ความ มุ่งมั่นของบริษัท Honda ในโลกแห่งยนตกรรมคือการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆของการขับเคลื่อนเพื่อการเดินทาง ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของการก่อตั้งบริษัทมาจนถึงยุคปัจจุบันในระหว่างช่วงรอย ต่อของเวลา จากการเริ่มก้าวเดินไปบนเส้นทางแห่งจักรกลในการเคลื่อนที่ การผลิตจักรยานยนต์ รถยนต์และเครื่องยนตเรือไปเป็นเครื่องบินเจ็ทขนาดจิ๋วสมรรถนะสูง นานมาแล้วที่บริษัท Hondaได้ต่อเติมพลังแห่งความฝันด้วยการผลิต เครื่องสูบน้ำ พาหนะที่ใช้ในการเดินทางอย่างมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เจ็ทสกี รวมถึงการผลิตเครื่องยนต์เรือ ตลอดจนหุ่นยนต์ตัวเล็กที่เคลื่อนไหวได้ราวกับมนุษย์ ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลแห่งการขับเคลื่อนทุกชนิดเพื่อการเดินทางไป บนท้องถนน ผิวน้ำ และโบยบินไปบนท้องฟ้าสีครามคือความมุ่งมั่นและแนวทางของ Honda ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของการก่อตั้งบริษัท


Honda Aircraft Company
จาก
ข้อมูลทางการตลาดในอุสาหกรรมการ บินพลเรือนของ FAA ระบุว่า
ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้จำนวนของเครื่องบินไอพ่นส่วนตัวขนาดเล็กจะมีถึง
4500 ลำในอีก 5 ปีข้างหน้าและมีมูลค่าทางการตลาดถึงกว่า9.4
พันล้านเหรียญหรือ 1.2 แสนล้านบาท
มากกว่าค่าการตลาดของเครื่องบินรบที่มีเพียง 2.8 พันล้านเหรียญหรือ 3.4
หมื่นล้านบาทในปี 2005 ทำให้บริษัท Honda
มองเห็นลู่ทางที่จะเข้าไปทำตลาดเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวที่ยังคงเปิดกว้าง
สำหรับกลุ่มบริษัทขนาดยักษ์ทั่วโลกในแวดวงอากาศยานพลเรือน
จากการสำรวจทางการตลาดของHonda
พบว่า50เปอร์เซนต์ของความต้องการเครื่องบินเจ็ทขนาดเล็กจะมาจากกลุ่มอดีต
นักบินที่ต้องการมีเครื่องบินส่วนตัวไว้บินเล่นยามพักผ่อน ส่วนอีก 40-50
เปอร์เซนต์จะมาจากกลุ่มบริษัทที่เปิดให้เช่าเหมาเครื่องบินและเศรษฐีที่
ต้องการมีเครื่องบินส่วนตัวไว้ใช้งานในการเดินทางประกอบธุรกิจ เครื่องบิน
Honda Jet
น่าจะกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับบรรดาลูกค้าที่ต้องการเทคโนโลยีแบบใหม่
ของการบิน ความหรูหราสะดวกสบายของพื้นที่ใช้สอยบนเครื่อง
สมถรรนะที่ดีเยี่ยมไม่เป็นรองเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวจากบริษัทผู้ผลิตรา
ยอื่นๆ รวมถึงการประหยัดเชื้อเพลิงที่ค่าย Honda มีความโดดเด่นในเรื่องนี้

Mr. Fugino Fight Engineer Of Honda Jet
