มีครอบครัว อยู่ครอบครัวหนึ่ง เขามีลูกสองคน ชื่อเอฟคนโต เอฟ คนเล็กแจ๊ส มีอยู่วันหนึ่งครอบครัวพวกเรามีความสุขกันมากเลยได้ออกไปเที่ยวห้างกัน
แม่-อยากกินอะไรลูกบอกแม่ได้เลยนะแต่คนละอย่างนะแม่แม่เอาตังมาไม่เยอะนะ บัตรก็ไม่ได้เอามาด้วย
เอฟ-หนูหิวอะไรกิน kfc อะแม่
แม่-ได้เลยลูก
เอฟ - ไก่ทอด3ชิ้นขอน่องด้วยนะแม่ฟราย์จัมโบ้เย้ยเป็บซี่กลับบ้านด้วยนะ ! 200 เอง
แม่- (พูดในใจ) แพงจะตายฉันไปซื้อไก่ทอดแถวบ้านถูกกว่าอีกไม่เกิน50แน่น่องน่ะ
แจ๊ส-หนูก็หิวเหมือนกันแม่หนูอยากกินไก่ที่แพ็คอยู่ในกล่องนั้นอะ
แม่-งั้นรอไปก่อนแล้วกันนะเดี๋ยวรอให้มันลดราคาก่อนซัก5ทุ่มค่อยมาซื้อใหม่
แจ๊ส-แต่หนูหิวนะแม่หนูหิวมากเลยหิวจนไม่มีแรงเดินแล้ว
แม่-หิวยังไงก้อต้องทน
แม่-งั้นกินกับพี่ไปก่อนแย้วกัน!
แจ๊ส-อดเย้ยเราหิวยังไงก็ต้องกินของพี่อยู่ดี(ของที่มีอยู่แย้ว) หิวยังไงก้อต้องรอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่นยาส 39 ซี/ดี
กริพเพน (JAS 39C/D Gripen) จากประเทศสวีเดน
ของรัฐบาลไทยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับกรณีที่รัฐบาลสวีเดนเสนอขายให้กับ
รัฐบาลโรมาเนีย มีราคาแตกต่างถึง 14,000 ล้านบาท
ขณะที่ข้อเสนอของรัฐบาลสวีเดนที่ให้กับโรมาเนียนั้นมีสูงกว่าที่รัฐบาลไทย
ได้รับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
รัฐบาลสวีเดนลดราคาขายเครื่องบินกริพเพนให้กับรัฐบาลโรมาเนีย จำนวน 24 ลำ
ให้เหลือเพียง 1,000 ล้านยูโร หรือราว 40,000 ล้านบาท เฉลี่ยลำละ 1,666
ล้านบาท พร้อมกับจัดฝึกอบรมนักบิน 30 นาย จัดอุปกรณ์และระบบสนับสนุน
การส่งกำลังบำรุง ระยะเวลาการชำระหนี้ดอกเบี้ยต่ำ 15 ปี ปลอดหนี้ 2 ปี
พร้อมโครงการที่จะสร้างงานให้กับชาวโรมาเนียอีก 1 หมื่นตำแหน่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอของรัฐบาลสวีเดน
มีขึ้นภายหลังสภาสูงของโรมาเนียพิจารณาเลือกซื้อเครื่องบินขับไล่ เอฟ 16
มือสองของสหรัฐอเมริกา 24 ลำ เพื่อทดแทนเครื่องบินมิกที่จะปลดประจำการในปี
2554-2556
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
การเสนอตัดราคาขายเครื่องบินกริพเพนของรัฐบาลสวีเดนให้กับรัฐบาลโรมาเนียดัง
กล่าว
เมื่อเปรียบเทียบกับรัฐบาลไทยจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนซึ่งเป็นรุ่นเดียวกัน
ปรากฎว่า ราคาแตกต่างกันมากถึง 14,000 ล้านบาท กล่าวคือ รัฐบาลไทยซื้อ
"กริพเพน" เพียง 12 ลำใช้งบประมาณมากถึง 34,400 ล้านบาท โดย 6 ลำแรก
จัดซื้อในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ราคา 19,000 ล้านบาท และล็อตที่ 2
รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพิ่งอนุมัติเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
จัดซื้ออีกจำนวน 6 ลำ งบประมาณ 16,000 ล้านบาท เมื่อคิดถัวเฉลี่ยลำละราว
2,866 ล้านบาท ต่างกับราคาที่รัฐบาลสวีเดนเสนอให้รัฐบาลโรมาเนียถึงลำละ
1,200 ล้านบาท ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในกองทัพอากาศไทยเป็นอย่างมาก
ทางด้าน พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
ให้สัมภาษณ์ระหว่างนำคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพอากาศ
พร้อมทั้งคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี
โดยเพื่อตรวจเยี่ยมชมความพร้อมการสร้างอาคารฝูงบิน 701 และฝูงบิน 702
จะใช้เป็นสถานที่เก็บเครื่องบินกริพเพน จำนวน 6 ลำว่า ขณะนี้
การจัดหาเครื่องบินกริพเพนเฟส 2 อีกจำนวน 6 ลำ คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติในหลักการจัดซื้อไปแล้วขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกร
รมการธิการงบประมาณของรัฐสภา เพื่ออนุมัติกรอบวงเงินที่กองทัพอากาศเสนอ
โดยจัดสรรเกลี่ยนวงเงินงบประมาณรายจ่ายในส่วนของกองทัพอากาศเอง รวมทั้งสิ้น
5 ปีตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายปี 2554-2558 หากรัฐสภาอนุมัติต้องเสนอเข้า
ครม. เพื่ออนุมัติงบประมาณในหาจัดซื้ออีกครั้งตามระเบียบ
"กองทัพอากาศมีความต้องการที่จะมีเครื่องบินกริพเพนให้ครบ 1 ฝูงบิน
เดิมในการจัดซื้อเครื่องบินรบเราจะจัดซื้อ จำนวน 18 ลำ
แต่ครั้งนี้เนื่องจากเงินงบประมาณน้อย
กองทัพอากาศเข้าใจดีปรับลดลงมาเหลือเพียง 12 ลำ แต่งบประมาณปี 2551
ไม่เพียงพอ เราจึงจัดทำเป็น 2 งวด งวดละ 6 เครื่อง
ตอนนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมไปแล้ว 2 ปี
ที่จะมีเครื่องบินกริพเพนครบฝูงบิน"พล.อ.อ.อิทธพรกล่าว
ที่มา
มติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1278858079&grpid=00&catid=![]() |
4.การจัดหา
ทำให้งบประมาณจำนวนมากจะต้องหมดไปกับการเตรียมรับและการจัดหา "กริพเพน"
ทำให้ปัจจุบันความพร้อมรบของเครื่องบินเอฟ 16 เอ/บี ลดลงไปมาก
เหลือเพียงไม่ถึง 50% โดยเฉลี่ย
และในอนาคตเมื่อได้รับเครื่องบินกริพเพนมาจะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนมากใน
การจัดส่งกำลังบำรุง และจัดหาอาวุธอุปกรณ์ต่างๆ
จากประเทศสวีเดนและประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปหรืออียูเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากอาวุธนำวิถีที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่
มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถใช้กับกริพเพนได้ และในการจัดหา
กริพเพนไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการใช้อาวุธดังกล่าวมาด้วย เช่น
แท่นล็อคเป้าหมาย (Targeting Pod), อาวุธนำวิถีระยะปานกลางอากาศสู่อากาศ,
ระเบิด สมาร์ตบอมบ์
แม้แต่ลูกกระสุนปืนจะต้องจัดหาใหม่เป็นจำนวนมากในราคาแพง
และจะทำให้งบประมาณประจำปีของกองทัพอากาศที่มีจำกัดอยู่แล้ว
ถูกเจียดจ่ายไปใช้ในการดังกล่าว
งบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงและคงสภาพเดิมของบริษัทเครื่องอื่นๆ จะน้อยลง
ความพร้อมรบของอากาศยานจะน้อยลงเช่นกันขีดความสามารถของกำลังทางอากาศจะ
ถูกลดทวนลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้
เป็นสาเหตุมากจากการที่มีการผลักดันให้จัดหากริพเพนนั่นเอง
5.นอกจาก
นี้การใช้มี Erie Eye ในอนาคตจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นดิน,
ภาคอากาศของกริพเพนที่จะมาใช้ร่วม
เพราะปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวของกองทัพอากาศไทย
เป็นมาตรฐานของกองทัพอากาศสหรัฐ และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
หรือนาโต ที่มีอยู่ในระบบส่งกำลังบำรุงทั่วโลก
จะต้องจัดหาใหม่จากประเทศสวีเดน
บริษัท ซาบ (SAAB )ผู้ผลิต
"กริพเพน" จะต้องผูกขาดการจัดหายุทโธปกรณ์ส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศไทยในอนาคต
โดยผ่านบริษัทตัวแทนที่ในประเทศไทย
และจะทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สามารถใช้งานร่วมกับมิตรประเทศข้างเคียงได้
ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย ที่ฝึกร่วมกันเป็นประจำ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ
"...
