หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


รบกวนท่านผู้รุ้เกียวกับเครื่องยนต์ F-100-PW-220 Turbofan ใน f-16

โดยคุณ : juk เมื่อวันที่ : 26/02/2010 15:07:54

ขอตั้งคำถามเป็นข้อๆนะครับ

1.อยากทราบว่าเครื่องยนต์ F-100-PW-220 รอบสูงสุดกี่รอบต่อน่าทีครับ แล้ว กำลังเครื่องยนต์สามารถคิดเป็นแรงม้าแบบรถยนต์ได้ไหมครับ ถ้าได้จะได้มากี่ตัวครับ

2.ผมคิดว่ารอบเครื่องยนต์น่าจะสูงแน่ๆระบบหล่อลื่นใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือป่าวหรือใช้อย่างอื่นครับ 

3.ระบบระบายความร้อนใช้อะไรครับ น้ำหรือ อากาศ

4.เวลาฝนตกเขาแยกน้ำออกจากอากาศได้อย่างไรครับทำให้อากาศไหลผ่านเข้าห้องเผาไหมโดยไม่มีน้ำปนมาด้วย ผมคิดว่าถ้ามีน้ำมาด้วยการเผาไหม้คงมีปัญหาแน่

5.ในรอบสูงสุด after burner กินน้ำมันเท่ากี่ลิตรครับใน 1 นาที

ต้องขออภัยที่ถามหลายคำถาม เป็นคำถามที่อยากทราบจริง ขอบคุณครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ไม่ถึงกับเป็นผู้รู้แต่พอหาข้อมูลได้ครับ...

1)  เครื่องยนต์เจ็ตอย่างนี้ไม่รู้นับเป็นแรงม้าได้หรือเปล่า...แรงขับปกติของเค้าเท่ากับ 14,670 ปอนด์แต่ถ้า อาฟเตอร์เบิรน์เท่ากับ 24,000 ปอนด์......แต่ 1 แรงม้า = 550 ฟุต-ปอนด์/วินาที ซึ่งเป็นหน่วยของกำลัง..ก็ขึ้นอยู่กับ f-16 หนักเท่าไหร่ แรงลอยตัวเท่าไหร่ หักลบเป็นน้ำหนักของเครื่องบินเท่าไหร่ที่เครื่องยนต์ออกแรงรับในทิศทางของแรงในหนึ่งหน่วยระยะทางต่อหนึ่งหน่วยเวลาเป็นวินาที...มึนครับ คงตีเป็นแรงม้าไม่ได้ เพราะถ้าทำได้คงทำไปแล้ว

2) น่าจะใช้ระบบหล่อลื่นด้วยจาระบี (เดาล้วนๆ)

3) น่าจะอากาศ (เดาครั้งที่สอง)

4) ไม่ทราบ

5) ไม่ทราบจริงๆ ไม่ได้กวน

ข้อสอบนี้ 5 ข้อ ผมตอบถูกถึงครึ่งข้อผมก็ดีใจแล้ว ยากสุดๆ ในประเทศไทยคนที่ตอบได้น่าจะเป็นพี่ๆ ทีมช่างที่กองบิน 1 กับกองบิน 4 ละครับ

หรือลองหาตามนี้ดูครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Pratt_&_Whitney_F100

http://www.aero-web.org/events/perform/tb/f100-220.htm, หรือเชิรจ์จากกูเกิ้ลดู มีเป็นล้าน....

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 22/02/2010 01:53:40


ความคิดเห็นที่ 2


เรื่องแยกน้ำออกจากอากาศตอนฝนตก ไม่แน่อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ครับ ผมเคยดูคลิป ยูทูปคลิบนึง เป็นคลิบทดสอบเครื่องยนต์ของเครื่องบินโดยสาร เขาฉีดน้ำเข้าไปพร้อมกับอากาศที่อินเทคเข้าเครื่องยนต์เลย มันก็ออกมาทางด้านท้ายเห็นๆ เลยครับ ผมเลยเข้าใจว่า ถ้าเป็นระบบเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเหมือนกัน บางทีเดี๋ยวนี้อาจจะพัฒนาจนไม่จำเป็นต้องแยกน้ำฝนออกก่อนก็ได้ 
ปล. รบกวนหากใครหาคลิบนั้นเจอช่วยเอามาลงให้ด้วยครับ
โดยคุณ Jane เมื่อวันที่ 22/02/2010 05:21:33


ความคิดเห็นที่ 3


นี่เป็นการทดสอบใช้น้ำ ลองดูเอาครับ ผมก็ไม่รู้เรื่องเท่าไรครับ

แต่เป็นของ โรลสลอยด์
http://www.youtube.com/watch?v=faDWFwDy8-U&feature=related

อันนี้ใช้ ทราย เทส ครับ 

http://www.youtube.com/watch?v=IMIkk-ZqUzM&feature=related

ผมรู้สึกว่าเวลาเค้าทำความสะอาดเครื่อง turbofan เค้าก็ใช้น้ำฉีดเข้าไปนะครับถ้าจำไม่ผิด แล้วน้ำก็ผ่านออกไปพร้อมสีคราบที่ชะล้างไปกับน้ำ สรกปรกทีเดียวเชียว
โดยคุณ UNFINISHED เมื่อวันที่ 22/02/2010 06:41:25