Mr. Fugino วิศวกรการบินในกลุ่มบริษัท Honda จึงตกลงที่จะเลือกที่ตั้งของโรงงานและสำนักงานใหญ่ในเมืองกรีนส์โบโร ใกล้กับนอร์ธแคโรไลนาซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ การบิน โรงงานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยสำนักงานขายขนาดใหญ่และศูนย์ซ่อมบำรุงหลังการขาย รวมไปถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาทางด้านเทคนิคของเครื่องบินในอนาคต แนวทางในการใช้พื้นที่ดังกล่าวเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมของเมืองกรีนส์โบโรที่ มีความเหมาะสม การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในสนามบินที่จำเป็นต่อการทดสอบการบิน สามารถขนสินค้าหรืออะไหล่ส่วนประกอบของตัวเครื่องได้สะดวกรวดเร็วเนื่องจาก ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือและเป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้าทางอากาศ ผู้ร่วมงานในบริษัทมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือต่างๆและมีความรู้ความ เข้าใจในสาขาวิศวกรรมการบินและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการบิน เมื่อทุกอย่างถูกเตรียมพร้อมเอาไว้แล้วแผนแบบเครื่องบินเจ็ทส่วนตัวของ Honda จึงเริ่มต้นขึ้น

Layout And Plan
แนว
คิด ทางวิศวกรรมการบินที่นำเอาเครื่องยนต์มาติดตั้งไว้บนปีกทั้งสองข้างของ
Honda
ถือได้ว่าเป็นการท้าทายด้านการออกแบบของวิศวกรการบินผู้ออกแบบตัวเครื่อง
เป็นอย่างมาก
เนื่องจากการติดตั้งเครื่องยนต์บนปีกของเครื่องบินมีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรง
ต้านทางอากาศพลศาสตร์ของตัวเครื่องและทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
มากกว่าแบบปกติ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมถรรนะในการบินด้วยความเร็วต่ำ
ความแข็งแรงและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของตัวปีก
แต่ข้อดีของมันคือได้พื้นที่ในลำตัวแทนที่จะใช้พื้นที่นั้นมาทำเป็น
โครงสร้างเพื่อรับน้ำหนักของเครื่องยนต์
เหมือนกับเครื่องบินไอพ่นส่วนตัวขนาดเล็กทั่วๆไปที่นิยมติดตั้งเครื่องยนต์
ไว้ในบริเวณส่วนท้ายของลำตัว
แนวคิดดังกล่าวเคยถูกนำไปใช้ในเครื่องบินVFW614ของเยอรมันในช่วงปี
1967แต่ไม่ประสบความสำเร็จ วิศวกรการบินของ Honda
จึงทำการปรับแก้ให้ตัวเครื่องHonda Jet มีการใช้เชื้อเพลิงลดลง
และเพิ่มประสิทธิ์ภาพในการบินด้วยความเร็วต่ำที่เข้าใกล้กับความเร็วร่วง
หล่น (Stall Speed) โดยไม่มีผลต่อความแข็งแกร่งและน้ำหนักของปีกมากนัก
การใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และการทดสอบความเร็วทรานโซนิค
(ความเร็วที่เข้าใกล้ย่านความเร็วเสียง)ในอุโมงค์ลมของบริษัท Boeing
และอุโมงลมความเร็วต่ำของบริษัทHonda
ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อกำหนดตำแหน่งที่ดีที่สุดบนปีกเพื่อติดตั้งเครื่องยนต์
จากการทดลองดังกล่าวทำให้ทราบว่าการติดตั้งเครื่องยนต์บนปีกในตำแหน่งที่ถูก
ต้อง สามารถเพิ่มความเร็วสูงสุดของตัวเครื่องบินได้ดี
ทั้งยังช่วยลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงได้มากกว่าเครื่องบินเจ็ทขนาดเล็กที่มี
เครื่องยนต์ติดอยู่กับลำตัวอีกด้วย



