัยถือกันหราเลยโดยไม่มีใบอนุญาตครับ ก็เลยจะถามไว้เป็นความรู้เผื่อจะได้ไปเล่าให้น้องๆที่ไม่มีใบอนุญาตฟังครับ(ขอเรียกว่าพี่แล้วกันนะครับเพราะทราบมาว่าพี่จบจากไทย-เยอรมันเหมือนกัน ผมก็จบจากไทย-เยอรมันครับแต่ว่าเป็นที่ขอนแก่น)

สิ่งที่ผมพูดไปไม่ใช่ว่าผมต้องการจะแขวะหรือต่อว่าสังคมไทยเราหรอกครับ
ด้วยความเคารพจริงๆที่ผมพูดไปเพราะว่ากลัวการตรวจสอบขององค์กรต่างๆจะไม่ทันเลห์กลโกงแค่นั้นครับ เพราะผมเชื่ออยู่อย่างนึงว่าคนไทยเราถ้าตั้งใจทำอะไรล่ะก็ไม่แพ้ชาติไดในโลกแน่ครับ

เสริมอีกนิดครับ จากประสบการณ์ตรงของพ่อผมเองครับว่า การเป็นข้าราชการที่ดีซื่อสัตย์นั้นเป็นได้ครับแต่การที่ไม้ซีกงัดไม้ซุงนั้นมันลำบากเหลือเกิน ด้วยความที่เป็นคนตรงยอมหักไม่ยอมงอ พ่อของผมก็เลยโดนย้ายไปเพราะไปขัดผลประโยชน์ของนายครับ(โดยมีบริษัทเอกชนอยู่เบื้องหลัง)ทำให้ผมกลัวการทุจริตมากๆครับ ครอบครัวล่มเพราะพ่อต้องโดนย้าย พ่อแม่เทลาะกัน ต้องวิ่งเต้นหาเงิน เพราะพ่ออยากย้ายกลับมาบ้านครับ เพราะตอนเด็กๆผมติดพ่อมากพ่อสงสารผมอยากย้ายกลับมาหาลูก สู้กันอยู่นานถึงกรมถึงกระทรวงกว่าจะได้กลับมา หมดเงินค่าเดินทางไปไม่รู้เท่าไหร่เพราะต้องไปติดต่อราชการที่กรุงเทพ(บ้านผมอยู่มุกดาหรครับไกลมากจากรุงเทพนั่งรถที10ชม.จะถึง) สมัยก่อนมันไม่มีมือถือไม่มีศาลปกครองไม่มีปปช.ไม่มีปปง.
ถ้าองค์กรอิสระที่มีเหมือนในวันนี้ครอบครัวผมคงไม่ล่มแบบนี้ครับ
คงจะมีที่พึ่งให้เรามากกว่านี้ ถ้าวันนั้นประเทศไทยเป็นเหมือนวันนี้ก็คงจะดีครับ

สาเหตุ1ที่ผมหันมาสนใจในเรื่องของการศึกษาทางด้านทหารแรงบันดาลใจก็มาจากพ่อนี้แหละครับ

ท่านเป็นข้าราชกรมทางหลวงในสมัยก่อนที่ไปทำถนนตอนสมัยที่ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสท์กำลังรุกลาม(เดี๋ยวว่างๆจะเอารูปมาลงพร้อมเนื้อหาบางส่วนครับ)

และตอนนี้คาดว่าอีกไม่นานผมก็คงต้องดร็อบเรียนไปบรรจุข้าราชการที่กรมทางหลวงแล้วครับ เพราะไปสอบบรรจุมาแล้วคงโชคดีด้วยเลยสอบติดครับ อนาคตจะเป็นยังไงจะเป็นคนตรง เป็นข้าราชการที่ดีตอนนี้ผมยังไม่รู้เลยครับ ว่าเข้าไปแล้วปัญหาที่สั่งสมมาอย่างยาวนานในระบบข้าราชการไทยนั้น ข้าราชการน้อยๆบรรจุใหม่อย่างผมถ้าเข้าไปแล้วจะวางตัวยังไง จะปล่อยตัวเองไหลไปตามกระแส หรือว่าจะทำยังไง ตอนนี้แม้แต่ตัวผมยังไม่รู้เลยครับ/นอกเรื่องมากไปขอโทษด้วยครับ

โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:30:44


ความคิดเห็นที่ 29


คุณ HS4-TES  งั้นคุณก็รุ่นน้องผมแหละครับ ผมรหัส 42  ภาคพิเศษ ผมว่าคุณคงไม่ทันอาจารย์ นิพนธ์ ที่พึ่งเสียไปนะครับ ท่านนั้นสอนสนุกสอดแทรกความรู้ได้สุดยอดมาก 

อยากจะแนะนำครับเรื่องมาตฐานงานก่อสร้าง ถ้าจบมาไปทำกับบริษัทต่างชาติ

จะเห็นว่ามาตรฐานสูง แต่จริงๆสตาฟฟ์เกือบทั้งหมดเป็นคนไทย หรือไม่ว่าจะเป้นการส่งแรงงาน ไปทำที่ต่างประเทศ บ.ต่างชาติ เลือกที่จะใช้คนไทยที่มีค่าแรงสูงกว่า อินเดีย หรือฟิลิปปินเกือบสองเท่าเพราะ ทักษะ แม้ว่าภาษาของคนบ้านเราโดยเฉลี่ยเทียบกับ สองชาติที่ว่ามาไม่ได้ แม้แต่บริษัทออกแบบบางบริษัท รับงานแต่ต่างประเทศเนื่องจากฝีมือสถาปนิกบ้านเราอยู่ในระดับต้นๆของโลก แต่ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าเมืองนอกหลายเท่าตัว

ปล.ไม่ได้ตำหนินะครับที่บอกว่าได้ความรู้จากวิชา Engineering Materials แค่สงสัยว่าชื่ออาจะเหมือนกันแต่เนื้อหาข้างในไม่เหมือนกัน เช่น fluid ของมช. เนื้อหาจะเป็น hydraulic en. ในมข. เป็นต้นครับ ที่ทราบเพราะพี่ชายเรียน มช. สมัยผมเรียน มข. เลยยืมหนังสือมาอ่าน ที่ไหนได้คนละวิชาได้ไปซื้อใหม่อีก 55




โดยคุณ seekmen เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:43:18


ความคิดเห็นที่ 30


ครับพี่อายุ 41 ปี ตอนนั้น(ที่ถูกจับ)พี่ก็รับราชการที่พัน.ร.มทบ.๑ อยู่แล้ว เลยขอเขาโทรศัพท์(ตอนนั้นยังไม่มีโทรฯมือถือ)ไปที่กองพัน.ขอความช่วยเหลือ นายเลยช่วยว่าวิทยุมีไว้ใช้ในราชการทหาร เขาเลยปล่อยแต่ปัจจุบันพี่เลิกแล้วครับ ไม่ได้สอบต่อใบอนุญาติแล้ว(ไม่มันส์เท่า ว.ทหาร ตำรวจ)ที่สำคัญตอนนี้พี่เป็นนายทหารชั้น ผบ.ร้อย.กรอปกับมีรถยนต์ส่วนตัว พอลงรถพี่ก็ไว้ในรถไม่ติดตัวไปตลอด ส่วนพวกมูลนิธิพี่ไม่ขอออกความเห็น เห็นรุ่นน้องที่เป็น ตร.บอกว่าอนุโลม ให้เว้นโดนสั่งตรวจถึงจะจับครับ พี่เรียนที่เทคโนพระจอมเกล้าครับ ที่ถ.พิบูลย์สงคราม (ใกล้สะพานพระราม 6-7)
โดยคุณ makropolo เมื่อวันที่ 12/02/2010 06:49:29


ความคิดเห็นที่ 31


ผมก็เห็นด้วยกับพี่น่าคิดครับว่าถ้าเราไม่เริ่มตั้งแต่ตอนนี้ต่อไปภายภาคหน้าปัญหาทางด้านพลังงานจะรุนแรงกว่าในปัจจุบันนี้อีกครับ

