หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ความเป็นไปได้กับเรือพิฆาตกองทัพไทย

โดยคุณ : piyapart เมื่อวันที่ : 01/07/2010 20:45:39

ภายใน 10 ปีนี้มีความเป็นไปได้ไหมครับกับเรือพิฆาต (Destroyer) ระบบ Aegis

ราคาลำนึง + ระบบอาวุธเต็มระบบ ประมาณเท่าไหร่ครับ จะแพงกว่าเรือจักรีรึเปล่า อเมริกาจะขายให้เรารึเปล่า ถ้าเอาตามระบบเกาหลีใต้ ราคาจะถูกกว่าของอเมริกา หรือญี่ปุ่นไหม

สนใจมากครับ ขอบคุณ




ความคิดเห็นที่ 1


อาวุธหลักของระบบ Aegis คือ อาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ Standard ซึ่งในปัจจุบันอาวุธแบบนี้จะยิงจากแท่นยิงแนวตั้งแบบ Mk.41 VLS (ฺVertical Launching System) ทั้งหมด เนื่องจากเรือรบผิวน้ำที่ติดตั้งแท่นยิงแบบ Mk.26 GMLS นั้นปลดฯ ประจำการไปหมดแล้ว (คือ เรือลาดตระเวน ชั้น Ticonderoga ชุดแรก 5 ลำ ตั้งแต่ CG-47 ถึง CG-51) และเรือที่ต่อใหม่ทั้งหมดที่ติดตั้งระบบ Aegis ใช้แท่นยิงแบบ Mk.41 ทุกลำ ไม่ว่าจะเป็นเรือของ ทร.สหรัฐฯ หรือประเทศอื่นๆ

นอกจากอาวุธนำวิถี แบบ Standard แล้ว ระบบ Aegis ยังใช้ร่วมกับอาวุธแบบอื่นๆ ได้ ทั้งในเรื่องการจ่ายข้อมูลเป้าหมายให้เพียงอย่างเดียว เช่น อาวุธนำวิถี RIM-116B RAM block I หรือระบบอาวุธป้องกันระยะประชิด (CIWS) Phalanx Mk.15 เป็นต้น และเรื่องการควบคุมการยิงด้วย เช่น อาวุธนำวิถี RIM-162A ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile)

อาวุธนำวิถี Standard ที่ใช้กับระบบ Aegis ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แบบ (เฉพาะรุ่นล่าสุด) คือ
1. RIM-66M-5 SM-2 MR block IIIB ระยะยิง 40 nm.
2. RIM-156A SM-2 ER block IV ระยะยิง 130 nm.
3. RIM-161B SM-3 block IB ระยะยิง 270 nm.

อาวุธ นำวิถี SM-2 ใช้การนำวิถีด้วย autopilot ควบคุมผ่าน data-link ในช่วงกลาง และแบบ Semi-Active Radar Homing (SARH) ในช่วงสุดท้าย ส่วน SM-3 ใช้ระบบ GPS ร่วมกับ INS (Inertial Navigation System) ในช่วงกลาง และใช้ระบบอินฟราเรดในช่วงสุดท้าย ทั้งนี้ SM-3 นั้นออกแบบมาสำหรับภารกิจต่อต้านขีปนาวุธ (Ballistic Missile Defece; BMD) เท่านั้น และใช้ระบบ Aegis เฉพาะในเรื่องการจ่ายข้อมูลเป้าเบื้องต้นให้กับอาวุธเท่านั้น ดังนั้นในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศจึงเป็นหน้าที่ของ SM-2 เป็นหลัก

credit rinsc seaver จาก TAF
โดยคุณ piyapart เมื่อวันที่ 21/06/2010 03:28:23


ความคิดเห็นที่ 2


ถ้าจะให้ถึงขั้นจัดหา เรือพิฆาต โอกาสเป็นไปได้ยากครับ ถ้าเป็น เรือฟริเกต(ซึ่งก็คือเรือพิฆาตขนาดเบานั่นเอง) น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่าครับ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/06/2010 08:41:21


ความคิดเห็นที่ 3


ระบบ Aegis หลักๆผมมองว่ามันใช้ป้องกันขีปนาวุธเป็นหลัก ถ้ามองจากภัยคุกคามจากขีปนาวุธในอนาคตของเรา สมมุติจากเพื่อนบ้านเราขีปนาวุธที่ยิงมาก็ไม่ต้องผ่านทะเลมา ถ้าอย่างนั้นระบบต่อต้านขีปนาวุธของเราคงใช้แบบตั้งบนบกดีกว่าละมั้ง อีกอย่างถ้าอยากได้เรือพิฆาตแบบโหดๆ จัดหา AV-8 II plus มาไว้บนเรือจักรีนฤเบศรแบบเต็มๆ ผมว่าเรือจักรีมันก็กลายเป็นเรือพิฆาตโหดๆได้เลย
โดยคุณ kit_thaifighterclub เมื่อวันที่ 21/06/2010 09:13:24


ความคิดเห็นที่ 4


ตอนนี้แค่ลุ้นให้วิบูลย์กิจรวมเล่ม ZIPANG ก็หืดขึ้นคอแล้วครับ รอนานมาก
โดยคุณ Gemini เมื่อวันที่ 22/06/2010 16:00:42


ความคิดเห็นที่ 5


ภายใน 10 ปี นี้ คงไม่ได้เห็นแน่นอนครับ....แต่หลังจากนั้น กรณี ที่ ทร. มีการจัดหาเรือดำน้ำไปแล้ว...(ผมประมาณการไว้ไม่ต่ำกว่า 17 ปี ทร. ถึงจะได้จัดหาเรือสมรรถนะสูงลำใหม่)

ด้วยคุณสมบัติของเรือ Formidable ของ ทร.สิงคโปร์ นี่ก็น้อง ๆ หรือเทียบเคียงได้กับเรือ DDG ครับ...ก็คือ ในระยะอันใกล้ ถ้าเกิด ทร. สามารถมีงบประมาณจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงได้ ก็น่าจะไม่เกินจากนี้ไปมาก....

และโอกาส SM-2 สำหรับ ทร.ไทย จะมีก็ต่อเมื่อ พม่า มีการเติบโตทางอาวุธนำวิถีระยะไกล หรือมีการประจำการอาวุธที่เป็นในเชิงรุกมากขึ้น เช่น SU-30 หรือ ถ้าข่าวลือในเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์มีความเป็นจริง....ผมว่า นั่นถึงจะเป็นโอกาสของ ทร. ที่จะสามารถมี SM-2 ประจำการในภูมิภาคนี้ได้ครับ...

ซึ่งถ้าเงื่อนเวลา การเติบโตของแสนยานุภาพของ พม่า มีภัยคุกคามในภูมิภาคนี้ สอดคล้องกับระยะเวลาการจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของ ทร. แล้ว...แนวโน้มเรือ DDG ของ ทร.ไทย ที่จะมี SM-2 ติดตั้งอยู่ด้วย ผมว่าน่าจะมีโอกาสสูง....

