หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถามเกี่ยวกีบ electronic warfare aircraft

โดยคุณ : InDyCorporation เมื่อวันที่ : 14/03/2011 23:11:02

รบกวนขอรายละเอียดเกี่ยวกับ electronic warfare ว่าคืออะไร และ electronic warfare aircraft  เช่น EF-111A Raven เนี่ย คืออะไร มีหน้าที่อะไรในสนามรบครับ

ขอบคุณมากครับ พอดีไปหาอ่านตาม wiki แล้วมันไม่เห็นภาพ





ความคิดเห็นที่ 1


Electronic warfare (EW) เอาแบบสรุปนะครับ หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ พลังงานอื่นๆ เพื่อโจมตีหรือขัดขวาง ข้าศึกในทางคลื่น (ส่วนใหญ่ ทำโดยการ รบกวนทาง spectrum ของคลื่น)

 วัตถุประสงค์ของการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์คือการขัดขวางฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ทำการสื่อสาร หรือการกระทำใดๆ เช่นการรบกวน ระบบสื่อสาร การรบกวนระบบเรดาร์ การรบกวนระบบ GPS  การใช้ EMPในการทำลาย หรือทำให้เกิดการขัดข้อง ของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

 EW มีการแบ่งสามหลัก : Electronic Attack (EA), Electronic Protection (EP) และสนับสนุนการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (ES)

ดังนั้น Electronic warfare aircraft เป็นอุปกรณ์ ในการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ครับส่วน หน้าที่นั้น แล้วแต่ภาระกิจเป้าหมาย ที่จะถูกสั่งให้ทำในขณะนั้น  เช่น การ ทำการรบกวน radar guidance missile การรบกวนระบบสื่อสาร


หากมีผู้รู้ท่านได้ให้ความรู้เพิ่มด้วยนะครับ


โดยคุณ maxist เมื่อวันที่ 08/06/2010 21:50:10


ความคิดเห็นที่ 2


EW โดย basic ตามด้านบนครับ ขอเสริมนิดครับจะได้เข้าใจมากขึ้น

EW Air craft แบ่งได้หลาย ภาระกิจมากครับ เยอะมากๆ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ติดขึ้นไปว่าใช้ทำอะไรได้บ้างเช่น

ARAVA(thai) มี Comint กับ Eleint

Comint ใช้ในการดักฟังคลื่น (ES) วิทยุต่างๆรวมถึงการ Jam (EA) วิทยุ

Eleint ใช้หาคลื่น EM ที่ถูกปล่อยออกมาทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจแล้วนำข้อมูลนั้นมาหาประโยชน์ ต่อไป เช่น หาตำแหน่ง(ES) หาลักษณะของคลื่นเพื่อใช้ในการต่อสู้กับ อุปกรณ์นั้นๆ เช่นหาลักษณะของคลื่น SA3 SA8 Radar เครื่องบินรบต่าง ฯลฯ เพื่อจะหาว่าจะใช้การ Jam ลักษณะไหน ถึงจะดีที่สุด ทำให้เครื่องอยู่รอด หรือ หาขนาดจำนวนและเวลาในการปลด Chaff (EA)

F-16 ก็จะมี ECM ที่ใช้ในการ Jam (EA)

EA-6 มีภาระกิจใน EW เป็นหลัก สามารถ Stand off Jam ได้ และยังสามารถ Jam หรือ Decoy ได้หลายรูปแบบ กว่า เครื่องรบทั่วไป

สมัยนี้ เครื่องบินรบแทบทุกเครื่องมี ระบบ ทีเกี่ยวข้อง กับ EW ทั้งนั้นครับ จนไม่สามารถ แยกจากกันได้เลย

โดยคุณ O.B. เมื่อวันที่ 09/06/2010 00:54:46


ความคิดเห็นที่ 3


ขอเสริม อีกนิดครับ ความจริง รูปแบบของเครื่อง ไม่สำคัญมากนัก

แต่อุปกรณ์ที่ติดมาสำคัญมากกว่า เครื่องใหญ่ๆก็จะได้เปรียบเพราะใส่อุปกรณ์ได้เยอะ แล้วก็ กำลังมาก มาจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในตัวขนาดใหญ่

