หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


บ้านร่มเกล้า ?หน่วยเฉพาะกิจสีหราชเดโช ?

โดยคุณ : omaha เมื่อวันที่ : 12/02/2010 12:20:46

บ้านร่มเกล้า เป็นอีกสมรถภูมิหนึ่งที่ เป็นที่สนใจของสังคม เพราะ เป็นสมรภูมิในยุคใหม่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่หลายท่าน ผลที่ออกมาหลายท่านคงทราบดีว่า เป็นอย่างไร มีหลายส่วนที่ทำลานปิดทองหลังพระ หลายส่วนที่ ปิดทองหน้าพระ ทั้งกองทัพบก และกองทัพอากาศ แต่ในส่วนที่นี้จะสรุปเหตุการณ์การปฏิบัติที่มีหน่วยรบพิเศษกองทัพบก เกี่ยวข้อง
เหตุการณ์ บ้านร่มเกล้า เป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดนไทย ลาว ตั้งอยู่ในพื้นที่ ภูสอยดาว  ตำบล บ่อภาค อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีประชาชนอาศัยอยู่ประมาณ ๑๐๐ ครอบครัว ประชาชนส่วนใหญ่เป็น ชาวเขาเผ่า ม้ง ที่เคย เป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ แต่กลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นตามแผน ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร ของ กองทัพภาคที่ ๓  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยหลังจากได้ทำลายฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้ายแล้ว จึง ได้ดำเนินการตั้งหมู่บ้านขึ้นและได้มีการสร้างเส้นทาง ตัดถนน ระยะทาง ๓๒ กม. จากบ้าน แสงพา บ้านนาเจริญ จังหวัดเลย ผ่านบ้านร่มเกล้า ไปยังบ้านห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัด อุตรดิตถ์  และจากปัญหา ข้อผิดพลาดในเรื่อง แผนที่ ไม่ตรงกัน ฝ่ายลาวอ้างสิทธิเหนือดินแดน ภูสอยดาวและบ้าร่มเกล้า จึงทำให้เกิดปัญหา กระทบกระทั่ง
       ๑๐ พ.ค. ๓๐ มีการลอบโจมตีรถแทรกเตอร์ ๓ คันของบริษัทที่ รับสัมปทานลากไม้ของไทย ผล มีคนงานไทย เสียชีวิต ๑ คน  กองทัพภาคที่ ๓ ยัง ไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นการกระทำฝ่ายลาว
    ๘. ส.ค. ๓๐ ลาวส่งทหารกำลังประมาณ ๒๐๐ นาย เข้าโจมตีฐาน ทหารพราน ที่บ้านร่มเกล้า
  พ.ค. ๒๕๓๐ เหตุการณ์บ้าน ร่มเกล้าเริ่มเด่นชัดและรุนแรง จากการพิสูจน์ทราบของทภ. ๓ พบว่า ลาวได้รุกล้ำเข้ามาประมาณ ๒ ก.ม. คิดเป็นพื้นที่ ๘๐ ตร.กม. และมีการดัดแปลงที่มั่น ตามแนวเนิน ๑๔๒๘ , ๑๓๗๐ , ๑๑๘๒ ฝ่ายไทยได้แจ้งเตือนและชีแจงข้อเท็จจริงให้ลาวทราบ เรื่องการรุกล้ำ  แต่ไม่เป็นผล  มีการเพิ่มเติมกำลัง ของลาว อีก ๒ กองพัน และกองกำลังทหารเวียดนามอีก ๖ กองพล และผู้เชียวชาญทางทหารคิวบาและโซเวียตอีกจำนวนหนึ่ง  ( จากการที่ปล่อยให้ฝ่ายตรข้ามเข้ามาถึง ๒ กม. และ สามารถดัดแปลงที่มั่นได้หมายความว่าระบบการแจ้งเตือน ระบบการข่าวของกองทัพภาคที่ ๓ เวลานั้นค่อนข้างจะบกพร่อง เพราะการที่จะเคลื่อนย้ายกำลังขนาดใหญ่ข้ามเข้ามาตั้งบนเขา และขุดอุโมงค์นั้น ไม่สามารถทำในระยะเวลา สั้น  )
วันที่ ๑ ก.พ. ๓๑ ลาวยิงปืนใหญ่ เข้ามายังฝั่งไทย มาประมาณ  ๑๐๐๐ นัด
วันที่ ๑๓ ก.พ. ลาวใช้จรวด ต่อสู้อากาศยาน ยิง เครื่องบินโอวี ๑๐ ของไทยตก บริเวณบ้านนากอกของลาว