และแบบเรือน่าจะประมาณเรือชั้น F-100 ของ ทร.สเปน ซึ่งระวางเรือสูงสุดประมาณ 5,800 - 6,250 ตัน...ส่วนแบบอื่น ๆ ระวางขับน้ำ จะอยู่ประมาณขั้นต่ำ 7,000 - 8,000 ตัน ซึ่งคงจะใหญ่ไปสำหรับอ่าวไทยที่มีพื้นที่น่านน้ำ แบบปิดล้อม คือ มีฝั่งขนานตลอดแนวอ่าว ไม่เหมือนกับ ฝั่งอันดามัน ที่มีน่านน้ำแบบเปิด มากกว่า...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/06/2010 20:42:31


ความคิดเห็นที่ 6


หรือถ้าในกรณีที่ อีก 5 ปีข้างหน้า มีการเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ ใหม่ และสายเหยี่ยว กลับเข้ามาอีก....รวมกับกรณีที่ จีน มีบทบาทต่อการพัฒนาอาวุธของพม่ามากขึ้น...และสหรัฐ จะกลับมาเพิ่มบทบาททางการทหารในภูมิภาคนี้อีกครั้ง...โดยรวมกับข่าวการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของพม่า ที่อาจจะ เมคข่าว หรือ อาจจะเป็นจริง....

สหรัฐ ก็อาจจะเสนอความช่วยเหลือทางการทหารรอบใหม่ให้กับไทย เช่น ทร. ก็อาจจะเสนอ เรือ oliver hazard perry พร้อม SM-2 ให้กับไทย โดยไทยชำระในส่วนการปรับปรุงสภาพเรือ เท่านั้น....

โอกาสของ OHP จะเป็น ม้ามืด ก็มีอยู่เหมือนกัน...และอาจจะอยู่ในช่วงระยะเวลา 10 ปี นี้ก็ได้....

 

http://thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=8519&topic=สรุปโครงการ%20Upgrade%20Oliver%20Hazard%20Perry%20Class

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/06/2010 20:55:27


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าดูจากข่าวการวางแผนการปลดเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งน่าจะอยู่ในระยะประมาณอีก10ปีข้างหน้า รวมถึงระยะเวลาการปลดประจำการของเรือชั้น Perry ในกองทัพเรือประเทศอื่นทั่วโลกแล้ว คิดว่ากองทัพเรือไม่ควรมีแนวคิดในการจัดหาเรือมือสองอีกครับ ซึ่งอีก10-15ปีข้างหน้าเรือชั้น Perry ที่ประจำการในสหรัฐฯจะมีอายุการใช้เกิน35-40ปีแล้ว ถ้านับรวมกับระบบเครื่องยนตร์เรือที่เป็น Gas Turbine ที่มีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงแล้วเรือชุดนี้ไม่ค่อยเหมาะกับกองทัพเรือครับ

ซึ่งก็ตามที่เคยกล่าวมาแล้วครับว่าประมาณ 10-15ปีก่อนกองทัพเรือก็เคยพิจารณาเรือชั้น Perry แต่ก็ไม่เลือกครับ

ในแง่เรือระบบ AEGIS นั้นยังมีเรือที่เล็กกว่าเรือชั้น Alvaro de Bazan ของสเปนครับ เช่นเรือชั้น Fridtjof Nansen ของนอร์เวย์ระวางขับน้ำ 5,300ตัน ติด SPY-1F

หรือแบบแผนเรือ AFCON Corvette ระวางขับน้ำ 2,600ตัน ติด SPY-1K เป็นต้นครับ 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 22/06/2010 23:12:19


ความคิดเห็นที่ 8


สำหรับประเด็นเรือ OHP นั้น อยู่ที่ จรวด สแตนดาร์ดมิสไซยส์ ครับ...

ปากีสถาน รอรับเรือชั้น OHP มือสองจากสหรัฐ ประมาณเดือน สิงหาคม นี้ จำนวน 1 ลำ และแต่เดิมก็มีแผนจะประจำการรวมถึง 8 ลำด้วยกันครับ...

ซึ่ง ปากีสถาน คงมีเป้าหมายต้องการ สแตนดาร์ดมิสไซยส์ จากสหรัฐมากกว่า...ซึ่งถ้า สหรัฐ ไม่ยอมขาย สแตนดาร์ดมิสไซยส์ ให้...ยอดการซื้ออาจจะมีเพียงแค่ 1 ลำเท่านั้น...

สำหรับประเด็น เรือชั้น F-100 ของสเปน นั้น...ผมมองในกรณีที่ ทร.ไทย จะประจำการด้วย SM-2 ครับ...ซึ่งเท่าที่ดูข้อมูลเรือที่ประจำการด้วย SM-2 เรือชั้นนี้ จัดว่าเล็กสุดแล้วครับ....

แต่ถ้า ทร.ไทย ไม่มีการประจำการด้วย SM-2 รูปแบบเรือก็จะขนาดตามที่ท่าน AAG_th1 ให้ความเห็นไว้ หรือ ไม่เกินเรือชั้น Formidable ที่ใช้เพียง ESSM เท่านั้นครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/06/2010 01:19:36


ความคิดเห็นที่ 9


อ้อ...กับอีกลำคือ OHP ของ ทร.ออสเตรเลีย มีการปรับปรุง MK-13 ให้สามารถยิง SM-2 ได้ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/06/2010 01:25:10


ความคิดเห็นที่ 10


และการประจำการเรือมือสองของ ทร.ไทย ที่ซื้อจากสหรัฐ ว่าจะเน้นความต้องการ จรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ มากกว่าครับ...

สังเกตุได้จาก ในคราวแรก มีความต้องการ เรือชั้น ชาลล์ เอฟ อาร์ดัม เพราะมีการติดตั้ง จรวดสแตนดาร์ด มิสไซด์...ซึ่ง สหรัฐ ไม่ยอมปล่อย โดยให้ซื้อ เรือชั้น Knox แทน...

ในกรณีเรือชั้น OHP เช่นกัน...ผมคิดว่า ทร. มีความต้องการ จรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ พร้อมมาด้วยมากกว่า...และก็คาดว่า สหรัฐ ก็คงปฏิเสธอีกเช่นเดิม...

ผมมองประเด็นที่ว่า สหรัฐ คงไม่ปล่อย ระบบจรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ ให้กับประเทศในภูมิภาค ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อป้องกันการขโมยเทคโนฯ ของจีน....

แต่โอกาสความเปลี่ยนแปลงที่จะเห็น จรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ ประจำการอยู่ในภูมิภาคนี้ คงมีโอกาสเดียว คือ ภัยคุกคามทางนิวเคลียร์ของพม่า...ซึ่งผมก็มองว่า ไทย น่าจะมีโอกาสสูงกว่าประเทศอื่น...

เพียงแต่ ถ้าสหรัฐยังกลัวการรั่วไหลเทคโนฯ ไปที่จีน...จรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ อาจจะเข้าข่ายคล้ายกับ AIM-120 ที่ต้องเก็บไว้ที่คลังของสหรัฐ หรือ แนวโน้มจะเกิดสงคราม สหรัฐถึงจะส่งมอบจรวดให้....

ผมเลยมีความคิดเห็นว่า โอกาสของ OHP มือสอง ถ้าจะมี ก็ในกรณีที่ สหรัฐ ยอมปล่อย จรวดสแตนดาร์ดมิสไซด์ ให้กับ ทร.ไทย...ซึ่ง ทร.ไทย จะปฏิเสธ รึเปล่า แม้จะเป็นเรือมือสอง ?

