หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สมรรถนะ JAS 39 C/D , J-10 และ F-16 Block 50/52

โดยคุณ : Milano_thai เมื่อวันที่ : 13/05/2010 17:09:02

นักบิน : 1คนสำหรับรุ่นC และ2คนสำหรับรุ่นD
น้ำหนักบรรทุกเต็มที่ : 19.2ตัน
เครื่องยนต์ : 1x Volvo Aero RM12(GE F404) Afterburning Turbofan
ความเร็วสูงสุด : 2มัค
พิสัยการบินไกลสุด : 800กิโลเมตร(500ไมล์)
เพดานบินสูงสุด : 50,000ฟุต
ปืนใหญ่อากาศ : 1x 27mm Mauser BK-27 canon
ระบบอาวุธ : ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
                       ระเบิดเลเซอร์
                       กระเปาะจรวด
                       ขีปนาวุธต่อต้านเรือรบ
                       ระเบิด





ความคิดเห็นที่ 1



    อายุเฉลี่ยนของ F-16 ที่ประจำการอยู่ทั่วโลกคือ 17.86  ปีครับ
http://www.f-16.net/fleet-reports_article10.html เพราะฉะนั้น F-16
กว่าครึ่งจากจำนวนทั้งหมดที่ผลิตจะปลดประจำการในอีก 12 ปีข้างหน้า(2021)
หมายความว่าอะไหล่ของ F-16 ต่อไปในอนาคตจะหายากมากขึ้นแน่นอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศใหญ่ ๆ ที่เคยใช้งานรวมไปถึงประเทศผู้ผลิต
เองปลดประจำการ

    และปัจจุบันถ้าไม่มีประเทศใดสั่งซื้อเพิ่มเติมสายการผลิตของ F-16 จะปิดตัวลง
ในปี 2013 เพื่อหลีกทางให้ F-35 การผลิต spare part และ ware part ต่าง ๆ
ก็จะค่อย ๆ ลดลง ในขณะที่ราคาแต่ละชิ้นกลับถีบตัวเพิ่มสูงขึ้น

   ถ้าหากเราซื้อ  F-16 ในปี 2007 นั้นหมายความว่าเราต้องใช้งานเครื่องบินไปอีก
อย่างน้อย 30 ปี(ปลดประจำการ 2040) ถ้าโชคดีก็คงสามารถใช้งานไปได้ 20 ปีโดย
ไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่ แต่หลังจากนั้นแล้วคนส่วนใหญ่ในโลกก็จะใช้งานเครื่องบิน
รุ่นใหม่กันหมด โดยยังคงมี F-16 ประจำการอยู่ในโลกนี้เพียงไม่กี่ร้อยลำครับ

F-16 เป็นของบินที่ดี แต่ทุกวันนี้แผนแบบเครื่องรุ่นนี้ในเก่าเกินไปที่จะนำเครื่อง
ใหม่ ๆ มาประจำการแล้วครับ มันถึงคราวที่คลื่นลูกใหม่จะมาแทนแล้วครับ

ปล. ทอ. เราวางแผนปลด F-16 ฝูงสุดท้ายในอีก 20 ปีข้างหน้าเช่นกันครับ

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 07/05/2010 18:24:35


ความคิดเห็นที่ 2


ลงจอดถนนปรกติได้ก็เท่สุดๆแล้วไม่ต้องคิดอะไรมากเลย(ล้อเล่น)

 

พี่ข้างบนก็อธิบายData link จนเห็นภาพซะขนาดนี้

 

ผมจะไม่เชื่อใจJas-39 ได้ไง

โดยคุณ ZipDoZs เมื่อวันที่ 06/05/2010 03:29:55


ความคิดเห็นที่ 3


เลือก F-16 MLU,jas-39 C/D,NG เพราะมองตัวเลือกทั้งการถ่ายถอดเทคโนโลยีและทุนการศึกษาแล้วก็ถือว่าคุ้มแล้วครับ เราต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่างๆค่าปฎิบัติการ การบำรุงรักษา และความพร้อมรบ ในระยะยาวครับ
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 06/05/2010 10:14:32


ความคิดเห็นที่ 4


อยากเห็นประเทศเราใช้ su47 mig47(พิมถูกป่าวหว่า ลืม) มั่งอะคับ
โดยคุณ Black เมื่อวันที่ 07/05/2010 05:55:01


ความคิดเห็นที่ 5


ปกติไทยเราใช้อาวุธสหรัฐ ประมาณ ๘๐ เปอร์เซนต์ ครับ นอกนั้นก็เป็นจีน กับประเทศอื่นๆจำนวนเล็กน้อยครับ

ยิ่งการ ทำ เอ็มแอลยู เอฟ ๑๖ ทั้งสามฝูง ก็ยิ่งตอบย้ำว่าเราต้องพึ่งพาสหรัฐอยู่ดีครับ  ดังนั้นถ้าเราจะไม่เลือก กริเป้น แต่เราไปเลือก เอฟ ๑๖ บล็อค ๕๐/๕๒ แทน เราก็จะมี เอฟ๑๖ ครบ สี่ฝูง ลองคิดถึงการฝึก อบรม และ การซ่อมบำรุง ซิครับว่าเราจะ ประหยัดได้แค่ไหน แม้ว่าอะไหล่ตัวถัง ของรุ่น เอ /บีกับ รุ่น ซี/ดี มันจะ ใช้ร่วมกันไม่ได้ก็ตาม แต่อย่าลืมว่า อะไหล่ ตัวอื่นๆ อย่าง เรด้าห์ เครื่องยนต์ หรือ ชิ้นส่วน อิเลคทรอนิตส์นี่ มันมีอายุการใช้งานของมันเอง และไม่ยากที่จะนำมาทดแทนกันนาครับ 

การซื้อกริเป้น ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะลดการพิ่งพาจากสหรัฐหรอกนาครับ เพราะผมบอกแล้วว่า สวีเดนมันทำตัวถังเครื่องบินขายอย่างเดียวดังนั้น หากเราจะซื้อ เครื่องบินกริเป้น เพิ่ม ทางสวีเดนต้องทำเรื่องไปยังสหรัฐให้ ทางรัฐสภาสหรัฐอนุมัติ ขายเครื่องยนต์ และ อาวุธ ที่ทำในสหรัฐให้ไทยอยู่ดีครับ ส่วนระบบเรด้าห์ หรืออาวุธอื่นๆค่ายยุโรป นี่คงต้องขออนุญาติจาก ประเทศเจ้าของสิทธิบัตร อย่าง อังกฤษ หรือประเทศยุโรปอื่นๆก่อนครับ  ดังนั้น แทนที่มันจะต้องขออนุญาติ สหรัฐโดยตรง ทำไมเราต้อง ทำผ่าน สวีเดนให้มันวุ่นวายไม่เข้าเรื่องด้วยละครับ ดูแล้วมัน ฉลาดตรงไหนไม่ทราบครับ

เรื่อง ระบบดาต้าลิ้ง หรือ เครื่องบิน อิริอายนี่ นี่มันอยู่ในโครงการจัดหาเครื่องบินเพื่อทดแทน เอฟ๕ อี/เอฟ  ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ  ถ้าจะเอา อิริอาย จริงๆ ก็น่าจะตั้งเป็นโครงการใหม่อีกอันแยกต่างหากนาครับ เหมือน ประเทศอื่นๆ อย่าง กรีซ หรือ มาเลเซีย เขาครับ แพงหน่อย แต่ในระยะยาวผมว่าน่าจะคุ้มกว่า ซื้อ เป็น แพคเกจ นาครับ