Structure
เนื่อง จาก ต้องการความแข็งแกร่ง วัสดุที่ใช้ทำปีกและแพนหางของเครื่องHonda Jet จึงทำมาจากโลหะทั้งหมด โครงสร้างของปีกถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ปีกซ้าย ปีกขวาและโครงส่วนกลางหรือส่วนที่ใช้ในการพยุงปีกเพิ่มคานรับปีกอีกสาม ตำแหน่งเพื่อช่วยในการลดแรงเค้นที่เกิดขึ้นบนปีก(Rid)และต้านทานการโก่งงอ ของปีกได้ดียิ่งขึ้น ในส่วนนี้ได้ทำการติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งปีกซ้าย-ขวาและถังตรง บริเวณส่วนกลาง แต่ถังเชื้อเพลิงของ Honda Jet มีถึง 4 ถังโดยที่ถังสุดท้ายจะอยู่ติดกับส่วนพยุงปีกค่อนไปทางด้านท้ายของตัวเครื่อง ผิวของปีกใช้เครื่องจักรในการขึ้นรูป เพื่อรักษารูปทรงและการไหลของอากาศให้มีความราบเรียบมากที่สุด การออกแบบให้มีรอยต่อน้อยที่สุดทำให้การใช้งานเต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิ์ภาพ ชายหน้าของปีกติดตั้งระบบละลายน้ำแข็งที่ใช้ท่อเชื่อมต่อนำอากาศร้อนของ เครื่องยนต์มาช่วย ตำแหน่งของคานระหว่างปีกและเครื่องยนต์อยู่ในจุดเดียวกันกับชุดฐานล้อเพื่อ รับแรงกระทำในระหว่างการบินขึ้นและร่อนลง โครงสร้างของแพนหางรูปตัว T ใช้ส่วนประกอบที่คล้ายกันกับปีกแต่ใช้คานเพียงสองตำแหน่ง ลำตัวของเครื่องบินHonda Jetใช้วัสดุผสมประเภทเส้นใยคาร์บอนและอีพร็อกซี่เป็นส่วนประกอบ โดยทำการอบชึ้นรูปด้วยเตาอบออโตคลาฟขนาดยักษ์ โครงสร้างของลำตัวแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ ส่วนหน้า ส่วนกลางและส่วนท้าย สำหรับโครงสร้างส่วนหน้าและส่วนท้ายใช้ผิวแบบโครงสร้างแซนวิช แต่ส่วนกลางเป็นโครงสร้างแบบเสริมความแข็งแรงด้วยระแนงปีก ด้วยคุณลักษณะโครงสร้างของลำตัวเครื่องที่เท่ากันตลอดทั้งลำ ทำให้การขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์เพียงชิ้นเดียวสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสร้างแบบ พิมพ์ กระจกหน้าของห้องนักบิน (Cockpit) ทำจากอะคิลิคความหนาสองชั้น กั้นกลางด้วยโพลี่ยูรีเทนติดระบบละลายน้ำแข็ง สามารถทนทานต่อแรงกระแทกจากสิ่งแปลกปลอมได้ตามกฎข้อบังคับของการบินพลเรือน



Aerodynamic
แนว คิดในการบินขึ้นสู่ท้องฟ้าของ Honda Jet มีความท้าทายต่อกฎขั้นพื้นฐานของแรงโน้มถ่วงและอากาศพลศาสตร์ โดยสภาพการธรรมชาติ อากาศที่ไหลด้วยความเร็วสูงกว่า 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมงผ่านปีกและลำตัวของเครื่องบินมีความปั่นป่วนไม่เป็น ระเบียบ(Turbulent) ที่เกิดจากความไม่เรียบของพื้นผิวปีก ผิวของลำตัวหรือน้ำแข็งที่เกาะในขณะที่บินอยู่ในเพดานบินสูงๆหรือระดับความ ปั่นป่วนของอากาศที่บินผ่าน ผลที่ตามมาคือค่าที่เพิ่มขึ้นของแรงต้านอากาศส่งผลกระทบโดยตรงไปถึงการสิ้น เปลืองเชื้อเพลิง วิศวกรของ Honda มีแนวคิดที่จะทำให้อากาศที่ไหลผ่านตัวเครื่องมีความราบเรียบสม่ำเสมอตาม ธรรมชาติ จึงมุ่งไปที่การพัฒนารูปทรงของปีกและช่วงลำตัวส่วนหัวของเครื่องบิน (ถ้าคำนวนถูกต้อง แรงต้านอากาศที่กระทำต่อ Honda Jet จะลดลงถึง 20เปอร์เซนต์โดยใช้แนวทางเดิมของ NASA ที่เคยมีการออกแบบส่วนปีกลดแรงต้านเอาไว้มาพัฒนาต่อยอดจนได้ปีกที่เรียกว่า SHM1 จากการออกแบบที่ผ่านการคำนวนทางทฤษฎีและแบบจำลองจากคอมพิวเตอร์ แล้วนำโมเดลย่อส่วนมาทดสอบอย่างหนักในอุโมงลมความเร็วต่ำของ Honda อุโมงลมความเร็วทรานโซนิคที่ Onera ซึ่งเป็นของบริษัท Boeing หลังจากเครื่องต้นแบบประกอบเสร็จเรียบร้อยก็ทำการบินทดสอบในสภาวะบินจริง ทันทีและตามมาด้วยการประสบความสำเร็จอย่างงดงามยิ่งใหญ่ ตัวเครื่องที่ทีมวิศวกรของ Honda บรรจงออกแบบทำการบินได้ตามค่ามาตรฐานที่่ต้องการ พัฒนาการที่เกิดขึ้นจากการพยายามทำให้พื้นผิวของ Honda Jet มีการไหลของอากาศเป็นไปตามธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ในทุกสัดส่วนเกิดขึ้นจาก มันสมองของ Mr. Fugino โดยใช้หลักทั้งทางทฤษฎี การจำลองสภาพเหมือนจริงในคอมพิวเตอร์ประมวลผลความเร็วสูง รวมถึงหุ่นจำลองส่วนหัวเพื่อนำมาทดสอบในอุโมงลม ทำให้แรงต้านทานของอากาศลดลงจนอยู่ในค่าที่ตั้งไว้



Cockpit
Honda Jet เป็นเครื่องบินไอพ่นส่วนตัวขนาดเล็ก การออกแบบห้องโดยสารที่อยู่ในส่วนกึ่งกลางของลำตัวเครื่องจึงมีพื้นที่เล็ก กระทัดรัด ภายในถูกตกแต่งด้วยการใช้โทนสีอ่อนตามลักษณะและมาตรฐานของเครื่องบินเจ็ท ส่วนตัว ใช้บานหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมข้างลำตัวฝั่งละสามช่อง เบาะที่นั่งแยกเป็นที่นั่งเดี่ยวทั้งสี่ตำแหน่งแบบหันหน้าเข้าหากัน เว้นพื้นที่ว่างไว้ตรงกลางเพื่อช่องทางเดิน โต๊ะทำงานแบบพับเก็บได้ และยังที่นั่งเสริม สำหรับเลขาหรือผู้ติดตามอีกหนึ่งที่นั่ง ส่วนท้ายของเครื่องบินมีห้องน้ำขนาดมาตราฐานไว้รองรับการเดินทางไกล แบ่งส่วนการบรรทุกสัมภาระเป็นสองส่วน คือ ส่วนหน้า และส่วนท้ายของเครื่องบิน ระวางบรรทุกสัมภาระด้านท้าย กว้างขวางพอที่จะนำถุงกอลฟ์ และกระเป๋าเดินทางสำหรับผู้โดยสารไปได้หลายใบ ซึ่งมันเพียงพอสำหรับการเดินทางเพื่อติดต่อทางธุรกิจและการพักผ่อนไปกับ ครอบครัว


HF120 Turbofan Engine
เครื่อง ยนต์ ที่ติดตั้งให้กับเครื่องบิน Honda Jet เป็นเครื่องยนต์กังหันไอพ่นแบบเทอร์โบแฟน รหัส HF120 เป็นผลงานการร่วมมือกันของบริษัท GE และ Honda ขนาดแรงขับ 2,050 ปอนด์อัตราส่วนแรงขับเกิดจากใบพัดหน้าสูงกว่าที่ได้จากท่อท้าย 2.9 เท่าเครื่องยนต์มีขนาดความยาว 111.8 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 53.8 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเพียง 180 กิโลกรัม ขนาดที่เล็กและน้ำหนักที่เบามากของเครื่องเทอร์โบแฟนตัวนี้ทำให้มันเป็น เครื่องยนต์ไอพ่นที่มีความกระทัดรัดมากที่สุด มีแรงขับสูง สันดาปเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงไม่มาก