๒๓   ม.ค. พล.อ. ชวลิต  ให้แนวทางการปฏิบัติกับ ผู้บัญชาการกองพลรบพิเศษ ที่ ๑ ในขณะนั้น  พล.ต. อมรพันธ์ วัฒนพิบูลย์  เพื่อแก้ไขสถานการณ์ ( จะเห็นได้ว่า ในห้วงแรก จะไม่ได้มีแผนอย่างจริงจังในการใช้งานหน่วยรบพิเศษ เท่าใดนัก ) โดยให้มีภารกิจในการ ปฏิบัติงานหลังแนวตั้งรับฝ่ายลาวเพื่อ ค้นหา พิสูจน์ทราบการวางกำลัง , ที่ตั้งปืนใหญ่ อาวุธยิงสนับสนุน , ที่ตั้งจรวด แล้วรายงานกลับมาเพือให้ ปืนใหญ่ หรือ กำลังทางอากาศฝ่ายเรา เข้าทำลาย  ในห้วงแรกของการรบ เราไม่สามารถทำการยิงได้อย่างแม่นยำได้เนื่องจาก ผตน.ไม่สามารถ ตรวจการได้ เหตุผลหนึ่งคือ สภาพร่างกายของทหารปืนใหญ่ที่ไม่ทรหดนัก  ซึ่งคุ้นเคยกับ การนั่งรถ ในการฝึกเป็นส่วนมากไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เหมาะสมได้  นอกจาก นี้หน่วยรบพิเศษ ยังได้รับภารกิจในการ ปฏิบัติการตัดรอนกำลัง ขัดขวาง ทำลาย เส้นทางการส่งกำลังบำรุง ของฝ่ายตรงข้าม ที่ส่งมาจากพื้นที่เขตหลังของลาว มายังพื้นที่การรบ รวมทั้งเพ่อกดดันให้มีการกระจายกำลัง เพื่อให้ความกดดันต่อฝ่ายเราที่บ้าร่มเกล้าลดลง จากเหตุการณ์ดังกล่าว จะเห็นว่ากว่าจะสั่งการใช้หน่วยรบพิเศษ ใช้เวลานานมากซึ่งถ้านับตั้งแต่ทหารพรานถูกเข้าโจมตี ใช้เวลานานถึง เกือบ ๕ เดือน  หลังจากที่ รับคำสั่ง หรือไฟเขียว ทุกอย่างก็ง่ายไปหมด หน่วยรบพิเศษ เริ่มในขั้นตอนการวางแผนเตรียมการทันที
โดยใช้เวลาตั้ง แต่ ๒๔ ม.ค. ถึง ๒ ก.พ. ๓๑  โดย พลตรี อมรพันธ์ วัฒนพิบูลย์  ท่านได้เลือก ผู้บังคับ หน่วย มือดีที่เคยทำงานร่วมกับท่านมาก่อน จำนวน ๔ นาย  ส่วน กำลังพลจะใช้จาก กำลังพลของกองพลรบพิเศษที่ ๑ และ ๒ ทหารพรานจู่โจม  โครงการ ๕๑๔   สมทบด้วยผู้ตรวจการหน้าของ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๔ กองทัพภาคที่ ๓ และกำลังประชาชนอาสาสมัคร ตามชายแดนไทยลาว โดยจัดเป็น ๔ ชุดปฏิบัติการ  และใช้ชื่อ ว่า ?หน่วยเฉพาะกิจสีหราชเดโช ? โดยที่ การควบคุมบังคับบัญชานั้น พลเอก เชาวลิต ได้มอบอำนาจในการควบคุมการปฏิบัติการพิเศษ ให้กับ พลตรี อมรพันธ์ วัฒนพิบูลย์
โดยการปฏิบัติการในครั้งนั้น ชุด ลว.ระยะไกล ของ ศูนย์สงครามพิเศษ และ ชุด ยิงจรวดต่อสู้อากาศยานเรดอาย เข้าพื้นที่ไปร่วมปฏิบัติการด้วย ซึ่ง พื้นที่ปฏิบัติการที่ลึกที่สุดอยู่ถึง เมืองปากลาย และเมือง ไชยะบุรี 
๗ ก.พ. ๓๑  ชุดรบผสมที่ ๑ , ๒ , ๓ แทรกซึมเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ
๘. ก.พ. ๓๑ ชุดที่ ๔ แทรกซึมเข้าพื้นที่ปฏิบัติการ 
   ในระหว่างการ แทรกซึม ไม่ได้สวยหรูสะดวกสบายเหมือนฝึก การหาน้ำไม่สะดวก บางชุดบางนายต้องดื่มน้ำปัสสาวะตัวเอง
๑๒ ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๑ ลาดตระเวนเฝ้าตรวจเส้นทาง ระหว่าง บ้าน นาหินใต้ ไปยังบ้านนาดง หลังจากนั้น ลาดตระเวนต่อไปพบ รถบรรทุกทหารลาว ประมาณ ๑๐๐ นาย พร้อม รถคุ้มกัน ๑ คัน
ชุดปฏิบัติการ ที่ ๒ วางระเบิดดักรถถังที่ เส้นทาง บ.กุ่มบ้าน , หนองหลวง , บ้านน้ำพุ ซึ่งคาดว่าเป็นเส้นทางการส่งกำลังบำรุง