มีนักบินอังกฤษ เคยเล่าให้ฟังว่าเค้าใช้  Vulcan  Jam Radar ของ SAM ไม่แน่ใจว่าอะไร ฐานหัก เพราะว่าตัว จรวด หันไปอย่างรวดเร็ว ใน Range ที่อังกฤษ ขนาด Valcan เป็นเครื่องที่มีมานานมาก แสดงให้เห็นว่า ต่างประเทศ คิดเรื่องนี้มานานมาก จนพัฒนาไปไกลมากๆ

แต่ถ้าเอาเครื่องรบขนาดเล็กไป ก็อาจจะได้แค่ Deception

โดยคุณ O.B. เมื่อวันที่ 09/06/2010 03:59:22


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ

แล้วเครื่องบินประเภท AWAC หรือเจ้า Saab340 ที่เราจะได้มานี่ ทำหน้าที่ตรงจุดนี้ได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ InDyCorporation เมื่อวันที่ 09/06/2010 09:58:16


ความคิดเห็นที่ 5


 

Awac ไม่ใช้ Saab 340 ครับ เป็นคนละเรื่องกันเลย

แต่ถ้าถามหน้าที่ แล้วหมายถึง Sigint ผมไม่ทราบครับ

เพราะไม่รู้ว่ามีอะไรใส่อะไรเข้าไปบ้าง

โดยคุณ O.B. เมื่อวันที่ 09/06/2010 11:06:18


ความคิดเห็นที่ 6


ที่จริง ในบ้านเรามีคนที่มีความรู้ทางด้านนี้ก็มากอยู่นะครับ แม้จะอยู่กันในวงแคบๆ  แต่กลับไม่มี หนทางที่จะได้ ใช้ความสามรถ ที่มี
ความรู้ และความสามรถ ได้เต็มที่  บางคน ก็ไปต้องไปทำอย่างอื่น จนความรู้ ต้องลง กระป๋องไป

ผมไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง อุปกรณ์ มากเท่าไรครับ มีแต่ความรู้เรื่องหลักการ ทฤษฎี ว่ามันไปรบกวนตรงไหนอย่างไร เพราะตอนเรียน ผมไม่ค่อยจำ น่าเสียดาย

โดยคุณ maxist เมื่อวันที่ 09/06/2010 11:40:34


ความคิดเห็นที่ 7


บุคลากรอิเล็กทรอนิกส์ทางด้านการสื่อสารของประเทศไทยอาจมีไม่เยอะมากนัก แต่ที่จัดได้ว่าเทพๆน่ะ เพียบ ระดับเจ้าพ่อวงการสายอากาศที่สามารถออกแบบดาวเทียมทั้งดวงด้วยหนึ่งสมองก็มี แต่เสียดายที่ภาครัฐไม่เพียงไม่สนับสนุน แค่จะชายตาแลมาสนใจรับฟังยังไม่ทำเลย คงเห็นว่าไม่น่าสนใจมั้ง ไม่น่าสนใจจนกระทั่งนาซ่าดึงตัวไปทำงาน ....!!!
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 09/06/2010 16:33:05


ความคิดเห็นที่ 8


ไม่รู้ท่านที่ ท่าน Puriku กล่าวถึงนี่อาจจะเป็นท่านเดียวกับที่ผมรู้จัก หรือไม่ครับ Asst. Prof. Dr. Rangsan Wongsan ผมเรียน Antenna Engineering กับ Sattlelite Communications กับท่าน

ผลงานท่านมีมากมายครับ ส่วนใหญ่ไปดัง อยู่ในต่างประเทศ

ถ้าเป็นคนละท่าน ผมก็ขอทราบชื่อด้วยครับ
โดยคุณ maxist เมื่อวันที่ 10/06/2010 02:36:44