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/06/2010 01:38:23


ความคิดเห็นที่ 11


โอกาสน่าจะเป็นไปได้สูงครับท่านJuldas ที่ทร.จะจัดหา เรือชั้น Perry มาประจำการ ในกรณีที่ทร. มุ่งงบประมาณไปที่การจัดหาเรือดำน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการมีเรือดำน้ำประจำการในอนาคต  ดูแล้วโอกาสที่ทร. จะจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ๆ คงเป็นไปได้น้อยในช่วง 10 ปี นี้ อีกทั้งงบประมาณปีสองปีที่ผ่านมานี้ เห็นได้ว่าทร. เน้นการปรับปรุงยุทโธปกรณ์เป็นส่วนใหญ่ เดาว่าคงจะเน้นโครงการเรือดำน้ำมากกว่าครับ ดังนั้นเรือมือสองอย่างชั้น Perry มี%ที่สูง แต่สแตนดาร์ดมิสไซด์ ไม่น่าจะมาพร้อมเรือ แต่หลังประจำการ ทร. อาจปรับปรุงและจัดหาอวป. ระบบอื่นแทนมากวาครับ  อเมริกันก็คืออเมริกันครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 23/06/2010 02:49:09


ความคิดเห็นที่ 12


โหหหหหหหหหหหหหห

 

มีคนอ่านZIPANGเหมือนผม ด้วยหรอเนี่ย

 

ไม่ทราบว่าคุณ Gemini เข้าไปอ่านในเว็ปแปลไทยหรือยัง ไปไกลแล้วนะครับ

http://www.thaimanga.net/view/84/zipang/

โดยคุณ ZipDoZs เมื่อวันที่ 23/06/2010 03:54:15


ความคิดเห็นที่ 13


เท่าที่ทราบเรือชั้น Perry ที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯมีการถอดระบบแท่นยิง Mk13 ไปแล้วครับ นั้นหมายความว่าเรือจะไม่สามารถใช้ยิง SM-1 และ Harpoon ได้อีกต่อไป ซึ่งเรือชั้น Perry ที่ประจำการในสหรัฐฯยิงได้เฉพาะ SM-1MR รุ่นเก่าที่ปลดไปนานแล้วเท่านั้นครับ

ซึ่งนั้นหมายความว่าถ้าไทยจัดหาเรือ Perry มาจริงก็ต้องทำการปรับปรุงระบบอาวุธใหม่ แต่คำถามคือแบบนั้นซื้อเรือต่อใหม่เลยไม่ดีกว่าหรือครับ

จริงๆระบบ SM-2MR ซึ่งสหรัฐฯได้ขายให้กับกองทัพเรือมิตรประเทศหลายประเทศไปใช้งานกับเรือระบบ AEGIS และที่ใช้ระบบอื่นอย่าง APAR นั้น ไม่ใช่อาวุธปล่อยที่มีขีดความสามารถในการสกัดกั้นขีปนาวุธได้ครับ ซึ่งขีดความสามารถของ SM-2MR BlockIII นั้นก็ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับ Aster 30 ที่ติดกับเรือชั้น Formidable ของสิงคโปร์ครับ

ระบบอาวุธปล่อยที่สามารถสกัดขีปนาวุธได้นี้คงต้องเป็น SM-3 ซึ่งตอนนี้ก็มีแต่สหรัฐฯกับญี่ปุ่นใช้เท่านั้นครับ 

แต่ปัจจุบันถ้ามองในแง่การพัฒนาและจัดหาระบบส่งของพม่าแล้ว ดูเหมือนพม่าจะยังไม่มีขีปนาวุธในระดับเดียวกับเกาหลีเหนือที่ต้องใช้ SM-3 สกัดครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 23/06/2010 08:26:03


ความคิดเห็นที่ 14


ผมมองว่าโอกาสของเรือชั้น Perry จะเข้ามาสู่อ้อมอกกองทัพเรือไทยคงยากมากถึงแม้ข่าวกรองจะยืนยันว่าพม่าพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และจรวดพิสัยไกลจริง ไม่ว่าจะคิดมุมไหนก็ไม่คุ้มค่ากับการจัดหาเรือชั้นนี้เข้ามาประจำการเว้นแต่ว่าจะปล่อยฟรีไม่มี Vat

แต่สิ่งที่อเมริกาจะเสนอให้คงเป็นระบบ Patriot ซะมากกว่า ถ้าอเมริกาคิดจะปกป้องผลประโยชน์ในดินแดนที่ห่างไกลกว่าประเทศไทย ก็แค่ลากระบบ เอจิสมาลอยแถวอ่าวไทย อ่าวเบงกอล ทะเลจีนใต้ ก็พอแล้วไม่น่าจะต้องถึงกับยกเรือให้ไทยไว้ใช้เอง ดีไม่ดีพอเห็นว่าศักยภาพประเทศเราตอนนี้ย่ำแย่อาจไม่เห็นหัวเราเลยก็ได้ งานนี้เห็นทีเกาะหางมังกรจะเจ็บตัวน้อยกว่าบินไปกับอินทรี
โดยคุณ Puriku เมื่อวันที่ 23/06/2010 14:23:41


ความคิดเห็นที่ 15


ตามอ่านเหมือนกันครับ คุณZipDos รู้สึกว่าที่ญี่ปุ่นจบแล้ว เล่ม43นะครับ
โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 23/06/2010 19:03:21


ความคิดเห็นที่ 16


ถ้าหากว่าระบุไปที่ภัยคุกคามคือ ขีปนาวุธจากพม่า จุดป้องกันภัยหลักๆในการโจมตีขีปนาวุธด้วยจรวดพิสัยไกลผมมองว่าน่าจะเน้นไปทางบกมากกว่าที่จะเน้นทางเรือครับ เพราะประเทศพม่ามีอาณาเขตค่อนไปทางเหนือของไทย ขนาดทางใต้ของพม่าที่ติดทะเลยังอยู่แนวตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งหากจะมีการจัดหาเรือ พิฆาต ก็มีส่วนในการดูแลฝั่งอันดามันเสริมจากทางบกมากกว่าจะเน้นป้องกันหลัก ซึ่งนั่นหมายถึง เรือจะเน้นภารกิจทางฝั่งอันดามัน โดยป้องกันทางด้านตอนใต้ของไทยหากเกิดกรณีโจมตีทางภาคใต้ ในส่วนตัวมองที่ความคุ้มค่านั้น น่าจะจัดหา เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศมือหนึ่งมากกว่าการจัดหาเรือพิฆาตขนาดใหญ่มือสองที่มีการดูแลรักษาและค่าการปฏิบัติการสูงมากกว่าเรือฟริเกตครับ และปัจจุบันก็มีระบบเรดาร์สามมิติที่สามารถติดตั้งในเรือฟริเกตได้หลายแบบ
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/06/2010 23:57:31


ความคิดเห็นที่ 17


อาจจะเป็นไปได้นะครับคุณAgg_th1 เพราะในเมื่อสภานะการณ์การเงินของรัฐบาลในปัจจุบันไม่แน่นอน และกองทัพเรือมุ่งเรื่องการจัดหาเรือดำน้ำ อาจทำให้กองทัพเรืออาจต้องหาทางจัดหาเรือมือสองมาใช้งานแก้ขัด เพื่อลดช่องว่างของดุลทางทหารระหว่างประเทศ  โดยอาจเป็นการซื้อขาดหรือเช่าในช่วงแรกแบบ เรือชั้น Knox  แล้วนำมาปรับปรุงตามแบบ ทร.ไต้หวัน หรือ ทร.ออสเตรเลีย ซึ่งการปรับปรุงอาจเป็นการจัดหาระบบอาวุธและระบบต่างๆจากแหล่งอื่นไม่จำเป็นต้องยึดว่าต้องมาจากสหรัฐ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 23/06/2010 23:58:20


ความคิดเห็นที่ 18


ในเรื่องการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของพม่า นั้น...ก็คงต้องมองในภาพกว้างครับ....

ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นระบบ ขีปนาวุธระยะไกล....อาจจะเป็นการพัฒนาแบบลูกระเบิดติดหัวรบนิวเคลียร์ หรือ ฯลฯ  ครับ....

ตามความเห็นที่ผมแสดงไว้นะครับว่า...อาจจะเป็นภัยคุกคามจาก SU-30 เองก็ได้ ถ้า พม่า มีการจัดหาเข้าประจำการ...นั่นคือ การพิจารณาตามเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น....

ซึ่งการประจำการ SM-1 หรือ SM-2 ของกลุ่มนาโต้ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ ก็ไม่มีเป้าหมายหลัก คือ ขีปนาวุธข้ามทวีป...แต่จะเน้น การต่อต้านภัยทางอากาศจากอากาศยานที่มีสมรรถนะสูงครับ...

ซึ่งถ้า พม่า มีการประจำการด้วย SU-30...โอกาสที่จะเห็น Standard Missile ในภูมิภาคนี้ ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ...และ ไทย น่าจะมีโอกาสมากที่สุดครับ...

สหรัฐ ไม่ได้มอง มาเลเซีย หรือ สิงคโปร์ ที่มีพรมแดนติดกับไทย เป็นภัยต่อภูมิภาค....

สหรัฐ ขาย SM-1 และ SM-2 ให้ ออสเตรเลีย  เพื่อการถ่วงดุลในภูมิภาค ซึ่งผมว่า สหรัฐ ก็เน้นไปที่การแผ่ขยายอำนาจทางการทหารของ จีน มากกว่า...ที่ จีน กำลังประจำการด้วยเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ปฏิบัติการด้วย SU-30 หรือ SU-35 ได้....

ในเรื่องงบประมาณการจัดหานั้น....กรณีถ้า ทร. มีงบประมาณซื้อเรือใหม่ มันก็คงเป็นที่แน่นอนครับว่า จัดหาเรือใหม่ มันดีกว่าอยู่แล้ว...ซึ่งผมได้ประมาณการไว้ว่า ถ้า ทร. เลือกเรือดำน้ำ...โอกาส เรือฟริเกตสมรรถนะสูง น่าจะไม่ต่ำกว่า 17 ปี ครับ...ทร. ถึงจะมีประจำการด้วย เรือฟริเกตสมรรถนะสูง...

และจากความเห็นข้างบนที่ผมให้ความเห็นไว้...จะหมายความว่า ในกรณีภายในอีก 10 ปีข้างหน้า...สหรัฐ อาจจะเสนอ เรือชั้น OHP มือสอง พร้อม Standard Missile ให้กับ ไทย ก็เป็นได้ครับ....และในการปรับปรุง OHP ของสหรัฐ ก็คือ ถอดอุปกรณ์ออกครับ....และมันสามารถทำการติดตั้งใหม่ได้ครับ....โดยในเงื่อนไข ก็อาจจะเหมือนกับ ปากีสถาน คือ ชำระค่าใช้จ่ายสำหรับปรับปรุงและติดตั้งเพิ่มเติมครับ...

และเครื่องยิง MK-13 นั้น สามารถอัพเกรดใช้ SM-2 ได้ เช่นเดียวกับ ตุรกี (มีแผนจะทำ) และ ออสเตรเลีย ที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว...

และถ้า คชจ.ในการปรับปรุง อยู่ระหว่างลำ 80 ล้านเหรียญ/ลำ รวม 2 ลำ คือ ประมาณ 160 ล้านเหรียญ...ผมถึงมีคำถามในใจว่า ทร. จะปฏิเสธหรือ ?

ในขณะที่จัดหาเรือใหม่ เฉพาะตัวเรือเอง คงไม่ต่ำกว่า 250 ล้านเหรียญต่อลำ....และถ้าจะเป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่อาวุธครบครัน ผมว่าราคาก็คงไม่ต่างจากเรือดำน้ำที่ ทร. กำลังจะจัดหา คือ ลำละประมาณ 500 ล้านเหรียญ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 00:47:20


ความคิดเห็นที่ 19


ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มีประจำการด้วย Standard Missile เพราะ ภัยคุกคามทางอากาศที่จาก จีน และ รัสเซีย ที่ประจำการ บ.ตระกูลแฟรงเคอร์....

และสำหรับภูมิภาคในเอเชีย...ที่ สหรัฐ ไว้วางใจมากที่สุด ว่า เทคโนโลยี่ทางการทหารจะไม่ตกไปถึงมือ จีน...คือ ออสเตรเลีย....

ในความเห็นผม มองว่าในภูมิภาคนี้ สหรัฐ ไม่มีนโยบายขาย Standard Missile ให้กับกลุ่มประเทศ ASIAN เพราะมองว่า แต่ละประเทศไม่มีภัยคุกคามทางอากาศสมรรถนะสูง และแต่ละประเทศ ก็เป็นมิตรประเทศของ สหรัฐ ทั้งสิ้น...และ การมีอิทธิพลของจีน ต่อ กลุ่มประเทศ ASIAN มีอยู่สูง (โดยเฉพาะ ไทย) โอกาสการหลุดลอดของเทคโนโลยี่ มีอยู่สูง ครับ...

ผมเลยมองไปที่เงื่อนไขว่า....ถ้า พม่า มีศักยภาพภัยคุกคามสูง เช่น การประจำการด้วย SU-30 หรือ มีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างชัดเจน....นั่นน่าจะเป็นโอกาส ที่ Standard Missile จะมีประจำการอยู่ในภูมิภาคนี้ครับ...แต่ก็อีกนั่นแหล่ะครับว่า...สหรัฐ เอง ก็คงไม่ไว้ใจนัก กรณี ถ้าเป็น ไทย ที่สหรัฐยอมที่จะให้มีประจำการ ในเรื่องการหลุดลอดไปสู่ จีน...โอกาสมันจึงจะเป็นว่า Standard Missile จะเก็บไว้ที่คลังสหรัฐ และจะจัดส่งให้เกิดเหตุส่อถึงภาวะสงคราม...เหมือนกับ AIM-120 ที่ผ่านมาน่ะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 00:57:04


ความคิดเห็นที่ 20


ผมพอจะเข้าใจความหมายที่ ป๋าจู คิดครับ คือ ช่วงเวลานี้ยังมีงบไม่มากพอที่จะจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ในตอนนี้เพราะกองทัพเรืยังมีโครงการอีกมาก ซึ่งโอกาสที่จะจัดหาได้ก็ต้องอีก 15 ปีขางหน้า นั่นหมายถึงว่าจะเกิดช่องช่วงเวลานี้ที่ยังไม่มีเรือป้องกันภัยทางอากาศหากเกิดกรณีที่มีภัยคุกคาม ซึ่งในความหมายของป๋าคือ การที่อาจจะเป็นการจัดหามือสองในลักษณะการช่วยเหลือจาก อเมริกา เช่น จัดหามาในลักษณะเช่าซื้อเรือมือสองโดยให้มีการออกงบประมาณปรับปรุงเรือเองในการที่จะติดอาวุธป้องกันภัยทางอากาศ ใช่หรือเปล่าครับป๋า
โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 24/06/2010 01:01:54


ความคิดเห็นที่ 21


ขอขยายความว่า Standard Missile นอกจากเป้าหมาย บ.สมรรถนะสูงแล้ว...ก็รวมถึง อาวุธนำวิถีระยะไกล สำหรับโจมตีกองเรือ เช่น อาวุธนำวิถี ที่ยิงมาจาก เรือดำน้ำ หรือ อากาศยาน ซึ่งรวมภัยคุกคามทั้งหมด คือ ภัยทางอากาศ...