๑๓ ก.พ.  ระเบิดดักรถถังที่วางไว้ได้ผล รถส่งกำลังฝ่ายลาว เสียงระเบิดดังขึ้น เวลา ๑๔ ๐๐ น.
๑๕.ก.พ. ๓๑  ชุดรบผสมที่ ๒ ตรวจพบฐานปฏิบัติการของทหารลาว จึงได้ร้องของปืนใหญ่เพื่อทำลาย
๑๔. ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๓ เฝ้าตรวจบริเวณ เนิน ๑๖๖๒  พื้นที่เป็นป่ารกทึบยากแก่การปฏิบัติการ ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติการมากขึ้น
ชุด รบผสมที่ ๔ ได้ตรวจพบ คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ ฝ่ายตรงข้าม  มีอาคาร  ๓ หลัง  โดยมีการระวังป้องกันที่ตัวอาคารเป็นอย่างดี
๑๕ ก.พ. ๓๑ เสียงปืนใหญ่ดังขึ้นใกล้ เนิน ที่ชุดรบผสม เฝ้าตรวจอยู่ ชุด รบผสมที่ ๓ ได้ตรวจพบ ที่ตั้งปืนใหญ่ ๒ จุด , จึงได้รายงานและร้องขอการยิงเพื่อทำลาย
       ชุดรบผสมที่ ๔ ชุดรบผสมที่ ๔ ปฏิบัติการ ซุ่มโจมตี ๒ จุด ตามเส้นที่ เข้า ออกจากคลัง
๑๖ ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๑  ได้ปะทะ กับ กองหลอนประจำหมู่บ้าน  ๑๑ นาย สบทบด้วยทหารเวียดนาม ๒ นาย และทหารลาว ๘ นาย ผลจาการปะทะ ฝ่ายตรงข้าม เสียชีวิต ๒ นาย จับ กองหลอน ได้ ๒ นาย ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๒ นาย โดยที่หลังจากนั้น ชป. ๒ ต้องเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยที่ ได้ร้องขอ การยิงสนับสนุน ของปืนใหญ่ให้ลงยัง ฐานลอย ที่ ตั้งไว้ หลังจากออกจากฐาน ๓๐ นาที ซึงคาดเวลาเป็นเวลาที่ กำลังส่วนใหญ่ของ ลาวคงตามมาถึงพอดี
   ชุดรบผสมที่ ๒ แทรกซึมกลับ
       ชุดรบผสมที่ ๔ ตรวจพบอาคารอีก ๓ หลัง ซึง คาดว่าเป็นที่พักของทหารที่มาสับเปลี่ยนกำลังหรือพักผ่อน จึงได้รายงานให้หน่วยเหนือทราบ
๑๗ ก.พ. ๓๑ ชป. ๑ ถอนตัวกลับ
   ชุดรบผสมที่ ๔ วางระเบิดสังหารตามเส้นทาง เข้า จากบ้าน ดงตาล ไปยัง คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์  โดยที่ระหว่างการวางระเบิดสังหาร ได้มีข้าศึกจำนวนหนึ่ง เคลื่อนที่มายังที่ที่ชุดกำลังวางระเบิด   เนื่องจากชุดได้มีการวาง เคลย์โมในการระวังป้องกันอยู่แล้ว จึงได้ กดจุดระเบิดเคลย์โมทันที ทำให้ข้าศึกเสียชีวิตทันที และทำให้ต้องถอนตัวไปยังเนิน และร้องขอ ปืนใหญ่เพื่อทำการยิง ทำลายเป้าหมายดังกล่าว กระสุนที่ใช้ในงานนั้นประมาณ ๕๐ นัด และมีคำสั่งให้จบภารกิจทันทีหลังจากทำลายที่หมายดังกล่าวเรียบร้อย
   ในการปฏิบัติการของแต่ละชุดรบผสม ซึ่งในแต่ละชุดรบผสม ก็ได้แยก ออกเป็นชุดย่อย ไปอีกไปปฏิบัติการลาดตระเวนค้นหาพิสูจน์ทราบ วางระเบิด ซุ่มโจมตี มีบางชุดที่ อาจจะไปพบอะไรมาก บางชุด ก็แทบเอาชีวิตไม่รอด บางชุด ก็ประสบความสำเร็จ บางชุดก็มีการสูญเสีย คงไม่สามารถที่จะนำมาเล่ารายละเอียดได้ทั้งหมด  แต่จากการปฏิบัติการในร่มเกล้า นอกจากหน่วยรบพิเศษจะมีความภาคภูมิใจอยู่เงียบ แล้ว ได้ให้ข้อคิด บทเรียนหลายอย่าง และนำมาซึ่งการสร้างหน่วยกำลังรบเดินดินที่มีความพร้อมรบสูงสุดในประเทศไทย  ?กองพันจู่โจม?

 

คุณ neowarrier http://www.thaiairsoftgun.com