โดย น.อ.เจษฎา คีรีรัฐนิคม (LPP402s)
การ ก่อการร้ายนับเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศต่าง ๆ ในโลกปัจจุบัน อาวุธประเภทหนึ่งที่ผู้ก่อการร้ายใช้แพร่หลายในการทำสงครามอสมมาตร คือระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Devices: IED) ซึ่ง มีหลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่สร้างความสูญเสียแก่ฝ่ายรัฐและประชาชนทั่วไปในหลายพื้นที่ของ โลก ได้แก่ ระเบิดแสวงเครื่องที่ฝังใต้พื้นถนน นับเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่ตรวจจับได้ยาก จึงเป็นปัญหาทางเทคนิคที่มีความสำคัญ และหลายประเทศได้ทุ่มเททรัพยากรเพื่อวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี สำหรับต่อต้านอาวุธชนิดนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการค้นหาวัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่ฝังใต้พื้นถนน จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม
|
ลักษณะ
ของระเบิดแสวงเครื่องที่ฝังใต้พื้นถนนในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันตาม
สถานการณ์แวดล้อม ในประเทศที่ผ่านสงครามมาเป็นเวลานาน เช่น อิรัก
และอาฟกานิสถาน ผู้ก่อการร้ายนิยมนำกระสุนวัตถุระเบิดที่หาได้ง่าย เช่น
หัวกระสุนปืนใหญ่ นำมาดัดแปลงเป็นระเบิดแสวงเครื่อง
วัตถุระเบิดที่บรรจุจึงมักเป็น Composition B ประกอบด้วย วัตถุระเบิด TNT ผสมกับวัตถุระเบิด RDX บรรจุ
อยู่ในเปลือกเหล็ก ส่วนในกรณีอื่น เช่น ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ระเบิดแสวงเครื่องมักบรรจุวัตถุระเบิดที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีสาร Ammonium Nitrate เป็นส่วนผสมหลัก บรรจุในภาชนะเหล็กที่มีความแข็งแรง เช่นถังดับเพลิง เพื่อเพิ่มการห้อมล้อม (Confinement) ให้
เกิดการระเบิดได้สมบูรณ์ ในกรณีทั่วไปมักจุดระเบิดด้วยเชื้อปะทุไฟฟ้า
โดยลากสายไฟผ่านใต้พื้นถนนมายังตำแหน่งที่มีการซ่อนพรางข้างทาง
เพื่อให้ผู้ที่ซุ่มอยู่จุดระเบิดได้ในจังหวะที่ต้องการ
ความท้าทายทางเทคนิคของการ ค้นหาระเบิดแสวงเครื่องดังกล่าว คือ จะต้องสามารถค้นหาได้จากระยะไกลพ้นจากอันตรายในกรณีจุดระเบิด และจะต้องค้นหาอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความเร็วในการเคลื่อนที่ของยานยนต์ตามปกติ
แนวทางที่มีการวิจัยพัฒนา ทางหนึ่งคือการค้นหา ตัววัตถุระเบิดซึ่งอาจปนเปื้อนในปริมาณน้อยในพื้นที่ซึ่งวางระเบิดแสวง เครื่องนั้น การตรวจหาสารเคมีวัตถุระเบิดในระบบเดิม มักอาศัยการตรวจหาไอของวัตถุระเบิด โดยอุปกรณ์ตรวจจับจะต้องดูดอากาศที่มีไอของวัถุระเบิดเข้าไปภายในเครื่อง แล้วใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น แก๊สโครมาโทกราฟี, ไอออนโมบิลิตีสเปกโทรเมตรี, แมสสเปกโทรเมตรี ในการวิเคราะห์ชนิดของโมเลกุลสารว่าเป็นวัตถุระเบิดหรือไม่ และเป็นวัตถุระเบิดชนิดใด แนวทางนี้จะใช้ตรวจจับได้เฉพาะวัตถุระเบิดที่คือระเหยเป็นไอได้พอสมควร ซึ่งไม่เป็นปัญหามากนัก เนื่องจากวัตถุระเบิดส่วนใหญ่ รวมถึง TNT และ Ammonium Nitrate มีความดันไอสูงเพียงพอให้ตรวจจับได้ ส่วนวัตถุระเบิดที่มีความดันไอต่ำ เช่น RDX นั้น มีอนุสัญญามอนทรีออล กำหนดให้ผู้ผลิตวัตถุระเบิดพลาสติกที่มีส่วนผสมของวัตถุระเบิดที่มีความดัน ไอต่ำ ต้องเติมสารที่ช่วยในการตรวจจับลงไว้ในส่วนผสมของวัตถุระเบิดพลาสติกนั้น แต่ปัญหาของการใช้อุปกรณ์ตรวจจับแบบเดิม คือต้องเข้าใกล้แท่งวัตถุระเบิดมากพอที่จะให้ดูดไอของวัตถุระเบิดนั้นได้ ซึ่งในกรณีของระเบิดแสวงเครื่องที่พร้อมทำงานและมีผู้เตรียมกดระเบิดอยู่ ปลายสายทางแล้ว ไม่สามารถกระทำได้โดยปลอดภัย
ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนา วิธีการตรวจจับไอหรือเศษอนุภาคสารเคมีวัตถุระเบิดจากระยะไกล โดยใช้หลักการทางสเปกโทรสโกปี ซึ่งวิธีการที่ได้ผลมีหลายวิธี ในจำนวนนี้มี 3 วิธีที่ได้มีการทดสอบภาคสนามแล้ว (Wallin et. Al., 2009)
วิธีการหนึ่งเรียกว่า Laser Induced Breakdown Spectroscopy: LIBS ใช้ ลำแสงเลเซอร์กำลังสูงยิงไปยังพื้นที่ต้องสงสัย พลังงานจากลำแสงเลเซอร์จะทำให้อนุภาคของวัตถุระเบิดที่ปนเปื้อนอยู่สลายตัว กลายเป็นพลาสมา โมเลกุลของสารเคมีในพลาสมาจะเปล่งแสงในความถี่เฉพาะตัว สามารถใช้ Spectrometer เชื่อมต่อกับกล้องโทรทรรศน์วิเคราะห์ชนิดของสารเคมีนั้นได้ ในปัจจุบันกองทัพสหรัฐได้ดำเนินโครงการพัฒนาอุปกรณ์ LIBS อย่างรีบเร่ง โดยหน่วยงาน Joint Improvised Explosive Device Defeat Organization (JIEDDO) และ Army Research Laboratory (ARL) สนับสนุนทุนการวิจัย มีบริษัทเอกชนต่าง ๆ หลายแห่งร่วมในการพัฒนา เมื่อปี ค.ศ. 2008 ที่ผ่านมาได้มีการทดสอบภาคสนาม ที่ Fort Irwin ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ผลการทดสอบพบว่าเครื่อง LIBS สามารถตรวจจับวัตถุระเบิด RDX ได้จากระยะไกลมากกว่า 20 เมตร
|
วิธีที่สองเป็นวิธีที่ใช้หลักการ Raman Spectroscopy ซึ่ง
อาศัยการยิงรังสีในย่านแสงหรืออินฟราเรดไปยังตัวอย่าง
แล้วตรวจวัดความยาวคลื่นของรังสีที่สะท้อนกลับ
โมเลกุลของสารบางส่วนจะดูดกลืนรังสีเกิดการสั่น
และเมื่อโมเลกุลหยุดการสั่น จะคายพลังงานกลับลงสู่สภาวะปกติ
โดยโมเลกุลของสารที่แตกต่างกัน
จะเปล่งรังสีออกมาที่ความยาวคลื่นแตกต่างกัน
ในการประยุกต์ใช้เพื่อตรวจหาวัตถุระเบิดจะยิงลำแสงเลเซอร์ไปยังวัตถุต้อง
สงสัยแล้วตรวจวัดการสะท้อนกลับของรังสีในความยาวคลื่นต่าง ๆ
วิเคราะห์ชนิดสารเคมีนั้นได้
อุปกรณ์ประเภทนี้มีการวิจัยพัฒนาอย่างมากในปัจจุบัน เช่นเดียวกัน
หน่วยงานที่ได้พัฒนาอุปกรณ์ทดสอบภาคสนามแล้วนั้นได้แก่
องค์การวิจัยป้องกันประเทศสวีเดน Swedish Defence Research Agency -Totalförsvarets forskningsinstitut: FOI ได้พัฒนาเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดซึ่งใช้เลเซอร์สีเขียว ความยาวคลื่น 532 นาโนเมตร ร่วมกับระบบ Raman Spectroscope สามารถตรวจจับวัตถุระเบิดชนิดต่าง ๆ รวมถึง Ammonium Nitrate ได้ที่ระยะทางมากกว่า 55 เมตร ในภูมิประเทศ ภายใต้สภาพอากาศต่าง ๆ รวมถึงขณะ
ฝนตก มีหิมะ และขณะมีแสงแดด
โดย น.อ.เจษฎาคีรีรัฐนิคม (LPP402s)
และวิธีที่สามเรียกว่า PhotofragmentationLaser Induced Fluorescence (PF-LIF) อาศัยการยิงลำแสงเลเซอร์ในย่านอุลตร้าไวโอเลตไปยังตัวอย่างโมเลกุลของสารจะ เกิดการแตกตัวเป็น โมเลกุลเล็กที่อยู่ในสถานะถูกกระตุ้นโมเลกุลเล็กเหล่านี้จะคายพลังงานออกมา เพื่อกลับสู่สถานะปกติในการคายพลังงานจะมีการเปล่งรังสีออกมาในความยาวคลื่น เฉพาะตัวทำให้สามารถวิเคราะห์หาชนิดของสารตั้งต้นได้ หน่วยงาน Soreq NuclearResearch Center ซึ่งเป็นหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการพลังงานปรมาณูของประเทศอิสราเอลได้ พัฒนาอุปกรณ์สามารถตรวจจับอนุภาควัตถุระเบิด
