คือจากการที่ผมเคยตั้งกระทู้เกี่ยวกับการรับมือในพระนครกรุงเทพจนเป็นที่กระจ่างแล้วทีนี้ผมเลยนึกคิดเล่นๆให้พี่ปวดหัววิเคราะห์กันอีกซักหน่อยนะครับว่า
สมมุตินะครับสมมุติ ในการสกัดทัพพม่าตามแนวชายแดนในสงครามเก้าทัพเกิดไม่ได้ผลไม่สามารถหยุดทัพพม่าไว้ได้ พม่าสามารถตีหักด่านชายแดนของเราเข้ามาได้ กองทัพหลวงทั้ง6ทัพต้องถอยหนีกลับมาตั้งรับที่พระนคร อยากทราบว่าถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้พม่าเดินหน้าเข้ามาล้อมกรุง กรุงเทพของเราจะรับศึกพม่าอย่างไรดีครับ เราจะสามารถเกณฑ์หัวเมืองเหนือ (ไม่ทราบว่าตอนนั้นเสียให้พม่าหรือยัง)และกำลังจากล้านช้างและกัมพูชาเข้ามาช่วยได้หรือไม่ครับ และเราควรจะวางยุทธศาสตร์ในการรับมือทัพพม่าที่มีมากกว่าทัพหลวงได้อย่างไรครับ เพราะกำลังหลักส่วนใหญ่ก็ส่งไปสกัดพม่าที่ชายแดนแล้ว เหลือแต่ทัพหลวงที่อยู่รักษาพระนครซึ่งคาดว่าจำนวนกำลังพลคงน้อยกว่าอยู่ดี หน่วยสนับสนุนที่คิดว่าเข้ามาช่วยเหลือกรุงเทพได้ ความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในกรณีที่เอากรุงเป็นที่ตั้งรับทัพพม่าเหมือนในสมัยอยุธยา คิดว่ากรุงเทพควรรับมือทัพพม่ายังไงดีครับ
ป.ล.คำถามให้มาคิดเล่นๆให้ปวดหัวเล่นครับว่างๆพี่ๆช่วยวิเคราะห์หน่อยนะครับ เพราะกำลังของเราน้อยกว่ากำลังของพม่ามากเลยครับ
2.ผมอยากทราบว่า สมมุติอีกและ เราเอาเครื่องพารามอร์เตอร์บินข้ามจังหวัดได้มั๊ยครับเราต้องขออนุญาติหอบังคับการบินเหมือนเครื่องบินหรือเปล่าครับหรือว่าบินผ่านได้เลย และเครื่องพารามอเตอร์นี่สามารถทนแรงลมได้กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมงครับ ฝนตกทำการบินได้หรือเปล่าครับ
3.สมมุตินะครับ จรวดนำวิถีนี่สามารถล็อคเป้าเครื่องพารามอร์เตอร์ได้หรือเปล่าครับ อันนี้อยากรู้จริงๆเพราะมันบินได้แต่ไม่รู้ว่ามิสซายจะล็อคเป้าให้หรือเปล่า
ป.ล.ของป.ล.ขอบคุณมากครับ
ตามความคิดน่ะ
ถ้ารอบให้พม่ารามันมาล้อมเมื่อไรก็เท่ากับรอความพ่ายแพ้เท่านั้นแล
แต่
ด้วยความสามารถของพระเจ้าตากสินมหาราช ประกอบกับการไม่ชำนาญพื้นที่ของพม่ารามัน(ไม่เคยมาล้อมกรุงเทพเลย) ผมว่าพอสู้ได้ครับ
สงครามเก้าทัพสมัยรัชกาลที่ 1 นะครับ...
ผลแพ้ชนะที่เกิดจากการนี้ผมเชื่อว่าเพราะการใช้ยุทธวิธีเน้นกำลังและการยกมาหลายทางเกินไปของพม่า... หากไม่ใช่เพราะพระปรีชาที่ยกทัพไปรับศึกนอกเมืองแล้วละก็ ลองคิดดูว่าหากพม่ามารวมกันได้ที่กรุงธน อะไรจะเกิดขึ้น
และผมเชื่อว่าหากสมัยนั้นมีโทรศัพท์ใช้ ผลของสงครามอาจไม่ใช่เช่นนี้..