ความคิดเห็นที่ 9


โอ้ๆๆ ท่าน maxist  วิศวกรทางโทรคมฯที่เคยทำงานอยู่นาซ่า ไปสอนอยู่มหาวิทยาลัยท่านตั้ง 3 คนแน่ะ และทั้งสามท่านนั้นถ้าจะให้ออกแบบดาวเทียมผมว่าไม่คณามือหรอก ไหนจะอาจารย์จาก ม.มหานครที่ไปฝึกทำดาวเทียมที่อังกฤษอีกเป็นสิบคน  ประเทศเราเริ่มทำดาวเทียมมาเป็นสิบปีแล้ว แต่การสนับสนุนจากภาครัฐ...... คิดแล้วมันเซ็ง มีของดีอยู่ในประเทศกลับไม่เห็นค่า แต่พอฝรั่งเอามาพรีเซ็นต์ละตาลุกวาวเชียว


ขออภัยท่าน maxist ด้วย ผมจำชื่ออาจารย์แกไม่ได้แล้วเพราะแกย้ายที่สอนไปซะแล้วยังตามหาแกไม่เจอเลย (ที่จริงไม่ได้ตามหรอก-*-) แต่จะว่าไปบอกตามตรงว่าจำชื่อแกไม่ได้มาตั้งแต่ต้นแล้วครับเพราะเรียกแกว่าไอน์สไตน์มาตลอด ไม่ใช่สมองนะที่เหมือน แต่เป็นทรงผม..!!  ผมไปเข้าฟังการบรรยายของท่าน ท่่านบอกว่าทุกไอเดีย ทุกความคิด ทุกโครงการ ทุกผลงาน ถูกปฏิเสธทั้งหมด เอวังประเทศไทย...
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 10/06/2010 14:36:40


ความคิดเห็นที่ 10


ในส่วน อดีตบุคลากรของ NASA มีมากกว่านั้นครับ  ช่วงผมเรียน ปีสองเคยได้ไปช่วยอาจารย์ท่านหนึ่งมียศทางทหาร ทำงานวิจัย ทางด้าน ฟิสิกส์นิวเคลียร์ อยู่ครับ พวกผมเลยได้ ความรู้ด้าน การแผ่รังสี นิดๆ (ได้รับการสนับสนุน โปรแกรม มอนติคาโล จาก ลอสอะลามอส)
ที่จริงบุคลากร ที่นั่น มีทั้งวิศวกร วัสดุ นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์
และมีอาจารย์ท่านหนึ่ง จบนิวเคลียร์จาก อินเดีย

บ้านเราเขาไม่เปิดโอกาส นั่นแหละครับ ผมและเพื่อน เรียน Radar และ Sattellite  มา จบมาตกงานครับ เพื่อนสนิทผม คนหนึ่งที่ทำโปรเจคด้วยกัน
ยังดีที่ได้ไปเป็นครูสอน โรงเรียนที่ บ้านนอก ส่วนผมเอง กำลังหาหนทางเรียนต่อ ความรู้ ก็เลยเข้าหม้อ


โดยคุณ maxist เมื่อวันที่ 10/06/2010 21:50:12


ความคิดเห็นที่ 11


ขอเรียนให้ทราบนิดนึงว่า

บ้านเราเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรเฉพาะทางจึงเกิดสมองไหลแล้วก็มานั่งบ่นกันว่าขาดบุคลากร

ยกตกอย่างไม่นานมานี้นักศึกษาไทยชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ญี่ปุ่นยื่นทุนให้เรียนในระดับ ป.โททันทีใน ม.โตเกียว พร้อมทุนวิจัยด้านสาขานี้ แล้วสถาบันในไทยกว่าจะขอทุนให้ได้เหนื่อยมาก ไม่มีใครให้ความสำค้ญทั้งที่จริงเราพัฒนาเอง ถ้าดีเราสามารถสร้างส่งออกได้อีกต่างหาก