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 07/05/2010 17:23:02


ความคิดเห็นที่ 6


เท่าที่ทราบนะครับ deal นี้

เราซื้อระบบมาครับ

Jas 39 C/D เป็นแค่ element

ของระบบทั้งหมด

โดยคุณ SRT_508 เมื่อวันที่ 04/05/2010 02:12:48


ความคิดเห็นที่ 7


เข้ามายืนยันตามที่เพื่อนผมอีตาเด็กทะเล(ขวัญใจพี่ๆแขนแดง)บอก ความโดดเด่นของ JAS-39 ณ.เสี่ยโย( เสี่ยช่วยบอกวิธีการเป็นนายหน้าหน่อยจิ เพราะดีล Lot แรก มูลค่า 36,000 ล้าน เสี่ยได้มา 20,000 ล้านแต่เรือดำน้ำมาเลย์ 2ลำมูลค่า 40,000 ล้าน ยังมีข่าวออกมาว่าค่านายหน้า แค่ 5,000 ล้านเอง เอิ๊กๆๆๆๆ) เข้าเรื่องความโดเด่น ของJas-39 นั้นคือระบบ Data Link ยกตัวอย่างภารกิจ Flying Internet ซึ่งจะช่วยเพิ่ม Situation Awareness เป็นการส่งข้อมูลของเป้าหมายที่ต้องการจะทำลายจากภาคพื้นขึ้นไปให้นักบิน นักบินสามารถเข้าทำลายเป้าหมายโดยส่วผ่านข้อมูลต่อไปยังลูกหมู่ในหมู่บิน เดียวกันด้วยระบบ Data Link เช่นกัน ซึ่งการโจมตีเป้าหมายโดยที่นักบินไม่ส่งสัญญาณของตัวเองออกไปจะไม่ทำให้ข้า ศึกรู้ตัว เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับฝูงบินครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 03/05/2010 22:25:59


ความคิดเห็นที่ 8


เอางี้ดีกว่าครับ

ถ้าเรารับ JAS 39 ครบ 6 ลำแรกเมื่อไหร่ก็เชิญ พี่สิงห์ พี่มา น้องเหงียนกับพี่โด มาร่วมฝึกการใช้อาวุธด้วยกันเลยที่กองบิน 1 จะได้ล้วงลับตับแลบไปเลยใครเจ๋งไม่เจ๋ง ทำนองเดียวกับการฝึก RED Flag ของอเมริกา

โดยคุณ ddd2521 เมื่อวันที่ 03/05/2010 21:56:58


ความคิดเห็นที่ 9


ท่าน data ครับ เอฟ16บล๊อค60 ทาง UAE  เขาจ่ายแป๊ะเจี้ยให้มะกันแล้วว่าห้ามเอาไปขายใคร

บริษัท SAAB ก็เป็นตัวหลักในการจัดหาของกองทัพอากาศสวีเดนมาตั้งนานแล้ว ประเทศเขาเจ๋งไม่เจ๋งผมไม่รู้แต่โซเวียตยังบุกพี่แกไม่เข้าเลย อ้อๆๆๆ ขนาดเครื่องมะกันเองก็ไม่ใช่ว่าเมดอินยูเอสเอทั้งลำเหมือนกันนะครับ  อ๊ะอีกเรื่อง ถ้า F-35  เป็นอนาคตที่ยาวเกินไป เพราะกว่าจะถึงคิวเรา และหลักนิยมของกองทัพอากาศยังเป็นแบบปัจจุบัน พ่อคนฉลาดซ้ำซ้อนช่วยแนะนำตัวเลือกให้พวกโง่ซ้ำซากได้บรรลุหน่อยได้ไหมครับ
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 03/05/2010 17:42:22


ความคิดเห็นที่ 10


Jas 39 C/D คุ้มค่ากับการมาประจำการกองทัพกาศไทยแน่นอนครับ อย่ามองแค่ประสิทธิภาพของเครื่องที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เครื่องบินรบทุกรุ่นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันตามภารกิจ แต่มองว่าเราได้อะไรบ้างกับการมาของเครื่องบินรบจากสวีเดน อนาคตเราต้องพึ่งพาตนเองในเรื่องเทคโนโลยี และสิ่งที่เราได้มาครั้งนี้ก็ตอบโจทย์ตรงนี้ได้เป็นอย่างดี 

โดยคุณ จานแหลม เมื่อวันที่ 03/05/2010 13:31:09


ความคิดเห็นที่ 11


ผมว่ามันวัดกันยากน่ะครับ

ที่จะบอกว่าอันไหนดีกว่ากัน

แต่ที่แน่ jas39 ทอ. ได้ความรู้ + เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ

 

มันคงจะดีกว่าถ้าเกิดสงครามแล้วนำ jas 39 ไปจอดไว้ในบ้านผม

เดียวเคลียทางขึ้นให้ เอาหน้าบ้านเลย 555+

โดยคุณ joe_LFC เมื่อวันที่ 09/05/2010 06:11:08


ความคิดเห็นที่ 12


ผมเห็นด้วยกับทุกความคิดเห็นยกเว้น ความคิดเห็นของคุณ data น่ะครับ

โดยคุณ dog_canoo เมื่อวันที่ 08/05/2010 23:41:05


ความคิดเห็นที่ 13


เพิ่มข้อมูลจาก FOI หรือ Swedish Defence Research Agency

ในเอกสารชุดนี้ระบุข้อมูลเรื่อง RCS ของ Gripen ว่าเท่ากับ 0.1 m^2 (ด้านหน้า) More Detail

  สำหรับผม Gripen C/D เป็นระบบอาวุธที่สมบูรณ์แบบกว่าแบบอื่น ๆ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
ในปัจจุบัน ภายใต้ข้อจำกัดด้านงบของประเทศ และลักษณะทางกายภาพของประเทศไทย
อีกทั้งมี Situation awareness ที่ดีกว่า มีความอ่อนตัวที่มากกว่าแบบอื่น ๆ  ซึ่งถ้าตกอยู่
ในมือนักบินชั้นยอดของกองทัพอากาศไทย เชื่อว่าเป็นการยากที่เครื่องบินรุ่น ๆ อื่น
ในภูมิภาคจะต่อกรด้วยครับ

 

ปล. case นี้เชื่อใจ ทอ. ไทยเถอะครับ กรณีนี้คงไม่เหมือน GT-200 อย่างแน่นอนครับ ^^

โดยคุณ Red@Baron เมื่อวันที่ 03/05/2010 06:39:17


ความคิดเห็นที่ 14


ตามเรปบนครับไม่มีมิตรแท้และศัตรูที่ถาวร ถ้าพึ่งพาตระกูลFจากพี่มะกันมากๆระวังเอาไว้หน่อยก็ดี

 ตัวอย่างมีให้เห็น F14 ของอิหร่าน จอดตายเป็นแถวเพราะพี่มะกันไม่ขายอะไหล่ให้

หรือดูเพื่อนบ้านอย่าง F16 อินโด ที่ผ่านมาก็แทบแย่เหมือนกัน

โดยคุณ Battleship เมื่อวันที่ 03/05/2010 02:45:22


ความคิดเห็นที่ 15


อย่างน้อย ฉลาดกว่าซื้อ F16 เก่าๆ ครับ คุณ data
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 08/05/2010 10:39:23


ความคิดเห็นที่ 16


มองกันยาว ๆ อะไรคุ้มค่ากว่ากัน

อีก สิบปี น้ำมันลิตรละเท่าไร

คชจ  ของเครื่องแต่ละแบบ จะเป็นยังไง


โดยคุณ แมว เมื่อวันที่ 02/05/2010 20:48:48


ความคิดเห็นที่ 17


โดยส่วนตัวผมมีความเชือมั่นในเทคโนโลยีของSAABครับ เพราะ ทอ.สวีเดน ใช้งานเครื่องบินที่ผลิตในประเทศของตนอย่างเหนียวแน่น น่าจะมีวิธีคิดในการพึ่งพาตนเองที่ดี ซึ่งหากเราใช้บริการเทคโนโลยีทางทหารกับประเทศเค้ามากๆและนานๆ เราน่าที่จะสามารถเรียนรู้เทคนิค และวิธีการ ในการผลิต,การซ่อมบำรุง ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และซอร์ฟแวร์ ซึ่งนี้ต่างหาก น่าที่จะเป็นแนวทางการพัฒนา ทอ.บ้านเราได้อย่างยั่งยืน และปลดแอก ระบบการป้องกันภัยทางอากาศบ้านเรา ให้เป็นเอกราชในทางปฎิบัติจริงๆ ไม่ใช้ต้องคอยเหลือบตามองยูเอส เพื่อขออนุมัติ นู้น นี่ นั่น ตลอดเวลา และโดยส่วนตัวอยากให้กองทัพบ้านเราอิงระบบอาวุธจากโซนยุโรปมากกว่าครับ เพราะดูจะถูกแทรกแซงได้น้อยกว่า เมื่อเทียบกับยูเอส
โดยคุณ RMUTK เมื่อวันที่ 03/05/2010 01:57:38