และหลังจากสงครามเก้าทัพไม่นานพม่าก็รวมตัวกันบุกมาเป็นทัพใหญ่อีกระลอกนะครับ...
และบุคคลที่สำคัญในสงครามเก้าทัพที่ลืมไม่ได้คือพระยาสุรสีหนาท จอมทัพผู้ปรีชา...
เห็นด้วยและขอเพิ่มเติมท่านอีแอบครับ...
การพ่ายแพ้ของพม่าคราวนั้น เกิดจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของกำลังพลที่มีถึง 144,000 นาย ที่มีมากกว่าถึง 2 เท่า (70,000 นาย) การประสานงานระหว่างทัพเป็นไปอย่างยากเย็น เนื่องจากเปิดศึกหลายด้านเกินไปทำให้เข้าตีได้ไม่พร้อมกัน ผิดกับทัพกรุงเทพฯ ที่มีการข่าวที่ดีกว่า และจัดลำดับความสำคัญของข้าศึกว่าจะตีทัพไหนก่อนไหนหลัง...คราวนั้นทัพกรุงเทพฯ รบได้เข้มแข็งมากเพราะหากพ่ายแม้แต่ศึกเดียว กรุงเทพฯ คงมีสภาพไม่ต่างจากกรุงศรีฯ.....แม่ทัพใหญ่ผู้มีบทบาทสำคัญคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท หรือวังหน้าพระยาเสือนั่นเอง...สักการะดวงพระวิญญาณพระองค์ท่านได้ที่วัดชนะสงครามแถวๆ ถ.ข้าวสาร ที่โปรดฯให้สร้างเป็นอนุสรณ์แก่ศึกนั้น...ครับผม
ขอแก้นิดนึงครับ...วัดชนะสงครามเดิมชื่อวัดกลางนาแล้วเปลี่ยนเป็นวัดตองปุ สมเด็จวังหน้าท่านได้ปฏิสังขรณ์แล้วพระราชทานนามว่า"วัดชนะสงคราม" คราวสงครามเก้าทัพครับ
นั่นคืออดีต ที่พระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ทรงทำไว้
ถามถึงสมัยเรา
การพ่ายแพ้ของพม่าคราวนั้น เกิดจากการที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของกำลังพลที่มีถึง 144,000 นาย ที่มีมากกว่าถึง 2 เท่า (70,000 นาย) การประสานงานระหว่างทัพเป็นไปอย่างยากเย็น
^
^
นี้คือปัญหาที่แม้ปัญจุบัน ฝ่ายเราเองต้องคิด ไม่ต้องร้อนถึงพระมหากษัตริย์ แต่มันขึ้นอยู่กับ "พวกเรา" ไม่ต้องดึงพระองค์ลงมา
ตอนนี้ไม่ค่อยสบายเลยกินยาเข้าไปชักเบลอๆ วิเคราะห์ไม่ค่อยออกเลย แต่ว่า แนะนำถ้าอยากรู้ว่าสงครามเก้าทัพเขารบกันอย่างไร ตรงไหน ไปที่เมืองกาญจน์ เลยครับ เลยลาดหญ้าไปถึง ต.ช่องสะเดา เส้นทางไปเขื่อนศรีฯ จะมี พิพิธภัณฑ์สงคราเก้าทัพ อยู่ทางซ้ายมือเข้าไปประมาณ 500 เมตรถึง จะมีอาคารปรับอากาศอย่างดี มีกระบะทรายพร้อมผู้บรรยายโดย ทหารจากค่ายสุรสีห์ เป็นผู้บรรยายอย่างละเอียดยิบ รับรองไม่ผิดหวังครับ แถมสามารถแวะเที่ยว พร้อมมิตรสตูดิโอ ที่ถ่ายภาพยนต์เรื่อง นเรศวร ซึ่งอยู่ในบริเวณค่ายสุรสีห์ หรือเลยไปเที่ยวเขื่อนศรีฯ ได้อีกด้วย การเดินทางจากกรุงเทพฯ ก็แสนจะสะดวก ทั้งรถประจำทาง รถตู้โดยสาร รถส่วนตัว หรือเหมารถไปได้ทั้งนั้นครับ
หรือ ป๋าโรนิน จะมี้ทติ้ง แถวเมืองกาญจน์ แล้วไปเที่ยวต่อก็ได้นะครับ(นั่น เข้าเรื่องให้พวกมา มี้ทติ้ง ใกล้ๆซะงั้น 555)
ถ้าให้เดา ขอเดาดังนี้
