กระทรวงพลังงานส่งสัญญาณรัฐบาลไม่ผลักดัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังนายกรัฐมนตรี สั่งให้ทำแผนพีดีพีสำรอง หวังใช้เป็นข้อเปรียบเทียบในการตัดสินใจจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หรือไม่ในต้น ปีหน้า ด้าน"ณอคุณ"ยันแผนสำรอง จะทำให้ประเทศมีความเสี่ยงความมั่นคงด้านพลังงาน ประชาชนจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า
จากกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ได้สั่งกระทรวงพลังงาน
ไปจัดทำแผนสำรองแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี2553-2573 หรือพีดีพี
2010 ที่ได้เห็นชอบไปเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ขึ้นมาใหม่
ในกรณีที่แผนพีดีพีไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง รวมกำลังการผลิตขนาด
5,000 เมกะวัตต์ ที่จะเริ่มจ่ายไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไปนั้น
จะมีทางเลือกการจัดหาไฟฟ้าให้กับประเทศได้อย่างไร
โดยในส่วนของกระทรวงพลังงานมองว่า การจัดทำแผนพีดีพีสำรองขึ้นมานี้
น่าจะเป็นการส่งสัญญาณได้ทางหนึ่งว่ารัฐบาลชุดนี้
จะไม่ผลักดันให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้น
เนื่องจากพื้นที่ที่เหมาะสมในการตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามผลการศึกษาที่จะ
สรุปได้ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนนี้ จะอยู่ในภาคใต้ เช่น
จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
ขณะที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชน
หากมีการตั้งในพื้นที่ภาคใต้
จะทำให้เกิดการต่อต้านและมีผลต่อคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในการเลือก
ตั้งช่วงปลายปีหน้าได้ หากไม่มีการยุบสภาเสียก่อน
อีกทั้ง การจัดทำแผนพีดีพี
ที่ผ่านมาไม่เคยมีการจัดทำแผนสำรองขึ้นมาเหมือนกับครั้งนี้
จึงเป็นการยืนยันได้ว่า
รัฐบาลจะเลือกแผนพีดีพีสำรองนี้ขึ้นมาเป็นแผนพีดีพีหลักที่จะใช้กำหนดในการ
จัดหาไฟฟ้าของประเทศต่อไป เพื่อลดแรงกดดันจากประชาชน
และส่วนหนึ่งทำให้รัฐบาลตัดสินใจง่ายขึ้นต่อการดำเนินงาน
"ทางกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างจัดทำแผนพีดีพีสำรองอยู่
คาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้
เพราะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของกพช.ที่จะมีขึ้นในการประชุมครั้งหน้า
ซึ่งยังไม่กำหนดวันออกมา หากกพช.เห็นชอบแผนพีดีพีสำรองนี้
จะถูกนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลในช่วงต้นปีหน้า
ว่าจะพิจารณาอนุมัติให้มีการก่อสร้างโรงฟ้านิวเคลียร์ได้หรือไม่
เมื่อกระทรวงพลังงานสามารถมีทางเลือกการจัดหาไฟฟ้าให้
โดยไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
ก็น่าจะเป็นทางออกของรัฐบาลที่จะเลือกแผนพีดีพีสำรองนี้ขึ้นมาใช้"แหล่ง
ข่าวกล่าว
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า
หากประเทศไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เข้ามาตามแผนพีดีพีที่กพช.อนุมัติไปแล้ว
จะทำให้ต้องไปพึ่งการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศมีจำกัด ต้องนำเข้าก๊าซจากพม่า
และแอลเอ็นจีที่มีราคาแพงเข้ามา
รวมถึงการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเสริมมากขึ้นอีก
จากที่กำหนดไว้ 2 ประเทศไม่เกิน 25 % ของกำหนดการผลิตทั้งหมด
นั่นหมายความว่าความมั่นคงด้านพลังงานของไทยจะไปผูกอยู่กับต่างประเทศเป็น
หลัก ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง
หากเกิดข้อขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้นมาหรือมีเหตุสุดวิสัยไม่สามารถส่งไฟฟ้า
หรือก๊าซให้กับไทยได้
นอกจากนี้ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถใช้เป็นฐานการผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศได้
เนื่องจากไม่มีความแน่นอนทางการผลิต อีกทั้ง
หากส่งเสริมให้เข้ามาในระบบมากยิ่งขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตาม
เนื่องจากภาครัฐได้เพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าหรือ Adder
เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน
โดยจะเห็นได้จากผลการศึกษาพบว่า
หากมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในปริมาณ 11,067.8
เมกะวัตต์ จะทำให้มีผลกระทบต่อค่าเอฟที 8 สตางค์ต่อหน่วย
ซึ่งหากรวมราคาก๊าซแอลเอ็นจีที่นำเข้ามาอีก
จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในอนาคตปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
ข่าว:จากฐานเศษฐกิจ
ps.น่าเป็นห่วงอนาคตด้านพลังงานของไทยจริงๆ ที่เราต้องหาพลังงานอย่างอื่นมาใช้แทนก๊าซธรรชาติในอ่าวไทยที่นับวันจะหมดลง เบื่อการเมืองกับ NGO