ความคิดเห็นที่ 18


JAS-39 นั้นเด่นเรื่องระบบ ดาต้าลิงค์ ครับ ส่วนเรื่องสมรรถนะนั้น ค่อนข้างจะเป็นรองเครื่องบิน F-16C/D Block 50/52 อยู่ ที่กองทัพอากาศเลือก JAS-39C/D น่าจะมาจากข้อเสนอที่ดีและแพ็คเกตมากกว่าครับ และกองทัพอากาศก็มาระบุแล้วว่า จะจัดหา JAS-39 แค่ฝูงเดียว

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 03/05/2010 00:41:07


ความคิดเห็นที่ 19


ท่าทาง data จะไม่ค่อยปลื้มกะ JAS นะครับ ^^


ขอค้านเรื่อง เงิน นิดหน่อยนะ คุณdata มีเงิน คงไม่ได้ ของใหม่ล่าสุด ถ้า รัฐสภามะกัน ไม่อนุมัติขาย แต่จีนไม่แน่ อัดมาให้เยอะ แต่ คุณภาพ คับแก้ว

ไม่ต้องไปสงสาร SAAB เพราะ เขาเอาก็ยืนอยู่ในวงการนี้มาพอตัว ดูจาก ทอ  เขา ไม่ได้ใช้ เครื่องบิน ตระกูล F เลย 

ส่วน NG  ผมมองว่า น่าจะเป็นแค่ demo หละ เพราะ สุดท้าย ต้องไปยุค 5อยู่ดี  ต้องถามว่า ทำไมไปช้ากว่าชาวบ้านหละ  คงเพราะ SAAB เองเป็นบริษัทเล็ก ในประเทศ เล็ก ฉะนั้นการทำ อะไรที่ใหม่ ๆ ต้นทุนแพง สู้เขาไม่ได้ ต้องรอ เทคโนโลยี ให้ราคาสมน้ำสมเนื้อถึงจะทำ 

 
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 02/05/2010 18:48:06


ความคิดเห็นที่ 20


ตอบ rep บน

ซื้อ F-16   12เครื่อง  ในราคา Jas39 เราไม่ได้อะไรนอกจากเครื่องเปล่า

กับ

ซื้อ Jas39  12เครื่องในราคาเดียวกัน ได้ 1.อาวุธต่อต้านเรือ 2.ดาต้าลิงค์ 3.Awac 4.ทุนการศึกษา 5.ระบบสนับสนุนภาคพื้นดิน 6.เปิดเผยเทคโนโลยี

แบบไหนดีกว่าครับ
โดยคุณ hoyflute เมื่อวันที่ 02/05/2010 09:43:36


ความคิดเห็นที่ 21


กริพเพนดีกว่ารักเจ้านี้ก็เพราะแบบนี้แระ
โดยคุณ JAS39gripen เมื่อวันที่ 02/05/2010 10:25:41


ความคิดเห็นที่ 22


f 16 ก็แถมเหมือนกันนะ  มือ2+โครงสร้างที่ผ่านการใช้งานมาแบบ....(คิดเอาเนอ) คุ้มรึเปล่า  เผลอๆได้มาแต่ไปก่อนของที่มีอยู่ก่อนอีกนี่ไม่ไหวนะ
โดยคุณ JAS39gripen เมื่อวันที่ 02/05/2010 10:30:46


ความคิดเห็นที่ 23


ว่าแต่เรื่องการซื้อสิทธิ์นี้ การตัดสินใจนี่ต้องถามเจ้าของก่อนรึเปล่าครับว่าขายได้รึเปล่า   แล้วซื้อมาแล้วเรื่องอะไหล่นี่ต้องถามก่อนรึเปล่าครับ
โดยคุณ JAS39gripen เมื่อวันที่ 02/05/2010 10:37:43


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าของเขาดีจริงเขาคงไม่ต้องมีของแถม รวมทั้งคงต้องมีคนซื้อต่อคิวยาวเป็นหางว่าว เหมือน เอฟ ๑๖ บล็อค ๕๐/๕๒ แล้วละครับท่าน  เครื่องบินที่ขายได้น้อย เดาเอาว่าถ้า ไม่ใหม่เกินไปก็คงมีคุณภาพ ไม่เร้าใจเท่าที่ควรแหละครับ ทั้ง เจ ๑๐ และ กริเป้น นั้นแหละ

เครื่องบินใหม่แกะกล่องที่พัฒนากันอยู่ตอนนี้ คือ กริเป้น เอ็นจี  เอฟ๑๖ บล็อค๖๐  กับ เจ๑๐ บี ครับ  ทั้งสามตัวนี่ถ้าเงินถึงๆ ผู้ผลิต อาจอัดใส่เท็คโนโลยี่ล่าสุด ประเภทที่พึ่งดึงออกมาจากหิ้งได้ทันทีครับ ทั้ง มหาอำนาจ อย่างสหรัฐและจีน ซึ่งมีเงินถุงเงินถังด้วยกันทั้งคู่ จะน่าสงสารก็เจ้ากริเป้นน้อยนี่แหละครับ สวีเดนมันทำเป็นแค่ต่อตัวถังเรือบินขายเพียงอย่างเดียว ทั้งเครื่องยนต์ เรด้าห์ รวมทั้งระบบอาวุธนี่มันซื้อเขามาใช้ทั้งนั้น (ในรูปของการซื้อสิทธิ์ มาก็อปปี้ขายอีกต่อหนึ่ง) ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ถ้าใครคิดจะฝากผีฝากไข้ไว้กับเจ้า กริเป้น เอ็นจี ละก็ ให้คิดกันยาวๆนาครับ อย่าให้ใครเขาว่าได้ว่า โง่ซ้ำซากนาครับ

 

 

 

 

 

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 02/05/2010 08:26:21


ความคิดเห็นที่ 25


ผม งงๆอยู่ว่าเรื่องของSaab-340 ติดErieye(AEW) รวมถึงRBS-15 นั้น ทำไมใครๆมองเป็นของแถม  เพราะมันเสนอขายเป็นแพ็กเกจ รวมกันผมว่าส่วนนี้น่าอีกเหตุผลผลนึงที่ ทอ. ตัดสินใจเลือกJAS-39เมื่อเทียบกับราคาF-16 Block-52ที่ ทางสหรัฐเสนอมาแต่ทอ.จะไม่ได้เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้า ซึ่งอาจจะหางบมาซื้อเพิ่มซึ่งไม่รู้จะได้อีกเมื่อไหร่?
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 02/05/2010 09:25:24


ความคิดเห็นที่ 26


ต้องดูนะครับ ที่ผมบอกว่า งบน้อย เอา JAS ไปก่อน เพราะ ว่า ทอ เรา เอาความคุ้มค่า มาหารกับเงินที่จ่าย แน่นอน JAS สุดคุ้ม(น่าจะเป็น deal ที่กองทัพได้ประโยชน์มากที่สุดเท่าที่ ในชีวิตผมเห็นมา ....)