1.. สมมติแนวตั้งรับที่ทุ่งลาดหญ้าไม่สามารถทานทัพพม่าได้ พม่าก็ไม่สามารถจะเดินทัพได้สะดวกอยู่ดีครับ เพราะทัพทางกรุงเทพฯ ชำนาญพื้นที่มากกว่า สามารถแบ่งกำลังออกเป็นกองโจรเพื่อตีตัดเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย และ ยุทโธปกรณ์ของพม่าได้ตลอดเส้นทาง
ในขณะเดียวกันก็จะส่งหน่วยหลัก ๆ ไปตั้งรับอยู่รอบ ๆ พระนครได้ทันเวลา อย่าลืมว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พระองค์ทรงเคยดำรงตำแหน่งเป็น ยกกระบัตรเมืองราชบุรี มาก่อนนะครับ
และในช่วงที่ยังดำรงพระยศเป็น หลวงยกกระบัตร นั้น ก็ทรงใช้วิธีซุ่มหลบพม่าจนรอดการกวาดต้อนมาได้แล้ว
เพราะฉะนั้นจุดไหนบ้าง แหล่งไหนบ้าง ที่จะซุ่มโจมตี และทำลายไม่ให้เป็นแหล่งเสบียงอาหารได้ พระองค์น่าจะทรงทราบดีครับ
2. ปัจจัยทางด้านเหนือ พม่าไม่มีความได้เปรียบต่อสยามเลยครับ ผมให้เป็นศูนย์ได้เลย เผลอ ๆ จะติดลบเอาด้วยซ้ำไป
เพราะพื้นที่ทั้งหมด พระเจ้าเชียงใหม่(เจ้ากาวิละ)ทรงสถาปนาแนวตั้งรับไว้ดีแล้ว ถ้าจะออกทางแม่ละเมา(จ.ตาก) ก็จะเจอทัพของ สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานภิมุข(กรมพระราชวังหลัง) ซึ่งก็ทรงชำนาญการศึกมากพระองค์หนึ่ง(ชำนาญขนาดไหน ลองไปอ่านเหตุการณ์ปลายกรุงธนฯดู ตลอดจนถึงเกือบ ๆ จะสิ้นสุดรัชกาลที่ ๑ ด้วย)
นอกจากนี้ก็ยังมีกำลังเสริมจาก หลวงพระบาง และ เวียงจันทน์(เจ้าอนุวงศ์สมัยยังภักดีกับสยาม) เพราะฉะนั้นแนวต้านทานด้านภาคเหนือ จนถึงภาคกลางตอนบน พม่าเข้ามาก็ไม่มีประโยชน์ครับ
3..แนวด้านใต้ ตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่พม่าได้เปรียบมากที่สุด เพราะกำลังไปต้านทานน้อยที่สุด(แถมแม่ทัพยังอ่อนแอที่สุดด้วย)
แต่พม่าก็ไม่ได้วางกำลังหลักไว้ตรงนี้มาก ถ้าจะขนคนกลับมาใหม่ก็เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ อีกหลายเดือนกว่าจะกลับมาได้ แถมถ้าเดินทัพกลับไป ก็คงโดนทัพสยามตามตีแตกอีก เพราะฉะนั้นแนวนี้ก็ให้เป็นศูนย์ได้อีกเช่นกัน
(ยังไม่รวมทัพเสริมจากหัวเมืองปักษ์ใต้ ที่ไม่ได้เกณฑ์ขึ้นมาอีกนะครับ)
4.. รูปการณ์ที่ผมเดา ถ้าสมมติปล่อยพม่าเข้ามาให้อยู่กระจายในพื้นที่ภาคกลาง
คงไม่แคล้วเป็นแบบศึกเมืองพระพิษณุโลก คราวอะแซหวุ่นกี้(แพ้ทางพฤตินัยให้กับ ร.๑) นั่นเอง
คือกำลังคนเยอะ เอาเข้ามาเยอะ แต่หาอะไรกินไม่ได้ คนเยอะก็ต้องกินเยอะ แต่ไม่มีเสบียง เมืองก็ตีไม่ได้
กำลังก็โดนแบ่งไปหลายส่วน แถมมาช่วยหนุนไม่ได้ด้วย
รบก็ไม่แตกหักสักที ขวัญกำลังใจทหารถดถอย ก็มีแต่รอวันแพ้ครับ
เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่า ร.๑ ทรงวางหมากไว้สองชั้นแน่ ๆ ครับ
ผมว่า ถ้าพระเจ้าปดุงหลุดมาภาคกลางได้จริง ๆ เผลอ ๆ จะละลายทั้งกองพลครับ