ดังนั้น สมมติว่า พม่า มีประจำการด้วย SU-30 และมีการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ โดยสามารถติดตั้งกับ จรวดที่ไปกับ อากาศยาน ได้...การป้องกันภัยทางอากาศ มันก็คงต้องป้องกัน ทั้งทางทะเล และ ทางบก มันถึงจะครอบคลุม ทั้งหมด ครับ...(ยกตัวอย่างเช่น ติดหัวรบนิวเคลียร์กับ อาวุธนำวิถีแบบ บรามอส เป็นต้นครับ)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 01:07:40


ความคิดเห็นที่ 22


ก็ประมาณนั้นน่ะครับ...ท่านเด็กทะเล...ผมตั้งข้อสมมติว่า ภายในระยะ 10 ปี...ถ้าภัยคุกคาม มันส่อว่าจะเกิด..และกับ ความสอดคล้องกับ ถ้า (สมมติ) สหรัฐ เปลี่ยนบทบาทและท่าทีการมีบทบาททางการทหารในภูมิภาคนี้อีกครั้ง....

แต่ถ้ามันไม่มี เหตุที่อาจจะเกิด...และสหรัฐ ยอมที่จะขายเฉพาะ เรือเปล่า... OHP มันก็ไม่น่าสนใจนัก...

แต่เกิดสมมติว่า สหรัฐยอมที่จะขายเรือพร้อมระบบยิงอาวุธ เอาแค่อย่างเช่น พร้อมระบบยิง ESSM...ผมว่าเพียงแค่นี้ มันก็น่าสนใจพอใช้ครับ.....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 01:12:35


ความคิดเห็นที่ 23


SM-1MR รวมถึงแท่นยิง Mk13 สำหรับ เรือชั้น Perry นั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสำหรับการจัดหาระบบเรือป้องกันภัยทางอากาศครับ ซึ่งขีดความสามารถของระบบควบคุมการยิงประจำเรือั้นไม่สามารถตอบสนองภัยคุกคามในปัจจุบันได้ครับ อีกทั้ง SM-1MR และ Mk13 สำหรับสหรัฐฯนั้นก็ถูกปลดประจำการไปนานแล้วเชื่อว่าไม่มีให้จัดหาแน่

สำหรับการปรับปรุงเรือชั้น Perry ที่ประจำการในหลายๆประเทศ เช่น ตุรกีคือชั้น G กับระบบ GENESIS จะมีการเสริมด้วยแท่นยิง Mk41 สำหรับ ESSM

ส่วนเรือ Perry ของออสเตรเลีย ชั้น Adelaide ที่ปรับปรุงติด Mk41 และ SM-2MR สำหรับแท่นยิง Mk13 ก็มีการปลดเรือไปส่วนหนึ่งแล้ว และการปรับปรุงเรือเองก็ไม่ได้ทำครบทุกลำ เพราะมีปัญหาเรื่องบประมาณและทางTechnic ซึ่งเรือ Perry ของออสเตรเลียนั้นจะถูกประจำการแทนด้วยเรือชั้น Hobart ซึ่งมีแบบแผนจากเรือ F100 ของสเปนในอนาคตอันใกล้นี้ครับราวปี 2013

และถ้าดูในกองทัพเรือประเทศอื่นๆที่ประจำการด้วยเรือชั้น Perry แล้ว คือกำลังจะบอกว่าเรือชั้นนี้ไม่ได้ถูกใช้งานในภารกิจการป้องกันทางอากาศครับ การ Upgrade ที่มีก็เป็นแค่เพียงการเสริมขีดความสามารถในการป้องกันตัวของเรือเท่านั้น

ในแง่การพัฒนาระบบส่งของพม่าเองนั้น ส่วนตัวเชื่อว่าคงเป็นไปในแนวทางเดียวกับอิหร่านหรือเกาหลีเหนือครับคือระบบขีปนาวุธ เพราะการใช้ บ.ทิ้งระเบิดเช่น Su-30 นั้นมีความเสี่ยงค่าใช้จ่ายมากว่ากว่า เช่น การจัดหาอากาศยาน การฝึกนักบิน ความเสี่ยงที่ต้องฝ่าเครือข่ายระบบป้องกันภัยทางอากาศเพื่อใช้อาวุธนิเคลียร์ ซึ่งระบบส่งอย่างขีปนาวุธเหมาะกว่ามากครับ ทั้งระยะและค่าใช้จ่ายองค์รวมในระยะยาว

ซึ่งระบบที่ใช้ต่อต้านขีปนาวุธก็ตามที่กล่าวในข้างต้นครับ เช่น Patriot และ SM-3 เป็นต้น

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/06/2010 09:27:37


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าเราจำเป็นต้องมี บ.รบ อย่าง Gripen เพื่อทดแทน F5 ที่กำลังจะปลดประจำการ วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันภัยทางอากาศ จากเพื่อนบ้าน

ถาม สำหรับภาคใต้ ถ้าเราได้ระบบต่อสู้อากาศยานที่ติดตั้งบนเรือ พร้อมจรวดมาตรฐาน  ฝูงบินรบอย่าง F35 จะยังจำเป็นอีกหรือในอนาคต (หากทัพเรือจะจัดหามา) เรือพิฆาตสองลำ จะพอเพียงหรือไม่หากเกิดเหตุปะทะกันขึ้นกับประเทศทางใต้ (สมมติว่า us ยอมขายให้เรา)

ระบบเอจิสสามารถล็อกเป้าได้พร้อมกันร้อยกว่าเป้า su 30 ต้องใช้กำลังประมาณไหนถึงจะจมเรือพวกนี้ได้ครับ

ขอความรู้ครับ อินซีปังไปหนอ่ย
โดยคุณ piyapart เมื่อวันที่ 24/06/2010 10:38:29


ความคิดเห็นที่ 25


MK-13 ที่ทำอัพเกรดไป คือ MK-13 GMLS pup-up ครับ

โดยบรรจุ SM-2 ได้ 32 ลูก และ ฮาร์พูน 8 ลูกครับ...โดยการเสริม MK-41 VLS นั้น สำหรับ RIM-62 ESSM ครับ....

ดังนั้น เรือ OHP ที่ปรับปรุงใหม่ของ ตุรกี กับ ออสเตรเลีย คือ ปรับปรุงเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ ครับ...

คือ ใช้ MK-13 ยิง SM-2 และใช้ยิง อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon ส่วน MK-41 ใช้ยิง ESSM

และ ทร.ออสเตรเลีย ต้องทำการปรับปรุงเรือ OHP เพื่อรอการประจำการเรือป้องกันภัยทางอากาศลำใหม่ คือ ชั้น Hobart ตามที่ท่าน AAG_th1 ว่าไว้ครับ...ซึ่งหมายถึงว่า เรือ Hobart ใหม่ ทำภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศแทนเรือ OHP หรือ OHP ปัจจุบัน อุดช่องโหว่สำหรับเรือป้องกันภัยทางอากาศของ ออสเตรเลีย ครับ....

สำหรับเรือ OHP ที่ปลดระวางนั้น เป็นเรือรุ่นท้ายสั้น ครับ...ซึ่งเป็นเรือรุ่นแรก ๆ ของชั้นนี้ครับ...และเป็นเรือที่ซื้อต่อจากสหรัฐครับ...

ส่วนเรือที่ทำการปรับปรุงนั้น เป็นเรือรุ่นท้ายยาว ทั้งหมดครับ...และเป็นเรือเก่าจากสหรัฐ จำนวน 2 ลำ และเรือต่อใหม่ จำนวน 2 ลำ...