และ ถ้าจำไม่ผิด คู่แข่งตอนจัดหา ก้อ คือ F16 แต่ ราคา ของ f16 แพงกว่าและ "เป็นเึคริองมือสองจากสงครามอัฟกัน" 
 

ผมเชื่อแ่น่ ๆ ว่า ถ้าเรามีเงิน เราซื้อ เครืองใหญ่ แ่น่นอน เหมือนยุค ฟองสบู่ ปี 3X ที่เราซื้อ F-18 

เครื่องจีนไม่ได้ขี้เหร่ เขามีตลาดของเขา คือพวกที่ไม่เคยมี เครื่องขับไล่ แบบจริงจัง เช่น ทอ ฟิลิปปิน ที่สามารถล้ม Infra ได้ หมด เพื่อเครื่องจีน 

แต่ สำหรับเรา มี Infra ที่ ดี และพร้อมอยู่แล้ว คงยากที่จะมีเครืื่องจีน 
จำได้ว่า F-7m บินมาโชว์ เราหลายรอบ ในราคาที่แสนถูก แต่เราก็ไม่ซื้อ 

ใจจริงผมกลับมองว่า ถ้า SAAB ทำการบ้านดี และ บริการดี เผลอ ๆ F-16 ฝูง 102 อาจจะกลายเป็น JAS ก็ได้ นะครับ  แม้นว่า ทอ จะ บอกว่า อยากได้ F35 แต่ต้องทำึความเข้าใจว่า อีก 20-30ปี กว่าเราจะได้ ซื้อ F35  และราคาตอนนี้ F35 แพงกว่า JAS อยู่ 1:2 นะครับ การซื้อ ให้ครบ 1ฝูงของ F35 ต้องใช้งบเท่ากับ JAS 2ฝูง 

โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 02/05/2010 05:36:51


ความคิดเห็นที่ 27


สงสัยอย่างเราๆคงต้องใช่วิธีหาทางรวยให้ได้เวอร์ๆแบบ เจ้าของ Google เพื่อหาเงินมาซื้อเครื่องบินไอพ่นมือสองปลดประจำการบินเองสักลำละมั้ง  อยากได้ mig 25 จัง เท่ดี

(ข่าวเร็วๆนี้บอกว่าเจ้าของGoogle.com ซื้ออัลฟ่าเจ๊ต ปลดประจำการมาบินเล่นอะพี่น้อง..)

โดยคุณ data1 เมื่อวันที่ 01/05/2010 10:18:33


ความคิดเห็นที่ 28


เชื่อว่าถ้ามีเงินเหลือ ตัวเลือก บข ต้องมีการเปลี่ยนไปแน่นอน เอาเป็นว่า ถ้าเงินเหลือมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆๆ ๆ ๆ ๆ ๆ  บข ใหม่ อาจเป็น EF2000 or F15E 

ถ้าเงินเหลือปานกลาง คงไม่พ้น F16 Block 60 

แต่ปัจจุบันเงินไม่มี เงินที่ใช้อยู่ก็กู้ประชาชนมา ไม่รู้จะคืนเมื่อไหร่ เอา JAS ไปก่อนละกัน
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 01/05/2010 19:57:42


ความคิดเห็นที่ 29


ความจริง Gripen C/D ที่เราได้มาก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรนะครับ ความจริงบางระบบทันสมัยกว่า F-16C/D Block50/52 เสียอีก (แต่ทำไมสังเกตุหลายๆกระทู้แล้ว ดูจะหยันๆ Gripen C/D ยังไงก็ไม่รู้) และที่เราซื้อ กริพเพนมานี้ ก็ไม่ใช่ว่ามันถูกว่าF-16C/Dหรอกนะครับ แต่เราดูที่ข้อเสนอของผู้ขาย และความคุ้มค่าในระยะยาวเป็นหลัก ถามว่าถ้าเราจะซื้อ F-16C/D Block 50/52 ได้ไหม?? คำตอบคือ  ได้  เพราะราคาค่างวดก็ไม่ได้ต่างกัน ดังนั่น ที่บอกว่า งปเราน้อย เอาJAS ไปก่อนเถอะ จึงฟังแล้ว งงๆอะครับ และผมคิดว่าการที่ ทอ.เลือก Gripen C/D 12เครื่องมานั่น ถูกต้องเหมาะสมที่สุดแล้วครับ เพราะเราจะได้ระบบสนับสนุนการรบต่างๆที่ทันสมัย เครื่องบิน AEW&C ,อวป.ปราบเรือรบ ทุนพัฒนาบุคลากร ,Source Codeสำหรับการพัฒนาซอร์ฟแวร์ได้ด้วยตัวเองและอื่นๆอีกมากมาย ค่าซ่อมบำรุง และอัตราสิ้นเปลื้องในการบิน ก็ต่ำกว่า แต่สมรรถนะ เท่ากับหรือสูงกว่า ถ้าเอางบประมาณจำนวนเท่ากันนี้ ไปซื้อF-16C/D Block50/52 ก็คงได้แค่ เครื่องบินจำนวนเท่ากันคือ12ลำ แค่นั่น???  นอกนั่นก็เดิมๆ  คุณจะเอาแบบไหนหละครับ  สรุปก็คือมันไม่ได้เกี่ยวกับ มีตังหรือไม่มีตังครับ ใช่ว่า Gripen C/D ถูกกว่า F-16C/D Block50/52 ซะที่ไหน????
โดยคุณ RMUTK เมื่อวันที่ 02/05/2010 02:40:24


ความคิดเห็นที่ 30


แล้วถ้าเอามาเทียบกับ F-18 จะพอสู้ไหวไหมคับ

อะไร"คุ้มค่ากว่ากัน"?

รบกวนด้วยนะครับ

ขอบคุณคับ

 

โดยคุณ ZipDoZs เมื่อวันที่ 02/05/2010 03:11:53


ความคิดเห็นที่ 31


หมายถึงF-16ทำMLU นะครับขอ ทอ.นะครับ มันก็เป็นทางเลือก

ดีที่สุดแล้วสำหรับเราตอนนี้

โดยคุณ Milano_thai เมื่อวันที่ 01/05/2010 10:09:01


ความคิดเห็นที่ 32


คุ้มค่าครับ f 16  Block 50/52  แต่..........

ไม่มีเงินจะซื้อไหวนี้สิครับ...ในโลกความจริง..งบน้อยอะเรา




 

 

โดยคุณ data1 เมื่อวันที่ 01/05/2010 10:03:29


ความคิดเห็นที่ 33


 

บล็อก 50/52 ถูกส่งครั้งแรกในปลายปีพ.ศ. 2534 เครื่องบินได้การติดตั้งจีพีเอส/ไอเอ็นเอสและสามารถบรรทุกขีปนาวุธเพิ่มเติมอย่าง เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม เจแดม เจซอว์ และดับบลิวซีเอ็มดี บล็อก 50 ใช้เครื่องยนต์เอฟ110-จีอี-129 ในขณะที่บล็อก 52 ใช้เครื่องยนต์เอฟ100-พีดับบลิว-229 บล็อก 50/52+ ซึ่งหมายถึงแบบที่พัฒนาขึ้นไปอีกเมษายน พ.ศ. 2546 ความแตกต่างหลักคือถังเชื้อเพลิงพิเศษ เรดาร์เอเอ็น/เอพีจี-68(วี)9 ระบบออกซิเจน และหมวกเจเอชเอ็มซีเอส

th.wikipedia.org/wiki/เอฟ-16_ไฟทิงฟอลคอน

 

ดูๆๆแล้วผมก็ว่า F-16 ก็ยังคงคุ้มค่าอยู่สำหรับในสภาวะการณ์เช่นนี้นะครับ ตามความคิดอันน้อยนิดของข้านะขอรับ อยากได้ความเห็นจากผู้รู้

และเพื่อนๆๆทุกคนครับ


โดยคุณ Milano_thai เมื่อวันที่ 01/05/2010 10:00:30


ความคิดเห็นที่ 34


เฉิงตู เจ-10 (Chengdu J-10) เป็นเครื่องบินรบรุ่นที่ 4+ ที่ถูกออกแบบโดยอิสราเอล (IAI Lavi) พัฒนาโดยรัสเซีย (Sib NIA) และสร้างโดยประเทศจีน โดยโรงงานสร้างอากาศยานเฉิงตูแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เจ-10 เป็นเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายทั้งด้านเครื่องบินขับไล่ และสามารถทำภารกิจทิ้งระเบิดขนาดเบาได้อีกด้วย