เพราะถ้าไม่เริ่มตอนนี้ต่อไปก็ต้องเริ่มทำอยู่ดี

แต่ผมว่าเรื่องนี้คงต้องยกให้เป็นวาระเเห่งชาติครับเพื่อเพิ่มความสำคัญของโครงการไม่ใช่จะทำแบบหลบๆซ่อนๆระดมยิงสปอตโฆษนา+การสร้างสารคดีการ์ตูนหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะเข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้เพื่อเพิ่มความรู้ให้ภาคประชาชนเอาแบบสะใจเหมือนประชาคมอาเซียนไปเลยครับ แผนการทำงานต้องเป็นไปแบบมีขั้นตอนหลีกหนีระบบการทำงานของข้าราชการให้ได้มากที่สุดครับ(กรณีเด็กเส้นเข้าทำงานแต่ความสามารถไม่มี) เพราะไม่ใช่อะไรก็จะต้องเป็นความลับไปซะหมด

เพราะโครงการนี้จะสำเร็จได้ผมว่าปัจจุบันสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นมันมีมากขึ้นครับ ถ้าหากเค้าขาดความรู้เข้าใจอะไรผิดไปจะแย่เอาครับ(NGoเค้ามองแต่ด้านที่ไม่ดีเป็นส่วนใหญ่แต่ลืมไปว่ามันป้องกันได้และควบคุมความเสี่ยงนั้นได้ครับ)
เพราะจะเกิดการต่อต้านโครงการก็จะล้าช้าหรืออาจจะล้มไปเลยก็ได้

แผนการจัดการที่ต้องมีออกมาด้วยก็คือประเทศเราเล็กครับกากที่เกิดขึ้นมาของเสียจากกระบวนการผลิตเราจะทำยังไงต้องมีการชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจได้ครับ

เพราะปัจจุบันแหล่งกำจัดธรรมดาก็ลำบากเหลือเกินในการหาที่กำจัดครับ ของเสียสารเคมียังรั่วไหลเป็นว่าเล่น

ดังนั้นโครงการนี้จะสำเร็จลงได้ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนไทยครับ ผมเชื่อว่าเราทำได้ครับ

ขอบคุณพี่Seekmanมากๆครับที่เข้ามาแนะนำแง่คิดดีๆให้กับรุ่นน้องครับ
แต่ว่าสงสัยการทำงานในบริษัทผมคงไม่ได้ไปทำแล้วละครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 12/02/2010 08:57:49


ความคิดเห็นที่ 32


เป็นกระทู้ที่ดีมากสำหรับผม

ถึงคลิ๊กเข้าชมไม่เยอะ

แต่คลิ๊กสนทนา ถาม-ตอบ อบอุ่นดีครับ

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 12/02/2010 19:30:59


ความคิดเห็นที่ 33


ความอบอุ่นเมื่อวันวานการสนทนาเรื่องต่างๆทางเทคโนโลยีทหาร เราไม่จำเป็นต้องไปเรียกร้องถึงเรื่องในอดีตนั้นให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมครับ(เพราะตอนนี้รู้สึกอุณหภูมิในบอร์ดจะร้อนหน่อยๆหลายๆคนไม่กล้าจะโพสข้อความทางเทคโนโลยีเลย ส่วนใหญ่ที่พบจะเป็นการโพสอะไรในแบบที่ไม่ค่อยเป็นข้อความทางเทคโนโลยีเท่าไหร่)

แต่พวกเราทุกคนในที่นี้สามารถช่วยกันทำให้มันกลับมาอบอุ่นได้เหมือนเดิมแน่ครับ

ผมเชื่ออย่างนั้น ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา....

พี่น่าคิดครับเชื่อมั้ยครับว่า เพื่อนๆบางคนในขั้นเรียนผม(ร้อยละ80)ไม่รู้จักสัญลักษณ์ใบพัดเตือนรังสีครับ ผมเลยรู้สึกแปลกใจว่าแม้แต่นักศึกษาระดับปัญญาชนแบบนี้ยังไม่ทราบ

แล้วประสาอะไรกับชาวบ้านครับที่ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีการศึกษา พอได้ยินได้ฟังอะไรจากพวกNGOปลุกระดมก็เชื่อไปหมดซะทุกอย่างครับ

