เก็บบทความประวัติสาสตร์มาฝากเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของทหารเรือในอดีตครับ (ขออนุญาตเจ้าของบทความด้วยครับ)
การปฏิบัติการของ ร.ล.สมุย (ลำที่ 1) เมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ.2488
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2484 - 2488 กองทัพเรือได้ทำหน้าที่รักษาเส้นทางลำเลียงในน่านน้ำไทยทำการกวาดทุ่นระเบิดและในเหตุการณ์ครั้งนี้ ร.ล.สมุย ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงจากสิงคโปร์เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อบรรเทาความขาดแคลนภายในประเทศ ร.ล.สมุย ปฏิบัติภารกิจสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความสามารถของ ผบ.เรือ และทหารประจำเรือหลายครั้งต้องหลบหลีกการโจมตีจากข้าศึกแต่ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ถึง 17 ครั้ง จนกระทั้งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นเที่ยวสุดท้าย ขณะที่ ร.ล.สมุย ลำเลียงน้ำมันเชื่อเพลิงกลับ วันที่17 มี.ค.2488 เวลา 0245 บริเวณด้านตะวันออกของเกาะคาปัส ประเทศไทยต้องสูญเสีย ร.ล.สมุย พร้อมด้วยลูกเรือบางส่วนไปโดยถูกตอร์ปิโดถึง 2 ลูกซ้อนจากเรือดำน้ำข้าศึก ระเบิดไฟไหม้หัวเรือจมดิ่งสู่ก้นทะเลเหลือผู้รอดชีวิต 17 นาย เสียชีวิตไป 31 นาย นาวาตรีประวิทย์ รัตนอุบล ผบ.เรือ รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่ของ ร.ล.สมุย และทหารประจำเรือ
วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2485 เรือสมุยได้ออกเดินทางไปสิงคโปร์เป็นเที่ยวแรก เหตุการณ์ดีเป็นที่เรียบร้อย เที่ยวหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนเศษ สุดแต่ว่าทางการจะเร่งเอาน้ำมันหรือไม่ ถ้าระยะเวลาไหนเร่งก็ออกเรือกระชั้นหน่อย เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เข้าอู่ปรับเครื่องกันเสียเลย จนกระทั่งเที่ยวที่ 18 นาวาตรี (นาวาเอก) ประวิทย์ รัตนอุบล นำเรือออกจากกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2488 ระหว่างทางเครื่องจักรใหญ่ขัดข้อง จึงแวะซ่อมเครื่องอยู่ที่โคตาบารูหลายวัน เมื่อเสร็จแล้วจึงเดินทางต่อไปถึงโชนัน โดยปลอดภัย
วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2488 สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ได้ทั้งประเทศ และเลื่อนฐานะเรือดำน้ำมาที่ฟิลิปปินส์ ทำให้ใกล้เส้นทางเดินเรือของไทยเข้ามาอีกมาก เรือหลวงสมัยรับน้ำมันจากโชนันมาเต็มที่ คือบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มระวาง และถึงมีน้ำมันเบนซิน บรรจุใส่ถัง 200 ลิตร วางไว้บนดาดฟ้าเต็มไปหมด และออกเดินทางจากโชนัน ในวันที่ 15 มีนาคมตอนเช้า
วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2488 เวลาเช้าเครื่องบินทะเลของญี่ปุ่นเครื่องหนึ่งมาวนเวียนเหนือเรือ และโบกธงแดง แต่ทางเรือมิได้หยุดเรือคงเดินหน้าต่อไป เครื่องบินนั้นได้บินไปไกล แล้วบินกลับมาที่เรือสมุยอีก และโบกธงแดงอีกหลายครั้ง ต่อจากนั้นเครื่องบินนั้นก็หายไป ส่วนเรือสมุยคงเดินทางต่อมาตามเดิม เข็ม 324 ตั้งใจไว้ว่า เมื่อมาถึงเกาะลาปัสแล้ว จึงจะเปลี่ยนเข็มใหม่ เรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ Sea Lion II ผู้บังคับการเรือ ชื่อ นาวาตรี C.P. Putnam ได้คอยดักโจมตีอยู่บริเวณนั้น
