จำเป็นต้องลงทุนขนาดนั้นเลยเหรอครับ
ดัดแปลง C-130 ให้ตอบสนองกับภารกิจนี้ไม่ได้เหรอ ราคาถูกกว่ากันเยอะเลย
ถึงเวลาของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้วยัง จะได้เอาน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรจริงๆซะที ไม่ใช่ภารกิจหลักเพื่อปั่นไฟฟ้า
ผมว่าเรื่อง เครื่องบินที่จะมาทำฝนเทียม ผมว่าเราพักไว้ก่อนแล้วมาสนใจ สภาพท้องฟ้าจริงๆดีกว่า ปัจจัยที่สำคัญกว่าคือ อากาศ อุณหภูมิ ระดับไอน้ำ ฯลฯ ที่ส่งผลต่อการจับตัวกันเป็นก่อนเมฆ ผมมองว่าทุกวันนี้ที่ฝนตกน้อย ไม่ได้มาจากกระบวนการทำฝนเทียมไม่เพียงพอเพียงอย่างเดียว แต่ผมคิดว่า เมฆ อากาศ คือปัจจัยสำคัญมากกว่าครับ ฝนเทียมในตอนนี้คือ เลี่ยงเมฆ และบังคับเมฆให้กลั่นน้ำฝน ซึ่งนั้นคือในสภาพที่เมฆเอื้ออำนวย แต่นี่ ตั้งแต่มี เอลนินโย้ ผมสังเกตุบนท้องฟ้า เมฆหายยยยย อากาศร้อนสุดๆ ลมแรง ภาพจากกรมอุตุฯก็แสดงให้เห็นว่าเมฆต่างๆได้เคลื่อนตัวไกลมาก และเร็วมาก ถึงแม้มีเครื่องบินเป็นร้อย ก็ทำให้เกิดเมฆดำๆยังยากแสนสาหัสที่สุดหล่ะครับ
หากพูดเพียงเรื่องเครื่องบิน ผมว่าที่น่าสนใจและกำลังพิจารณาใช้คือ การยิงสารเคมีด้วยปืนใหญ่ อันนี้จะดู ดีกว่านะครับ ถึงแม้จะไม่สามารถสร้างเมฆในระยะสูงได้แต่เมฆในระยะต่ำโดนแน่นอนและค่าใช้จ่ายไม่ต้องพูดถึงครับ รายละเอียดน่าจะออกมาแล้วนะครับถึงข้อดีข้อเสียการใช้ป.ใหญ่ทำฝนเทียม
ยังไงผมว่าตอนนี้ คิดหาทางที่ทำให้ อากาศเอื้อต่อการเกิดเมฆที่ดีในสภาพอากาศแบบนี้ น่าจะดีกว่านะครับ (อันนี้ไม่รู้จะเป็นไปได้ไหมเนี่ย)
งง กับการตั้งกระทู้...ทุกวันนี้ AU-23A ก็ปฏิบัติหน้าที่ฝนหลวงอยู่แล้วนี่ครับ...ตอนนี้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ วัฒนานคร ครับ...โดยช่วงเดือนพฤษภาคม ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ สุราษฎร์ธานี
ภารกิจหลักในการปฏิบัติการฝนหลวง...เป็นภารกิจของหน่วยบินฝนหลวงและการบินเกษตร ......
ส่วนเหล่าทัพแค่สนับสนุนในช่วงที่ต้องทำฝนครับ...โดยการนำเครื่องบินลำเลียงที่มีอยู่เอามาปฏิบัติหน้าที่ทำฝน....
ต้องเรียนให้ทราบแบบ "ไม่ขำ" ก่อนครับว่า...สารที่ใช้ทำฝนนั้น..มีผลต่อโลหะและอากาศยานด้วย...การนำเครื่องบินบางแบบไปใช้ในการทำฝน...ต้องพิจารณาและต้องปลอดภัยด้วย...
เครื่องบินแบบ CASA เหมาะที่สุดแล้วครับ...บรรทุกได้เยอะ..กว่า AU-23A คุ้มค่ากว่าครับ....
แต่ทุกวันนี้เค้าพัฒนา "พลุสารฝนหลวง" ติดกับ AU-23 ทำการพ่นสารทำฝนหลวงครับ....