อ้อขอถามพี่น่าคิดเป็นความรู้หน่อยครับว่า ประเทศไทยเราเล็กๆแบบนี้ ถ้าเรามีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์                 แล้วการจัดเก็บกากกัมมันตรังสีจะมีวิธีการเก็บยังไงครับ                                                                                                                                                                                                                                                                                                             
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 13/02/2010 10:20:46


ความคิดเห็นที่ 34


ปัญหาทั่วโลกเรื่อง กากนิวเคลียร์ อ่านแล้วจะหดหู่นะครับ มักจะทำเหมือนกัน

ใส่เรือแล้วเอาไปทิ้งทะเล หรือไม่ก็ กลบฝัง

แต่เค้ามักอ้างกันว่าถังที่บรรจุกากนิวเคลียร์มีความแข็งแรงทนทาน อายุการใช้งานเกินกว่าอายุของค่ากัมมันตภาพรังสีต่างที่ติดมากับกากนิวเคลียร์

เรื่องการเอาไปทิ้งทะเลนี่ก็มี กลุ่มกรีนพีซ นี่แหละเป็นองค์กรหลักที่ทำการประท้วงมาตลอด แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จเลย......

ส่วนนี่คือวิธีการกล่าวอ้างว่าทำแบบ (ผมสงสัยเป็นการส่วนตัวว่า ทำจริงๆหรือแค่โฆษณา)

http://www.energy.go.th/moen/KnowledgeDetail.aspx?id=109

http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=90&i2=9994

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 13/02/2010 19:48:54


ความคิดเห็นที่ 35


ขอใช้เวลาอ่านเก็บเนื้อหาก่อนนะครับพี่เนื้อหาเยอะดี
ตอนนี้ได้แต่อ่านคร่าวๆผ่านไปครับ
ผมว่านะครับดูๆแล้วการสร้างโรงไฟฟ้านี้ดูท่าว่าจะง่ายกว่า
การมาเก็บของเหลือจากการผลิตไฟฟ้าซะอีกนะครับพี่(วางแผนระยะยาวกันเป็น60ปีปริมาณที่ต้องเก็บและจัดการไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลย)
แต่่ว่าอ่านๆไปแล้วก็ไปสะดุดกับเรื่องกระสุนปืนที่ฝรั่งเค้า
เอากากกัมตรังสีมาผลิตกระสุนปืนครับ
ว่าจำได้เลาๆว่าเคยเจอกรณีที่กระสุนปืนที่ใช้ในเครื่องA-10
ก็เป็นกระสุนที่ทำมาจากกากรังสีเหมือนกันใช่มั้ยครับ
ก็เลยทำให้เกิดข้อสงสัยเพิ่มขึ้นครับว่า
กระสุนแบบนี้รังสีมันจะแผ่ออกมาเวลาที่เรายิงกระสุนออกไปแล้ว
กระทบกับเป้าแล้วเท่านั้นใช่มั้ยครับ
เพราะไม่งั้นตอนโหลดกระสุนเข้าเครื่องคนที่โหลดคงรับรังสีเข้าไปเยอะ
น่าดู แล้วก็พวกทหารที่เค้าอยู่ในรถถังปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากกระสุนที่เก็บอยู่ในคลังกระสุนจะมีมากขนาดไหนครับ
กับอีกเรื่องของกรีนพีชจำได้ว่าเรือเรนโบว์วอริเออร์เคยเจอหน่วยซีลของฝรั่งเศส(ไม่แน่ใจครับว่าฝรั่งเศสเรียกหน่วยอะไร)ทำการลอบเข้าไำปวางระเบิดเรือใช่มั้ยครับ กรณีการทดลองระเบิดอาวุธนิวเคลียร์ เผื่อว่าพี่ๆเพื่อนๆท่านใดมีข้อมูลการปฏิบัติการครั้งนี้ เข้ามาเสริมให้ด้วยนะครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 14/02/2010 03:07:30


ความคิดเห็นที่ 36


เมื่อตอนกลางวันดูรายการข่าวของช่อง 3

 

จะมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 11 โรง

มีอัตราการปล่อยก๊าซ 100 ล้านกิโลกรัม

แต่จะไม่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน เพราะจะมีการนำเข้าไฟฟ้า

จาก น้ำ ลม แสงอาทิตย์ จากเพื่อนบ้านมากขึ้น

และได้มาจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ???

