ขอตอบรวมๆว่า อาร์พีจี-7 มาตราฐานนั้น เป็นหัวรบดินระเบิดแรงสูงหัวเดี่ยว ซึ่งประสิทธิภาพในการเจาะเป้าหมายคอนกรีตนั้นต้องดูด้วยว่าเป้าหมาย มีคอนกรีตหนาเพียงใด เสริมเหล็กรึไม่ หากปะทะเป้าหมายคอนกรีตที่ว่า รูแค่1-2ฟุต ต้องดูแรงอัดที่ทะลุเข้าไปทำลายเป้าหมายที่อยู่ในอาคารด้วย เพราะหัวรบไม่ใช่ระเบิดเพลิงเน้นเจาะกับสร้างแรงอัด
แต่กับรถถัง ก็อีกเช่นกัน ต้องดูจุดที่ ถูกยิงหากเกราะหนามากๆอาจจะไม่จบในนัดเดียวได้ ยกเว้นโดนสายพาน ห้องเครื่อง แต่ส่วนตัวคิดว่า แค่1-2นัดก็ลุ้นกันหนักแล้วล่ะครับ สำหรับรถถังยุคสงครามเย็นเกราะเหล็กเดิมๆ
ส่วนที่ว่ารถถังหากโดนทำลายห้องเครื่องนั้น รถถังหลักในยุคปัจจุบันมีแผงกั้นห้องเครื่องกับตัวป้อม เพราะไฟลุกห้องเครื่องที่มีถังเชื้อเพลิงด้วยนานๆ อาจจะเกิดระเบิดซึ่งรถถังรัสเซีย โดนมาแล้วในการปะทะกับเชเชน พอห้องเครื่องระเบิดแถมไม่มีที่กั้นแบ่งห้องเครื่องกับป้อมทำให้ แรงระเบิดจากห้องเครื่องส่งผลถึงแกนป้อมที่มีกระสุนปืนใหญ่ จนระเบิดป้อมหลุดเลยทีเดียว รัสเซียเลยต้องแก้ไขใส่ T-80 กับ T-90 น่ะครับ
ถ้าได้ไปเยี่ยมอนุสรณ์สถาน ภูหินร่องกล้า ................. จะได้เห็นซาก เอพีซี ของกองทัพ ถูกยิงด้วยอาร์พีจีจาก "นักรบผู้มีความคิดเห็นต่าง ของพรรคคอมมิวนิต"........................
จะเห็นว่า รูที่ถูกยิงหลอมละลาย ทะลุออกไปอีกข้าง ประมาณว่า ยิงขมับซ้าย ทะลุขมับขวา ออกไปโน่น.......................
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กรณีเหล็กกล้าที่บางเกินไป แทนที่จะทะลุและระเบิดอยู่ภายใน กลับเป็นออกไประเบิดภายนอก (แต่จริงๆ งานนี้ก็เยินเอาเรื่อง เพดานเปิดเลยเหมือนกัน)
ครับ นั่นคือ อนุภาพการทำลายของหัวรบ ขึ้นอยู่กับ วัสดุของเป้าและความหนาของเป้าด้วย แต่ที่แน่ๆ อาร์พีจี ใช้แลกหมัดกับ สไนเปอร์ ได้.........................อันนี้ ฟันธง
ขอเรียนเสริมครับ
เดิมนั้นระบบการเจาะเกราะของรถถังนั้นพัมนามาจากระบบการเจาะเกราะด้วยพลังงานจลน์ คือ การใช้ปืนที่มีคาลิเบอร์และมีความเร็วต้นสูงพอที่จะเจาะเกราะรถถังยุคนั้นได้ ซึ่งต่อมารถถังก็ได้พัฒนาความหนาของเกราะมากขึ้นจนหัวกระสุนไม่สามารถเจาะได้อีกต่อไป จึงก้าวเข้าสู่ยุคที่ใช้หัวรบซึ่งเป็นดินระเบิดแรงสูงHE:High Explosive) ซึ่งเกิดการพัฒนาแข่งกันระหว่างความหนาของเกราะกับน้ำหนักของดินระเบิด
จนกระทั้งเกิดทฤษฎีหนึ่ง ชื่อว่า"ทฤษฎีของมันโล" หรือเรียกกันว่า"อำนาจมันโล" ที่มีวิธีการจัดรูปแบบของดินระเบิดเป็นทรงกรวยที่เรียกว่าเชฟชาร์จ(Shape Charge) ที่สามารถจัดรูปแบบการระเบิดที่สามารถบังคับทิศทางของแรงระเบิดให้รวมศูนย์ไปยังจุดที่ต้องการเจาะได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าธรรมชาติของการระเบิดทั่วไปที่แรงระเบิดกระจายไปรอบๆทิศ จึงเป็นจุดกำเนิดของการเจาะเกราะด้วยพลังงานเคมีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่ากระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง(HEAT:High Explosive Anti Tank)
โดยมีการใช้ในระบบการต่อสู้รถถังมากมาย ทั้งในรูปแบบของ ลูกปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง ลูกจรวด ลูกจรวดนำวิถี ลูกปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ทุ่นระเบิดต่อสู้รถถังแบบเจาะใต้ท้องหรือสามารถใช้เจาะคอนกรีตได้ แม้กระทั่งรูปแบบล่าสุดที่อยู่ในรูปของลูกระเบิดย่อย(Bomblet) ที่โปรยจากกระสุนปืนใหญ่หรือจรวด
ตรงนี้จึงน่าจะเป็นคำตอบของกระทู้โดยอนุมานได้นะครับ ว่าทำไมลูกระเบิดของ RPG ที่ใช้การเจาะเกราะแบบเชฟชาร์จ จึงเจาะเกราะได้ดี แต่ไม่เหมาะสำหรับการยิงทำลายทั่วๆไป ซึ่งสอดคล้องกับการใช้หัวรบของกระสุนปืนใหญ่รถถังนะครับ โดยหากหวังผลในการยิงทำลาย ยิงข่มเป้าหมายทั่วไปในลักษณะของปืนโจมตี(Assault Gun) จะใช้กระสุนระเบิดแรงสูง(HE) ส่วนการยิงต่อเป้าหมายรถถังจะใช้กระสุนระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถัง(HEAT)
ด้วยความเคารพครับ