หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ผู้บังคับบัญชาสามารถยิงทิ้งทหารที่หนีทัพได้ไหมครับ

โดยคุณ : Condor เมื่อวันที่ : 27/02/2010 01:11:26

หรือต้องจับตัวมาขึ้นศาลทหารตัดสินโทษครับ




ความคิดเห็นที่ 1


ได้ครับ ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญทหารเค้าบอกไว้ครับ จำได้คร่าวๆว่า หากทหารแสดงความขลาดกลัวหรือวิ่งหนีทหารข้าศึกต่อหน้าข้าศึกให้ยิงทิ้งได้ครับหรือจับตัวมาก็ต้องโทษประหารอยู่ดีครับเพราะเป็นการแสดงความขลาดกลัวต่อหน้าข้าศึกครับ

หรือถ้าทหารผู้นั้นแสดงความขลาดกลัวต่อข้าศึกแต่ไม่แสดงออกระหว่างประจันหน้ากันท่านบอกว่าให้จับกุมตัวมาลงโทษสถานหนักแนวหลังครับ จำได้คร่าวๆเท่านี้น่ะครับ

โดยคุณ champ thai army เมื่อวันที่ 23/02/2010 03:18:13


ความคิดเห็นที่ 2


ขึ้นศาลทหารอย่างเดียวโทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การยิงทิ้งฝ่ายเดียวกันมีแต่จะทำให้ทหารเสียขวัญ น่าจะมีประเทศเดียวที่ฆ่าทิ้งคืออดีตสหภาพโซเวียต
โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 23/02/2010 08:05:28


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าเป็นขอไทยผมอยากทราบครับว่ากฏหมายหรือธรรมนูญของทหารข้อไหนที่ระบุไว้ให้ ผบ.มีสิทธิยิงทิ้งทหารที่หนีทัพได้ครับ อยากทราบจริงๆ �หรือนึกเอาเองครับ
โดยคุณ janus เมื่อวันที่ 23/02/2010 10:24:47


ความคิดเห็นที่ 4


ยิงได้ครับเเต่เป็นการยิงโดยประหารชีวิตครับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารในหมวด 2 ซึ่งมีหลายมาตราโดยเเต่ละมาตราจะเเยกเป็นเเต่ละฐานความผิดไว้ โดยจะมีโทษทั้งทหารชั้นประทวนเเละสัญญาบัตร

เเต่ถ้ายิงทิ้งจริงๆนี่ต้องมาตรา 46 คือถ้า หนีราชการทหารเเล้วไปอยู่กัยศัตรูเพราะโทษถึงตาย(แต่ไม่ได้บอกว่าตายอย่างไร)คงยิงเลยมั้งครับ 55+

ถ้าท่านใดอยากศึกษาประมวลกฎหมายทหารเข้าไปได้ที่ http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%bb07/%bb07-20-9999-update.pdf เป็นฐานข้อมูลกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาครับ

 

โดยคุณ ballkung เมื่อวันที่ 23/02/2010 23:21:59


ความคิดเห็นที่ 5


ไม่ใช่แค่โซเวียตนะครับเยอรมันด้วยในสมัยสงครามโลกครั้งที่2ครับ
ส่วนอเมริกาก็เคยประหารทหารหนีทัพ 1 นายในสมัยสงครามโลกจำได้ว่าเคยอ่านเจอในหนังสือสงครามโลกครั้งที่2สยองขวัญ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 23/02/2010 23:57:29


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้าเป็นสมัยก่อนเช่นกองทัพโรมัน หากหนีทัพกันคนสองคน ก็จะโดนทุบจนตายต่อหน้าหน่วยของตัวเอง

แต่ถ้าหนีกันยกกระบิ จะโดนวิธีสิบเอาหนึ่ง (Decimatio) ผู้โชคร้ายคนเดียวจะโดนอีก 9 คนรุมตีด้วยไม้กระบองจนตาย แล้วที่เหลือต้องอดข้าวเย็น และออกไปนอนนอกค่ายด้วย ทั้งนี้ไม่สนว่าคนที่ซวยจะยศสูงขนาดไหนหรือมีฝีมือการต่อสู้เทพปานใด ได้เบอร์ซวย คือจบ ไม่ต้องอุทธรณ์

ทางเทคนิคทหารรัสเซียเลิกโทษยิงเ้ป้าทหารชาติเดียวกันไปตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แบบว่าที่ให้ขึ้นศาลแล้วศาลให้ยิงเป้าแบบนั้น

แต่ถ้าหนีโทษก็ไม่ต่างกันมาก ส่วนใหญ่ทหารที่ก่อคดี หรือหนี ถ้าไม่โดนยิงมันตรงนั้น ก็จะถูกจับส่งไปทำงานเสี่ยงๆ เช่นเป็นกองกำลังเหยื่อล่อ (เท็น-โก แบบรัสเซีย ไปเที่ยวเดียวกลับ) หรือเคลียร์กับระเบิดแบบคลื่นมนุษย์ ไม่ก็จับทำ Decimatio เหมือนกันกรณีืทั้งหน่วยแตกหนี จาก Stalingrad ของ Anthony Beevor

สงครามโลกครั้งที่สองทหารอเมริกันหนีทัพกว่า 20,000 คน แต่ยิงเป้าพลทหารเอ็ดดี้ สโลวิกเพียงคนเดียวตั้งแต่สงครามกลางเมืองเป็นต้นมาครับ



โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 24/02/2010 00:47:42


ความคิดเห็นที่ 7


ประมวลกฎหมายอาญาทหาร

มาตรา 46  ผู้ใดกระทำความผิดฐานหนีราชการ ท่านว่ามันต้องระวางโทษตามสมควรแก่เหตุ  ดังจะว่าต่อไปนี้ คือ
๑)  ถ้ามันหลบหนีไปเข้าอยู่กับพวกราชสัตรู ท่านว่าโทษมันถึงตาย
๒)  ถ้ามันกระทำความผิดนั้นต่อหน้าราชสัตรู ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันไว้ตลอดชีวิต หรือมิฉะนั้นให้จำคุกมันไว้ยี่สิบปี
๓)  ถ้ามันกระทำความผิดนั้น ในเวลาหรือที่อื่นนอกจากที่ว่ามาแล้ว ท่านให้ลงอาญาจำคุกมันผู้กระทำผิดนั้นไว้ ไม่เกินกว่าห้าีปี

เพิ่มเติม

มาตรา ๖  ผู้ใดต้องคำพิพากษาศาลทหารให้ลงอาญาประหารชีวิต  ท่านว่าให้เอาไปยิงเสียให้ตาย

ข้อมูลจาก  ประมวลวินัยทหาร ภาคที่ ๑  ว่าด้วยการปกครอง


โดยคุณ bravo544 เมื่อวันที่ 24/02/2010 01:05:00


ความคิดเห็นที่ 8


ขอบคุณท่านที่เข้ามาให้ข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ สุดท้ายก็ต้องให็ศาลเป็นผู้ตัดสิน
โดยคุณ janus เมื่อวันที่ 24/02/2010 12:39:06


ความคิดเห็นที่ 9


เท่าที่จำได้ ผู้บังคับบัญชาของทหารผู้นั้นสามารถยิงได้เลยนะครับ แต่ขออภัยที่จำประมวลไม่ได้เสียแล้ว

ลักษณะความมุ่งหมายของมันไม่ใช่การแสดงความโหดร้ายหรือถ่อยทรามนะครับ แต่เป็นการควบคุมกองรบในภาวะการใกล้แตกทัพ หรือในภาวะที่เสียขวัญอย่างสุดขีด

ในสภาวะการรบอย่างรุนแรง เริ่มมีการสูญเสียเกิดขึ้นอย่างเท่าทวี กำลังพลจะเริ่มมีความกดดัน ทหารจะเริ่มคิดเอาตัวรอด ซึ่งสภาวะดังกล่าวนอกจากจะเป็นภาวะความเป็นความตายของกองรบของตัวเองแล้ว ยังเป็นภาวะล่อแหลมต่อกองรบที่วางกำลังเกี่ยวพันธ์กันกับกองรบของเราด้วย

การที่ทหารนายหนึ่งทิ้งอาวุธและผละออกจากแนวรบในลักษณะตื่นตระหนก จะเป็นการลดทอนกำลังใจของเพื่อนทหารในแนวรบเป็นอย่างมาก ความคิดที่จะเอาตัวรอดที่ซ่อนอยู่ในก้นบึ้งหัวใจของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามจะผุดขึ้นมาทันที่ ดังนั้นที่ทหาร 1 นายจะทิ้งอาวุธและวิ่งหนีออกจากสนามรบจึงเป็นสิ่งที่ยอมไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะแนวรบทั้งแนวอาจพังทลายลงได้เพียงเพราะคนคนเดียว พาให้เพื่อนที่มีใจรุกรบต้องถูกโอบล้อม ซึ่งอาจมีผลสำคัญต่อยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณนั้นเลยที่เดียว ทั้งๆที่ฝ่ายเราอาจจะยังไม่เพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายตรงข้ามสักนิดเลยก็ได้ เหตุอาจเกิดเพียงเพราะทหารคนเดียวเห็นเพื่อนข้างตัวตายไปสองสามคนแล้วเกิดเสียขวัญคิดว่าไม่ไหวแล้วต้องตายแน่ๆเลยทิ้งปืนวิ่งหนี

กระผมจำโทษของประมวลไม่ได้แน่ แต่คลับคล้ายคลับคลากับวลีที่ว่า หนีทัพต่อหน้าอริราชศัตรูครับ 

โดยคุณ Ifeelsogood เมื่อวันที่ 26/02/2010 13:46:27


ความคิดเห็นที่ 10


ขอบคุณครับในความรู้

 

แต่ในโลกของความเป็นจริงมันก็ว่ากันไปครับ

 

 

ส่วนตัวแล้วตั้งแน่วแน่ และประกาศให้ คนในความควบคุมรู้ด้วยสิว่า

หากแม้น กระสุนหรืออุปกรณ์สิ่งใดของฝ่ายตรงข้ามที่หมายชีวิตฝ่ายเราแล้วไซ้ มันสำแดงฤทธิ์ ตราบนั้น หากแม้นฝ่ายเราในความควบคุมของผม และผมยังมีแรง กระดิกไกปืน ยังมีแรงต่อสู้แล้วไซ้ มันผู้นั้นหากอยู่ไกลเกิน 50 เมตร(โดยประมาณ)  แถมบวก เฮดดิ่ง ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อฝ่ายเดียวกันแล้ว  "ยิงหมด"              

 

ตัวหนังสือมันดิ้นได้ครับ  หากมีชีวิตรอดหรือไม่ก็ตาม

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 26/02/2010 14:11:24