MC-130
เครื่องบิน MC-130 มีภารกิจหลักคือ การสนับสนุนการทำงานของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในการแทรกซึม และเล็ดรอด และยังคอยแอบส่งยุทโธปกรณ์เข้าไปให้แก่หน่วยฯ ได้ถึงในแนวหลังของข้าศึก ภารกิจรองของเครื่องบิน MC-130 คือปฏิบัติการจิตวิทยา และการเติมเชื้อเพลิงแก่เฮลิคอปเตอร์ มีบทบาทสำคัญ อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังการดำเนินการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ทั้งในอากาศและบนภาคพื้นดิน เครื่องบิน MC-130 ได้รับการดัดแปลงจากเครื่องบิน C-130 เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจพิเศษแตกต่างกันออกไปถึง4 รุ่นคือ
1. MC-130E Talon I
2. MC-130H Talon II
3. MC-130P Combat Shadow
4. MC-130W Combat Spear
MC-130E มีชื่อเรียกว่า Combat Talon เป็น
รุ่นแรก พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1966 (พ.ศ.2509)
เริ่มออกปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องบิน C-130E
ตามความต้องการของหน่วยปฏิบัติภารกิจพิเศษ
ซึ่งต้องสามารถปฏิบัติการได้ในเวลากลางคืน
หรือในสภาพที่ถูกจำกัดการมองเห็น และในระดับความสูงต่ำ
เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับจากเรดาร์
ประสบความสูญเสียในระหว่างการปฏิบัติงาน 4 ลำ
ที่เหลือได้รับการปรับปรุงอุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ใหม่ๆอยู่เสมอ
ลักษณะเด่นภายนอกของ MC-130E คือบริเวณส่วนหน้าของลำตัว (Nose section)
มีรูปร่างแตกต่างจากเครื่องบิน C-130 ทั่วไป คือ
ส่วนที่เป็นเรโดมถูกบีบให้แคบลง เพื่อให้ติดตั้ง snags
(รูปร่างคล้ายกรรไกร) ไม่กลมมนเหมือนกับ C-130 รุ่นอื่น
Photo By Daina Nittle
เครื่องบิน MC-130E มีระบบกู้กลับแบบ Fulton ระบบนี้สามารถนำทหาร หรืออุปกรณ์ขึ้นจากพื้นดินหรือน้ำ มาบนเครื่องบินได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำงานของระบบประกอบด้วย ลูกบอลลูน เชือก กว้านรอก โดยนำปลายเชือกด้านหนึ่งยึดติดกับบอลลูนข้างในบรรจุกาซ helium ปล่อยให้ลอยขึ้นไปในอากาศประมาณ 450 ฟุต อีกปลายข้างหนึ่งผูกยึดติดกับคนหรืออุปกรณ์ แล้วจึงให้เครื่องบิน MC-130E ซึ่งติดตั้ง snags บริเวณส่วนหน้าของห้องนักบิน เครื่องบินจะบินเข้ามาด้วยความเร็วประมาณ 150 ไมล์ต่อชั่วโมง (240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) แล้วใช้ snags งับเข้ากับเส้นเชือก จากนั้นลูกเรือจึงใช้กว้านไฮดรอลิก ดึงคนหรืออุปกรณ์ ผ่านใต้ท้องเครื่องบิน เข้ามาทางประตูหลัง(RAMP) นับเป็นการปฏิบัติการในอากาศที่มีความเสี่ยงสูงมาก หลังจากที่ได้ติดตั้งกับเครื่องบิน MC-130E มากว่า 17 ปี ระบบกู้กลับแบบ Fulton เกิดความผิดพลาดขึ้นในปีค.ศ. 1982 จากนั้นจึงถูกระงับการใช้งานชั่วคราว จนในที่สุดเมื่อปี 1998 หน่วยบัญชาการพิเศษพิจารณาถึงความเสี่ยง จึงได้สั่งงดการใช้งาน โดยมอบหมายภารกิจการกู้กลับให้แก่เฮลิคอปเตอร์แบบ MH-53E MC-130E ถูกผลิตขึ้นมาทั้งหมด 18 ลำ ประจำการอยู่ในฝูงบินต่างๆดังนี้
1st Special Operations Squadron,ฐานทัพอากาศ Kadena , Okinawa ประเทศญี่ปุ่น
7th Special Operations Squadron,ฐานทัพอากาศ Ramstein ประเทศเยอรมัน
8th Special Operations Squadron, ฐานทัพอากาศ Hurlburt Field รัฐฟลอริดา
MC-130H มีชื่อเรียกว่า Combat Talon II