โดยคุณ ddd2521 เมื่อวันที่ 15/06/2010 05:57:18


ความคิดเห็นที่ 12


EW หรือ Electronic Warfare คือศาสตร์ที่ชิงความได้เปรียบในการรบ โดยต่างฝ่ายต่างแย่งการควบคุมคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ถูกนำมาใช้ในการสงคราม  เช่น

เรดาร์ - ใช้ในการแจ้งเตือนในการบุกรุกของข้าศึก หรือการจับเป้า ติดตามเป้า เพื่อนำวิถีให้กับจรวดหรือปืนต่อสู้อากาศยาน  EW=> อากาศยาน EF-111A ใช้ในการส่งสัญญาณรบกวน เพื่อทำให้เรดาร์เป้าหรือเรดาร์ข้าศึก ไม่สามารถทำงานได้ชั่วขณะหนึ่ง หรือทำงานผิดพลาด เช่น หน้าจอเรดาร์เป็นสีขาวไม่เห็นการบุกรุกของอากาศยาน หรือ ทำให้เรดาร์เบนความสนใจไปทิศทางอื่น

(สมัยก่อนเราใช้ตาเปล่าตรวจการณ์ ต่อมาใช้กล้องส่องทางไกล ต่อมาได้ใช้บอลลูน  และเมื่อมีการใช้อากาศยาน เราจึงต้องใช้เรดาร์ในการตรวจการณ์)

 

วิทยุสื่อสาร ทำการติดต่อสื่อสาร EW=> ข้าศึกสามารถทำการรบกวนให้ฝ่ายเราใช้วิทยุไม่ได้ หรือแอบฟังการติดต่อสื่อสารของเรา

RWR (Radar Warning Receiver) คือ ระบบแจ้งเตือนภัยเรดาร์ข้าศึก กล่าวคือ หากมีสัญญาณเรดาร์ตกกระทบหรือมีเรดาร์จับหรือติดตามการเคลื่อนไหวของอากาศยาน อุปกรณ์นี้จะแจ้งเตือน นักบินให้ทราบว่า กำลังตกเป็นเป้าของเรดาร์แบบไหน (เรดาร์ตรวจการ เรดาร์ติดตามเป้า เรดาร์ชี้เป้า)  เกี่ยวข้องกับ จรวดแบบไหนหรือ ปืนต่อสู้อากาศยาน  แต่ระบบนี้ ต้องอาศัยข้อมูลเฉพาะของสัญญาณเรดาร์ เพื่อให้อุปกรณ์ตัวนี้สามารถระบุได้ว่าเป็นเรดาร์อะไร

เรื่องนี้ยาวครับ 

AWAC กับ Saab340

AWAC คือเครื่องบิน ตรวจการ ควบคุม การสั่งการ  จะมีเรดาร์และอุปกรณืสื่อสาร  เพื่อคนหาเป้าหมายในอากาศ และสั่งการให้อากาศยานของเราไปสกัดกั้น

SAAB340 คือเครื่องบินอเนกประสงค์ สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้ เพื่อให้สามารถทำงานได้เหมือน AWAC หรือ ARAVA (อากาศยานหาข่าวกรองทางสัญญาณ)

ถ้าสนใจมากกว่านี้  เชิญค้นหา EW, ES (ESM), EA(ECM), EP(ECCM), ELINT, COMIMT, SIGINT, RWR

 

โดยคุณ numlk เมื่อวันที่ 14/03/2011 12:02:17


ความคิดเห็นที่ 13


ได้ข่าวว่า เราได้ Saab340 มา ๒ ลำ

ลำแรกติดตั้งอุปกรณ์แบบ AWAC เพื่อช่วยใหข้อมูลเป้าหมายแก่ Gripen เพราะเรดาร์ของ AWAC ทำการณ์ได้ไกลกว่าเครื่องบินรบ นอกจากนี้ยังใช้เป็นศูนย์บัญชาการลอยฟ้า

ลำที่๒ เป็นลำเปล่า ซึ่งสามารถหาอุปกรณ์ SIGINT (COMINT+ELINT) มาติดตั้งได้

โดยคุณ numlk เมื่อวันที่ 14/03/2011 12:11:03