การจัดหาเครื่องบินกริพเพนเฟสสองอีก 6 ลำนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติในหลักการจัดซื้อไปแล้ว เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
ให้กองทัพอากาศจัดซื้อกริพเพนอีกจำนวน 6 ลำ โดยใช้เงินงบประมาณ 16,266
ล้านบาท
ครม.อนุมัติหลักการแล้วขณะนี้ขั้นตอนอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการธิ
การงบประมาณของรัฐสภา เพื่ออนุมัติกรอบวงเงินที่กองทัพอากาศเสนอ
โดยเป็นการจัดสรรเกลี่ยนวงเงินงบประมาณรายจ่ายในส่วนของกองทัพอากาศเอง
รวมทั้งสิ้น 5 ปีตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายปี 2554-2558
หากรัฐสภาอนุมัติต้องเสนอเข้า
ครม.เพื่ออนุมัติงบประมาณจัดซื้ออีกครั้งตามระเบียบ
กองทัพอากาศมี
ความต้องการมีเครื่องบินกริพเพนให้ครบ 1 ฝูงบิน
เดิมในการจัดซื้อเครื่องบินรบเราจะจัดซื้อจำนวน 18 ลำ
แต่ครั้งนี้เนื่องจากเงินงบประมาณน้อย กองทัพอากาศเข้าใจดี
ปรับลดลงมาเหลือเพียง 12 ลำ
แต่งบประมาณปี 2551 ไม่เพียงพอ
จึงจัดทำเป็น 2 งวด งวดละ 6 เครื่อง ตอนนี้ล่าช้ากว่ากำหนดเดิมไปแล้ว 2 ปี
จะมีเครื่องบิน
กริพเพนครบฝูงบิน เราต้องการกำลังรบอย่างน้อย 12 ลำ
เพราะในหลักสากลของการจัดกำลังต้องมีเครื่องบินพร้อมทำการขั้นต่ำ 70
เปอร์เซ็นต์ คือ อย่างน้อยต้องมี 8 ลำ และอีก 4 ลำ มีไว้ฝึกและซ่อมบำรุง
อย่า
ลืมว่าเราต้องมีเครื่องบินรบที่มีศักยภาพทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน
เพราะมีทรัพยากรทางทะเลและผืนดินที่ต้องดูแล
โดยเฉพาะในพื้นที่ทางใต้นี้มีเพียงฝูงบินเดียวนี้ที่ทำหน้าที่รักษาอธิปไตย
ดัง
นั้น การมีฝูงบินนี้จึงถือว่ามีความจำเป็น
และเราต้องการสร้างให้กองทัพอากาศของไทยให้เป็นกองทัพอากาศที่ดีที่สุดใน
ภูมิภาคนี้ ถือเป็นความฝันที่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริงให้ได้
โดยภาพรวม
ของกองทัพอากาศต้องการมีกำลังรบทั้งสิ้น 5 ฝูงบิน ปัจจุบันมีฝูงบิน 19 ฝูง
แต่ตั้งเป้าไว้ 21 ฝูง เป็นฝูงบินรบ 5 ฝูง คือ เครื่องบินเอฟ 16 จำนวน 3
ฝูงบิน เครื่องบินเอฟ 5 จำนวน 2 ฝูงบินที่ จ.สุราษฎ์ธานี และ จ.อุบลราชธานี
ฝูงบินเอฟ 5 ที่กองบิน 7 จ.สุราษฎ์ธานีนี้ กำลังจะปลดประจำการ
เพราะมีอายุการใช้งานมานานเกินที่จะปรับปรุงหรืออัพเกรดแล้ว เพราะฝูงบินเอฟ
5 ที่ จ.อุบลราชธานี
คงมีอายุการทำงานไม่แตกต่างกันมากนักไม่นานคงต้องปลดประจำการ
หากถาม
ว่ากองทัพอากาศมีความต้องการเพิ่มอีกฝูงบินหรือไม่ เรามีความต้องการ
แต่เเข้าใจตามสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ด้วย..."
พลิกปูมจัดซื้อ"กริพเพน"รัฐบาล"สุรยุทธ์"อนุมัติ
กอง
ทัพอากาศไทยเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่
18 หรือ เอฟ-5B/E มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546
โดยมีเครื่องบินที่เข้าร่วมแข่งขันคือ Su-30MKIT จากรัสเซีย, F-16C/D Block
50/21 จากสหรัฐ และ JAS 39C/D Gripen จากสวีเดน
ต่อมาในวันที่ 8
มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
มีมติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบิน JAS 39C/D Gripen
หรือเรียกสั้นว่ากริพเพน ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข ฝูงบิน 701
กองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ซึ่งได้ทยอยปลดประจำการและครบกำหนดจะปลดประจำการทั้งหมดในปี 2554
โดยมีมติให้กองทัพอากาศก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณระหว่างปี 2551-2555
จัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์
การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ วงเงิน 19,000
ล้านบาท ด้วยวิธีการจัดซื้อแบบรัฐบาล
รัฐบาล
โดยใช้งบประมาณของกองทัพอากาศที่ได้รับการจัดสรรประจำปีตามปกติ
และมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ
เป็นผู้แทนรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยลงนามในข้อตกลงการซื้อขายตลอดจนให้กอง
ทัพอากาศรับข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดนตามที่กำหนดไว้ในร่างข้อตกลงการซื้อ
ขาย ทั้งนี้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ และพล.อ.อ.อิทธพร
ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ เป็นผู้เข้าชี้แจงคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
ตาม
ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา
ให้กองทัพอากาศดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่อง
บินขับไล่แบบ 18 ก/ข (F-5 B/E) ตามที่ทราบแล้วนั้น
กองทัพอากาศได้
แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดซื้อขึ้นโดยมี พล.อ.อ.ไพศาล สีตะบุตร
รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน
เพื่อจัดทำร่างสัญญาเจรจาต่อรองการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนกับผู้แทนรัฐบาล
สวีเดน โดยฝ่ายสวีเดนได้แต่งตั้งคณะทำงานจากหน่วยงาน FMV หรือ Swedish
Defense Material Administration (FMV
เป็นหน่วยงานขึ้นตรงของกระทรวงกลาโหมสวีเดน
มีหน้าที่ในการจัดเตรียมยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพสวีเดน
รวมทั้งการส่งออกยุทธภัณฑ์แก่มิตรประเทศ)
เป็นผู้แทนรัฐบาลสวีเดนได้ดำเนินการเจรจา
และจัดทำร่างข้อตกลงการซื้อขายเรียบร้อยแล้ว สำหรับเอกสารข้อตกลงการซื้อขาย
ครอบคลุมข้อสัญญาและเงื่อนไขเกี่ยวกับกำหนดการส่งมอบเครื่องบิน,
การฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่, การส่งกำลังบำรุง และงวดการชำระเงิน
ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้รับความร่วมมือจากสำนักงานอัยการสูงสุด
และกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมเป็นที่ปรึกษา
ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะกรรมการจัดซื้อ เพื่อให้การดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ
รัดกุม และ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ
สำหรับร่างข้อตกลงการ
ซื้อขาย แบ่งเป็น 2 ส่วน
- ส่วนที่ 1 ข้อเสนอหลัก
และการปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการ
ประกอบด้วยเครื่องบิ
นกริพเพนจำนวน 6 เครื่อง เป็นเครื่องบินที่นั่งเดี่ยวจำนวน 2 เครื่อง
และที่นั่งคู่จำนวน 4 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์และระบบสนับสนุน
การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การบริหารโครงการในส่วนที่สวีเดนรับผิดชอบ
อุปกรณ์อื่นและการบริการ รวมเป็นเงิน 18,284 ล้านบาท
ด้านการปรับ
ปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการประกอบด้วย
การปรับปรุงอาคารสถานที่และระบบโครงสร้างพื้นฐาน ณ กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี
การเดินทางไปฝึกอบรมตามโครงการ และการบริหารโครงการ
ในส่วนที่กองทัพอากาศรับผิดชอบ รวมเป็นเงิน 716 ล้านบาท
รวมงบประมาณการจัดซื้อเป็นเงินทั้งสิ้น 19,000 ล้านบาท
ตามกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550
-
ส่วนที่ 2 เป็นข้อเสนอพิเศษจากรัฐบาลสวีเดน
โดยกองทัพอากาศจะได้รับมอบเครื่องบิน Saab 340 สำหรับการฝึกจำนวน 1 เครื่อง
และเครื่องบิน Saab 340 ติดตั้งเรดาร์แจ้งเตือนในอากาศแบบ Erieye จำนวน 1
เครื่อง
พร้อมกันนี้จะได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี
ประกอบด้วย
-
การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศและกองทัพไทยในสาขาต่างๆ
ที่ฝ่ายไทยต้องการ
- ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทจำนวน 92 ทุน
ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน ได้แก่ Royal Institute of Technology
Stockholm, Chalmers Technical University in Gothenburg และ Linkping
University ระหว่างปี 2552-2554 และ
- ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม
ในด้านวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ
ที่จะกำหนดรายละเอียดหลังจากลงนาม ในข้อตกลงการซื้อขายต่อไป
แผนการดำเนินงานโครงการที่สำคัญ ได้แก่
-
การผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่กริพเพนใช้ระยะเวลา 36 เดือน
หลังจากลงนามในหนังสือข้อตกลงการซื้อขาย
- การฝึกอบรม
การส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์
รวมทั้งการเตรียมรับนั้นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อน การส่งมอบเครื่องบิน
โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการฝึกอบรมในประเทศสวีเดนเริ่มดำเนินการในปี
2551 และการส่งมอบอะไหล่และอุปกรณ์เริ่มดำเนินการในปี 2553
-
การส่งมอบเครื่องบิน ซาบ 340 ทั้ง 2 เครื่อง ดำเนินการได้ในปลายปี 2553
-
การส่งมอบเครื่องบินกริพเพน ทั้ง 6 เครื่อง จะดำเนินการได้ภายในต้นปี 2554
โดยจะส่งมอบเครื่องบิน 3 เครื่องแรกในเดือนมกราคม 2554 และอีก 3
เครื่องในเดือนมีนาคม 2554 เพื่อฝึกเพิ่มเติมให้หน่วยบิน
มีความพร้อมปฏิบัติการได้ภายในเดือนกันยายน 2554
สอดคล้องกับแผนการปลดประจำการของเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ที่สุราษฎร์ธานี
หน้า 2 ,มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม 2553
ไม่เห็นแพงและแปลกตรงไหนครับ ถ้ารวมราคาเครื่องบินเตือนภัย ไปด้วย เผลอๆ เราได้ราคาต่อเครื่องถูกกว่าครับ
ปล. ราคานี้ แถม 2 ลำ + 1 ฝึก ไม่ใช้หรือครับ ทำไหมตารางทำออกมาหายไป 1 ลำ
การลงทุนจ้างงานในโรมาเรีย ของสวีเดน ไม่แปลกอะไรเลย เพราะสวีเดนต้องการหาแหล่งแรงงานค่าครองชีพถูกกว่า อยู่แล้ว และอยู่ใกล้กันด้วย (ยุโรปเหมือนกัน)
ยังไงผมในฐานะผู้เสียภาษีคนหนึ่ง ผมสนับสนุนการดำเนินการของกองทัพอากาศครับ เราเดินข้ามจุดที่จะย้อนกลับไปแล้ว ควรเดินหน้าต่อครับ
ลองดูใหม่ดี ๆ ครับว่านอกจาก Gripen 12 ลำแล้วได้อะไรมาบ้าง
1. Erieye 2 ลำ ราคาปกติลำละประมาณ (5000 ล้านบาท/ลำ)
2. Saab 340 เครื่องฝึก 1 ลำ (ปรับปรุงติด Radar ได้ในอนาคต)
3. จรวด RBS-15 12 นัด
4. สถานีทวนสัญญาณ Data link 3 สถานี
5. Gripen Simulator
6. Gripen Source code
7. ทุนเรียนต่อ 92 ทุน
แหม ข้อมูลมติชนไม่ค่อยแน่นเลยนะครับ ผมว่ากองทัพอากาศคงอธิบายได้แน่นอนครับ Gripen 24 ลำ ไม่แน่ใจว่าเป็นเครื่องใหม่รึเปล่าหรือเอารุ่นเอ บี มาปรับปรุงเป็น ซี ดี
" เนื่องจากอาวุธนำวิถีที่กองทัพอากาศไทยมีอยู่ มีส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถใช้กับกริพเพนได้ และในการจัดหา กริพเพนไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการใช้อาวุธดังกล่าวมาด้วย เช่น แท่นล็อคเป้าหมาย (Targeting Pod), อาวุธนำวิถีระยะปานกลางอากาศสู่อากาศ, ระเบิด สมาร์ตบอมบ์ แม้แต่ลูกกระสุนปืนจะต้องจัดหาใหม่เป็นจำนวนมากในราคาแพง "
"นอกจาก นี้การใช้มี Erie Eye ในอนาคตจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์สื่อสารภาคพื้นดิน, ภาคอากาศของกริพเพนที่จะมาใช้ร่วม เพราะปัจจุบันอุปกรณ์ส่วนใหญ่ดังกล่าวของกองทัพอากาศไทย เป็นมาตรฐานของกองทัพอากาศสหรัฐ และองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต ที่มีอยู่ในระบบส่งกำลังบำรุงทั่วโลก จะต้องจัดหาใหม่จากประเทศสวีเดน "
"และจะทำให้กองทัพอากาศไทยไม่สามารถใช้งานร่วมกับมิตรประเทศข้างเคียงได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศมาเลเซีย ที่ฝึกร่วมกันเป็นประจำ"
---------------------------------------
คือผมอ่านข้างบนแล้วผมสงสัยครับว่า ตัวผมที่มีความรู้ด้านนี้ไม่มากนัก แต่อ่านดูผมเริ่มรู้สึกว่าผมรู้มากกว่าหรือผมรู้น้อยกว่าคนเขียนข่าวนี้กันแน่
เรื่อง อาวุธ ที่ผมรู้มามันก็ใช้กันได้หมดนะ ที่จะซื้อก็ตรงที่เราไม่มี แล้วไอ้Targeting Pod เนี่ย มันคือกระเปาะชี้เป้า มิใช่รึ ซึ่งที่เรามีมันก็เก่าน่าดูอยู่แล้ว
เรื่องอุปกรณ์ภาคพื้น มาตรฐานสวีเดน กับนาโต้ มันต่างกันอย่างไร ต่างกันขนาดนั้นเลยหรือ
เรื่องการฝึกร่วม นี่มันใช้ร่วมกันไม่ได้จริงหรือ L39 mig29 su30 ยักร่วมกันได้ เลย
แล้วยังเรื่องความพร้อมของ f16 อีก เออรู้ได้อย่างไรว่าพร้อมรบแค่ 50% นะครับผมค่อนข้างจะมั่นใจว่ามากกว่านั้นนะ
อ่านแล้วรู้สึกเหมือนกัน ซื้อคอมใหม่แล้วโดนคนอื่น พูดว่าซื้อมาทำไมราคาแพงว่าใช้ เมาส์ ps/2 ของเดิมก็ไม่ได้ต้องซื้อ usb มาใช้ ใช้ HDD SATA ไม่เข้ากับ ATA รุ่นเก่า แถมลง windows 7 จะทำงานร่วมกับ xp ได้รึ ประมาณนี้เลย
ซึ่งเท่าที่อ่านข่าวมา มันเป็นเรื่องที่ ไม่ว่าจะซื้อ f18 f15 f22 f35 มันก็มีปัญหาแบบนี้ทั้งนั้นเพราะมันเป็นปัญหาของระบบใหม่กับระบบเก่า ไม่ใช่ปัญหาว่าระบบใหม่ไม่ดี แบบที่ตั้งใจจะให้คนอ่านเข้าใจ
ผมว่าน่าจะเป็นสิ่งดี ที่มติชน เสนอแนวคิด และมุมมอง ในทางด้านการเมือง นะครับ...