เรือลำแรกที่ทำสำเร็จตามโครงการ คือ HMAS Sydney หรือ FFG-35 ของ ทร.สหรัฐ ครับ...

สำหรับกรณี อิหร่าน กับ เกาหลีเหนือ ที่ต้องใช้ระบบส่งแบบขีปนาวุธนั้น...ผมมองว่าทั้ง 2 ประเทศ คงไม่ทำเพียงเฉพาะแบบนี้เท่านั้นครับ...และถ้าเราลองสังเกตุ ทั้ง 2 ประเทศ จะไม่มีประจำการ บ.สมรรถนะสูง สมัยใหม่เลยครับ และระเบิดที่ติดหัวรบนิวเคลียร์ที่ปล่อยจากอากาศยาน...เป็นระบบที่เป็นเทคนิคสมัย อิสราเอล ติดตั้งกับ บ.A-4 สมัยทำสงครามกับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง แล้วครับ...

ดังนั้น ในการจะแสดงแสนยานุภาพ ระยะไกล ในระบบส่งด้วยขีปนาวุธ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด...แต่ถ้าทั้ง 2 ประเทศ มีประจำการด้วย บ.สมรรถนะสูง เมื่อไหร่ ความรุนแรงถึงภัยคุกคามจะมากกว่านี้เยอะครับ....

สังเกตุไหมครับ...พออิหร่าน จะจัดหา บ.สมรรถนะสูง เช่น SU-30 จาก รัสเซีย...อิสราเอล ถึงกับประกาศจะบุกโจมตีอิหร่าน...และต่อมา สหรัฐ เริ่มแสดงท่าทีรุกราน อิหร่านมากขึ้น....

ซึ่ง กรณี พม่า ผมว่าน่าจะเกิดเหตุการณ์นี้เช่นเดียวกัน ถ้า พม่า พัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ และประจำการด้วย บ.สมรรถนะสูง ด้วยในคราวเดียวกัน...ก็น่าจะเห็นความก้าวร้าว และคุกคามของสหรัฐ ที่มากกว่านี้แน่....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 10:42:13


ความคิดเห็นที่ 26


การขายอาวุธของสหรัฐ นั้น...จะไม่ขายอาวุธในลักษณะการสะสมอาวุธครับ...

และสหรัฐ ไม่มองว่า ไทย กับ มาเลเซีย หรือ สิงคโปร์ เป็นศัตรูกัน...การเจรจาทางการฑูต สามารถจะแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ครับ...

สำหรับที่ สิงคโปร์ สามารถจัดหาอาวุธทันสมัย ได้มากมาย จาก สหรัฐ....ผมมองว่า สหรัฐ ให้ความเชื่อถือสิงคโปร์ ในเรื่องความไม่รั่วไหลของเทคโนฯ อาวุธสหรัฐ...หรือผมมองได้อีกนัยหนึ่ง คือ เป็นฐานทัพสหรัฐที่ประจำการในภูมิภาคนี้แบบทางอ้อม ผ่านตัวแทนคือ สิงคโปร์...(แทน ไทย และฟิลลิปปินส์ นั่นเอง)...และที่สิงคโปร์ นี้ เป็นแหล่งแบล็คอัฟข้อมูลของกลุ่มธุรกิจสหรัฐในภูมิภาคนี้ ครับ...

และสหรัฐจะยอมปล่อยระบบอาวุธบางอย่างให้กับประเทศในภูมิภาคนี้ (เช่น AIM-120) ต่อเมื่อ รัสเซีย หรือ จีน มีระบบอาวุธที่ทัดเทียมกันได้แล้ว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 10:53:08


ความคิดเห็นที่ 27


ให้สังเกตุนะครับ...แม้ มาเลเซีย จะสั่งซื้อ F/A-18D จากสหรัฐ...สหรัฐก็ยังไม่ยอมขาย AIM-120 ให้ ในขณะนั้น...(รวมทั้งไทยด้วย)

จนต่อเมื่อ มาเลเซีย มีประจำการ MIG-29N และจัดหาอาวุธนำวิถีแบบที่ทัดเทียมกันเข้าประจำการได้...สหรัฐ ถึงยอมขาย AIM-120 ให้กับ มาเลเซีย....

และยอมขาย AIM-120 ให้ไทย เมื่อ พม่า มีการประจำการด้วย MIG-29 เพราะ MIG-29 สามารถใช้อาวุธนำวิถีที่เทียบเท่ากับ AIM-120 จากรัสเซีย ได้...

ผมมองว่า สหรัฐ ก็มองเรื่องการสะสมอาวุธในภูมิภาคนี้ และในขณะเดียวกัน ก็กลัวการรั่วไหลทางเทคโนโลยี่ทางการทหารให้แก่ จีน ด้วยเช่นกัน....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 11:00:44


ความคิดเห็นที่ 28


HMAS Sydney หรือ FFG-3 ของ ทร.ออสเตรเลีย หรือ FFG-35 เดิมของสหรัฐ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 20:52:41


ความคิดเห็นที่ 29


ข่าว HMAS Melbourne ทดสอบยิง SM-2 เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. ปีที่แล้วครับ

http://www.defence.gov.au/news/navynews/editions/5301/5301.pdf

และภาพการทดสอบยิง ESSM ของ HMAS Sydney

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/06/2010 20:56:04


ความคิดเห็นที่ 30


เรือชั้น Adelaide ของออสเตรเลียนั้นจะว่าเป็นเรือที่ซื้อต่อจากสหรัฐฯเสียทีเดียวก็ไม่ถูกนักครับเพราะการต่อเรือในชั้นนี้ทั้งหมดนั้นเป็ฯการต่อเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือออสเตรเลียเลยไม่ได้เข้าประจำการใรกองทัพสหรัฐฯมากก่อน แต่สาเหตุที่การต่อเรือ4ลำแรกที่สหรัฐฯมีการกำหนดชื่อตัวเรือเป็น FFG ต่อตามเรือที่จะเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯนั้นน่าจะเป็นเรื่องของสายการผลิตครับ ซึ่งเรืออีก2ลำคือ HMAS Melbourne กับ HMAS Newcastle ก็ต่อที่ออสเตรเลียโดยไม่มีหมายเลขเรือของสหรัฐฯ

ในอนาคตกองทัพเรือตุรกีจะต่อเรือป้องกันภัยทางอากาศแบบ TF-2000 ระวางขับน้ำ 6,500ตัน ซึ่งติด SM-2 ER Block IV, ESSM และ Cruise Missile ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากเรือคอร์เวตแบบ Milgem

ซึ่ง เรือชั้น G หรือ Perry นั้นถ้าดูจากการปรับปรุงแล้วก็ยังไม่ถือว่าเป็ฯเรือป้องกันภัยทางอากาศอยู่ดีครับ เพราะระบบตรวจจับและระบบควบคุมการยิงนั้นมีข้อจำกัด ถึงแม้จะปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ซึ่งถ้ากองทัพเรือไทยจะจัดหาเรือ Perry มาปรับปรุงให้เป็นป้องกันทางอากาศจริงถ้าดูจากที่ออสเตรเลียหรือตุรกีทำจะมีปัญหาเรื่องงบประมาณที่สูงมาก และถ้ามองว่าจะจัดหาในอีก 10ปีข้างหน้าด้วยแล้วสภาพเรือน่าเป็นห่วง(เรือชุดนี้ในสหรัฐฯต่อในช่วงปี 1970s-1980s) คิดว่าไม่น่าจะคุ้มเท่าไร อย่างที่กล่าวไปครับจัดหาเรือใหม่จะคุ้มค่ากว่าในระยะยาว ถ้าไม่มีงป.พอก็ไม่ต้องจัดหาแค่นั้น กองทัพเรือควรจะพอแล้วสำหรับการจัดหาเรือเก่ามือสอง

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 24/06/2010 23:17:13


ความคิดเห็นที่ 31


เรือ OHP คือ ทางเลือกหนึ่งครับ...