TNT ได้จากระยะไกล 20 เมตร และตรวจจับไอของ TNT ในสภาพการใช้งานจริงได้ในระยะ 2.5เมตร
อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ตรวจจับวัตถุระเบิด ที่กล่าวมายังคงอยู่ในขั้นการวิจัยพัฒนาและน่าจะต้องมีการทดสอบและปรับ ปรุงเพิ่มเติมอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะนำมาใช้งานในสนามอย่างแพร่หลายได้โดยการ ประเมินได้ว่าการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ในระยะแรกอาจเป็นการติดตั้งใช้งาน ประจำอาคารเพื่อตรวจค้นผู้คนที่ผ่านเข้าออกจำนวนมากหรือเพื่อป้องกันการวาง ระเบิดแบบฆ่าตัวตาย เป็นต้น
การตรวจหาวัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่ฝัง ใต้พื้นถนนอีกแนวทางหนึ่งคือการตรวจหาภาชนะที่ห่อหุ้มวัตถุระเบิดหรือชิ้น ส่วนโลหะที่ประกอบในระเบิดเช่นหลอดเชื้อประทุโดยอาศัยเทคนิคการตรวจหาโลหะ เช่นเดียวกับเครื่องตรวจหาทุ่นระเบิดแบบที่ใช้งานอยู่เดิม มีการนำอุปกรณ์ตรวจหาโลหะมาติดตั้งกับรถยนต์โดยอุปกรณ์ตรวจจะสร้างคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าส่งออกไป หากมีโลหะฝังอยู่ก็จะเกิดการเหนี่ยวนำ ให้มีกระแสวน (Eddy Current) ในวัตถุโลหะและเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งกลับมา ตัวเครื่องจะรอรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและวิเคราะห์หาตำแหน่งความลึกของวัตถุ โลหะที่ฝังอยู่อีกแบบหนึ่งจะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาต่อเนื่องตัวอย่าง อุปกรณ์ที่มีการผลิตขายแพร่หลายในเชิงพาณิชย์ เช่นระบบ VAMIDS ผลิตโดยบริษัท Schrebelประเทศออสเตรีย และระบบ STMRผลิตโดยบริษัท MineLabประเทศออสเตรเลียทั้งสองแบบสามารถตรวจได้ขณะรถมีความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (GenevaInternational Centre for Humanitarian Demining, 2009)
อีกแนวทางหนึ่งซึ่งมีความเป็นไปได้สูง คือการใช้เรดาร์ที่สามารถทะลุผ่านพื้นดิน (Ground)
แสดงภาพวัตถุที่ฝังอยู่ใต้พื้นดินได้ อย่างรวดเร็ว สามารถติดตั้งกับรถ ทำการตรวจหาขณะที่รถเคลื่อนที่ไปอัตราเร็วที่สูงพอสมควร ตัวอย่างระบบที่มีการใช้งานจริง ได้แก่ Ground Penetrating Radar ผลิตโดยบริษัท NIITEK ประเทศสหรัฐ ซึ่งหน่วยงาน JIEDDO และกองทัพบกสหรัฐได้ทดสอบการใช้งาน ทั้งในสนามทดสอบในสหรัฐ และการใช้งานจริงในอาฟกานิสถาน และสั่งซื้อเพื่อนำเข้าใช้งาน ในปี ค.ศ. 2009 อุปกรณ์นี้ใช้เรดาร์ในย่านความถี่ 200 MHz 7 GHz ติดตั้งกับรถ Husky สามารถตรวจจับได้ในขณะที่รถมีความเร็ว 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (NIITEK, 2009)
ในการใช้งานจริงอาจติดตั้งกับรถที่ควบคุมจากระยะไกล ทำการลาดตระเวณตรวจสอบเส้นทางล่วงหน้าได้ หากสามารถพัฒนาระบบให้มีราคาไม่สูงเกินไป อาจจัดหาไว้ใช้งานในจำนวนที่มากเพียงพอสำหรับการตรวจสอบเส้นทางหลักต่างๆ ได้