ซึ่ง สิ่งนี้ น่าจะเป็นสื่อการประชาสัมพันธ์ของ ทอ. เอง...ถ้ารู้จักใช้ให้ดี...(หัดเอาไว้ครับ....อนาคต จะเผชิญมากกว่านี้เยอะ...เพราะราคาอาวุธในอนาคตจะสูงขึ้นมาก คำถามจะเกิดขึ้นอีกมากมายนัก)
ทำชาร์ต อธิบายให้เข้าใจง่าย...ตอบประเด็น ของมติชน เป็นข้อ ๆ และเปรียบเทียบให้เห็น...ถึง คอนเซ็ป Jas-39 C/D และระบบ ดาต้าลิงค์ต่าง ๆ...ที่ ทอ. จัดหามาเป็นแบบ แพคเกจ ซึ่งเป็นระบบป้องกันภัยครบ 3 มิติ น้ำ ฟ้า ฝั่ง...สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับกลุ่มประเทศนาโต้ได้ ฯลฯ...
ผมว่า ทอ. ไม่ควรจะเน้น เรื่องของแถมในส่วนของ Sabb-340 เพราะจะทำให้ ต้นทุน Jas-39 C/D มันจะแพง...ของแถม หมายถึง ถ้าไม่แถม ก็ซื้อราคาเดียวกัน ใช่หรือไม่ ?...แล้วคำถามมันจะย้อนเข้าตัว ?
เปรียบเทียบ ระบบการทำงาน การป้องกันของ ทอ. เทียบกับ การเสนอขายของ Saab ของ โรมาเนีย...ผมคิดว่า จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ครับ...
สื่อ มีหน้าที่ สงสัย อยู่แล้วครับ...กองทัพ ก็มีหน้าที่ต้องชี้แจงให้เข้าใจง่าย...
และให้ระวังหลังให้ดีครับ....Jas-39 C/D ล็อต 2...อาจจะถูกหักเอาให้ง่าย ๆ แบบไม่รู้ตัว...แล้วเดี๋ยวจะได้ F-16 C/D มือสองมาแทน...การเมือง ก็คือ การเมือง...ครั้งนี้ ทอ. คงต้องเคลียร์ดี ๆ ครับ...
อีกแล้วสินะสื่อไทย ไม่สร้างสรรค์ แล้วก็ยังมาบ่อนทำลาย อย่างนี้แหละที่เรียกว่า สื่อชั้น เลว
อยากบอกว่าอย่าดูแค่ตัวเลข ต้องดูว่าเราได้อะไรบ้างจากที่ไม่เคยมีมาก่อน กองทัพอากาศใช้เวลาในการดำเนินการนานพอสมควรก่อนที่จะมีการเสนอขออนุมัติจากรัฐบาล ความแตกต่างที่เห็นดูกันง่ายๆโรมาเนียอยู่ในยุโรป แต่เราน่ะอยู่อีกซีกโลกเลยนะ สกุลเงินลิวอัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีความแตกต่างกันไป ลองเข้าไปอ่านในบล็อกของท่านดูนะครับมีข้อมูลให้ศึกษาอีกเพียบ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=27-11-2007&group=11&gblog=3
ผมว่าคนเขียนน่าจะทำการบ้านให้มากกว่านี้หน่อย
(อ่านแล้วเสียความรู้สึก..)
เลือกตั้งซ่อมมาแล้วนี่ครับ มีอะไรก็ใส่ๆกันไป ยิ่งเป็น นสพ ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลด้วยแล้ว แต่..น่าจะทำการบ้านให้ดีกว่านี้นะครับ ข้อมูลหลักลอยมาก ดิลนี้ เขาเสนอ jas a/b มือสอง เหลือใช้มาปรับปรุงเป็น c/d ให้นี่ครับเที่ยบกันไม่ได้กับ มือหนึ่งอ๊อฟชั่นครบแบบบ้านเราเลย
คงเปนไปได้ยากถ้าจะมีอะไรหรือพัฒนาอะไรได้หรอกครับ
หากมีแต่กลุ่มคนที่รู้น้อยแต่สะเอือกมาคอยแต่จะขัดกัดกีดกัน
กลัวยุตะแคงเอาแต่ระแวงว่า"ผลประโชน์"จะตกแก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
หากคิดว่าทำสิ่งใดอันก่อประโยชสุขแก่สังคมได้แค่หวังว่าจะทำให้เสร็จ
แต่อนิจจาน่าสงสารมันสมหวังสักทีหรือ ที่แห่งนี้ประเทศไทย
ท่านผู้บริหารระดับสูงของบริษัทแห่งหนึ่งเคยกล่าวไว้น่าชื่นชม
"หากประเทศไทยไม่หองระแหงระแวงแต่จะกลัวเสียผลประโยช์แล้วนั้นแม้แต่ถนนหนทางยังอาจปูถมด้วยทองคำยังทำได้เสียมิยากการ"
---รักประเทศไทย หวังว่าจะเจริญได้สักวัน
น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวเมื่อวันที่ 12 ก.ค. ถึงกรณีที่มีข่าวว่ากองทัพอากาศไทยซื้อเครื่องบินรบกริพเพนจากสวีเดนในราคา ที่แพงกว่ารัฐบาลสวีเดนเสนอขายให้กับประเทศโรมาเนียกว่าราคาเครื่องละ 1,200 ล้านบาทว่า การตั้งราคาหรือเปรียบเทียบราคาการจัดซื้อ โดยนำจำนวนเงินงบประมาณจัดซื้อมาหารกับจำนวนเครื่อง แล้วเป็นราคาเครื่องละเท่าไหร่นั้น ถือว่าวิธีคิดนี้ไม่ถูกต้อง คิดอย่างนี้ไม่ได้ เพราะแต่ละประเทศจะมีเงื่อนไขในการจัดซื้อแตกต่างกัน ซึ่งกองทัพอากาศไทยจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนไม่ใช่แค่ตัวเครื่อง แต่เป็นการซื้อที่ได้ทั้งระบบ เราซื้อแบบแพ็กเก็จทั้งโครงการ รวมทั้งระบบการรักษาความปลอดภัย ระบบการแจ้งเตือนทางอากาศ เออรี่อาย ระบบเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้รับข้อเสนอในการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนเฟสแรก งบประมาณ 19,600 ล้านบาท เป็นการจัดซื้อทั้งระบบ
น.อ.มณฑล กล่าวว่า
ส่วนประเทศโรมาเนียเป็นการให้ข่าวหลังจากที่เขาต้องการซื้อเครื่องบินเอฟ 16
ไปแล้ว
และเป็นการให้ข่าวโดยที่ยังไม่ได้มีการตกลงในรายละเอียดการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ซึ่งหากเขาเข้าสู่การเจรจารายละเอียดราคาคงไม่เป็นอย่างนี้
อย่างไรก็ตาม
การเอาราคาไปเปรียบเทียบไม่ควรคิดในลักษณะที่เอาราคางบรวมไปหารตัวเครื่อง
เพราะแต่ละประเทศข้อตกลงไม่เหมือนกัน