เหมือนเครื่องกังหันไอพ่นขนาดใหญ่ อายุการใช้งานของเครื่องHF120 ยาวนานถึง 5,000 ชั่วโมงบิน เป็นเครื่องยนต์ไอพ่นรุ่นใหม่ที่ใช้โลหะ Titanium และ Crystal ที่ทนความร้อนสูง มีชุดอัดอากาศแบบไหลรอบแกน 2 ชั้นกลีบใบพัดหน้า ออกแบบให้มีความกว้างมากเป็นพิเศษและทนทานต่อวัสดุแปลกปลอมขนาดเล็กที่อาจ ถูกดูดเข้าไปได้ เครื่องยนต์ถูกควบคุมการทำงานด้วยระบบ FADEC สองชุด ถึงแม่ว่ามันจะเป็นเครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟนตัวเล็กจิ๋ว แต่เมื่อรวมกำลังทั้งสองเครื่องแล้วสามารถขับเคลื่อนเครื่องบิน Honda Jet ไปได้ถึงระดับความเร็วสูงสุดที่ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยจะใช้เวลาบินจากกรุงเทพไปเชียงราย สมุยหรือภูเก็ตเพียง 1 ชั่วโมงบินเท่านั้น

Pilot Cockpit
ห้อง นักบิน เป็นแบบ Glass Cockpitออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์อย่างเรียบง่ายเพื่อให้นักบินทั่วไปและผู้ เป็นเจ้าของได้บินเอง มุมมองและทัศนวิศัยในการมองเห็น180 องศาแต่พื้นที่ภายในค่อนข้างคับแคบเนื่องการการเป็นเครื่องบินขนาดเล็ก ทุกอย่างภายในห้องนักบินจึงมีแต่อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการบังคับและควบคุม Cockpit Controlประกอบด้วยจอภาพ LCD ขนาดใหญ่ 3 จอ วางไว้ในแนวนอนมองเห็นได้อย่างถนัดตา จอ PFD ทั้งสองข้างผืนจอทั้งหมดแสดงท่าทางการบินของเครื่องบินในแบบReal Timeจอตรงกลางเป็นจอเอนกประสงค์ (MPD) ใช้แสดงแผนที่การเดินอากาศและมาตรวัดเครื่องยนต์ ระบบเดินอากาศแบบดิจิตอลของ Garmin G1000ซึ่งใช้งานอยู่อย่างแพร่หลาย คันบังคับเป็นแบบ Yoke ขนาดใหญ่ออกแบบให้จับได้ถนัดมือ

Flight Testing
หลัง
จากการทดสอบบนภาคพื้นดินอย่างหนักกับ เครื่องบิน Honda Jet เสร็จสิ้นลง
การทดสอบการบินจริงจึงเริ่มต้นขึ้นโดยทาง AP Honda
ได้ใช้สนามบินแห่งหนึ่งของรัฐนอร์ธแคโลไรน่า
สหรัฐอเมริกาเป็นสถานที่ทดสอบการขึ้นบินของ Honda Jet
โดยวิศวกรการบินจะนำเอาอุปกรณ์เครื่องประกอบการวัดค่าต่างๆติดตั้งบนตัว
เครื่องและส่งถ่ายข้อมูลที่สำคัญสู่สถานีภาคพื้นดินด้วยการประมวลผลตามเวลา
จริง เครื่องมืิอประกอบการวัดต่างๆนั้น
มีทั้งการวัดค่าของแรงที่มากระทำต่อตัวเครื่องเมื่อบินในลักษณะต่างๆ
ข้อมูลของการทำงานและระบบต่างๆที่ควบคุมเครื่องยนต์
การเร่งหรือเบาเครื่องยนต์ในขณะที่กำลังทำการบินระดับ
การตอบสนองของเครื่องยนต์ในขณะที่บินผ่านความสูงในระดับที่ต่างกัน
การตอบสนองต่อการบังคับควบคุมในส่วนของพื้นบังคับที่จะขยับในมุมและองศาที่
จะส่งผลต่อตัวเครื่อง การทำความเร็วสูงสุดและระดับเพดานบินสูงสุด
และสุดท้ายคือการร่อนลงจอดในสภาวะที่แตกต่างกัน
โปรแกรมการบินทดสอบในระยะแรกมีการเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขให้เครื่อง
มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด
โดยเก็บข้อมูลการกางออกหรือพับเก็บของระบบฐานล้อ