อุปกรณ์ที่มีการพัฒนาอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า Radio Gradiometer อาศัยหลักการส่งคลื่นวิทยุในย่านความถี่ 80 KHz- 1MHz ลงสู่พื้นดิน หากมีเส้นลวดนำไฟฟ้าฝังอยู่ใต้พื้น เช่นสายลวดจุดระเบิด จะเกิดการเหนี่ยวนำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งกลับมา จึงสามารถตรวจวัดคลื่นวิทยุที่ส่งกลับมาจากพื้นดิน วิเคราะห์หาตำแหน่งเส้นลวดไฟฟ้าได้ รวมถึงยังสามารถใช้ตรวจหาอุโมงค์ที่ขุดไว้ใต้ดินได้อีกด้วย อุปกรณ์ชนิดนี้มีขนาดกระทัดรัดติดตั้งบนอากาศยานไร้นักบินขนาดเล็ก ทำการลาดตระเวณพื้นถนนได้ในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อปี ค.ศ. 2004 หน่วยงานวิจัย Office of Naval Research ของสหรัฐได้สนับสนุนทุนการวิจัยกับ บริษัท Stolar นำระบบ Radio Gradiometer มาติดตั้งกับ UAV ขนาดเล็ก Silver Fox ของกองทัพเรือสหรัฐ ทำการทดสอบภาคสนามพบว่าสามารถตรวจจับเส้นลวดสายไฟฟ้าขนาดเล็กที่ฝังใต้พื้น ถนนได้ และมีการนำไปทดลองใช้งานในประเทศอิรัก ช่วงปี ค.ศ. 2007-2008 (Brescia, 2008)
บน: ระบบ Radio Gradiometer ผลิตโดยบริษัท Stolar ติดตั้งบน UAV แบบ
Silver Fox ของกองทัพเรือสหรัฐ
www.onr.navy.mil/conferences/science.../sbir_williams.pdf
ล่าง:
สิทธิบัตรของบริษัท Stolar แสดงการใช้ Radio Gradiometer
ตรวจจับเส้นลวดสายไฟจุดของระเบิดแสวงเครื่อง (US Patent Application
2007/0035304 A1)
จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงนั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่เปลี่ยน แปลงอยู่เสมอ ความท้าทายประการหนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ คือ ทำอย่างไรให้สามารถประยุกต์เทคโนโลยีนั้นมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ที่มีความทน ทานต่อการใช้งาน มีความไว้วางใจได้สูง และมีราคาถูก เพื่อให้สามารถจัดหามาใช้งานในจำนวนที่เพียงพอ ในเวลาอันรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดความสูญเสียต่อผู้บริสุทธิ์ และสร้างความสันติสุขให้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
แหล่งข้อมูล
, Anthony, Eye in the Sky uses radio gradiometer to detect IEDs, underground tunnelshttp://www.dcmilitary.com/stories/013108/tester_27998.shtml, Thursday, January 31, 2008
Geneva International Centre for Humanitarian Demining (GICHD), Detectors and Personal Protective Equipment Catalogue 2009, http://www.gichd.org/fileadmin/pdf/publications/PPE-Catalogue-2009/PPE-Cat-2009-Vehicle.pdf, pp. 226-237
NIITEK, Husky Mounted Detection System with VISOR™ 2500, http://www.niitek.com/husky.php, 2009
Reago, Donald A., U.S. Army Research, Development and Engineering Command, NVESD S&T for Maneuver Support, www.dtic.mil/ndia/2008maneuver/Reago.pdf
Wallin, Sara ; Pettersson, Anna ; Östmark, Henric ; Hobro, Alison, Laser-based standoff detection
of explosives: a critical review, Analytical and Bioanalytical Chemistry (2009) 395:259274, www.springerlink.com/index/943210G8X77802V0.pdf
กว่าจะกู้เจ้าพวกนี้ยากจริงๆ
แต่กว่าจะเจอแต่ละลูกนี่สิยากกว่า
เป็นกำลังให้นะครับเพื่อนทหาร พี่น้องภาคใต้^^