รุ่นแรกๆของ J-10 นั้น ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเทอร์โบแฟนของรัสเซีย Lyulka-Saturn AL-31FN ในอนาคตนั้น ทางประเทศจีนมีโครงการติดตั้งเครื่องยนต์ในประเทศ WS-10A (WoShan-10A) Taihang ซึ่งสร้างขึ้นโดยการลอกแบบและดัดแปลงเครื่องยนต์รุ่นเก่าของรัสเซีย แต่จนปัจจุบัน (พศ.2552) ก็ยังพัฒนาไม่สำเร็จ ทั้งๆที่ล่าช้ากว่าแผนงานมาหลายปีแล้ว ทำให้ยังต้องพึ่งพาเครื่องยนต์จากรัสเซียอยู่ต่อไป

สมรรถนะของเครื่องบินรบแบบ J-10 ที่ติดตั้งเครื่องยนต์รัสเซียนั้น เทียบได้กับ Jas-39 ของสวีเดน แต่มีราคาถูกกว่า


โดยคุณ Milano_thai เมื่อวันที่ 01/05/2010 09:43:51


ความคิดเห็นที่ 35


เรื่อง ระบบดาต้าลิ้ง หรือ เครื่องบิน อิริอายนี่ นี่มันอยู่ในโครงการจัดหาเครื่องบินเพื่อทดแทน เอฟ๕ อี/เอฟ  ตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ  ถ้าจะเอา อิริอาย จริงๆ ก็น่าจะตั้งเป็นโครงการใหม่อีกอันแยกต่างหากนาครับ




ความต้องการนี้ ถ้าแยกต่างหาก เป็นโครงการ ใหม่ สงสัย คุณ data จะเกิดใหม่ สามรอบ แล้วไทยก็ยังไม่ได้ใช้ ครับ
โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 09/05/2010 19:19:52


ความคิดเห็นที่ 36


จะบอกว่าที่เถียงกันเรื่อง Jas 39 เนี่ย เถียงกันร่วมๆ 10-20 กระทู้ละมั่ง มัวแต่เถียงกันแล้วได้อะไร ไงเค้าก็ซื้อมาอยู่ดี มันจะมีประโยชน์อะไรทีมาเถียงกัน ดูแล้วเรื่องก็ไม่จบ เดี๋ยวซักพักก็จะกลับมาเถียงกันเรื่องเดิมอีก อาจมีเปลี่ยนประเด็นไปบ้าง แล้วมันได้อะไรขึ้นมาเนี่ย ไม่เข้าใจ

- สนับสนุนคนที่มองว่าซื้อ Jas ดีกว่า เพราะเราได้ทั้งทุนการศึกษา ส่งคนไปเรียนได้ความรู้กลับมา พัฒนาเครื่องบินหรือส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 ละเกี่ยวกับทางด้านอุตสาหกรรมการบิน ที่เราจะเริ่มเดินไปด้วยกับทางสวีเดน ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่เราจะได้มากับการซื้อเครื่องบินในล๊อตนี้
ยังได้ในเรื่องของระบบป้องกันภัยทางอากาศ เครื่องบินตรวจจับ อาวุธ

หลายสิ่งหลายอย่างที่ดีๆ เข้ามาในชีวิต คุณจะไม่เปิดโอกาศรับมันหรือ

หรือว่าคุณจะตอกย่ำตัวเองต่อไปว่า คุณจะเป็นทาสของประเทศมหาอำนาจที่วันนึงเค้าอาจไม่ดูดำดูดีอะไรกะเราเลย

ใช่ครับซื้อ F-16 บล๊อค 50/52 มานั้นไม่ใช่เรื่องดี เพราะเราไม่ต้องไปเริ่มอะไรใหม่มาก ไม่ต้องเก็บของหรืออาวุธอะไรเพิ่ม

แต่ถามว่าเงินในราคาเท่ากันคุณได้อะไรบ้าง คุณแน่ใจเหรอว่าเงิน 36,000 ล้านบาทนั้นจะได้ครบทั้ง 16 ลำ ละที่ได้มานะ ส่วนใหญ่ประเทศมหาอำนาจนั้น มักจะขายให้ประเทศเราในลักษณะเครื่องเปล่าเสียมากกว่า (ข้อมูลนี้จากที่ได้อ่านๆมาในหลายๆ กระทู้) อาวุธก็ค่อยจัดซื้อกันอีกที หรือถ้าได้มาร่วมก็อาจไม่ใช่ราคานี้
อะ เอาแค่ว่า เงิน 36,000 ล้านบาท เราได้เครื่องบินละกัน (จะอธิบายอย่างง่ายที่สุด) เราได้เครื่องบิน 16 ลำ แล้วประเทศมหาอำนาจ เค้าจะให้เราไหมในเรื่องของ 1) การลงทุนในประเทศ 2) ให้ทุนในการศึกษาเกี่ยวกับอากาศยานการบิน 3) เครื่องบินตรวจจับ แจ้งเตือน
 แค่3 อย่างนี้ ประเทศมหาอำนาจ เค้าก็ไม่ขายให้เราหรอก ถ้าเราไม่ร้องขอ แต่ถ้าร้องขอ ก็ยอมรับได้เลยว่าไม่ใช่ราคานี้แน่ๆ และ เราจะได้เครื่องก็มาจาก สุสานเครื่องบิน ที่เค้าสำรองสงครามไว้อีกนั้นแหละ ผ่านการใช้งานมาแล้ว ใช้ไปซักพักก็ต้องมาทำ MLU กันอีก อ๋อ ละเราจะแน่ใจเหรอว่า เครื่องที่เราจัดซื้อจากประเทศมหาอำนาจนั้นเค้าจะให้เครื่องที่ประกอบใหม่ อาจเป็นเครื่องที่ดอง ดังที่กล่าวไว้ แล้วเอามาเสริมองค์ประกอบใหม่ เพื่อให้ทันสมัยใช้งานได้เหมือนบล๊อค 50/52

สรุป มองในมุมมองของตัวเองไว้ ในการซื้อ Jas มานี้ถือว่าคุ้ม เพราะ
1) ประเทศสวีเดน เค้าเป็นกลาง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร แม้แต่เครื่องบินเค้าก็ สวีเดนทำสวีเดนใช้ มันก็พอเพียงละเพียงพอ สำหรับประเทศเค้าแล้ว การที่เราซื้อของจากที่อื่น ที่ไม่ใช่สหรัฐ นั้นคือเราเริ่มที่จะปลดแอกตัวเองออกมาบ้างแล้ว นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะไม่งั้นเราก็ต้องพึ่งเค้าต่อไป วันนึงเค้าไม่ส่งอะไรมาให้เราเลย แล้วเราจะทำอะไรได้ ต้องพึ่งพาเค้าตลอดไปเหรอ มันไม่ถูกแน่ๆ
อย่าลืมคำนี้ เราต้องพึ่งพา ละยืนหยัดให้ได้ ด้วยตัวของเราเอง แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานมากไป แต่ก็ยังดีกว่าที่เราไม่ลงมือทำอะไรเลย
2) เราได้ทั้งในด้านการลงทุนร่วม มันไม่ใช่แค่อุตสาหกรรมการบิน แต่มันจะเกี่ยวข้องไปด้วยกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบิน อย่างอุตสาหกรรมเหล็กเป็นต้น หรือ อุตสาหกรรมด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มันมีผลรวมที่จะตามมาแน่
3) ฝึกคน ทำให้เรามีความชำนาญ ในศาสตร์ละศิลป์ ในการพัฒนาเครื่องบินในแบบของเราเอง ในวันข้างหน้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
4) เกี่ยวกับระบบป้องกันภัย เป็นสิ่งที่เราจะต้องมีไม่งั้นวันหนึ่ง มีอะไรแปลกปลอมบินเข้ามา ละเราตรวจจับไม่ได้หรือได้ไม่ดีนัก บินเข้ามาถึงใกล้กรุงเทพละจุดพลุใส่ขึ้นมาละ เป็นเรื่องแน่ๆ ไงก็เป็นสิ่งที่ต้องระวังป้องกัน เหมือนมีรถแต่ไม่ติดระบบป้องกันรถหาย ไม่นานมันก็หายแน่ๆ เพราะโจรมันก็มองๆ ตลอดแหละ ว่าคันไหนใหม่ คันไหนมีระบบป้องกันไม่มี