# คุณอีแอบ
ผมว่า คุณอย่าไปลดพระยศของสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เลยนะครับ ควรพิมพ์พระนามพระองค์ให้เต็มจะดีกว่า
และพระองค์ท่านก็ไม่ใช่แค่ พระยา นะครับ แต่เป็นที่วังหน้า หรือก็คือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ครับ
ตรงนี้จะว่า sensitive ก็ได้นะครับ ไม่บังควรเป็นอย่างยิ่งครับ เตือนกันนะครับในฐานะเพื่อนกัน
ไอเดียท่านเด็กทะเลก็ไม่เลวนะครับ...มีตติ้งเชิงอนุรักษ์ กินเหล้าเคล้าความรู้...จัดให้เหมาะแบบเช้าไปเย็นกลับ....ไปถึงจุดรวมพลก็เช้ากินข้าวกินปลาเหล้าซักเป๊กแก้ร้อน....แล้วไปดูพิพิธภัณฑ์กัน...กลับมาจุดรวมพลอีกทีก็จิบอีกซักเป๊กสองเป๊ก แล้วค่อยสลายตัว รถราก็ไม่ต้องเอาไปแชร์ค่ารถตู้กัน ค่าใช้จ่ายคงไม่เท่าไหร่...
ขอบคุณทุกความคิดเห็นมากๆเลยครับ สรุปว่า ถึงแม้พม่าจะฝ่าแนวป้องกันมาได้ แต่ก็ต้องมาตายเพราะไม่สามารถใช้กำลังที่เหนือกว่ามาเป็นประโยชน์ได้ แล้วพระปรีชาสามารถของ ร.1 กับสมเด็จเจ้าวังหน้า ก็วางหมากกลยุทธไว้หมดแล้วเป็นที่น่าภาคภูมิใจมากเลยครับ ทหารไทย ไม่ว่าจะยุคไหน สมัยไหน ความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ฉลาดกล้าหาญ การเป็นนักรบในสายเลือดก็ยังคงอยู่ไม่มีวันเสี่อมคลายจริงๆครับ
แต่ผมยังสงสัยอยู่อย่างนึงครับ ถ้าทัพทางใต้ไม่ยกมาช่วยตอนเมืองหลวงถูกล้อม จะเข้าข่ายแข็งเมืองหรือเปล่าครับ แล้วทัพของเจ้ากาวิละ เชียงใหม่ ถ้ากรุงโดนล้อมจริงๆ จะยกทัพมาช่วยกรุงเทพฯทันหรือเปล่าครับ แล้วกรุงกัมพูชา ตอนนั้นอยู่ในฐานะเมืองประเทศราชของเราใช่หรือไม่ครับ และคิดว่าเจ้าเมืองตอนนั้น จะยกทัพมาช่วยสยามหรือไม่ครับ(ปัจจุบันคงไม่หรอกครับแถมยังเหยงๆ อยุ่ทุกวันเหอะๆๆ ต่างกันจริงๆ)
ป.ล.ขอบคุณมากๆครับ
2.ผมอยากทราบว่า สมมุติอีกและ เราเอาเครื่องพารามอร์เตอร์บินข้ามจังหวัดได้มั๊ยครับเราต้องขออนุญาติหอ บังคับการบินเหมือนเครื่องบินหรือเปล่าครับหรือว่าบินผ่านได้เลย และเครื่องพารามอเตอร์นี่สามารถทนแรงลมได้กี่กิโลเมตรต่อชั่วโมงครับ ฝนตกทำการบินได้หรือเปล่าครับ
ตอบ ผมเคยเห็นเขาบินจากกรุงเทพไปชะอำ พอถึงเวลาจะบินก็บินไปเลยเดาว่าไม่ต้องขอนะครับ และก็เคยเห็นเขาบินตอนฝนตกด้วยที่จังหวัดราชบุรีแถวๆค่ายภาณุรังษี ก็ไม่ยักรีบเอาเครื่องลง
3.สมมุตินะครับ จรวดนำวิถีนี่สามารถล็อคเป้าเครื่องพารามอร์เตอร์ได้หรือเปล่าครับ อันนี้อยากรู้จริงๆเพราะมันบินได้แต่ไม่รู้ว่ามิสซายจะล็อคเป้าให้หรือเปล่า
ตอบ เดาอีกแล้วว่า ด้วยความร้อนแค่นั้นผมว่าล๊อกไม่ได้ โลหะก็มีเพียงน้อยนิดคิดว่าไม่สะท้อนเรดาห์ การเกิดรีเฟล็กชั่นกับเนื้อหนังมนุษย์ก็คงน้อยมาก