ความคิดเห็นที่ 4


1 ไม่มีหน่วยเป็นแรงม้า มีหน่วยเป็น LB. หรือ newton แปลงไม่เป็นด้วย

2 ใช้ Oil แน่นอน

3 เครื่องยนต์ เป็น turbo fan ใช้ อากาศ ไหลผ่านด้านนอกเครื่องยนต์ oil ฉีดไปตาม bearing ต่างๆ แล้วดูดเข้ามาทำให้เย็นโดย Fuel พร้อมกับอุ่น fuel ไปด้วย ใช้ nozzle เปิด หรือปิด เพื่อควบคุมความร้อน ของเครื่องด้วย (แบบคราวๆนะครับ)

4 compressor turbine ซัดเรียบ ไม่เหลือถึง combustion chamber แน่นอน

5 max AB ที่ sea level 40000LB/hr ไม่นับเป็นลิตร เพราะคนละหน่วยกัน แต่ แปลงได้ ต้องรู้ค่า ความหนาแน่น

โดยคุณ O.B. เมื่อวันที่ 22/02/2010 10:14:16


ความคิดเห็นที่ 5


อยากจะขอตอบตามความรูอันน้อยนิดนะครับพอดีว่าไม่ได้ทำงานเกี่ยวกะเครื่องบินเจทแต่ทำงานกะเรือที่ติดเครื่องแกซเทอร์ไบน์ (มันก็เหมือนกันละ)

1.ความเร็วรอบ ประมาณ 10000 รอบต่อนาที

2.ใช้ นมล. น้ำมันหล่อลื่นแน่นอนครับ ^__^ แต่ไม่รู้เครื่องบินใช้เกรดเดียวกะเรือผมรึป่าว

3.ระบายความร้อนโดยอากาศแน่นอนครับไม่มีใครเอาน้ำใส่ไปด้วยแน่ๆ

4.ฝนตกในเครื่องบินไม่มีปัญหาครับ เพราะว่า เครื่องยนต์ทำงานที่อุณหภูมิสูงมาก 1000กว่าองศาเซลเซียส ต่อให้เป็นน้ำอะไรก็ระเหยหมดครับ (แต่ถ้าน้ำเข้าระบบน้ำมันมีปัญหาแน่นอน T__T )  ส่วนในเรือจะที่อุปกรณ์ดักน้ำครับเนื่องจากขนาดเครื่องและจิปาถะครับเลยต้องมี

5.ที่เรือไม่มี  after burner ครับ ต้องรอถามผู้รู้ส่วนที่เรือเราไม่คิดเป็นกี่ลิตรต่อนาทีครับ เราคิด ที่กิโลลิตร ต่อชั่วโมงครับเปลืองกว่าเยอะ ^__^

หวังว่าจะเป็นปนะโยชน์ ต่อ จขกท. นะครับ

โดยคุณ tantawanlove เมื่อวันที่ 22/02/2010 11:23:45


ความคิดเห็นที่ 6


ผมคิดว่า  F-16  ใช้เครื่องยนต์  Turbo Jet  ไม่ใช่  Turbo Fan   นะครับ

 

Turbo Fan ใช้กับเครื่องบินโดยสาร เช่น 747  ฯลฯ

โดยคุณ Aloha เมื่อวันที่ 22/02/2010 20:17:52


ความคิดเห็นที่ 7


http://www.pttplc.com/TH/MSDS-th/Jp_8.htm

น้ำมันของ F-16 ใช้มาตราฐาน JP-8 ความหนาแน่นอยู่ที่ 
0.775-0.840 kg/L ครับ ถ้าใช้ AB 1 นาทีก็ประมาณ 390-360 ลิตร
แต่ JP-8 ราคาหน่วยงานรัฐซื้อตกลิตรละประมาณ 33  บาทครับ     

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 23/02/2010 02:04:21


ความคิดเห็นที่ 8


เครื่องยนต์ F-100-PW-220   เป็นเครื่องTurbofan Single Spool Low Bypass นะครับ
เครื่องยนต์ที่ใช้กับเครื่องบินโดยสาร จะเป็น Turbofan Hight Bypass ครับ เนื่องจาก ประหยัดนำ้มันกว่า ไม่ได้เน้นเรื่อง อัตราเร่งที่เฉียบพลัน เหมือนกันกับเครื่องยนต์ของเครื่องบินรบ
ลองดูที่ ยูทูป นะครับเรื่องการทดสอบเครื่องยนต์ มีเยอะครับ
โดยคุณ priwan เมื่อวันที่ 23/02/2010 06:55:33