ค่าของแรงที่มากระทำต่อปีกเสริมแรงยกในสภาวะของการบินที่แตกต่างกัน
การจำลองเหตุฉุกเฉินเช่นระบบไฟฟ้าบนตัวเครื่องล้มเหลวทั้งระบบ
หรือระบบไฮดรอลิกส์ในส่วนควบคุมการบินที่มีความสำคัญเกิดขัดข้อง
กลยุทธ์
ทางการตลาดของยักษ์ใหญ่ในโลกอุสาหกรรมการผลิตจักรกลเพื่อการเดินทางของ
Honda
ฉีกแนวทางการขายเครื่องบินไอพ่นส่วนตัวขนาดเล็กทั่วๆไปแบบที่คาดไม่ถึงด้วย
การขายปลีกทีละเครื่องผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือดีเลอร์ใน 5 ภูมิภาคของอเมริกา
ตัวแทนจำหน่ายทั้ง 5 แห่งในสหรัฐฯจะมีศูนย์บริการที่ให้บริการซ่อมบำรุง
ตรวจเช็ค
ติดตั้งระบบต่างๆที่เป็นออฟชั่นเสริมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับศูนย์บริการของ
รถยนต์ Honda ทั่วไป
ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อเครื่องหลายๆลำสามารถสั่งซื้อที่กรีนส์โบโรได้
โดยตรง จากปริมาณยอดจองในขณะนี้ทำให้ Honda สามารถส่งมอบเครื่องบิน Honda
Jet ลำแรกให้กับลูกค้าได้ในปี 2010 นี้โดยตั้งเป้าหมายการผลิตที่70ลำต่อปี

Honda Jet HA-420 Specifications
แบบ................................................ เครื่องบินเจ็ทส่วนตัวขนาดเล็ก Very Light Jet
จำนวนผู้ โดยสาร..............................นักบิน2นาย ผู้โดยสาร4คน
มิติห้อง โดยสาร
ความกว้างลำตัว...............................5.0 ฟุต
ความยาว.........................................17.80 ฟุต
ความสูง...........................................4.94 ฟุต
มิติ ลำตัวเครื่อง
ความกว้าง.......................................39.87 ฟุต
ความยาว.........................................41.70 ฟุึต
ความ สูง..........................................13.21 ฟุต
เครื่องยนต์.......................................GE- Honda/HF120 Turbofans
กำลังขับ สูงสุด.................................1880 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ความเร็ว สูงสุด.................................420 น็อต/ชั่วโมง 778 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เพดานบินสูงสุด................................41.000 ฟุต
น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด...........................4173 กิโลกรัม
พิสัย บินไกล.....................................1400 นอติเคิลไมล์ 2037 กิโลเมตร
ระยะทางบินขึ้น.................................3120 ฟุต
ระยะ ทางร่อนลง................................2500 ฟุต
เอกสาร และข้อมูลอ้างอิงจาก
The Aerospace Magazine June 2007
www.bloggang.com => ของตาโย หรือป่าวหว่า
arcom roumsuwan
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Photo By
http://hondajet.honda.com
www.airliners.net
www.honda.co.jp
www.airportjournals.com