ขอเท่านี้ก่อนละกัน เนื่องจากอัดอั้นตันใจมาก
ปล. ทำไมเค้าไม่เปลี่ยนนิสัยซะทีอะนิ อะไรก็จาประเทศมหาอำนาจตลอดเวลา มันน่าเบื่อนะนิ อีกหน่อย กองทัพบก มิต้องซื้อ อาราม มาใช้เหรอ นิ หรือ กองทัพเรือ มิต้องซื้อ LCS มาใช้เหรอ หุหุ
โดยคุณ xavious เมื่อวันที่ 11/05/2010 04:04:54


ความคิดเห็นที่ 37


 โถ่ คุณ data ในจำนวนเงินที่เท่ากันนี้เราซื้อได้แค่ F-16 เครื่องเปล่า+การกั๊กตัวพ่อนะครับ แต่ถ้าเราเลือก Jas-39 เราได้ Gripen Integrated Air Defense System เลยนะครับ ยิ่งเราเห็นความสำคัญของระบบนี้เร็วเท่าไหร่ผมว่ามันก็ยิ่งเป็นผลดีในอนาคตมากเท่านั้น และก็จะเป็นแบบที่คุณ u3616234 ว่าไว้ถ้าหากคิดจะตั้งโครงการแยก ขนาดจะเอาให้ครบ 12 ลำยังลุ้นกันเยี่ยวเหนียวซะขนาดนี้เลยดังนั้นโครงการอื่นไม่ต้องสืบ ดีลจึงเป็นผลดีของทั้งไทยและสวีเดน แฮปปี้ทั้งคู่

ปล.รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ ผมออกกำลังกายทุกวันมันยังงาบเอาได้
ปล2. "เจาะเข้าไปเสียว"
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 11/05/2010 01:36:15


ความคิดเห็นที่ 38


ข้อมูลแบ็คอัพ  ก่อนจะเถียงกันตาเหลือก  ให้ดูก่อนว่า จะเอาเครื่องบินมาทำอะไร

 

 

การตอบโต้ทางอากาศ (COUNTER AIR)

          เป็นการปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการครองอากาศ โดยการทำลายระบบที่ประกอบกันเป็นกำลังทางอากาศของข้าศึก ทั้งในอากาศและบนพื้น การตอบโต้ทางอากาศ จะบังเกิดผลดีต่อทุกเหล่าทัพของฝ่ายเราในประการที่สำคัญ คือ ลดอันตรายจากกำลังทางอากาศของข้าศึก และเพิ่มเสรีในการปฏิบัติของฝ่ายเรา มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การตอบโต้ทางอากาศเชิงรุก (OCA – OFFENSIVE COUNTER AIR)
    • การโจมตีทางอากาศ (AIR STRIKE)
    • การครองอากาศ (AIR SUPERIORITY)
      • การกวาดล้างทางอากาศ (SWEEP)
      • การบินคุ้มครองทางอากาศ (FORCE PROTECTION)
      • การบินลาดตระเวนรบ (CAP – COMBAT AIR PATROL)
    • การกดดันการป้องกันทางอากาศของข้าศึก (SEAD – SUPPRESSION OF ENEMY AIR DEFENCE)
  • การตอบโต้ทางอากาศเชิงรับ (DCA – DEFENSIVE COUNTER AIR)
    • ได้แก่การปฏิบัติ เพื่อสกัดกั้นและทำลายกำลังทางอากาศของข้าศึก (AIR INTERCEPTION) ที่พยายามจะรุกล้ำน่านฟ้า ซึ่งเป็นอาณาเขตของฝ่ายเรา ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเขตแดน หรือน่านฟ้านอกอาณาเขต แต่ฝ่ายเราต้องการครองอากาศบริเวณนั้นเป็นครั้งคราว เพื่อความปลอดภัย และความมีเสรีในการปฏิบัติ การบินสกัดกั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในระบบการป้องกันภัยทางอากาศ (AIR DEFENCE) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

การขัดขวางทางอากาศ (AIR INTERDICTION)

          เป็นการทำลาย ตัดรอน หรือหน่วงเหนี่ยวระบบการส่งกำลังบำรุงทั้งมวลของข้าศึก เพื่อกดดันให้เกิดความขาดแคลนในการปฏิบัติการต่อฝ่ายเรา ปกติจะปฏิบัติการลึกเข้าไปในดินแดนของข้าศึก และผลการปฏิบัติจะเป็นผลดีต่อทุกเหล่าทัพของฝ่ายเรา มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การโจมตีทางอากาศ (AIR STRIKE)
  • การลาดตระเวนติดอาวุธ (ARMED RECONNAISSANCE)

การปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น (JOINT OPERATIONS)

          ได้แก่ การปฏิบัติการร่วมกับกำลังทางบกและ/หรือกำลังทางเรือ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน โดยใช้คุณลักษณะและขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ เพิ่มอำนาจการยิง เพิ่มระยะและพื้นที่ตรวจการณ์ ตลอดจนเพิ่มความปลอดภัยและคลายความกดดันที่ข้าศึกมีต่อกำลังเหล่านั้น มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (CAS – CLOSE AIR SUPPORT)
  • การขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ (BAI – BATTLE FIELD AIR INTERDICTION)
  • การบินคุ้มกัน (AIR ESCORT)
  • การปฏิบัติการทางทะเล (MARITIME OPERATIONS)

การลาดตระเวนทางอากาศ (AIR RECONNAISSANCE)

          คือ การใช้อากาศยานพร้อมอุปกรณ์และเครื่องตรวจจับ (SENSOR) ในการรวบรวมข้อมูลข่าวสาร และติดตามความเคลื่อนไหวของข้าศึก เพื่อประโยชน์กับทุกเหล่าทัพของฝ่ายเรา มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การลาดตระเวนด้วยสายตา (VISUAL RECONNAISSANCE)
  • การลาดตระเวนถ่ายภาพ (PHOTO RECONNAISSANCE)
  • การลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC RECONNAISSANCE)

การลำเลียงทางอากาศ (AIR LIFT)

          เป็นการใช้คุณลักษณะด้านความเร็วและพิสัยบินของกำลังทางอากาศ โดยการนำอากาศยานมาใช้เป็นพาหนะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของภารกิจด้านยุทธการ ยุทธบริการ และภารกิจพิเศษ มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การยุทธ์ส่งทางอากาศ (AIRBORNE OPERATIONS)
  • การส่งกำลังบำรุงทางอากาศ (LOGISTICS SUPPORT)
  • การสนับสนุนกิจเฉพาะพิเศษ (SPECIALIZED TASKS SUPPORT)

การปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษ (SPECIALIZED TASKS)

          ได้แก่ การใช้อากาศยานในการปฏิบัติภารกิจที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อสนับสนุนการใช้กำลังทางอากาศ หรือภารกิจของหน่วยนอกกองทัพอากาศ ซึ่งสมควรที่กองทัพอากาศจะต้องร่วมปฏิบัติ มีกิจเฉพาะดังนี้

  • การเติมเชื้อเพลิงในอากาศ (AERIAL REFUELING)
  • การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMBAT)
  • การช่วยเหลือและกู้ภัย (RESCUE AND RECOVERY)
  • การปฏิบัติการจิตวิทยา (PSYCHOLOGICAL OPERATIONS)
  • การให้บริการ (COMPLIMENTARY OPERATIONS)

การป้องกันภัยทางอากาศ (AIR DEFENCE)

