อยากทราบว่าในสมอรภูมิ สามารถยิงทหารอีกฝ่ายที่กำลังโดดร่มลงมาได้มั้ยครับ
ผมเคยได้ยินมาว่ามีสนธิสัญญาเจนิวา ว่า ห้ามยิงทหารที่กำลังโดดร่มอยุ่ ไม่ทราบว่าเป็นจริงป่าวครับ
จะรอดูคนที่กำลังลอยลงมา แล้วถือปืนมาด้วย แถมเมื่อถึงพื้นเขาก็จะเอาปืนนั้นมายิงเรา.......แต่ผมคงไม่รอนะครับ ในสงครามจริงๆ ก็คงไม่มีใครรอหรอกครับ ต่อให้ประเทศที่มันลงนาม ก็คงไม่รอ
ผมว่าไม่ผิดครับ
รองคิดดู เครื่องบิน บินผ่านน่านฟ้า แล้วมีปืนต่อสู้อากาศยาน ยิงสวนขึ้นไป ขนาดเครื่องบิน ยังตก แล้วคนที่โดดลงมา ใครถูกหวยเข้าไป ก็โดนไปเต็ม ๆ เอาแค่ปืนต่อสู้อากาศยาน แล้วถ้ารอด เจอพวกทหารด้านล่างอีก ทหารด้านล่างคงไม่มีใครใจเย็น ยืมฉีกยิ้มรอจนกว่า พลร่ม เท้าแตะพื้น แล้วมายิงแลกกระสุนปืนกันแน่ครับ
ผมคิดว่าจุดที่ พลร่ม จะโดนลงมาน่าจะวางตำแหน่งกันไว้แล้ว ว่าจุดนั้นมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ถึงทำการกระโดดจากตัวเครื่องบิน
แต่ถ้าเป็นทหารเรือ ที่เรือแตก ถูกจม แล้วมีทหารที่รอดจากเรือจม รอยคอ อยู่กลางทะเล ผมว่าน่าจะมีกฎ ไม่ให้ทำการยิงนะครับ เพราะทหารเหล่านั้นไม่มีอาวุธ มีเสื้อชูชิพ อย่างเดียว ถ้าจับเอาไว้เป็นเชลยจะดีกว่า
ภาพยนต์สารคดีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุทธการมาเก็ตการ์เด้น ทหารพลร่มฝ่ายสัมพันธมิตร กระโดดร่มลงในฮอลแลนด์ ทหารเยอรมันยืนยิงสอยพลร่ม ที่ลอยอยู่กลางอากาศ ถ่ายมาเป็นภาพยนต์ข่าวเลยครับ รู้สึกว่าจะเป็นหน่วยพลร่มโปแลนด์อิสระ ที่ส่งไปเป็นกำลังเสริมเพื่อช่วยกองพลส่งทางอากาศที่1 ของอังกฤษ ที่ถูกปิดล้อมอยู่ เหตุเพราะความผิดพลาดทางการข่าวของจอมพลมอนตาโกเมอรี่ เมืองที่พลร่มอังกฤษกระโดดลงไปยึด บังเอิญดันมีกองพลแพนเซอร์ถูกส่งมาพักผ่อนจากการรบพอดี พลร่มอังกฤษก็เลยงานเข้า กองพลพลร่มซึ่งเป้นหน่วยรบเบา มาเจอกับกองพลรถถังทั้งกองพลโดยบังเอิญ หน้าประวัติศาสตร์จึงได้ถูกบันทึกไว้ถึงความสูญเสียอย่างหนักของพลร่มอังกฤษชนิดละลายทั้งกองพล เหลือหนีรอดข้ามแม่น้ำมาได้ประมาณ 2000 คน จากทหารหมื่นกว่าคน ยุทธการมาเก็ตการ์เด้นเป็นความคิดของมอนตาโกเมอรี่ ที่จะหาทางยุติสงครามให้ได้ก่อนสิ้นปี ค.