ถูกพัฒนาขึ้นจากเครื่องบิน C-130H ถูกส่งไปยังฐานทัพอากาศ Hurlburt
Field รัฐฟลอริด้า เมื่อ 29 มิถุนายน 1992
หลังผ่านการประเมินค่าได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อ 17 ต.ค.1992
ความแตกต่างกันของ MC-130E และ MC-130H ที่เห็นได้ชัดเจนคือ
ความสามารถในการร่วมกันทำงานของระบบ avionics และระบบคอมพิวเตอร์ Talon I
ได้รับการดัดแปลงและพัฒนาขึ้นมาก่อนตั้งแต่ปี ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503)
และอีกครั้งในช่วงปีค.ศ.1980-90 ซึ่งยังคงเป็นเทคโนโลยีทาง analog
อุปกรณ์ต่างๆ ยังไม่เป็นระบบร่วม กับอุปกรณ์ตรวจจับและระบบสื่อสารอื่นๆ
แต่ Combat Talon II ได้รับการดัดแปลงและพัฒนาขึ้นมาในช่วงหลังปี1980
ด้วยเทคโนโลยีทางดิจิตอล ระบบต่างๆ
จึงได้ร่วมกันอยู่เป็นระบบเดียวกันทั้งหมด
ซึ่งช่วยลดภาระการทำงานของลูกเรือลงได้ ถูกผลิตขึ้นมาทั้งหมด 24 ลำ
ประจำการอยู่ในฝูงบินต่างๆดังนี้
15th Special Operations Squadron ฐานทัพอากาศ Hurlburt Field รัฐฟลอริดา
1st Special Operations Squadron ฐานทัพอากาศ Kadena เกาะ Okinawa ประเทศญี่ปุ่น
7th Special Operations Squadron, ฐานทัพอากาศ Mildenhall ประเทศอังกฤษ
550th Special Operations Squadron ฐานทัพอากาศ Kirtland รัฐนิวเม็กซิโก
มีบทบาทสำคัญในการอพยพชาวอเมริกัน และประชาชนชาติอื่น
ระหว่างเกิดความรุนแรงในประเทศไลบีเรีย
และร่วมปฏิบัติการกับกองกำลังนานาชาติในคาบสมุทรบอลข่าน
การเข้าช่วยตัวประกันในอิหร่านในเดือนเมษายน ค.ศ.1980
การบุก Grenadaในปี1983 การปฏิบัติการทางจิตวิทยา โปรยใบปลิว
สนับสนุนการทำงานของหน่วยจู่โจมกองทัพบกสหรัฐฯในการบุกยึดสามบินเมืองริโอเฮ
โต
เข้าร่วมสงครามอ่าว Desert Storm หนึ่งในสามของการทิ้งร่มทั้งหมดในสามสัปดาห์แรกของสงคราม โดยใช้ MC-130 การปฏิบัติการพิเศษที่สำคัญคือ ได้ทิ้งระเบิดขนดยักษ์แบบ BLU-82 ซึ่งมีขนาด 15,000 ปอนด์ จำนวนถึง 11 ลูก และทิ้งใบปลิวกว่า 23 ล้านในอิรัก เพื่อกดดันและชักจูงให้ทหารอิรักยอมจำนน และยังช่วยเติมน้ำมันให้แก่เฮลิคอปเตอร์ ระหว่างภารกิจการค้นหาและช่วยชีวิตเพื่อนทหาร
MC-130P มีชื่อเล่นว่า Combat Shadow
ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกกำหนดนามเรียกขานอย่างเป็นทางการว่า HC-130N/P
มีภารกิจหลักในด้านการค้นหาและช่วยชีวิต
ซึ่งขณะนั้นยังมิได้หมายถึงการปฏิบัติการพิเศษโดยตรง
แต่หลังจากเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ.1996
เครื่องบินและอากาศยานในภารกิจปฏิบัติการพิเศษ
ถูกกำหนดรหัสให้ขึ้นต้นด้วยอักษร M อักษรเอ็ม
ซึ่งนำมาวางไว้ข้างหน้ารหัสอากาศยานต่างๆ ของสหรัฐฯ หมายถึง
การดัดแปลงอากาศยานนั้นเป็นพิเศษ(Modified) เช่น MC-130 หรือ
เฮลิคอปเตอร์แบบ MH-53 เครื่องบิน MC-130P มีระบบ forward looking
infrared ช่วยเสริมการมองเห็น ให้ดียิ่งขึ้น
เครื่องบิน MC-130P
มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจให้แก่กองกำลังนานาชาติ ในการอพยพประชาชน
ส่งความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม ให้แก่ประเทศต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
ถูกผลิตขึ้นมาทั้งหมด 28 ลำประจำการอยู่ในฝูงบินต่างๆดังนี้
9th Special Operations Squadron,ฐานทัพอากาศ Eglin รัฐฟลอริดา
17th Special Operations Squadron, ฐานทัพอากาศ Kadena เกาะOkinawa ประเทศญี่ปุ่น