          หมายถึง การปฏิบัติการเชิงรับเพื่อเพิ่มความปลอดภัยจากกำลังทางอากาศของฝ่ายตรงข้าม ให้กับกำลังทางอากาศของฝ่ายเรา และเหล่าทัพอื่น ตลอดจนประชาชนและองค์กรต่าง ๆ ในชาติเป็นส่วนรวม เพราะเป้าหมายสำคัญต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นศักยภาพของชาติ มิใช่มีแต่เฉพาะเป้าหมายทางทหารเท่านั้น หากพิจารณาเฉพาะลักษณะของภารกิจการบิน การป้องกันภัยทางอากาศด้วยการบินสกัดกั้น เป็นประเภทหนึ่งของการตอบโต้ทางอากาศเชิงรับ (DCA) แต่เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญและขั้นตอน ตลอดจนยุทโธปกรณ์ที่ประกอบกันขึ้นเป็นระบบแล้ว การป้องกันภัยทางอากาศมีความสำคัญกว้างขวาง และสลับซับซ้อน ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  • การค้นหา ประกอบด้วย SENSOR ที่จะต้องไม่มีช่องว่าง (GAP) โดยรอบอาณาเขตของประเทศ และการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว ทั่วถึงโดยอัตโนมัติ
  • การพิสูจน์ฝ่าย เมื่อ SENSOR ตรวจพบเป้าหมาย จะต้องตรวจสอบให้ได้ว่า เป้าหมายนั้นคืออะไร ด้วยเวลาที่น้อยที่สุด จนเกือบจะเป็นเวลาจริง (REAL TIME)
  • การสกัดกั้น เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นเมื่อพิสูจน์ได้ว่า เป้าหมายนั้นเป็นฝ่ายตรงข้าม หรือไม่แน่ใจว่าเป็นฝ่ายใดในยามสงคราม ส่วนในยามสงบเมื่อยังพิสูจน์ฝ่ายไม่ได้ แต่ลักษณะการบินมีทีท่าคุกคามฝ่ายเราก็ต้องสกัดกั้น
  • การทำลาย เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อความปลอดภัยของฝ่ายเรา เมื่อพิสูจน์ได้ว่า เป้าหมายเป็นฝ่ายตรงข้าม ที่เข้ามาในเขตห้ามบิน (NO FLY ZONE) ซึ่งฝ่ายเรากำหนดขึ้นเพื่อการครองอากาศ

การปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม (MOOTWAR)

          ได้แก่ การปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษต่างๆ เช่นการปฏิบัติเพื่อสนองโครงการตามพระราชดำริเพื่อพัฒนาประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย การสนับสนุน การแก้ไขปัญหาสังคม การลำเลียง และการสนับสนุนประชาคมโลกตามนโยบายรัฐบาล

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 10/05/2010 22:25:48


ความคิดเห็นที่ 39


งั้นฟันธงไปเลย...................

 

บข.21  เพื่อทดแทน เอฟ-5 ที 211      ................. เป็น ซุเปอร์ ต่อ....................

ปัจจุบัน

เอดีเอฟ 102    ภารกิจ   สกัดกั้น / ครองอากาศ  (อิเตอร์เสปท / แอร์ สุพีเหรี่ยริตี้) อาวุธ แอมแรม

โอซียู 103          ทิ้งระเบิด         (แอร์ สไตร้ค์ ภาค ครองอากาศเชิงรุก/ขัดขวางพื้นที่การรบ) อาวุธ เลเซอร์ไกดิ้ง บอม

โอซียู 403    สไตร้ค์ไฟ้เตอร์ ( แอร์ สไตร้ค์ ภาค ขัดขวางทางลึก (เจาะเข้าไปเสียว)) อาวุธ เลเซอร์ไกดิ้งบอม กระเปาะนำร่องบินต่ำ รูบิส

แจ้ส 39 ซี/ดี       สกัดกั้น/โจมตีร่วม(อินเตอร์เสปท / รบร่วม(โจมตีทางทะเล)) อาวุธ แอมแรม  จรวดนำวิถีปราบเรือ

เอฟ-5ที             สกัดกั้น/โจมตีร่วม(อินเตอร์เสปท / รบร่วม(ขัดขวางพื้นที่การรบ)) ไพธ่อน4  ระเบิดเอนกประสงค์

 

เมื่อปลด เอฟ-5 ที  ใช้สูตรเดิมคือ  ย้าย โอซียู 403 ไปที่ 211 แต่ตัวใหม่ให้เป็น เอ็มแอลยู เป็นฝูง  สกัดกั้น / ขัดขวาง  อาวุธ แอมแรม ไกดิ้งบอม แถมกระเปาะนำร่องบินต่ำใหม่ ทำให้สามารถทำ สไตร้ค์ไฟเตอร์ได้ด้วย  .......   ขณะที่ 403 รับ ซุปเปอร์ ต่อ รุ่น 2 ที่นั่ง  จัดตั้งฝูง สไตร้ค์ ไฟเตอร์ เต็มรูปแบบ  อาวุธหลักคือ เจแดม และกระเปาะนำร่องบินต่ำกลางคืน  อาวุป้องกันตัวคือ แอมแรม..............

ตรงตามคอนเสปท  ไทยนี้รักสงบ  ไม่มีเครื่องบินใหญ่ไปครองอากาศเหนือดินแดนใคร    แต่ใครอ้อแอ้  ตูส่งหมัดยาวไปล้วงตับ...............

 

จบ..................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 10/05/2010 22:20:03


ความคิดเห็นที่ 40


ผมว่าที่ผมเขียนตอบกระทู้ไปสองรอบนี่พวกๆคุณข้างบนก็ไม่เข้าใจอีกนั่นแหละว่าผมกำลังจะสื่ออะไร

ผมไม่เคยพูดว่า กริเป้น เป็นเครื่องบิน ไม่ดีนาครับ ระบบ ดาต้าลิงค์ กับ เครื่องบิน อิริอาย ผมก็ไม่เคยพูดว่ามันไม่ดี  ความจริงเครื่องบิน ทุกแบบ ทุกยี่ห้อนี่ ถ้ามันไม่ดีจริงคงไม่สามารถนำมาเสนอขายแข่งกันในตลาดโลกได้หรอกครับ  เครื่องบินแต่ละแบบมันมีข้อ ดี ข้อ เสีย ของมัน เอง เครื่องบินตัวเล็กกว่า ขนอาวุธได้น้อยกว่าเครื่องบินตัวโต มันก็ต้อง จ่ายค่าน้ำมัน และค่า ซ่อมบำรุงน้อยกว่า มันเป็น ของตายอยู่แล้วครับ  แต่เครื่องบินสามแบบที่คุณตั้งกระทู้มานี่ ถ้าไม่มีตัวช่วยอื่นๆ (อย่างอิริอาย) แล้ว เอามาดวลกันเดี่ยวๆ ไม่ว่า ภารกิจ  อากาศสู่อากาศ หรือ อากาศสู่พื้น คุณว่า กองทัพทั่วโลกเขาทราบไหมว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหน แล้วทำไมจึงมี เฉพาะ ไทย กับ อาฟริกาใต้ เท่านั้นที่ซื้อมาใช้งาน ( เช็ค กับ ฮังการี่ เขาแค่เช่า นาครับ จะซื้อหรือเช่าต่อ หรือจะเลิกใช้นี่ยังไม่แน่)

คุณข้างบนบอกว่าเราซื้อเป็นแพ็คเกจ ได้เครื่องบิน กริเป้น มา หนึ่งฝูง พร้อม อิริอาย สองลำ กับ จรวด ใช้งานทางทะเล ครึ่งโหล บวก ทุน การศึกษา หลายสิบทุน นับว่าคุ้มมากๆ  ถ้า เรา จะเอาเอฟ๑๖  บล็อก๕๒ เรา อาจ ได้แค่ตัวเครื่องบินเปล่าๆ  เท่านั้นเอง

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 12/05/2010 17:15:14


ความคิดเห็นที่ 41


 