ปัจจุบันมีประเทศที่ซื้อเครื่องบินกริพเพน คือ แอฟริกาใต้ ฮังการี เช็ก
และไทย ซึ่งแต่ละประเทศมีเงื่อนไขแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละประเทศที่เสนอ ทั้งนี้
รัฐบาลสวีเดนยึดหลักความเป็นธรรมและยุติธรรมไม่เอาเปรียบประเทศคู่ค้า
ดังนั้น ราคาจัดซื้อแต่ละประเทศก็จะไม่เท่ากันอยู่ที่เงื่อนไขที่ได้รับ
"เรื่องนี้ได้รายงานให้ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์
ผู้บัญชาการทหารอากาศ รับทราบแล้ว ท่านก็บอกไม่เป็นไร
เรื่องนี้เราชี้แจงมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เกี่ยวกับราคาการจัดซื้อ
และไปชี้แจงต่อกรรมาธิการของรัฐสภา
ซึ่งทุกส่วนก็เข้าใจในรายะเลียดเรื่องราคาที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศแล้ว
เพราะทุกอย่างมันอยู่ที่แพ็กเก็จ
ซึ่งต้องดูรายละเอียดแต่ละประเทศว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งการจัดซื้อของไทยเรามีสิ่งที่คุ้มค่าทั้งระบบเทคโนโลยี
ระบบการแจ้งเตือนภัยทางอากาศ ซึ่งแตกต่างจากประเทศโรมาเนีย ดังนั้น
การคิดราคาอย่างนี้ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง"โฆษกกองทัพอากาศ กล่าว
ข้อเสนอของ Saab ต่อโรมาเนีย เป็นเพียงเครื่องบินเปล่าครับ?!? Gripen 48 ลำ+การสนับสนุน+การฝึก+Offset เพราะ Saab ต้องการดั๊มราคาลงมาสู้ ทางเลือกก็คือต้องตัด Option ต่าง ๆ ออกไป ส่วนของกองทัพอากาศไทย ได้ Gripen 12 ลำ+การสนับสนุน+การฝึก+Offset+จรวด RBS-15F 12 นัด+Technology Transfer+ทุนการศึกษา+Saab 340 1 ลำ+ Saab 340 AEW 2 ลำ+ Datalink+ Ground Base Station มันเยอะกว่าตั้งเยอะ
--
การสนับสนุน+การฝึก+Offset+จรวด RBS-15F 12 นัด+Technology Transfer+ทุนการศึกษา+Saab 340 1 ลำ+ Saab 340 AEW 2 ลำ+ Datalink+ Ground Base Station
--
พวกวนี้มันเป็นของแถมไม่ใช่หรอครับ แล้วทำไมเขาดั๊มราคากับโรมาเนีย แต่ไม่ดั๊มกับเรา เรายังไปซื้อ รอไห้เขาดั๊มก่อนไม่ได้หรอค่อยซื้อ
อีกอย่าคิดเล่นๆ เอา 12ลำของเรา + ของแถม ไปสู้กับ 24หรือ48 ลำของโรมาเนีย ใครจะชนะคิดเล่นๆๆ
ขายไห้เขาได้แต่ทำไม่ขายไห้เราราคาเดียนกันไม่ได้
ถุกอย่าที่เขียนเป็นความคิดของผม ผมขอรับผิดชอบทุกคุกคำพูดที่เขียน
ถึง skyman
^
^
ถ้าเราเอาแต่เครื่องเปล่าๆแบบที่สวีเดนเสนอให้โรมาเนีย เราก็จะย่ำต๊อกอยู่กับที่เหมือนกับว่า ถอยคอมเครื่องใหม่แทนเครื่องเก่าแต่เครื่องใหม่แรงกว่าแค่ซีพียู เครื่องเล่นDVDก็ไม่มีลำโพงก็ไม่มากล้องเว็ปแคมเอาไว้ส่องกบก็ไม่ให้ทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพไงครับ ลองถ้าเงินเท่ากันซื้อคอมแบบออฟชั่นครบได้ 12 เครื่อง กับซื้อแบบที่ผมว่ามา 24 เครื่อง บังเอิญเพื่อนให้แผ่น DVD JAV มาแบบเด็ดมากชาตินี้ไม่ได้ดูคงตายตาไม่หลับแล้วเราจะเอาไปดูกับเครื่องไหนได้ละครับก็มันไม่มีเครื่องเล่นนี่นา
ผมว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวานดีกว่านะครับ เพราะถ้าเราเอา 24 ลำมา ของเก่าหมายาถึง 120-c นะก็มีอยู่แล้วใช้แก้ขัดไปก่อน และถ้าได้เครื่องมา ยังไงก็ต้องซื้ออาวุธมาติดอยู่ดีจะช้าจะนานแค่นั้น อีกอย่างคงไม่มีสงครามขั้นรุนแรงขนาดยกทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศแบบเทหน้าตักหรอก ใช้ของเก่าไปพรางๆก่อนละกัน เอา24ไว้แล้วเหมือนบังคับตัวเองซื้อของมาติด
สายลับ007
ถ้าเป็นอย่าที่พูดเราก็หาเรดาร์ ระยะไกลซัก 1000 ก.ม มาใช้ก็รบชนะทุกครั้งดิ ผมว่าการรบทางอากาศไม่ใช่แค่เห็นก่อนรบชนะเพราะ24ลำก็มีตาเหมือนกันเรดาร์มันไกลกว่าระยะยิง120-c เห็นก่อนมองก่อนแต่ยิงพร้อมกัน สุดท้าย พวกมากได้เปรียย
---ส่วนหนัง jav ดูวันหลังก็ได้ ดูมันที่เดียว24จอเลย แล้วหนังแผ่นใหม่ก็ดูที24จอ 24เรื่องเอาไห้อวกแตกไปเลย
เอาง่ายๆดีกว่าครับ
ของแถมที่เราได้มา มันคุ้มเกินคุ้มครับ ประโยชน์ของมันมากมหาศาล ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
บางท่านอาจจะมองแค่จำนวนถ้าจำนวนใครเยอะกว่าก็จะชนะ มันก็อาจจะจริงครับแต่ก็ไม่เสมอไป
ถ้ากริฟเพน รุ่นเดียวกัน ไม่มีตัวช่วย จำนวน 24 กับ 12 มองยังไงจำนวน 24 ก็ชนะสบาย ๆ ครับ
แต่ถ้ามีตัวช่วยเครื่องอำนวยความสะดวก ประมาณว่าโกงเขาแหละครับ จำนวน 12 ก็เอาชนะ จำนวน 24 ได้ครับ
คิดง่าย ๆ ถ้ามีนักเลง อยู่ 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกมีจำนวน 100 คน กับอีกกลุ่มมีจำนวนแค่ 20 คน ถ้าต่อยกันหมัดต่อหมัด 100 คนยำ 20 คนสบายเลยครับ แต่ถ้า ไอ 20 คนมันมีปืน มันมีอาวุธช่วย แต่ 100 คน มันไม่มีอะไรเลยมีแต่หมัด ถามว่าใครจะชนะครับ?