ไม่ทราบในส่วนของรายละเอียดว่าสร้างในประเทศหรือของเพื่อนบ้าน

โดยคุณ spit เมื่อวันที่ 15/02/2010 03:59:05


ความคิดเห็นที่ 37


เอ้า เอาเป็นว่าผมก็สนับสนุน โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ครับ อย่าไปกลัวอะไรเลยครับ เรื่องอันตรายน่ะ เขามีระบบรองรับเรื่องความปลอดภัย ทีรถติดแก๊สวิ่งกันทั่วบ้านทั่วเมืองนั่นน่ะ ไม่รู้มีมาตรฐานตามที่กำหนดกันกี่คัน ไม่ยักจะกลัวกัน เห็นกันหรือยังเวลาที่เขื่อนต้องปล่อยน้ำเพื่อเดินไฟฟ้าเพิ่มน่ะ เพราะทางพม่าหยุดจ่ายก๊าซให้ แล้วที่เมืองกาญจน์ เขาเป็นอย่างไร (เฮ้อ ตกลงตูจะเอา แก๊ส หรือ ก๊าซ กันแน่วุ้ย มึนตึบ)
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 15/02/2010 05:06:40


ความคิดเห็นที่ 38


เรื่องเรือเรนโบว์วอร์ริเออร์ (ลำที่ 1) นั้นผมหาข้อมูลที่ยืนยันหนักแน่นไม่ได้

เอาแบบพอที่จะหาข้อมูลเป็นหลักฐานได้แล้วกันนะครับ

Rainbow Warrior Ship (ลำที่ 1)

ถูกปล่อยลงน้ำเมื่อ ปี 1955 กลุ่มกรีนพีซ ได้รับเรือลำนี้เมื่อ ปี 1978 และถูกจมลงโดยหน่วยข่าวกรองของฝรั่งเศส ปี 1985

She was sunk in 1985 by operatives of the French intelligence service (DGSE)

และมีข่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า เรือนักรบแห่งสายรุ้ง ลำที่ใช้กันในปัจจุบัน ก็ทางการฝรั่งเศสนั่นแหละออกเงินซื้อใหม่ แต่ผ่านเศรษฐีชาวฝรั่งเศสคนนึง ก็เท่านั้นเอง (เฮ้อ....การเมืองบางเรื่องก็น่าขำ บางครั้งก็น่าเบื่อ บางทีก็น่ากลัว)


โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 15/02/2010 22:24:21


ความคิดเห็นที่ 39


เป็นกระทู้ที่ดีมากกระทู้หนึ่งเลยครับ ขอติดตามต่อไป
โดยคุณ ลมหมุนวน เมื่อวันที่ 16/02/2010 13:46:17


ความคิดเห็นที่ 40


ตามลิงค์พี่น่าคิดไปเลยก็ดีนะครับในนั้นมีเรื่องการจัดเก็บกากกัมตรังสีด้วยครับ

ผมว่าดูๆแล้วเรื่องนี้มันหนักน่าดูเลยนะครับเผลอๆผมคิดว่าหนักกว่าการสร้างซะอีก(ขยะธรรมดาหรือพวกสารเคมีบ้านเรายังจัดการได้ไม่ดีเลยครับเป็นห่วงมากๆ)

ในประเทศไทยเรามองๆไปแล้วยังนึกที่ไม่ออกเลยครับว่าจะเอาไปฝังที่ไหน
พี่ๆท่านใดพอทราบข้อมูลขอความอนุเคาระห์ด้วยนะครับถ้าจะฝังควรฝังที่ไหนดีครับ

ส่วนเรื่องเอาไปทิ้งทะเลนี้บ้านเรายิ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวถ้ามีข่าวออกมาก็ไม่รู้ว่าจะไไปกระทบการท่องเที่ยวหรือไม่ครับก็เลยขอถามอีกเช่นกันครับว่าที่ๆเหมาะสมควรเป็นที่ไหนเพราะอะไร

ขอบคุณทุกคำตอบล่วงหน้าครับ
โดยคุณ HS4-TES เมื่อวันที่ 17/02/2010 04:58:10