ข่าวการพัฒนาองค์ความรู้ในการซ่อมแซมระบบควบคุมการยิงด้วยเลเซอร์ของ
บริษัทเอกชนของไทยที่ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อเดือนมีนาคม 2553
ซึ่งสามารถทำให้ระบบควบคุมการยิงกลับมาทำงานได้เหมือนเดิมเกือบ 99%
ทีม
งาน TAF ขอแสดงความยินดีในการพัฒนาครั้งนี้
และชื่นชมกองทัพบกที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทหาร
ของคนไทยด้วยการเชื่อมั่นและว่าจ้างบริษัทของคนไทยในการพัฒนาในครั้งนี้
"ช่วยลดค่าใช้จ่าย
และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีการซ่อมบำรุงจากต่างประเทศได้
จากการให้คำปรึกษาของนักวิจัยเนคเทค
จนทำให้ระบบควบคุมการยิงด้วยเลเซอร์กลับมาใช้งานได้ 99%...
นายก
ชพงษ์ มหายศนันทน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เค.ซี.พี.แอสโซซิเอท จำกัด
กล่าวว่า เมื่อประมาณปี 2545
บริษัทฯได้เข้าไปรับงานซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก หนึ่งในนั้นคือ
รถถังเบา M32/Commander Stingray ที่แม้อุปกรณ์หลัก 3 ใน 4
ส่วนบริษัทฯสามารถใช้ทีมวิศวกรคนไทยซ่อมบำรุง
และจัดทำอุปกรณ์ใหม่ขึ้นทดแทนได้
อย่างไรก็ตาม มีอุปกรณ์ 1
ส่วนที่มีความสำคัญต่อระบบทั้งหมดคือ ระบบวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (Laser
Range Finder) ที่เป็นเทคโนโลยีทางการทหารที่ลับมาก มีปัญหาชำรุดบกพร่อง
และเสื่อมสภาพของอุปกรณ์ทางด้านแสง
และการชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์
กก.ผจก.บริษัท
เค.ซี.พี.แอสโซซิเอท กล่าวต่อว่า ถ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ทำงาน
ระบบการควบคุมการยิงอื่นๆ ก็จะไม่สามารถตั้งค่า
และควบคุมการยิงอัตโนมัติให้ตรงเป้าหมายอย่างแม่นยำได้
บริษัทฯไม่สามารถหาเทคโนโลยีมาซ่อมอุปกรณ์ชิ้นนี้จากต่างประเทศได้
เพราะถือเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ระดับชั้นความลับที่ลับมาก
บริษัทต่างประเทศที่ผลิตอุปกรณ์
ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของเทคโนโลยีที่ใช้
ทำให้การซ่อมบำรุงเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนทางบริษัทฯได้มีโอกาสไปพบกับ
ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร นักวิจัยเนคเทค
ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีทางด้านแสง
จนซ่อมบำรุงและแก้ไขได้ด้วยฝีมือของคนไทย
นายกชพงษ์ กล่าวอีกว่า
ด้วยเหตุนี้ทำให้ระบบเครื่องควบคุมการยิงที่ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า
อิเล็กทรอนิกส์ทั้งระบบ สามารถทำงานได้ตามขั้นตอนมาตรฐานของรถถังเบา
M32/Commander Stingray โดยมีการทดสอบการยิงปืนจากรถถัง
ในหลายลักษณะตามยุทธวิธีการรบ โดยได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
กระสุนปืนเข้าสู่เป้าหมายอย่างแม่นยำ และทหารม้าผู้ปฎิบัติงานภาคสนาม
มีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ในประสิทธิภาพของอุปกรณ์เลเซอร์วัดระยะ
ที่กลับมาเหมือนเดิมเกือบ 99 %
ด้านดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
ผู้อำนวยการฝ่าย หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค
กล่าวว่า เนคเทคได้ให้คำแนะนำข้อมูลทางวิชาการ
เฉพาะการทำงานของระบบวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (Laser Range Finder) ว่า
มีคุณลักษณะ จุดอ่อน ข้อจำกัด ปัญหา และการซ่อมบำรุงแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
การให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการในครั้งนี้
ตนเองรู้สึกภูมิใจที่คนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้
ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา
และช่วยลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศอีกด้วย"
http://www.thairath.co.th/content/tech/74095