เรื่องราคาแพงถูกผมไม่รู้ครับ แต่สิ่งที่มันแถมมาด้วยนี่สิครับ ที่กองทัพอากาศต้องการ เพราะเราสามารถพัฒนาอะไรเองได้อีกเยอะครับ อนาคตเราอาจจะสร้างอะไรเองก็ได้ ดูอย่างกองทัพเรือสิครับ เพื่อนบ้านเรามีเรือดำน้ำ ประเทศเราไม่มี แต่เราสามารถพัฒนาเรือดำน้ำจิ๋ว ใช้เองได้ แน่กว่าไหมละครับ แล้วคอยดูอนาคตทหารเรือเขาจะพัฒนาต่อ ไม่แน่เราอาจสร้างเรือดำน้ำได้เองก็ได้ครับ และเป็นเรือดำน้ำ ที่เหมาะกับสภาพภูมิประเทศของเราก็ได้ ใครจะไปรู้
ฮื่อ...เบื่อจัง ทำไมไม่คิดว่าอีกไม่นานเราก็จะได้ใช้มันอย่างภาคภูมิใจแล้ว......(hongๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆกันอยู่ได้)
ผมว่า อดเปรี้ยวไว้กินหวานดีกว่านะครับ เพราะถ้าเราเอา 24 ลำมา ของเก่าหมายาถึง 120-c นะก็มีอยู่แล้วใช้แก้ขัดไปก่อน และถ้าได้เครื่องมา ยังไงก็ต้องซื้ออาวุธมาติดอยู่ดีจะช้าจะนานแค่นั้น อีกอย่างคงไม่มีสงครามขั้นรุนแรงขนาดยกทัพบก ทัพเรือ ทัพอากาศแบบเทหน้าตักหรอก ใช้ของเก่าไปพรางๆก่อนละกัน เอา24ไว้แล้วเหมือนบังคับตัวเองซื้อของมาติด สายลับ007 ถ้าเป็นอย่าที่พูดเราก็หาเรดาร์ ระยะไกลซัก 1000 ก.ม มาใช้ก็รบชนะทุกครั้งดิ ผมว่าการรบทางอากาศไม่ใช่แค่เห็นก่อนรบชนะเพราะ24ลำก็มีตาเหมือนกันเรดาร์ มันไกลกว่าระยะยิง120-c เห็นก่อนมองก่อนแต่ยิงพร้อมกัน สุดท้าย พวกมากได้เปรียย ---ส่วนหนัง jav ดูวันหลังก็ได้ ดูมันที่เดียว24จอเลย แล้วหนังแผ่นใหม่ก็ดูที24จอ 24เรื่องเอาไห้อวกแตกไปเลย |
******************************************* คือว่าสมมุตินะครับสมมุติเราหาเจ้าพ่อเรดาร์ระยะตรวจจับขั้นเทพ 10,000 กิโลเมตรมา เราก็จะรู้แค่ว่า "เฮ้ยมันมาแล้ว" แต่เรายิงมันไม่ได้นะ เพราะเรดาร์ที่ว่ามันไม่ได้ทำงานร่วมกับเครื่องที่ยิงดังนั้นมันนำทางให้เรดาร์ไม่ได้หรอกครับซึ่งผิดกับระบบที่เราซื้อมาเรายิงได้โดยที่ใช้เรดาร์ของเครื่องเอแวคนำทางระยะแรกให้ตัวจรวดได้ มันจึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่หลายๆประเทศขวนขวายหาเจ้าเครื่องประเภทนี้มาประจำการ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงประเทศเราเลยครับว่าถ้าไม่ได้ดีลนี้อีกกี่สิบปีถึงจะมีเจ้าตัวนี้ใช้ ส่วนเรื่อง JAV ถ้าท่านถึงวันที่อยากดูท่านจะดูวันไหนได้ละครับในเมื่อเครื่องทั้ง 24 เครื่องหาตัวมาอ่านแผ่นไม่ได้เพราะไม่ได้ซื้อมาติดกับเคส ก็คงต้องนั่งดูแต่หน้าปกแล้วจินตนาการว่ามันจะดีซักแค่ไหนนะถ้าเพิ่มตังอีกนิดเดียวแล้วเราได้ยลโฉมนางแบบสุดเซ็กซี่ที่เคลื่อนไหวได้ |
พิจารณาตัวเองนะครับ "มติชน" เขียนได้ ติติงได้ แต่เขียนบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ เข้าใจผิด ไปเข้าใจใหม่ ให้ถูกต้องได้
ไม่ได้เป็นเฉพาะ มติชน แต่คิดว่าสื่อมวลชนไทย ส่วนใหญ่ ทำการบ้านไม่มากพอ เหนื่อยจัย
การจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D ของกองทัพอากาศ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๗๗
|
|
เหตุผลความจำเป็น ปัจจุบัน ประเทศไทยต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ความมั่นคงที่มีความซับ ซ้อน มีความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยภายนอกและภายในประเทศหลายมิติ ซึ่งอาจขยายขอบเขตไปสู่การปฏิบัติการทางทหารด้วยกำลังขนาดใหญ่ อาทิ ปัญหาชายแดนไทยด้านตะวันออกและด้านตะวันตก การรุกล้ำเขตแดน การแสวงประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนบริเวณอ่าวไทย เป็นต้น ตลอดจนประเทศรอบบ้านมีการพัฒนากำลังทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่มีความทันสมัย มีสมรรถนะสูง และสามารถติดตั้งใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ รวมทั้งมีระบบเชื่อมโยงข้อมูล (Data Link) เข้าประจำการ ทำให้เกิดศักยภาพในการป้องปราม มีความพร้อมในการเผชิญเหตุ และเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีของกำลังทางอากาศ ดังนั้น กองทัพอากาศจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนาขีดความสามารถของกำลัง ทางอากาศ เพื่อให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน รวมทั้ง สามารถปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ การรักษาเอกราชอธิปไตย การรักษาผลประโยชน์ของชาติ และการตอบสนองต่อภัยคุกคามสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-5 B/E ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ ซึ่งเข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๑ ใช้งานมานานกว่า ๓๐ ปี ระบบอาวุธมีขีดความสามารถจำกัดไม่สามารถรองรับกับภัยคุกคามสมัยใหม่ และมีกำหนดปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๕๔ กองทัพอากาศจึงจำเป็นต้องพิจารณาจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ที่ทัน สมัยทดแทน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าความมั่นคงด้านการป้องกันประเทศในส่วนที่กองทัพอากาศ รับผิดชอบ ได้รับการประกัน |
|
โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5B/E) กองทัพอากาศริเริ่มโครงการจัดหา เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข หรือ F-5B/E ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ ในปี พ.ศ.๒๕๔๖ โดยวางแผนในการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์จำนวน ๑ ฝูงบิน (๑๒ เครื่อง) พร้อมระบบอาวุธ เครื่องมือ อุปกรณ์ การฝึกอบรม เอกสารเทคนิค การซ่อมบำรุง และอะไหล่ ซึ่งเป็นความต้องการขั้นต่ำในการบรรจุเครื่องบินขับไล่ในฝูงบิน โดยในการพิจารณาคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ กองทัพอากาศกำหนดความต้องการคุณลักษณะ และขีดความสามารถ รวมทั้งกรอบหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมในทุกด้าน สามารถสรุปความต้องการที่สำคัญ ๔ ประการ คือ ๑. เป็นเครื่องบินรบที่มีสมรรถนะและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต มีขีดความสามารถทัดเทียม หรือไม่ด้อยกว่าเครื่องบินรบที่มีประจำการหรือกำลังจัดหาใหม่ในประเทศรอบ บ้าน ๒. มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในภาคใต้ เพื่อการวางกำลังและปฏิบัติภารกิจป้องกันภัยทางอากาศ สนับสนุนและปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น ตลอดจนคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ๓. เป็นพื้นฐานในการพัฒนากองทัพอากาศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาด้านบุคลากรให้เท่าทันเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคต ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของอากาศยาน ได้รับการฝึกศึกษาเพื่อให้สามารถดูแลและบำรุงรักษาอากาศยานได้ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง กองทัพอากาศจะต้องได้รับรหัสข้อมูลต้นแบบหรือ Source Code Data ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของอากาศยาน ระบบอาวุธ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้กองทัพอากาศสามารถพึ่งพาและพัฒนาได้ด้วยตนเองต่อไป ๔. คำนึงถึงการพัฒนาระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System; C2) ตลอดจนระบบควบคุม และแจ้งเตือน ซึ่งเป็นความต้องการหลักและจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติการทางอากาศ และการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพในการป้องกันประเทศ เนื่องจากข้อจำกัด ด้านงบประมาณ ส่งผลให้กองทัพอากาศไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในขั้นต้น ประกอบกับข้อพิจารณาด้านอายุการใช้งานและความปลอดภัยในการบิน กองทัพอากาศจึงยืนยันที่จะดำเนินโครงการในปี พ.ศ.