ที่ข้างบนบอกว่าใช้เครื่องบินจากสวีเดน แล้วจะไม่เป็นทาส อาวุธจากสหรัฐนั้น ผมว่าไม่จริงครับ ผมอธิบายไปแล้วในคำตอบข้างบน  แต่ผมขอแถมหน่อยนึง คือ ผมว่า การเหลุดจากเป็นทาส สหรัฐ เพื่อเป็นทาส สวีเดนนี่มันก็ไม่ต่างกันหรอกครับ การเป็นอิสระในเรื่องการวางแผนในการผลิตอาวุธใช้เองในประเทศเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนระยะยาวครับ แล้วก็ไม่ควรจะนำมาใช้เป็นข้อต่อรองในการซื้อขายอาวุธด้วยครับ การเปิดเผยซอสโค้ต ของระบบคอมพิวเตอร์ในการใช้อาวุธของเครื่องบินกริเป้น เป็นเรื่องที่ดีครับ ผมไม่เถืยง แต่มันก็ไม่ควรจะเป็นข้อต่อรองในการซื้อขายนาครับ

สรุปแล้วผมไม่เคยแสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับการซื้อ เครื่องบิน กริเป้น บวก แพคเกจ  ในราคาที่ ทอ. จ่ายไปนาครับ แต่ผม แค่ แสดงความคิดเห็น ว่า ทางเลือก มันมีอยู่หลายทางเลือกครับ ซึ่งในอนาคตเท่านั้นถึงจะบอกให้รู้ว่าทางไหน จะเป็นอย่างไร ดี หรือ ไม่ ใครเสียรู้ใคร เท่านั้นแหละครับ  ไม่แน่ผมอาจผิดก็ได้ครับ

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 12/05/2010 17:24:13


ความคิดเห็นที่ 42


ผมว่ามันแปลกๆอยู่นาครับ ดีล ที่เขาให้กับเรา นี่เขาไม่เคยเสนอให้ ประเทศไหนเลยหรือครับ ทำไมในโลกนี่มีแค่ สอง ประเทศเท่านั้น ที่ รับ ดีล นี่ ทำไมประเทศอื่นๆเขากลับเข้าคิวต่อแถวกันซื้อ เอฟ ๑๖ กันเป็นหางว่าว  ล่ะครับ มันแปลกไหมครับ

เดนมารค์ กับ นอร์เวย์เคย เป็นลูกค้า อย่างเหนี่ยวแน่น ของ ซ็าบ  แห่งสวีเดนมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเลิกใหม่ๆ ใช้มาตั้ง แต่ ซ้าบ ๒๙  /ซ้าบ๓๒ จนถึง  ซ้าบ ๓๕ แล้วต่อมาทั้ง สองประเทศ หันไปหา เอฟ ๑๖ เอ/บี แทนที่จะเลือก ซ้าบ ๓๗  เหตุผลที่ทราบกันโดยทั่วไปคือ ซ้าบ ขายอะไหล่เครื่องบินแพงมากครับ เมื่อเทียบกับเครื่องบินค่ายสหรัฐ เครื่องบินที่ขายได้น้อย ย่อมหาอะไหล่ได้ยากและแพงครับ อันนี้เป็นเรื่องปกติครับ ซ้าบ เองก็ทราบ เช่นนั้น จึงได้มีการ ออกตัว ซ้าบ ๓๙ กริเป้น มาแทนที่ ซ้าบ ๓๗ ครับ โดยลดชิ้นส่วน ในการซ่อมบำรุงลงให้ซ่อมได้ง่ายขึ้น และลด ขนาด เครื่องบินลง เพื่อที่จะได้ใช้เคริองยนต์ขนาดเล็กๆได้เพืยงเครื่องเดียว ดังนั้น คอนเซ็ป ของเครื่อง กริเป้น จึง ไม่ต่างกับ เอฟ๕ อี เท่าไหร่นักครับ

สวีเดนนั้นเมื่อสงครามเย็นยุติก็เลยต้องลดกำลังรบลงครับ เครื่องบินขนาดใหญ่ที่เสียค่าใช้จ่ายสูงอย่าง ซ้าบ๓๗ ก็ต้องปลดประจำการก่อนหมดอายุการใช้งานด้วยซ้ำ คงเหลือ แต่ ซ้าบ ๓๙ กริเป้น เพียงแบบเดียวครับ (แถมยัง ประจำการ แค่ครึ่งเดียวที่ผลิตได้ครับ อีกครึ่ง เก็บไว้เฉยๆ) ดังนั้นก็แน่ใจได้ว่า สวีเดนจะใช้งานเครื่องบินแบบนี้เพียงแบบเดียวไปอีกนานครับ ผมว่าสามสิบปีเป็นอย่างน้อย  ดังนั้น ที่คุณๆข้างบนบอกว่า เอฟ ๑๖ บล็อก ๕๒ ใน ทอ.สหรัฐ อาจ ปลดประจำการก่อน กริเป้น ใน ทอ.สวีเดน ผมว่าเป็นไปได้แน่นอนครับ  แต่อย่าลืมว่า เอฟ ๑๖ มันมีคนใช้ทั่วโลกนาครับ (เฉพาะซี/ดี ก็น่าจะมากกว่า พันเครื่องครับ) ไต้หวัน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆนอกสหรัฐ เขาก็ยังน่าจะผลิตอะไหล่อยู่เพื่อป้อนกองทัพตัวเองและตลาดโลกครับ ดังนั้นเรื่องอะไหล่หมดห่วงได้ ยกตัวอย่างเครื่อง แฟนท่อม เอฟ ๔ ครับ ยังคงใช้งานใน ทอ.เยอรมันนับ สิบๆปีหลังจาก ทอ.สหรัฐปลดประจำการ

 

 

 

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 12/05/2010 17:19:25


ความคิดเห็นที่ 43


ในสมัยนี้การจัดหาเครื่องบินรบ....หลายๆครั้งมีการเมืองมาเกี่ยวข้องครับ ในหลายๆประเทศยอมซื้อเครื่องบินของมหาอำนาจ...เพราะแรงกดดันทางการเมือง....หรือต้องการที่จะผูกมิตรครับกับมหาอำนาจครับ...

ส่วรเองการเป็นทาศอาวุธนั้น ต้องยอมรับว่าแทบทุกประเทศในโลก แม่แต่มหาอำนาจหลายประเทศ ก็จังต้องอาศัยประเทศอื่นในการจัดหาอาวุธอยู่ครับ

สุดท้าย...การเปิดให้กริฟเฟนสามารถใช้อาวุธได้อย่างอิสระนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากครับ สำหรับผมนะ....เพราะการจัดหาอาวุธหลายๆครั้ง เราไม่สามารถซื้อได้อย่างอิสระ หรือปรับปรุงได้อย่างอิสระนั้น เพราะว่าประเทศเจ้าของ ไม่อนุญาต ให้เราจัดหา หรือไม่ก็ ไม่ให้โค้ตแก่เราในการเชื่อมต่อกับอากาศยานครับ เช่น เรื่อง popeye เป็นต้น

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 12/05/2010 21:33:08


ความคิดเห็นที่ 44


มาแชร์ความคิดเห็นครับ

ความจริงแล้วเรื่องนี้ ไม่มีใครถูกใครผิดครับ เพราะทุกคนก็มีเหตุผลของตนเองครับ ^_^

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 12/05/2010 21:35:06


ความคิดเห็นที่ 45


โถ่คุณ data เห็นใจประเทศเราหน่อยเถิดครับ ถ้าว่ากันตามตรงแล้ว เราค่อนข้างจะจนมิใช่น้อย ถ้าหากเล็งแต่ประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียวอัดงบเข้าแต่กระทรวงกลาโหม เราคงได้เห็น F-15T บินหยอกล้อกับ EF-2000 เหนือน่านฟ้าไทยเป็นแน่แท้ ด้วยเหตุผลหลายๆอย่าง เราก็ต้องเอาอันที่มันคุ้มที่สุดละครับ อาจจะไม่ได้ให้มันดี แต่ให้มันแย่น้อยที่สุด
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 13/05/2010 06:09:00