67th Special Operations Squadron ฐานทัพอากาศ Mildenhall, ประเทศอังกฤษ
130th Rescue Squadron (California Air National Guard
เป็นกองกำลังทางอากาศประจำรัฐ กึ่งทหาร ) ณ.ฐานทัพอากาศ Moffett Federal
Airfield, รัฐแคลิฟอร์เนีย
MC-130W มีชื่อเล่นว่า Combat Spear ถูก พัฒนาขึ้นจากเครื่องบิน C-130H-2 นับเป็นน้องล่าสุดในตระกูล MC-130 เพื่อทดแทน Combat Talon หลายลำที่สูญเสียไป และเพื่อตอบสนองนโยบายการต่อต้านผู้ก่อการร้ายสากล ถูกผลิตขึ้นมาจำนวน 12 ลำ ในงบประมาณที่จำกัด จึงไม่ได้รับการติดตั้งระบบช่วยการบินในระดับต่ำไว้ เช่นรุ่นพี่ ส่งมอบให้ทอ.สหรัฐฯเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 ณ. ฐานทัพอากาศ Robins Air Force Base,รัฐ Ga มีการปรบปรุงระบบต่างๆหลายระบบให้เป็นแบบเทคโนโลยีดิจิตอล ได้แก่
ระบบการเดินอากาศโดย GPS (global positioning system) ควบคู่ไปกับระบบ INS แบบ Laser-ring Gyro
ระบบตรวจจับ AN/APN-241 Low Power Color Radar and AN/AAQ-17 Infrared Detection System.
ระบบต่อต้านการตรวจจับ advanced radar and missile warning receivers,
chaff and flare dispensers and active infrared countermeasures,
และระบบการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม ให้ทันสมัยขึ้น
ปรับปรุงระบบไปส่องสว่างให้เหมาะสำหรับการใช้งานกับกล้องมองกลางคืน (NVG)
ทางด้านโครงสร้างลำตัวเครื่องบินส่วนหาง ได้รับการเสริมความแข็งแรง
รองรับการทิ้งร่มที่ความเร็วสูงกว่าปกติ
ติดตั้งระบบเติมน้ำมันสองแบบ ทั้งแบบที่รับเติมให้แก่ตัวเอง
และจ่ายเติมให้แก่เฮลิคอปเตอร์ ได้แก่ Universal Aerial Refueling
Receptacle Slipway (UARRSI)
MC-130W ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์เติมน้ำมันแบบ Mk 32B-902E
ซึ่งเป็นอุปกรณ์รุ่นใหม่สามารถเติมน้ำมันให้แก่อากาศยานแบบ CV-22 Osprey
ซึ่งเพิ่งจะนำเข้าประจำการได้ ประจำการอยู่ในฝูงบิน 73rd Special
Operations Squadron ฐานทัพอากาศ Cannon รัฐนิวเม็กซิโก
ลืมไปได้เลยว่ามันคือ เครื่องบินลำเลียง อักษรเอ็ม ที่นำไปเติมหน้า C-130
เป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่า มันคือเครื่องบินสายเลือดทหารพันธุ์แท้ (War
Machine) เครื่องบิน MC-130E,H และ P มีขีดความสามารถพิเศษที่คล้ายกัน
คือ มีเรดาร์ที่ช่วยให้บินได้เหนือภูมิประเทศ ที่ระดับความสูงเพียง 250
ฟุต ในทุกภาวะกาลอากาศ เป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ทำให้เรดาร์ของศัตรู
ตรวจจับไม่ได้ มันจึงสามารถบินทะลวง
เจาะลึกเข้าไปในดินแดนที่ข้าศึกยึดครองได้ เครื่องบิน MC-130
จะใช้กล้องมองกลางคืน(NVG) ขณะปฏิบัติภารกิจในสภาพการมองเห็นจำกัด
และติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านสงครามอิเล็กทรอนิกส์
ระบบเดินอากาศแบบอันทันสมัย ตลอดจนมีคอมพิวเตอร์ควบคุมภารกิจหลายตัว
ทำให้สามารถที่จะค้นหาตำแหน่ง จุดนัดหมาย และพื้นที่ส่งลงได้อย่างแม่นยำ
อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้มันบินอยู่รอดได้เพียงลำพัง
ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นระลอกแรกในเข้าการโจมตี
ด้วยคุณลักษณะเช่นนี้
มันจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นตัวแทนในการปฏิบัติงาน
ในพื้นที่ที่เป็นอันตราย เพื่อส่งช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
ให้แก่ประชาชนในประเทศต่างๆ ที่ประสบกับวิกฤต