คมชัดลึก :โครงการซื้อ รถหุ้มเกราะล้อยาง จากประเทศยูเครน จำนวน 96 คัน ตามวงเงินงบประมาณ 3,898 ล้านบาท โดยมีบริษัท เอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ประเทศยูเครน เป็นผู้ผลิต รุ่น BTR-3E 1 ที่ได้พัฒนาปรับปรุงมาจากรุ่น BTR-70 ของประเทศรัสเซีย
เกือบ 3 ปีเต็มกับปัญหาคาราคาซังในการจัดซื้อ รถหุ้มเกราะล้อยาง ว่ากองทัพบกยังสนใจที่จะจัดซื้ออีกหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีปัญหาในเรื่องการเซ็นสัญญาในการจัดซื้อ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องเครื่องยนต์ที่ประเทศต้นแบบอย่างประเทศเยอรมนีปฏิเสธที่จะขายเครื่องยนต์ให้
ส่วนหนึ่งมาจากกฎหมายของประเทศเยอรมนีไม่ต้องการซื้อขายอาวุธยุทโธปกรณ์กับประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือประเทศที่มีการทำปฏิวัติรัฐประหาร แม้ว่าที่ผ่านมากองทัพบกเซ็นซื้อขายเบื้องต้นกับตัวแทนจำหน่ายของประเทศยูเครนไปแล้วก็ตาม
แต่เมื่อประเทศเยอรมนียังคงมีความแน่วแน่ที่จะไม่ขายเครื่องยนต์ให้แก่ประเทศไทย จึงทำให้โครงการจัดซื้อ รถหุ้มเกราะล้อยาง ต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด แม้ว่าที่ผ่านมาจะพยายามทั้งผลักทั้งดันเพื่อให้กองทัพบกมีรถดังกล่าวไว้ใช้งานในพื้นที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.)
ทั้งนี้มีการเซ็นอนุมัติจัดซื้อในยุคของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ตามที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก เสนอมา ครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ด้วยวิธีการจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล
กองทัพบกยังคงเดินหน้าสานต่อในการจัดซื้ออีกครั้ง โดยมีการจัดส่ง พล.ท.เอกชัย วัชรประทีป เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก เดินทางไปประเทศยูเครนเพื่อติดตามโครงการ เมื่อช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา พร้อมกับดูประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ชนิดต่างๆ ด้วย
พล.อ.อนุพงษ์เปิดเผยว่า โครงการจัดซื้อ รถหุ้มเกราะล้อยาง จากประเทศยูเครน เป็นรถที่จัดซื้อที่ถูกที่สุด และให้อุปกรณ์อาวุธมากที่สุด และราคาถูกกว่าประเทศรัสเซีย และน่าจะใช้ได้ดี ทั้งนี้ยังสามารถเลือกเครื่องยนต์ได้ด้วย กองทัพบกจึงเลือกเครื่องยนต์ดอยช์ของประเทศเยอรมนี และเลือกเครื่องมือสื่อสารของประเทศอิสราเอล สิ่งที่เราเลือกทั้ง 2 ชนิดได้นำมาติดตั้งและทดลองวิ่ง แต่รัฐมนตรีหญิงของประเทศเยอรมนีประกาศว่าจะไม่ขายให้เรา
บริษัทของประเทศเยอรมนีก็พยายามวิ่งเต้นเรื่องนี้ แต่สุดท้ายรัฐมนตรีหญิงก็ปฏิเสธที่จะขายเครื่องยนต์ดอยช์ให้แก่เรา อ้างว่ามีปัญหาเรื่องที่ตากใบ ที่ใช้อาวุธปืนเอชเคอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และเขาไม่สนับสนุนรัฐบาลปฏิวัติ ทั้งนี้เราอยากใช้เครื่องยนต์ของเขา เพราะอาวุธในกองทัพเมื่อใช้งานแล้วก็นานถึง 30-40 ปี และล่าสุดก็ได้ของเอ็มทียูของประเทศเยอรมนีที่ใช้ในเรือและรถถังส่วนใหญ่ พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้สัญญาระบุว่าเครื่องยนต์ดอยช์ของเยอรมนีแต่พอไม่ได้ จะต้องมาแก้สัญญากันใหม่ สาเหตุที่อยากได้ตลาดของเยอรมนี เนื่องจากมีอะไหล่ในการซื้อขายได้ ทั้งนี้เราก็อยากได้เครื่องยนต์ดอยช์เพราะมีการขายทั่วไป แต่หากใช้เครื่องยนต์ของสหรัฐอเมริกาจำเป็นจะต้องสั่งซื้อ
ตอนนี้เขาพยายามทำให้เร็วก่อนกำหนด โดยก่อนสิ้นปีจะต้องส่งรถหุ้มเกราะล้อยางมาทั้งหมด ผมยืนยันว่า รถหุ้มเกราะล้อยางน่าสนใจมาก และขณะนี้หน่วยที่จะใช้ก็ได้ทำโรงเก็บเรียบร้อยหมดแล้ว พล.อ.อนุพงษ์กล่าว
เอาเป็นว่าต้องรอลุ้นอีกครั้งว่า รถหุ้มเกราะล้อยาง จากประเทศยูเครน จะเข้ามาประจำการลอตแรก 12 คัน ในเดือนมีนาคมนี้ และจะจัดส่งให้แก่กองทัพบกจนครบ 96 คันในปลายปีนี้หรือไม่
ทีมข่าวความมั่นคง
-ข้อมูลข่าว น๊ะครับ ยังไม่แน่จะเป็นไปตามข่าวหรือไม่
จาก http://www.komchadluek.net/detail/20100228/50191/50191.html
ไหนๆก็ซื้อแล้ว มาซะที
ต้องยอมรับว่าฝีมือการล๊อบบี้ของอเมริกาเก่งมากๆ เริ่มด้วยกระตุ้น NGO ของตัวเองให้ กระตุ้นของเยอรมันอีกทีถึงการชงโครงการซื้อเครื่องยนต์ ถึงแม้ว่าจะทำสัญญาซื้อในสมัยที่คุณสมัครเป็นนายก
สุดท้ายจากที่อเมริกาไม่ได้อะไรเลยจากงานนี้ กลายเป็นว่า จีอี ขายเครื่องยนต์แบ่งเค้กไป เยอรมันไม่ได้อะไรเลย นอกจากได้หน้าว่าไม่เอาเผด็จการ นี่คือธาตุแท้ของเยอรมัน และอเมริกา
นี่แหละครับ การเมืองระหว่างประเทศ ที่เห็นเย้วๆในบ้านเรา ห่างชั้นกันอีกเยอะ......
คุณน่าคิด คุณกล่าวได้ตรงประเด็นมากเลย ก็อย่างรู้ๆกันอยู่อเมริกาเป็นยังไง พอเราขอซื้อก็เล่นตัวให้ตัวที่ด้อยมา พอเราหันไปซื้อที่อื่นก็ส่งผู้แทนทางการค้ามาบีบเรา พอเราเลือกที่อื่นก็แสดงความผิดหวังในนามพันธมิตรนอกนาโต้ นี่หรือมิตรแท้