คำถามว่า การไม่มีระบบป้องกันเลย..กับ การมีระบบป้องกันบ้าง เราจะเลือกอะไร ?

การจัดหาเรือใหม่ ทร. ก็มีประสบการณ์ ไม่ต่างกับ การจัดหาเรือเก่า...ในเมื่อ ทร. อิง การจัดหาอาวุธจากงบประมาณ ไม่ใช่ จากประสิทธิภาพ...

เราก็จะได้เห็น เรือแบบชั้น นเรศวร ที่มีสมรรถนะ ไม่ต่างจาก เรือชั้น รัตนโกสินทร์ ความต่าง คือ ระวางขับน้ำ มากกว่า จอด ฮ. ได้เท่านั้นครับ....

ประสบการณ์จากการจัดหาเรือ แต่ไม่สามารถจัดหาระบบอาวุธตามโครงการได้...จากประสบการณ์จริงที่ปรากฎในปัจจุบัน คือ....

เรือชั้น นเรศวร ต้องใช้งบประมาณ เพื่อการจัดการ ระบบยิง ESSM ในงบประมาณ 3,000 - 3,800 ล้านบาท หรือ 100 - 120 ล้านเหรียญ...ใช่หรือเปล่า ?

แล้วงบประมาณด้งกล่าว คือ เราได้ MK-41 หรือ ต่ำกว่า ในจำนวน 8 เซล รวม 2 ระบบ หรือ เท่ากับ 18 เซล ใช่หรือไม่ ?

และในกรณีทางเลือกในงบประมาณที่่ กรณี สหรัฐให้ความช่วยเหลือทางการทหาร โดยสมมติที่งบประมาณ 160 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 5,000 ล้านบาท...

แล้ว ทร. ได้ระบบอาวุธขั้นต่ำ คือ MK-41 สำหรับ ESSM และ MK-13 ระบบโบราณ สำหรับ Harpoon ดยเรือOHP ก็มีระบบโซนาร์ และการรองรับ ฮ. ที่ต่อต้านเรือดำน้ำได้ด้วย จำนวน 2 ลำ....

คำถาม อย่าไปเอามันเลย เพราะมันเป็นเรือเก่า และ ทร. มีประสบการณ์จากเรือเก่า...(คือ เรื่องอะไรที่มีปัญหาของ ทร. สำหรับ เรือมือสอง ที่เคยมีประจำการใน ทร. ? ร.ล.ท่าจีน ร.ล.ประแส ร.ล.ปิ่นเกล้า ร.ล.ชั้นพุทธฯ มีปัญหาอะไร ? ) และรอเรือใหม่ดีกว่า...

มันก็ก่อเกิดคำถามที่ว่า เรือใหม่ ที่มีสมรรถนะสูงเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ ราคาเท่าไหร่ ? แล้วประสบการณ์ของ ทร. สำหรับเรือใหม่ คือ เรือชั้น นเรศวร กับ ร.ล.จักรีนฤเบศร จะประสบการณ์เหมือนกันหรือไม่ ?

คือ มีแต่เรือ...แต่ระบบอาวุธยังไม่มี เป็นความจริงที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน....หรือ รอไม่มีดีกว่า ?

ในความเห็นที่ผ่านมา มันคือ ทางเลือกหนึ่ง....

หรือถ้าภัยคุกคามมันถึงขนาดที่ สหรัฐ ยอมจะให้มีประจำการ Standard Missile คือ สมมติ เรือมือสอง...ทร. ต้องยอมเสียงบประมาณ เพื่อปรับปรุง MK-13 ให้สามารถยิง SM-2 กับ Harpoon ได้...แต่ไม่สามารถยิง ESSM ได้...แต่ในขณะเดียวกัน OHP ก็สามารถเป็นเรือต่อต้านเรือดำน้ำได้ โดยประสิทธิภาพ โซนาร์ ไม่ได้แตกต่างจาก เรือชั้นพุทธฯ....แล้ว ทร. จะเลือกรึเปล่า ? ในราคางบประมาณ แบบช่วยเหลือทางการทหาร คือ เรือมีแผนปลดประจำการ แต่ ทร. ต้องออกค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเท่านั้น...

ซึ่งถ้าในงบประมาณที่น่าพิจารณา...เรือมือสอง คือ OHP ก็สามารถมาทดแทน เรือชั้นพุทธฯ ได้....และ ทร. สามารถปลดระวางเรือชั้นพุทธฯ ได้ โดยได้เรือที่มีสมรรถนะเสริม เรือชั้น นเรศวร และมีภาระกิจทดแทนเรือชั้นพุทธฯ ได้....คำถามคือการเลือก หรือ ไม่เลือก แล้วรอเรือใหม่...?

เรือใหม่ สมรรถนะสูง เป็นเรือระบบป้องกันภัยทางอากาศ ราคาประมาณการเท่าไหร่... ? สำหรับผม คงไม่ต่ำกว่า 250 ล้านเหรียญ และถ้าจะเอาแบบระบบ SPY-1 ด้วย ไม่ว่า จะ F หรือ D ราคาเรือคงไม่ต่ำกว่า 500 ล้านเหรียญต่อลำ หรือ ราคาเท่าเรือดำน้ำดีเซล 1 ลำในปัจจุบัน....คิดว่า โอกาส จะเกิดกับ ทร. เพียงใด ?

ผมจึงให้ความเห็นว่า....เรือมือสอง...เรือใหม่...ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจ...ผลต่อการตัดสินใจของ ทร. คือ งบประมาณเท่านั้น...

และ งบประมาณใด ที่จะเสริมความมั่นคง ณ ภัยคุกคาม ณ ขณะนั้น หรือในระยะที่ไม่สามารถจะจัดหายุทโธปกรณ์เต็มประสิทธิภาพ แต่สามารถรองรับ หรือ อุดช่องโหว่ ได้บ้าง จนเมื่อถึงเวลาที่จะจัดหายุทโธปกรณ์เต็มประสิทธิภาพได้....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/06/2010 13:12:51


ความคิดเห็นที่ 32


และจากข้อมูลที่ว่า ทร.ออสเตรเลีย และ ทร.ตุรกี ก็จัดหาเรือป้องกันภัยทางอากาศใหม่ มาทดแทน เรือชั้น OHP...

คำถาม ก็คือ แล้วซื้อ OHP มาทำไม ? และปรับปรุง OHP ไปทำไม ?

ก็ในเมื่อจัดหาเรือใหม่อยู่แล้ว ?

ทร.ออสเตรเลีย ก็จัดหา เรือชั้น Hobart อยู่แล้ว และคาดว่าจะประจำการในปี 2013 แล้วปรับปรุง OHP ไปทำไม ?

ทั้ง ๆ ที่ เรือที่ปรับปรุงเสร็จก็ปี 2009 และ ทร.ก็มีแผนจะประจำการเรือชั้น OHP ไปจนถึงปี 2020 คือ ประมาณ 11 ปี เท่านั้น...แล้ว ทร.ออสเตรเลีย มองความมั่นคงของตนเองอย่างไร ? ทำไมไม่รอเรือใหม่ ยอมสูญเสียงบประมาณทำไม ?

