ผมสับสนจริงๆนะ เส้นแบ่งระหว่างความรักชาติกับความเป็นชาตินิยมมันอยู่ตรงไหนกันแน่?
ก่อนอื่นเลย ตอนนี้เราก็ถูกสอนเกี่ยวกับโลกยุคใหม่ว่าเป็นโลกเกี่ยวกับการทำประโยชน์เพื่อมนุษยชาติ
หากรักชาติมากเกินไปก็จะถูกว่าๆเป็นพวกชาตินิยม
แล้วพวกวีรบุรุษของไทยที่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อประเทศของเราล่ะ ถ้ามองจากโลกยุคปัจจุบันพวกเขาเหล่านั้นก็เข้าข่าย
แล้วเราควรเลือกอะไรดี
เพราะอย่างแรกก็ต้องเลือกและอย่างหลังก็ทิ้งไปไม่ได้
ชาติ ก็...จาพูดไงดีหว่า
เราจาเดินไปข้างนอกโล่งๆ แล้วไม่มีเสื้อผ้า..มันหนาวนะ
ขอเปรียบเสื้อผ้าก็คือ...ความรักชาติอย่างนึง
เดินใส่กางเกงอย่างเดียวนานๆ แดดมันร้อน จะเป็นลมเอาได้..ขาดเสื้อไม่ได้ ต้องมีเสื้อด้วย
เดินไปใส่เสื้ออย่างเดียวไม่มีกางเกง เวลานั่งกับพื้นบางทีมันก็เจอหญ้าแข็ง...ขาดกางเกงไม่ได้ ต้องมีกางเกง
ใส่กางเกงพอดี...ก็เดินเหินได้สะดวกสบาย
ใส่เสื้อพอดี.... ก็เดินเหินได้สะดวกสบาย
ถ้ากางเกงคับมากก็นั่งไม่ได้ ใส่เสื้อคับไปหายใจไม่ออก
เอาเป็นว่า มีเสื้อผ้าใส่พอดีพอดี....ชาติก็ไปได้สะดวก ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากไปน้อยไปไม่ดีครับ
งง.....ไหมเนี่ย
คือผมพิมพ์ชื่อกระทู้ผิดน่ะครับ
ต้องเป็น เส่นแบ่งระหว่างความเป็นชาตินิยมกับการกระทำเพื่อมนุษยชาติ
ขอบคุณครับ
แต่...สรุปคือ ทำให้สองอย่างนี้สมดุลกันใช่ไหมครับ
ล้ำลึกมากครับคุณ tic ผมเข้าใจมากขึ้น เหมือนเปิดของคว่ำให้หงาย เหมือนไต้เทียนไขในที่มืด
ประเด็นรักชาติ กับ ชาตินิยม น่าจะใช้ในความหมายต่างบริบทกัน โดยคำว่าคลั่งชาติน่าจะใช้ในบริทบเดียวกันกับคำว่ารักชาติเมื่อเราพิจารณาในเชิงระดับ(Degree) คือ ถ้าความรักชาติมีมาก หลงใหล คลั่งไคล้ ยึดเป็นสรณะเหนือปัจจัยอื่นๆ ก็จะกลายเป็นความคลั่งชาติไป
เห็นด้วยกับคุณ sam ครับ กระผมชูสองมือสนับสนุนเต็มที่
ความ รักชาติ กับ ชาตินิยม ไม่ใช่ความชั่ว แต่เป็นแนวคิดขององค์บุคคลในเรื่องทัศนคติที่มีต่อรัฐที่ตนอาศัยพักพิง ถ้าถูกแสดงออกในทางบวกจะเป็นพลังผลักดันอย่างมหาศาลให้ชาติเราเจริญก้าวหน้า ถ้าถูกนำมาใช้ผลักดันในทางลบมันก็จะถดถอยเป็นเท่าทวีเช่นเดียวกัน ทุกชาติที่เป็นชาติที่พัฒนาก้าวหน้า มีเกียรติ ได้รับการยอมรับนับถือจากนาชาติในปัจจุบัน ชาติเหล่านั้นล้วนแต่มีกลไกที่ส่งเสริมให้พลเมืองของชาติมีความเป็นชาตินิยมทั้งสิ้น
ประเด็นตรงนี้จะไปสอดคล้องกับ ชาตินิยม และ มนุษยชาตินิยม(คิดศัพท์เอง) ที่กระผมไม่ขอใช้คำว่าสมดุลย์ในการอธิบาย แต่ต้องการใช้คำว่าการมีปฏิสัมพันธ์อย่างเข้าใจ บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง(Fact) ซึ่งข้อเท็จจริงของแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไปอีก บ้างก็ว่าคนทุกคนล้วนมีกำเนิดเดียวกัน บ้างก็ว่าเผ่าเราสืบสายมาจากพระเจ้า บ้างก็ว่าเชื้อสายเราเป็นอารยันเป็นมนุษย์ชั้นสูง บ้างก็ว่าประเทศเราต้องก้าวหน้ากว่าชาติที่เคยมาปกครองให้ได้ บ้างก็นับถือแต่เผ่าพงษ์พันธุ์ของตน ในกรอบความคิดตรงนี้ ถ้าประเทศชาติใด จัดระเบียบและกรอบการแสดงออก นำมาใช้ประโยชน์ได้ ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะนำพาชาติไปสู่ความรุ่งเรือง