ยุทธศาสตร์ของฝ่ายไทยในสงครามเก้าทัพ คือ การป้องกันไม่ให้กองทัพทั้ง ๙ ที่โอบลงมาจากทิศเหนือ และทิศใต้ ใช้กำลังประสานสอดคล้องกับทัพหลวงที่ยกพลตรงเข้าสู่กรุงเทพฯจากช่องด่านเจดีย์สามองค์ได้
ยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณหลัก(ทุ่งลาดหญ้า) คือ การยึดรักษาภูมิประเทศที่เป็นปากช่องเขาป้องกันไม่ให้ข้าศึกใช้กำลังที่มากกว่าดำเนินกลยุทธต่อปีกของฝ่ายเราได้ ทำให้กฏสัดส่วนของกำลังรบไม่มีผลในพื้นที่นี้(เหมือนกับการรบที่เทอร์โมฟีเลย์ ดูตัวอย่างได้จากหนังเรื่อง๓๐๐) ใช้กำลังกองทัพที่ ๒ กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาทเสด็จเป็นจอมทัพคุมไพร่พล ๓๐,๐๐๐ คน ต่อสู้กับกองทัพพระเจ้าปดุง(กลุ่มกองทัพหลัก ประกอบด้วยกองทัพที่ ๔, ๕, ๖, ๗, ๘ รวมเป็น ๕ กองทัพ ยกหนุนเนื่องติดตามกัน พระเจ้าปดุงเป็นจอมทัพกองทัพหลวง คือ กองทัพที่ ๘
ยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณรอง(นครสวรรค์) คือ การรั้งหน่วงกำลังกองทัพพม่าที่รุกจากทางทิศเหนือ เพื่อซื้อเวลาให้กับกองทัพที่ ๒ ใช้กำลังกองทัพที่ ๑ เจ้ากรมขุนอนุรักษ์เทเวทน์ กรมพระราชวังหลัง เดิมคือพระยาสุริยอภัย (ทองอิน) นำกำลัง ๑๕,๐๐๐ คน ออกไปขัดตาทัพ ที่เมืองนครสวรรค์ คอยป้องกันกองทัพที่ ๙ ของพม่าที่ยกมาทางด่านแม่ละเมา และ กองทัพที่ ๓ ของพม่ายกมาทางเชียงแสน ที่มีหน้าที่ตัดหัวเมืองเหนือให้ขาดจากภาคกลาง ตีลงมาตามลำน้ำปิง ตาก กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ลงมาบรรจบกับทัพหลวง
ยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณรอง(ราชบุรี) คือ การสกัดกั้นกำลังกองทัพพม่าที่รุกจากขึ้นมาจากทิศใต้และป้องกันปีกซ้ายให้กับกองทัพที่ ๒ใช้กำลังกองทัพที่ ๓ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ (บุญรอด) กับพระยายมราช คุมกำลังพล ๕,๐๐๐ คน ไปตั้งที่เมืองราชบุรีมีหน้าที่รักษาเส้นทางส่งกำลังบำรุงให้กองทัพที่ ๒ ของไทย และคอยต้านทานกองทัพที่ ๒ ของพม่า ที่เคลื่อนเข้ามาทางด่านบ้องตี้ และกองทัพที่ ๑ ซึ่งมีทั้งทัพบกและทัพเรือ เข้าตีหัวเมืองฝ่ายใต้
ข้อพิจารณาที่ควรสนใจ คือ
๑.ฝ่ายไทยมีการใช้กำลังอย่างมีแผน และใช้กำลังได้ประสานสอดคล้องกันมากกว่าฝ่ายพม่าซึ่งใช้กำลังเป็นเบี้ยหัวแตก วิเคราะห์จุดแตกหักของฝ่ายไทยไม่ออก ใช้กำลังอย่างสิ้นเปลือง การใช้กลยุทธเส้นทางนอกที่โอบซะไกลหรือตีที่หมายที่ไม่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์จนเกิดเป็นลักษณะของการใช้อำนาจกำลังรบของแต่ละกองทัพที่ไม่เกื้อกูลต่อกันและกัน