๒๕๕๑ และขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบิน ขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข หรือ F-5 B/E จำนวนทั้งโครงการ ๑๒ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และการปรับปรุงอาคารสถานที่ วงเงินรวม ๓๔,๔๐๐ ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐ ให้กองทัพอากาศดำเนินการโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทน เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (ระยะที่ ๑) จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และการปรับปรุงอาคาร สถานที่ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ - พ.ศ.๒๕๕๕ วงเงิน ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท ต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ ให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C/D จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคาร สถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือทวิภาคีจากราชอาณาจักรสวีเดน โดยได้ลงนามในข้อตกลงการจัดซื้อ เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ ปัจจุบันการดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนงาน และกำหนดส่งมอบเครื่องบิน Gripen 39 C/D ครบจำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ได้ภายในเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ ทั้งนี้ กองทัพอากาศยังมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D เพิ่มเติมอีกจำนวน ๖ เครื่อง ในโอกาสแรกที่กระทำได้อันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม และยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ |
|
เครื่องบินขับ ไล่อเนกประสงค์แบบ Gripen 39 C/D เครื่องบิน Gripen 39 C/D เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ยุคที่ ๔.๕ (4.5th Generation Fighter) มีความอ่อนตัวและคล่องตัว สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Role เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุม (Command and Control System : C2) ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการจัดหาฯ ในครั้งนี้ กองทัพอากาศสามารถทวีขีดความสามารถจากระบบทั้งหมดที่ได้รับ (System of Systems) ในลักษณะการทวีกำลัง (Force Multiplier) กล่าวคือ มีกำลังน้อยเหมือนมีกำลังมาก นอกจากนี้ เครื่องบิน Gripen 39 C/D เป็นเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงที่สามารถใช้ระบบอาวุธได้หลากหลายรูปแบบทั้ง ระบบอาวุธที่ผลิตจากประเทศสหรัฐ ฯ และระบบอาวุธที่ผลิตจากประเทศในสหภาพยุโรป สำหรับเครื่องบิน Gripen 39 C/D ของกองทัพอากาศ วางแผนที่จะใช้ระบบอาวุธที่มีประจำการอยู่ในปัจจุบันเป็นหลัก เช่น AIM-120 AMRAAM, AIM-9M Sidewinder, Precision Bomb (GBU-10/12) และ AGM-65 Maverick ในส่วนของระบบอาวุธชนิดพิเศษที่จำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม กองทัพอากาศได้วางแผนในการจัดหาเพิ่มเติมในแผนพัฒนาขีดความสามารถกำลังรบ แล้ว สำหรับจรวดโจมตีเรือผิวน้ำ RBS-15 กองทัพอากาศจะได้รับในการจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D ระยะที่ ๒ นอกเหนือจากระบบอาวุธที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เครื่องบิน Gripen 39 C/D ยังสามารถที่จะติดตั้งใช้งานระบบอาวุธอากาศ-อากาศสมัยใหม่ทั้ง IRIS-T และ Meteor ซึ่งมีขีดความสามารถสูงกว่าระบบอาวุธที่กองทัพอากาศมีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ กองทัพอากาศอยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดหาระบบอาวุธ IRIS-T จากเหตุผลดังกล่าว ประกอบกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ กองทัพอากาศวางแผนที่จะบรรจุเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน ๑๒ เครื่อง ณ ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ โดยมีภารกิจหลัก ประกอบด้วย การป้องกันทางอากาศ การสนับสนุนการปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น และการคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ทั้งนี้กองทัพอากาศมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างและพัฒนาให้เครื่องบิน Gripen 39 C/D ที่จะบรรจุเข้าประจำการ มีระบบอาวุธและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบได้อย่างเต็มขีดความสามารถ ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ อันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ |
|
การจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 ระยะที่ ๒ ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (F-5B/E) ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๓ กองทัพอากาศได้เสนอความต้องการจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D (ระยะที่ ๒) จำนวน ๖ เครื่อง ให้ครบ ๑ ฝูงบิน จำนวน ๑๒ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรมการปรับปรุงอาคาร สถานที่ เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการปฏิบัติภารกิจทางด้านยุทธการ การฝึกและการส่งกำลังบำรุง แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนงาน ที่วางไว้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาเครื่องบินดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ ในวงเงิน ๑๖,๒๖๖ ล้านบาท ใช้ระยะเวลา ๕ ปี ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๔ - พ.ศ.๒๕๕๘ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ส่วนที่ ๑ เป็นการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และการปรับปรุงอาคาร สถานที่ ส่วนที่ ๒ เป็นการรับข้อเสนอพิเศษ ได้แก่ - เครื่องบิน Saab 340 AEW ติดตั้งระบบแจ้งเตือนในอากาศ Erieye จำนวน ๑ เครื่อง และอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น RBS 15 จำนวน ๑๒ นัด - ได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ จำนวน ๒๐ Man-Years, ทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท จำนวน ๑๘ ทุน และความร่วมมือด้านอื่น ๆ (วิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้าและการบริการ) เครื่องบิน Gripen 39 C/D ดังกล่าวจะเข้าประจำการในตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖ (ช้ากว่ากำหนดเดิม ๒๔ เดือน) และหากไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้จะเกิดผลกระทบต่อความเสี่ยงใน การเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ และการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ เนื่องจากเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน ๖ เครื่องในโครงการ (ระยะที่ ๑) ยังมีจำนวนที่ไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจดังกล่าว (กรณีต้องใช้เครื่องบิน F-5 B/E ฝูงบิน ๗๐๑ กองบิน ๗ ซึ่งมีกำหนดปลดประจำการใน พ.ศ.๒๕๕๔ ปฏิบัติหน้าที่แทน จนกว่าจะจัดหาเครื่องบิน Gripen 39 C/D ครบ ๑ ฝูงบิน จะมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการบิน ตลอดจนมีขีดความสามารถจำกัด ไม่สามารถรองรับกับภัยคุกคามสมัยใหม่ได้) นอกจากนั้น หากดำเนินการจัดหาล่าช้า ราคาจะสูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถจัดหาได้ตามกรอบวงเงินของโครงการและส่งผลกระทบต่อการบริหาร จัดการด้านการส่งกำลังและซ่อมบำรุงของกองทัพอากาศโดยรวม ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อ ๒๖ ม.ค.๕๓ เห็นชอบในหลักการ ให้กองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบิน Gripen 39 C/D จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งการรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือระดับทวิภาคี ตามโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๘ ก/ข (ระยะที่ ๒) ในกรอบวงเงิน ๑๖,๒๖๖ ล้านบาท ผูกพันงบประมาณระยะเวลา ๕ ปี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ - พ.ศ.๒๕๕๘ โดยใช้งบประมาณภายในกรอบที่กองทัพอากาศได้รับการจัดสรร |