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2488 เวลา 02.45 เรืออยู่ทางตะวันออกของเกาะคาบัสห่าง 7 ไมล์ ประมาณ 5, 18, 103 ได้ถูกตอร์ปิโด จากเรือดำน้ำซีไลออน นัดแรกถูกหัวเรือขวา และได้ยินเสียงระเบิดในเรือระยะติดๆ กันนั้น ก็ถูกยิงอีกนัดหนึ่งตรงกลางลำค่อนไปทางหัวเรือเกิดระเบิดขึ้นในเรือทำให้ไฟไหม้ และหัวเรือจมดิ่งลงต่อจากนั้นไฟได้ลุกติดน้ำมันซึ่งลอยเป็นฝาอยู่รอบๆ ตำบลที่เรือจม และเรือได้จมภายใน 3 นาทีเรือ ทหารได้โดดลงน้ำ พยายามว่ายเข้าหาฝั่งฝ่าเพลิงที่ลุกอยู่ทั่วไป เวลานั้นคลื่นจากตะวันออกใหญ่มาก บางคนเกาะเศษไม้และสิ่งของต่างๆ ลอยตามคลื่นที่พัดเข้าฝั่ง บางคนลอยคออยู่ในน้ำนานตั้ง 14 ชั่วโมง และไปสลบอยู่ตามชายฝั่งอำเภอมารัง จังหวัด ตรังกานู รวม 17 คน เรือไว (เรือโบตชนิดหนึ่ง) ของเรือหลวงสมุยลอยไปติดเกาะคาปัส ในเรือนี้ไม่มีคนมีแต่เสื้อนอกของ ตาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล 1 ตัว ผู้ที่ตายมีจำนวน 31 คน ในจำนวนนี้มี นาวาตรี ประวิทย์ รัตนอุบล ด้วย เรือหลวงสมุย ซึ่งมีระวางขับน้ำ 1,850 ตัน เป็นเรือรบไทยลำแรกที่จมในสงครามครั้งนี้
http://www.navy.mi.th/navalmuseum/002history/html/hisb23war-eastthai.htm
หมายเหตุ ข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือนาวิกศาสตร์ ทำให้ทราบว่า ปัจจุบันซากของเรือหลวงสมุย (ลำที่ 1) ยังคงจมอยู่ใต้น้ำ ในบริเวณเดิม คือ ในอ่าวไทย บริเวณทิศตะวันออกของเกาะคาปัส
14 Dec 1944
USS Sealion (ii) (Lt Cmdr Charles Frederick Putnam) departs Guam for her 4th war patrol, and is ordered to patrol in the South China Sea.
20 Dec 1944
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. Charles Frederick Putnam) torpedoes and damages the Japanese supply ship Mamiya (15820 tons, offsite link) in the South China Sea about 450 nautical miles north-east of Cam Ranh Bay, French Indo-China in position 17º48N, 114º09E.
21 Dec 1944
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) torpedoes and sinks the already damaged Japanese supply ship Mamiya (15820 tons, offsite link) in the South China Sea in position 17º55N, 114º11E.
24 Jan 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) ends her 4th war patrol at Fremantle, Australia.
19 Feb 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) departs Fremantle for her 5th war patrol. She is ordered to patrol in the South China Sea and the Gulf of Siam.
17 Mar 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) torpedoes and sinks the Thai oiler Samui (1458 GRT) off the Trengganu coast in position 05º18N, 103º23E.
6 Apr 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) ends her 5th war patrol at Subic Bay, Philippines.
30 Apr 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) departs Subic Bay for her 6th war patrol. She is ordered to patrol in the northern part of the South China Sea.
30 Jun 1945
USS Sealion (ii) (Lt.Cdr. C.F. Putnam) ends her 6th war patrol at Pearl Harbor. She is now sent to San Francisco for a major overhaul
ขออภัยครับ ที่ภาพไม่ต่อเนื่องกับบทความ
ภาพข้างบนคือภาพเรือดำน้ำสหรัฐ ชื่อ "ซีไลอ้อน 2" ที่ยิงเรือสมุยของเราจมครับ ส่วนภาพเรือสมุย ค้นดูแล้วไม่เจอ เลยไม่มีให้ดูครับ