และในกรณีที่ เรือของ ทร.ออสเตรเลีย ไม่ใช่เรือสองนั้น...เมื่อผมกลับไปดูข้อมูล...มันก็จริงครับ...

แต่ เรือชั้นนี้ มันก็คือ เรือชั้น OHP ที่ประจำการพร้อมกับ ทร.สหรัฐ ใช่หรือไม่ ?

สเปคเดียวกัน ใช่หรือไม่ ?

อายุประจำการเท่ากัน ใช่หรือไม่ ?

เรือของ ทร.ออสเตรเลีย คือ FFG-35 กับ  FFG-44 ที่เป็นล็อตเดียวกับการผลิตของ ทร.สหรัฐ...ดังนั้น เรือ FFG-36 ถึง FFG-43 ก็อายุเท่ากันหรือใกล้เคียงกันหรือเปล่า ?

ในขณะที่ ทร.สหรัฐ มีเรืออยู่ในกำลังสำรอง คือ เรือ FFG-37 ถึง 39 และ FFG-41 ถึง 42  เรือเหล่านี้ก็อยู่ในช่วงการผลิตเดียวกับ HMAS Sydney...และยังมี FFG-56 กับ FFG-60 ที่ใหม่กว่า ก็อยู่ในกำลังสำรองด้วย...ดังนั้น เรือเหล่านี้ ก็คงไม่แตกต่างจากเรือของ ทร.ออสเตรเลีย หรือเปล่า ?

ผมคิดว่า เรือใหม่ หรือ เรือเก่า ไม่น่าจะใช่ส่วนในการตัดสินใจ...ของแต่ละประเทศ...ส่วนในการตัดสินใจน่าจะเป็นว่า...กองทัพเรือแต่ละประเทศ ต้องการอะไรสำหรับความมั่นคงของตนเอง สำหรับภัยคุกคามที่แต่ละประเทศมองตามความมั่นคงของตนเอง....

แต่ในเงื่อนไขของ ทร.ไทย...ที่ผ่านมา...ความมั่นคงของประเทศ คือ งบประมาณในการจัดหายุทโธปกรณ์...มากกว่า ความต้องการใช้จริงครับ....

เราถึงได้เห็น เรือใหม่ แต่อาวุธเหมือนเดิมหรือ ไม่มีระบบอาวุธตามสเปคเรือ...แต่ เรือเก่า กลับมีผลทางยุทธการมากกว่า...เช่น เรือชั้นพุทธฯ....หรือ เรือใหม่ ที่จัดหาตามสภาพงบประมาณ แล้วต่อมาก็ต้องปรับปรุงระบบอาวุธในงบประมาณเรือจำนวน 1 ลำ...คือ เรือชั้น กระบุรี จำนวน 2 ลำ ที่ใช้งบประมาณเปลี่ยนอาวุธนำวิถี C-802 ในวงเงินกว่า 1,600 ล้านบาท (ราคาเท่ากับเรือจีนใหม่ 1 ลำ)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/06/2010 13:42:41


ความคิดเห็นที่ 33


กรณีของออสเตรเลียนั้นโครงการปรับปรุงเรือชั้น Adelaide มีมาก่อนจะเริ่มโครงการจัดหาเรือป้องกันภัยทางอากาศใหม่ซึ่งเป็นแข่งขันระหว่างแบบที่พัฒนามาจากเรือชั้น Arleigh Burke และ F100 แต่อย่างไรก็ตามตามที่กล่าวในข้างต้นเรือที่ทำการปรับปรุงนั้นมีเพียง2ลำเท่านั้นคือ HMAS Sydney และ HMAS Darwin เนื่องจากเหตุผลด้านงบประมาณและปัญหาด้านTechnic ซึ่งเรือชั้น Adelaide ทั้งหมดจะเริ่มถูกปลดภายในปี 2013 เป็นต้นไป โดยงบประมาณในการปรับปรุงเรือชั้นนี้ถูกนำไปใช้อย่างแทนเช่นการจัดหาเรือชั้น Hobart ตรงนี้ส่วนหนึ่งเป็นประเด็นทางการเมืองครับ

ข้อสรุปโดยรวมที่มองว่าเรือชั้น Perry ไม่เหมาะสำหรับการจัดหามาใช้ในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ

1.ปัจจุบันการจัดหาเรือมีเฉพาะเรือมือสองซึ่งตัวเรือมีอายุการใช้งานนานเกิน30ปี ถ้าจัดหาในอีก 10ปีข้างหน้าสภาพเรือคงจะประจำการได้ไม่นานไม่คุ้มต่อการจัดหาในระยะยาว

2.เครื่องยนตร์เรือเป็นแบบ Gas Turbine ล้วน ซึ่งมีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงกว่าเรือแบบอื่นที่ใช้ ย.ดีเซลที่ประจำการในกองทัพเรือส่วนใหญ่

3.ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเรือ ซึ่งในกรณีจัดหาเรือจากสหรัฐฯ ระบบแท่นยิงและอาวุธที่จะนำมาใช้ในการต่อสู้อากาศยานถูกถอดไปแล้วและระบบอาวุธส่วนหนึ่ง(SM-1MR) ก็ถูกปลดประจำการไปแล้ว การปรับปรุงเรือใหม่จะเสียค่าใช้จ่ายอีกมาก ซึ่งสามารถนำ งป.ไปปรับปรุงเรือลำอื่นให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าได้

(ไม่แน่ใจว่าเทียบเคียงกับกรณีการจัดหา ฮ.SH-2 มือสองได้หรือไม่ ในกรณีออสเตรเลียเองก็ปรับปรุงไปส่วนหนึ่งแล้วประจำการไม่นานเพราะติดปัญหา งป.และมีประเด็นการเมืองด้วย)

4.ระบบควบคุมการยิงของเรือชั้นนี้เองถึงจะทำการปรับปรุงแล้วก็ยังไม่ถือว่าเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศได้นักเนื่องจากข้อจำกัดในการตรวจจับและเข้าต่อตีเป้าหมายค่อนข้างจำกัด ถ้าเทียบกับรูปแบบภัยคุกคามในปัจจุบัน

(เรือฟริเกตใหม่ตามโครงการที่กองทัพเรือต้องการจะจัดหาต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อยเทียบเท่ากับเรือชั้น Formidable ของสิงคโปร์)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/06/2010 22:29:12


ความคิดเห็นที่ 34


ถ้าตอบตามหัวข้อของกระทู้เกี่ยวกับเรือพิฆาต

ตามโครงการแล้วทางกองทัพเรือคงจะยังไม่มีแนวคิด

จัดหาเรือพิฆาต(จริงๆ)มาเข้าประจำการ

แต่เรือฟริเกตที่มีสมรรถนะเทียบเท่าเรือพิฆาต

มีโครงการจัดหาอยู่ ครับ

ส่วนเรือชั้นเพอร์รี่ ผมเคยพูดมาแล้วว่า

มีโอกาสอยู่เหมือนกันนะครับ ที่จะได้ชักธงช้าง

โดยคุณ อู๊ด เมื่อวันที่ 25/06/2010 23:29:26


ความคิดเห็นที่ 35


ขอบคุณท่าน ZipDoZs มากๆๆครับ ที่หาเว็บดีๆแบบนี้มาแ่บ่งปันกัน ได้อ่าน ZIPANG ยาวเลยทีนี้ เพิ่งอ่านจบไปเมื่อวานซืนนี้เองครับ
โดยคุณ Gemini เมื่อวันที่ 01/07/2010 09:45:40