๒.ฝ่ายไทยกำหนดยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณหลักได้ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้กำลังตั้งรับที่มีการวิเคราะห์ภูมิประเทศที่เยี่ยมยอดต่างจากเดิมที่จะใช้กำลังตั้งรับโดยใช้กำแพงพระนคร ในความคิดส่วนตัวของกระผมแล้วคิดว่าสงครามเก้าทัพนี้เป็นสงครามที่คลาสสิคมาที่สุดสงครามหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ รวมไปถึงการใช้สงครามกองโจรที่ถือว่าคลาสสิคมากๆครั้งหนึ่งทีเดียว
๓.ยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณรอง สอดรับและสนับสนุนต่อยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณหลักอย่างเป็นผลและชัดเจน ซึ่งจะส่งผลตามข้อ ๑ กระผมสงสัยเหลือเกินว่าสมัยนั้นมีโรงเรียนเสนาธิการหรือไม่ ทำไมวิเคราะห์กันได้ขนาดนี้
๔.ที่ขาดไม่ได้คือ ความลักษณะผู้นำของแม่ทัพกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท และคนที่ประวัติศาสตร์มักลืม คือ พระองค์เจ้าขุนเณร ที่ได้บัญชาการรบอย่างเด็ดขาด และใช้ลักษณะผู้นำอย่างสูง
ผมคิดว่าถึงแม้พม่าสามารถเข้ามาถึงกำแพงเมืองได้ สยามก็สามารถเอาชนะได้ด้วยกลศึก เช่น เมื่อพม่าสามารถฝ่าแนวป้องกันของทหารที่ยกไปตั้งขัดตาทัพในทิศต่างๆนั้นได้ แต่ทหารที่ออกไปย่อมต้องมีหลงเหลือ ดังนั้นทหารเหล่านั้นซึ่งมีเลือดรักชาติทุกคนจะกลับมารวมกัน ซึ่งเมื่อพม่าเข้ามาล้อมเมืองจะต้องเจอด่านทางธรรมชาติคือแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้างและลึกพร้อมกับกำแพงเมืองที่แข็งแรงมาก บวกกับทหารฝีมือดีของบ้านเรา กล่าวคือยุทธวิธีที่จะนำมาใช้คือการให้ทหารที่อยู่นอกแนวข้าศึกทำการก่อกวนการส่งเสบียง พร้อมซุ่มโจมตีตัดกำลังข้าศึก โดยอาจจะให้เรือรบระดมยิงทหารพม่าที่อยู่ใกล้ฝั่งเพื่อตัดกำลังนอกจากนี้แล้วยังให้พลสอดแนมคอยสังเกตุพฤติกรรมของทหารพม่าถ้าเห็นอิดโรยเมื่อไหร่ให้ทหารในเมืองทำเสียงโห่ร้องเหมือนจะเข้าตี ซึ่งให้ทำอย่างนี้ประมาณ 30 วันต่อเนื่องแต่ไม่ออกตี ทหารพม่าก็จะเกิดความกังวลไม่กล้านอนและอ่อนเพลีย บวกกับขาดเสบียงทหารก็เสียขวัญ เมื่อก่อกวนจนเห็นว่าทหารพม่าเกิดเสียน้ำใจแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งไปยังกองทัพที่ซุ่มอยู่แนวหลังที่รวมตัวกันหลังจากถูกพม่าตีช่วงเข้ามาต้นๆสังครามนั้นแล้ว ว่าให้เตรียมพร้อมรอสัญญาณจากในเมือง ซึ่งถ้าเห็นสัญญาณให้ระดมตีทุกทิศทางพร้อมกัน รบกระหนาบเข้ามาอย่าทันให้ทหารพม่าตั้งตัวในเวลากลางคืน เนื่องจากกลศึกที่เราทำไว้กับพม่าครั้งก่อนก็จะทำให้พม่าคิดว่าเราคงแค่ทำเสียงขู่ ดังนั้นทหารในเมืองและนอกเมืองจะรบกระหนาบเข้ามาทหารพม่าคงเกิดความกังวลว่าจะป้องกันทางไหนดี ทำให้กองทัพเราสามารถตีโต้ได้จนได้รับชัยชนะ (อันนี้เป็นแนวคิดผมเองนะครับ )
แนวคิดของคุณ CROBRA99 ทำไมเหมือนกลศึกของขงเบ้งที่ใช้กับโจโฉจนต้องถอนค่ายหนีจังเลยครับ..