ศ. 1944 โดยใช้กำลังพลร่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วยกองพลพลร่มที่ 1 ของอังกฤษ กองพลส่งทางอากาศที่ 82 และ 101 ของอเมริกา กองพลพลร่มโปแลนด์อิสระ กระโดดร่มเพื่อเข้ายึดสะพานสำคัญหลายแห่งในฮอลแลนด์ เพื่อเปิดทางให้ขบวนรถถังของอังกฤษบุกข้ามผ่านฮอลแลนด์ไปยังเยอรมัน หน่วยพลร่มของอเมริกายึดสะพานได้ 1 แห่ง ส่วนอีกแห่งถูกระเบิดทิ้งก่อนที่จะข้ามสะพานได้ แต่ภาระกิจล้มเหลวก้ตรงที่อังกฤษเจอตอเข้านี่แหละครับหรือถ้าใครได้มีโอกาสดูหนังเรื่อง A Bridge so far ก้มีฉากนี้เช่นกัน หนึ่งในหนังสงครามคลาสิคเลย ใครยังไม่มีโอกาสได้ชม ต้องหามาชมน่ะครับ ณอนคอนเนอรี่ ถ้าจำไม่ผิดเล่นเป็นผบ.พลร่ม Red Devil กองพลส่งทางอากาศของอังกฤษ น่าหาซื้อมาสะสมไว้
อย่างที่หลายๆท่านว่าละครับ
ปตอ.ต้องยิงขึ้นไปสอยบ. แล้วพลร่มที่โดดลงมาลอยทื่อๆจะไม่ไปขวางทางกระสุนได้ยังไง? ถ้าไต่สวนไอ้ฝ่ายที่ยิงก็จะหาว่า "ผมยิงใส่บ.ไม่ใช่พลร่ม"แบบเนี้ย 555
ถ้าตามตัวหนังสือในสนธิสัญญา เจนิวา ก็คงห้าม
แต่ในทางปฏิบัติแล้วผมว่า ยาก กับการจะทำตามสนธิสัญญาทุกข้อ
เพราะต่างฝ่ายก็คงจะหาทางเอาชนะกัน ซึ่งทำทุกวิถีทาง
ยุทธการ มาเก็ตกาเดน เป็นการยุทธส่งทางอากาศ ที่ขั้นตอนการรวมพลหลังการลงพื้น ถือว่า ทำได้ดีมากๆ(ซึ่งต่างจากคราวโดดหลังหาดใน ยุทธการ โอเวอร์โหลด หรือที่เราๆรู้จักกันในนามวัน ดี-เดย์) ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเป็นการกระโดดเวลากลางวัน และภัยคุกคามต่ออากาศยานมีต่ำ(ตรงกันข้ามกับตอนโดดคราว ยุทธการโอเวอร์โหลด) แต่ขั้นการปฏิบัติหลังจากนั้นถือว่าล้มเหลว เพราะปัจจัยอื่นที่ตามมา เช่น สะพานในเขตความรับผิดชอบของ อเมริกัน(ไม่แน่ใจว่า 101 หรือ 82 แต่น่าจะเป็น 82)โดนระเบิดก่อนที่จะเข้ายึดได้ รวมถึงความล้าช้าอื่นๆ ส่งผลให้ กองทัพน้อยที่ 30 ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปถึง อาร์นเฮม(จุดปลายสุด ที่เป็นเป้าหมายของ กองพลส่งทางอากาศ อังกฤษและโปว์แลนด์) ได้ทันตามแผน ประกอบกับ "คนจะซวยช่วยไม่ได้" เยอรมันดันส่งกองพลแพนเซอร์(ยานเกราะ)มาพักผ่อนพอดี(จริงๆแล้วบรรดาเหล่านักบิน สการ์ เอ๊ย"เรกเก้"ได้ถ่ายภาพยานเกราะแถว อาร์นเฮม มาแล้ว แต่ผู้วางแผนไม่อยากยกเลิกการปฏิบัติเหตุเพราะ รูปถ่ายแค่ไม่กี่รูป ผล ก็ดังที่เราทราบ ถึงขั้นหน่วยละลาย)