นำเอาเทคโนโลยีมาขยับบอร์ดมั่งครับ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยนำมาให้ชมกัน
ป้อม CTA-40
ป้อมปืนใหญ่เบาอัตโนมัติ แบบ CTA-40ม.ม. CTAW เป็นป้อมปืนที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนาร่วมระหว่าง2ประเทศคืออังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อใช้ร่วมกันในกองทัพทั้ง2ประเทศไม่ว่าจะตัวป้อมจนถึงกระสุน ขีดความสามารถเทียบเท่ารถถังเบาที่ใช้ปืนขนาด76ม.ม.ในอดีต แต่มีประสิทธิภาพมากกว่าในเรื่องอำนาจการยิงและใช้งาน ด้วยกระสุนหลากประเภท อำนาจการยิงเกิน50นัด/นาที มีอำนาจการทำลายมากกว่าปืนกลหนัก25-30ม.ม. ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีอำนาจการทำลายน้อยกว่าและยังไม่สามารถต่อต้านยานเกราะฝ่ายข้าศึกที่เกราะหนาได้ โดยทั้ง2ประเทศได้ตระหนักถึงขีดความสามารถของรถเกราะสายพานลำเลียงพลฝ่ายรัสเซียเช่น BMP-2/3และBMD-3/4 อย่างที่ทราบกันว่ารถทั้ง2รุ่นมีอำนาจการยิงค่อนข้างรุนแรงต่อเป้าหมายทุกชนิดจากปืน76-100ม.ม. และยิงได้ด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งต่างจากรถหุ้มเกราะฝ่ายนาโต้โดยสิ้นเชิงที่ติดอาวุธเบากว่า ส่วนนึงคือการออกแบบตัวรถฝ่ายรัสเซียที่แบนต่ำทนทานแรงถอยของปืนและมีมุมยิงได้ค่อนข้างมาก
โดยทั้ง2ประเทศได้ร่วมมือกันพัฒนามานานกว่า 15ปี ผ่านบริษัทหลักคือ CTA International ที่มี2บริษัทร่วมลงทุนคือ BAEของอังกฤษและNEXTERของฝรั่งเศส โดยตอนก่อตั้งในปี1994 ตอนนั้นเป็น บริษัท เกียตและรอยัล-ออแนลด์ ซึ่งวางแผนไว้คือพัฒนาปืน45ม.ม. ต่อมาในปี1997 จึงเปลี่ยนมาใช้40ม.ม. โดยอีกประเทศที่พัฒนาในแบบของตนเองคือสวีเดนกับรถ CV-90 ที่ใช้ป้อม40ม.ม.เช่นกันและมีกระสุนที่หลากหลาย โดยไม่ต้องพึ่งพาจรวดนำวิถีต่อต้านยานเกราะ
โดยอังกฤษต้องการพัฒนาใส่ รถหุ้มเกราะ วอร์ริเออร์ และเสนอให้อเมริกาไปติดกับ รถแบรด์ลีย์เช่นกัน ในปี1999 โดยอังกฤษได้เพิ่มแบบคือติดตั้งกับรถหุ้มเกราะสายพาน FRES-SCOUT ที่พัฒนาโดย BAE ของอังกฤษ ซึ่งกำลังจะเข้าประจำการในอนาคต ส่วนฝรั่งเศสยังไม่มีความชัดเจนมากเท่าใด แต่อาจจะติดตั้งกับรถEBRC VBCIและAMX-10 โดยจะทำการผลิตและเข้าประจำการอย่างเต็มรูปแบบในปี2012 โดยการทดสอบยิงมากกว่า15000นัด ก่อนเข้าสู่การผลิตใช้กับป้อมปืนน้ำหนักระหว่าง1.5-2ตัน
ปืน40ม.ม. มีความยาวลำกล้องเท่ากับ ปืน30ม.ม.เอ็มเค.44 บุช-II ตัวกระสุนต่างจากกระสุน40ม.ม.ปกติที่ใช้มายาวนานที่เราจะเห็นปลอกและหัวกระสุน แต่กระสุนCTA40ม.ม.ที่พัฒนานี้จะมีรูปทรงกระบอกเป็นแท่งๆเหมือนถ่านไฟฉายซึ่งมีหัวกระสุนและดินปืนอยู่ภายใน โดยความยาวของกระสุนมีขนาดเท่ากับกระสุน30ม.ม.ที่ใช้กับปืน ราเด้น ของอังกฤษ
การทำงานด้วยวิธีบรรจุกระสุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ด้วยตัวบรรจุกระสุนเข้ารังเพลิงแบบลุกโม่(อธิบายไม่ค่อยถูกดูภาพเอาล่ะกัน) มีการทำงานที่รวดเร็วแม่นยำทำให้อัตรายิงสูงถึง200นัด/นาที แน่นอนว่าอัตรายิงระดับนี้แถมหัวระเบิดที่รุนแรงจะทำให้เป้าหมายพรุนโดยไม่ทันได้ตอบโต้ด้วยซ้ำ โดยตัวปืนมีอายุการใช้งานก่อนซ่อมคือ 10000นัด ตามมาตราฐานอังกฤษและฝรั่งเศส สามารถทำงานในสภาวะอุณหภูมิ-46ถึง+63องศา มีความน่าเชื้อถือสูงถึง98% ระบบสลับกระสุน2ชนิดใช้เวลาน้อยกว่ามากกว่า3วินาที ควบคุมการยิงด้วยรีโมทคอนโทรล ด้วยพลประจำ2นาย
ขั้นตอนการบรรจุกระสุน
กระสุนมาตราฐานมี3ชนิดคือ
กระสุนหัวระเบิดแรงสูงGPR-T(General Purpose Round Tracer) ขั้นทดสอบยิงเป้าหมายคอนกรีตเสริมเหล็กหนา215ม.ม. ทะลุ ด้วยความเร็ว1010เมตร/วินาที อัตรายิงต่อนัดน้อยกว่า3วินาที หัวระเบิด115กรัม
กระสุนเจาะเกราะพลังงานจลล์ CTWS APFSDS-T เจาเกราะเหล็กกล้าหนา140ม.ม. ที่ระยะ1500เมตร ด้วยความเร็วพุ่งชน1480เมตร/วินาที
ซึ่งยังมีกระสุนอีก2ชนิดคือ TP-TและGPR-T ซึ่งกำลังพัฒนา ซึ่งจะเปิดตัวในราวปี2012
...เห็นแล้วน่ากลัวจริงๆ ปกติรถหุ้มเกราะก็บางอยู่แล้วเจอแบบนี้ไป คงไม่รอด ประสิทธิภาพเหมือนรถถังเบาอย่างแท้จริงครับ
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=imruksa&month=05-05-2010&group=32&gblog=3
เอามาใส่ ปู่ M41 ได้ไหมครับ
ลองคิดเล่นๆดู บูรณะตัวรถ+ช่วงล่าง ระบบขับเคลื่อน ช่างสรรพวุธไทยน่าจะทำได้
เปลี่ยนเครื่องเป็นเครื่องยนต์ดีเซล (ใช้BIOได้ป่ะ ^_^)
ซื้อมาเฉพาะป้อมปืนกับระบบควบคุมการยิง อาจจะผลิตลูกกระสุนเอง
กองทัพก็จะได้มีรถเกราะยิงสนับสนุนทหารราบได้อีก�
*ปล.ถ้าได้ปรับปรุงจริง เขาว่าปู่ไม่มีแอร์ก็อย่าลืมติดระบบทำความเย็นให้พี่ๆทหารเขาบ้าง เหอๆๆๆ