วิเคราะห์เหตุที่พม่าต้องยกทัพมาหลายทางตั้งแต่เหนือจรดใต้... เหตุเพราะต้องการถอนรากถอนโคนให้สิ้นซาก ผมเชื่อว่าพม่าก็รู้ว่าหากไทยสู้ไม่ได้ ไทยจะต้องหนีไปเมืองจันทร์ และเมื่อ่ยึดและจัดการกับพระนครเสร็จแล้ว คราวนี้พม่าจะต้องตามไปตีเราที่เมืองจันทร์แน่นอน
และหัวเมืองล้านนานั้นปกติพม่าจะตีเป็นเมืองแรกก่อนบุกไทยเพราะป้องกันการส่งกำลังช่วยไทย และเพื่อเอามาเป็นกำลังในการตีไทย ซึ่งหัวเมืองเหนือนี้จะผลัดเปลี่ยนมือกันตลอดระหว่างไทยกับพม่าขึ้นอยู่กับว่ายุคนั้นใครเข้มแข็งกว่ากัน
นอกเรื่องหน่อยนะครับอยากทราบว่า
สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับ รัชกาลที่1
ใช่องเดียวกันไหมครับ
จริงๆแล้วแนวคิดผมเป็นแนวคิดส่วนตัวครับ ซึ่งก็ได้มาจากการอ่านตำราพิชัยสงครามต่างๆครับ เช่น สามก๊ก ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะใช้ได้เลยแสดงความคิดเห็นโดยแปลงนิดหน่อยครับ ซึ่งบางครั้งการสงครามไม่จำเป็นต้องใช้คนเยอะก็สามารถเอาชนะข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าได้ครับ
สำหรับคำถามของคุณ Puriku ผมว่าถ้าพม่ามาทางปทุมธานี นั้นเราพอจะมีแนวทางป้องกันได้ครับ โดยอาจจะแต่งกองทหารซุ่มอยู่สองฝั่งทางที่พม่าจะมาครับ ซึ่งเข้าใจว่าสมัยนั้นป่าคงรกพอสมควร แล้วให้แต่งกองทัพออกไปตั้งค่ายให้พม่าเข้าใจว่าทัพเรารอรบอยู่ตรงหน้า พม่าก็จะไม่สงสัยว่าเราซ่อนคนไว้ เสร็จแล้วให้ทหารเราที่ตั้งค่ายประจันหน้าพม่าออกรบแล้วแกล้งถอย หลังจากนั้นให้ส่งสัญญาณให้ทหารที่ซุ่มอยู่ระดมตีจากสองข้างทางแล้วกองทัพด้านหน้ากลับไปโจมตีอีกทาง คาดว่าพม่าน่าจะแตกพ่ายได้ครับ อันนี้ก็เป็นยุทธวิธีที่ขงเบ้งหรือแม่ทัพนายกองสมัยสามก๊กชอบใช้ประจำครับ ซึ่งค่อนข้างได้ผลดีครับ (อันนี้ก็แนวคิดส่วนตัวนะครับถ้าใครอ่านแล้วไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรนะครับ)
โห ขอขอบคุณพี่ๆทุกคนมากเลยนะครับ ที่เข้ามาให้ความรู้ สุดยอดจริงๆครับเห็นทุกทางทุกมิติเลยครับ ชื่อขอบบุคคลสำคัญที่ไม่เคยทราบก็ได้ทราบ เป็นความรู้ที่มีคุณค่ายิ่งจริงๆครับ ขอบคุณพีๆทุกคนมากๆเลยครับ โดยเฉพาะพี่ lordsri พี่ Ifeelsogood และพี่ CROBRA99 ที่ให้ความรู้กระจ่างมากเลยครับ พี่คนอื่นๆที่ไม่ได้ออกนาม ผมก็ขอบคุณอย่างสูงเช่นกันนะครับมีหลายคน ออกนามไม่หมด แต่ได้อ่านข้อความของทุกคนแล้วมีประโยชน์มากๆเลยครับ