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบพระคุณทุกท่านที่สระเวลาตอบกระทู้ ที่ผมตั้งอย่างสูงครับ ผมได้คำตอบที่ผมสงสัยในบางข้อก็จัดเจน ในบางข้อก็ยังงงครับ แต่ถ้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็ขอเชิญให้ตอบต่อนะครับ ผมยังรออ่านอยู่ครับ

ขอบคุณมากครับ

โดยคุณ juk เมื่อวันที่ 23/02/2010 21:12:58


ความคิดเห็นที่ 10


ยืนยันเช่นกันว่าใช้เครื่องยนต์ Turbo Fan  เดี๋ยวนี้ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา เครื่องบินเจ็ตที่ออกแบบตั้งแต่ปีนั้น หันมาใช้เครื่องยนต์ Turbo Fan กันหมดแล้ว  ไม่เห็นมีแบบไหนใช้ Turbo Jet เลย สาเหตุหลักก็คงมาจาก 

1.Turbo Jet ระบายความร้อนได้ไม่ดี  ควบคุมการระบายความร้อนยาก เพราะไม่มีกระแสอากาศเย็นไหลผ่าน  บางครั้งต้องใช้น้ำช่วย    บ่อยครั้งที่เกิดปัญหาเครื่องยนต์ระเบิด    (อย่างของ เอฟ 5 ต้องมีช่องรับอากาศข้างๆ เครื่องยนต์เพื่อระบายความร้อน

2.Turbo Jet กินน้ำมันมากที่ความเร็วต่ำ  เพราะกลีบใบพัดมีขนาดเล็ก กินอากาศน้อย  ทำให้ที่ความเร็วต่ำ อากาศเย็นที่ดูดเข้ามีน้อยกว่า

จากข้อเสียดังกล่าวนักออกแบบจึงแก้ปัญหาด้วยการติดใบพัดขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าเครื่อง Turbo Jet  จึงกลายมาเป็นเครื่อง Turbo Fan และออกแบบให้เปลือกเครื่องยนต์มี 2 ชั้น โดยชั้นในเป็นส่วน Turbo Jet  ส่วนชั้นนอกจะใช้อากาศที่เหลือจากที่เข้าไปในส่วนเผาไหม้ มาใช้หล่อเย็นเปลือกชั้นใน  และยังให้แรงขับดันอีกด้วย  ซึ่งข้อดีที่เกิดขึ้นคือ

1.เครื่องไม่ร้อนจนเกินไป ควบคุมอุณหภูมิได้ดีเพราะมีกระแสอากาศเย็นคอยหล่อเย็น    ไม่ค่อยพบปัญหาเครื่องยนต์ Turbofan ระเบิดจากความร้อนที่มากเกินไป

2.ประหยัดน้ำมันแม้บินด้วยความเร็วต่ำ  เพราะกลีบใบพัดของ Fan ด้านหน้าที่มีขนาดใหญ่กินอากาศได้มาก  ทำให้มีอ๊อกซิเจนถูกพัดเข้าไปในห้องเผาไหม้อย่างเพียงพอ   ทั้งยังเหลือออกมาใช้หล่อเย็นเครื่องยนต์และใช้เป็นแรงขับในการบินได้ด้วย   กล่าวได้ว่า  ประมาณ 90 % ของแรงขับเครื่องยนต์ TurboFan มาจากส่วนที่เป็น Turbo Jet  ส่วนอีก 10 % เป็นแรงขับที่ได้มาจากใบพัดขนาดใหญ่นั่นเอง

  จำได้ประมาณนี้ อ่านจากวิกีน่ะ

 

โดยคุณ zeroman เมื่อวันที่ 26/02/2010 03:39:06


ความคิดเห็นที่ 11


ข้อสังเกต

F86   บินครั้งแรก 1947  ใช้ TurboJet

F-102  บินครั้งแรก 1953 ใช้ Turbo Jet

Lightning ของอังกฤษ ,F-104 บินครั้งแรก 1954 ใช้ Turbo Jet

F-105,MiG-21  บินครั้งแรก 1955 ใช้ Turbo Jet

F-106 ,Mirage III  บินครั้งแรก 1956 ใช้ Turbo Jet

F-4   บินครั้งแรก 1958 ใช้ Turbo Jet

F-5  บินครั้งแรก 1959 ใช้ Turbo Jet

F-111   บินครั้งแรก 1964 ใช้ Turbo Fan

MiG-25 บินครั้งแรก 1964 ใช้ TurboJet

MiG-23 บินครั้งแรก 1967 ใช้ TurboJet

F-14 บินครั้งแรก 1970 ใช้ Turbo Fan

F-15 บินครั้งแรก 1972 ใช้ TurboFan

F-16 , Tornado บินครั้งแรก 1974 ใช้ TurboFan

MiG-29 บินครั้งแรก 1977 ใช้ TurboFan

F-18 , Mirage 2000 บินครั้งแรก 1978 ใช้ TurboFan

MiG-31 บินครั้งแรก 1975 ใช้ TurboFan

ค่ายตะวันออกจะตามหลังตะวันตกอยู่หลายปีเหมือนกัน

โดยคุณ zeroman เมื่อวันที่ 26/02/2010 04:07:53