|
ประโยชน์ที่ได้รับ ระดับกองทัพอากาศ - ตอบสนองต่อภารกิจของกองทัพอากาศ ในการเตรียมกำลังและใช้กำลังทางอากาศ สำหรับการปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศในภาพรวม และการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน - ได้รับขีดความสามารถการป้องกันทางอากาศแบบบูรณาการ หรือ Gripen Integrated Air Defense System ซึ่งเป็นระบบที่มีความทันสมัย สามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
|
Gripen Integrated Air Defense System การดำเนินโครงการฯ ในภาพรวม กองทัพอากาศจะได้รับมอบยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถที่สำคัญ ดังนี้ ๑. เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ Gripen 39 C/D ซึ่งมีความทันสมัย สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำ พิสัยยิงไกล มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบินในหมู่บิน และระหว่างเครื่องบินกับหน่วยบัญชาการและควบคุม ๒. เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Saab 340 AEW ซึ่งสามารถตรวจจับเป้าหมาย และการเคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้งในอากาศและบนพื้นได้ในระยะไกล รวมทั้งส่งข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายให้กับหน่วยบัญชาการและควบคุม ๓. ระบบบัญชาการและควบคุม (Command
and Control : C2) ที่มีความทันสมัย
สามารถรับข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายและความเคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้ง
จากเครื่องบิน Saab 340 AEW และระบบเรดาร์ภาคพื้นของกองทัพอากาศ
เพื่อใช้ในการประมวลผลและสร้างภาพสถานการณ์การรบได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ
ทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนสามารถควบคุมและสั่งการ
การปฏิบัติภารกิจของเครื่องบิน Gripen 39 C/D ๔. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบิน Gripen 39 C/D ในหมู่บิน (Tactical Information Data Link System : TIDLS) และระหว่างเครื่องบิน Gripen 39 C/D กับหน่วยบัญชาการและควบคุม (Ground-to-Air Data Link System : GADLS) ๕. ขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธสมัยใหม่ ที่มีความแม่นยำสูง พิสัยยิงไกล ตลอดจนได้รับอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น RBS 15 เพื่อใช้ในการโจมตีเรือผิวน้ำ ซึ่งเป็นขีดความสามารถใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้งานในกองทัพอากาศ ยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถที่สำคัญ เหล่านี้ รวมเรียกว่า Gripen Integrated Air Defense System ซึ่งจะเสริมขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ การรักษาเอกราชอธิปไตย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน นอกจากนี้ กองทัพอากาศจะสามารถต่อยอด และพัฒนาขีดความสามารถเหล่านี้ ให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการรอบประเทศ ผ่านการดำเนินโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของกำลังทางอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรผ่านการฝึกศึกษา ในการสร้างทักษะและความชำนาญในการบำรุงรักษาระบบกำลังทางอากาศ ส่งผลถึงความพร้อมปฏิบัติการที่สูงขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง สามารถพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีของกำลังทางอากาศ ระบบอาวุธ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม หรือระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้กองทัพอากาศสามารถพึ่งพาและพัฒนาได้ด้วยตนเองต่อไป - เป็นพลังผลักดันให้กองทัพอากาศสามารถดำเนินการได้ตามแนวทางการพัฒนาทาง ยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในด้านขีดความสามารถในการปฏิบัติการที่ใช้ระบบเครือข่ายเป็นศูนย์ กลาง (Network Centric Operations : NCO) เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางข้อมูลข่าวสาร การหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์ เกิดผลทวีความสามารถการบัญชาการและควบคุม ลดจุดอ่อนระบบป้องกันทางอากาศ ขยายขีดความสามารถการตรวจจับเป้าหมายและการเคลื่อนไหวทางอากาศของฝ่ายตรง ข้าม สามารถติดต่อสื่อสาร ส่งผ่านเชื่อมต่อ และถ่ายทอดข้อมูล เร่งวงรอบของกระบวนการตัดสินใจ ในระบบบัญชาการและควบคุม ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันเวลา นำไปสู่การทวีอำนาจกำลังรบ |
|
ระดับกองทัพไทย นำขีดความสามารถของกำลังทางอากาศที่มีประสิทธิภาพสนับสนุนการปฏิบัติการร่วม ระหว่างเหล่าทัพ (Joint Operations) ในการป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ระดับประเทศ - ได้รับการตอบแทนในลักษณะความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วย การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศและกองทัพไทย ในสาขาต่างๆ ที่ฝ่ายไทยต้องการ รวมทั้งทุนการศึกษา ในระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยชั้นนำของราชอาณาจักรสวีเดน และความร่วมมือด้านวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรในระดับประเทศ - ประเทศไทยจะมีพลังอำนาจเพิ่มขึ้นในด้านการปกป้องเอกราช อธิปไตย และคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติ อีกทั้งสามารถสนับสนุนกลไกการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนเป็นการเพิ่มอำนาจการต่อรองของประเทศในภาพรวม - เป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านการบินและอากาศยานที่ทันสมัย อันจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนากิจการการบินและอากาศยาน เพื่อการป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมการบินโดยรวมของประเทศ เครดิตhttp://www.rtaf.mi.th/index.asp |
รบกวนท่าน bandtuer และนักข่าวของมติชน ไปศึกษารายละเอียด ของ deal ทั้งของไทย และของโรมาเนีย ให้เรียบร้อยก่อนค่อยแสดงความคิดเห็น ว่าไทยเราได้ผลประโยชน์มากกว่าคำว่า "เครื่องบินขับไล่" หรือท่าไม่อยากอ่าน ก้อ่านคอมเม้นต์ของเพื่อนๆดูครับ
แต่ที่ผมติดใจคือ "
ถุกอย่าที่เขียนเป็นความคิดของผม ผมขอรับผิดชอบทุกคุกคำพูดที่เขียน
ถึง skyman
"<<<<<< เกี่ยวไรกับคุณโย หรือไฟในตามันร้อนนัก ถึงต้องกระแทกคนอื่น
แก้ไขตัวเลขนะครับ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างประเทศปกติจะ 7% ต่อปี แต่ในกรณีนี้ต่ำสุด ๆ ไม่น่าจะต่ำกว่า 5% ต่อปี
ซึ่งถ้ามีเงินต้นอยู่ 40,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายทั้งหมด 57,805 ล้านบาทครับ
คุณ ลมหมุนวนครับ
ผมเอาขอมูลมาจากเขา
แต่ที่ผมแสดงความคิดเห็นมันเป็นของผม
ผมไม่ได้เก่งแค่ผมสงสัยเลยต้องการความกระจางก็แค่นั้นและผมก็เป็นนักศึกษาไม่มีส่วยเกียวข้องกับสื่อเลยนะครับ
ที่จริงข่าวนี้มามุขเดิมนะ ถ้ารู้ว่ามติชนชอบเสนอข่าวแนวไหน ลองไปค้นดูเอาเองนะจ๊ะ
ไม่อาว ไม่พูด ดีกว่า เดี๋ยวสมาชิกเค้าไม่อยากฟัง อิอิ
แล้วทางกองทัพสามารถฟ้องร้องหนังสือพิมพ์ได้ไหมครับ ในกรณีที่เสนอข่าวบิดเบือนแบบนี้