ผมขอถามสุดท้ายอีกซักข้อได้มั๊ยครับ คืออยากถามว่า แล้วทำไมกองทัพเราไม่ไปตั้งเมืองหรือศูนย์บัญชาการรบ หรือเมืองรองที่จ.ปทุมธานีหรอครับ คือผมเห็นมันมีคลองหลายสายมากๆเลยน่ะครับที่ประทุมธานี น่าจะเป็นปราการทางธรรมชาติชั้นดีในการปัองกันกองทัพข้าศึกได้นะครับ
ความเห็นของพี่ CROBRA99 ในกระทู้สุดท้าย ผมอ่านแล้วนึกถึงตอนที่สมเด็จพระนเรศวร ให้กองทัพไปซุ่มอยู่เมืองกาญฯ แล้วทำทีสู้พม่าไม่ได้แล้วให้ถอยร่นออกมาแล้วให้พม่าไล่ตีมาเข้าทางที่กองทัพหลวงซุ่มกำลังกระหนาบ2ข้างทางที่พม่าต้องผ่าน พอทัพพม่าถลำเข้ามาก็ให้กองกำลังที่ซุ่มอยุ่เข้าเล่นทัพพม่าจนแตกพ่ายถอยร่นไปหาทัพหลวงพม่า นึกถึงความเห็นของพี่ CROBRA99 . ในกระทู้สุดท้ายแล้วนึกถึงการรบตอนนี้จริงๆครับ
เท่าที่ผมวิเคราะห์นะครับ การรบครั้งนั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชท่านน่าจะได้เรียนตำราพิชัยสงครามฉบับสามก๊กนะครับ เพราะลองวิเคราะห์ดูแล้วว่ากลศึกที่ท่านใช้มีความเหมือนกับกลศึกในสงครามสามก๊กมากเลยครับ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านมีความชำนาญด้านพิสัยสงครามมากครับ ผมนับถือท่านมากเลยนะครับ
ดูตัวอย่างจากอดีตครับ จะเห็นว่าจำนวนกองทัพใหญ่กว่าไม่ได้หมายความว่าจะเป็นฝ่ายชนะเสมอไป เพราะการรบนั้นสำคัญที่การวางแผนครับ กองทัพเล็กกว่าแต่ถ้าวางแผนมาดีก็สามารถชนะกองทัพที่ใหญ่กว่าได้ครับ
ดังนั้นใครที่ชอบออกความเห็นว่าประเทศรอบบ้านเราเขามีอาวุดีกว่าเรามากกว่าเราอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วทำไมเราไม่ซื้ออาวุธแบบโน้น แบบดีๆ แพงๆแบบเพื่อนบ้านเขามาใช้บ้าง ก็ให้ดูบทเรียนในอดีตไว้ครับ
พม่ารบกันเราก็เยอะ คนตายไปก็เยอะ แต่ก็ยังมีคนมา รบ กับเราเรื่อย ๆ ไปหามาจากไหนละนั้น ใครรู้บอกผมหน่อยเถอะ
เอาคนมาเยอะแค่ไหน ก็แพ้กลับไปบ่อยมาก คนตายไปก็เยอะมาก แต่สุดท้ายก็รวมพล นับหมื่น นับแสน มาตีเราอีก
หรือว่าพม่าไปตีเมืองโน้นเมืองนี่ ชนเผ่าโน้นเผ่านี้ แล้วทำศึกชนะ จึงรวบรวม เฉลยพวกนั้นเอามาเป็น ทัพหน้า ใช่ไหมครับ?
หรือว่าพม่าไปตีเมืองโน้นเมืองนี่ ชนเผ่าโน้นเผ่านี้ แล้วทำศึกชนะ จึงรวบรวม เฉลยพวกนั้นเอามาเป็น ทัพหน้า ใช่ไหมครับ?
/
/
ใช่ครับ พม่าต้องไปตี มอญ + ลานนา ก่อนจึงจะมาตีสยามได้ครับ